Connect with us

Hi, what are you looking for?

How to

แนะนำการเปลี่ยน CPU Laptop [intel] พร้อม กิจกรรมแจกซีพียู

เคยคิดไหมว่าโน๊ตบุ๊คหรือเน็ตบุ๊กตัวเก่งของเรา ทำไมดูช้าไปทันใดเมื่อเทียบกับเครื่องใหม่ ๆ

บทความนี้มีกิจกรรมลุ้นรับของรางวัล CPU Intel Core i7-740QM 1 ตัว

IMG 9031

Advertisement

 

 

สวัสดีครับชาว NBS เคยคิดไหมว่าโน๊ตบุ๊คหรือเน็ตบุ๊กตัวเก่งของเรา ทำไมดูช้าไปทันใดเมื่อเทียบกับเครื่องใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีการพัฒนากันไปไกลจนเกือบจะตามกันไม่ค่อยทันกันแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็มีมาตรฐานของ CPU เริ่มจะขยับขึ้นมาเป็นแบบ 4 หัวกันหมดแล้ว

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า CPU ตัวเก่าทุกตัวจะด้อยกว่า CPU ตัวใหม่ ๆ เสียทั้งหมด ถ้าหากเราไปดู CPU รุ่นสูง ๆ กันจะเห็นได้ว่า บางตัวมีความสามารถเหนือกว่า CPU รุ่นใหม่ ๆ เสียอีก แต่ด้วยราคาที่สูงเกินกว่าจะใส่ในโน๊ตบุ๊คมาวางขายในตอนนั้นได้ จึงจำเป็นต้องแสวงหาตาม aftermarket กันเอาเอง ประกอบกับโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ ๆ ออกแบบมาให้สามารถถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ใช่แล้วครับวันนี้เราจะมาพูดถึงการเปลี่ยน CPU กัน แต่เราจำเป็นต้องรู้พื้นฐานไว้ก่อน

clip_image001

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเปลี่ยน CPU

1. การรองรับของชิปเซ็ต (chipset) เราสามารถรู้ได้โดยการตรวจสอบด้วยโปรแกรม

2. ความถูกต้องของ CPU Socket ส่วนนี้สำคัญมาก เพราะ CPU บางตัวไม่ได้มีเพียง socket แบบเดียว ทำให้ใส่ CPU ลงไปไม่พอดีและไม่สามารถใช้งานได้

3. การใช้พลังงาน โดยจะมีตัวแปรสำคัญคือ adapter ซึ่งเปรียบเสมือนภาคจ่ายไฟ หากเรามาดูโน๊ตบุ๊คสำหรับเล่นเกมในปัจจุบัน จะมีการออกแบบมารองรับการจ่ายไฟได้มาก ทั้งยังรองรับไปถึงการอัพเกรดในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นหากเครื่องไหนที่มี adapter ใหญ่ ๆ ให้คิดเอาไว้ก่อนว่าสามารถอัพเกรดได้มากกว่าเดิมแน่นอน

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันโน๊ตบุ๊คมีราคาถูกลงบางครั้งอาจจะโดนลดต้นทุนอุปกรณ์บางอย่าง เช่น adapter สังเกตุได้ว่ามีขนาดเล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไป การใช้พลังงานมีความพอดีกับอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมเครื่องอยู่แล้ว ทำให้ไม่สามารถอัพเกรดไปใช้ CPU หรือ VGA รุ่นสูงกว่าเดิมได้

1. จ่ายไฟไม่พอ ในส่วนนี้อาจเกิดในกรณีนี้ใส่ CPU จำพวก High Voltage พร้อมกับการ์ดจอระดับสูงที่กินไฟมาก ๆ ทำให้ adapter จ่ายไฟไม่ทันและแน่นอนหากยังฝืนใช้งานโดยที่ไฟไม่พอ อาจส่งผลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เสียหายได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ วิธีแก้คือ อาจเปลี่ยน adapter ที่จ่ายไฟได้มากกว่าที่สามารถเข้ากันได้กับโน๊ตบุ๊คตัวเดิม

2. เปิดเครื่องไม่ติด อาจเกิดจากความไม่เข้ากันของ bios หรือ bios ไม่รู้จัก CPU ตัวประสิทธิภาพสูงกว่า อาจแก้ปัญหาโดยเข้าไปแก้ไข bios ให้รู้จัก CPU แต่ต้องแน่ใจว่าชิปเซ็ตรองรับและมีภาคจ่ายไฟเพียงพอ ซึ่งในบทความนี้จะไม่ได้กล่าวถึงการแก้ไข bios

CPU คืออะไร

CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit หมายถึง หน่วยประมวลผลกลาง แปลตามตัวคือหน่วยที่มีหน้าที่คำนวณเพียงอย่างเดียว การทำงานหลัก ๆ คือการคำนวณค่าต่าง ๆ ที่ถูกส่งเข้ามา CPU รุ่นใหม่ ๆ จะถูกเพิ่มประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ เช่น สามารถทำงานได้เร็วขึ้น สามารถขัดจังหวะการคำนวณได้ มีระบบแยกแยะการคำนวณแปลกปลอมที่ส่งเข้ามา มีระบบจำลองหน่วยประมวลผลเสมือน (Hyper threading) รองรับการทำงานเฉพาะทางด้านแปลงวิดีโอมากขึ้น เป็นต้น

ลักษณะทางกายภาพของ CPU

CPU มีลักษณะเป็นแผ่นชิปบาง ๆ มักเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหลังจะมีขาหลายร้อยขา (pin) สำหรับเสียบลงช่องต่อบนเมนบอร์ดเรียกว่า ซ็อกเก็ต (socket)

clip_image003

clip_image004

ประเภทของ CPU

จำแนกตามลักษณะต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. กำลังไฟ

CPU จะมีการใช้กำลังไฟแตกต่างกันไป เราสามารถรู้ได้คร่าว ๆ จากกำลังไฟว่า CPU ตัวไหนใช้กำลังไฟมาก มักจะมีความสามารถสูงเมื่อเทียบกับ CPU อื่น ๆ ในสถาปัตยกรรมเดียวกัน โดยจะพูดถึงสถาปัตยกรรมแบบ 65 นาโนเมตรลงไป แบ่งประเภทได้ดังนี้

High Voltage จะใช้กำลังไฟอยู่ราว 45-55 วัตต์ มักจะเป็น CPU ที่เป็น 4 หัว และ 2 หัวรุ่นสูงจำพวก Extreme

Standard Voltage กำลังไฟอยู่ในช่วง 32-35 วัตต์ ส่วนใหญ่จะเป็น CPU 2 และ 1 หัว

Medium Voltage กำลังไฟประมาณ 25 วัตต์ ส่วนใหญ่เป็น CPU 2 หัว ประสิทธิภาพจะใกล้เคียงกันกับ standard voltage แต่มี bus สูงกว่า มักจะเป็น CPU ที่สถาปัตยกรรมเล็กกว่า

Low Voltage กำลังไฟประมาณ 15-18 วัตต์ เป็น CPU 1 และ 2 หัว เป็น CPU ประหยัดพลังงานนิยมใช้ในเครื่องขนาดเล็ก

Ultra-low Voltage กำลังไฟ 5.5-10 วัตต์ ส่วนมากเป็น CPU 1 หัวแต่ 2 หัวก็มี นิยมใช้ในเน็ตบุ๊ก

2. จำนวนหน่วยประมวลผล

เป็นอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญ ถ้าหาก Chipset รองรับไม่ถึงก็จะไม่สามารถใช้งานได้ แบ่งประเภทดังนี้

Single Core คือ 1 หน่วยประมวลผล หากเป็น CPU 1 หัว 2 thread หรือแม้กระทั่ง CPU 2 หัวที่ถูกปิดหน่วยประมวลผลไป 1 หัว (Core Solo) ก็จัดอยู่ในประเภทนี้เช่นกัน

Dual Core คือ 2 หน่วยประมวลผล CPU 2 หัว 4 thread ก็จัดอยู่ในประเภทนี้เช่นกัน

Triple Core คือ 3 หน่วยประมวลผล พบเจอได้จากผู้ผลิตค่าย AMD

Quad Core คือ 4 หน่วยประมวลผล มีทั้ง 4 หัวแท้ และ 4 หัว 8 thread

CPU Socket

CPU Socket หรือ CPU Slot เป็นช่องที่ใช้สำหรับวาง CPU ลงไป จะมีลักษณะเป็นรูหลายร้อยตำแหน่ง เพื่อรองรับกับขาของ CPU จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเลือก CPU ให้มีขาที่พอดี(หรือน้อยกว่า) กับจำนวนรู ซึ่งในแต่ละ Socket ก็มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ถ้าตำแหน่งรู pin นั้น ๆ ไม่ตรงกับขาของ CPU หรือมีจำนวนรูน้อยกว่าขา ก็ไม่สามารถที่จะวาง CPU ลงไปได้

สามารถดูรายชื่อว่า CPU ใดบ้างเป็น socket ชนิดใด ได้จากลิงค์นี้

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Intel_Core_2_microprocessors#Dual-Core_Notebook_processors

 

CPU Socket บนเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คและเน็ตบุ๊ก มีด้วยกันดังนี้

1. Socket 441 รองรับ CPU Intel Atom และรุ่นอื่นที่ประหยัดพลังงาน มีหน้าสัมผัสทั้งหมด 441 จุด

clip_image005

?

2. Socket 479 (mPGA479M) รองรับ CPU Intel Pentium M และ Celeron M สามารถเจอ socket นี้บน Mobile Intel 855GM/GME/PM Chipset และ Mobile Intel 915GM/GMS/PM Express Chipset มีหน้าสัมผัสที่เป็นรู pin ทั้งหมด 479 จุด แต่ CPU ที่ใส่บน socket นี้จะมีขาเพียง 478 pin

clip_image006

?

3. Socket 495 รองรับ CPU Intel Celeron มีหน้าสัมผัสที่เป็นรู pin ทั้งหมด 495 จุด

4. Socket M (mPGA478MT) มีหน้าสัมผัสที่เป็นรู pin ทั้งหมด 478 จุด รองรับ CPU Intel Core ที่เป็น Penryn มี bus speed 533-800 MT/s ได้แก่

– Core Solo : T1300, T1350, T1400

– Core Duo : T2xx0

– Core 2 Duo : T5xx0, T7200, T7400, T7500, T7600

– Intel Celeron M

– Intel Celeron

clip_image008

5. Socket P (mPGA478MN) มีหน้าสัมผัสที่เป็นรู pin ทั้งหมด 478 จุดเช่นกัน แต่ตำแหน่งจะแตกต่างกับ socket M ตามรูป เป็น socket ที่ออกแบบมาเพื่อ Intel Core 2 สามารถใส่ CPU ที่เป็นแพลตฟอร์ม Santa Rosa ได้ คือ Merom และ Penryn ที่มีบัสอยู่ระหว่าง 400-1066 MT/s ได้แก่

– Core 2 Duo : T5xx0*, T6xx0, T7xx0*, T8x00, T9xx0 โดยที่ * หมายถึง CPU บางตัว

– Core 2 Quad : Q9x00

– Pentium Dual-Core : T23x0, T2410, T3x00, T4x00

– Celeron M

clip_image009

?

