Connect with us

Hi, what are you looking for?

CONTENT

แรม DDR5 หรือ DDR4 ประกอบคอม Intel Gen 12 ปี 2022 เลือกแบบไหนดี?

แรม DDR5 หรือ DDR4 ประกอบคอมใหม่ จะใช้แบบใดดี? ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานและการเล่นเกมในปี 2022

แรม DDR5

เชื่อว่าในเวลานี้ การมาของซีพียูและแพลตฟอร์มทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เมนบอร์ด ชิปเซ็ต และการสนับสนุนฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ ก็เรียกว่าใกล้จะมีครบทุกสิ่งในท้องตลาด โดยเฉพาะเมนบอร์ดที่มีชิปเซ็ตให้เลือกตั้งแต่ราคาประหยัด เกมเมอร์ ไปจนถึงไลน์ Performance นั่นก็ทำให้ผู้ที่กำลังจะจัดสเปคคอมประกอบคอมใหม่ มีทางเลือกในการใช้งานมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ต้องขบคิดอย่างหนักนั่นคือ จะเลือกใช้เมนบอร์ดแรม DDR5 ที่เป็นรุ่นใหม่ เกิดมาเพื่อซีพียู Intel Alder Lake นี้โดยตรง หรือจะใช้แรม DDR4 ที่มีความประหยัด หาได้ง่าย ตัวเลือกเยอะ แบบไหนจะดีกว่ากัน วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน ด้วยเมนบอร์ด MSI MAG B660M MORTAR WiFi ซึ่งมีทั้งแบบ DDR4 และ DDR5 ดูกันว่า เมื่อประกอบคอมแล้ว แบบไหน จะเหมาะกับคุณ เผื่อไว้เป็นอีกหนึ่งแนวทางของผู้ที่กำลังจัดสเปคคอมใหม่ในช่วงเวลาต่อไป

แรม DDR5 หรือ DDR4 ประกอบคอมใหม่ แบบไหนดี

รุ่น ราคาแรม DDR5 และ DDR4

DDR5
ADATA XPG LANCER DDR5 5200 32GB (16GB x2)10,400 บาท
Kingston FURY BEAST DDR5 5200 32GB (16GB x2)11,800 บาท
APACER NOX DDR5 5200 32GB (16GB x2)12,600 บาท
DDR4
KLEVV Bolt X DDR4 3200 32GB (16GB x2)4,490 บาท
Kingston FURY BEAST DDR4 3200 32GB (16GB x2)5,990 บาท
Kingston FURY RENEGADE DDR4 3200 32GB (16GB x2)6,590 บาท
CORSAIR VENGEANCE PRO SL 3200 32GB (16GB x2)7,490 บาท
*ราคาวันที่ 28/1/65
แรม DDR5

ราคาจากตารางด้านบนนี้ เป็นราคาของแรม DDR5 และ DDR4 โดยเป็นแรมความเร็วพื้นฐาน สำหรับแพลตฟอร์มใหม่ในปัจจุบันด้วยกันทั้งคู่ นั่นคือ DDR4 3200 และ DDR5 5200 เป็นการอ้างอิงถึงความจุของแรมเท่านั้น ไม่ได้เป็นการนำมาเปรียบเทียบกัน เนื่องจากเทคโนโลยีของแรมทั้งคู่นั้นต่างกัน โดยราคาที่ต่างกันของแรมทั้ง 2 รูปแบบนี้ ย่อมมีผลต่อการประกอบคอม Intel Gen 12 ด้วยไม่น้อย ซึ่งหากผู้ใช้ที่มีงบประมาณจำกัด ทางเลือกของ DDR4 ก็น่าสนใจ แต่ถ้ามองว่าต้องการศักยภาพในการทำงาน และลงทุนกับระบบครั้งเดียว ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมในภายหลังมากนัก เพราะจะใช้แรมแบบใด ก็ต้องเลือกเมนบอร์ดสำหรับแรมนั้นๆ เพราะถ้าจะเปลี่ยนแรมในภายหลัง ก็ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการอัพเกรดสูงขึ้น โดยราคาแรมที่ปรากฏนี้ จะสังเกตได้ว่า แรม DDR4 3200 นั้น ราคาต่ำกว่า DDR5 5200 บนความจุที่เท่าๆ กันอยู่ไม่น้อยทีเดียว

