รู้จักกับแอพทางรัฐ ใครได้บ้าง พร้อมขั้นตอนการลงทะเบียน เพื่อรับสิทธิ์เงินดิจิทัล 10000 บาท อัพเดท 2024
ก่อนหน้านี้เราจะเห็นข้อมูลเกี่ยวกับเงินดิจิทัล 10000 บาท ซึ่งเป็นนโยบายที่ชูโรงมาตั้งแต่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง จนกระทั่งในตอนนี้ที่ทางพรรคก็ได้เป็นรัฐบาลมาระยะหนึ่งแล้ว ก็ได้มีการอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายนี้มากยิ่งขึ้น และล่าสุดก็เป็นการลงทะเบียนสำหรับโครงการเงินดิจิทัล 10000 บาท ที่ต้องทำผ่านแอพพลิเคชันอย่าง แอพพลิเคชันทางรัฐ ทีมงาน NotebookSPEC ก็อยากจะมาแนะนำวิธีการใช้งานและลงทะเบียนใช้งานแอพทางรัฐ รวมถึงการเข้าถึงการติดต่อหน่วยงานราชการผ่านทางแอพพลิเคชันนี้ด้วย
- สำหรับแอพพลิเคชันทางรัฐนั้น นอกจากจะเป็นแอพพลิเคชันที่รองรับการลงทะเบียนรับสิทธิ์เงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปลงทะเบียนในวันที่ 1 สิงหาคม 2567 – 15 กันยายน 2567 แล้ว ก็ยังเป็นแอพที่รวบรวมบริการจากทางภาครัฐกว่า 149 รายการ
- ในส่วนของการลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์เงินดิจิทัล 10,000 บาท และรายละเอียดในการใช้จ่ายนั้น มีการแถลงออกมาแล้วบางส่วน แต่ทั้งนี้ก็ยังคงต้องรอการอัพเดทข้อมูลต่างๆ รวมถึงรายละเอียดการลงทะเบียนร้านค้า และประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ในอนาคตต่อไป ส่วนของรายละเอียดเบื้องต้น ได้แก่
- ต้องประชาชนสัญชาติไทย ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- จะต้องมีอายุ ตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน (15 กันยายน 2567)
- จะต้องไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566
- ต้องมีเงินฝากกับทางธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
แอพทางรัฐคืออะไร
แอพพลิเคชันทางรัฐ หรือ Super App เป็นแอพพลิเคชันฟรีที่ได้เริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 และยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดูแลของสำนักงานนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA ที่ร่วมมือกับหลายหน่วยงานของภาครัฐอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น กรมการปกครอง, สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นต้น ซึ่งมีการรวบรวมบริการจากทางภาครัฐกว่า 149 รายการ ภายในแอพ
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจภายในแอพพลิเคชัน
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าแอพพลิเคชันนี้ เรียกได้ว่าเป็นแอพที่รวบรวมบริการจากทางภาครัฐไว้มากมายกว่าร้อยรายการ สำหรับบริการหรือฟีเจอร์ที่น่าสนใจภายในแอพ ได้แก่
- บริการสำหรับการตรวจสิบสิทธิ์การรักษาพยาบาล หรือ สิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสถานพยาบาล ตามสิทธิ์ที่เราได้รับ รวมถึงช่องทางสำหรับการเปลี่ยนหน่วยบริการด้วย
- บริการสำหรับการตรวจสอบสิทธิ์ประกันสังคม รวมถึงการเช็กยอดเงินประกันสังคม, สิทธิ์ในโครงการเยียวยา, ตรวจสอบยอดเงินสมทบชราภาพ สถานพยาบาลที่ได้ลงทะเบียนไว้
- บริการการตรวจสอบใบสั่งจราจร ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ รวมถึงบริการการชำระใบสั่งผ่านทาง QR Code, การแจ้งเตือนและติดตามสถานะการชำระใบสั่ง, การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ, การจองคิวอบรมใบขับขี่ เป็นต้น
- บริการตรวจสอบเครดิตบูโร
- บริการตรวจสอบเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุและเบียความพิการ
- การตรวจสอบและชำระเงินค่าไฟฟ้า คำน้ำ
- บริการตรวจสอบใบอนุญาต, บัตรผู้ประกาศฯ ที่ออกโดย กสทช. และประกาศนียบัตร
- บริการออมเงินกับกอช. หรือ การสร้างบำนาญวัยเกษียณ
- บริการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสาร, สิทธิประโยชน์ และบริการต่างๆ
- บริการจองคิวโรงพยาบาลรัฐ
- บริการแจ้งเรื่อง ร้องเรียนต่างๆ
- บริการแปลภาษา, บริการนำทาง, ค้นหาร้านค้า ร้านอาหาร เป็นต้น
วิธีการลงทะเบียนสมัครใช้งานแอพพลิเคชัน
สำหรับการสมัครใช้งานแอพพลิเคชันอย่างทางรัฐนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ เลย ผ่านสมาร์ทโฟน โดยตัวแอพจะรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ในส่วนของวิธีการสมัครใช้งานแอพนั้น สามารถทำตามขั้นตอนได้ ดังนี้
- เริ่มต้นเมื่อเราดาวน์โหลดแอพพลิเคชันมาเรียบร้อยแล้ว ให้เราเปิดแอพพลิเคชันขึ้นมา
- เมื่อเปิดแอพพลิเคชันขึ้นมาแล้ว ให้เรากดเลือกที่ “สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ” >> จากนั้นก็เลือกที่ “สมัครสมาชิก” >> เราจะเข้าสู่หน้าสำหรับการสมัครสมาชิก
- ในขั้นตอนสำหรับการสมัครสมาชิกนั้น กดเลือกที่ “สมัครด้วยบัตรประชาชน” >> ให้เราอ่านข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัว แล้วจากนั้น กดเลือกที่เครื่องหมายติ๊กถูก ที่ “ฉันยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข” >> จากนั้นกด ยอมรับ
- การสมัครด้วยบัตรประชาชนผ่านแอพพลิเคชันนี้ เราไม่ต้องใช้แอพพลิเคชันอื่น และไม่ต้องเดินทางเพื่อไปเสียบบัตรประชาชนยืนยันตัวตนที่ Counter Service
- เราจะเข้าสู่ขั้นตอนถ่ายรูปบัตรประชาชนเพื่อยืนยันตัวตน >> เมื่อเราอ่านข้อแนะนำในการถ่ายรูปบัตรประชาชนเรียบแล้ว ก็สามารถวางบัตรประชาชนให้ตรงกับตำแหน่งที่กำหนด แล้ว กดปุ่ม เพื่อถ่ายรูปได้เลย
- เมื่อเราถ่ายรูปบัตรประชาชนของเราเรียบร้อยแล้ว >> เราจะเข้าสู่หน้าต่างสำหรับการกรอกข้อมูลส่วนตัว โดยในการกรอกข้อมูลนั้น ให้เราตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลที่กรอกนั้นถูกต้องครบถ้วนตามบัตรประชาชน >> จากนั้นกด ยืนยันตัวตน
- ให้เราอ่านข้อแนะนำในการสแกนใบหน้า แล้วให้เรา เริ่มขั้นตอนการสแกนใบหน้า เพื่อยืนยันตัวตน
- สำหรับใครที่สแกนใบหน้าไม่ผ่าน เราสามารถสร้างบัญชีและเข้าใช้งานได้เช่นเดียวกัน แล้วค่อยมาสแกนใบหน้าในภายหลัง
- จากนั้น จะเข้าสู่การกำหนด ชื่อบัญชีผู้ใช้ และ รหัสผ่าน ในการเข้าใช้งานแอพพลิเคชัน >> เมื่อได้ที่ต้องการแล้ว ให้กด ยืนยัน
- เราจะเข้าสู่การตั้งค่า PIN Code 6 หลัก สำหรับไว้ใช้งานแอพ >> เมื่อกำหนด PIN Code ได้แล้ว ให้กด ยืนยัน PIN Code อีกครั้ง
- ในกรณีที่สมาร์ทโฟนของเรารองรับการสแกนใบหน้าในการปลดล็อก เราก็สามารถ เปิดใช้งาน การสแกนใบหน้า เพื่อเข้าใช้งานแอพพลิเคชันได้เลย
- ระบบจะปรากฏข้อความ “ยินดีต้อนรับคุณ …” >> เพื่อเป็นการแสดงว่าเราได้สมัครเข้าใช้งานแอพเรียบร้อยแล้ว >> ให้เรากด “เริ่มใช้งาน” เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานแอพพลิเคชันได้แล้ว
นอกจากนี้เรายังสามารถลงทะเบียนใช้งานแอพพลิเคชันได้ผ่านทางช่องทางอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ตู้เอนกประสงค์ภาครัฐ, ไปรษณีย์ไทย, Counter Service, ตู้บุญเติม, แอพพลิเคชัน ThaID โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมและขั้นตอนการสมัครใช้งานได้ที่: ทางรัฐ
ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ Digital Wallet
