เงินดิจิทัล 10000 บาทคืออะไร ใช้งานอย่างไร รวมข้อมูล อัปเดต 2023
เงินดิจิทัล 1,0000 บาท เป็นกระแสมาตั้งแต่ในช่วงเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย และยิ่งกลายเป็นประเด็นให้พูดถึงมากยิ่งขึ้นเมื่อ นายกคนที่ 30 ของประเทศไทยนั้นเป็นผู้นำที่มาจากพรรคเพื่อไทย ทำให้หลายๆ คนเกิดการตั้งคำถามว่า แล้วนโยบายดังกล่าวนี้คืออะไร จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ สามารถนำไปใช้จ่ายอะไรได้บ้าง รวมไปถึงมีเงื่อนไขในการใช้อย่างไร ฯลฯ ทีมงาน NotebookSPEC ก็ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นในสเรื่องของเงื่อนไข การใช้งาน รวมไปถึงข้อสังเกตต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกียวกับนโยบายนี้มาฝากกัน จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
- เงินดิจิทัล 10000 คืออะไร
- การลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท
- การใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท
- ข้อสังเกตของเงินดิจิทัล 10,000 บาท
เงินดิจิทัล 10000 คืออะไร
เงินบาทดิจิทัล หรือ เงินดิจิทัล ที่ถูกพูดถึงกันอยู่นั้น เป็นสกุลเงินที่สำหรับประชาชน ที่มีชื่อทางการว่า Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือ Digital Currency Electronic Payment (DCEP) ซึ่งออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. โดยในเบื้องต้นนั้นเงินดิจิทัลนี้จะถูกสร้างขึ้นมาด้วยเทคโนโลยี Blockchain ที่สามารถใช้จ่ายได้โดยผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือ Digital Wallet นั่นเอง
พรรคเพื่อไทยได้ประกาศนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้กับประชาชนทุกคนที่มีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยใช้ชื่อว่า “โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินดิจิทัล” โดยจะเริ่มแจกเงินภายใน 6 เดือนหลังจากได้รับการเลือกตั้ง
เงินดิจิทัลที่แจกจะเป็นเหรียญ (คูปอง) ในรูปแบบบล็อกเชนที่เท่ากับเงินบาท ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับเหรียญอื่นได้ สามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการได้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ใช้จ่ายได้กับร้านค้าชุมชนใกล้บ้าน 4 กม. จากที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
- ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้
- มีอายุการใช้งาน 6 เดือน
นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทของพรรคเพื่อไทยนั้น เป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และคาดการณ์ว่าจะมีผลบังคับใช้หรือเริ่มใช้นโยบายนี้ได้ในเดือนมกราคม 2024 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้ยังอยู่ระหว่างการหารือและยังไม่ได้บังคับใช้จริง ดังนั้นจึงควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด
การลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท
ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าเงินดิจิทัล 10,000 บาทนั้น ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับนั่นก็คือ ประชาชนคนไทยที่
- มีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- สามารถรับเงินดิจิทัลได้ด้วยการใช้เพียงเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักเท่านั้น
- ผู้ที่ได้รับสิทธิ์สวัสดิการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการคนชรา, ผู้พิการ ฯลฯ ก็ยังสามารถได้รับสิทธิ์เงินดิจิทัลเต็มจำนวน
ในส่วนของการลงทะเบียนรับเงินดิจิทัลนั้น ในเบื้องต้นตามนโยบายที่ออกมา เราไม่จำเป็นที่จะต้องลงทะเบียนรับเงิน เพราะประชาชนนั้นจะสามารถรับเงินดิจิทัลนี้ได้ผ่านทางกระเป๋าเงินดิจิทัลหรือ Digital Wallet ที่เชื่อมต่อกับบัตรประชาชนเลย ส่งผลให้ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนเพื่อรับเงิน ทั้งนี้ในส่วนของคนที่ไม่สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันหรือไม่มีสมาร์ทโฟนในการใช้งานแอปฯ ก็สามารถรับเงินดิจิทัลและใช้จ่ายได้ โดยใช้บัตรประชาชนในการใช้จ่ายนั่นเอง
การใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท
หลายๆ คน คงเกิดคำถามว่า แล้วเงินดิจิทัล 10,000 บาทนี้ จะสามารถนำไปใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ตามนโยบายของพรรคเพื่อไทยเอง ก็ได้มีการตอบคำถามนี้เอาไว้ โดยเมื่อเราได้รับเงินดิจิทัลมาแล้ว ก็จะสามารถนำไปใช้จ่ายกับร้านค้าที่อยู่ภายในรัสมีระยะ 4 กิโลเมตร ตามที่อยู่ทะเบียนบ้าน ซึ่งในส่วนนี้ก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามเงื่อนไขต่างๆ เช่น พื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก เป็นต้น โดยสาเหตุที่ต้องใช้จ่ายตามระยะทางจากทะเบียนบ้านนั้น ก็เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชนหรือเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นของไทยด้วยนั่นเอง
การใช้จ่ายเงินดิจิทัลนั้น ในเบื้องต้นเป็นดังนี้
- ใช้ซื้ออาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เครื่องมือ อุปกรณ์ ของใช้ต่างๆ ได้ตามปกติ
- ห้ามนำไปใช้หนี้ ซื้อสินค้าอบายมุข ยาเสพติด และการพนัน
- ไม่สามารถนำไปซื้อสินค้าออนไลน์ได้
- การใช้จ่ายเงินดิจิทัล จะต้องใช้จ่ายภายในระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้เงิน
- เงินดิจิทัล 10,000 บาทนั้น ไม่สามารถนำไปแลกเป็นเงินสด กดเป็นเงินสด หรือทำธุรกรรมการเบิกถอนใดๆ ได้
- การใช้จ่ายเงินดิจิทัลนั้น จะต้อองใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงิน Digital Wallet หรือบัตรประชาชนเท่านั้น
ข้อสังเกตของเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ถึงแม้ว่าเงินดิจิทัล 10,000 บาท นั้นจะมีความน่าสนใจมากเพียงใด แต่ก็ถือว่ามีข้อสังเกตอยู่เช่นกัน ว่าไม่จะเป็น
- ความเสี่ยงเกิดเงินเฟ้อ ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นทันที อาจทำให้เกิดการดันราคาสินค้าและบริการให้เพิ่มขึ้น ทำให้เงินที่มีอยู่มีอำนาจในการซื้อลดลง กระทบถึงพนักงานที่ต้องขึ้นเงินเดือนหรือธนาคารที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ
- ความไม่ชัดเจนในด้านกฎหมาย เงินดิจิทัลของพรรคเพื่อไทยมีความใกล้เคียงกับ Utility Token หรือ E-money แต่มีข้อขัดแย้งด้านกฎหมาย เช่น Utility Token ห้ามใช้ชำระราคาสินค้าและบริการเป็นการทั่วไป และ E-money ต้องเติมเงินจริงเข้าไปก่อน แต่งบประมาณ 560,000 ล้านบาท มาจากการตั้งสำรองงบประมาณที่คาดว่าจะได้จากภาษีในอนาคต จึงอาจไม่สามารถเติมเงินไปล่วงหน้าได้
- เทคโนโลยีบล็อกเชนอาจไม่ตอบโจทย์ มีข้อจำกัดด้านความเร็ว ความกระจายตัว และความเป็นส่วนตัว หากใช้บล็อกเชนแบบ Public Blockchain อาจกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของประชาชน และหากใช้บล็อกเชนแบบ Private Blockchain อาจไม่ต่างอะไรจากระบบฐานข้อมูลทั่วไป
และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของนโยบายเงินดิจิทัล 10000 บาท ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนโยบายชูโรงของพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากพรรคเพื่อไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นโยบายนี้ก็ยังไม่ได้มีการบังคับใช้ แต่ก็ยังคงถูกพูดถึงอยู่เรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหลักการที่มีข้อถกเถียงในเรื่องของความเสี่ยง ความปลอดภัย ไปจนถึงรายละเอียดและเงื่อนไขในการใช้จ่ายเงินดิจิทัล เราจึงต้องคอยติดตามข่าวสารและรายละเอียดต่างๆ ต่อไป
ทั้งนี้ ในวันที่ 29 กันยายน 2566 พรรคเพื่อไทยได้ประกาศว่า กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลสำหรับใช้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท คาดว่าจะพร้อมใช้งานภายใน 6 เดือนหลังจากได้รับการเลือกตั้ง โดยพรรคเพื่อไทยยังระบุว่า จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง และกรมสรรพากร เพื่อตรวจสอบและติดตามการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
สามารถติดตามข่าวสารและรายละเอียดการดำเนินการต่างๆ ของพรรคเพื่อไทยได้ที่: พรรคเพื่อไทย