Connect with us

Hi, what are you looking for?

Mac Corner

5 กลุ่มคีย์ลัด Mac น่าใช้ มือใหม่ควรรู้ มือเก๋าก็ได้ทบทวน กดคล่องแล้วทำงานไวทันใจ! อัปเดตปี 2024

คีย์ลัด Mac

ถ้าใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ไม่ว่าจะ Windows หรือ MacBook ทุกคนย่อมกดคีย์ลัดสั่งการให้คอมของตัวเองทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นแน่นอน ถ้าใช้คอมมานานแล้ว คีย์ลัด Mac ก็ยังใช้วิธีกดปุ่มคำสั่ง 2-3 ปุ่มรวมกัน แค่เปลี่ยนชื่อกับภาพไอคอนปุ่มคำสั่ง (Modifier) บางปุ่มให้เป็นตามแบบฉบับของ Apple เอง คนที่ย้ายจาก Windows มาใช้ macOS ก็ใช้เวลาปรับตัวเรียนรู้คีย์ลัดสักระยะก็ใช้งานได้ถนัดอย่างแน่นอน

คีย์ลัด Mac
ปุ่มเครื่องหมาย (Modifier) ทั้งหมดบนคีย์บอร์ด MacBook จาก Apple Support

ก่อนจะเริ่มใช้งานคีย์ลัด Mac สิ่งแรกเมื่อผู้ใช้ Windows มาอย่างยาวนานต้องเริ่มปรับตัวคือไอคอนของปุ่มคำสั่ง (Modifier) ซึ่งมี 3 ปุ่ม ต่างจาก Windows แต่ยังทำงานคล้ายกันอยู่ ซึ่งมีดังนี้

Advertisement
  1. Windows เปลี่ยนเป็นปุ่ม Command (CMD) รูปสี่เหลี่ยมขอบวงกลม (Loop square)
  2. Alt เปลี่ยนเป็น Option
  3. Ctrl ใช้คำเต็มว่า Control

ส่วนของปุ่ม Caps Lock, Shift ยังกดเพื่อยกแคร่เปลี่ยนตัวอักษรพิมพ์เล็กเป็นใหญ่ในภาษาอังกฤษหรือเปลี่ยนตัวอักษรไทยเป็นอีกตัวในปุ่มเดียวกันเหมือนตอนใช้ Windows รวมถึงปุ่ม Fn (Function) ซึ่งถ้าเป็น macOS จะเปลี่ยนจากปุ่ม Hotkeys เป็น F1-F12 แทน

เรื่องน่ารู้ของคีย์ลัด Mac และ Apple

  • ปกติถ้ากด Ctrl+C/X/V เพื่อ Copy/Cut/Paste ใน Windows ใน macOS จะกด Command แทน
  • ถ้ามีคีย์บอร์ด Windows อยู่ก็ใช้กับ macOS ได้ แต่จะมีหน้าปรับเทียบค่า (Calibrate) ให้ผู้ใช้กดตามที่ระบบเรียกหาก่อนเพื่อตรวจจับเลย์เอ้าท์คีย์บอร์ด
  • Mechanical keyboard หลายๆ รุ่นในปัจจุบันออกแบบให้ใช้งานกับ Windows และ macOS ได้เพียงสับสวิตช์บนคีย์บอร์ดและเปลี่ยนคีย์แคปก็ใช้งานได้
  • ถ้าใช้คีย์บอร์ดอื่นที่ไม่ใช่ของ Apple ผลิตหรือให้การรับรองจะใช้ฟังก์ชั่นบางอย่าง เช่น ปรับความสว่างหน้าจอหรือคีย์บอร์ดไม่ได้ ต้องสร้างปุ่มลัดใน macOS เอง
  • Apple เปลี่ยนชื่อ Mac OS X มาเป็น macOS เมื่อปี 2016 หรือราว 8 ปีก่อน (อิงจากปีที่ทำบทความนี้) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อในเครือ ได้แก่ iOS, iPadOS, tvOS, watchOS และ visionOS
  • macOS ตั้งชื่อเวอร์ชั่นตามสถานที่สำคัญในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งในอดีต Mac OS 1~X จะใช้ชื่อของแมวใหญ่ (Big Cat) เช่นเสือและสิงโตสายพันธุ์ต่างๆ
  • หลายคนอาจเรียก Mac OS X (แม็ค โอเอส เอ็กซ์) ตามจริงต้องเรียกว่า “แม็ค โอเอส เท็น” เพราะเป็นเลขโรมัน ซึ่งก่อนหน้านี้มี Mac OS 1~9 มาก่อน
  • ปุ่ม Media Eject หรือปุ่มดีดสื่อหมายถึงดีดแผ่น CD/DVD ออกจากเครื่อง ปัจจุบันไม่มีปุ่มนี้แล้ว
  • แอปฯ Finder ของ macOS เทียบได้กับโปรแกรม File Explorer ของ Windows
คีย์ลัด Mac

5 กลุ่มคีย์ลัด Mac น่าใช้ กดคล่องแล้วทำงานสะดวกยิ่งกว่าเดิม!!

  1. คีย์ลัดควบคุมระบบปฏิบัติการ
  2. คีย์ลัดใช้กับแป้นพิมพ์
  3. คีย์ลัดของระบบและแอปฯ Finder
  4. ปุ่มลัดช่วยการเข้าถึง
  5. ปุ่มลัดเวลาทำงานเอกสาร

1. คีย์ลัดควบคุมระบบปฏิบัติการ

คีย์ลัด Mac

คีย์ลัด Mac สำหรับควบคุมตัวระบบปฏิบัติการซึ่งบางคนอาจใช้อยู่แล้ว แต่ถ้าใครเพิ่งย้ายมาใช้ macOS ถ้ารู้วิธีใช้ก็จะควบคุมและจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งทาง Apple แนะนำว่าต้องกดคีย์ลัดนี้ค้างนานกว่าปุ่มอื่นเล็กน้อยเพราะตั้งค่าป้องกันไม่ให้ผู้ใช้กดผิดโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งมีคีย์ลัดดังนี้

คีย์ลัดผลลัพธ์
ปุ่มเปิด/ปิดกดหนึ่งครั้งเพื่อเปิดเครื่อง
กดซ้ำจะสั่งให้เครื่องออกจาก Sleep mode กลับมาทำงาน
กดค้าง 1.5 วินาที จะเข้าสู่ Sleep mode
กดค้างเพื่อ Shut down
Option-Command-ปุ่มเปิด/ปิดสั่ง Mac เข้า Sleep mode
Control-Shift-ปุ่มเปิด/ปิดทำให้จอแสดงผลเข้าสู่ Sleep mode
Control-ปุ่มเปิด/ปิดเปิดกรอบตัวเลือก Restart, Sleep mode หรือ Shut down
Control-Command-ปุ่มเปิด/ปิดบังคับ Mac รีสตาร์ทเครื่องใหม่ (Force restart)
แต่ก่อนกดคำสั่งนี้ควรเซฟไฟล์งานให้เรียบร้อยก่อน
Control-Option-Command-ปุ่มเปิด/ปิดบังคับออกจากแอปฯ ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่แล้ว Shut down
ถ้ามีไฟล์เอกสารใดยังยังไม่ได้เซฟ ระบบจะถามผู้ใช้ก่อนว่าจะบันทึกไฟล์หรือไม่
Control-Command-Qล็อคหน้าจอทันที
Shift-Command-QLog out จาก macOS
ถ้ากดแล้วระบบจะขอคำยืนยันจากเจ้าของก่อน
Options-Shift-Command-QLog out จาก macOS โดยระบบไม่ขอคำยืนยันจากเจ้าของ

2. คีย์ลัดใช้กับแป้นพิมพ์

คีย์ลัด Mac

คีย์ลัด Mac สำหรับแป้นคีย์บอร์ดซึ่งทุกคนต้องได้ใช้งานเป็นประจำแน่นอน ซึ่งคีย์ลัดกลุ่มนี้จะอิงกับปุ่ม Command เป็นหลักและพ่วงปุ่ม Shift กับ Option ผสมกันอยู่บ้าง ซึ่งมักเป็นวิธีกดเพื่อย้อนคำสั่งกลับ

ก่อนจะดูคีย์ลัด Mac ต้องเท้าความถึงแอปฯ Spotlight ซึ่งผู้ใช้หลายท่านอาจไม่รู้ว่าหน้าที่ของมันใน macOS มีเอาไว้ทำอะไร จึงขออธิบายโดยสรุปเอาไว้ว่า เป็นฟังก์ชั่นค้นหาสิ่งที่ต้องการทราบแบบเร่งด่วน กด Command-Spacebar แล้วพิมพ์คำถามของเราได้ทันทีไม่ว่าจะคำค้นหา, สั่งบวกลบเลข, แปลงค่าเงิน ฯลฯ ได้อย่างรวดเร็ว

คีย์ลัด Mac
หน้าตาแอปฯ Spotlight
คีย์ลัดผลลัพธ์
Command-XCut ตัดคำและกลุ่มคำที่เลือกแล้วคัดลอกไปพักใน Clipboard
Command-CCopy สำเนาคำและกลุ่มคำเอาไว้ใน Clipboard
ใช้คำสั่ง Copy กับแอปฯ Finder เพื่อคัดลอกไฟล์ได้ด้วย
Command-VPaste วางคำ, ไฟล์, แอปฯ จาก Clipboard ลงในเอกสาร
ใช้กับแอปฯ Finder ได้
Command-Zยกเลิก/ย้อนคำสั่งก่อนหน้านี้ ใช้กับไฟล์เอกสารและบางโปรแกรมได้
Command-Shift-Zนำคำสั่งก่อนหน้ากลับมาทำใหม่อีกครั้ง
Command-Aเลือกทั้งหมด
Command-Fค้นหารายการหรือคำในเอกสาร
กดในหน้า Desktop จะเปิดหน้าต่างค้นหา
Command-Gค้นหาอีกครั้ง
ใช้ค้นหารายการถัดไป นับจากรายการที่เพิ่งค้นหาไป
Command-Shift-Gใช้ค้นหารายการก่อนหน้า นับจากรายการที่เพิ่งค้นหาไป
Command-Hซ่อนหน้าต่างของแอปฯ หน้าสุดลงไป
Command-Option-Hกดเพื่อซ่อนหน้าต่างโปรแกรมที่ซ้อนอยู่ด้านหลังโปรแกรมหน้าสุด
Command-Oเปิดหน้าต่างเลือกไฟล์ที่จะเปิด (คำสั่ง Open)
Command-Pปริ้นท์เอกสารปัจจุบัน
Command-Sบันทึกเอกสาร (Save)
Command-Tเปิดแท็บใหม่
Command-Wปิดหน้าต่างด้านหน้า
Command-Option-Wปิดหน้าต่างทั้งหมดของแอปฯ นั้น
Command-Option-Escบังคับออกจากแอปฯ นั้นทันที
Command-Spacebarแสดงหรือซ่อนช่องค้นหาของแอปฯ Spotlight
Command–Option–Spacebarใช้แอปฯ Spotlight ค้นหาสิ่งที่ต้องการ
จากหน้าแอปฯ Finder
Command-Control-Spacebarแสดงตัวอักษรและเลือกใช้อีโมจิ (Emoji) ได้
Command-Control-Fใช้แอปฯ ที่เลือกในโหมดเต็มหน้าจอ (หากรองรับ)
SpacebarQuick look กดดูรายละเอียดโดยสรุปของสิ่งนั้น
ไม่ว่าจะโปรแกรม, ไฟล์เอกสาร ฯลฯ
Command-Tabสลับไปมาระหว่างแอปฯ ที่เปิดเอาไว้
Command-Grave Accent ( ` )สลับไปมาระหว่างหน้าต่างโปรแกรมที่ใช้งานอยู่
Command-Shift-5แคปภาพหน้าจอหรือบันทึกวิดีโอหน้าจอ
(ต้องอัปเดตเป็น macOS Mojave เป็นต้นไป)

macOS เวอร์ชั่นก่อนหน้าจะกด
Command-Shift-3 / Command-Shift-4
Command-Shift-Nสร้างโฟลเดอร์ใหม่ในแอปฯ Finder
Command-จุลภาค ( , )เปิดการตั้งค่าของแอปด้านหน้าสุด

3. คีย์ลัดของระบบและแอปฯ Finder

คีย์ลัด Mac
แอปฯ Finder ของดีประจำ macOS

Apple Finder ถ้าเทียบก็เหมือนกับ File Explorer ของ Windows เป็นแอปฯ ประเภท File Manager ใช้เพื่อจัดเรียง, เปิดหาเปิดใช้ไฟล์ต่างๆ ได้โดยสะดวกรวดเร็ว ซึ่งคีย์ลัด Mac เวลาใช้กับแอปฯ นี้จะมีหลายอย่างทีเดียว ได้แก่

