Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

เปลี่ยนแรมโน๊ตบุ๊คครั้งแรก แกะเครื่องเปลี่ยนเอง จะปังหรือพัง??

มือใหม่แล้วไง?? EP.1 อัพเกรดโน๊ตบุ๊ค แกะเครื่องเปลี่ยนแรมโน๊ตบุ๊คด้วยตัวเอง จะรอดมั้ย? | NotebookSPEC

มือใหม่เปลี่ยนแรมโน๊ตบุ๊คครั้งแรก

เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ซื้อโน๊ตบุ๊คมานั้น มักมีคำถามสงสัยว่าเราสามารถอัพเกรด เพิ่มเติม สเปคของโน๊ตบุ๊คได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ PC ได้หรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ สามารถทำได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับโน๊ตบุ๊ครุ่นนั้น ๆ ด้วยนะ เพราะบางรุ่นก็สามารถทำได้ ในบางรุ่นก็ไม่สามารถอัพเกรดหรือเพิ่มเติมอะไรได้

Advertisement
เปลี่ยนแรมโน๊ตบุ๊คครั้งแรก

สำหรับครั้งนี้ ทีมงาน Notebookspec ก็จะพามาสัมผัสกับประสบการณ์ การเปลี่ยนแรมโน๊ตบุ๊คด้วยตัวเอง สำหรับมือใหม่ ที่ไม่เคยแกะเครื่องโน๊ตบุ๊คมาก่อนเลยว่าจะเป็นอย่างไร โดยในตอนแรกนั้น ก่อนที่เราจะเริ่มทำการเปลี่ยนแรม เราจะต้องทำการตรวจสอบแรมกันก่อน

  • เริ่มต้นกันด้วยการตรวจสอบก่อนว่าเครื่องของเรานั้น มีแรมอยู่เท่าไหร่ ถูกต้องตามสเป็คที่ตัวเครื่องในตอนซื้อได้บอกมาหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบก็ทำได้ง่ายมาก ๆ ด้วยการ คลิกขวาที่โลโก้ของ Windows ตรง Taskbar >> จากนั้นก็เลือก System >> เครื่องก็จะบอกเราว่ามีแรมที่ใส่อยู่เท่าไร
  • ส่วนการแกะเครื่องเพื่อทำการเปลี่ยนแรมนั้นก็เริ่มตั้งแต่ ปิดเครื่อง >> เลือกไขควงให้ถูกต้องขนาดของน็อต แล้วใช้ไขควงแกะน็อตที่ยึดฝาหลังตัวเครื่องออก >> จากนั้นก็บรรจงแกะอย่างระมัดระวัง (ขอย้ำว่าระมัดระวังเพราะขาเกี่ยวฝาหลังโน๊ตบุ๊คนั้นแอบมีความบอบบางเล็กน้อย ถ้ารุนแรงอาจจะทำให้ขาเกี่ยวหักได้)
  • ต่อมาก็เริ่มทำการนำแรมใส่เข้าไปในสล็อตหรือช่องสำหรับใส่แรม โดยต้องแกะแผ่นกันไฟฟ้าสถิตออกก่อน (โดยส่วนใหญ่ในโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ ๆ นั้นจะมีแผ่นสำหรับกันไฟฟ้าสถิตติดอยู่) ในส่วนของการใส่แรมก็มีเทคนิคขั้นตอนเล็กน้อย เพื่อให้แรมสามารถเข้ากันได้พอดีกับสล็อตสำหรับใส่นั่นเอง
  • เมื่อเปลี่ยนเสร็จก็อย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ใส่กลับเข้าไปให้สมบูรณ์ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

คำถามสำหรับมือใหม่หัดเปลี่ยนแรม

เปลี่ยนแรมโน๊ตบุ๊ค

เมื่อพูดถึงเปลี่ยนแรมครั้งแรกสำหรับโน๊ตบุ๊คแล้ว มือใหม่หลายคนคงมีคำถามเหล่านี้อยู่ในหัว

  • เปลี่ยนแรมโน๊ตบุ๊คครั้งแรกยากหรือไม่?
    • เรื่องเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนเลย ถ้าใครที่เคยสัมผัสกับการทำงานช่างอื่น ๆ มาบ้าง ก็อาจจะไม่ได้รู้สึกยากมากนักจนถึงขนาดที่ทำเองไม่ได้เลย แต่กับมือใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านนี้เลยจริง ๆ ก็อาจจะรู้สึกว่ามันยากมาก และยิ่งพบกับแผนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ก็อาจจะยิ่งทำให้งงเข้าไปใหญ่
  • เปลี่ยนเองกับให้ร้านเปลี่ยน แบบไหนดีกว่า? (เป็นคำถามที่มักเกิดขึ้นโดยเฉพาะกับใครที่ไม่อยากให้มีคนมายุ่งวุ่นวายกับโน๊ตบุ๊คของเรา และไม่ค่อยไว้ใจในร้านรับซ่อมต่าง ๆ )
    • เชื่อว่าใครหลายคนก็คงมีคำถามว่า เปลี่ยนเองหรือให้ร้านเปลี่ยนดี ต้องบอกก่อนเลยว่า ถ้าเป็นร้านที่เราไม่รู้จัก ไม่เคยไปใช้บริการ เราก็อาจไม่ได้ไว้วางใจในร้านซ่อมขนาดนั้น ถ้าเราเปลี่ยนแรมเองได้ ก็แนะนำว่าให้เปลี่ยนเองอาจจะดีกว่า เพราะเราไม่ต้องมากังวลว่าใครก็ไม่รู้มาแกะเครื่องคอมพิวเตอร์สุดรักของเรา แล้วของที่เปลี่ยนคือของของซื้อหรือไม่ เชื่อถือได้ไหม ฯลฯ เราจะไม่เกิดคำถามเหล่านี้ถ้าเราได้เปลี่ยนด้วยตัวเอง แต่สำหรับใครที่ลองแล้วหรือไม่กล้าลอง แล้วรู้สึกว่าเราไม่สามารถทำได้จริง ๆ ก็แนะนำว่าให้ร้านเปลี่ยนให้เสียดีกว่า แต่ต้องเป็นร้านที่ไว้ใจได้และน่าเชื่อถือ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าคอมพิวเตอร์ของเราโดนแกะอย่างระมัดระวัง และได้ใส่ของตรงกับที่เราซื้อแน่นอน
  • ถ้าจำเป็นจะสามารถทำเองได้ไหม? เพราะด้วยสถานการณ์ ณ ตอนนี้ที่เราจะต้องเว้นระยะห่างจากคนอื่น ต้องระมัดระวังและดูแลตัวเอง แถมการสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก็ดูจะมีราคาที่ถูกกว่าตามหน้าร่านเสียด้วย
    • เรื่องนี้จากประสบการณ์ส่วนตัว ที่ได้ลองเปลี่ยนแรมครั้งแรกไปแล้ว ต้องบอกว่า หลังจากนี้ก็สามารถเปลี่ยนเองได้แล้ว คนเราย่อมมีครั้งแรกเสมอ เมื่อได้ลองได้ทำแล้วก็คิดว่าครั้งต่อ ๆ ไปก็สามารถทำได้เองแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ใครที่อยากลองเปลี่ยนแรมด้วยตัวเองนั้น ในครั้งแรกเราก็ไม่ควรทำเองคนเดียว ควรมีเพื่อนหรือคนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่ากรณีที่เราทำพลาดจะได้มีคนคอยช่วยเหลือเราอยู่
  • ข้อควรระวังในการเปลี่ยนแรมเองมีอะไรบ้าง?
    • จากประสบการณ์ส่วนตัวเลย สิ่งที่เราต้องระมัดระวังเป็นอย่างแรก นั่นก็คือ น็อตที่ทำหน้าที่เป็นตัวยึดฝาหลังของโน๊ตบุ๊คนั่นเอง เพราะน็อตนั้นจะมีขนาดไม่เท่ากัน มีตัวที่สั้นกว่าและยาวกว่า ทางที่ดีตอนแกะเครื่องเราควรจัดกลุ่มให้น็อตแต่ละแบบอยู่ด้วยกัน ตรวจเช็คว่าครบจำนวนกับที่เราถอดไปด้วย
    • ต่อมาที่ต้องระวังเลยก็คือฝาหลังของโน๊ตบุ๊คนั่นเอง เพราะว่าฝาหลังนั้นนอกจากจะถูกยึดด้วยน็อตแล้ว ยังมีขาเกี่ยวเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่ล็อกและยึดให้แนบสนิทกับตัวเครื่องด้วย ซึ่งขาเล็ก ๆ เหล่านี้ก็แอบมีความบอบบางเล็กน้อย ดังนั้น ส่วนนี้ก็เป็นส่วนที่เราต้องระมัดระวังเช่นกัน
    • และสุดท้าย การใส่แรม ก็เป็นส่วนที่ต้องดูให้ดีว่าลงล็อกแล้วแน่นอน ไม่ได้กระทบกระแทกกับแผงวงจรตัวอื่น ในขณะที่เรากำลังกดแรมลงสล็อต และต้องดูให้แน่ใจว่าใส่ถูกด้าน เพื่อให้ตัวแรมสามารถเชื่อมต่อและสามารถใช้งานได้นั่นเอง

และสุดท้ายนี้ ถ้าใครที่ชอบคอนเทนต์แบบนี้ มีประสบการณ์กับการเป็นมือใหม่ในเรื่องอะไร ลองแล้วผลลัพธ์เป็นอย่างไร ก็อย่าลืมมาแชร์ประสบการณ์กันได้ในคอมเมนต์ได้เลย และถ้าชอบคลิปวิดีโอนี้ ก็ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และเปิดแจ้งเตือนคลิปใหม่ ๆ จากทีมงาน Notebookspec ของเรากันด้วยนะ


อ่านบทความเพิ่มเติม/บทความที่เกี่ยวข้อง

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

PC Review

Kingston FURY BEAST DDR5 6800 MT/s เพิ่มความเร็วให้เกมเมอร์ ไฟ RGB เพิ่มสีสันให้คอมเครื่องโปรด Kingston FURY BEAST DDR5 6800MT/s แรมความเร็วสูงเพื่อคอเกมและกลุ่มที่ชอบ Performance เร่งสปีดพีซีไปให้สุด โทนสีขาวดูพรีเมียมกับความจุ 32GB พร้อมแถบไฟ RGB สว่างสดใส ปรับแต่งร่วมกับซอฟต์แวร์ได้...

CONTENT

แรมคือหนึ่งในฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ที่สามารถอัปเกรดได้ง่ายที่สุด และมักเป็นหนึ่งในสิ่งที่ได้รับความสำคัญ ในแง่ของการส่งผลต่อประสิทธิภาพเครื่องเป็นอย่างมาก ทำให้เวลาที่ต้องการซื้อแรม ไม่ว่าจะซื้อเพื่อประกอบคอมใหม่หรือเพื่ออัปเกรดเครื่องที่มีอยู่ ลูกค้าจะต้องพอทราบสเปคคร่าว ๆ ว่าต้องการแรมแบบไหน แบบที่จะซื้อเป็นอย่างไร ซึ่งก็จะมาพร้อมกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้สับสนกันบ้างหากไม่คุ้นเคยกับเรื่องไอที ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า 15 คำที่มักพบบ่อยในการบอกสเปคมีอะไร และหมายถึงสิ่งใดบ้าง เลือกแรมได้ไม่พลาด เข้าใจศัพท์ ก็สามารถซื้อมาอัพเกรดหรือประกอบคอมได้เอง รูปแบบ มาตรฐาน ความจุ เช่น DIMM/...

How to

ถ้าคอมพิวเตอร์เสียนอกจากเสียงานแล้วถ้างานยังไม่เสร็จก็เป็นอันเสียอารมณ์ไปตามกัน ดังนั้นถ้ารู้วิธีแก้ปัญหาคอมเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ นอกจากแก้ปัญหาเร่งด่วนตรงหน้าได้แล้วยังไม่ต้องเสียเงินค่าช่างเพิ่มและยังเพิ่มความมั่นใจ ว่าถ้ามีปัญหานี้เกิดขึ้นมาในอนาคตไม่ว่าจะกับคอมตัวเองหรือของเพื่อนร่วมงานก็จัดการให้เรียบร้อยได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม วิธีแก้ปัญหาคอมฉบับทำด้วยตัวเองทั้ง 7 ขั้นตอนนี้จะเป็นวิธีทั่วไปซึ่งอาจจพบได้ในบางโอกาส ยังไม่ได้รวมวิธีการแก้ปัญหา BSoD (Blue Screen of Death) เข้าไป ซึ่งกรณีนั้นมีรายละเอียดและต้นเหตุหลากหลายปัจจัยมากหลากหลาย Code จนแยกเป็นอีกบทความได้จึงต้องขอยกยอดออกไปโดยเฉพาะจะได้ครอบคลุมกว่านี้ Advertisement วิธีแก้ปัญหาคอมฉบับทำด้วยตัวเองไม่ง้อช่าง ต้องเข้าใจเรื่องอะไรบ้าง? ปัญหาอาจเกิดจากการใช้งานมาอย่างยาวนานแล้วซอฟท์แวร์ภายในเกิด Error ได้...

CONTENT

เรื่องของหน่วยความจำหลัก นอกจากแรมที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น เช่น CPU, SSD/HDD และการ์ดจอแล้ว ในฮาร์ดแวร์อื่นก็ย่อมมีหน่วยความจำแรมของตัวเองเช่นกัน อย่างฝั่งของการ์ดจอที่จำเป็นต้องมีไว้ใช้ทำงานร่วมกับ GPU โดยจะใช้แรมเป็นแบบ GDDR ที่ต่างจากแรม DDR ทั่วไปเล็กน้อย ซึ่งล่าสุดก็มีข่าวของแรมการ์ดจอมาตรฐานใหม่ออกมาอีกแล้ว นั่นคือแรม GDDR7 ที่เป็นไปได้ว่าอาจจะเริ่มลงมาอยู่ในการ์ดจออย่างเร็วสุดภายในปี 2024 นี้เลย เรามาเจาะรายละเอียดเท่าที่มีออกมาในขณะนี้กันครับ เพื่อดูว่าแรมแบบใหม่นี้จะดีกว่าเดิมอย่างไร ขนาดไหน...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก