Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

วิธีลดหย่อนภาษีด้วย Easy E-Receipt พร้อมเงื่อนไขต่างๆ ที่ทุกคนต้องรู้ อัพเดท 2024

ทำความรู้จัก Easy E-Receipt รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการลดหย่อนภาษี 2567 ที่ทุกคนควรรู้

ลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt, E-Tax

การยื่นภาษีไม่ว่าจะเป็นแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ ก็เป็นเรื่องที่บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ประจำอย่างเราๆ จะต้องยื่นในทุกปี หรือใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจเองก็ตาม โดยเฉพาะการยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดานั้น ทางรัฐบาลเองก็ได้มีนโยบายการลดหย่อนภาษีออกมาอย่างเป็นประจำ และการยื่นภาษี 2567 หรือที่เราจะต้องยื่นในช่วงเดือน มกราคม – เมษายน ปี 2568 นั้น ก็มีนโยบายอย่าง Easy E-Receipt ที่จะเข้ามาช่วยลดหย่อนภาระภาษีให้กับเรา ทีมงาน NotebookSPEC ก็ได้รวบรวมข้อมูลของ E-Receipt ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า สินค้า ที่เข้าร่วม ไปจนถึงวิธีการและเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง


ยื่นภาษี สามารถลดหย่อนอะไรได้บ้าง

rdd1

การยื่นภาษีเงินได้ในแต่ละปีนั้น นอกจากการคำนวณเงินได้สุทธิแล้วยังมีในเรื่องของการเป็นค่าลดหย่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีเงินได้สุทธิถึงเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายภาษี ก็จะสามารถดูค่าลดหย่อนเพื่อช่วยลดหย่อนภาษีได้ โดยในแต่ละปีนั้นก็จะมีการปรับเปลี่ยนค่าลดหย่อนในแต่ละรายการแตกต่างกันไป แต่จะมีแบบแผนดังนี้

Advertisement

ค่าลดหย่อนกลุ่มพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายส่วนตัว)

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท
  • ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริง รวมกันไม่เกิน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูผู้พิการ หรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

ค่าลดหย่อนเบี้ยประกัน และการลงทุนในกองทุนต่างๆ

  • เบี้ยประกันชีวิต + สะสมทรัพย์ รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง ไม่เกิน 25,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ไม่เกิน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
  • กองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF
  • ลงทุนกองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF
  • ลงทุนกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช.
  • เงินประกันสังคม จำนวน 9,000 บาท

ค่าลดหย่อนตามมาตรการรัฐ

  • นโยบาย Easy E-Receipt (2567)
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
  • เงินลงทุนธุรกิจในวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise

ค่าลดหย่อนจากการบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป
  • บริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคมและโรงพยาบาลรัฐ
  • เงินบริจาคพรรคการเมือง

รู้จักกับ Easy E-Receipt

มาตรการ E-Receipt นั้นเป็นการให้สิทธิประโยชน์กับผู้มีเงินได้ที่ทำหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล โดยสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือบริการที่ได้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสินค้าและบริการที่ซื้อในวันที่ 1 มกราคม 2567 – 15 กุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น คิดตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) จากระบบใบกำกับภาษี

โดยยอดที่นำไปใช้เป็นค่าลดหย่อนนั้น จะเป็นยอดที่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% เข้าไปแล้ว เช่น ซื้อสินค้าในราคา 1,000 บาท ยอดที่เราจะนำไปใช้เป็นค่าลดหย่อนก็คือ 1,070 บาท นั่นเอง

E-Receipt เป็นค่าลดหย่อนได้เท่าไร

สำหรับนโยบาย E-Receipt นั้น จะคิดตามค่าสินค้าและบริการตามที่จ่ายจริง โดยไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับนำมาเป็นค่าลดหย่อน โดยสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนด้านภาษีได้ ดังนี้

รายได้สุทธิต่อปีอัตราภาษีเงินได้ค่าลดหย่อนสูงสุด
(กรณีใช้จ่ายไม่เกิน 10,000 บาท)
ค่าลดหย่อนสูงสุด
(กรณีใช้จ่าย 50,000 บาท)
ไม่เกิน 150,000 บาทยกเว้นภาษี0 บาท0 บาท
150,001 – 300,000 บาท5%500 บาท2,500 บาท
300,001 – 500,000 บาท10%1,000 บาท5,000 บาท
500,001 – 750,000 บาท15%1,500 บาท7,500 บาท
750,001 – 1,000,000 บาท20%2,000 บาท10,000 บาท
1,000,001 – 2,000,000 บาท25%2,500 บาท12,500 บาท
2,000,001 – 5,000,000 บาท30%3,000 บาท15,000 บาท
5,000,001 บาทขึ้นไป35%3,500 บาท17,500 บาท
  • ผู้เสียภาษีเงินได้ 5% เมื่อซื้อสินค้าและบริการ 50,000 บาท จะสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้สูงสุด 2,500 บาท
  • ผู้เสียภาษีเงินได้ 10% เมื่อซื้อสินค้าและบริการ 50,000 บาท จะสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้สูงสุด 5,000 บาท
  • ผู้เสียภาษีเงินได้ 20% เมื่อซื้อสินค้าและบริการ 50,000 บาท จะสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้สูงสุด 10,000 บาท
  • ผู้เสียภาษีเงินได้ 35% เมื่อซื้อสินค้าและบริการ 50,000 บาท จะสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้สูงสุด 17,500 บาท

เงื่อนไขเกี่ยวกับค่าลดหย่อน E-Receipt

นโยบายหรือมาตรการ E-Receipt นั้น มีเงื่อนไขคร่าวๆ ดังนี้

  • ผู้ใช้สิทธิตามนโยบาย E-Receipt จะต้องเป็น บุคคลธรรมดา เท่านั้น ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
  • สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท
  • ต้องซื้อสินค้าและบริการ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น โดยจะต้องเป็นสินค้าและบริการ ดังนี้
    • สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT และมีการบริโภคภายในประเทศไทย
    • หนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Book
    • สินค้า OTOP ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนเรียบร้อยแล้ว
  • ผู้ซื้อสินค้าและบริการที่เข้าร่วมนโยบาย E-Receipt จะต้องระบุชื่อ, นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน หรือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ลงในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
  • หลักฐานที่ใช้จะต้องเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) หรือ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Receipt) ไม่สามารถใช้เป็นแบบกระดาษได้ (ในกรณีที่ได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบกระดาษมานั้น จะต้องมีข้อมูลที่ระบุุไว้ว่า ‘เอกสารนี้ได้จัดทำและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์’)
  • ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือบริการเพียงคนเดียวเท่านั้น

การขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ / E-Receipt

การขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้น อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าจะต้องเป็นสินค้าหรือบริการที่มี VAT และสามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูป ในรูปแบบของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ในส่วนของร้านค้าที่เราจะไปขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ด้วยนั้นก็สามารถแบ่งออกได้เป็น

  • ร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะต้องต้องใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ในรูปแบบของอิเล้กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
  • ร้านค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม: สามารถใช้ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรได้

และที่สำคัญการขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรืออิเล็กทอนิกส์ มีส่วนที่ร้านค้าหรือผู้ประกอบการจะต้องขอข้อมูลกับเรา นั่นก็คือ

  • เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ
  • ที่อยู่ โดยจะใช้ตามบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ที่อยู่ในปัจจุบันก็ได้
  • Email หรือ เบอร์โทรศัพท์ สำหรับใช้ในการจัดส่งเอกสาร

ร้านค้า สินค้า หรือบริการที่เข้าร่วมกับนโยบาย

IMG 76509 20231222130213000000

นโยบายนี้นั้น นอกจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการจะต้องสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ก็ยังมีวิธีการสังเกตร้านค้า หรือบริการ ที่เข้าร่วมนโยบายนี้ด้วยโดยสามารถสังเกตได้จาก

  • จะต้องมีสัญลักษณ์ ‘Easy E-Receipt’ ปรากฏอยู่ โดยถ้าเราเห็นสัญลักษณ์นี้จากร้านค้าหรือบริการเราได้ไปซื้อ เราก็สามารถขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จากทางร้านค้าหรือผู้ให้บริการนั้นๆ ได้
  • สามารถเข้าไปตรวจสอบ หรือ ตรวจเช็กข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของกรรมสรรพากรได้เลยนั่นเอง

วิธีตรวจสอบร้านค้าและบริการที่เข้าร่วมนโยบาย E-Receipt ผ่านเว็บกรรมสรรพากร

rdd2

สำหรับการเข้าไปตรวจสอบหรือเช็กรายชื่อร้านค้า และบริการ ที่เข้าร่วมกับนโยบาย E-Receipt นั้น สามารถเข้าไปตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้ง่ายๆ ดังนี้เลย

rdd3

นอกจากนี้เรายังสามารถเข้าไปตรวจสอบร้านค้า สินค้า และบริการที่เข้าร่วมกับนโยบาย E-Receipt ได้ผ่านทาง etax.rd.go.th

  • เริ่มต้นให้เราเข้าไปที่ etax.rd.go.th
  • จากนั้นให้เลือกที่ เมนูที่อยู่มุมบนด้านขวามือ (สัญลักษณ์ขีด 3 ขีดเรียงกันเป็นแนวนอน) >> เลือกที่ ‘ผู้มีสิทธิจัดทำ’
  • เมื่อเข้ามาในหน้า ‘ผู้มีสิทธิจัดทำ’ แล้วนั้น เราก็สามารถที่จะค้นหารายชื่อของผู้มีสิทธิจัดทำใบกำกับภาษี หรือ ใบรับ โดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ในการลงลายมือชื่อ ด้วยการใส่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือค้นหาจากรายชื่อข้อมูลในรูปแบบตารางที่ปรากฏออกมาให้เราเห็นได้เลย

สินค้า หรือ บริการ ที่ห้ามใช้สิทธิ์เป็นค่าลดหย่อน E-Receipt

นโยบาย E-Receipt นั้น มีร้านค้า สินค้า และบริการ มากมายที่เข้าร่วมกับนโยบายนี้ แต่ก็มีสินค้าและบริการหลายรายการที่แม้ว่าจะสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Receipt ได้ แต่ก็ไม่สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยจะเป็นสินค้า และบริการ ดังนี้

  • สุรา, เบียร์, ไวน์, ยาสูบ
  • รถยนต์, รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าน้ำมันและก๊าซ สำหรับเติมยานพาหนะ
  • ค่าสาธารณูปโภค, ค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้า
  • ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์, ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
  • สินค้าและบริการที่เริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 และสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
  • สินค้าหรือบริการที่ไม่มี VAT (ยกเว้น หนังสือ, E-Book หรือ สินค้า OTOP)

ข้อดี / ประโยชน์ของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ E-Receipt

นโยบาย E-Receipt นั้น ก็เป็นหนึ่งในนโยบายเกี่ยวกับภาษีในปี 2567 ที่จะสามารค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ไปใช้เป็นค่าลดหย่อยกับภาษีที่ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องเสีย ในการยื่นภาษีช่วงต้นปี 2568 ดังนั้น นโยบายดังกล่าวนี้จึงมีประโยชน์และข้อดีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสียภาษีเป็นประจำในทุกๆ ปี เพื่อช่วยในการลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียภาษีไปนั่นเอง


สรุป

Easy E-Receipt นั้นก็คือนโยบายของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อเป็นค่าลดหย่อนร ในการยื่นภาษีปี 2567 โดยที่เราจะต้องยื่นในช่วงต้นปี 2568 ซึ่งจะสามารถเป็นค่าลดหย่อนให้เราได้สูงสุดถึง 50,000 บาทเลยนั่นเอง แต่ทั้งนี้ ตัวนโยบายเองก็มีเงื่อนไขต่างๆ ออกมาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของใบกำกับภาษีอิเล็ก, ร้านค้าและบริการที่เข้าร่วม, ระยะเวลาที่จำกัด ไปจนถึงเงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของการคำนวณค่าสินค้าและบริการที่จะสามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนอีกด้วย

โดยรวมแล้วนั้น นโยบาย E-Receipt ก็ถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายในการเป็นค่าลดหย่อนด้านภาษีที่มีประโยชน์และน่าสนใจเป็นอย่างมาก แต่การที่จะใช้เป็นค่าลดหย่อนได้นั้น เราก็ต้องมาคิดคำนวณด้วยว่า สินค้าและบริการที่เราได้ใช้จ่ายไปนั้น คุ้มค่ากับการนำมาเป็นค่าลดหย่อนหรือไม่ เพราะหากไม่พิจารณาให้ดีแล้ว แทนที่จะได้ผ่อนภาระ ลดหย่อนการจ่ายภาษี เราอาจจะได้ภาระเพิ่มมากยิ่งขึ้นแทนก็ได้

นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ จะต้องเป็นสินค้าและบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เท่านั้น สินค้าและบริการที่ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่สามารถนำมายื่นเป็นค่าลดหย่อนตามนโยบายนี้ได้

FAQ / คำถามที่พบบ่อย

1. นโยบาย E-Receipt กับช็อปดีมีคืน เหมือนกันหรือไม่?

สำหรับมาตรการ E-Receipt กับช็อปดีมีคืนนนั้น ต่างก็เป็นมาตรการสำหรับการเป็นค่าลดหย่อนในการยื่นภาษี แต่ทั้งสองนโยบายนั้น เป็นคนละมาตรการกัน โดยช้อปดีมีคืน จะเป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ของรัฐบาล ด้วยการให้ประชาชน ผู้มีหน้าที่เสียภาษี สามารถนำคำใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าหรือบริการ มาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ถึงแม้ว่าทั้ง 2 นโยบายนั้นจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ไม่ได้เป็นมาตรการหรือนโยบายเดียวกันนั่นเอง

ช้อปดีมีคืนEasy E-Receipt
สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้สูงสุด 40,000 บาท โดย 30,000 บาทแรก จะต้องมีใบกำกับภาษีรูปแบบกระดาษหรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของ 10,000 บาทที่เหลือ จะต้องเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท โดยคิดตามที่จ่ายจริง
จะต้องซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าหรือผู้ประกอบการที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น จะต้องเป็นสินค้าและบริการที่เป็นหนังสือ (ยกเว้น นิตยสาร, หนังสือพิมพ์), สินค้าจากโครงการ OTOP ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว เท่านั้นจะต้องเป็นสินค้าและบริการจากร้านค้าหรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และจะต้องออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้เท่านั้น ในกรณีที่ร้านค้าไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะต้องเป็นสินค้าและบริการที่เป็นหนังสือทุกรูปแบบ หรือเป็นสินค้า OTOP ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชน
ร้านค้าหรือผู้ประกอบการ จะต้องออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ สามารถใช้ได้ทั้งแบบกระดาษ และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ร้านค้าหรือผู้ประกอบการ จะต้องออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มแบบเต็ม ในรูปแบบของงใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบของกรมสรรพากร ไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีในรูปแบบกระดาษได้
(ในกรณีที่ได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบกระดาษมานั้น จะต้องมีข้อมูลที่ระบุุไว้ว่า ‘เอกสารนี้ได้จัดทำและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์’)

2. Easy E-Receipt กับ Digital Wallet 10,000 บาท เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่?

ต้องบอกเลยว่าทั้งสองนั้น เป็นคนละนโยบายกัน โดยนโยบาย Digital Wallet 10,000 บาท นั้น จะเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่มุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยจะมอบให้กับประชาชนคนไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

ในส่วนของนโยบาย E-Receipt นั้น ก็จะเป็นนโยบายมีสำหรับผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกคนในการใช้เป็นค่าลดหย่อน ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือจำกัดเฉพาะคน และยังไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการ Digital Wallet 10,000 บาทด้วย

3. E-Receipt ต้องจ่ายเงินแบบไหน ถึงเป็นค่าลดหย่อนได้

สำหรับนโยบาย E-Receipt นั้น สามารถซื้อสินค้าและบริการที่เข้าร่วมและตรงตามเงื่อนไข ผ่านการชำระเงินหรือจ่ายเงินแบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น การจ่ายด้วยเงินสด, บัตรเครดิต, การโอนเงิน ฯลฯ แต่สำคัญที่ว่า ผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการนั้น จะต้องสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Receipt ให้เราได้

4. เข้าพักโรงแรม ซื้ออาหารในโรงแรม สามารถนำมาลดหย่อนได้ไหม ?

สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ หากโรงแรมนั้นๆ สามารถที่จะออกใบกำกับภาษีเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ของค่าซื้ออาหารได้ และจะต้องเป็นในช่วงของวันที่ตามระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ นั่นก็คือ วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567

5. ซ่อมรถ เปลี่ยนอะไหล่ ฯลฯ สามารถลดหย่อนได้ไหม ?

สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ หากร้านค้าหรือผู้ให้บริการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร

6. เติมน้ำมัน เติมก๊าซ จ่ายค่าไฟ ค่าน้ำประปา สามารถลดหย่อนได้ไหม ?

ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ รวมไปถึงการเติมน้ำมัน เติมก๊าซ จะไม่สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้

7. ซื้อทอง สามารถนำมาลดหย่อนได้ไหม

ในกรณีที่เป็นการซื้อทองรูปพรรณนั้น สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้ เฉพาะค่ากำเน็จ (ตามภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากร้านค้าหรือผู้ให้บริการสามารถที่จะออกใบกำกับภาษีเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้

แต่หากเป็นการซื้อทองคำแท่ง จะไม่สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้ เนื่องจากทองคำแท่ง เป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบค้าจะไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีที่ใช้เป็นหลักฐานในการยื่นเป็นค่าลดหย่อนตามโครงการนี้

8. ซื้อบริการทัวร์ หรือ ท่องเที่ยว ภายในประเทศ ลดหย่อนได้ไหม ?

สามารถนำมาลดหย่อนได้ หาดเป็นแพ็กเกจท่องเที่ยว ทัวร์ ภายในประเทศ ที่ชำระและใช้บริการในระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 และผู้ให้บริการสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้

9. ใบกำกับภาษีที่มีข้อความที่ขียนผิด หรือมีการแก้ไข สามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้หรือไม่ ?

หากใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีรายการครบตามที่กรมสรรพากรกำหนด แม้ว่าจะมีการระบุชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าผิด หรือมีการแก้ไขข้อความ ก็สามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้

10. ชำระค่าสินค้าและบริการระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 แต่ใช้บริการจริงหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 สามารถลดหย่อนได้หรือไม่ ?

ไม่สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยจะต้องเป็นสินค้าและบริการที่ซื้อและใช้ในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 เท่านั้น


อ่านบทความเพิ่มเติม / เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ยื่นภาษีออนไลน์ 2566
ตัวอักษรพิเศษน่ารักๆ
ซิมเทพ
แอปวัดที่ดิน กรมที่ดิน, แอปวัดขนาดที่ดิน
สมัครเน็ต AIS รายวัน, โปรเน็ต AIS รายวัน
นาฬิกาออกกำลังกาย 2023
โหลดคลิปจาก Facebook
เกมมือถือเล่นกับเพื่อน ฟรี, เกมมือถือเล่นกับเพื่อน 2023
ฟอนต์ไอโฟน ฟรี
อัดหน้าจอคอม Windows 11
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก