ในปัจจุบันนั้นคงต้องยอมรับกันหล่ะครับว่า Ultrabook หรือโน๊ตบุ๊คที่มีขนาดเล็กน้ำหนักไม่มากมาพร้อมกับความสามารถในการพกพาไปไหนมาไหนแบบสบายๆ นั้นได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนหนึ่งแล้วอาจจะเป็นเพราะว่าแท๊บเล็ตเริ่มเข้ามาตีตลาดแถมด้วยอุปกรณ์ในรูปแบบ 2-in-1(อย่างเช่นซีรีส์ Surface) ก็เข้ามาตีด้วยอีก ดังนั้นแล้วผู้ผลิตโน๊ตบุ๊คจึงต้องมีพัฒนาเพื่อความอยู่รอดไปด้วย
อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมานั้นมี Ultrabook ออกมาวางจำหน่ายมากมายครับบางรุ่นอาจจะยังไม่เข้าไทยบ้าง บางรุ่นก็เข้าไทยแล้ว ในวันนี้ทาง NBS เราจึงได้นำบทความที่ได้มีการเปรียบเทียบ Ultrabook รุ่นใหม่จำนวน 10 รุ่นมาให้ทุกท่านได้ดูกันเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อของแต่ละท่าน สำหรับ Ultrabook ทั้ง 10 รุ่นนั้นจะมีรุ่นไหนบ้างตามมาดูกันได้เลยครับ
เรียงตามลำดับของ Ultrabook ที่ผ่านการริวิวโดย TopTenReviews จะมีได้ดังต่อไปนี้(ทั้งนี้หากรุ่นใดมีวางจำหน่ายในไทยแล้วอย่างเป็นทางการทางเราจะระบุราคาเริ่มต้นของ Ultrabook รุ่นนั้นๆ ให้ทุกๆ ท่านเอาไว้ใช้เปรียเทียบครับ)
- Lenovo Yoga 900 ราคาประมาณ 65,900 บาท(อ้างอิงราคาตามโบรชัวร์ของประเทศไทย แต่จากที่เดินสำรวจยังไม่พบร้านไหนนำเข้ามาจำหน่ายอย่างเป็นทางการครับ จพมีก็เพียงแค่รุ่น Lenovo Yoga 700 เท่านั้น โดยจากการสอบถามที่บ้างร้านพบว่าจะนำเข้ามาในอีกไม่นานนี้ครับ)
- Dell XPS 13 มีวางจำหน่ายในไทยแล้ว โดยจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 54,900 บาท(รุ่นที่ทาง TopTenReviews ใช้ในการรีวิวสเปคต่างจากรุ่นที่วางจำหน่ายในไทย ดังนั้นควรตรวจสอบที่ร้านก่อนทำการซื้อ)
- Apple MacBook Pro 13 มีวางจำหน่ายในไทยแล้วโดยจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 43,900 บาท(หากสั่งซื้อจากเว็บ Apple Store โดยตรงจะมีราคาอยู่ที่ 49,900 บาท)
- HP Spectre x360 ราคาประมาณ 36,650 บาท(ยังไม่มีจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการ)
- Acer Aspire S7 มีจำหน่ายในไทยแล้วโดยจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 59,900 บาท(แต่ก็ Sold Out ไปแล้วครับยังไม่มีการระบุอย่างเป็นทางการจาก Acer ไทยว่าจะนำรุ่นนี้เข้ามาจำหน่ายเพิ่มเติมช่วงไหนครับ)
- Toshiba KIRAbook 13 ราคาประมาณ 55,800 บาท(ยังไม่มีจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการ)
- Apple MacBook Air 13 มีวางจำหน่ายในไทยแล้วโดยจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 41,900 บาท(หากสั่งซื้อจากเว็บ Apple Store โดยตรงจะมีราคาอยู่ที่ 37,900 บาท)
- Dell Inspiron 13 ราคาประมาณ 37,770 บาท(ยังไม่มีจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการ)
- Lenovo ThinkPad X1 Carbon มีวางจำหน่ายในไทยแล้วโดยจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 59,900 บาท(รุ่นที่ทาง TopTenReviews ใช้ในการรีวิวสเปคต่างจากรุ่นที่วางจำหน่ายในไทย ดังนั้นควรตรวจสอบที่ร้านก่อนทำการซื้อ)
- Samsung ATIV Book 9 Plus ราคาประมาณ 50,400 บาท(ยังไม่มีจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการ)
ในการรีวิวของทาง TopTenReviews นั้นได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพทางด้านต่างๆ ของ Ultrabook ในหลายๆ ส่วนตั้งแต่ในเรื่องของความแรง, ดีไซน์ ไปจนกระทั่งบริการหลังการขาย แต่ละหัวข้อจะเป็นอย่างไร ใครดีใครเด่นนั้นไปติดตามกันได้เลยครับ
หมายเหตุ – ในส่วนของภาพทางด้านล่างต่อไปนี้ท่านสามารถคลิ๊กไปที่แต่ละรูปภาพเพื่อทำการขยายภาพใหญ่ในการดูข้อมูลได้ครับ
Spec & Performance
เริ่มกันที่จุดแรกเลยนั่นก็คือสเปคและประสิทธิภาพโดยรวมครับ ก่อนอื่นนั้นต้องบอกทุกท่านก่อนนะครับว่า Ultrabook แต่ละรุ่นที่ทาง TopTenReviews นำมาทดสอบนั้นมีสเปคแตกต่างกันไปซึ่งนั่นย่อมทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องในรุ่นต่างๆ นั้นแตกต่างตามกันไปด้วย อย่างไรก็ตามแต่แล้วสเปคของ Ultrabook ที่ทาง TopTenReviews นำมาทดสอบนั้นมีดังต่อไปนี้ครับ
จะเห็นได้ในส่วนของหน่วยประมวลผลที่แต่ละรุ่นเลือกใช้นั้นจะแตกต่างกันไป(ตามความเก่าใหม่ของแต่ละรุ่น) อย่างไรก็ตาม Ultrabook ทุกรุ่นในการรีวิวรวมครั้งนี้นั้นเลือกใช้หน่วยประมวลผลรุ่นประหยัดพลังงาน(รหัสลงท้ายด้วยตัว U) ที่เป็นรุ่น Core i5 และ Core i7 มีทั้งที่เป็นสถาปัตยกรรม Broadwell(Gen 5) และ Skylake(Gen 6) โดยความถี่ของสัญญาณนาฬิการของแต่ละรุ่นจะอยู่ในช่วง 2.2 GHz – 2.7 GHz(เว้น Apple MacBook Air 13 ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาหน่วยประมวลผลอยู่ที่ 1.6 GHz) แถมด้วยกราฟิกแบบฝังในหน่วยประมวลผลที่แต่ละรุ่นนั้นมีกราฟิกไม่ตรงกัน ซึ่งแน่นอนครับว่าแค่เฉพาะตัวหน่วยประมวลผลนั้นก็ค่อนข้างจะเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องรุ่นนั้นๆ อยู่แล้ว
อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญคงหนีไม่พ้นเรื่องของหน่วยความจำ(RAM) ที่ Lenovo Yoga 900 นั้นให้มามากที่สุดคืออยู่ที่ 16 GB ส่วนใน Ultrabook รุ่นอื่นๆ นั้นจะให้มาที่ 8 GB ยกเว้นก็เพียงแต่ Apple MacBook Air 13 ที่ให้มาแค่ 4 GB เท่านั้น โดยหากจะว่าไปแล้วในปัจจุบันนั้นการทำงานทั่วไปหน่วยความจำที่ขนาด 8 GB ก็เพียงพอต่อความต้องการแล้วแต่ถ้าคุณยิ่งใช้งานซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันในรูปแบบ multitasking มากขึ้น การได้หน่วยความจำขนาดใหญ่กว่าจะส่งผลกับประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องชัดเจนครับ
ในการตัดสินของทาง TopTenReviews นั้นได้บอกเอาไว้ครับว่าการเลือก Ultrabook ที่ดีที่สุดนั้นจะมองเพียงแค่ในส่วนของหน่วยประมวลผลที่มาพร้อมความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงๆ หรือมองที่ขนาดหน่วยความจำที่ให้มามากๆ อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ทั้ง 2 อย่างนี้จะต้องมองไปแบบควบคู่กันเนื่องจากว่าในการทำงานทั่วไป(ไม่ได้ใช้งานทางด้านกราฟิกโหดๆ อย่างเช่นการเล่นเกม 3 มิติใหม่ๆ ที่ต้องใช้การ์ดจอแยก) ของระบบนั้นจะต้องใช้ปัจจัยทั้ง 2 อย่างนี้ร่วมกันครับ
สำหรับการทดสอบที่ทาง TopTenReviews ใช้ในการรีวิวทางด้านประสิทธิภาพของ Ultrabook ทั้ง 10 รุ่นนั้นประกอบไปด้วย
- การทดสอบด้วยโปรแกรม Geekbench 3 ซึ่งเป็นการทดสอบที่จำลองการใช้งานจริงในรูปแบบการใช้งานเครื่องอย่างหนักหน่วงซึ่งประเมินผลทั้งผ่านคะแนนที่ได้แบบ single-core และ multi-core โดยดูเครื่องที่ได้คะแนนมากที่สุดและบันทึกคะแนนในส่วนนั้นเอาไว้ก่อนครับ
- การทดสอบด้วยการรัน Spreadsheet Macro(การรันโปรแกรมย่อยในโปรแกรมการคำนวนตารางเหมือน Microsoft Excel) ผ่านทางโปรแกรม OpenOffice โดยในไฟล์ที่ใช้ทดสอบนั้นประกอบไปด้วย spreadsheet กว่า 20,000 ชื่อ ทำการทดสอบรัน Macro แล้วจับเวลาดูว่าเครื่องใดที่ใช้เวลาในการประมวลผลเร็วที่สุดจากนั้นบันทึกเวลาเอาไว้ครับ(ใช้เวลาเร็วสุดหมายความว่าประมวลผลได้เร็วสุดและมีประสิทธิภาพมากสุด)
หลังจากที่ได้คะแนนจากการทดสอบแรกและเวลาจากการทดสอบที่ 2 แล้ว ทาง TopTenReviews ก็นำผลมารวมกันแล้ววัดออกมาเป็นเกรด(คล้ายๆ กับการถ่วงน้ำหนักให้เกรดเวลาที่เรียนว่าจะมีตั้งแต่ A ไปจนถึง F หรือ 4 ไปจนถึงครับ) ซึ่งผลนั้นจะเห็นได้ตามตารางสเปคในส่วนของหัวข้อ Performance Tests ครับ
สำหรับการทดสอบที่ทาง TopTenReviews ใช้ในการรีวิวทางด้านประสิทธิภาพทางด้านกราฟิกของ Ultrabook ทั้ง 10 รุ่นนั้นประกอบไปด้วย
- การทดสอบด้วยโปรแกรม 3DMark ผ่านทาง 2 การทดสอบคือ Ice Storm Unlimited และ Fire Strike Ultra ซึ่งการทดสอบด้วย 3DMark นั้นจะเป็นการวัดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานของกราฟิก(ซึ่งในที่นี้นั้นจะเป็นกราฟิกแบบฝังทั้งหมด) โดยทำให้กราฟิกชิปทำงานเต็มที่ตลอดเวลาในช่วงของการทดสอบ หลังจากได้คะแนนออกมาก็จะบันทึกไว้ครับ
- การทดสอบด้วยเกม World of Warcraft ผ่านทาง built-in framerate test ซึ่งในการทดสอบนั้นทำขึ้นเพื่อทดสอบในส่วนของการใช้งานเวลาที่ทำการเล่นเกมจริงๆ เพราะหากจะว่าไปแล้วนั้นในการเล่นเกมจริงกราฟิกชิปจะไม่ได้ประมวลผลแบบหนักหน่วงตลอดเวลาเหมือนกับที่ทำการทดสอบผ่านโปรแกรม 3DMark ครับ เมื่อได้ผล Framerate ออกมาก็จะทำการบันทึกเอาไว้ครับ
หลังจากที่ได้คะแนนจากการทดสอบแรกและเวลาจากการทดสอบที่ 2 แล้ว ทาง TopTenReviews ก็นำผลมารวมกันแล้ววัดออกมาเป็นเกรด(คล้ายๆ กับการถ่วงน้ำหนักให้เกรดเวลาที่เรียนว่าจะมีตั้งแต่ A ไปจนถึง F หรือ 4 ไปจนถึงครับ) ซึ่งผลนั้นจะเห็นได้ตามตารางสเปคในส่วนของหัวข้อ Graphics Tests ครับ
ทั้งนี้นั้นอย่างที่ได้บอกทุกท่านไปในตอนต้นแล้วว่า Ultrabook ที่ TopTenReviews นำมาทดสอบนั้นไม่มีรุ่นไหนเลยที่มาพร้อมกับกราฟิกชิปแบบแยกจากหน่วยประมวลผล ดังนั้นแล้ว Ultrabook ทั้ง 10 รุ่นดังกล่าวจึงไม่ได้เหมาะสมกับการเล่นเกมแบบหนักหน่วงมากนัก หากท่านต้องการหา Ultrabook ที่สามารถนำมาเล่นเกมได้ด้วยแล้วควรจะมองรุ่นที่มีกราฟิกชิปแบกต่างหาก ซึ่งในจุดนี้นั้นก็จะทำให้ราคาของ Ultrabook สูงขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นในการทดสอบของ TopTenReviews ที่ Ultrabook ทุกรุ่นใช้กราฟิกแบบฝังในชิปหน่วยประมวลผลแถมยังใช้หน่วยความจำแบบแบ่งจากหน่วยความจำหลักของระบบไปใช้งานด้วยอีกต่างหาก ทำให้เมื่อดูประสิทธิภาพโดยรวมทั้งหมดแล้ว Lenovo Yoga 900 จึงได้คะแนนสูงที่สุด(ด้วยเหตุผลที่ว่ามันมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่สุดและมีหน่วยความจำให้มามากสุด) ส่วน Apple MacBook Pro 13 นั้นด้วยความที่มันมาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel Iris 6100 ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมในส่วนของกราฟิกนั้นออกมาดูดีที่สุด(ได้คะแนนในการทดสอบต่างๆ ไปมากสุด) ครับ
Design & Construction
สำหรับส่วนที่ 2 ที่ทาง TopTenReviews ใช้ในการพิจารณานั้นก็คือเรื่องของดีไซน์ตัวเครื่อง(ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำหนัก, ความสวยงามและขนาดของตัวเครื่องทั้งหมด), การประกอบ, วัสดุ, ความสามารถในการใช้งาน, อายุการใช้งานแบตเตอรี่รวมไปถึงความสามารถในการพกพาง่ายซึ่งนี่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของ Ultrabook ก็ว่าได้ครับ โดยหากแยกตามการทดสอบนั้น Ultrabook ทั้ง 10 รุ่นจะได้คะแนนเป็นไปตามผลการทดสอบทางด้านล่างนี้ครับ
สำหรับการทดสอบในส่วนนี้นั้นทาง TopTenReviews ได้วางมาตรฐานการให้คะแนนในส่วนต่างๆ ไว้ดังนี้ครับ
- Build Quality : คะแนนการประกอบเครื่องโดยรวมไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่เลือกใช้(ส่วนใหญ่แล้ว Ultrabook ที่นำมาทดสอบจะมีการเลือกใช้วัสดุในระดับพรีเมียมตั้งแต่ carbon-fiber, โลหะผสมอลูมิเนียม, โลหะผสมแมกนีเซียมไปจนกระทั่งพลาสติกคุณภาพสูง), ความแข็งแรงของตัวเครื่อง, ความสวยงามของตัวเครื่องทั้งหมดโดยจะดูจากความพรีเมียมของตัวเครื่องซึ่งในจุดนี้นั้นโดยส่วนใหญ่เครื่อง Ultrabook ที่นำมาทดสอบจะค่อนข้างมีการประกอบที่ดีใช้วัสดุแข็งแกร่งอยู่แล้วจะเว้นก็เพียงแต่ Dell Inspiron 13 ที่การประกอบโดยรวมไม่ค่อยดีเท่าไรนักและวัสดุที่ใช้ก็เป็นเพียงำลาสติกซึ่่งทำให้ได้รับคะแนนต่ำสุดครับ
- Usability : คะแนนที่ได้จากความสามารถในการใช้งานเครื่องได้ตามแนวทางเครื่องที่ใช้ชื่อว่า Ultrabook ซึ่งดูจากควยามสามารถในการพกพาไม่ว่าจะเป็นขนาดของตัวเครื่อง, น้ำหนัก, การย้ายจากจุด A ไปยัง B ว่าง่ายหรือไม่, รูปแบบการใช้งานตัวเครื่องที่ Ultrabook บางรุ่นนั้นมาในรูปแบบการใช้งานแบบ 2-in-1(ใช้ในรูปแบบแท็บเล็ตก็ได้หรือโน๊ตบุ๊คก็ได้) หรือไม่ก็จัดหนักกว่าด้วยการเป็น convertible ที่มีรูปแบบการใช้งานได้ 4 – 5 โหมดไปเลย(อย่างเช่น Lenovo Yoga 900 เป็นต้น), มองจากความสามารถในการรองรับการสัมผัสผ่านทางหน้าจอซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดใหญ่สำหรับเครื่องที่มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ Windows ที่รองรับการควบคุมแบบออกท่าทางผ่านทางหน้าจอโดยเครื่องไหนที่ไม่มีความสามารถในการสัมผัสนี้ก็โดนลดคะแนนไปพอสมควร(เว้น Apple Mac ที่ไม่ได้เน้นจุดนี้เท่าไรนักเพราะ Trackpad ของเขารองรับอยู่แล้วครับ)
- Battery Life : ในส่วนนี้นั้นก็ตรงตัวเลยครับนั่นคืออายุการใช้งานแบตเตอรี่นั่นเองโดยในการทดสอบนั้นก็จะเป็นการทดสอบจับเวลาการใช้งานที่จำลองรูปแบบการใช้งานตามปกติของผู้ใช้ให้มากที่สุด โดยทุกๆ Ultrabook ที่นำมาทดสอบนั้นจะถูกกำหนดระดับความสว่างของหน้าจอไว้ที่ 100 nits เท่ากันหมดและทำการจับเวลาตั้งแต่ชาร์จเต็มแล้วนำสายชาร์จออกจนกระทั่งเครื่องดับไปครับ
Display: Costs and Benefits of Eye Candy
ตามมาด้วยการทดสอบทางด้านหน้าจอที่ในจุดนี้นั้นส่วนหลักเลยที่จะถูกนำมาตัดสินก็คือเรื่องของความละเอียดของหน้าจอที่ Ultrabook แต่ละรุ่นรองรับครับ ก่อนอื่นนั้นโดยปกติต้องบอกเลยครับว่าในปัจจุบันนั้น Ultrabook ส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับหน้าจอความละเอียดระดับ Full HD หรือ 1920 x 1080 pixel เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว หากรุ่นไหนที่มีความละเอียดมากกว่านั้นก็จะถือว่าเป็นข้อดีที่ผู้ใช้จะมีพื้นที่ในการทำงานบนหน้าจอที่มีขนาดๆ เท่าๆ กันซึ่งโดยส่วนใหญ่ Ultrabook ที่นำมาทดสอบจะมีขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้วเว้นแต่ Lenovo ThinkPad X1 Carbon เท่านั้นที่มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 14 นิ้ว
ในส่วนของความละเอียดหน้าจอนั้น Apple MacBook Air 13 ที่เปิดตัวออกมานานมากกว่าเพื่อนทำให้มันมีความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 1440 x 900 pixels เท่านั้นทำให้เสียเปรียบคู่แข่งในเรื่องของความละเอียดของหน้าจอพอสมควร(แต่ด้วยความที่ความละเอียดของหน้าจอน้อยกว่าเพื่อนนี่แหละครับแถมส่วนของสเปคก็ต่ำกว่าเพื่อนอีกทำให้อายุการใช้งานของ Apple MacBook Air 13 นั้นดีกว่ารุ่นอื่นๆ ตรงนี้เรียกว่าได้อย่างเสียอย่างครับ ดังนั้นแล้วผู้ใช้อาจจะต้องเลือกให้เข้ากับรูปแบบการใช้งานของตัวเองนิดหนึ่งครับ)
ส่วนถัดมาที่มีความสำคัญมากๆ ในการทดสอบเรื่องของหน้าจอนั้นก็คือความสามารถในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งในที่นี้ก็คือการดูจากเรื่องของความสามารถที่หน้าจอของ Ultrabook เครื่องรุ่นนั้นๆ รองรับการสัมผัสหรือไม่ โดยในการทดสอบนี้นั้น MacBook ของทาง Apple ได้ถูกตัดออกไปก่อนเลยเนื่องจากว่าตัวระบบปฎิบัติการไม่ได้รองรับการรับข้อมูลจากหน้าสัมผัสอยู่แล้ว ส่วนรุ่นต่อมาที่ถูกตัดออกไปเช่นกันนั้นก็คือ Lenovo ThinkPad X1 Carbon ที่มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ Windows 7 ที่ไม่รองรับการสั่งการผ่านทางหน้าจอสัมผัสครับ ในส่วนของ Ultrabook รุ่นอื่นๆ นอกจากที่กล่าวไว้ในข้างต้นนั้นจะมาพร้อมกับหน้าจอแบบสัมผัสทั้งหมดครับ
การทดสอบต่อมาคือการทดสอบความสว่างของหน้าจอสูงสุดที่ Ultrabook แต่ละรุ่นสามารถที่จะทำได้(วัดออกมาในหน่วย nits) ซึ่งในการทดสอบนี้นั้นจัดทำขึ้นในสภาพแวดล้อมเดียวกันทั้งหมดโดยสภาพแวดล้อมนั้นจะเป็นห้องปิดที่มีจุดกำเนิดแสงภายนอกเพียงแค่เทียนเพียงเล่มเดียวเท่านั้น การวัดความสว่างนั้นจะวัดจากมุมทั้ง 4 มุมของหน้าจอ Ultrabook แต่ละรุ่นมายังจุดศูนย์กลางหน้าจอแล้วทำการวัดค่าหลายๆ ครั้งจากนั้นก็ทำการหาค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดของความสว่างของหน้าจอของ Ultrabook แต่ละรุ่นครับ
ท้ายที่สุดก็คือการทดสอบความถูกต้องของการแสดงสีสันของหน้าจอ Ultrabook แต่ละรุ่นซึ่งการทดสอบนี้ถือได้ว่าเป็นการบอกคุณภาพของหน้าจอได้ดีที่สุดโดยใช้วิธีการวัดค่าในรูปแบบของ DeltaE(วัดการหันเหของสีที่แท้จริงกับสีที่หน้าจอแสดงผลมาเปรียบเทียบเพื่อแสดงค่ากัน(คล้ายกับการวัดด้วย colorimeter)) การทดสอบนี้จะมีการเปลี่ยนสีบนหน้าจอเป็นชุดๆ โดยในการเปลี่ยนทั้งหมดนั้นจะประกอบไปด้วยจำนวนสีทั้งหมด 70 สีและวัดค่า DeltaE ของแต่ละสีแล้วทำการหาค่าเฉลี่ยซึ่งแสดงผลตามตารางโดยยิ่งค่า DeltaE น้อยเท่าไรนั่นหมายความว่าหน้าจอของ Ultrabook นั้นๆ มีความถูกต้องในการแสดงผลของสีมากครับ
Connectivity: Common Ports Add to Ease of Use
ในส่วนของการทดสอบต่อมานั้นจะเรียกว่าการทดสอบก็ไม่ค่อยจะได้สักเท่าไรนักแต่เป็นการดูจำนวนของจุดเชื่อมต่อต่างๆ บนตัวเครื่องที่ Ultrabook แต่ละรุ่นมีมาให้ผู้ใช้ครับ โดยก่อนอื่นเลยนั้นทั่วไปแล้วด้วยความที่ Ultrabook นั้นจะออกแบบและดีไซน์มาให้มีความบางและเบามากๆ ทำให้ใน Ultrabook บางรุ่นนั้นตัดพอร์ทการเชื่อมต่อภายนอกไปเกือบจะทั้งหมดจนถึงขั้นบางรุ่นมีพอร์ทเพียงแค่ 1 – 2 พอร์ทด้วยซ้ำ ตรงตุดนี้แหละครับที่จะทำให้ผู้ใช้ที่มีอุปกรณ์เชื่อมต่อแบบภายนอกหรือจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้งานผ่านพอร์ทต่างๆ นั้นมีปัญหาค่อนข้างมาก สำหรับ Ultrabook แต่ละรุ่นที่ TopTenReviews นำมาทดสอบในครั้งนี้จะมีพอร์ทการเชื่อมต่อภาพนอกอะไรบ้างไปดูกันได้เลยครับ
ในจุดนี้นั้นคงไม่ต้องบรรยายมากเท่าไรครับ คะแนนที่ได้เพิ่มขึ้นมานั้นก็แปรผันโดยตรงกับจำนวนพอร์ทที่มีมาให้ซึ่งจะดูด้วยว่าพอร์ทที่ให้มานั้นสามามรถใช้งานจริงร่วมกับอุปกรณ์ได้หลายอย่างด้วยหรือไม่ ตรงนี้ทุกท่านจะเห็นได้ครับว่าเครื่องที่มาพร้อมกับพอร์ท Thunderbolt 2 / 3 นั้นจะได้คะแนนน้อยพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Dell XPS 13 ที่ให้ USB 3.0 มาจำนวน 2 พอร์ทแล้วเลือกที่จะให้พอร์ท Thunderbolt 3 มาอีก 1 พอร์ท ซึ่งในปัจจุบันนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานความสามารถของพอร์ท Thunderbolt 3 นั้นยังแทบจะไม่มีเลยหล่ะครับ
รุ่นที่ได้คะแนนต่ำที่สุดอย่าง Samsung ATIV Book 9 Plus นั้นโดนตัดคะแนนไปเนื่องจากไม่รองรับกับ HDMI โดยตรงซึ่งในปัจจุบันนั้นถือว่าเป็นพอร์ทสำหรับการเชื่อมต่อแบบส่งสัญญาณภาพและเสียงที่สำคัญไปแล้ว โดยถึงแม้ว่ามันจะยังมี MicroHDMI และ VGA มาให้ทว่าในการใช้งานจริงนั้นก็ต้องใช้ผ่าน Dongle ซะงั้นไม่ได้อยู่บนตัวเครื่องโดยตรงเลยทำให้คะแนนของ Samsung ATIV Book 9 Plus ต่ำที่สุดครับ
Help & Support: Warranties and More
ท้ายสุดแล้วซึ่งถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ควรจะต้องนำมาพิจารณาเวลาเลือกซื้ออุปกรณ์ทางด้าน IT สักเครื่องแต่ส่วนใหญ่มักจะกลายเป็นสิ่งที่ผู้ใช้นั้นแทบจะลืมหรือไม่สนใจกันเลยนั่นก็คือเรื่องของการให้บริการหลังการขายไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการใช้งานต่างๆ ผ่านทาง Call Center หรือบริการการซ่อม, ช่วงเวลาที่ใช้ในการรอการซ่อม, ความรู้ของผู้ให้คำปรึกษาและที่ใหญ่ที่สุดก็คือเรื่องของระยะเวลารับประกันตัวเครื่องครับ
ตรงจุดนี้ในเมืองไทยเรานั้นอาจจะมีเรื่องของบริการหลังการขายแตกต่างไปจากต่างประเทศพอสมควรซึ่งสิ่งที่สมควรจะทำที่สุดก็คือการสอบถามที่ร้านค้าที่คุณเลือกซื้อ Ultrabook รุ่นนั้นๆ เรื่องการประกันครับ อย่างไรก็ตามแต่แล้วส่วนใหญ่เกือบทุกบริษัทจะมีระยะเวลาในการประกันสินค้าอยู่ที่ 1 ปี จะมีก็แต่ Toshiba ที่มีระยะเวลาในการประกันอยู่ที่ 2 ปี และ Lenovo บางรุ่นที่มีระยะเวลาประกันอยู่ที่ 3 ปี(อย่างในที่นี้ก็คือ ThinkPad X1 Carbon) บางบริษัทอย่างเช่น Apple คุณสามารถที่จะเสียเงินเพิ่มเติมเพื่อทำการซื้อระยะเวลาการประกันเพิ่มได้อีกด้วยครับ
ทั้งนี้จากตารางคะแนนนั้นจะเห็นได้ครับว่า Lenovo นั้นมีช่องทางในการติดต่อสอบถามปัญหาทุกช่องทาง ในขณะที่บางบริษัทไม่มี ส่วนหนึ่งที่ส่วนตัวผมไม่เห้นด้วยในเรื่องการให้คะแนนทางด้านนี้ของทาง TopTenReviews ก็คือ Dell ที่ให้บริการซ่อมแบบ On site หรือส่งพนักงานซ่อมมาให้บริการถึงบ้านเราเลยทีเดียวทว่าทาง TopTenReviews ให้คะแนน Dell เป็น C+ เท่านั้น และอีกบริษัทหนึ่งที่แปลกๆ ก็คือ Samsung ที่ได้คะแนน A- ซึ่งหากเทียบกับความรู้สึกในประเทศไทยแล้วในส่วนของคะแนนไม่น่าจะได้เกรดระดับนี้(เนื่องจากประสบการณ์ส่วนตัวตอนส่งโน๊ตบุ๊คของ Samsung ซ่อมนั้นต้องรออะไหล่นานมาก)
อย่างไรก็ตามอย่างที่ได้บอกไปนะครับว่าในจุดนี้นั้นผู้ผลิตอาจจะให้ความสำคัญเรื่องบริการหลังการขายในแต่ละประเทศไม่เท่ากันเท่าไรนัก ดังนั้นแล้วจริงๆ ในตอนแรกผมอยากจะตัดส่วนของการให้คะแนนเรื่องนี้จากทาง TopTenReviews ออกด้วยซ้ำไป ทว่าผมเลือกที่จะไม่ตัดเพื่อที่จะได้เป็นการนำเสนอให้ทุกท่านได้เห็นว่าบริการหลังการขายของบางบริษัทในบางประเทศนั้นมีมาตรฐานไม่เท่ากัน ซึ่งตรงนี้ไม่ได้เข้าข้าง Apple นะครับ แต่เท่าที่มีประสบการณ์และสอบถามมาจากหลายๆ ท่านนั้นพบว่า Apple มีมาตรฐานเรื่องบริการหลังการขายในส่วนของโน๊ตบุ๊คที่เกือบจะเท่ากันในทุกประเทศครับ(เว้นก็แต่ในส่วนของผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ช่วงหลังมานี้เริ่มมีการแยกมาตรฐานการให้บริการหลังการขายบางประเทศไม่เหมือนกันแล้วครับ)
Overall
เมื่อเอาคะแนนของทุกๆ การทดสอบมารวมเข้าด้วยกันแล้ว Ultrabook ทั้ง 10 ตัวได้ถูกเลือกมา 3 ตัวตามตำแหน่งซึ่งมาพร้อมกับความคุ้มค่ามากที่สุดดังต่อไปนี้ครับ
Ultrabook ที่คุ้มค่าที่สุดและได้รับรางวัลเหรียญทองก็คือ
Lenovo Yoga 900
Lenovo Yoga 900 นั้ันถือว่าเป็น Ultrabook ที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพสูงและยังเป็นโน๊ตบุ๊คในรูปแบบ convertible ที่สามารถเปลี่ยนโหมดการใช้งานได้ถึง 5 รูปแบบ ดีไซน์ของตัวเครื่องนั้นค่อนข้างที่จะสวยงาม(ถึงแม้ว่าในบางส่วนและบางสื่อจะบอกว่ามันค่อนข้างจะมีดีไซน์ที่คล้ายคลึงกับ Surface Book อยู่ไม่น้อยก็ตาม) การเลือกใช้หน่วยประมวลผลรุ่นใหม่พร้อมหน่วยความจำขนาดใหญ่ถึง 16 GB ทำให้ Lenovo Yoga 900 สามารถรองรับกับอนาคตไปได้อีกค่อนข้างที่จะยาว พอร์ทการเชื่อมต่อต่างๆ ก็ให้มาครบครันถือว่าคุ้มค่าคุ้มราคามากครับ
หมายเหตุ – รุ่นในเมืองไทยนั้นระบุเอาไว้ว่าแหล่งเก็บข้อมูลในรุ่นนี้จะเป็น NGFF และมาพร้อมกับหน่วยความจำขนาด 8 GB เท่านั้นซึ่งด้วยราคาเปิดตัวที่ 65,990 บาทนั้นผมเห็นว่าค่อนข้างจะแพงไปหน่อย ตามความเห็นส่วนตัวของผมแล้วหากท่านต้องการเครื่องที่สามารถเล่นเกมได้ด้วยในงบประมาณที่ถูกลงกว่านี้และไม่มีปัญหากับการพกพาเครื่องที่มีขนาดและน้ำหนักใหญ่ขึ้นนิดหน่อยขอแนะนำให้ดู Lenovo Yoga 700 ที่ใช้หน่วยประมวลผลรุ่นเดียวกัน มาพร้อมกับชิปกราฟิกแยกของ NVIDIA รุ่น GeForce 940M(พร้อมหน่วยความจำสำหรับกราฟิดชิป 2 GB) โดยหน้าจอจะมีขนาดอยู่ที่ 14 นิ้วแต่มีข้อเสียคือจากความละเอียดที่ QHD+ บน Lenovo Yoga 900 นั้นจะลดเหลือที่ Full HD เท่านั้นครับ(แต่ราคาก็ลดลงมากเหลือเพียงที่ 39,990 บาทเท่านั้น)
หมายเหตุ 2 – ประกันของทาง Lenovo นั้นจะเป็นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่ระยะเวลาการรับประกันนั้นจะอยู่ที่ 2 ปีครับ
ตามมาด้วยเหรียญเงินคือ
Dell XPS 13
สำหรับ Dell XPS 13 (9350) นั้นสามารถทำคะแนนได้ได้ในลำดับที่ 2 จากการที่มันมีดีไซน์สวยงามมากและน้ำหนักเบา นอกไปจากนั้นถึงแม้ว่าทาง Dell จะเลือกใช้หน่วยประมวลผล Core i5-6200U กับ Dell XPS 13 (9350) แต่ประสิทธิภาพที่ได้จากการทดสอบนั้นก็ไม่ได้แตกต่างไปจาก Lenovo Yoga 900 ที่ใช้ Core i7-6500U มากเท่าไรนัก ข้อดีอีกอย่างของ Dell XPS 13 (9350) ก็คือดีไซน์ของส่วนหน้าจอที่เป็นแบบไร้ขอบหน้าจอ(ขอบหน้าจอบางมากทำให้มันดูหรูหราและมีระดับมากจริงๆ ครับ(ถึงจะบางและเบาแต่ด้วยการประกอบและเลือกใช้วัสดุระดับพรีเมียมนั้นทำให้มันดูแข็งแรงมากครับ)
ส่วนเหรียญทองแดงนั้นคือ
Apple MacBook Pro 13
ถึงแม้จะเปิดตัวมานานแล้วแต่คงจะไม่มีใครปฎิเสธครับว่า Apple MacBook Pro 13 นั้นถือได้ว่าเป็น Ultrabook ที่ยังคงมีประสิทธิภาพที่ดีอยู่ เรื่องของดีไซน์และวัสดุการประกอบนั้นแน่นอนว่าด้วยชื่อของ Apple นั้นย่อมเชื่อใจได้อยู่แล้ว และการเลือกใช้วัสดุอลูมิเนียมนั้นก็ทำให้มันดูทนทาน(แต่ก็มากับข้อเสียที่มันมีน้ำหนักสูงมากเมื่อเทียบกับ Ultrabook รุ่นอื่นทั้งหมด)
ข้อเสียที่หลายๆ คนอาจจะเซ็งได้ก็คือการที่ Apple MacBook Pro 13 รุ่นเริ่มต้นนั้นมากับแหล่งเก็บข้อมูลความจุ 128 GB เท่านั้นซึ่งมันค่อนข้างที่จะน้อยแล้วกับการใช้งานในปัจจุบันนี้แถมการเปลี่ยนแหล่งเก็บข้อมูลเองนั้นก็ทำได้ยาก(และประกันหมดทันที) ส่วนจะเลือกรุ่นที่มาพร้อมกับแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุสูงขึ้นมาหน่อยราคานั้นก็ค่อนข้างจะกระโดดไปเยอะเช่นเดียวกัน
ข้อเสียอีกข้อ 2 ข้อของ Apple MacBook Pro 13 ก็คือการที่มันมาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ OS X El Capitan ที่จะว่าไปแล้วในส่วนของซอฟต์แวร์ที่รองรับนั้นค่อนข้างมีน้อยแถมเรื่องของเกมนั้นคงไม่ต้องพูดถึงเมื่อนำเอาไปเทียบกับระบบปฎิบัติการ Windows บน Ultrabook รุ่นอื่นๆ(ถึงแม้จะสามารถทำการลงระบบปฎิบัติการ Windows เพื่อใช้งานบน MacBook ได้แต่ก็ไม่ดีเท่าของจริงใช่ไหมครับ) และอีกข้อเสียของมันก็คือการมาพร้อมกับพอร์ทการเชื่อมต่อที่เป็นตัวของตัวเองมากเกินไปอย่าง Thunderbolt 2 ซึ่งอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ด้วยนั้นราคาค่อนข้างสูงมาก
ข้อดีที่ทำให้ Apple MacBook Pro 13 นั้นกลับมาอยู่ในอันดับที่ 3 ของการรีวิวจาก TopTenReviews ได้นั้นก็หนีไม่พ้นเรื่องของอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ถือว่าดีมากๆ เพราะมันสามารถใช้งานยาวนานได้ต่อเนื่องมากกว่า 12 ชั่วโมงครับ บวกด้วยบริการหลังการขายของ Apple ที่ได้ชื่อว่าดีมากๆ อยู่แล้วพร้อมกับการซื้อประกันเพิ่มได้อีก(ถึงแม้ว่าจะต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อทำการซื้อในระดับที่ต้องคิดหนักพอควรเหมือนกันแต่ผมว่ามันก็ค่อนข้างคุ้มครับ)
ที่มา : TopTenReviews