Benchmark (OS X)
มาถึงหน้านี้ก็จะเป็นผล Benchmark ของทางฝั่ง Mac กันก่อนครับ ไปดูกันเลย
ส่วนที่หลายๆ คนอยากทดสอบกันที่สุดก็คือความเร็วของ SSD ครับ โดยเครื่องของผมใช้ SSD เป็นของ Toshiba สามารถทำความเร็วในการอ่านได้ที่ราวๆ 340 ? 350 MB/s ส่วนความเร็วในการเขียนจะอยู่ช่วง 220 ? 240 MB/s ด้วยกัน แต่เห็นเครื่องคนอื่นที่ใช้ SSD ของ Samsung ดูจะเร็วกว่านี้นะ (แอบเสียใจเล็กๆ T T)
โดยการแบ่งยี่ห้อของ SSD จะแบ่งไปตามความจุครับ ซึ่งรุ่น 64 และ 128 GB จะใช้เป็นของ Toshiba ส่วนรุ่น 256 และ 512 GB จะใช้เป็นของ Samsung
ต่อมาก็เป็นผลเทสพลังการประมวลผลของทั้ง CPU และ GPU ด้วย Cinebench R11.5 กันบ้าง ซึ่งคะแนนนี้เดี๋ยวจะนำไปเปรียบเทียบกับเมื่อเทสด้วย Windows 7 ด้วยครับ
ซึ่งคะแนนระดับนี้ก็จัดว่าอยู่ในระดับเดียวกับ Core i5 รุ่น i5-24x0M ของตระกูล Sandy Bridge เลย อาจจะเหนือกว่านิดหน่อยด้วยซ้ำ เรียกว่าพลังของ CPU ตระกูล ULV ในปัจจุบันก็ไม่ใช่ย่อยๆ อีกต่อไปแล้ว และยิ่งถ้านำมาใช้งานทั่วไป รับรองว่าเหลือๆ แน่นอน
โปรแกรมเทสเครื่องอีกหนึ่งตัวที่เป็นที่นิยมในฝั่ง Mac ก็คือ GeekBench ที่มีตัวเลือกให้เทสได้ทั้ง 32 และ 64 bit ซึ่งคะแนนที่ได้ออกมาก็สามารถนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลคะแนนเฉลี่ยนของ GeekBench เองได้ครับ มาดูส่วนของ 32 bit ก่อนแล้วกัน
ด้วยคะแนนของ Intel Core i5-3427U ใน MacBook Air 13? Mid 2012 สามารถทำไปได้ 6,153 คะแนน ซึ่งก็อยู่ในระดับที่ใกล้ๆ กับ Intel Core i5-3320M, AMD Phenom II X4 965 Black Edition และเหนือกว่า Intel Core i7-2620M พอสมควร แต่ทั้งนี้ก็อย่ายึดติดกับคะแนนมากนะครับ เพราะไม่แน่ใจว่าในตัว GeekBench มันมี bias มากน้อยเพียงใดเหมือนกัน เพราะโปรแกรมนี้มีให้เทสทั้งเวอร์ชัน Windows และ OS X เลย
ส่วนของแบบ 64 bit ตัว MacBook Air 13? Mid 2012 สามารถทำคะแนนไปได้ 6,697 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับที่ไล่ๆ กันกับ Intel Core i5-2450M, AMD Athlon X4 630 แต่ยังน้อยกว่า Intel Core i5-2410M และ i5-2430M อยู่พอตัวทีเดียว
อีกหนึ่งคำถามที่มีเข้ามามากก็คือ MacBook Air สามารถเล่นเกมได้หรือไม่ ผมก็เลยจัดการติดตั้ง Diablo 3 สำหรับ Mac แล้วลองเล่นดูเลยครับ การตั้งค่าคร่าวๆ ก็ประมาณนี้
- ความละเอียดที่ 1440×900 (native resolution)
- การตั้งค่าภาพมีทั้ง high และ medium
- เปิดระบบฟิสิกส์ High
- ปิด Anti-aliasing
ซึ่งผลที่ได้ก็คือสามารถเล่นได้ค่อนข้างไหลลื่นครับ ภาพเนียนตาใช้ได้ แต่ถ้าจะเอาชัวร์ อาจจะลดความละเอียดลงมาอยู่ที่ 1280×800 ก็ได้ ก็เป็นอันว่า MacBook Air 13? Mid 2012 สามารถเล่นเกมได้ในระดับหนึ่งเลย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเล่นเกมบ้างเป็นครั้งคราว แต่ถ้าหวังว่ามันจะสามารถเล่นเกมได้เท่าๆ กับเครื่องสำหรับเล่นเกมในระดับราคาที่เท่าๆ กันหรือต่ำกว่า ตรงนี้ต้องขอบอกว่ามันผิดวัตถุประสงค์กัน ไม่สามารถนำมาเทียบได้ครับ เพราะจุดประสงค์การออกแบบเครื่องที่ไม่เหมือนกันอย่างที่ผมได้กล่าวไปในตอนต้นแล้ว ซึ่งการเทสเกมครั้งนี้ก็เป็นเพียงการแสดงให้เห็นว่าเครื่อง Mac ที่ใช้การ์ดจอ Intel HD Graphics 4000 ก็สามารถเล่นเกมได้เหมือนกัน ไม่ได้บอกว่ามันเล่นเกมได้ดีเหมือนเครื่องที่ออกแบบมาใช้เล่นเกมครับ เข้าใจตรงกันนะ ^^
ผลเทสในส่วนของ Mac ก็มีเท่านี้ครับ หน้าต่อไปเป็นผลเทสของฝั่ง Windows กันบ้าง