เมื่อเราสมัครเข้าใช้งานแอพพลิเคชันเรียบร้อยแล้ว ก็มาสู่ขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์สำหรับ Digital Wallet หรือ เงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยรัฐบาล โดยได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ลงทะเบียนผ่านทางแอพ ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 15 กันยายน 2567 ในส่วนของขั้นตอนการลงทะเบียนรับสิทธิ์ Digital Wallet นั้น มีดังนี้
- เมื่อดาวน์โหลดและลงทะเบียนสมัครใช้งานแอพพลิเคชันเรียบร้อยแล้ว
- ให้เราเปิดแอพพลิเคชันขึ้นแล้ว เข้ามายังหน้าหลัก จากนั้นให้เลือกที่ หมวดหมู่ “นโยบายรัฐบาล”
- จากทางนั้นให้เราเลือกที่บริการ “ลงทะเบียนขอรับสิทธิ Digital Wallet”
- ให้เราอ่านรายละเอียดของบริการ แล้วจากนั้นกดเลือกที่ “อนุญาต” แล้วเตรียมพร้อมสำหรับการรับสิทธิ์ในวันตามประกาศได้เลย
เงื่อนไขในการได้รับเงินดิจิทัล 10000 บาท
ทางรัฐบาลได้แถลงเงื่อนไขสำหรับโครงการ Digital Wallet โดยเปิดให้บุคคลหรือประชาชนทั่วไป สามารถลงทะเบียนได้ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2567 – 15 กันยายน 2567 ผ่านแอพพลิเคชันอย่างทางรัฐ ผ่านสมาร์ทโฟนทั้ง iOS และ Android โดยประชาชนที่จะรับสิทธิ์ได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน
สำหรับประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ภาครัฐได้เปิดให้มีการลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านช่องทางที่กำหนดได้ ในระหว่างวันที่ 16 กันยายน 2567 – 15 ตุลาคม 2567 โดยจะมีการตรวจสอบคุณสมบัติ สถานะบุคคล และที่อยู่ตามทะเบียนบ้านด้วย
ผู้ที่จะสามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ Digital Wallet ได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- ต้องประชาชนสัญชาติไทย ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- จะต้องมีอายุ ตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน (15 กันยายน 2567)
- จะต้องไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566
- ต้องมีเงินฝากกับทางธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท โดยตรวจสอบข้อมูลเงินฝาก 6 ประเภท ได้แก่ (เงินฝากดังกล่าวให้หมายความถึงเฉพาะเงินฝากที่อยู่ในรูปแบบสกุลเงินบาทเท่านั้น ไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม และเป็นเงินฝาก ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567)
- เงินฝากกระแสรายวัน
- เงินฝากออมทรัพย์
- เงินฝากประจำ
- บัตรเงินฝาก
- ใบรับเงินฝาก
- ผลิตภัณฑ์เงินฝากในชื่อเรียกอื่นใด ที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับข้อ 1 – 5
- จะต้องไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ
- จะต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระงับสิทธิ์ หรือ ถูกเรียกเงินคืนในมาตรการ / โครงการอื่นๆ ของรัฐ
- จะต้องไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการ / โครงการอื่นๆ ของรัฐ
ข้อกำหนดในการเข้าร่วมโครงการ (ข้อมูล 26/07/2024)
- การลงทะเบียนสำหรับประชาชนทั่วไป จะอยู่ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2567 – 15 กันยายน 2567 โดยดำเนินการลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชันทางรัฐ บนสมาร์ทโฟน ที่รองรับการใช้งานทั้ง iOS และ Android
- ไม่มีการจำกัดจำนวนของประชาชนที่จะเข้าร่วมใช้สิทธิ์ในโครงการ ประชาชนทุกคนที่มาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ และมีคุณสมบัติครบถ้วน ก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการได้ (รัฐบาลได้ประมาณการจำนวนไว้ประมาณ 45 – 50 ล้านคน)
- การลงทะเบียนประชาชน กลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ในกลุ่มนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการให้เข้าร่วมโครงการในระยะต่อไป โดยจะเปิดให้มีการลงทะเบียนและยืนยันตัวตน ผ่านทางช่องทางที่กำหนด ในช่วงระหว่างวันที่ 16 กันยายน 2567 – 15 ตุลาคม 2567
- จะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติสถานะบุคคล และที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เช่นเดียวกันกับ กลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีสมาร์ทโฟน
- ในส่วนของการใช้จ่าย อยู่ในระหว่างการพิจารณาให้ใช้สิทธิ์ผ่านบัตรประชาชน
- การใช้สิทธิ์ในการซื้อสินค้า จะสามารถทำได้ในวงที่แคบกว่าการใช้สิทธิ์ของประชาชนทั่วไปที่มีสมาร์ทโฟน
- การลงทะเบียนร้านค้า ในเบื้องต้นได้กำหนดไว้ว่าเป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลัง ทั้งในเรื่องของคุณสมบัติร้านค้า, ช่องทาง, วิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการ และเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติม
วิธีการใช้จ่ายเงิน Digital Wallet
ในส่วนของการใช้จ่ายเงินผ่าน Digital Wallet นั้น จะแบ่งออกเป็นรอบๆ ดังนี้
- รอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่าง ประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็ก ไปจนถึง ร้านค้าสะดวกซื้อขนาดเล็ก โดย
- ประชาชนจะต้องชำระสินค้าที่เข้าร่วมกับโครงการ ผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ บนแอพพลิเคชันของหน่วยงานรัฐที่เข้าร่วมโครงการ ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า ที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นร้านค้าขนาดเล็ก ไปจนถึง ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กตามที่กระทรงพาณิชย์กำหนด ซึ่งไม่รวม ห้างสรรสินค้า, ห้างค้าปลีก – ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
- จะต้องมีการซื้อ – ขาย สินค้ากันจริงๆ
- เป็นการใช้จ่ายในเชิงพื้นที่ ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยประชาชนต้องมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ในอำเภอเดียวกัน กับสถานประกอบการของผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก
- การซื้อ – ขาย สินค้า ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องการมีทำธุรกรรม ซื้อขาย และสแกน QR Code เพื่อชำระค่าสินค้ากันแบบ Face-to-face และไม่มีกระบวนการใดๆ ในการซื้อที่ดำเนินดารผ่านช่องทางออนไลน์ หรือผ่านคนกลาง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใด และไม่ให้ทำซ้ำ ส่งต่อ หรือวิธีการอื่นใดกับ QR Code ในแอพพลิเคชันของหน่วยงานที่ร่วมโครงการ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรม Face-to-face ดังกล่าว
- รอบที่ 2 เป็นต้นไป จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้า กับ ร้านค้า
- ผู้ประกอบการร้านค้า จะต้องชำระค่าสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ บนแอพพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าอีกแห่งหนึ่ง
- จะต้องมีการซื้อ – ขาย สินค้า กันจริงๆ
และทั้งหมดนี้ก็คือแอพทางรัฐ หรือ Super App แอพพลิเคชันที่รองรับการลงทะเบียนรับสิทธิ์เงินดิจิทัล 10,000 บาท และในส่วนของการลงทะเบียนเพื่อเครียมรับสิทธิ์เงินดิจิทัลนั้น จะเริ่มเปิดให้ประชาชนทั่วไปลงทะเบียนกันในวันที่ 1 สิงหาคม 2567 – 15 กันยายน 2567 ซึ่งการเข้าไปสมัครใช้งานแอพพลิเคชันก่อนนั้นก็จะช่วยให้เราลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมถึงตัวแอพก็ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการรับบริการหรือติดต่อบริการหน่วยงานของภาครัฐอีกด้วย