Advertisement

สเปคแรม DDR5 และ DDR4

DDR5DDR4
โมเดลDDR5 4800-6400DDR4 2400-4400
Transfer rate41600 MB/s – 19200 MB/s – 35200 MB/s
ความเร็ว4,800MT/s – 6,400MT/s2400MT/s – 4400MT/s
ความจุพื้นฐาน16GB4GB
แพลตฟอร์ม (2022)Intel LGA1700Intel and AMD
XMP3.02.0

เมนบอร์ด MSI B660M MORTAR WiFi

แรม DDR5
MSI B660M MORTAR WiFi

ก่อนที่จะไปสู่การทดสอบ เรามาดูเมนบอร์ดที่นำมาใช้ในวันนี้กันก่อน นั่นคือ MSI MAG B660M MORTAR WiFi ซึ่งมีทั้งแบบที่ใช้กับแรม DDR5 และรุ่นที่ใช้ร่วมกับแรม DDR4 ให้เลือก โดยที่เมนบอร์ดนี้ มาพร้อมชิปเซ็ต Intel B660 รุ่นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นชิปเซ็ตตัวกลาง ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานและการสนับสนุนฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้มากมาย บนเมนบอร์ดไซส์ mATX มีภาคจ่ายไฟขนาดใหญ่ มีสล็อตแรมถึง 4 สล็อตด้วยกัน โดดเด่นด้วย Armor ที่เป็นฮีตซิงก์ช่วยระบายความร้อนมากมาย ตั้งแต่บน Back I/O และชิปเซ็ต ไปจนถึงบนสล็อต M.2 เพื่อช่วยการระบายความร้อนให้กับ SSD ที่เรียกว่า M.2 Shield FROZR

แรม DDR5

เมนบอร์ด MSI นี้ สนับสนุนกราฟิกการ์ดบนสล็อต PCIe 4.0 X16 โดยมีพอร์ตต่อพ่วงความเร็วสูงอย่าง Lightning 20G มาให้อีกด้วย สนับสนุน WiFi 6E และ 2.5G LAN เพิ่มความบันเทิงด้วยระบบเสียง 7.1 และอย่างที่กล่าวเอาไว้คือ เมนบอร์ดรุ่นนี้ มีให้เลือก 2 โมเดล ความต่างกันมีเพียงการสนับสนุนแรมเท่านั้น โดยรุ่น DDR5 จะรองรับ DDR5 ได้สูงสุดที่ 6200MHz (OC) ส่วนรุ่นที่เป็น DDR4 จะรองรับ DDR4 4800MHz นั่นเอง

แรม DDR5

แรมที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้ มีด้วยกัน 2 แบบคือ แรม DDR5 จากทาง Kingston FURY BEAST DDR5 5200 32GB เป็นแบบ 16GB x2 และแรม DDR4 ในรุ่น HyperX FURY DDR4 3200 16GB ซึ่งเป็นแบบ 8GB x2

ระบบที่ใช้ในการทดสอบ

DDR5DDR4
ซีพียูIntel Core i5-12400Intel Core i5-12400
CoolingMSI MAG CORELIQUID C240MSI MAG CORELIQUID 360R
เมนบอร์ดMSI MAG B660M Mortar WiFiMSI MAG B660M Mortar WiFi DDR4
แรมKingston FURY BEAST DDR5 5200 32GBHyperX FURY DDR4 3200 16GB
StorageWD SN550 1TBWD SN550 1TB
GraphicGeForce RTX 3070TiGeForce RTX 3070Ti
PSUMSI MPG A850GFMSI MPG A850GF
OSWindows 10 ProWindows 10 Pro

ทดสอบประสิทธิภาพ

MSI B660 MORTAR DDR4 DDR5 7

ในการทดสอบประสิทธิภาพครั้งนี้ จะใช้ซีพียูเดียวกันคือ Intel Core i5-12400 และเมนบอร์ด MSI B660M MORTAR ซึ่งมี่ทั้ง 2 แพลตฟอร์มคือ รุ่นที่ใช้กับ DDR5 และอีกรุ่นจะเป็นแบบ DDR4 ส่วนแรมจะต่างกันคือ DDR4 3200 16GB และ DDR5 5200 32GB โดยมี Storage เป็น SSD M.2 NVMe PCIe 512GB จาก WD SN550 พร้อมกับกราฟิกการ์ด GeForce RTX 3070Ti GDDR6 8GB บนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro

CPUz

แรม DDR5

ซีพียูที่นำมาใช้ในการทดสอบครั้งนี้ Intel Core i5-12400 ทำงานในแบบ 6 core/ 12 thread ความเร็วสูงสุด 4.4GHz Boost เป็นซีพียู Intel Gen 12 รองรับการทำงานร่วมกับแรม DDR5 ได้ตามมาตรฐาน คู่กับเมนบอร์ด MSI MAG B660M MORTAR WiFi

RAM

แรม DDR5
Kingston FURY DDR4 3200 16GB (8GB x2)

แรมที่นำมาใช้กับระบบ DDR4 จากทาง Kingston FURY DDR4 3200 บน Intel XMP 2.0 ค่า CL 16-18-18 ความจุ 16GB (8GB x2) ในแบบ Dual-channel

แรม DDR5
Kingston FURY BEAST DDR5 5200 32GB (16GB x2)

ส่วนแรมที่นำมาใช้กับระบบ DDR5 จากทาง Kingston FURY BEAST DDR5 5200 บนการตั้งค่า XMP 3.0 ความจุ 32GB มีค่า CL 40-40-40 ทำงานในแบบ Dual-channel เช่นเดียวกัน

PCMark10

แรม DDR5

การทดสอบบน PCMark10 วัดประสิทธิภาพบนการทำงานในรูปแบบต่างๆ เป็นการทดสอบทั้งระบบ และผลที่ได้ คะแนนในภาพแทบจะไม่ต่างกันมากนัก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะฮาร์ดแวร์เกือบทั้งหมดอยู่ในระดับเดียวกัน ยกเว้นแรม ซึ่งมีในแพลตฟอร์ม DDR5 ที่มีคะแนนมากกว่าในบางจุด

AIDA64

แรม DDR5

เป็นโปรแกรมทดสอบยอดนิยม ที่ใช้ในการทดสอบระบบได้ชัดเจน รวมถึงความแตกต่างของ memory ที่เราใช้ในการทดสอบครั้งนี้ ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับที่เราเคยได้ทดสอบไปก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่ได้จาก DDR5 นั้นมีตัวเลขประสิทธิภาพในการอ่าน, เขียน และ Copy เหนือกว่า DDR4 อย่างชัดเจน

SpecviewPerf 11

แรม DDR5

เป็นอีกหนึ่งตัวแทนของการทดสอบการคำนวณในด้านโครงสร้างและการสร้างภาพกราฟิกในด้านงานออกแบบ ซึ่งจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพของซีพียูมากกว่า แต่ก็ต้องอาศัยหน่วยความจำ ในการส่งข้อมูลสำหรับประมวลผล โดยตัวเลขส่วนใหญ่จะออกมาใกล้เคียงกัน จะมีเพียงพาร์ทที่เป็น maya-03 เท่านั้น ที่ DDR5 สามารถทำตัวเลขได้โดดเด่น เหนือกว่า DDR4 อยู่ไม่น้อยเลย

UserBenchmark

แรม DDR5

เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบระบบโดยรวมเช่นกัน ซึ่งเราเจาะไปที่การทดสอบ Memory และให้ผลเป็น GB/s และเป็นอีกครั้งที่ DDR5 ร่วมกับการทำงานของซีพียู สามารถเร่งประสิทธิภาพในส่วนของ Multi Core ไปด้วยตัวเลขที่น่าประทับใจ

PASSMARK-Performance Test 9.0

แรม DDR5
Higher is Better

PASSMARK ในส่วนของ Performance ซึ่งเราดึงผลการทดสอบเฉพาะ Memory มาเท่านั้น และก็เป็นอีกครั้ง ที่ DDR4 สามารถทำผลคะแนนได้เบียดบี้กับแรม DDR5 เลยทีเดียว และบางส่วนก็ทำตัวเลขได้เหนือกว่า ส่วนที่ DDR5 ทำได้ดีกว่า ก็จะมีในส่วน Overall score และ Read-cache แต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างมากนัก

Blender

แรม DDR5
Less is Better

DOTA2

แรม DDR5

มาดูที่การทดสอบด้วยเกมกันบ้าง เริ่มกันที่ DOTA2 ซึ่งเราใช้ความละเอียดที่เป็น Native ของจอภาพ 2560 x 1440p หรือ 2K แล้วเลือกการตั้งค่าแบบ Best Look ที่เน้นความสวยงาม ที่ได้ทั้งความละเอียดและสวยงาม เฟรมเรตเฉลี่ยของชุดทดสอบ DDR5 อยู่ที่ประมาณ 150fps. เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของ DDR4 อยู่เล็กน้อย ส่วนที่เป็น Fastest ที่เน้นความลื่นไหล ส่วนของชุดทดสอบ DDR4 ก็ทำได้ดี แต่ที่เป็น DDR5 ทำได้ดีกว่า เพราะไปได้เกือบ 190fps. เลยทีเดียว

PUBG

แรม DDR5

มาที่เกม Battle Royal ยอดนิยมแห่งยุคเกมนี้กันบ้าง เริ่มต้นจากการทดสอบบน 1080p ซึ่งหากดูจากการเรียกใช้ทรัพยากรแล้ว ก็ดูเหมือนว่าไม่ได้หนักหนาเหมือนกับในหลายๆ เกม เช่น ซีพียูใช้ประมาณ 30% กว่าๆ ส่วนกราฟิกการ์ดก็แค่ 70% โดยประมาณ และแรมใช้ไปประมาณ 10-11GB เท่านั้น ซึ่งชุดที่เป็น DDR4 ก็ยังมีเรี่ยวแรงเหลือเฟือ ตัวเลขที่เป็นเฟรมเรต จึงค่อนข้างจะเบียดบี้กันพอสมควร สำหรับการทดสอบทั้ง DDR4 และ DDR5 แม้บนความละเอียด 1440p ในแบบ Ultra ที่ยังให้ผลไปในทางเดียวกับ 1080p โดยชุดทดสอบ DDR5 ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย

Horizon Zero Dawn

แรม DDR5

เกมนี้โหดขึ้นมาอีกนิด เพราะเราใช้ความละเอียดสำหรับการเล่น เล่นในโหมด Full-HD หรือ 1080p และปรับความสวยงามแบบจัดเต็ม ทำให้ซีพียูทำงานไปที่ 50-60% และใช้ GPU ไปเกือบ 80% โดยที่ดึงทรัพยากรแรมไปเกือบ 11GB เลยทีเดียว ซึ่งความลื่นไหลและเฟรมเรตนั้น DDR5 มีมากกว่า แต่ไม่มากนัก หากดูในภาพรวม แต่ในการทดสอบบนความละเอียดที่สูง เช่น 1440p ขึ้นไป เริ่มมีผลให้เห็นอยู่บ้าง สำหรับเฟรมเรตบนชุดทดสอบ DDR5 ที่ทำได้ดีมากขึ้น

Battlefield V

แรม DDR5

สุดท้ายกับการทดสอบบนเกมที่เราใช้เป็นประจำอย่าง Battlefield V กับการเล่นเกมในโหมด 1080p Ultra settings ซึ่งเฟรมเรตเฉลี่ยของชุดทดสอบ DDR5 ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย เช่นเดียวกับในโหมด 1440p ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งโดยปกติการทดสอบ 1080p ในเบื้องต้น ตัวเกมเรียกใช้แรมไปมากถึง 12GB ด้วยกัน และค่อนข้างชัดเจนว่า หากเล่นบนความละเอียดที่มากกว่านั้น และตั้งค่า Ultra แนวโน้มของชุดทดสอบแรม DDR5 ก็ดูจะให้ผลที่ดีกว่า ซึ่งก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากับการเล่นเกม ที่ใช้สเปคโหดหินในวันข้างหน้าได้ดี


