การมาของแรม Kingston DDR4 ค่อนข้างมีความต่อเนื่องในช่วงตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการมาของซีพียู Intel Gen6 Skylake ก็เหมือนเป็นการปูทางเข้าสู่การทำงานของ DDR4 อย่างเต็มภาคภูมิ ซึ่งเดินทางมาตั้งแต่ HyperX Predator, Fury และมาจนถึง HyperX Savage ที่เป็นตลาดของชาว Modding และ Overclocking อย่างแท้จริง ซึ่งในเวลานี้ต้องเรียกว่า Savage series เป็นซีรีส์ที่โดดเด่นอย่างมาก เพราะมาทั้ง แรมและ SSD รวมถึงแฟลชไดรฟ์ครบถ้วนเลยทีเดียว
โดย HyperX Savage DDR4 สำหรับการรีวิวครั้งนี้ เป็นแรมความเร็ว DDR4 2800MHz มีค่า CL 14 และค่า Timing 14-16-16-39-2T ความจุ 16GB (8GB x 2) โดยที่ค่า XMP mode 2 ระดับด้วยกัน XMP 1.0 2666MHz และ XMP 2.0 2800MHz มาพร้อมชุดคิทแบบคู่ แรงดันไฟมาตรฐาน 1.35V
XMP TIMING PARAMETERS
•JEDEC: DDR4-2133 CL15-15-15 @1.2V
•XMP Profile #1: DDR4-2800 CL14-16-16 @1.35V
•XMP Profile #2: DDR4-2666 CL14-15-15 @1.35V
Specification
Power Supply: VDD = 1.2V Typical
• VDDQ = 1.2V Typical
• VPP – 2.5V Typical
• VDDSPD = 2.25V to 3.6V
• On-Die termination (ODT)
• 16 internal banks; 4 groups of 4 banks each
• Bi-Directional Differential Data Strobe
• 8 bit pre-fetch
• Burst Length (BL) switch on-the-fly BL8 or BC4(Burst Chop)
• Height 1.36” (34.57mm)
หน้ากล่องของ HyperX Savage DDR4 รุ่นนี้ ยังคงธีมเดิมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น กับกล่องสีดำแดงและโลโก้ HyperX ด้านหน้า เปิดช่องหน้ากล่องแบบใส ให้เห็นตัวแรมอย่างชัดเจน โดยมาเป็นชุดคิท 8GB x 2 และเมื่อแกะกล่องออกมา จะเป็นกล่องแพ็คเกจใสป้องกันการกระแทกภายในอีกชั้นหนึ่ง
รูปลักษณ์และการออกแบบ
หน้าตาสุดหล่อเหลาของ HyperX Savage DDR4 มาในรูปลักษณ์ของ Heat spreader อลูมิเนียมสีดำ ดูหรู แต่ก็เป็นรอยนิ้วมือง่ายอยู่เหมือนกัน
HyperX Savage DDR4 เริ่มต้นมาตั้งแต่ DDR3 ด้วยชุดระบายความร้อน (Heat spreader) ขนาดกลางไล่เลี่ยกับใน Fury series แต่ยังเล็กกว่า Predator series พอสมควร ซึ่งเป็นซิงก์อลูมิเนียมสีดำ มีครีบระบายความร้อนเล็กๆ ด้านบน ซึ่งดูหล่อทีเดียว อาจจะไม่หวือหวามาก ดูแล้ว HyperX จะเน้นไปที่ฟีเจอร์กับความเร็ว มากกว่าการดีไซน์ที่ยังคงกลิ่นอายของซิงก์รุ่นก่อนหน้าอยู่มาก แต่สนับสนุน XMP Profile 2.0 มาในตัวและความเร็วที่มากขึ้นอีกด้วย
ด้านหลังมาพร้อมลาเบลบอกรายละเอียดของแรม HyperX Savage DDR4 รุ่นนี้
การทดสอบ
ในครั้งนี้ใช้ชุดทดสอบที่เปลี่ยนมาเป็น Intel Skylake จากทาง ASRock Z170 Extreme4 ที่รองรับแรมความเร็วสูงได้ดี ร่วมกับซีพียู Intel Core i5-6400 และระบบจัดเก็บข้อมูล SSD OCZ ARC100 128GB บนระบบปฏิบัติการ Windows 10
ในเบื้องต้นเมนบอร์ดมีการตรวจสอบเป็น DDR4 2133 ตามค่า Default ของเมนบอร์ด ซึ่งเมนบอร์ดจาก ASRock รุ่นนี้ รองรับ XMP profile ในการสนับสนุน DDR4 2800 ได้
เมื่อปรับค่า XMP Profile ในไบออสของเมนบอร์ดแล้ว ก็รายงานความเร็วแรมได้อย่างถูกต้อง สังเกตในช่อง DRAM Information ที่ในส่วนของ Profile 1 กับความเร็ว DDR4 2800
สังเกตความละเอียดในการปรับความเร็วของแรม มีให้เลือกมากมาย น่าจะเหมาะกับคนที่ชอบการโอเวอร์คล็อกได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลจาก CPUz รายงานความเร็ว DRAM frequency ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการทำงานในแบบ Dual-channel ด้วยการใช้ XMP mode-2800 กับค่า Timing 14-16-16-2T
ผลที่ได้จากการทดสอบด้วย AIDA64 – Memory แสดงให้เห็นอัตราแบนด์วิทธ์ที่ไม่ธรรมดาของแรมรุ่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหรือเขียนข้อมูลก็ตาม
การทดสอบด้วย Heavensward เป็นเกมในแนว RTS ที่มีการเรียกใช้แรมมากอยู่เหมือนกัน ก็ยังทำคะแนนได้ดีทีเดียว
PCMark8 ก็เป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบ ซึ่งผลที่ได้โดยรวมทั้งระบบ เป็นตัวเลขที่ถือว่าทำได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะในส่วนของวีดีโอและ Web Browsing ที่แรมเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานค่อนข้างมาก
ผลที่ได้จากการทดสอบด้วย SiSoft Sandra ในส่วนของ Memory ก็ดูจะสอดคล้องกับการทดสอบบน AIDA64 อยู่เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอัตราแบนด์วิทธ์ที่ค่อนข้างสูงบนแรม HyperX Savage DDR4 รุ่นนี้
นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความเร็วแรม Kingston รุ่นนี้ได้แบบที่ไม่ต้องปรับให้วุ่นวายมาก โดยขยับในไบออสไปอีกหนึ่งสเตปกับความเร็ว 3066MHz ซึ่งให้ผลทดสอบที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง
ผลที่ได้จากการทดสอบ PCMark8 – HyperX Savage DDR4 2800MHz
ผลที่ได้จากการทดสอบ PCMark8 – HyperX Savage DDR4 (OC) 3066MHz
ผลที่ได้จากการทดสอบ จากการโอเวอร์คล็อกแรม HyperX Savage DDR4 (OC) 3066MHz
Conclusion
สำหรับแรม HyperX DDR4 จากทาง Kingston รุ่นนี้ ค่อนข้างชัดเจนในเรื่องของความเร็วที่ตอบโจทย์ได้ดีมากขึ้น แม้จะเป็นการขยับจากเดิมเพียงเล็กน้อย จากความเร็วรุ่นพื้นฐานก็ตาม แต่ก็ถือว่าให้ผลทดสอบที่ออกมาดีพอสมควร โดยเฉพาะการมาเป็นแบบชุดคิทนี้ เสริมการทำงานด้วย Dual-channel ทำให้คะแนนการทดสอบหลายส่วนไปได้ดี นอกจากนี้ด้วยความโดดเด่นในการรองรับ XMP Profile ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้แรมทำงานร่วมกับเมนบอร์ดที่รองรับและขยับความเร็วของแรมไปอยู่ที่ระดับ 2800MHz ได้ตามปกติแบบไม่ต้องไปฝืน ที่สำคัญในการโอเวอร์คล็อกก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคกับแรมจาก HyperX ชุดนี้แต่อย่างใด โดยยังพอขยับความเร็วขึ้นไปได้อีกระดับหนึ่ง แต่ก็อาจจะต้องควบคู่กับการปรับค่า CL และแรงดันไฟไปคู่กัน แต่ที่ปรับให้ดูเป็นแบบเดิมๆ ที่ไม่ต้องการให้สูญเสียค่าเดิมไป เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบว่ายังพอมีช่องเล็กๆ แบบไม่ต้องทรมานแรมจนเกินไป ส่วนผลที่ได้ก็ตามการทดสอบที่เห็น ก็เรียกว่าไม่ธรรมดาเลยสำหรับแรมชุดนี้
จุดเด่น
- ให้ความเร็วได้สูงถึง 2800MHz
- รองรับ XMP Profile ได้ที่ 2 ระดับ 2666MHz และ 2800MHz
- สนับสนุนการโอเวอร์คล็อกได้ดี
- ซิงก์อลูมิเนียม ใส่รายละเอียดเล็กๆ ที่ช่วยในการระบายความร้อนได้ดีขึ้น
ข้อสังเกต
- น่าจะเพิ่มขนาดซิงก์แรมให้ใหญ่ขึ้น เพื่อการระบายความร้อนได้ดีกว่า