สำหรับผู้ใช้งานหน่วยประมวลผล AMD Ryzen 3000 ซีรีย์นั้นน่าจะได้ยินปัญหาในส่วนของความเร็วสัญญาณนาฬิกาขณะที่ทำการ Boost ไม่สามารถใช้งานได้ตรงตามที่ทาง AMD ได้โฆษณาเอาไว้กันอยู่ไม่น้อย โดยหลังจากที่มีผู้พบปัญหาดังกล่าวนี้ออกมานั้นทาง AMD เองก็ได้ทำการแก้ไขจนในที่สุดก็ได้มีการปล่อย Official AGESA Update ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปแล้ว อย่างไรก็ดีนั้นก่อนที่ทาง AMD จะปล่อยการแก้ไขปัญหาออกมาอย่างเป็นทางการนั้นก็ได้มีนัก mod ชื่อดังอย่าง 1usmus ได้ปล่อยวิธีการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวออกมาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นแล้วลองมาดูกันว่าระหว่าง Boost Fix ที่ปล่อยออกมาจากทาง AMD เองนั้นเมื่อเทียบกับ 1usmus แล้วจะมีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ก่อนอื่นต้องขอกล่าวถึง 1usmus Boost Fix กันหน่อยว่าถึงแม้ทาง AMD เองนั้นจะได้ทำการปล่อย AGESA Update ออกมาแล้วทว่า 1usmus Boost Fix นั้นก็ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอยู่เช่นเดิม โดยทางคุณ 1usmus เองนั้นได้บอกเอาไว้ว่าวิธีการของเขานั้นสามารถที่จะเพิ่มความเร็วสัญญานาฬิกาขณะ boost ได้สูงมากขึ้นถึง 200 MHz โดยถึงแม้ว่าจะมีการใช้งานแกนการประมวลผลทั้งหมดของตัวหน่วยประมวลผลก็ยังพบว่าความเร็วสัญญาณนาฬิกาขณะ boost นั้นยังคงเพิ่มมากกว่าเดิมคืออยู่ที่ราวๆ 50 MHz – 100 MHz นอกไปจากนั้นแล้วการปรับแต่วของ 1usmus นั้นยังช่วยในการทำงานของ Windows thread scheduler ดีมากขึ้นกว่าเดิมด้วยเช่นเดียวกัน
หลักการ 1usmus Boost Fix นั้นจะทำการปรับแต่งโดยให้งานหลักทำงานอยู่บนแกนของหน่วยประมวลผลที่ดีที่สุด(หรือแกนที่สามารถคงความเร็วสัญญาณนาฬิกาขณะ boost ได้มากที่สุด) และยังปรับให้การทำงานของโปรแกรมแบบ single-threaded นั้นคงใช้แกนการประมวลผลเพียงแกนเดียวเท่านั้น เนื่องจากปัญหาก่อนหน้านี้นั้นการทำงานแบบ single-threaded บนหน่วยประมวลผล Ryzen 3000 ซีรีย์จะดันกระจายการทำงานไปยังแกนการประมวลผลต่างๆ อยู่ดีทำให้กลายเป็นว่าหน่วยประมวลผลดันทำงานทุกแกนจนประสิทธิภาพในการทำงานนั้นลดลงไปจากที่ควรจะเป็น นอกไปจากนั้นแล้วหากมีการทำงาน single threads ในคำสั่งที่ 2 เข้ามาสู่ตัวหน่วยประมวลผล 1usmus Boost Fix ก็จะปรับให้การทำงานดังกล่าวนั้นยังคงทำงานอยู่บน CCX เดิมที่ใช้งานก่อนหน้านี้อยู่
หมายเหตุ – สถาปัตยกรรม Zen ของทาง AMD นั้นจะทำการแยกแกนการประมวลผลออกเป็น CCX(คล้ายๆ โมดูล) ดังที่เห้นบนรูปทางดานบน กลับกันแล้วนั้นในส่วนของหน่วยประมวลผลของทาง Intel ตัวแกนการประมวลผลจะถูกรวมเอาไว้บนวงจรเดียวกันทั้งหมด โดยปกติก่อนหน้าที่จะมีการปรับแต่งนี้นั้นเมื่อมีคำสั่งการทำงานเข้ามาในหน่วยประมวลผล Ryzen 3000 ถึงแม้ว่าจะเป็นการทำงานแบบ single-threaded ตัวหน่วยประมวลผลก็จะนำเอาคำสั่งดังกล่าวไปทำงานบน CCX อื่นที่ว่างอยู่ทำให้ความเร็วสัญญาณนาฬิกาขณะทำการ boost นั้นตกลงไปจากเดิม
สำหรับเครื่องที่ทาง Hardwaretimes ใช้ในการทดสอบนั้นจะมีสเปคดังต่อไปนี้
- CPU: AMD Ryzen 9 3900X
- Cooler: NZXT Kraken X73
- GPU: NVIDIA GeForce RTX 2080 Super
- Memory: Trident Z Royal 8GB x 2 @ 3600MHz
- PSU: Corsair HX1000i
AMD Ryzen 9 3900X: Gaming Benchmarks
เริ่มต้นกันที่การทดสอบการเล่นเกมอย่าง Deus Ex: Mankind Divided และ Assassins’ Creed Origin ซึ่งผลที่ได้นั้นพบว่าในการทดสอบด้วยเกม Deus Ex: Mankind Divided นั้นผลที่ได้จาก 1usmus Boost Fix จะไม่ได้แตกต่างอะไรไปจาก AGESA Update มากเท่าไรนัก ทว่ากับการทดสอบด้วยเกม Assassins’ Creed Origin นั้นจะเห้นได้ว่า 1usmus Boost Fix จะช่วยในการเร่งเฟรมเรทได้มากขึ้นที่ 2 – 3 FPS
เมื่อมาดูในส่วนของความอัตรการเปลี่ยนแปลงของความเร็วสัญญาณนาฬิกาแล้วนั้นจะพบได้ว่า ณ boost จะมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ราวๆ 4,300 MHz ทว่าเมื่อใช้ 1usmus Boost Fix แล้วนั้นความเร็วสัญญาณนาฬิกาเฉลี่ยจะอยู่ที่ราวๆ 4,375 MHz ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติเพราะตัวเกม Assassins’ Creed Origin นั้นได้ถูกออกแบบมาให้ใช้การประมวลผลแบบ multi threads ทำให้ตัวหน่วยประมวลผลนั้นทำงานพร้อมกันทั้งหมด 12 แกน
Cinebench R20 Benchmarks
มาดูที่การทดสอบผ่านทาง Cinebench R20 ซึ่งจะเห็นได้ว่าคะแนนที่ได้นั้นไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากจนเห็นได้ชัดเท่าไรนักถึงแม้ว่า 1usmus Boost Fix จะได้คะแนนสูงมากกว่าก็ตามแต่ก็เพิ่มขึ้นมาเพียงเล็กน้อย นั่นหมายความว่าปัญหาในเรื่องของการแกว่งของความเร็วสัญญาณาฬิกาขณะ boost ทั้ง AGESA Update กับ 1usmus Boost Fix ก็ยังคงไม่สามารถที่จะจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีมากเท่าไรนัก
ทว่าเมื่อมาดูในส่วนของอัตรการแกว่งของสัญญาณนาฬิกาขณะที่ทำการทดสอบแบบ multi threads นั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อใช้ 1usmus Boost Fix ความเร็วสัญญาณนาฬิกาจะมีอัตรการแกว่งที่น้อยกว่าคืออยู่ที่ราวๆ 4,150 – 4,200 MHz และสูงกว่า AGESA Update ที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกานั้นสูงสุดจะอยู่ที่ 4,150 MHz เท่านั้น
สรุป
อย่างที่ได้เห็นกันไปแล้วว่า 1usmus Boost Fix นั้นจะให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่า AGESA Update ของทาง AMD เอง ทว่าผลที่ได้นั้นก็ต่างกันไม่มากเท่าไรนักดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นใจว่าการใช้งานนั้นจะไม่มีปัญหาตามมาก็ควรจะใช้การแก้ไข AGESA Update ของทาง AMD เอง ทว่าสำหรับผู้ที่อยากจะลองของแล้วนั้นวิธีการตั้งค่าของ 1usmus Boost Fix จะสามารถทำได้ 2 ช่องทางดังต่อไปนี้
- โหลดตัวติดตั้งอัตโนมัติของ 1usmus Boost Fix โดยหลังจากที่ทำการติดตั้งไปแล้วนั้นก็ให้เข้าไปที่ Windows power plan แล้วเลือกไปที่ 1usmus Ryzen Universal Power Plan
- สำหรับผู้ที่มีความรู้ในการปรับแต่งค่าผ่านทางเมนบอร์ดนั้นทว่าสามารถที่จะเข้าไปทำการตั้งค่า PTT, TDC และ EDC บนเมนบอร์ดโดยการตั้งค่านั้นจะแบ่งตามรุ่นของตัวหน่วยประมวลผลดังต่อไปนี้(ก่อนที่จะตั้งค่านั้นให้ปรับ PBO limits ไปที่ manual mode ก่อน)
- 3900X – PTT > 160, TDC > 105 และ EDC > 160
- 3800X – PTT > 145, TDC > 95 และ EDC > 145
- 3700X – PTT > 105, TDC > 70 และ EDC > 105
- 3600X – PTT > 140, TDC > 90 และ EDC > 104
- 3600 – PTT > 105, TDC > 70 และ EDC > 105
ที่มา : hardwaretimes