เลือกใช้แบบใดดี DDR5 vs DDR4

แรม DDR5

ในการทดสอบสิ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนก็คึอ หากเป็นการใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ทั่วไป ดูเหมือนว่าผลของแรมที่ออกมา ดูจะไม่ต่างกันมากนัก อาจเป็นเพราะโปรแกรมพื้นฐาน ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียกใช้แรมมากมายนัก และในหลายครั้งใช้แรมประมาณ 6-8GB ซึ่งทำให้แรมที่เรามีอยู่ทั้ง DDR4 16GB หรือ DDR5 32GB ทำงานได้อย่างสบายๆ เรื่องของความเร็ว ที่วัดกันเป็นหน่วยเวลา ออกมาได้ตัวเลขที่ใกล้เคียงกันมากๆ นั่นอาจจะหมายถึง DDR4 3200 ก็ตอบโจทย์ในการใช้งานในกลุ่มนี้ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งรวมไปถึงเกม ที่ส่วนใหญ่จะอิงกับ VRAM เป็นหลัก ในการประสานงานกับ GPU และ CPU ผลออกมาในเกมที่เรานำมาทดสอบนั้น แม้ชุดแรม DDR5 จะดูว่ามีเฟรมเรตเหนือกว่าอยู่นิดๆ แต่ก็เรียกว่าน้อยมาก แต่ถ้าในกรณีเล่นเกมบนความละเอียดสูง และมีหลายจอต่อกัน หรือเปิดใช้หลายหน้าต่าง อย่างเช่น การเปิดบอทในเกมต่างๆ ผ่านโปรแกรมอย่าง NOX เป็นต้น หรือจะเป็นการเปิด Bomb crypto หลายๆ จอ ทั้งในแง่ของแบนด์วิทธิ์และความเร็ว ก็อาจมีผลต่อการทำงานอยู่ไม่น้อยทีเดียว

แรม DDR5

ดังนั้นหากจะแนะนำก็คึอ ถ้าคุณแค่เน้นเล่นเกมเป็นหลัก และงบประมาณไม่สูงมากนัก รวมถึงต้องการใช้งานซีพียู Intel Gen 12 เมนบอร์ด LGA1700 ที่ใช้ชิปเซ็ต B660 และทำงานร่วมกับแรม DDR4 16GB ขึ้นไป การ์ดจอระดับกลาง ก็ให้ประสิทธิภาพได้ดีพอ แต่ถ้าคุณต้องการเล่นเกม ที่ใช้ทรัพยากรสูง หรือเกมในกลุ่ม AAA ที่มีโปรดักส์ชั่นฟอร์มยักษ์ ซึ่งบางเกมใช้ทรัพยากรหนักหน่วง คัตซีนขั้นเทพ หรือมี Recommended Spec ที่โหดหิน ส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่เรียกข้อมูลจำนวนมาก รวมไปถึงแนว Open world ที่บางทีต้องโหลดข้อมูลจำนวนมาก นอกจากเครือข่ายที่รวดเร็ว SSD ที่ตอบสนองไว แรมก็มีส่วนไม่น้อยเลย ทางเลือกเมนบอร์ด B660 และแรม DDR5 ก็ดูจะคุ้มค่าไม่น้อยสำหรับคอเกมกลุ่มนี้

แรม DDR5

แต่ถ้าคุณเป็นคนที่มีงานหลักเป็นโปรเจกท์ใหญ่ งานวีดีโอที่มีความซับซ้อน ต้องใช้งานร่วมกับไฟล์ขนาดใหญ่ หรือเล่นเกมในความละเอียดที่สูง เช่น ในระดับ 2K หรือ 4K และมี รวมถึงการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก เช่น การตัดต่อวีดีโอ ที่มีไฟล์วีดีโอ footage จำนวนมาก รวมถึงใส่ ไฟล์ภาพ เสียงและเอฟเฟกต์ รวมถึง Superimposed และเรนเดอร์เป็นไฟล์วีดีโอ ที่มีเฟรมเรตสูง รวมไปถึงทำงานด้านภาพ เช่น ช่างภาพ ที่ต้องเปิดไฟล์ขนาดใหญ่ แต่งภาพและเรนเดอร์ไฟล์หลายๆ ภาพพร้อมกัน การใช้แรม DDR4 ความจุมากๆ ก็ตอบสนองการใช้งานเหล่านี้ได้ แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนแพลตฟอร์มยกชุดใหม่ การเปลี่ยนมาใช้ DDR5 ก็น่าลงทุนไม่น้อยเลย เพราะทั้งความเร็วและแบนด์วิทธิ์ที่กว้างมากกว่า ก็จะช่วยให้งานและการเปิดไฟล์จำนวนมาก ไหลลื่นมากขึ้นและถ้าต้องการช่องทางติดต่อข้อมูลที่กว้าง เมนบอร์ด Z690 เป็นทางออกที่คุ้มค่า แม้สนนราคาจะสูงขึ้นกว่า B660 พอสมควร แต่ถ้าเปรียบเทียบกับ Productivity ที่ได้กลับมาแล้ว การลดเวลาในการทำงาน ให้ผลที่เป็นที่น่าพอใจได้มากกว่า

แรม DDR5

สุดท้ายหากคุณเป็นคนที่ชอบความสดใหม่ และไม่ได้ซื้อคอมบ่อยนัก ซื้อครั้งหนึ่ง ก็ใช้ไปยาวๆ หลายปี เน้นประสิทธิภาพที่ดี เทคโนโลยีใหม่ ไม่ได้ติดขัดในแง่งบประมาณ การเลือกแรม DDR5 ในความเร็วเริ่มต้น เช่น DDR5 4800 หรือ 5200 และเลือกความจุที่มากที่สุด เท่าที่จะลงทุนไหว ก็ช่วยให้คุณสามารถใช้งานที่ต้องการต่างๆ ไปได้อีกนานพอสมควร เพราะเทรนด์ในวันข้างหน้าอีกอย่างน้อย 2 ปี ก็ยังเป็น DDR5 และจะมีโมเดลความเร็วสูงเพิ่มมากขึ้น รวมถึงรองรับแอพพิลเคชั่นต่างๆ ได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น การเล่นเกมใหม่ๆ ทำงานวีดีโอ หรืองานซอฟต์แวร์เฉพาะต่างๆ เช่น การออกแบบ 3D, Animation ไปจนถึง Content Creator อย่างเช่น งาน NFT เป็นต้น เมื่อรวมกับแพลตฟอร์มอย่างเมนบอร์ดชิปเซ็ต Z690 มาคู่กับกราฟิกการ์ดตัวแรงๆ และ SSD M.2 NVMe PCIe 4.0 ก็จะดูลงตัวมากขึ้น

จากผลทดสอบและข้อมูลที่เป็นตัวเลขต่างๆ ที่ออกมาเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยในการตัดสินใจของคุณสำหรับการเลือกใช้แพลตฟอร์มสำหรับประกอบคอม Intel Gen12 ในช่วงเวลาอันใกล้นี้ และอย่าลืมเลือกเมนบอร์ดให้เหมาะกับการใช้งานของคุณให้มากที่สุด เพื่อความคุ้มค่าในการใช้งาน

แรม DDR5

ขอขอบคุณ MSI เป็นอย่างสูง ที่ส่งเมนบอร์ด MSI MAG B660M MORTAR WiFi มาให้เราได้ทดสอบ ทั้งในรุ่นที่สนับสนุน DDR4 และ DDR5 มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Stealth A16 AI+ ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คเล่นเกมได้ ดีไซน์เรียบหรูและแรงด้วยพลัง AMD Ryzen AI ทำได้ทุกงานเล็กใหญ่!! นอกจาก MSI Titan กับ MSI Raider สองพี่น้องตัวแรงขวัญใจเกมเมอร์แล้ว ฝั่งครีเอเตอร์หน้าตาเรียบหรูซ่อนความแรงก็มี MSI Stealth A16 AI+ ให้ครีเอเตอร์หาซื้อเอาไว้ทำงานกราฟิคตั้งแต่แต่งภาพและตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงก็ได้ ปั้นโมเดล...

PC Zone

Thermaltake The Tower 300 Limestone Edition สวยล้ำ ประกอบง่าย ระบายอากาศดี พัดลม ARGB กระจกเทมเปอร์โชว์ได้ทุกด้าน Thermaltake The Tower 300 Limestone Edition อีกหนึ่งเคสคอมในรูปแบบของมินิทาวเวอร์ บนรูปแบบ mATX form factor ในแบบแนวตั้ง...

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

REVIEW

MSI Prestige 16 AI Studio ทำงานต้องรุ่นนี้ จอใหญ่ OLED พลัง Intel Core Ultra มาพร้อม RTX4060 เพื่องาน เกม และครีเอเตอร์ MSI Prestige 16 AI Studio โน๊ตบุ๊คสำหรับกลุ่มคนทำงานและยกระดับความสามารถในหลายด้านเพื่อเหล่าครีเอเตอร์โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขุมพลัง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก