Docking station นั้นได้รับความนิยมมากขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะมันเป็นทางหนึ่งที่คุณสามารถทำการเพิ่มพอร์ตต่างๆ ให้กับเครื่องของคุณได้ มาดูกันดีกว่าว่าเราคัดเลือกรุ่นไหนมาให้คุณดูบ้าง
ด็อกกิ้งสเตชั่นที่ดีที่สุดสามารถแก้ปัญหาการเชื่อมต่อแล็ปท็อปของคุณได้ ในขณะเดียวกันก็ทำให้อุปกรณ์ของคุณมีการชาร์จเมื่อคุณต้องการออกจากสำนักงาน แล็ปท็อปที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันหลายเครื่องมีขนาดเล็กจนไม่สามารถมีพอร์ตจำนวนมากได้
แม้ว่าคุณจะสามารถเพิ่มฮับ ดองเกิล และอะแดปเตอร์ให้กับเวิร์กโฟลว์ของคุณได้ แต่โซลูชันที่หรูหราและถาวรมากกว่าก็คือด็อคกิ้งสเตชั่น ฉันได้รวบรวมรายการด็อกที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมตัวเลือกสำหรับการเชื่อมต่อ Thunderbolt 3, Thunderbolt 4 และ USB-C เราได้ทดสอบด็อกแล็ปท็อปเหล่านี้ทุกอัน และเรามีแนวคิดที่ชัดเจนว่าสิ่งใดใช้ได้ผลและสิ่งใดใช้ไม่ได้กับคนส่วนใหญ่ นี่คือแท่นวางแล็ปท็อปที่ดีที่สุดที่คุณสามารถซื้อได้วันนี้
- Kensington SD5780T Thunderbolt 4 Docking Station
- Satechi Dual Dock Stand
- CalDigit TS4 Thunderbolt 4 Dock
- Anker 575 USB-C Docking Station (13-in-1)
- Razer Thunderbolt 4 Dock Chroma
- CalDigit TS3 Plus Thunderbolt 3 Dock
- Dell Dual Charge Dock
- HP Thunderbolt Dock G4
Kensington SD5780T Thunderbolt 4 Docking Station
Kensington SD5780T Thunderbolt 4 Docking Station เป็นด็อค Thunderbolt 4 ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ส่วนใหญ่ มันมีการรับประกันที่ยาวนานในระดับราคาที่คุณสามารถจ่ายได้ Kensington SD5780T Thunderbolt 4 Docking Station ยังมาพร้อมกับพอร์ตดาวน์สตรีม 10 พอร์ตที่รองรับจอภาพ 4K คู่ที่ความถี่ 60Hz ต่อจอ ตอนนี้ Kensington SD5780T Thunderbolt 4 Docking Station นั้นมีราคาลดลงอย่างมากนับตั้งแต่เปิดตัว
Kensington SD5780T Thunderbolt 4 Docking Station เป็นการยกระดับมาจาก SD5700T ดั้งเดิม โดยนำความเข้ากันได้ที่ดีขึ้นกับแพลตฟอร์ม Windows และ Mac มาไว้ด้วยกันนอกจากนี้ยังเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของเราเมื่อพูดถึง Dock ที่มาพร้อมพอร์ต Thunderbolt ที่ดีที่สุด มันถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุอลูมิเนียมที่ช่วยกระจายความร้อน แม้ว่าแผ่นหน้าพลาสติกจะทำให้ความรู้สึกของผู้ใช้บางคนมองว่ามันดูไม่พรีเมียมเลยเมื่อเทียบกับแท่นโลหะอื่นๆ แต่อย่างน้อยมันก็เป็นแท่นวางที่ได้รับการออกแบบมาให้ทำงานในแนวนอนบนโต๊ะของคุณได้เป็นอย่างดี(คุณยังมีตัวเลือกเสริมที่จะช่วยให้ Kensington SD5780T Thunderbolt 4 Docking Station สามารถทำงานในแนวตั้งได้ด้วยซึ่งจะทำให้พื้นที่บนโต๊ะทำงานของคุณมีมากขึ้น)
พอร์ตโฮสต์ Thunderbolt 4 จะอยู่ด้านหน้าและมีพอร์ต Thunderbolt 4 ดาวน์สตรีมเพิ่มอีกสองพอร์ต Kensington SD5780T Thunderbolt 4 Docking Station ยังมี USB-A 3.2 (Gen 2) สี่พอร์ต, พอร์ต 2.5 Gigabit Ethernet, HDMI 2.1, เสียง 3.5 มม. และเครื่องอ่านการ์ด SD UHS-II รวมแล้วทั้งหมดจะอยู่ที่ 11 พอร์ต Kensington SD5780T Thunderbolt 4 Docking Station สามารถรองรับอุปกรณ์เสริมได้หลากหลาย รวมถึงต่อจอภาพภายนอก, ชุดหูฟัง, อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบถอดได้และอินพุต ด็อคยังส่งพลังงานการชาร์จสูงถึง 96W กลับไปยังโฮสต์โน๊ตบุ๊ค อีกทั้งพอร์ตนี้ยังรองรับจอแสดงผล 4K คู่ที่ความถี่ 60Hz ในแต่ละจอ
Kensington เสนอการรับประกันนานสามปี ในขณะที่ผู้ผลิตอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่นๆ หลายรายเสนอการรับประกันเพียงหนึ่งหรือสองปี เมื่อพิจารณาถึงราคาที่ลดลงอย่างมากนับตั้งแต่เปิดตัว เพียงแค่ต้องแน่ใจว่าโน๊ตบุ๊คของคุณมีพอร์ต Thunderbolt 4 หรือ USB4 เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจาก Kensington SD5780T Thunderbolt 4 Docking Station
Satechi Dual Dock Stand
Satechi Dual Dock Stand เป็นส่วนประกอบตัวยกให้โน๊ตบุ๊คของคุณน่าใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม มันมาพร้อมกับส่วนหุ้มแหล่งเก็บข้อมูลแบบ SSD และฐานเชื่อมต่อก็มีพอร์ตให้เลือกมากมาย แน่นอนว่ามันรองรับการต่อหน้าจอนอกที่ความละเอียดสูงสุด 4K@60Hz จำนวน 2 หน้าจอพร้อมกัน Satechi Dual Dock Stand ให้ความเร็ว SSD สูงสุด 10Gbps พร้อมไดรฟ์ NVMe และช่วยให้ข้อมือของคุณสบายด้วยการออกแบบที่คิดสรีรศาสาตร์ชั้นครู
Dual Dock Stand ของ Satechi เป็นตัวเลือกที่บางที่พร้อมรองรับการใช้งานจริงเพียงไม่กี่อย่าง สิ่งแรกและสำคัญที่สุดคือแท่นวาง USB-C ที่มีรูปทรงลิ่มซึ่งมีพอร์ตเก้าพอร์ตตามขอบด้านหลังอันประกอบไปด้วย Gigabit Ethernet, USB-A 3.2 (Gen 1), USB-A 3.2 (Gen 2), DisplayPort 1.4, dual HDMI 2.0, USB-C 3.2 (Gen 1), USB-C 3.2 (Gen 2) และ USB -C พร้อมการส่งผ่านพลังงานสูงถึง 75W
ด็อคเชื่อมต่อกับโน๊ตบุ๊คของคุณด้วยสายเคเบิลโฮสต์คงที่ ซึ่งมีพอร์ต USB-C คู่ อินพุตทั้งสองนี้จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับโน๊ตบุ๊คของคุณ ดังนั้นอุปกรณ์ Windows, Mac หรือ Chrome ที่มีพอร์ต USB-C เพียงพอร์ตเดียวจะไม่สามารถทำงานร่วมกับ Satechi Dual Dock Stand เหตุผลที่ Satechi Dual Dock Stand ต้องมีการเชื่อมต่อเพิ่มเติมนั้นก็คือด้านล่างของ Satechi Dual Dock Stand มีกล่องสำหรับใส่ M.2 NVMe SSD ในตัวซึ่งจะรองรับขนาดแหล่งเก็บข้อมูลแบบ SSD สูงสุดที่มาตรฐาน 2280 และยังมาพร้อมกับความเร็วการถ่ายโอนสูงสุด 10Gbps ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติเสริมที่หลายๆ คนน่าจะชื่นชอบ
Satechi Dual Dock Stand รองรับการแสดงผลได้สูงสุด 4K แบบคู่ที่ 60Hz ในแต่ละแบบ ไม่ว่าจะแบบดูอัล HDMI หรือแบบหนึ่งแบบผ่าน HDMI และอีกแบบหนึ่งผ่าน DisplayPort เคล็ดลับสุดท้ายคือการออกแบบแบบลิ่มของ Satechi Dual Dock Stand มีไว้เพื่อใช้เป็นที่วางโน๊ตบุ๊คของคุณซึ่งมันจะช่วยให้คุณจะสามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้นและมุมมองที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ข้อดีอีกอย่างหนึ่งนั้นก็คือ Satechi Dual Dock Stand จะไม่กินพื้นที่เพิ่มเติมบนโต๊ะของคุณอีกด้วยต่างหาก
CalDigit TS4 Thunderbolt 4 Dock
CalDigit TS4 Thunderbolt 4 Dock เป็นแท่นวางที่ทรงพลังที่สุด ทำให้เหมาะสำหรับผู้ใช้ระดับสูงที่ต้องการการเชื่อมต่อจำนวนมากพร้อมประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม ด้วยความสามารถที่หลากหลายจึงทำให้ราคาของมันค่อนข้างแพง แต่ก็คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปโดยเฉพาะกบัผู้ในงานระดับมืออาชีพที่ใช้อุปกรณ์ Windows, Mac หรือ Chrome
CalDigit TS4 Thunderbolt 4 Dock คือวิวัฒนาการของ Thunderbolt 4 ของ TS3 Plus และยังคงเป็นด็อกโน๊ตบุ๊คขั้นสุดยอดสำหรับผู้ใช้ระดับสูง CalDigit TS4 Thunderbolt 4 Dock มีพอร์ต Thunderbolt 4 แบบดาวน์สตรีม 2 พอร์ต, USB-C 3.2 (Gen 2) จำนวน 3 พอร์ต, USB-A 3.2 (Gen 2) 5 พอร์ต, DisplayPort 1.4, 2.5 Gigabit Ethernet, คอมโบเสียง 3.5 มม., สัญญาณเสียงเข้า/ออก 3.5 มม. และเครื่องอ่านการ์ด SD/microSD มาตรฐาน UHS- II อีกทั้งยังมีพอร์ต Thunderbolt 4 พิเศษสำหรับโฮสต์โน๊ตบุ๊คเช่นกัน สรุปแล้วนั้น CalDigit TS4 Thunderbolt 4 Dock จะมีพอร์ตทั้งหมดจำนวน 18 พอร์ตที่ครอบคลุมการเชื่อมต่อทั้งหมด
พอร์ตทั้งหมดสร้างด้วยอะลูมิเนียมชิ้นแข็งพร้อมแถบด้านข้าง มันถูกออกแบบมาเพื่อกระจายความร้อนได้ดีขึ้นกว่าเดิม ตัวเครื่องมีแผ่นรองนุ่มที่ปลายแนวตั้งด้านหนึ่ง แต่ CalDigit ใช้ยางรองแบบถอดได้เพื่อติดตั้ง CalDigit TS4 Thunderbolt 4 Dock ในแนวนอน และแน่นอนที่ขาดไปไม่ได้เลยนั้นก็คือ CalDigit TS4 Thunderbolt 4 Dock มีช่องล็อค Kensington อยู่ในตัวด้วย
Anker 575 USB-C Docking Station (13-in-1)
Anker 575 USB-C Docking Station (13-in-1) ของ Anker เหมาะสำหรับโน๊ตบุ๊คที่ไม่มี Thunderbolt 4 แต่มันก็มาพร้อมกับการมีพอร์ตเชื่อมต่อที่หลากหลาย Anker 575 USB-C Docking Station (13-in-1) สามารถชาร์จโฮสต์ได้สูงสุดที่กำลังไฟฟ้า 85W และติดตั้งไว้ในแพ็คเกจทรงตรงเพรียวบางซึ่งมันจะช่วยให้บนโต๊ะทำงานของคุณมีพื้นที่มากขึ้นกว่าเดิม
Anker 575 USB-C Docking Station (13-in-1) เป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างกะทัดรัดพร้อมตัวเลือกการเชื่อมต่อที่หลากหลายสำหรับโน๊ตบุ๊ค Windows และ Mac มันมีพอร์ตข้อมูล USB-A สองพอร์ต, พอร์ต USB-A อีกพอร์ตพร้อมการชาร์จ 7.5W, พอร์ต USB-C ดาวน์สตรีมสองพอร์ต(หนึ่งพอร์ตสำหรับการชาร์จ 7.5W), พอร์ตโฮสต์ USB-C หนึ่งพอร์ตพร้อมกำลังไฟสูงสุด 85W สำหรับโน๊ตบุ๊คของคุณ, เครื่องอ่านการ์ด SD และ microSD มาตรฐาน UHS -I, Gigabit Ethernet, DisplayPort, เสียง 3.5 มม. และ HDMI 2.0 คู่
ตราบใดที่พอร์ต USB-C ของแล็ปท็อปของคุณรองรับโหมด DP 1.4 alt คุณจะได้รับการรองรับจอแสดงผล FHD สามจอที่ 60Hz ต่อจอ, รองรับจอแสดงผล QHD คู่ที่ 60Hz ต่อจอ หรือรองรับจอแสดงผล 4K เดี่ยวที่ 60Hz ตัวเครื่องทำจากพลาสติก ซึ่งถือว่าแตกต่างเมื่อเทียบกับตัวเลือกระดับไฮเอนด์บางรุ่น ดังนั้น Anker 575 USB-C Docking Station (13-in-1) จึงไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีนัก แต่ทว่ามันก็ยังงานสร้างที่มีมาตรฐานสูงเหมาะกับราคาระดับพรีเมียมของมันมากจริงๆ
Razer Thunderbolt 4 Dock Chroma
Razer Thunderbolt 4 Dock Chroma พึ่งพาการเชื่อมต่อ Thunderbolt 4 ได้ดีเป็นอย่างมาก ด้วยการมาพร้อมกับพอร์ตดาวน์สตรีม TB4 จำนวน 3 พอร์ต และการเชื่อมต่อที่มีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย คุณสมบัติพิเศษของ Razer Thunderbolt 4 Dock Chroma ก็คือไฟ RGB ใต้เครื่องที่คุณสามารถปรับแต่งเองได้ งานนี้นักเล่นเกมไม่ควรพลาด
Razer มีเอกลักษณ์ที่แข็งแกร่งในโลกแห่งเกมและแสงไฟ Chroma RGB ที่อยู่ภายใต้อุปกรณ์สีดำเงานั้นก็สามารถที่จะดึงดูดใจผู้ใช้ได่เป็นอย่างดี การที่ตัวเครื่องซึ่งใช้ส่วนแท่นเชื่อมต่อเป็นเทคโนโลยีใหม่อย่าง Thunderbolt 4 นั้นทำให้มันเป็นตัวเลือกสำหรับนักเล่นเกมบนโน๊ตบุ๊คเป็นอย่างดี รีวิวของ Razer Thunderbolt 4 Dock Chroma หลายๆ แหล่งนั้นต่างชม Razer Thunderbolt 4 Dock Chroma เป็นเสียงเดียวกัน โดยหากคุณไม่ชอบไฟ RGB ที่ตัวเครื่องแล้วล่ะก็คุณเองยังสามารถเลือกที่จะปิดมันไว้ได้อีกด้วยต่างหาก
Razer Thunderbolt 4 Dock Chroma มีพอร์ต Thunderbolt 4 สี่พอร์ต (หนึ่งพอร์ตสงวนไว้สำหรับโฮสต์โน๊ตบุ๊ค), USB-A 3.2 (Gen 2) สามพอร์ต), Gigabit Ethernet, เครื่องอ่านการ์ด SD UHS-II และการเชื่อมต่อเสียง 3.5 มม. เสียดายที่ Razer Thunderbolt 4 Dock Chroma ไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อสัญญาณภาพแบบเนทีฟให้คุณได้ใช้นั่นเป็นเพราะว่าตัวเครื่อง Razer Thunderbolt 4 Dock Chroma มีพอร์ต Thunderbolt 4 จำนวนมากซึ่งหากใช้พร้อมกันก็อาจจะไม่เหมาะเท่าไรนัก ถึงกระนั้นคุณก็ยังคงสามารถที่จะใช้พอร์ต Thunderbolt 4 เพื่อทำการเชื่อมต่อหน้าจอแล้วแสดงผล 4K ได้ถึงสองจอที่ความถี่ 60Hz ได้สูงสุดสองจอที่ใช้การเชื่อมต่อผ่านพอร์ต Thunderbolt 4 เท่านั้น
โน๊ตบุ๊คโฮสต์สามารถรับพลังงานการชาร์จสูงสุด 90W เพื่อคงการชาร์จไฟไว้และแม้แต่พอร์ต USB-A ก็สามารถชาร์จอุปกรณ์เสริมได้ Razer Thunderbolt 4 Dock Chroma วางจำหน่ายในสี Mercury White ซึ่งมันจะโดนตัดในส่วนของแสงไฟ RGB ออกไป
CalDigit TS3 Plus Thunderbolt 3 Dock
CalDigit TS3 Plus มีราคาไม่แพงกว่า TS4 รุ่นใหม่มาก แม้ว่าจะไม่สามารถดึงศักยภาพของโน๊ตบุ๊คที่เชื่อมต่อตามมาตรฐานกับตัว Dock ผ่านทางพอร์ต Thunderbolt 4 ได้เต็มประสิทธิภาพก็ตาม ถึงจะเป้นเช่นนั้น CalDigit TS3 Plus ก็ยังคงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับโน๊ตบุ๊คที่ใช้ USB-C หรือ Thunderbolt โดยมีพอร์ตทั้งหมด 15 พอร์ต และกำลังชาร์จสูงสุด 85W
ไม่น่าแปลกใจที่เราจะแนะนำ CalDigit TS3 Plus ทั้งๆ ที่เป็นรุ่นเก่า แต่เชื่อเถอะว่ามันคุ้มค่าเป็นอย่างมากกับราคาที่ต้องจ่ายออกไป เหตุผลนั้นก็เพราะมีหลายๆ สื่อต่างก็ออกมาบอกกันว่า CalDigit TS3 Plus นั้นสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานเช่นมากถึง 4 ปีโดยที่ยังไม่มีอาการชำรุดแต่อย่างใด การที่มันรองรับพอร์ตการเชื่อมต่อที่ Thunderbolt 3 นั้นทำให้มันอาจจะไม่เร็วเท่ากับของรุ่นใหม่ที่มีการวางจำหน่ายในปัจจุบัน ทว่ามันก็ดีมากพออยู่แล้วในการใช้งาน(แต่มันยังสามารถทำงานร่วมกับ Thunderbolt 4 ได้อยู่โดยแบนด์วิดธ์จะลดลง) ถึงกระนั้นราคาที่ต่ำกว่าเกือบครึ่งของ CalDigit TS3 Plus เมื่อเทียบกับรุ่น CalDigit TS4 Plus นั้นก็ถือว่าเป็นตัว CalDigit TS3 Plus น่าใช้งานอยู่
TS3 Plus มีพอร์ตดาวน์สตรีม Thunderbolt 3 หนึ่งพอร์ตและอีกพอร์ตสำหรับโฮสต์โน๊ตบุ๊คที่มีกำลังชาร์จสูงสุด 85W มันยังมาพร้อมกับพอร์ตการเชื่อมต่ออย่าง USB-A 3.1 ห้าตัว, DisplayPort 1.2, USB-C 3.1 สองตัว, Gigabit Ethernet, SP/DIF, สัญญาณเสียงเข้าและออก 3.5 มม. และเครื่องอ่านการ์ด SD UHS-II อีกทั้งด้วยการรองรับจอแสดงผล 4K คู่ที่ความถี่ 60Hz ในแต่ละจอ ทำให้มีการเชื่อมต่อที่เหมาะสมสำหรับเวิร์กโฟลว์ส่วนใหญ่ที่ต้องใช้พื้นที่หน้าจอมากกว่าหนึ่งหน้าจอในการทำงาน
โครงอะลูมิเนียมแบบเป็นลอนช่วยระบายความร้อนและโดยรวมแล้ว CalDigit TS3 Plus มีขนาดเล็กกว่า TS4 รุ่นใหม่ เช่นเดียวกับ TS4 เจ้า CalDigit TS3 Plus มีฐานยางสำหรับการใช้งานในแนวตั้ง โดยมีฐานที่ถอดออกได้เพิ่มเติมสำหรับการใช้งานในแนวนอน
Dell Dual Charge Dock
Dual Charge Dock ของ Dell เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเก็บโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัวเมื่อทำงานกับโน๊ตบุ๊ค ขาตั้งของ Dell Dual Charge Dock จะอยู่ที่ตรงซ่อนส่วนที่รองรับการชาร์จไร้สายตามมาตรฐาน Qi และส่วนแท่นวางโน๊ตบุ๊คก็มีการเชื่อมต่อที่เหมาะสมเพื่อรองรับขั้นตอนการทำงานส่วนใหญ่
Dell เปิดตัว Dual Charge Dock (HD22Q) ในปี 2022 และนับตั้งแต่นั้นมามันก็เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการจับตาดูโทรศัพท์ขณะทำงานอยู่กับโน๊ตบุ๊ค ด้านหน้าของแท่นวางมีแท่นวางโทรศัพท์แบบตั้งตรงหุ้มด้วยผ้าซึ่งสามารถชาร์จอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามที่เข้ากันได้กับมาตรฐาน Qi แบบไร้สาย
แท่นชาร์จสามารถรองรับการชาร์จเร็วสูงสุดที่กำลังไฟฟ้า 12W ในลักษณะนี้ และมันยังสามารถส่งพลังงานกลับไปยังโน๊ตบุ๊คที่เชื่อมต่ออยู่ได้ด้วยกำลังไฟฟ้าสูงมากถึง 90W อีกต่างหาก ข้อเสียของ Dell Dual Charge Dock นั้นก็มีเหมือนกันซึ่งนั่นก็คือตัวเครื่องจะมีสายต่อเพื่อจ่ายไฟให้กับ Dual Charge Dock โดยตรงซึ่งหากสายมีปัญหาแล้วล่ะก็คุณอาจจะต้องซื้อตัวด๊อคใหม่ทั้งหมด ยังดีที่ทาง Dell ให้เวลาในการรับประกันมากถึง 3 ปีด้วยกัน
แท่นเชื่อมต่อขยายจะออกไปอยู่ที่ทางด้านหลังของตัวเครื่อง ด้วยพอร์ตมากมายที่ประกอบด้วย USB-C 3.2 (Gen 2), USB-A 3.2 (Gen 1) สี่ตัว), อีเธอร์เน็ต, DisplayPort 1.4 และ HDMI 2.1 คุณสามารถใช้งานจอแสดงผล 4K สองจอที่ความถี่ 60Hz ในแต่ละจอได้
HP Thunderbolt Dock G4
HP Thunderbolt Dock G4 เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับมืออาชีพและแผนกไอที มันมาพร้อมกับเครื่องมือสำรับการใช้งานในระดับองค์กร ตามมาด้วยการมีตัวเลือกด้านพลังงานสำหรับโน๊ตบุ๊คทั่วไปและเวิร์กสเตชัน ส่วนที่จะไม่พูดถึงเลยนั้นก็คือการที่ตัว Dock มีพอร์ตจะครอบคลุมความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้เป็นอย่างดี
Thunderbolt Dock G4 ของ HP น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับมืออาชีพด้วยเครื่องมือการจัดการอุปกรณ์ระยะไกล นอกจากการสนับสนุนการจัดการแบบแอคทีฟ Intel vPro แล้ว นอกไปจากนั้นคุณยังได้รับการบูต PXE, Wake-on-LAN, การส่งผ่านที่อยู่ MAC และการจัดการอุปกรณ์ด้วยเทคโนโลยี eTag นอกจากนี้มันยังเต็มไปด้วยคุณสมบัติด้านความปลอดภัยของ HP เช่น Sure Start เพื่อให้โน๊ตบุ๊คของคุณปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
HP สร้างเวอร์ชันที่สามารถจ่ายไฟได้มากถึง 120W ซึ่งเหมาะกับผู้บริโภคส่วนใหญ่ แต่ HP ยังมีตัวเลือกความสามารถในการจ่ายพลังงานที่มากกว่าคืออยู่ที่ 280W สำหรับใช้กับเวิร์กสเตชันระยะไกลโดยเฉพาะอีกด้วย รุ่น 120W สามารถจ่ายไฟชาร์จได้สูงสุด 100W ไปยังโฮสต์ ในขณะที่รุ่น 280W สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 230W เพื่อจัดการกับ GPU แยกและ CPU ระดับเวิร์กสเตชันที่ทรงพลังยิ่งขึ้น การออกแบบทรงลูกบาศก์มีมุมโค้งมน โดยพอร์ตส่วนใหญ่อยู่ที่ขอบด้านหลัง
ขอบด้านหลังมีพอร์ต USB-A 3.2 (Gen 1), อีเธอร์เน็ต, Thunderbolt 4, USB-C 3.2 (Gen 1), DisplayPort 1.4 จำนวน 2 พอร์ต และ HDMI 2.0 นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB-A 3.2 (Gen 1) หนึ่งพอร์ตที่ด้านข้างของด็อค มีช่องล็อค Kensington เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ในการตรวจสอบ HP Thunderbolt Dock G4 มีการตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า HP Thunderbolt Dock G4 มี มันมีการรับประกันหนึ่งปีหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นซึ่งจะว่าไปแล้วก็ถือได้ว่าน้อยไปนิดสำหรับราคาที่ค่อนข้างสูงของ HP Thunderbolt Dock G4
ที่มา : xda, thereviewdaily