ไม่ว่าท่านจะเป็นมือใหม่หรือมือเก่า บางครั้งก็ยังไม่รู้พอร์ตนี้เรียกอะไรใช้งานอย่างไร บางท่านอาจจะรู้แค่ว่า พอร์ตนี้เอาไว้ต่ออะไร แต่ก็ยังไม่รู้ว่ามันชื่อพอร์ตอะไร วันนี้ทีมงานเลยจะขอพาท่านไปรู้จักพอร์ตต่างๆ ว่ามันมีชื่อว่าอะไร และใช้งานอะไรได้บ้าง อัพเดท port notebook ของปี 2020
USB-C
เป็นมาตรฐานพอร์ตใหม่ ที่ได้รวมหลายพอร์ตมาไว้ในรูปแบบพอร์ตเดียวกัน เพื่อเป็นมาตรบานเดียวกันทั้งโน๊ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ มีขนาดที่เล็กกว่าพอร์ต USB มาตรฐาน ทำให้นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน โดยออปชั่นมาตรฐานจะเชื่อมต่อได้เหมือนพอร์ต USB ทุกประการ ต่อ Hub คีย์บอร์ดเมาส์ได้ โดยมีทั้งแบบ USB 2.0 ,3.0 ,3.2 และ 3.2 และบางรุ่นสามารถต่อจอภาพผ่านพอร์ตนี้ได้ด้วย มักจะอยู่ในโน๊ตบุ๊คทั่วไปที่แยกพอร์ตชาร์ตไฟหรือกระทั่งโน๊ตบุ๊คเกมมิ่ง
นอกจากนั้นยังมี USB Type C with Power Delivery นึกง่ายๆคือโน๊ตบุ๊คที่ชาร์ตผ่านพอร์ต USB-C จะเป็นมาตรฐานนี้ละครับ คือชาร์ตได้ และต่อใช้กับอุปกรณ์แบบ USB-C มาตรฐานเหมือนแบบแรก มักจะอยู่ในโน๊ตบุ๊คบางเบาที่ใช้พลังงานไม่สูงมาก
พอร์ต USB-C เรียกได้ว่าเป็นอนาคตของโน๊ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน หรือพีซีรุ่นใหม่ๆ ที่จะมาถึงในอนาคตทั้งหมดก้ว่าได้ เพราะเชื่อมต่อได้หลากหลาย กลับด้านก็ได้ สามารถต่อยอดได้เยอะมากกว่า ไม่ว่าจะต่อจอ ชาร์ต HUB-USB หรืออื่นๆ จบได้ในพอร์ตเดียว
…
Thunderbolt 3
รูปแบบพอร์ตเชื่อมต่อจะแตกต่างจากเวอร์ชั่นก่อนอย่างชัดเจน โดยมีหน้าตาเหมือน USB-C ทุกอย่าง แต่พอร์ตมักจะมีรูปสายฟ้าติดอยู่ สามารถทำได้ทุกอย่าง ทั้งต่อฮับ ชาร์ตไฟ ต่อจอ หรือต่อ eGPU ก็รับไหวด้วยความเร็วสูงถึง 40Gbps ชาร์ตไฟได้ถึง 100W ซึ่งมักจะอยู่ในโน๊ตบุ๊ค Intel เพราะเป็นเจ้าของลิคสิทธิ์ และใน Macbook Pro รุ่นปัจจุบัน เป็นพอร์ตที่นิยมมากขึ้นเพราะทำงานได้หลากหลาย โอนถ่ายข้อมูลได้เยอะที่สุดในตอนนี้
…
USB 3.x
USB 3.0 นั้นจะมีความเร็วสูงกว่า USB 2.0 ถึง 10 เท่าโดยจะมีความเร็วในการแลกเปลียนข้อมูลสูงสุดถึง 4.8 Gbps ซึ่งสูงกว่า USB 2.0 ที่มีความเร็วในการแลกเปลียนข้อมูลสูงสุด 480 Mbps ซึ่งจะทำให้ USB 3.0 นั้นสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ไปพร้อมๆ กับเขียนข้อมูลในคราวเดียวกัน ซึ่งต่างกับ USB 2.0 ที่ต้องทำการอ่านหรือเขียนได้ทีละอย่าง
USB 3.0 นั้นได้ลดพลังงานการใช้งานอุปกรณ์น้อยลงจาก 4.4 V เหลือ 4 V แต่เพิ่มความเร็วในการส่งพลังงานให้เยอะขึ้นจาก 500 mA เป็น 900 mA ซึ่งจะทำให้การชาร์ตอุปกรณ์ที่สนับสนุน USB 3.0 ที่เสียบผ่านสาย USB 3.0 ชาร์ตเร็วขึ้นด้วย หรือการสนับสนุนอุปกรณ์รุ่นก่อนเช่น USB 2.0 ซึ่งยังสามารถทำการเสียบอุปกรณ์ USB 2.0 เข้า USB 3.0 ได้แล้วยังเสียบอุปกรณ์ USB 2.0 เข้า USB 3.0 ได้อีกด้วยเช่นกัน โดยจะมีความเร็วแค่เท่าของ USB 2.0
ส่วน USB 3.1 Gen 1 จะเพิ่มความเสถียรให้มากขึ้นด้วยความเร็ว 5Gbps ส่วน USB 3.1 Gen 2 จะเพิ่มความเร็วอีกเท่าตัวเป็น 10Gbps และอนาคต USB 3.2 จะโอนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 20Gbps
…
USB 2.0
คงไม่มีใครไม่รู้จัก USB น่ะครับ เป็น Port ที่ส่งถ่ายข้อมูลแบบอนุกรม ที่ได้รับความนิยมสูงสุดมีใช้ในอุปกรณ์ต่อเชื่อมแทบทุกชนิด ตั้งแต่แฟลตไดร์ฟ ยังจอภาพ LCD เลยทีเดียว ด้วยความสามารถเด็ดคือ Plug & Play คือสามารถใช้งานได้ทันทีไม่ต้องรีสตราทเครื่องหรือบางอยางเช่นแฟลชไดร์ฟไม่ ต้องลงไดร์วเวอร์ก็สามารถใช้งานๆได้ทันที ในปัจจุบันใช้ USB 2.0 เป็นหลัก ซึ่งจะมีความเร็วอยู่ที่ 480 MB/s และอีกไม่นาน USB 3.0 ก็จะเข้ามาแล้ว ซึ่งจะมีความเร็วมากว่า 2.0 ถึง 10 เท่า
…
Headphone 3.5 mm
พอร์ตเชื่อมต่อหูฟังแบบมาตรฐานนั่นเอง แต่จะมีแบบเป็น 2 แบบ คือแบบ Combo ที่จะเป็นช่องเดียว นิยมใช้ในโน๊ตบุ๊คเกือบทุกรุ่น สามารถใช้หูฟังจากสมาร์ทโฟนมาใช้ร่วมกันได้ พอร์ตเดียวได้ทั้งไมค์และหูฟัง ส่วนอีกแบบจะเป็น 2 ช่อง แยกระหว่างไมค์กับหูฟัง ส่วนใหญ่จะอยู่ในโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งขนาดใหญ่ ซึ่งทั้ง 2 แบบมีสายแปลงสลับไปมา ขายเพื่อใช้งานแทนกันได้จ้า
…
HDMI
หรือย่อมาจาก High-Definition Multimedia Interface ตามที่ชื่อบอกเลยครับว่ารองรับงานมัลติมีเดียเต็มที่ ด้วย Port ที่เชื่อมต่อกับเครื่องเล่น HDMI ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวก LCD TV หรือ เครื่องเสียง โดยในสาย HDMI จะรวบร่วมสัญญาณดิจิตอลทั้งภาพและเสียงที่ส่งไปในสาย HDMI เส้นเดียว ทำให้มีความสะดวกเพราะไม่ต้องต่อสายหลายสายให้วุ้นวาย โดยในโน๊ตบุ๊คสมัยใหม่ที่รองรับก็จะติดตั้งพอร์ต HDMI มาให้ใช้งานได้เลย โดยปัจจุบัน HDMI เดินทางมาถึงเวอร์ชั่น 2.0 ที่สามารถส่งสัญญาณได้มากถึง 48.0 Gbit/s หรือความละเอียดระดับ 8K เลยทีเดียว
…
Display Port
DisplayPort คล้ายๆ HDMI นิยมในเครื่องพีซีหรือกระทั่งการ์ดจอรุ่นใหม่ก็ยังคงมี DisplayPort และยังนิยมใช้ในเครื่อง Mac ในยุคก่อนด้วย ด้วยความเสถียรสัญญารที่ดีกว่า VGA ในยุคนั้น สามารถแปลงพอร์ตเป็น HDMI ได้ ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 2.0 รองรับความละเอียดถึง 8K ปัจจุบันพัฒนามาในรูปแบบของพรอร์ต USB-C ด้วย นอกจากนั้นยังมีพอร์ตไซท์เล็กในชื่อ Mini Display port
…
SD Card Reader
คือ Port ที่เอาไว้ใส่ การ์ดอ่านการ์ดต่างๆ MMC , MSD , CF และอื่นๆ แล้วแต่ผู้ผลิตว่าจะติดตั้งเครื่องอ่านการ์ดชนิดใดมาบางส่งใหญ่ที่นิยมกันก็ เช่น SD
…
Micro SD Reader
เนื่องจากโน๊ตบุ๊คปัจจุบันบางเบาลงมาก บางรุ่นจึงตัด SD Card Reader ออก แต่ใส่เป็น Micro SD Reader เข้ามาแทน
…
LAN (RJ-45)
เป็นคอนเน็ตเตอร์ในการเชื่อมต่อสู่ระบบเครือข่ายซึ่งเป็นที่นิยมสูงมาก ตั้งแต่ตามบ้านเรือน จนถึงองค์กรณ์ใหญ่ๆด้วยความเร็วสูงที่การเชื่อมต่อรูปแบบอื่นๆไม่สามารถทัด เทียมได้ยาก ด้วยความเร็วตั้งแต่ 10,100 MB/s จนไปถึงระดับ 1 GB/s (1,000 MB/s) ในโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆก็อยู่ในระดับ 1 GB/s แทบทั้งนั้นเลย แต่ด้วยข้อจำกัดที่พอร์ตขนาดใหญ่ ทำให้โน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆที่เน้นความบางเบาจะถอดพอร์ตนี้ออกไปและแทนด้วย Adapter แปลงจากพอร์ต USB หรือกระทั่งเน้น WiFi6 ที่ให้ความเร็วระดับเดียวกัน
…
Kensington lock
ที่ติดตั้งสายล๊อคเครื่องนั่นเอง เป็นรูรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก โดยจะเป็นจุดที่ใส่หัวลีอค เพื่อป้องกันขโมย ปัจจุบันโน้ตบุีครุ่นใหม่ๆแทบไม่มีแล้ว เพราะเป็นช่องที่คนทั่วไปแทบไม่ได้ใช้ ยกเว้นหน้าร้านที่โชว์เครื่อง ซึ่งได้พัฒนามาเป็นแบบ USB กันหมดแล้ว
พอร์ที่แทบไม่ได้ใช้แล้ว
DVI
เป็น Port ที่ส่งสัญญาณภาพเข้าสู้จอ LCD Notebook ที่มี Port นี้มีค่อนข้างน้อยมากครับ ส่วนใหญ่จะอยู่ใน Notebook รุ่นที่มีราคาสูงๆ โดยจะเป็นส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่งให้คุณภาพในการแสดงผลที่ดีกว่าแบบอนาล็อค แบบในพอร์ต D-SUB ที่นิยมใช้กันในโน๊ตบุ๊คทั่วๆไป
…
Thunderbolt
เป็นพอร์ตที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง Intel และ Apple ซึ่งได้ติดตั้งมาแล้วใน MacBook Pro รุ่นปี 2011 โดย Thunderbolt port สามารถเล่นวิดีโอที่มีความละเอียด 1080p ได้พร้อม ๆ กันถึง 4 เรื่อง และยังสามารถถ่ายโอนข้อมูลของไฟล์ขนาด 5 GB จาก Hard drive ไปยังคอมพิวเตอร์ภายในเวลาประมาณ 10 วินาที เท่านั้น แต่ว่าอุปกรณ์ที่รองรับยังน้อยอยู่ ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นเวอรืชั่น 3 แบบ USB-C แล้ว (พอร์ตเป็นแบบเดียวกับ mini Display Port ทำให้ Thunderbolt สามารถต่อต่อภาพได้ด้วย)
…
Firewire (IEEE 1394)
นิยมเรียกกันว่า IEEE 1394 เป็น Port มีลักษณะดังในภาพ คล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู หรืออีกรูปแบบนึงซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่า ใช้โอนถ่ายข้อมูลเป็นหลักคล้ายๆกับ USB โดยมีความเร็วอยู่ที่ 400 MB/s อาจจะดูด้อยกว่า USB 2.0 เล็กน้อยแต่ก็แลกมาด้วยความนิ่งของสัญญาณที่ไม่แกว่งเหมือน USB นิยมใช้ในกล้องวีดีโอความละเอียดสูง แต่อีกไม่นานเมื่อ USB เข่าสู่เวอร์ชั่น 3 เมื่อไรพอร์ตนี้คงจะเริ่มหายจากไปเหลือเพียงใช้งานในบางกลุ่มเท่านั้น ส่วนใหญ่ Port Firewire ส่วนใหญ่จะใช้กับกล้อง VDO CamCoders เป็นหลัก ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว
…
D-SUB หรือ VGA
หรือที่เรียกกันอีกแบบว่า VGA port เป็น Port ที่ส่งสัญญาณภาพเข้าสู้อุปกรณ์แสดงภาพภายนอกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เรียกได้ว่ามีในโน๊ตบุ๊คแบบทุกเครื่องเลย ถึงแม้คุณภาพของภาพที่เป็นระบบสัญญาณอนาล็อกจะด้อยกว่า DVI แต่ด้วยมีอุปกรณ์รองรับมากที่สุดทำให้เป็นพอร์ตสำหรับต่อแสดงผลที่ได้รับ ความนิยมสูงสุดรองรับทั้งจอแบบ LCD CRT รวมถึงเครื่องโปรเจ็คเตอร์ด้วย แต่ปัจจุบันถูกแทนด้วย HDMI
…
S-video
เป็น Port ที่ส่งสัญญาณภาพเข้าสู้จอ TV โน๊ตบุ๊ครุ่นเก่าๆหน่อยจะมีพอร์ตนี้กันเยอะ แต่ในรุ่นใหม่ๆก็แทบไม่มีแล้วเพราะมีพอร์ตอื่นๆเข้ามาแทนที่ เช่น HDMI
…
e-SATA
เป็น Port ที่เอาไว้ต่อกับ External Hard disk หรือ Hard disk ธรรมดาก็ได้ โดยพอร์ต -SATA นั้นจะมีความเร็วมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับพอร์ต SATA บนเมนบอร์ดเลย ด้วยความเร็วสูงถึง 3000 Mbit/s แต่ในพอร์ต -SATA จะมีแปลงหัวต่อให้สามารถใช้งานเป็นพอร์ต USB ได้ด้วย ปัจจุบันถูกแทนด้วย USB 3.0 ซึ่งเร็วกว่า และอุปกณณ์รองรับเยอะกว่า
…
Express Slot
คือ Port อีกชนิดหนึ่งที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากบนเมนบอร์ด ซึ่งเอาไว้ ต่อกับการ์ดต่างๆ เพื่อเพอ่มประสิทธิภาพเครื่องให้สูงขึ้นสามารถทำงานได้หลายอย่างมากขึ้นเช่น Air Card , Sound Card หรือแม้กระทั่ง เพิ่มพอร์ต USB LAN โดยจะแบ่งกันเป็น 3 แบบหลักตามขนาดโดยในแต่ละเครื่องจะแตกต่างกันไป แต่ที่นิยมในปัจจุบันมากที่สุดจะเป็น Express Card 54
…
Modem (RJ-11)
หรือที่เรียกว่า RJ-11 ตามชนิดของหัวต่อ เป็นคอนเน็ตเตอร์รุ่นแรกๆของโลกเลยก็ว่าได้ สำหรับเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในสมัยก่อน ที่ความเร็ว 56 K (ในสมัยนี้ก็ยังมีใช้กันอยู่แต่น้อยลงไปเยอะ) โดย Notebook รุ่นใหม่ๆ ไม่มีแล้ว เพราะมีระบบ Hi Speed อินเตอร์เน็ตเข้ามา ซึ่งนิยมใช้เป็นพอร์ต LAN หรือ Wi Fi มากกว่า เพราะเร็วกว่าเยอะ โน๊ตบุ๊คปัจจุบันไม่มีแล้ว
…
Serial port (สีเขียว)
พอร์ตอนุกรม การเคลื่อนย้ายข้อมูลแบบอนุกรมนั้นเป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิตข้อดีของการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมคือ สามารถส่งข้อมูลได้ในระยะทางที่ไกลและใช้สายสัญญาณที่น้อยกว่าการสื่อสารข้อมูล เป็นพอร์ตที่เอาไว้ต่อเมาส์ คีย์บอร์ด เหมือนพอร์ต USB ในสมัยก่อนนั่นเอง
Parallel port (สีชมพู)
ช่องที่ใช้เสียบสายไฟต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นตัวว่าเครื่องพิมพ์ การถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางช่องขนานนี้ ข้อมูลจะเดินทางไปตามวงจรขนานภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ไปได้เร็วกว่าช่องอนุกรมที่เรียกว่า serial port พอร์ตนี้อยู่ในยุดเดียวกัน แต่จะส่งข้อมูลได้มากกว่า มักเอาไว้ใช้ต่อปริ้นเตอร์ โดยเฉพาะแบบ dot matrix สำหรับพิมพ์กระดาษสำเนา ซึ่งบางหน่วยงานยังใช้พอร์ตนี้และปริ้นเตอร์แบบนี้มาถึงทุกวันนี้เพราะปริ้นเตอร์แบบอื่นยังไม่สามารถพิมพ์การดาษสำเนาได้
PS/2 (สีเขียวทางซ้าย)
พอร์ตสำหรับต่อเมาส์ คีย์บอร์ด ที่แม้ปัจจุบันเมนบอร์ดเครื่องพีซีบางรุ่นก็ยังมีอยู่ ซึ่งสุดท้ายพอร์ตนี้ก็โดนแทนที่ด้วย USB
…
หรือเพื่อนๆเจอพอร์ตไหน ที่ไม่รู้จัก ไม่เเฉพาะในโน๊ตบุ๊ค บนพีซีก็สอบถามมาได้นะครับ เดี๋ยวทีมงานไปสืบหาข้อมูล Port Notebook หรือ PC ต่างๆมาให้ทุกท่านได้ทราบกัน