แท่นชาร์จไร้สายดีๆ สักตัววางบนโต๊ะทำงานเมื่อไหร่ บอกเลยว่าลืมสายชาร์จไปเลย!
ถ้าใครใช้ iPhone หรือสมาร์ทโฟน Android ระดับเรือธงหลายๆ รุ่นที่มีฟีเจอร์ชาร์จไร้สายล่ะก็ แท่นชาร์จไร้สายก็ถือเป็นข้าวของเครื่องใช้ที่น่ามีติดโต๊ะทำงานมาก เพราะหลังจากใช้มือถือทำธุระมาทั้งวันแล้วก็เอาเครื่องวางที่ตัวแท่นชาร์จได้เลยไม่ต้องมาคอยเสียบปลั๊กให้ยุ่งยาก เวลาจะใช้ก็หยิบเครื่องจากแท่นชาร์จไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ติดสายชาร์จอะไรอีกด้วย แค่ความเร็วตอนชาร์จแบตเตอรี่อาจจะไม่เร็วทันใจเหมือนสายชาร์จเท่านั้นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม แท่นชาร์จไร้สายหลายๆ รุ่นก็ค่อยๆ อัพเกรดประสิทธิภาพการชาร์จของตัวเองขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จากเมื่อก่อนที่ยืนพื้นกันที่ 5 วัตต์ ก็มีรุ่น 10-20 วัตต์ หรือมากกว่านั้นเปิดตัวออกมาเรื่อยๆ อีกด้วย เรียกว่าตอบโจทย์คนที่ขอการใช้งานสะดวกอย่างแน่นอน
Qi (ชี่) มาตรฐานการชาร์จไร้สายที่อยู่มานานกว่าที่คิด
ถ้าพูดถึงชื่อมาตรฐานการชาร์จไร้สายในปัจจุบัน ตอนนี้ก็จะมีมาตรฐานที่แพร่หลายสุดอย่าง Qi หรือ “ชี่” เป็นภาษาจีน ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสที่เปิดให้พัฒนาและออกแบบโดยอิสระ (Open interface standard) ซึ่งเริ่มพัฒนากันมาตั้งแต่ปี 2008 หรือผ่านมา 13 ปีแล้ว และในปัจจุบันมีการประกาศเวอร์ชั่น 1.3 มาเมื่อเดือนมกราคม 2021 ที่ผ่านมานี้เอง โดยความเร็วในการชาร์จและฟีเจอร์หลักๆ ของแต่ละเวอร์ชั่นจะมีดังนี้
- เวอร์ชั่น 1.0 – มาตรฐานแรกสุดที่ประกาศเมื่อปี 2010 มีกำลังชาร์จสูงสุด 5 วัตต์ โดยกำหนดตัวคอลย์ชาร์จว่าจะเป็นคอยล์เดี่ยว (Single coil), คอยล์ที่จัดรูปทรงไว้ (Coil array) หรือคอยล์ที่ขยับตัวได้ (Moving coil)
- เวอร์ชั่น 1.1 – มาตรฐานที่ 2 ประกาศเปิดตัวเมื่อปี 2012 ยังคงกำลังชาร์จไว้ที่ 5 วัตต์เช่นเดิม แต่เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปลงในตัวชาร์จไร้สาย 12 แบบ, เพิ่มการตรวจจับวัตถุรอบตัวชาร์จไม่ให้ส่งผ่านความร้อนไปยังโลหะที่อยู่ใกล้ และเพิ่มตัวแปลงพลังงานผ่านมาตรฐาน USB เข้ามา
- เวอร์ชั่น 1.2 – ประกาศเปิดตัวปี 2015 โดยเพิ่มกำลังชาร์จไปที่ 15 วัตต์ แยกโปรไฟล์การชาร์จออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ Baseline Power Profile (BPP) ให้อยู่ที่ 5 วัตต์ และ Extended Power Profile (EPP) ให้อยู่ที่ 15 วัตต์ มีการประกาศเพิ่มกำลังตัวชาร์จสูงสุดให้ขึ้นไปที่ 15 วัตต์, ปรับแต่งการทดสอบความร้อนของตัวส่งกระแสให้ดียิ่งขึ้น ฯลฯ
- เวอร์ชั่น 1.2.3 – ประกาศเปิดตัวปี 2017 เพิ่ม Power Class 0 ซึ่งเพิ่มกำลังชาร์จสำหรับอุปกรณ์สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ให้แท่นชาร์จมีกำลังชาร์จได้สูงสุดที่ 30 วัตต์
- เวอร์ชั่น 1.2.4 – ประกาศเปิดตัวปีเดียวกันกับข้อที่แล้ว โดยเพิ่มมาตรฐานการทดสอบและแก้ไขให้ EPP เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น
- เวอร์ชั่น 1.3 – ประกาศเปิดตัวปี 2021 โดยเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับการชาร์จไร้สายดังนี้
- ปรับแต่งรายละเอียดเกี่ยวกับสเปคการชาร์จไร้สาย
- ประกาศการรองรับแท่นชาร์จที่ผ่านมาตรฐาน Qi แล้ว
- ประกาศปรับแต่ง FOD features และการทดสอบอุปกรณ์ชาร์จไร้สายรวมไปถึง low-Q test ด้วย
โดยในเวอร์ชั่น 1.3 นั้นจะมีรายละเอียดอื่นๆ อีกพอสมควร ซึ่งขอยกยอดการกล่าวถึงเอาไว้ แต่ถ้าใครสนใจก็สามารถไปศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของทาง Wireless Power Consortium ได้เลย
ส่วนหลักการทำงานของแท่นชาร์จไร้สายถ้าผ่าตัวแท่นชาร์จออกมา จะเห็นชุดวงจรกับขดลวดที่เป็นตัวส่งพลังสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังขดลวดตัวรับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ฝังเอาไว้ในสมาร์ทโฟนรุ่นนั้นๆ ที่วางอยู่บนแท่นชาร์จ ซึ่งระยะการทำงานของสนามแม่เหล็กตามมาตรฐาน Qi จะอยู่ภายในระยะ 4 เซนติเมตร (1.6 นิ้ว) ซึ่งปัจจุบันนี้จะมีสมาร์ทโฟนกว่า 200 รุ่นทั่วโลกที่รองรับการชาร์จไร้สายได้แล้ว
ส่วนของความเร็วว่าจะชาร์จได้เร็วแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับตัวส่งและตัวรับด้วย ว่าสร้างกำลังชาร์จได้กี่วัตต์ โดยจะอิงตามฝั่งที่มีกำลังต่ำที่สุด เช่น ถ้าแท่นชาร์จจ่ายกระแสได้ 25 วัตต์ แต่มือถือรับได้เพียง 15 วัตต์ ก็จะชาร์จได้ 15 วัตต์เท่านั้น หรือถ้าแท่นชาร์จจ่ายกระแสได้ 15 วัตต์ แต่มือถือรับได้ 25 วัตต์ ก็จะชาร์จได้แค่ 15 วัตต์ เช่นกัน
ส่วนใครที่ไม่แน่ใจว่าสมาร์ทโฟนของตัวเองรองรับการชาร์จไร้สายหรือเปล่า ก็แนะนำให้เราไปดูจากหน้าสเปคของมือถือรุ่นนั้นๆ ที่เราใช้งานอยู่จากหน้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตหรือเว็บไซต์ที่มีฐานข้อมูลสเปคมือถือเช่น Specphone.com ก็ได้ แล้วเลื่อนมาดูรายละเอียดสเปคส่วนของแบตเตอรี่ ว่ามือถือเครื่องนั้นรองรับ Wireless Charging หรือเปล่า ซึ่งถ้ารองรับก็ซื้อแท่นชาร์จไร้สายมาใช้งานได้เลย
6 แท่นชาร์จไร้สายน่าใช้ ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นแค่วางก็ชาร์จได้เลย
สำหรับที่ชาร์จไร้สายในปัจจุบันนี้ จะมีให้เลือกตั้งแต่รุ่นราคาหลักร้อยบาทต้นๆ ไปจนถึงรุ่นราคาหลักพันแต่ก็ใส่ฟีเจอร์เสริมน่าใช้เข้ามาหลายอย่างอีกด้วย โดยรุ่นที่เลือกมาแนะนำจะมีทั้งหมด 6 รุ่นดังนี้
- Baseus Jelly (269 บาท)
- Eloop W1 (379 บาท)
- ZMI WTX11 Wireless Charger (599 บาท)
- Xiaomi Mi 20W Wireless Charging Stand (659 บาท)
- UGREEN 60228 (990 บาท)
- Eloop W4 (999 บาท)
1. Baseus Jelly (269 บาท)
รุ่นแรกที่เลือกมาแนะนำเป็นที่ชาร์จไร้สายจาก Baseus รุ่น Baseus Jelly ที่ตัวแท่นชาร์จมีสีสันสดใส เลือกได้ระหว่างสีขาว, ดำหรือเหลือง บอดี้ภายนอกเป็นพลาสติกเนื้อนุ่มหุ้มอยู่ตามชื่อ Jelly ทำให้วางมือถือแล้วไม่กระทบจนเกิดเสียงดังหรือริ้วรอยที่ตัวเคสหรือเครื่อง โดยที่ชาร์จตัวนี้มีกำลังชาร์จ 15 วัตต์ มีสาย USB-C to A แถมมาให้ 1 เส้นเพื่อเสียบเข้ากับอแดปเตอร์เพื่อจ่ายไฟให้ตัวแท่นชาร์จได้เลย แต่ทางผู้ผลิตแนะนำว่าให้ใช้กับอแดปเตอร์ที่เป็น Quick Charge 3.0 ที่มีกำลังไฟ 18 วัตต์ขึ้นไป จะทำให้ชาร์จได้ดี ซึ่งถ้าใครอยากชาร์จไร้สายแล้วหาอแดปเตอร์ดีๆ ราคาไม่แพงอาจจะเริ่มจากตัวนี้ก็ได้
สเปคของ Baseus Jelly
- ที่ชาร์จไร้สายเนื้อยาง เลือกสีได้ระหว่างขาว, ดำหรือเหลือง
- กำลังชาร์จไร้สาย 15 วัตต์ ควรต่อกับอแดปเตอร์ Quick Charge 3.0 กำลังชาร์จ 18 วัตต์
- มีสาย USB-A to C แถมมาให้ 1 เส้น
- ราคา 269 บาท (Baseus Thailand Shopee Mall)
2. Eloop W1 (379 บาท)
ด้าน Eloop ผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟนชื่อดังที่มีชื่อเสียงจากการทำ Power Bank จนคุ้นหูชาวไทยเองก็มีที่ชาร์จไร้สายรุ่น Eloop W1 ให้เลือกซื้อเช่นกัน โดยตัวแท่นชาร์จจะเป็นบอดี้ผิวกระจกสวยงาม เลือกสีได้ 3 สี คือขาว, ดำ หรือทอง มีกำลังชาร์จสูงสุด 10 วัตต์ และมีสาย USB-A สำหรับต่อระหว่างตัวแท่นกับอแดปเตอร์เพื่อชาร์จมือถือได้ด้วย เรียกว่าเป็นอีกแบรนด์ที่น่าใช้เช่นกัน ยิ่งถ้าใครใช้ iPhone หรือมือถือที่ชาร์จไร้สายได้ก็แนะนำให้ซื้อมาใช้งานได้เลย
สเปคของ Eloop W1
- ที่ชาร์จไร้สายผิวกระจก เลือกสีได้ระหว่างขาว, ดำหรือทอง
- กำลังชาร์จไร้สาย 10 วัตต์ มีสาย USB-A แถมมาให้ 1 เส้น
- ราคา 379 บาท (Eloop Thailand Shopee Mall)
3. ZMI WTX11 Wireless Charger (599 บาท)
นอกจากสายชาร์จ, ปลั๊กหรือ Power bank แล้ว Zmi ก็มีที่ชาร์จไร้สายให้ใช้เช่นกัน โดยเป็นรุ่น Zmi WTX11 ที่ดีไซน์เรียบหรู บอดี้เป็นแท่นอลูมิเนียมบุผ้า Alcantara ที่เนื้อยืดหยุ่นเอาไว้ด้านบน เวลาวางเครื่องแล้วจะไม่เป็นรอยและมีระบบป้องกันไฟเกินติดตั้งไว้ในตัวและมีไฟแสดงสถานะการชาร์จด้วย ส่วนกำลังชาร์จอยู่ที่ 10 วัตต์ และมีสาย USB-C to A แถมมาให้ต่อกับอแดปเตอร์เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ได้ด้วย แต่แนะนำให้ต่อกับอแดปเตอร์ที่เป็น Quick Charge 3.0 ที่จ่ายไฟได้ 18 วัตต์จะดีที่สุด
สเปคของ Zmi WTX11 Wireless Charger
- ที่ชาร์จไร้สายบอดี้อลูมิเนียมบุผ้า Alcantara เนื้อยืดหยุ่น มีไฟแสดงสถานะการชาร์จ
- กำลังชาร์จไร้สาย 10 วัตต์ ควรต่อกับอแดปเตอร์ Quick Charge 3.0
- มีสาย USB-C to A แถมมาให้ 1 เส้น
- ราคา 599 บาท (425 Degree)
4. Xiaomi Mi 20W Wireless Charging Stand (659 บาท)
นอกจากค่ายในเครือจะมีแท่นชาร์จไร้สายให้เลือกซื้อแล้ว Xiaomi เองก็มี Xiaomi Mi 20W Wireless Charging Stand ให้เลือกซื้อด้วยเช่นกัน โดยดีไซน์จะเป็นแท่นให้วางมือถือเป็นแนวตั้งแต่เฉียงไปด้านหลังเล็กน้อยและติดตั้งคอยล์ชาร์จเอาไว้ด้านในให้วางชาร์จในแนวตั้งหรือวางตะแคงเครื่องก็ได้ บอดี้เป็นพลาสติกเนื้อแข็งงานประกอบเรียบร้อยพร้อมไฟแสดงสถานะการชาร์จ มีกำลังชาร์จไร้สาย 20 วัตต์ ทำให้ชาร์จแบตเตอรี่เต็มได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีสาย USB-C แถมมาให้ในกล่องอีกด้วย ซึ่งถ้าใครใช้มือถือที่รองรับการชาร์จเร็วได้ระดับ 20-25 วัตต์หรือสูงกว่านั้น ก็แนะนำให้ใช้แท่นชาร์จนี้เช่นกัน
สเปคของ Xiaomi Mi 20W Wireless Charging Stand
- ที่ชาร์จไร้สายบอดี้พลาสติกเนื้อแข็ง ดีไซน์ให้วางมือถือในแนวตั้งหรือตะแคงได้ มีไฟแสดงสถานะการชาร์จ
- กำลังชาร์จไร้สาย 20 วัตต์ ควรต่อกับอแดปเตอร์ Quick Charge 3.0
- มีสาย USB-C แถมมาให้ 1 เส้น
- ราคา 659 บาท (Xiaomi Authorized Store Shopee Mall)
5. UGREEN 60228 (525 บาท)
ถัดมาเป็น UGREEN 60228 แท่นชาร์จไร้สายที่ดีไซน์ให้วางสมาร์ทโฟนเป็นแนวตั้งหรือตะแคงก็ได้แบบเดียวกับ Xiaomi บอดี้เป็นพลาสติกเนื้อแข็งติดตั้งคอยล์ชาร์จเอาไว้ 2 ตัวในตัวแท่นเพื่อให้กำลังชาร์จเสถียรยิ่งขึ้นแต่กำลังชาร์จจะลดลงเหลือ 10 วัตต์ มีสาย USB-C แถมมาให้ในกล่อง 1 เส้นเพื่อเสียบอแดปเตอร์และมีไฟแสดงสถานะการชาร์จด้วย ส่วนอแดปเตอร์ควรเป็นแบบ Quick Charge 3.0 เพื่อให้จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ ซึ่งตัวที่ชาร์จไร้สายจาก UGREEN ตัวนี้ก็ถือว่าเป็นรุ่นที่น่าสนใจและงานประกอบสวยดีทีเดียว ซึ่งถ้าใครมีมือถือที่ชาร์จไร้สายได้จะซื้อตัวนี้ไปใช้งานก็น่าสนใจเช่นกัน
สเปคของ UGREEN 60228
- ที่ชาร์จไร้สายบอดี้พลาสติกเนื้อแข็ง ดีไซน์ให้วางมือถือในแนวตั้งหรือตะแคงได้ มีไฟแสดงสถานะการชาร์จ
- กำลังชาร์จไร้สาย 10 วัตต์ ควรต่อกับอแดปเตอร์ Quick Charge 3.0
- มีสาย USB-C แถมมาให้ 1 เส้น
- ราคา 525 บาท (UGREEN Official by Gadget Villa)
6. Eloop W4 (999 บาท)
ส่วนแท่นชาร์จไร้สายตัวสุดท้ายจะเป็นรุ่น Eloop W4 ที่เรียกว่าซื้อมาตัวเดียวชาร์จได้ 5 อุปกรณ์พร้อมกัน โดยเฉพาะคนที่ใช้ iPhone อยู่ก็แนะนำให้ซื้อคู่กับตัวชาร์จ Apple Watch โดยเฉพาะ รุ่น Eloop W3 มาด้วย จะครบเครื่องยิ่งขึ้น โดยตัวแท่นชาร์จไร้สายตัวนี้จะเป็นแบบแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยตัวที่ชาร์จจะเป็นพลาสติก ABS ติดตั้งคอยล์ชาร์จเอาไว้หลายตัวเพื่อให้ชาร์จมือถือและอุปกรณ์เสริมเช่นหูฟัง True Wireless ไร้สายพร้อมกัน 2 ชิ้นได้เลย และด้านหลังจะมีพอร์ต USB-A x 2 ช่องและ USB-C x 1 ช่อง และมีช่องเสียบปลั๊กไฟบ้านแยกเฉพาะด้วย โดยกำลังชาร์จจะเป็นดังนี้
- ตัวแท่นชาร์จสามารถชาร์จไร้สายให้อุปกรณ์ 2 ชิ้นพร้อมกันได้ จ่ายกระแส 10 วัตต์
- พอร์ต USB-A ข้างปลั๊กไฟจ่ายกระแส 12 วัตต์
- พอร์ต USB-A ที่คู่กับ USB-C จ่ายกระแสได้ 18 วัตต์ทั้งคู่ แต่ USB-A เป็น Quick Charge 3.0 ส่วน USB-C เป็น Power Delivery 18 วัตต์
ส่วนในกล่องจะแถมเป็นหัวชาร์จเฉพาะสำหรับ Eloop W4 มาให้ 1 ตัวเท่านั้น ซึ่งถ้าใครมีอุปกรณ์ที่ใช้ชาร์จไร้สายอยู่หลายชิ้น เช่นมีสมาร์ทโฟนกับหูฟังไร้สายที่ตัวเคสรองรับการชาร์จไร้สายได้ด้วย ก็แนะนำให้ลงทุนซื้อตัวนี้มาใช้งานได้เลย
สเปคของ Eloop W4
- ที่ชาร์จบอดี้พลาสติก ABS สวยแข็งแรง ชาร์จ 5 อุปกรณ์ได้พร้อมกัน มีช่องเสียบปลั๊กเฉพาะ
- ชาร์จไร้สายพร้อมกันได้ 2 อุปกรณ์ มีพอร์ต USB-A x 2, USB-C x 1 ให้ต่อชาร์จแบบมีสายได้
- แถมเฉพาะอแดปเตอร์สำหรับ Eloop W4
- ราคา 999 บาท (Eloop Thailand Shopee Mall)
สรุปสเปคแท่นชาร์จไร้สาย 6 รุ่นน่าใช้ ชาร์จมือถือสะดวก ไม่ต้องต่อสาย
สำหรับแท่นชาร์จไร้สายที่เลือกมาแนะนำในบทความนี้ จะมีให้เลือกหลายรุ่นหลากกำลังชาร์จรวมถึงราคาด้วย ซึ่งถ้าสรุปสเปคและกำลังชาร์จให้เข้าใจได้ง่ายๆ จะเป็นดังนี้
สเปคแท่นชาร์จ ไร้สาย |
วัสดุตัวแท่นชาร์จ | กำลังชาร์จ | อุปกรณ์ในกล่อง | ราคา |
Baseus Jelly | วัสดุเนื้อยาง เลือกสีขาว, ดำ, เหลือง |
15 วัตต์ ควรต่อกับอแดปเตอร์ Quick Charge 3.0 กำลังชาร์จ 18 วัตต์ |
USB-A to C x 1 | 269 บาท |
Eloop W1 | แท่นชาร์จผิวกระจก เลือกสีขาว, ดำ, ทอง |
10 วัตต์ ควรต่อกับอแดปเตอร์ Quick Charge 3.0 กำลังชาร์จ 18 วัตต์ |
USB-A x 1 | 379 บาท |
Zmi WTX11 | แท่นชาร์จบอดี้อลูมิเนียม บุผ้า Alcantara | 10 วัตต์ ควรต่อกับอแดปเตอร์ Quick Charge 3.0 กำลังชาร์จ 18 วัตต์ |
USB-A to C x 1 | 599 บาท |
Xiaomi Mi 20W Wireless Charging Stand | แท่นชาร์จบอดี้พลาสติกเนื้อแข็ง ดีไซน์ให้วางมือถือในแนวตั้งหรือตะแคงได้ | 20 วัตต์ ควรต่อกับอแดปเตอร์ Quick Charge 3.0 |
USB-C x 1 | 659 บาท |
UGREEN 60228 | แท่นชาร์จบอดี้พลาสติกเนื้อแข็ง ดีไซน์ให้วางมือถือในแนวตั้งหรือตะแคงได้ | 10 วัตต์ ควรต่อกับอแดปเตอร์ Quick Charge 3.0 |
USB-C x 1 | 525 บาท |
Eloop W4 | แท่นชาร์จสี่เหลี่ยมผืนผ้า พลาสติก ABS | ชาร์จได้ 5 อุปกรณ์พร้อมกัน ชาร์จไร้สาย 2 อุปกรณ์ USB-A 12W x 1 USB-A 18W x 1 USB-C 18W x 1 ต่อกับอแดปเตอร์เฉพาะของแท่นชาร์จ |
อแดปเตอร์เฉพาะของแท่นชาร์จ | 999 บาท |
สำหรับตัวแท่นชาร์จไร้สายนั้น ถ้าให้จัดหมวดหมู่แล้วก็ถือว่าเป็น Gadget ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกแต่ก็ไม่ถึงกับจำเป็นต้องรีบเร่งหาซื้อมาใช้งาน เนื่องจากฟีเจอร์ชาร์จไร้สายยังเป็นฟีเจอร์ที่เพิ่มความสะดวกและยังเก็บเอาไว้ให้มือถือระดับเรือธงหลายๆ รุ่นอยู่ ดังนั้นถ้าใครเป็นผู้ใช้ทั่วไปอาจจะใช้สายชาร์จตามปกติก็เพียงพอแล้วเช่นกัน
กลับกัน คนที่ใช้มือถือเรือธง มีฟีเจอร์ชาร์จไร้สายแล้วอยากชาร์จมือถือแบบสะดวกๆ ไม่ต้องทำอะไรมากแค่วางเครื่องทิ้งเอาไว้ก่อนนอน พอตื่นเช้ามาก็หยิบไปใช้งานตามปกติได้เลย แล้วยิ่งถ้าใครมีอุปกรณ์ที่ชาร์จไร้สายได้อยู่หลายชิ้น อย่างหูฟัง True Wireless, นาฬิกาสมาร์ทว็อชและสมาร์ทโฟน จะลงทุนซื้อแท่นชาร์จที่เสียบชาร์จพร้อมกันได้หลายอุปกรณ์ นอกจากจะประหยัดหัวปลั๊กแล้วชีวิตยังสะดวกและรวมของเอาไว้ที่เดียว ไม่หายหรือกระจัดกระจายไปทั่วห้องอีกด้วย