6. Socket G1 (rPGA989) มีหน้าสัมผัสที่เป็นรู pin ทั้งหมด 989 จุด socket นี้ออกแบบมาเพื่อรองรับ CPU Intel Core i ที่เป็นชื่อรหัส Arrandale, Clarksfield และ Pentium, Celeron ที่เป็นชื่อรหัส Arrandale บางครั้งเราอาจจะเห็น rPGA988A หรือ rPGA988B แต่ไม่เป็นไรเพราะ rPGA989 สามารถใส่ได้ครอบคลุมทั้ง 2 socket อยู่แล้ว (รูมากกว่า)

Socket_G1_rPGA989

?

ชิปเซ็ต(chipset) คืออะไร

ชิปเซ็ต คือ กลุ่มของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการออกแบบสำหรับควบคุมการทำงานต่างๆ ของเมนบอร์ด ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการของ CPU และเป็นหัวใจในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด

ชิปเซ็ตแบ่งการทำงานเป็นแผงวงจร 2 แผง เรียกว่า northbridge และ southbridge โดยที่

northbridge คอยควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วงความเร็วสูง ได้แก่ CPU, RAM, VGA

southbridge ควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วงความเร็วต่ำอื่น ๆ ได้แก่ IDE/SATA/USB, Ethernet, PCI Express x1, Audio Codec, Bios/Firmware/CMOS

ความแตกต่างระหว่างชิปเซ็ตในอดีตกับปัจจุบัน

Mobile Intel 965 Express Chipset Family

clip_image011

Mobile Intel 4 Series Express Chipset Family

clip_image012

จาก 2 รูปข้างต้น จะเป็นชิปเซ็ตในอดีตที่รองรับตระกูล Intel Core 2 ซึ่งจะมีการใช้ FSB เป็นตัวส่งข้อมูลระหว่าง CPU กับ Northbridge และ การสื่อสารระหว่างซีพียู, แรมและการ์ดจอจะต้องวิ่งผ่าน Northbridge

Mobile Intel 5 Series Express Chipset Family

clip_image013

clip_image014

Mobile Intel 6 Series Express Chipset Family

clip_image015

จากรูป จะเป็นชิปเซ็ตในปัจจุบันโดยที่ Mobile Intel 5 Series Express Chipset Family จะรองรับ CPU ในตระกูล Core i ที่เป็นชื่อรหัส Arrandale และ Clarksfield ส่วน Mobile Intel 6 Series Express Chipset Family จะรองรับ CPU ในตระกูล Core i ที่เป็นชื่อรหัส Sandy Bridge จะใช้ DMI แทน FSB ทำให้ตัว CPU เข้าไปรวมกับ Northbridge ก่อให้เกิดผลดีคือลดความล่าช้าจากการส่งถ่ายข้อมูลของแรมไม่ต้องวิ่งผ่าน northbridge ซีพียูสามารถเรียกใช้ทรัพยากรแรมได้โดยตรง ส่วน Southbridge ยังมีความคล้ายคลึงของเดิม

 

ความสำคัญของชิปเซ็ต

ชิปเซ็ตจะเป็นตัวกำหนดว่าเมนบอร์ดนี้

– สามารถใช้ CPU ใดได้บ้าง

– รองรับแรมแบบใด

– รองรับ slot อะไรได้บ้าง เช่น ชิปเซ็ต GM45 รองรับแรมได้ทั้ง DDR2 และ DDR3 เป็นต้น

– สามารถรองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงใดได้บ้าง เช่น USB, HDMI, VGA เป็นต้น

– ควบคุมส่วนอื่น ๆ เช่น PCI Express x1, x16

ดังนั้นใน generation หนึ่ง ๆ จะมีการพัฒนาชิปเซ็ตควบคู่กันเพื่อให้รองรับกับ CPU อยู่ตลอด และเราจะเห็นได้ว่าไม่สามารถใช้ CPU ข้าม generation กันได้ เช่น intel core 2 duo ไม่สามารถนำไปใส่บนชิปเซ็ต intel core i ได้ อันเนื่องมาจาก socket ไม่ตรงกันและชิปเซ็ตไม่รองรับ

วิธีตรวจสอบชิปเซ็ตที่รองรับ CPU

โปรแกรม Everest หรือ AIDA64

เป็นโปรแกรมที่ใช้ดูรายละเอียดของเครื่องได้ครบครัน ทั้งวัดอุณหภูมิ รายละเอียดเชิงลึกของ CPU, การ์ดจอ , แรม และอุปกรณ์อื่น ๆ

ชิปเซ็ตในอดีต

clip_image016

clip_image017

ชิปเซ็ตในอดีตที่รองรับ core 2 duo เมื่อดูด้วยโปรแกรมหัวข้อ North Bridge จะเห็นการรองรับ FSB ของชิปเซ็ต ว่ารองรับได้เท่าใด

clip_image018

ส่วน South Bridge จะเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ

ชิปเซ็ตปัจจุบัน

clip_image019

clip_image020

จะเห็นแค่เพียงรายละเอียดของแรมเท่านั้น แต่ไม่เป็นไร เพราะชิปเซ็ตตระกูล Intel Core i สามารถใส่ CPU ได้เหมือนกันหมด

 

โปรแกรม CPU-Z

เป็นโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้เช็ครายละเอียดต่าง ๆ ทั้ง CPU, Mainboard, RAM, Graphic แม้กระทั่ง Socket CPU แต่จะให้ข้อมูลไม่ลึกเท่า AIDA64

cpu-z-pm55-cpu

clip_image021

clip_image023

สามารถใช้ดูว่าชิปเซ็ตเป็นแบบใดด้วยความรวดเร็ว

 

ตาราง Chipset ที่รองรับ CPU

Mobile Intel 945 Express Chipset Family

clip_image024

Mobile Intel 945PM Express Chipset

Standard Voltage

Intel? Core?2 Duo Processor T7600 (2.33 GHz, 4 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T7400 (2.16 GHz, 4 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T7200 (2.00 GHz, 4 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5750 (2.00 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5600 (1.83 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5550 (1.83 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5500 (1.66 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5450 (1.66 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor T2700 (2.33 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor T2600 (2.16 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor T2500 (2.00 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor T2450 (2.00 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor T2400 (1.83 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor T2350 (1.86 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor T2300 (1.66 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor T2300E (1.66 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor T2250 (1.73 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor T2050 (1.60 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core? Solo Processor T1400 (1.83 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Solo Processor T1350 (1.86 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core? Solo Processor T1300 (1.66 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Solo Processor T1250 (1.73 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T3400 (2.16 GHz, 1 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T3200 (2.00 GHz, 1 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2390 (1.86 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2370 (1.73 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2330 (1.60 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2310 (1.46 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2130 (1.86 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2080 (1.73 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2060 (1.60 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Low Voltage

Intel? Core?2 Duo Processor L7400 (1.50 GHz, 4 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor L7200 (1.33 GHz, 4 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor L2500 (1.83 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor L2400 (1.66 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor L2300 (1.50 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Ultra-low Voltage

Intel? Core? Duo Processor U2500 (1.20 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core? Duo Processor U2400 (1.06 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core? Solo Processor U1500 (1.33 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core? Solo Processor U1400 (1.20 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core? Solo Processor U1300 (1.06 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

CPU Mobile Intel 945GM Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel 945PM Express Chipset และรองรับ CPU เหล่านี้เพิ่ม

Medium Voltage (27W-30W)

Intel? Celeron? M Processor 530 (1M Cache, 1.73 GHz, 533 MHz FSB) Socket M

Intel? Celeron? M Processor 450 (2.00 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor 440 (1.86 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor 430 (1.73 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor 420 (1.60 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor 410 (1.46 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor 215 (1.33 GHz, 512 KB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Ultra-low Voltage

Intel? Core?2 Solo Processor U2200 (1.20 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Solo Processor U2100 (1.06 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor ULV 523 (933 MHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor ULV 443 (1.20 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor ULV 423 (1.06 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

CPU Mobile Intel 945GME Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel 945GM Express Chipset

CPU Mobile Intel 945GMS Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel 945GM Express Chipset ยกเว้น CPU ที่เป็น Standard Voltage

CPU Mobile Intel 945GSE Express Chipset

สนับสนุนเพียง CPU เหล่านี้

Ultra-low Voltage

Intel? Atom? Processor N280 (1.66 GHz, 512KB L2 Cache, 667 MHz FSB)

Intel? Atom? Processor N270 (1.60 GHz, 512KB L2 Cache, 533 MHz FSB)

CPU Mobile Intel 940GL Express Chipset

สนับสนุนเพียง CPU เหล่านี้

Medium Voltage (27W)

Intel? Celeron? M Processor 450 (2.00 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor 440 (1.86 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor 430 (1.73 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor 420 (1.60 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor 410 (1.46 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor 215 (1.33 GHz, 512 KB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Ultra-low Voltage (5.5W)

Intel? Celeron? M Processor ULV 523 (933 MHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor ULV 443 (1.20 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor ULV 423 (1.06 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

 

Mobile Intel 965 Express Chipset Family

clip_image025

Mobile Intel PM965 Express Chipset

High Voltage (44W)

Intel? Core?2 Extreme Processor X9000 (2.80 GHz, 6 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Extreme Processor X7900 (2.80 GHz, 4 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Extreme Processor X7800 (2.60 GHz, 4 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Standard Voltage (35W)

Intel? Core?2 Duo Processor T9500 (2.60 GHz, 6 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T9300 (2.50 GHz, 6 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T8300 (2.40 GHz, 3 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T8100 (2.10 GHz, 3 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T7800 (2.60 GHz, 4 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T7700 (2.40 GHz, 4 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T7500 (2.20 GHz, 4 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T7300 (2.00 GHz, 4 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T7250 (2.00 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T7100 (1.80 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T6670 (2.20 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T6600 (2.20 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T6500 (2.10 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T6400 (2.00 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5870 (2.00 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5800 (2.00 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5670 (1.80 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5550 (1.83 GHz, 2 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB) Socket P

Intel? Core?2 Duo Processor T5470 (1.60 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5300 (1.73 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5270 (1.40 GHz, 2 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T5200 (1.60 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Low Voltage (17W)

Intel? Core?2 Duo Processor L7700 (1.80 GHz, 4 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor L7500 (1.60 GHz, 4 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor L7300 (1.40 GHz, 4 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Ultra-low Voltage (10W)

Intel? Core?2 Duo Processor U7700 (1.33 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB) Socket P

Intel? Core?2 Duo Processor U7600 (1.20 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor U7500 (1.06 GHz, 2 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo processor SU9600 (1.60 GHz, 3 MB L2 Cache, 800 MT/s, FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor SU9400 (1.40 GHz, 3 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor SU9300 (1.20 GHz, 3 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo processor SL9380 (1.80 GHz, 6 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Mobile Intel GM965 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel PM965 Express Chipset และรองรับ CPU เหล่านี้เพิ่ม

Intel? Celeron? Processor 570 (2.26 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 560 (2.13 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 550 (2.00 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 540 (1.86 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Mobile Intel GME965 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel GM965 Express Chipset

Mobile Intel GL960 Express Chipset

สนับสนุนเพียง CPU เหล่านี้

Standard Voltage

Intel? Celeron? Processor 570 (2.26 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 560 (2.13 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 550 (2.00 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2390 (1.86 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2370 (1.73 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2330 (1.60 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T2310 (1.46 GHz, 1 MB L2 Cache, 533 MT/s FSB)

Mobile Intel GLE960 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel GL960 Express Chipset และสนับสนุน CPU เหล่านี้เพิ่ม

Ultra-low Voltage

Intel? Celeron? Processor ULV 573 (1.00 GHz, 512 KB L2 Cache, 533 MHz FSB)

Mobile Intel 4 Series Express Chipset Family

clip_image026

Mobile Intel PM45 Express Chipset

รองรับ CPU ที่เป็น 45 nm

High Voltage (45W)

Intel? Core?2 Extreme Processor QX9300 (2.53 GHz, 12 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Quad Processor Q9100 (2.26 GHz, 12 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Quad Processor Q9000 (2.00 GHz, 6 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Extreme Processor X9100 (3.06 GHz, 6 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Standard Voltage (35W)

Intel? Core?2 Duo Processor T9900 (3.06 GHz, 6 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T9800 (2.93 GHz, 6 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T9600 (2.80 GHz, 6 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T9550 (2.66 GHz, 6 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor T9400 (2.53 GHz, 6 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T4500 (2.30 GHz, 1 MB Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T4400 (2.20 GHz, 1 MB Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T4300 (2.10 GHz, 1 MB Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T4200 (2.00 GHz, 1 MB Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T3400 (2.16 GHz, 1 MB Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Pentium? Processor T3200 (2.00 GHz, 1 MB Cache, 667 MT/s FSB)

Medium Voltage (25W-28W)

Intel? Core?2 Duo Processor P9700 (2.80 GHz, 6 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor P9600 (2.66 GHz, 6 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor P9500 (2.53 GHz, 6 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor P8800 (2.66 GHz, 3 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor P8700 (2.53 GHz, 3 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor P8600 (2.40 GHz, 3 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor P8400 (2.26 GHz, 3 MB Cache, 1066 MT/s FSB)

Mobile Intel GM45 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel PM45 Express Chipset และรองรับ CPU เหล่านี้เพิ่ม

Standard Voltage (31W-35W)

Intel? Celeron? Processor T3500 (2.10 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor T3300 (2.00 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor T3100 (1.90 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor T1700 (1.83 GHz, 1 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor T1600 (1.66 GHz, 1 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 900 (2.20 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 585 (2.16 GHz, 1 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 575 (2.00 GHz, 1 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Mobile Intel GS45 Express Chipset

มีคุณสมบัติเหมือน Mobile Intel GM45 Express Chipset แต่ไม่รองรับ CPU High Voltage จำพวก Core 2 extreme

และรองรับ CPU Low Voltage และ Ultra-low Voltage เพิ่มดังนี้

Medium Voltage (25W)

Intel? Core?2 Duo Processor SP9600 (2.53 GHz, 6 MB L2 Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo processor SP9400 (2.40 GHz, 6 MB L2 Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo processor SP9300 (2.26 GHz, 6 MB L2 Cache, 1066 MT/s FSB)

Low Voltage (17W)

Intel? Core?2 Duo Processor SL9600 (2.13 GHz, 6 MB L2 Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor SL9400 (1.86 GHz, 6 MB L2 Cache, 1066 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo processor SL9380 (1.80 GHz, 6 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor SL9300 (1.60 GHz, 6 MB L2 Cache, 1066 MT/s FSB)

Ultra-low Voltage (10W)

Intel? Core?2 Duo processor SU9600 (1.60 GHz, 3 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor SU9400 (1.40 GHz, 3 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Duo Processor SU9300 (1.20 GHz, 3 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Solo Processor ULV SU3500 (1.40 GHz, 3 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Core?2 Solo Processor ULV SU3300 (1.20 GHz, 3 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor ULV 743 (1.30 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor ULV 723 (1.20 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? M Processor ULV 722 (1.20 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Mobile Intel GL40 Express Chipset

มีคุณสมบัติเหมือน Mobile Intel GM45 Express Chipset แต่รองรับแค่ CPU Celeron ทั้ง 1 และ 2 core

Standard Voltage (31W-35W)

Intel? Celeron? Processor T3500 (2.10 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor T3300 (2.00 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor T3100 (1.90 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor T1700 (1.83 GHz, 1 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor T1600 (1.66 GHz, 1 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 900 (2.20 GHz, 1 MB L2 Cache, 800 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 585 (2.16 GHz, 1 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

Intel? Celeron? Processor 575 (2.00 GHz, 1 MB L2 Cache, 667 MT/s FSB)

 

Mobile Intel 5 Series Express Chipset Family

clip_image027

Mobile Intel PM55 Express Chipset

High Voltage (45W-55W)

Intel? Core? i7-940XM Processor Extreme Edition (2.13 GHz, 8 MB L3 Cache, up to 3.33 GHz)

Intel? Core? i7-920XM Processor Extreme Edition (2.00 GHz, 8 MB L3 Cache, up to 3.20 GHz)

Intel? Core? i7-840QM Processor (1.86 GHz, 8 MB L3 Cache, up to 3.20 GHz)

Intel? Core? i7-820QM Processor (1.73 GHz, 8 MB L3 Cache, up to 3.03 GHz)

Intel? Core? i7-740QM Processor (1.73 GHz, 6 MB L3 Cache, up to 2.93 GHz)

Intel? Core? i7-720QM Processor (1.60 GHz, 6 MB L3 Cache, up to 2.80 GHz)

Standard Voltage (35W)

Intel? Core? i7-640M Processor (2.80 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 3.46 GHz)

Intel? Core? i7-620M Processor (2.66 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 3.33 GHz)

Intel? Core? i5-580M Processor (2.66 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 3.33 GHz)

Intel? Core? i5-560M Processor (2.66 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 3.20 GHz)

Intel? Core? i5-540M Processor (2.53 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 3.06 GHz)

Intel? Core? i5-520M Processor (2.40 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 2.93 GHz)

Intel? Core? i5-480M Processor (2.66 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 2.93 GHz)

Intel? Core? i5-460M Processor (2.53 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 2.80 GHz)

Intel? Core? i5-450M Processor (2.40 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 2.66 GHz)

Intel? Core? i5-430M Processor (2.26 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 2.53 GHz)

Mobile Intel HM55 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel PM55 Express Chipset และรองรับ CPU เพิ่มดังนี้

Standard Voltage (35W)

Intel? Core? i3-380M Processor (2.53 GHz, 3 MB L3 Cache)

Intel? Core? i3-370M Processor (2.40 GHz, 3 MB L3 Cache)

Intel? Core? i3-350M Processor (2.26 GHz, 3 MB L3 Cache)

Intel? Core? i3-330M Processor (2.13 GHz, 3 MB L3 Cache)

Intel? Celeron? Processor P4600 (2.00 GHz, 2 MB L3 Cache)

Intel? Celeron? Processor P4500 (1.86 GHz, 2 MB L3 Cache)

Low Voltage (25W)

Intel? Core? i7-660LM Processor (2.26 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 3.06 GHz)

Intel? Core? i7-640LM Processor (2.13 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 2.93 GHz)

Intel? Core? i7-620LM Processor (2.00 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 2.80 GHz)

Ultra-low Voltage (18W)

Intel? Core? i7-680UM Processor (1.46 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 2.53 GHz)

Intel? Core? i7-660UM Processor (1.33 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 2.40 GHz)

Intel? Core? i7-640UM Processor (1.20 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 2.26 GHz)

Intel? Core? i7-620UM Processor (1.06 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 2.13 GHz)

Intel? Core? i5-560UM Processor (1.33 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 2.13 GHz)

Intel? Core? i5-540UM Processor (1.20 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 2.00 GHz)

Intel? Core? i5-520UM Processor (1.06 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 1.86 GHz)

Intel? Core? i5-470UM Processor (1.33 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 1.86 GHz)

Intel? Core? i5-430UM Processor (1.20 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 1.73 GHz)

Intel? Core? i3-380UM Processor (1.33 GHz, 3 MB L3 Cache)

Intel? Core? i3-330UM Processor (1.20 GHz, 3 MB L3 Cache)

Intel? Celeron? Processor U3400 (1.06 GHz, 2 MB L3 Cache)

Mobile Intel HM57 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel HM55 Express Chipset

Mobile Intel QM57 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel HM57 Express Chipset

Mobile Intel QS57 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel QM57 Express Chipset แต่ไม่รองรับ CPU 4 core ที่เป็น High Voltage

และไม่รองรับ Intel Celeron P4600, P4500

Mobile Intel NM10 Express Chipset

clip_image028

Ultra-low Voltage (6.5W-13W)

Intel? Atom? Processor D510 (1.66 GHz, 1M L2 Cache)

Intel? Atom? Processor N550 (1.50 GHz, 1M L2 Cache)

Intel? Atom? processor N475 (1.83 GHz, 512K L2 Cache)

Intel? Atom? Processor N450 (1.66 GHz, 512K L2 Cache)

Intel? Atom? processor N455 (1.66 GHz, 512K L2 Cache)

Intel? Atom? Processor D510 (1.66 GHz, 1M L2 Cache)

Intel? Atom? Processor D410 (1.66 GHz, 512K L2 Cache)

Mobile Intel 6 Series Express Chipset Family

clip_image029

Mobile Intel HM65 Express Chipset

High Voltage (45W)

Intel? Core? i7-2820QM Processor (2.30 GHz, 8 MB L3 Cache, up to 3.40 GHz)

Intel? Core? i7-2720QM Processor (2.20 GHz, 6 MB L3 Cache, up to 3.30 GHz)

Intel? Core? i7-2630QM Processor (2.00 GHz, 6 MB L3 Cache, up to 2.90 GHz)

Intel? Core? i7-2630QM Processor (2.00 GHz, 6 MB L3 Cache, up to 2.90 GHz)

Standard Voltage (35W)

Intel? Core? i7-2620M Processor (2.70 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 3.40 GHz)

Intel? Core? i5-2540M Processor (2.60 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 3.20 GHz)

Intel? Core? i5-2520M Processor (2.50 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 3.20 GHz)

Intel? Core? i5-2410M Processor (2.30 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 2.90 GHz)

Intel? Core? i3-2310M Processor (2.10 GHz, 3 MB L3 Cache)

Low Voltage (25W)

Intel? Core? i7-2649M Processor (2.30 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 3.20 GHz)

Intel? Core? i7-2629M Processor (2.10 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 3.00 GHz)

Ultra-low Voltage (17W)

Intel? Core? i7-2657M Processor (1.60 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 2.70 GHz)

Intel? Core? i7-2617M Processor (1.50 GHz, 4 MB L3 Cache, up to 2.60 GHz)

Intel? Core? i5-2537M Processor (1.40 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 2.30 GHz)

Mobile Intel HM67 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel HM65 Express Chipset และรองรับ CPU เหล่านี้เพิ่ม

High Voltage (55W)

Intel? Core? i7-2920XM Extreme Edition Processor (2.50 GHz, 8 MB L3 Cache, up to 3.50 GHz)

Mobile Intel QM67 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel HM67 Express Chipset

Mobile Intel QS67 Express Chipset

รองรับ CPU เหมือน Mobile Intel QM67 Express Chipset แต่ไม่รองรับ CPU High Voltage

มาดูคลิปการเปลี่ยน CPU กันบ้าง โดยการใช้ข้อมูลข้างต้นมาว่าจะใช้ได้จริงหรือเปล่า โดยจะเปลี่ยน CPU จาก Core i5 เป็น Core i7 กันเลย

วิดีโอสอนการเปลี่ยน CPU

 

 

 

 

image[5]

image[8]

Windows Experience Index & CPU-Z

MSI GX660 @ Intel Core i5-450M

image[11]

image[14]

MSI GX660 @ Intel Core i7-740QM

image[17]

image[20]

จาก WEI จะเห็นคะแนน CPU เพิ่มขึ้นมา 0.3 คะแนน ขึ้นไปถึงหลัก 7 แต่คะแนนต่ำสุดก็ยังอยู่เพียง 5.9 และลองสังเกตในโปรแกรม CPU-Z จะเห็นที่ช่อง Package จะบอก Socket มาให้เป็น Socket rPGA989 เหมือนกัน

image[23]

เป็นโปรแกรมที่ใช้ทดสอบความเร็วเมื่อใช้งาน CPU แค่หัวเดียว สำหรับ CPU ที่มีความเร็วมาก ๆ ก็ยิ่งใช้เวลาคำนวณค่า PI เสร็จเร็ว

MSI GX660 @ Intel Core i5-450M

image[26]

MSI GX660 @ Intel Core i7-740QM

image[29]

จากผลทดสอบใช้เวลาคำนวณเสร็จเร็วกว่าเดิมราว 2 วินาที เพราะ turboboost ของ i7-740QM ได้ความเร็วมากกว่า i5-450M

image

โปรแกรม Hyper PI นี้ใช้สำหรับคำนวณค่า PI โดยแยกคำนวณเป็นหน่วยประมวลผลละ 1 ชุดแล้วจับเวลา เมื่อประมวลผลเสร็จจะนำเวลาที่คำนวณเสร็จในแต่ละหัวมาเฉลี่ยกัน

MSI GX660 @ Intel Core i5-450M

image

image

MSI GX660 @ Intel Core i7-740QM

image

image

จากผลการทดสอบจะเห็นว่า i7-740QM คำนวณในแต่ละหัวได้ช้ากว่าเพราะไม่ได้ใช้ turboboost ทำให้ได้ความเร็วน้อยกว่า i5-450M (ใช้ความเร็วพื้นฐานเป็นหลัก)

 

12-CinebenchR11.5

โปรแกรม CINEBENCH R 11.5 ใช้ทดสอบการประมวลผลงานสามมิติแบบมืออาชีพ ซึ่งต้องใช้งานผ่าน OpenGL โปรแกรมทดสอบทั้งการเรนเดอร์ด้วย CPU และ GPU โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรม Maxon CINEMA 4D

Cinebench11.5-resize Cinebench11.5-resize

จากผลทดสอบจะเห็นได้ว่าคะแนนเพิ่มขึ้นมากพอสมควร ถ้าจะใช้งานในด้านนี้ความต้องการ CPU หลายหัวมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

 

image

Counter-Strike : Source

เนื่องจากเป็นเกมเก่าแต่จุดประสงค์คือทดสอบการประมวลผลของ CPU แม้จะปรับกราฟิกสูงสุดแค่ไหนก็ได้ Frame rate เท่ากัน

