การดำเนินเรื่องในโหมดเนื้อเรื่องของวีดีโอเกมสามารถทำได้หลายวิธีแม้ว่าเราจะสามารถอธิบายผู้เล่นแบบตรง ๆ ก็ได้แต่ถ้าแบบนั้นมันก็ดูจะเชยและไร้สีสันพอสมควรฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ผู้พัฒนาเกมสมัยนี้นิยมชอบใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อเล่าเรื่องราวโดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายออกมาตรง ๆ ให้ผู้เล่นรับรู้แต่เทคนิตเหล่านั้นมันจะมีอะไรบ้างล่ะ ?
เพื่อไขคำตอบนี้ทางเว็บไซต์ Kotaku จึงได้รวบรวมข้อมูลเทคนิคการเล่าเรื่องที่ผู้พัฒนาเกมชอบใส่เข้ามาจำนวน 20 เทคนิคมาให้เพื่อน ๆ ได้รับรู้กันและไม่แน่ว่าสิ่งที่คุณมักจะมองข้ามไปในเกมมันอาจจะเป็นเบาะแสเผยเนื้อเรื่องเกมให้เติมเต็มโดยสมบูรณ์ก็ได้
20.ตำราโบราณ
ถ้าหากคุณเล่นเกมประเภทแฟนตาซีหรือ RPG รวมไปถึงเกมแนวไซไฟมันมักจะมีหนังสือหรือตำราบางเล่มที่เปิดให้อ่านได้ซึ่งตำราพวกนี้จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวโยงกับเนื้อเรื่องหลักถ้าได้อ่านคุณก็จะสามารถเติมเต็มเนื้อเรื่องได้สมบูรณ์อินไปกับเกมมากขึ้น
19.บทพูดยาว ๆ ของตัวร้าย
เป็นแทบทุกเกมที่เวลาเราเจอกับตัวร้ายจะมีบทพูดบทสนทนาอันยาวเหยียดหรือฉากย้อนอดีตและบ่อยครั้งที่เรามักจะ Skip ข้ามแต่ความจริงแล้วในบทพูดเหล่านั้นมันจะเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องหลักหรือบางทีมันอาจจะเป็นกุญแจสำคัญในอนาคตข้างหน้าก็ได้ครับ
18.เอกสารลับ
นี่ก็คล้าย ๆ กับตำราโบราณแต่ผู้พัฒนาเกมมักจะแอบใส่หรือแอบซ่อนไว้ในซอกหลืบมุมมืดซึ่งผู้เล่นจะต้องช่างสังเกตหรือเป็นคนชอบสำรวจสักหน่อยถึงจะเจอโดยมันก็จะเผยรายละเอียดภารกิจหรือเผยเนื้อหาสำคัญที่จะส่งผลต่อเนื้อเรื่องข้างหน้า
17.เทปเสียง
เฉกเช่นเดียวกับเอกสารลับแต่มาในรูปแบบเสียงแทนครับและการใส่เทคนิคแบบนี้ก็ถือว่าท้าทายพอสมควรเพราะต้องใช้ทักษะการฟังในระดับหนึ่งแถมยังทำให้คุณรู้สึกเหมือนเป็นนักสืบคอยแกะรอยนิด ๆ ด้วย
16.หน้าจอ Loading
มันอาจจะจะไม่มีอะไรน่าสนใจนักสำหรับการรอโหลดเข้าฉากแต่ในบางเกมผู้พัฒนาก็นำจุดนี้ใส่เนื้อเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เข้าไปหรือใส่ Tip เทคนิคการเล่นเข้าไปด้วยครับ
15.กราฟิตี้หรือข้อความบนกำแพง
เป็นตัวช่วยชั้นดีสำหรับคนที่ชอบสังเกตโดยผู้พัฒนาเกมมักจะไม่บอกตรง ๆ ว่าควรให้ผู้เล่นเดินไปทางไหนหรือควรใช้อาวุธอะไรแต่จะบอกใบ้ผ่านข้อความบนกำแพงโดยเกมที่เด่นชัดก็ได้แก่ Left 4 Dead ที่บอกทางไปจุด Safe หรือ Dead Space ที่มีข้อความเปื้อนเลือดคอยบอกว่าควรจะทำอะไรก่อนไปเผชิญกับเอเลี่ยนปีศาจ
14.ข่าวสารที่ออกอากาศ
เกมที่เดินเรื่องในยุคปัจจุบันหรือยุคอนาคตก็จะมีบางฉากจะมีโทรทัศน์หรือข่าวสารแพร่ภาพอยู่ซึ่งมันอาจจะไม่มีอะไรสำคัญแต่ถ้าหากคุณลองแวะฟังมันก็จะพบสิ่งที่ผู้พัฒนาใส่ไว้นั่นก็คือเนื้อหาเกมหรือข้อความส่วนเติมเต็มของเรื่องราวครับ
13.เสียงจากวิทยุติดตามตัว
สำหรับเสียงจากวิทยุสื่อสารก็มักจะให้ผู้เล่นเดินทางไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้นเสียงบอกไว้เช่นเมื่อเริ่มเกมตัวเกมก็จะไม่บอกข้อความหรือโชว์ลูกศรแบบตรง ๆ แต่จะมาเป็นเสียงให้ผู้เล่นรู้สึกตื่นตัวและอินไปกับเรื่องราวเช่นเสียงขอความช่วยเหลือจากผู้รอดชีวิต เป็นต้น
12.ผี
บางเกมการที่มีภูติผีโผล่มาก็ใช่ว่าจะทำให้เรากลัวจนหัวหดอย่างเดียวแต่มันอาจจะช่วยชี้ทางหรือบอกข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจที่กำลังทำก็ได้หรือการสำรวจห้องบริเวณที่มีผีก็เป็นตัวช่วยทำให้ฝ่าด่านได้ง่ายขึ้น
11.อีเมล์ลึกลับ
เกมที่ให้ผู้เล่นต้องแฮคของหรือเกมที่เป็นธีมเทคโนโลยีก็มีบ่อยครั้งที่เราจะพบว่าจู่ ๆ ก็มีอีเมล์ปริศนาเข้ามาในกล่องจดหมายลองเปิดมันดูมันอาจจะช่วยชี้ทางหรือชี้เบาะแสบางอย่างในภารกิจที่เราทำก็ได้ครับ
10.เสียงผู้ดำเนินเรื่อง
อาจจะเป็นเสียงที่น่าเบื่อเมื่อได้ยินแต่มันเป็นตัวช่วยชั้นดีที่ผู้พัฒนาใส่ระบบนี้เข้ามาเพราะจะช่วยแนะนำการเล่นพื้นฐานหรือสิ่งที่ควรรู้ได้ครบถ้วนรวดเร็วเช่นเกม Bastion ที่จะมีเสียงลึกลับคอยแนะนำผู้เล่นว่าควรทำอย่างไรต่อไป
9.เสียงพูดคุยของเหล่า NPC
ในเกม RPG แฟนตาซีที่เมื่อเราเข้าเมืองเพื่อรับเควสก็มักจะพบกับกลุ่มคนหรือผู้คนตามท้องตลาดจับกลุ่มคุยกันอย่างออกรสคุณอาจจะลองเข้าไปฟังพวกเขาคุยใกล้ ๆ เราอาจจะได้รู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของเนื้อเรื่องหรือเมืองที่คุณเข้ามาและไม่แน่ว่ามันอาจจะเป็นข้อมูลสำคัญในอนาคตข้างหน้า
8.Quiz ตอบคำถาม
การแนะนำผู้เล่นที่นอกเหนือจากข้อความหรือเอกสารลับแล้ว บางทีผู้สร้างก็ใส่ลูกเล่นด้วยคำถามให้ผู้เล่นต้องตอบราวกับทำข้อสอบด้วยครับเพื่อเป็นการเรียนรู้เนื้อหาเกมหรือข้อมูลที่ควรรู้เบื้องต้นเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่เราไม่จำเป็นต้องไปสำรวจหรือขุดค้นให้ยุ่งยาก
7.หน้าจอสรุปภารกิจ
ตรงตัวครับเมื่อเราได้รับภารกิจจาก NPC ก็จะมีช่องหน้าต่างหรือเข้าสู่หน้าจอสรุปภารกิจมาให้ซึ่งในส่วนนี้มันก้จะอธิบายข้อมูลที่คุณต้องรู้ในหน้าเดียวโดยไม่ต้องไปถามที่ไหนอีกเลยเรียกว่าครบจบในที่เดียว
6.ข้อความแนะนำตัว
บางทีการที่เราจะรู้ว่าตัวละครหรือตัวร้ายมีลักษณะอย่างไรก้ไม่จำเป็นต้องไปสืบให้ยุ่งยากเพราะบางเกมก็มีการแนะนำตัวละครด้วยการโชว์ชื่อและฉายามาให้ทันทีและเราก็จะรู้คร่าว ๆ แล้วล่ะครับว่าตัวละครนั้นเป็นใครสามารถทำอะไรได้บ้าง
5.สแกนด้วยเครื่องสแกน
บางเกมอย่าง Metroid Prime จะมีเครื่องสแกนเอาไว้ตรวจสอบสิ่งแวดล้อมในเกมมันจะมีประโยชน์มากสำหรับผู้เล่นเพราะจะได้รู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ในเกมมันคืออะไรบ้างโดยไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบายตรง ๆ และผู้เล่นก็จะได้สนุกไปกับการตรวจสอบค้นหาด้วย
4.ใส่ข้อมูลลงในตัวละคร
ผู้พัฒนาเกมก็มีลูกเล่นบางอย่างผ่านบทพูดของตัวละคร NPC ด้วยการใส่ข้อมูลที่จำเป็นให้ผู้เล่นได้รับทราบกันแบบอ้อม ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหลักหรือข้อมูลเสริมทั้งนี้ก็เพื่อความแนบเนียนไปกับเนื้อเรื่องในเกมล่ะครับ
3.เหตุการณ์ต่อไปในอนาคต
เป็นสิ่งที่ผู้พัฒนาใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปได้ดีมาก ๆ กับการพัฒนาเหตุการณ์จำพวก What If จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหาก… ซึ่งมันทำให้เนื้อเรื่องดำเนินได้หลายทางและแน่นอนว่ามันทำให้การดำเนินเรื่องดูเนียนตามีจุดพลิกผันที่าดเดาไม่ได้เหมือนชมภาพยนตร์เนื้อหาเข้มข้นเลยทีเดียว
2.บทสนทนาหยอกล้อ/ล้อเล่น
จริงอยู่ที่บทสนทนาจะช่วยให้เราซึมซับเนื้อหาหรือเป็นตัวช่วยในการเล่นเกมแต่บางทีถ้าหากเจอผู้สร้างเกมที่ขี้เล่นหน่อยก็จะเจอกับบทพูดเชิงหยอกเล่นกวน ๆ ก็อาจจะสร้างรอยยิ้มได้หรือไม่ก็เซ็งไม่น้อยเลยล่ะครับ
1.การเล่าเรื่องโดยใช้สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ
สำหรับเทคนิคนี้เรียกว่ามาเหนือกว่าการเขียนข้อความบนกำแพงเก็บเอกสารตามรายทางหรือฟังบทสนทนาของ NPC แต่จะเป็นการใช้สภาพแวดล้อมรอบ ๆ เป็นตัวสื่อสารให้ผู้เล่นเข้าใจได้ว่าควรจะทำอะไรต่อโดยไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดเลยมีไม่กี่เกมที่ทำแบบนี้แล้วทำให้รู้สึกน่าติดตามไปด้วย
ที่มา: Kotaku