คีย์ลัดผลลัพธ์
Command-Dสร้างสำเนาไฟล์ที่เลือก
Command-Eสั่ง Eject ไว้ถอดแฟลชไดร์ฟ, ดิสก์ออกจาก MacBook
Command-Fใช้แอปฯ Spotlight ค้นหาในหน้าต่าง Finder
Command-iเปิดหน้าต่างรายละเอียดของไฟล์ที่เลือก
Command-Rจะเกิดผล 3 แบบ ได้แก่
1. ใช้ใน Finder : แสดงไฟล์ต้นฉบับของไฟล์ที่สร้างนามแฝงไว้
2. ใช้ในบางแอปฯ เช่นปฏิทิน, Safari : สั่ง Refresh หน้านั้นอีกครั้ง
3. ใน Software update : สั่งค้นหารายการอัปเดตซอฟท์แวร์ทั้งหมดอีกครั้ง
Command-Shift-Cเปิดหน้าต่าง Computer
Command-Shift-Dเปิดโฟลเดอร์ Desktop
Command-Shift-Fเปิดหน้าต่างล่าสุด (Recent window) แสดงไฟล์ทั้งหมดที่เพิ่งแก้ไขไป
Command-Shift-Gเปิดโฟลเดอร์ Go to ของ Finder
Command-Shift-Hเปิดโฟลเดอร์ Home ของ macOS user คนปัจจุบัน
Command-Shift-iเปิด iCloud Drive
Command-Shift-Kเปิดหน้าต่าง Network
Command-Option-Lเปิดโฟลเดอร์ Download
Command-Shift-Nสร้างโฟลเดอร์ใหม่ใน Finder
Command-Shift-Oเปิดโฟลเดอร์ Documents
Command-Shift-Pแสดง/ซ่อนแถบ Preview ด้านข้างของแอปฯ Finder
Command-Shift-Rเปิดหน้าต่าง AirDrop
Command-Shift-Tแสดง/ซ่อนแถบแท็บของ Finder
Command-Shift-Control-Tเพิ่มสิ่งที่เลือกจาก Finder ไปยังแถบ Dock รวมแอปฯ หน้า Desktop
Command-Shift-Uเปิดโฟลเดอร์ Utilities
Command-Option-Dแสดง/ซ่อน Dock
Command-Control-Tเพิ่มสิ่งที่เลือกจาก Finder เข้าไปยัง sidebar แถบข้างซ้ายให้เปิดใช้งานได้สะดวก
Command-Option-Pแสดง/ซ่อนแถบเส้นทาง (Path bar) ของหน้า Finder
Command-Option-Sแสดง/ซ่อนแถบด้านข้าง (sidebar) ของ Finder
Command-Slash (/)แสดง/ซ่อน Status bar ของ Finder
Command-Jแสดงตัวเลือกมุมมอง (View)
Command-Kเปิดหน้าต่างเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ (Connect to server)
Command-Control-Aสร้างนามแฝงของไฟล์ที่เลือก
Command-N เปิดหน้าต่าง Finder อันใหม่
Command-Option-Nสร้าง Smart Folder ใหม่
Command-Tแสดง/ซ่อนแถบแท็บของ Finder กรณีเปิดเพียงหน้าต่างเดียว
Command-Option-Tแสดงหรือซ่อนแถบเครื่องมือเมื่อเปิดหน้าต่าง Finder เพียงแท็บเดียว
Command-Option-Vย้ายไฟล์ในคลิปบอร์ดจากตำแหน่งเก่ามาตำแหน่งปัจจุบัน
Command-Yใช้ดูตัวอย่างไฟล์ที่เลือก
Command-Option-Yดูตัวอย่างสไลด์โชว์ของไฟล์ที่เลือก
Command-ตัวเลข 1~4Command-1 : ดูรายการในหน้าต่าง Finder แบบไอคอน
Command-2 : ดูรายการในหน้าต่าง Finder เป็นรายการ
Command-3 : ดูรายการในหน้าต่าง Finder แบบคอลลัมน์
Command-4 : ดูรายการในหน้าต่าง Finder ในคลัง
Command-วงเล็บก้ามปูCommand-ก้ามปูซ้าย ( [ ) : ย้ายไปโฟลเดอร์ก่อนหน้า
Command-ก้ามปูขวา ( ] ) : ย้ายไปโฟลเดอร์ถัดไป
Command-ลูกศรCommand-ลูกศรขึ้น : เปิดโฟลเดอร์ที่มีในโฟลเดอร์ปัจจุบัน
Command-ลูกศรลง : เปิดรายการที่เลือก
Command-Control-ลูกศรขึ้นเปิดโฟลเดอร์หลักที่มีโฟลเดอร์ปัจจุบันแยกออกมาเป็นอีกหน้าต่าง
ปุ่มลูกศรซ้ายและขวา
(ต้องใช้ในมุมมองแบบรายการเท่านั้น)
ลูกศรซ้าย : เปิดโฟลเดอร์ที่เลือก
ลูกศรขวา : ปิดโฟลเดอร์ที่เลือก
Command-Deleteย้ายสิ่งที่เลือกไปยังถังขยะ
Command-Shift-Deleteลบไฟล์ทั้งหมดในถังขยะ
Command-Option-Shift-Deleteลบไฟล์ทั้งหมดในถังขยะทิ้งโดยไม่มีกรอบยืนยันตัวเลือก
Command-ปุ่มลดความสว่างหน้าจอเปิด/ปิด การ Mirror วิดีโอเมื่อเชื่อมต่อ MacBook กับหน้าจอแยกมากกว่า 1 หน้าจอ
Option-ปุ่มเพิ่มความสว่างหน้าจอเปิดคำสั่ง Displays preferences
Control-ปุ่มเพิ่มหรือลดความสว่างหน้าจอปรับความสว่างหน้าจอแยกเพิ่มขึ้นหรือลดลง
Option-Shift-ปุ่มเพิ่มหรือลดความสว่างหน้าจอปรับความสว่างหน้าจอแยกเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระดับที่น้อยกว่าในข้อก่อน
Option–Mission Controlเปิดหน้าการตั้งค่า Mission Control
Command–Mission Controlกลับไปหน้า Desktop
Control-ลูกศรลงแสดงหน้าต่างทั้งหมดของแอปฯ ด้านหน้าสุด
Option-เพิ่มเสียงเปิดการตั้งค่าเสียง
Option-Shift-เพิ่มเสียง/ลดเสียงเพิ่มลดเสียงในระดับทีละน้อย
Option-ปุ่มเพิ่มความสว่างคีย์บอร์ดเปิดการตั้งค่าคีย์บอร์ด
Option-Shift-ปุ่มเพิ่ม/ลดความสว่างคีย์บอร์ดเพิ่ม/ลดความสว่างคีย์บอร์ดทีละน้อย
Option-ดับเบิ้ลคลิกเมาส์เปิดสิ่งที่เลือกในหน้าต่างแยกแล้วปิดหน้าต่างเดิม
Command-ดับเบิ้ลคลิกเมาส์เปิดโฟลเดอร์ในแท็บหรือหน้าต่างแยก
Option-คลิกและลากเมาส์คัดลอกรายการที่ลากเมาส์คลุมเอาไว้
Option-Command-คลิกและลากเมาส์สร้างนามแฝงให้ไฟล์ที่ถูกเลือก
(ใช้ในมุมมองรายการเท่านั้น)
Option-คลิกตรงสามเหลี่ยมแสดงผลเปิดโฟลเดอร์ทั้งหมดภายในโฟลเดอร์ที่เลือก
(ใช้ในมุมมองรายการเท่านั้น)
Command-คลิกชื่อหน้าต่างดูโฟลเดอร์ที่เก็บไว้ในโฟลเดอร์ปัจจุบัน

4. ปุ่มลัดช่วยการเข้าถึง

คีย์ลัด Mac

คีย์ลัด Mac เวลาใช้งานกับคำสั่งช่วยการเข้าถึงหรือ Accessibility ช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ก่อนจะใช้งานคีย์ลัดกับฟังก์ชั่นนี้จะต้องเข้าทางไอคอน Apple และเข้าตรงตั้งค่าระบบ (Setting) ก่อน ซึ่งคีย์ลัด Mac ช่วยการเข้าถึงนี้จะเน้นช่วยเหลือผู้ป่วยตาบอดสีเป็นหลัก โดยมีคีย์ลัดดังนี้

คีย์ลัดผลลัพธ์
Command-Control-Option-8กลับสี (Invert Color)
Command-Control-Option-เครื่องหมายจุลภาค ( , )
หรือเครื่องหมายจุด ( . )
ลดและเพิ่มความต่างของระดับสี
Control-F2 หรือ Fn-Control-F2ย้ายโฟกัสไปยังแถบ Menu ให้ใช้ลูกศรเลือกเมนูต่างๆ ได้ ถ้ากด Return (Enter) จะเป็นการเปิดเมนูที่เลือก
Control-F3 หรือ Fn-Control-F3ย้ายโฟกัสไปยัง Dock
Control-F4 หรือ Fn-Control-F4ย้ายโฟกัสไปยังหน้าต่างที่ใช้งานอยู่หรืออันถัดไป
Control-F5 หรือ Fn-Control-F5ย้ายโฟกัสไปยังแถบ window toolbar
Control-F6 หรือ Fn-Control-F6ย้ายโฟกัสไปหน้าต่างลอย (Floating window)
Control-Shift-F6ย้ายโฟกัสไปยังแผง (Panel) อันก่อน
Control-F7 หรือ Fn-Control-F7เปลี่ยนวิธีย้ายแถบโฟกัสของตัวควบคุมทั้งหมดหน้าจอหรือเฉพาะกล่องข้อความและรายการ
Control-F8 หรือ Fn-Control-F8ย้ายโฟกัสไปยัง Status menu ในแถบเมนู
Command-Grave Accent ( ` )
และ
Command-Shift-Grave Accent ( ` )
ใช้งานหน้าต่างที่เปิดอยู่ในแอปฯ ถัดไป นับจากแอปฯ หน้าสุด

ถ้ากด Shift จะเปิดหน้าต่างที่เปิดอยู่ก่อนหน้านี้ในแอปฯ หน้าสุด
Command-Option-Grave Accent ( ` )ย้ายโฟกัสไปยังลิ้นชักหน้าต่าง
Tab หรือ Shift-Tabย้ายไปยังตัวควบคุมตัวต่อไปหรือก่อนหน้า
Control-Tabย้ายไปยังตัวควบคุมต่อไปเมื่อเลือกช่องข้อความ
Control-Shift-Tabย้ายไปยังการจัดกลุ่มตัวควบคุมก่อนหน้า
Control-ปุ่มลูกศรย้ายไปยังตัวควบคุมที่อยู่ติดกับช่องข้อความ
ปุ่มลูกศรย้ายไปยังรายการที่อยู่ติดกัน ย้ายไปยังกลุ่มแท็บ, เมนู, แถบเลื่อนและตัวปรับได้
Command-Option-F5
หรือ
กด Touch ID 3 ครั้ง
เปิดแผงปุ่มลัดช่วยการเข้าถึง

5. ปุ่มลัดเวลาทำงานเอกสาร

คีย์ลัด Mac

จะคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็หนีงานเอกสารไม่พ้นอย่างแน่นอน แม้แต่ MacBook ก็ไม่ต่าง ดังนั้นทาง Apple จึงมีคีย์ลัด Mac ไว้ใช้กับโปรแกรมประเภทนี้ด้วยและรองรับทั้งโปรแกรมพื้นฐานของ macOS อย่าง Pages, Numbers, Keynote หรือแม้แต่โปรแกรม Microsoft Office Suite ก็ใช้งานได้ทั้งคู่ ซึ่งคีย์ลัดจะมีดังนี้

คีย์ลัดผลลัพธ์
Command-Bทำอักษรเป็นตัวพิมพ์หนา
Command-iทำอักษรเป็นตัวพิมพ์เอียง
Command-Kเพิ่มลิ้งค์เข้าสู่เว็บไซต์ (Hyperlink)
แต่ต้องคลุมตัวอักษรที่ต้องการก่อน
Command-Uขีดเส้นใต้ตัวอักษรหรือข้อความที่ต้องการ
Command-Tแสดงหรือซ่อนหน้าต่างแบบตัวอักษร (ขนาด, แบบอักษร ฯลฯ)
Command-Dเลือกโฟลเดอร์จากหน้าเดสก์ท็อปภายใน Open/Save dialog
Command-Control-Dแสดงหรือซ่อนคำจำกัดความที่ระบุเอาไว้ในคำนั้น
Command-Shift-เครื่องหมายทวิภาค (โคลอน – : )แสดงหน้าต่างแนะนำการสะกดและไวยากรณ์
Command-เครื่องหมายอัฒภาค
(เซมิโคลอน – ; )
สั่งค้นหาคำผิดภายในเอกสาร
Option-Deleteลบคำฝั่งซ้ายของจุดแทรก (insertion point)

*จุดแทรก : ไอคอน | กระพริบบนหน้าเอกสารเพื่อบอกจุดพิมพ์ข้อความ*
Control-Hลบตัวอักษรฝั่งซ้ายของจุดแทรก (กด Delete ได้)
Control-Dลบตัวอักษรฝั่งขวาของจุดแทรก (กด Fn-Delete ได้)
Control-Kลบข้อความระหว่างจุดแทรกกับส่วนท้ายบรรทัดหรือย่อหน้า
Fn-ลูกศรทั้ง 4 ทิศทางลูกศรขึ้น – คำสั่ง Page Up เลื่อนขึ้นหนึ่งหน้ากระดาษ
ลูกศรลง – คำสั่ง Page Down เลื่อนลงหนึ่งหน้ากระดาษ
ลูกศรซ้าย – คำสั่ง Home ขึ้นไปเอกสารหน้าแรกสุด
ลูกศรขวา – คำสั่ง End ไปหน้าสุดท้ายของเอกสาร
Command-ลูกศรทั้ง 4 ทิศทางลูกศรขึ้น – ย้ายจุดแทรกไปยังจุดเริ่มต้นเอกสาร
ลูกศรลง – ย้ายจุดแทรกไปยังส่วนท้ายของเอกสาร
ลูกศรซ้าย – ย้ายจุดแทรกไปจุดเริ่มต้นบรรทัดปัจจุบัน
ลูกศรขวา – ย้ายจุดแทรกไปท้ายบรรทัดปัจจุบัน
Option-ลูกศรซ้าย/ขวาลูกศรซ้าย – เลื่อนจุดแทรกไปยังจุดเริ่มต้นของคำที่แล้ว
ลูกศรขวา – ย้ายจุดแทรกไปยังส่วนท้ายของคำถัดไป
Command-Shift-ลูกศรทั้ง 4 ทิศทางลูกศรขึ้น – เลือกคลุมข้อความระหว่างจุดแทรกกับส่วนต้นเอกสาร
ลูกศรลง – เลือกคลุมข้อความระหว่างจุดแทรกกับส่วนท้ายเอกสาร
ลูกศรซ้าย – เลือกคลุมข้อความระหว่างจุดแทรกกับจุดเริ่มต้นบรรทัดปัจจุบัน
ลูกศรขวา – เลือกคลุมข้อความระหว่างจุดแทรกกับส่วนท้ายบรรทัดปัจจุบัน
Shift-ลูกศรทั้ง 4 ทิศทางลูกศรขึ้น – เลือกคลุมข้อความในตำแหน่งจุดแทรกเดียวกันขึ้นไปหนึ่งบรรทัด
ลูกศรลง – เลือกคลุมข้อความในตำแหน่งจุดแทรกเดียวกันลงมาหนึ่งบรรทัด
ลูกศรซ้าย – เลือกคลุมข้อความไปทางซ้ายหนึ่งตัวอักษร
ลูกศรขวา – เลือกคลุมข้อความไปทางขวาหนึ่งตัวอักษร
Option-Shift-ลูกศรทั้ง 4 ทิศทางลูกศรขึ้น – เลือกคลุมข้อความตั้งแต่จุดแทรกขึ้นไปจนจุดเริ่มต้นของย่อหน้าปัจจุบัน ถ้ากดซ้ำจะขึ้นไปจนย่อหน้าถัดไป
ลูกศรลง – เลือกคลุมข้อความตั้งแต่จุดแทรกลงมาจนจุดสิ้นสุดย่อหน้าปัจจุบัน ถ้ากดซ้ำจะคลุมลงไปย่อหน้าถัดไป
ลูกศรซ้าย – เลือกคลุมข้อความไปจนจุดเริ่มต้นของคำปัจจุบัน ถ้ากดซ้ำจะเลื่อนไปจุดเริ่มต้นของคำก่อนหน้า
ลูกศรขวา – เลือกคลุมข้อความไปจนจบคำปัจจุบัน ถ้ากดซ้ำจะเลื่อนไปจนจบคำถัดไป
Control-Aย้ายจุดแทรกไปจุดเริ่มต้นของบรรทัดหรือย่อหน้า
Control-Eย้ายจุดแทรกไปจนจบบบรรทัดหรือย่อหน้านั้น
Control-Fย้ายหนึ่งตัวอักษรไปข้างหน้า
Control-Bย้ายหนึ่งตัวอักษรไปข้างหลัง
Control-Lวางเคอร์เซอร์หรือรายการที่เลือกเอาไว้ตรงกลางหรือจุดที่มองเห็น
Control-Pเลื่อนขึ้นหนึ่งบรรทัด
Control-Nเลื่อนลงหนึ่งบรรทัด
Control-Oแทรกบรรทัดใหม่เพิ่มเข้าไปหลังจากจุดแทรก
Control-Tสลับตัวอักษรด้านหลังกับด้านหน้าจุดแทรก
Command-วงเล็บปีกกาวงเล็บปีกกาซ้าย ( { ) – หน้ากระดาษชิดซ้าย
วงเล็บปีกกาขวา ( } ) – หน้ากระดาษชิดขวา
Command-Shift-ขีดตั้ง ( | )จัดหน้ากระดาษกึ่งกลาง
Command-Option-Fใช้ช่องค้นหา (Search)
Command-Option-Tแสดง/ซ่อนแถบเครื่องมือในโปรแกรมทำงานเอกสาร
Command-Option-iแสดง/ซ่อนหน้าต่างตัวตรวจสอบ (inspector window)
Command-Option-Cคัดลอกลักษณะการตั้งค่าตัวอักษร (Copy Format)
Command-Option-Vใช้ลักษณะการตั้งค่าตัวอักษร (Paste Format)
Command-Shift-Option-Vใช้ลักษณะการตั้งค่าตัวอักษร (Paste Format) และปรับเนื้อหาทั้งหมดโดยรอบให้เข้ากัน
Command-Shift-Pตั้งค่าหน้ากระดาษโดยแสดงหน้าต่างเพื่อเลือกการตั้งค่าเอกสาร
Command-Shift-Sแสดงหน้าต่าง Save As หรือสำเนาเอกสารที่กำลังทำอยู่แยกออกเป็นอีกฉบับหนึ่ง
Command-Shift-เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์เครื่องหมายบวกหรือเท่ากับ – เพิ่มขนาดของรายการที่เลือก
เครื่องหมายลบ – ลดขนาดของรายการที่เลือก
เครื่องหมายคำถาม – เปิดเมนูดูวิธีใช้งาน

คีย์ลัด Mac

ไม่ว่าจะ Windows หรือ macOS ต่างก็มีคีย์ลัดให้กดใช้เพื่อควบคุมการทำงานตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องไปไล่หาแต่ละคำสั่งจาก Menu bar ให้เสียเวลา ซึ่งหลายคนพอเห็นคีย์ลัดเยอะมากมายก็อาจจะถอดใจว่าจำได้ไม่หมดแน่นอนก็อยากแนะนำให้จำเอาไว้แค่เท่าที่ใช้เป็นประจำก็ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นมากแล้ว และจะเพิ่มทีหลังก็ไม่เสียหาย

ถ้าสังเกตจะเห็นว่าคีย์ลัด Mac และ Windows นั้นคล้ายกันพอควรแค่เปลี่ยนบางปุ่มเท่านั้น ก็ยังพอใช้ความคุ้นเคยจากระบบปฏิบัติการของ Microsoft มาใช้งานได้บ้าง แล้วมาดูทำความเข้าใจกับคำสั่งซึ่งกดต่างกันก็ช่วยย่นระยะเวลาทำความเข้าไปได้มาก ทำให้ข้ามระบบปฏิบัติการมาได้ง่ายขึ้นพอควร

Photo Credits : Apple Finder, Apple Magic Keyboard, macOS Sonoma, Apple Accessibility


บทความที่เกี่ยวข้อง

คีย์ลัด Photoshop
คีย์ลัด word
คีย์ลัด Excel
คีย์ลัด PowerPoint ทั้งหมด
คีย์ลัด MacBook, ปุ่มลัด MacBook
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

How to

ในยุคนี้ใครๆ ก็ต้องมีโน๊ตบุ๊คเอาไว้ทำงานสักเครื่อง แต่จะซื้อมือหนึ่งแล้วต้องรอให้ถึงช่วงโปรโมชั่นก็ไม่ไหวหรือถึงจะลดราคาแล้วก็ยังจ่ายไม่ไหวก็มี โน๊ตบุ๊คมือสองจึงกลายเป็นทางเลือกของผู้ใช้หลายๆ คนที่ต้องการคอมสเปคดีราคาไม่แรงเอาไว้ทำงานสักเครื่อง ซึ่งช่องทางหาซื้อในปัจจุบันก็มีตั้งแต่วิธีคลาสสิคอย่างไปซื้อจากหน้าร้านคอมมือสองตามห้างไอที, ค้นหาทางเว็บไซต์เว็บบอร์ดไปจนตามหาซื้อในกลุ่ม Facebook และ Marketplace แล้วนัดเจอรับสินค้าก็ทำกันเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ถ้าคิดว่าจะซื้อโน๊ตบุ๊คจากร้านมือสองหรือต่อจากคนอื่น นอกจากโฟกัสให้ได้ราคาที่ตั้งใจเอาไว้ก็ต้องดูสเปคให้พอดีกับงานของเราด้วย ซึ่งวิธีง่ายสุดก็ให้ดูก่อนว่าในเครื่องเป็น Windows 11 แล้วหรือยัง จะได้อัปเดตแพทช์รักษาความปลอดภัยได้เรื่อยๆ หรือถ้าสเปคน่าสนใจแต่ยังเป็น Windows 10 ก็เช็คจากตารางซีพียู AMD, Intel...

Buyer's Guide

แนะนำวิธีเปลี่ยนแบตเตอรี่ ไอแพด ที่ Apple หมดประกันก็ทำได้ แถมยังได้เครื่องใหม่ด้วย อัพเดท 2024 ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบไหนที่ใช้งานแบตเตอรี่ เมื่อใข้งานไป 1-2 ปีขึ้นไป ก็มักจะพกกับอาการแบตเสื่อม ทำให้ช่วงระยะเวลาในการใช้งานผ่านแบตเตอรี่นั้นสามารถใช้งานได้น้อยลง กับอุปกรณ์อย่าง iPad เองก็เช่นเดียวกัน ซึ่งหลายๆ คนก็มักจะเลือกนำไอแพดไปเปลี่ยนแบตเตอรี่กับร้านตามท้องตลาดที่มีหลากหลายร้าน แต่สิ่งที่ต้องแลกมานั่นก็คือแบตเตอรี่ไม่อาจจะไม่ใช่ของแท้ ทีมงาน NotebookSPEC ก็อยากจะพามาดูราคาและเงื่อนไขสำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ไอแพด...

How to

โลกในตอนนี้ไม่สามารถตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตได้เลยไม่ว่าจะเรื่องงานหรือความบันเทิงก็ต้องใช้มันทั้งนั้น แต่อุปกรณ์ไอทีทุกชิ้นต่างต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ตบ้างให้อุปกรณ์ได้โหลดการตั้งค่ากลับมาใหม่อีกครั้งเป็นระยะๆ เพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการรีเซ็ตสัญญาณจะคล้ายกับวิธีการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ต่อ Wi-Fi ไม่ได้ แต่ในบทความนี้จะเน้นเรื่องลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาเน็ตบ้านหรือเน็ตออฟฟิศใช้งานไม่ได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นก่อนติดต่อช่างให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในภายหลัง เมื่อไหร่ต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ต? ทำแล้วดีอย่างไร? การรีเซ็ตสัญญาณอินเทอร์เน็ตนอกจากการปิดเปิดเราเตอร์ ก็รวมถึงการรีเซ็ตในระบบปฏิบัติการด้วย ถ้าไดรเวอร์มีปัญหาสามารถกด Roll Back driver หรือโหลดมาติดตั้งใหม่จะช่วยแก้ปัญหาได้ ถ้ารีเซ็ตสัญญาณแล้วใช้งานไม่ได้ อาจเกิดปัญหาจาก Node กระจายสัญญาณของผู้ให้บริการก็ได้ เมื่อติดตั้งเน็ตบ้านเอาไว้แล้ว แนะนำให้ขอบัญชีและรหัสผ่านเอาไว้เข้าไปตั้งค่าเราเตอร์เผื่อไว้ด้วย 6 วิธีรีเซ็ตสัญญาณเน็ตด้วยตัวเอง...

Buyer's Guide

โน๊ตบุ๊คราคาไม่เกิน 15000 บาทในอดีตอาจได้สเปคแค่พอใช้ทำงานได้นิดหน่อย ผิดกับโน๊ตบุ๊คราคาไม่เกิน 15000 บาทในปี 2024 ซึ่งสเปคดีขึ้นกว่าเดิมอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะได้ซีพียู AMD Ryzen หรือ Intel Core Series ติดตั้งมาให้ทำงานได้รวดเร็วแล้ว แทบทุกเครื่องก็ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 มาพร้อมใช้หรืออาจจะได้ Microsoft Office ไว้ใช้ทำงานด้วยซ้ำ ผิดกับภาพจำในอดีตว่าโน๊ตบุ๊คราคาเท่านี้แค่พอเปิดไฟล์เอกสารหรือเข้าเว็บไซต์ได้นิดหน่อย...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก