Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

[How to] เคยงงกันไหม ? เลขด้านล่างเวลาเราปรับ Equalizer มันคืออะไร พร้อมอธิบายย่านต่างๆ ให้เข้าใจ

สวัสดีครับผมสำหรับใครที่ชอบฟังเพลงหรือใช้งานเครื่องหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการฟังเพลงทั้งหลายคงจะคุ้นชินกับภาพที่เป็นให้ปรับอะไรต่างๆโดยจะมีเลขย่านเสียงบอกไม่ว่าจะ 20 30 200 300 Hz ตามแล้วแต่ความละเอียด

สวัสดีครับผมสำหรับใครที่ชอบฟังเพลงหรือใช้งานเครื่องหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการฟังเพลงทั้งหลายคงจะคุ้นชินกับภาพที่เป็นให้ปรับอะไรต่างๆโดยจะมีเลขย่านเสียงบอกไม่ว่าจะ 20 30 200 300 Hz ตามแล้วแต่ความละเอียดของการปรับในโปรแกรมนั้นๆ ในวันนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับเหล่าย่านเสียงพวกนี้กันครับ

mixzing-wq

Advertisement

 

ก่อนอืนต้องอธิบายก่อนว่าก่อนที่จะปรับตัว Equalizer นั้นควรที่จะหันไปดูบริเวณด้านหลังกล่องหูฟังหรือ ตัวสเปคหูฟังนั้นเองว่าสามารถรองรับ ย่านเสียงอะไรได้บ้างแต่ส่วนใหญ๋แล้วจะเป็น 20-20,000 hz ตามหูเรากันชะส่วนใหญ่ครับผม เริ่มกันที่ย่านเสียงแรกกันเลย

Klipsch-Reference-Subwoofers-2-2001

1.20-60hz โดยส่วนใหญ่จะเรียกกันว่าเป็นเสียง Sub หรือ Subwoofer นั้นเอง

โดยเสียงตรงนี้นั้นจะเป็นเสียงเบสนั้นเอง แต่ไม่ใช่เบสแบบธรรมดาครับเพราะเจ้าเสียงตรงนี้นั้นจะเป็นเสียงแบบ Deep Bass ถ้านึกภาพไม่ออก ก็นึกภาพเวลาที่มีรถขับผ่านบ้านเราแล้วเปิดเพลงเสียงดังๆแล้ว Bass มาลูกหนึ่งนี้ถึงกับทำให้กระจกสะเทือนจนจะแตก เสียงนั้นแหละครับคือเสียงที่เกิดจากย่านเสียงในระดับ 20-60hz สำหรับใครที่ชอบเสียงตรงนี้หนักๆก็ปรับสุดกันไปเลย

maxresdefault

2.60-250hz ตรงนี้ก็เป็นเสียงเบสอีกนั้นแหละ แต่ไม่ถึงกับเป็น Deep Bass

โดยเสียงตรงนี้นั้นเป็นเสียงที่เราจะได้ยินกันเป็นปกตินั้นก็คือเสียงของ กระเดืองกลอง หรือ เสียงของกีตาร์เบส โดยการปรับตรงนี้มากนั้นความแน่นของเบส จากกีตาร์เบส หรือ กระเดืองกลองนั้นจะแน่นมากขึ้นครับผม สำหรับใครที่เป็นนักดนตรี 2 ชิ้นนี้นั้นแนะนำว่าปรับแบบจัดหนักจัดเต็มไปเลยเพราะจะช่วยให้แกะเพลงได้ง่ายขึ้นด้วย ครับผม

sound-004

3.250-2000hz (250-2k) ย่ายเสียงตรงนี้เรียกง่ายๆว่า Harmonics นี่นั้นเอง

มาถึงตรงจุดที่เรียกได้ว่าอธิบายได้ยากที่สุดกันครับกับ 250-2000hz ถ้าให้บอกตามสไตล์ของผมก็คงจะอธิบายได้ว่า เป็นเสียงของพวกเครื่องดนตรีลับทั้งหลาย งงเด้ งงเด้!! หลายๆคนที่ชอบฟังเพลงและตัดใจฟังเพลงจริงๆนั้นเราอาจจะได้ยินเสียงของเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่เครื่องดนตรีหลักอาจจะเป็นพวกเสียง synth หรือเสียงปิ๊ก กระทบกับสายกีตาร์ หรือเครื่องดนตรีชนิดอืนๆ เ้สียงร้องต่างๆที่ไม่ใช่เสียงร้องหลักนั้นเอง

437148_7668

4.2000-4000hz (2k-4k)เสียงตรงนี้จะเป็นเสียงของนักร้อง

สำหรับใครที่ชอบฟังรายละเอียดของนักร้องในการออกเสียงแต่ละคำหรือเสียงร้องแต่ละอย่าง ต้องแนะนำให้ปรับในจุดนี้นั้นก็คือ 2000-4000hz โดยการปรับที่มากขึ้นจะทำให้รายละเอียดและความดังของเสียงร้องนั้นดังขึ้นไปนั้นเอง แต่ไม่แนะนำให้เพิ่มจนเยอะมาเกินไปเพราะว่าอาจจะกระทบถึงหูเราได้ หูเราอาจจะรู้สึกล้า นั้นเอง

ti_725_1413194811543ba43b1441c

5.4000-6000hz(4k-6k) เสียงตรงนี้จะเป็นเสียงเครื่องดนตรีต่างๆนั้นเอง

สำหรับใครที่ชอบฟังเสียงเครื่องดนตรีหลักทุกชิ้นไม่ว่าจะเป็นสเนร์กลอง กีตาร์ เปียโน หรือ เสียง Synth ในเพลงแนว EDM แล้วละก็ การปรับเสียงในย่านนี้จะช่วยให้ได้ยินชัดขึ้น แต่ก็ แน่นอนว่าเมื่อปรับเยอะเกินไปก็อาจจะทำให้เสียงเครื่องดนตรีนั้นฟังไม่รู้เรื่องหรือตีกันมั่วนั้นเอง เพราะนอกจากจะปรับเกี่ยวกับเสียงของเครื่องดนตรีแล้ว ย่านนี้ยังสอดคล้องกับระยะของเสียงอีกด้วย

baby-drummer

6.6000-20,000 hz(6k-20k) ตรงนี้จะเป็นเสียงของ ฉาบ / ไฮ-แฮต

โดยสำหรับใครที่ชอบเสียงของ ฉาบ หรือ ไฮ-แฮตของกลองนั้นก็แนะนำให้ปรับเสียงในย่านนี้กันเลย โดยเสียงย่านนี้นอกจากจะสอดคล้องกับเสียงของฉาบและไฮ-แฮต หรือเสียงสิ่งต่างๆที่เป็นเสียงสูงแหลม ยังจะสอดคล้องเกี่ยวกับความชัดเจน และความใสของดนตรีด้วย

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

How to

เคยไหมที่อยู่ดีๆ แล้วเสียงเพลงของเรากลับหายไป เสียงไม่ออก ไม่รู้ว่าใครไปทำอะไรกับเครื่องของเราจนอดฟังเพลงหรือดูหนังเรื่องโปรดเอาเสียอย่างนั้น

Windows Zone

บางคนอาจจะมีปัญหา เร่งเสียงลำโพงสุดแล้วแต่ไม่ดัง ยิ่งเวลาเล่นเกมส์ เสียงเบามาก ไม่ได้อารมณ์เอาซะเลย ในวันนี้ทางทีมงานได้จะสอนเพื่อนๆ แก้ลำโพงไม่ดัง Windows 10

Tips & Tricks

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ หลังจากการลงวินโดวส์หรือติดตั้งซอฟต์แวร์บางอย่างลงไป เมื่อลงวินโดวส์เสร็จ คือเรื่องของเสียง ที่บางครั้งเสียงหาย หรือระบบเสียงไม่ทำงาน เนื่องจากซอฟต์แวร์อาจเป็นเวอร์ชั่นเก่า

Buyer's Guide

ลำโพง หรือ Speaker นั้น เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญ ซึ่งจะมอบความบันเทิงประเภทเสียงให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งผู้ที่ชื่นชอบการฟังเพลง รับชมภาพยนตร์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก