ในบางครั้งที่ผู้ผลิตได้เพิ่มคำว่า Gaming เข้าไปในผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะเป็นการยกระดับให้เพิ่มขึ้นและสร้างความน่าเชื่อมั่นว่า นี่เป็นสินค้าระดับไฮเอนด์ที่มีคุณสมบัติพิเศษและให้ความทนทาน เช่นเดียวกับอุปกรณ์ที่สร้างความประหลาดใจชิ้นนี้ ASRock G10 “Gaming Router”
ASRock G10 เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ออกแบบคล้ายคลึงกับเครื่องเล่นเกมคอนโซลที่คุ้นเคยกันดี ด้วยเส้นสายที่เน้นเหลี่ยมมุมบนบอดี้สีแดงสด ให้ความรู้สึกของความเป็นเกมมิ่งอย่างชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นคอมพิวเตอร์สำหรับเกมเมอร์ แต่ไม่ได้มีเสาสัญญาณยื่นออกมาเหมือนกับเราเตอร์ตามที่หลายคนอาจสงสัย
ส่วนด้านหลัง ให้ความชัดเจนในเรื่องของการเป็น Gaming Router เพราะจะได้เห็นถึงโครงสร้างของเราเตอร์มากขึ้น โดยที่มีพอร์ต Gigabit มากถึง 4 พอร์ตด้วยกันและยังมีอุปกรณ์สำหรับเสริมการทำงานของ HDMI อีกหนึ่งชิ้นสำหรับการใช้งานในภานหลัง รวมถึงพอร์ต USB 3.0 อีกจำนวน 2 พอร์ต โดยที่เราเตอร์นี้มีความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบ Cloud Storage ส่วนบุคคล ที่สามารถทำงานผ่านแอพพลิเคชั่น ด้านในประกอบไปด้วยเสาอากาศกำลังสูงจำนวน 8 ชุด ร่วมกับเทคโนโลยี ASRock’s Beamforming ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงช่วยให้การเชื่อมต่อมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
สามารถเพิ่มผู้ใช้หลายคนร่วมกันผ่านเทคโนโลยี MINO ที่ให้ความเร็วในการถ่ายโอนตามทฤษฏีสูงสุดถึง 1733Mbps ในช่องสัญญาณ 5GHz เช่นเดียวกับความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญของแบนด์วิทธิ์สำหรับการเล่นเกมออนไลน์และการเชื่อมต่ออื่นๆ ทำให้เป็นหนึ่งในเราเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดรุ่นหนึ่งในเวลานี้
นอกจากนี้ในเรื่องของ HDMI Dongle ที่สามารถถอดออกได้ ASRock ได้ทำให้ใช้ Google Chromecast ได้บนเราเตอร์และเพิ่มเทคนิคเล็กน้อยที่เรียกว่า Travel Cast ซึ่งอุปกรณ์ในแบบ Dongle ที่ใช้บนพอร์ต RJ-45 หมายถึงผู้ใช้สามารถเปิด HDTV โดยไม่ต้องผ่าน WiFi ได้บน Smart TV พร้อมการปลดล็อคความสามารถในการ “Cast” สื่อต่างๆ ในทีวี โดยใช้มาตรฐานที่รู้จักกันดี รวมไปถึง Miracast, AirPlay และ DLNA ช่วยให้ใช้งาน Android หรือ iOS ร่วมกับสิ่งนี้ได้สะดวกขึ้น
สุดท้ายคือ การติดตั้ง IR อยู่ที่ด้านหน้าเราเตอร์ ด้วยการใช้งานแอพ Router ASRock นี้ จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมเครื่องใช้ภายในบ้านได้จากการควบคุมระยะไกลโดยอินฟราเรด เพียงใช้แค่สมาร์ทโฟนที่มีอยู่ทำการตรวจสอบและเรียนรู้การควบคุมอุปกรณ์อินฟราเรดอื่นๆ เสียก่อน จากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ด้วยสมาร์ทโฟนได้ทันที
ที่มา : lowyat