ทดสอบด้วยความละเอียด 1366 x 768 All High, Very High AA 8x AF 16x

image

ทำการทดสอบโดยการเปิด AI ตั้งแต่ 17, 19, 21, 23, 25 ตัว ตามลำดับ

MSI GX660 @ Intel Core i5-450M

image

MSI GX660 @ Intel Core i7-740QM

CSS-i7

counter-strike-source-max25bots-table

จากการทดสอบปรากฏว่าเมื่อเริ่มเปิด AI 19 ตัว i5-450M ก็เริ่มที่จะมีอาการกระตุกแบบหน่วง ๆ เพราะ CPU ประมวลผลไม่ทัน แต่ i7-740QM ยังคงประมวลผลสบายอยู่จนถึง 23 ตัวก็เริ่มหน่วงเช่นกัน มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นราว 30% กันเลย

Grand Theft Auto 4

เป็นเกมยอดฮิตที่เหล่าเกมเมอร์ใฝ่ฝันที่จะได้เอามาเล่นบนโน๊ตบุ๊คโดยหวังที่จะได้ภาพที่ลื่นไหล แต่ทว่าต้องอาศัยหลายปัจจัยไม่เพียงแค่ซีพียู แรม และการ์ดจอเท่านั้น ฮาร์ดดิสก์ก็ยังมีส่วนช่วยเช่นกัน

ทดสอบที่ความละเอียด 1280 x 720 All High

image

MSI GX660 @ Intel Core i5-450M

image

MSI GX660 @ Intel Core i7-740QM

image

จากผลทดสอบก็ออกมาได้เยอะกว่าเดิมเกือบ 10 เฟรม นับว่าเยอะพอสมควรทำให้เห็นความแตกต่างตอนเล่นได้ค่อนข้างชัดเจน แต่ก็ยังไม่ถือว่าลื่นไหลมาก

ตารางรวมคะแนนผลการทดสอบ

performance-no-3DMark06

จากตารางแสดงให้เห็นถึงความแรงที่เพิ่มขึ้นเมื่ออัพเกรดจาก CPU Intel Core i5-450M เป็น i7-740QM เฉลี่ยแล้วแรงขึ้นราว 23 เปอร์เซ็นต์

Pages: 1 2

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

How to

5 วิธี Update driver พีซีและโน๊ตบุ๊ค อัพเดตไดรเวอร์ใหม่ เพิ่มความเร็วคอมได้ในไม่กี่นาที Update Driver เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือทำให้การใช้งานพีซีและโน๊ตบุ๊คได้ราบลื่น เป็นวิธีการที่ง่าย ทำเองได้อีกด้วย โดยมีทางเลือกในการอัพเดตมากมาย เพื่อความสะดวกของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับความถนัด อย่างเช่น การอัพเดตจากระบบปฏิบัติการวินโดว์ การใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะ หรือการใช้แอพพลิเคชั่นช่วยในการอัพเดต แต่ะวิธีก็มีความโดดเด่นต่างกันออกไป ในวันนี้เรามาชมกันว่าคุณเหมาะกับแบบไหน และจะใช้อย่างไรได้บ้าง 5...

CONTENT

10 วิธีแก้คอมช้า เพิ่มความเร็วให้คอมเก่า Windows 10, 11 Speed up ทำเองได้ เล่นเกมลื่นขึ้น 10 วิธีแก้คอมช้า ที่นำไปลองทำเองได้ในช่วงปลายปี 2025 นี้ เพิ่มความเร็วคอมเครื่องเก่าได้ทั้ง Windows 10 และ Windows 11 เล่นลื่นกว่าเดิม ไม่ต้องโอเวอร์คล็อก ไม่ต้องปรับแต่งให้ยุ่งยาก...

CONTENT

วิธีสร้างปุ่ม Shortcut Shutdown และ Restart ไว้ใช้เองแบบง่ายๆ  สำหรับเพื่อนท่านไหนที่ขี้เกียจกดเมาส์หลายรอบกว่าจะปิดเครื่องได้ ต้องเลื่อนเมาส์หาไอคอน Windows เปิดเมนูขึ้นมากด Power เลื่อนหาและกดเมนู Shutdown หรือ RestartAdvertisement ต้องใช้หลายขั้นตอน กว่าจะปิดเครื่องหรือ รีเครื่องได้ บางทีจังหวะเร่งด่วนมันก็ไม่ค่อยทันใจเราเสียเลยบางคนเซียนขึ้นหน่อย ใช้คีย์ลัดไปเลย Alt + F4 แล้วค่อยเลือกหาเมนู...

Buyer's Guide

5 ฟีเจอร์ใหม่ในโน๊ตบุ๊ค 2023 ซื้อโน๊ตบุ๊คใหม่ต้องมี จอ 3D, Dual monitor แรม DDR5 ระบบความปลอดภัยสุดล้ำ 5 ฟีเจอร์ใหม่ในโน๊ตบุ๊ค 2023 จะซื้อโน๊ตบุ๊คใหม่ในปีนี้ มีอะไรน่าสนใจบ้าง ปีนี้ก็ถือว่าเป็นปีที่มีโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ลงสู่ตลาด มีทั้งเทคโนโลยีด้านภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน พร้อมทั้งฟีเจอร์ที่ทันสมัย ช่วยให้ผู้ใช้โน๊ตบุ๊คสะดวกสบาย ไม่ว่าจะด้านการทำงาน การพกพาและความบันเทิง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก