Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

5 ตัวรับสัญญาณ WiFi น่าซื้อ ต่อพีซีเล่นเกมดีเปิดเว็บลื่นไม่ง้อ LAN เริ่มแค่ 1,090 บาท

ตัวรับสัญญาณ WiFi ดีๆ ไม่ต้องง้อสาย LAN ก็เล่นเกมได้ลื่นสะใจ!

Share image Edit Name 2wifi 1

ปัจจุบันหลังจาก Router ได้รับการพัฒนาให้รับส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ดีและเสถียรขึ้น ผู้ใช้หลายๆ คนก็หันมาซื้อตัวรับสัญญาณ WiFi ไปใช้กับพีซีของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งแบบ USB หรือ PCIe ต่อเข้ากับเมนบอร์ดโดยตรงก็ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยข้อดีของ PCIe WiFi คือ เราไม่ต้องเสียเวลาจัดการหรือลากสาย LAN จาก Router มาต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ใช้อินเตอร์เน็ตได้ทันทีไม่ว่าจะทำงานหรือเล่นเกมก็ได้ไม่มีปัญหา

Advertisement

อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการใช้ WiFi เป็นหลัก ถ้าได้ Router ประสิทธิภาพสูงมาแล้ว ก็ต้องหาตัวรับสัญญาณ WiFi คุณภาพดีมาใช้งานด้วย ซึ่งในมุมของผู้เขียน ควรยืนพื้นด้วย WiFi 5 ขึ้นไป หากได้ WiFi 6 หรือ 6E มาเลย ก็ยิ่งดี เพราะสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเสถียรขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนตัวผู้เขียนเองก็เคยอธิบายถึงข้อมูลและเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ WiFi เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว หากสนใจสามารถอ่านบทความดังกล่าวได้ที่นี่

ตัวรับสัญญาณ WiFi

สเปคตัวรับสัญญาณ WiFi Connectivity Bands Technology OS ที่รองรับ ราคา
(บาท)
Intel AX210 Pro WiFi 6E Wi-Fi 6E

Bluetooth 5.2
2.4GHz

5GHz

6GHz

160Mhz
MU-MIMO

OFDMA

Intel vPro
Windows 10 (64-bit)

Chrome OS

Linux
1,090
TP-Link Archer TX55E Wi-Fi 6

Bluetooth 5.2
2.4GHz
574 Mbps

5GHz
2,402 Mbps
MU-MIMO

OFDMA

Intel vPro

WPA3
Windows 10 (64-bit) 1,390
ASUS PCE-AX3000 Wi-Fi 6

Bluetooth 5.0
2.4GHz
867 Mbps

5GHz
2,402 Mbps

160Mhz
MU-MIMO

OFDMA

Intel vPro

WPA3
Windows 10 (64-bit)

Linux Kernel 5.1
1,390
CF-AX210 Pro Wi-Fi 6E

Bluetooth 5.2
2.4GHz

5GHz

6GHz

160Mhz
MU-MIMO

OFDMA

Intel vPro
Windows 10

Linux

Chrome OS
1,590
TP-LINK Archer TX3000E Wi-Fi 6

Bluetooth 5.2
2.4GHz

5GHz
MU-MIMO

OFDMA

Intel vPro

WPA3
Windows 10 (64-bit) 1,879

5 ตัวรับสัญญาณ WiFi คุณภาพดี ทำงานดีเล่นเกมลื่นไม่มีปัญหากวนใจแน่นอน!

หากผู้ใช้คนไหนมองหาตัวรับสัญญาณ WiFi มาต่อเข้ากับพีซี ไม่ว่าจะใช้เป็นช่องทางหลักตอนเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือใช้ควบคู่กับ LAN เป็นตัวสำรองก็ตาม หากคิดจะซื้อมาใช้งานก็แนะนำให้ดูเป็น WiFi 6 หรือ 6E ไปเลยจะดีที่สุด จะได้ใช้งานเทคโนโลยีล่าสุดไปเลย โดยทั้ง 5 รุ่นแนะนำมีดังนี้

  1. Intel AX210 Pro WiFi 6E (1,090)
  2. TP-Link Archer TX55E (1,390 บาท)
  3. ASUS PCE-AX3000 (1,390 บาท)
  4. CF-AX210 Pro (1,590 บาท)
  5. TP-LINK Archer TX3000E (1,879 บาท)
1. Intel AX210 Pro WiFi 6E (1,090)

7607e15cf6b1f148a0851aa466223bc0

Intel AX210 Pro WiFi 6E ชิ้นนี้จะเป็น WiFi PCIe แบบ OEM สำหรับพีซีเป็นหลัก ใช้ชิป Intel AX210 รับสัญญาณ Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax จึงจับคลื่นได้กว้างขวางตั้งแต่ 2.4GHz, 5GHz, 6GHz แบนด์วิธ 160MHz มีเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลครบถ้วนทั้ง MU-MIMO, OFDMA, Intel vPro และรองรับ Bluetooth 5.2 อีกด้วย ตัวการ์ด WiFi นี้ติดตั้งซิ้งค์ระบายความร้อนมาให้และมีเสาอากาศรับสัญญาณแยกพิเศษให้วางในจุดที่ไม่มีสิ่งกีดขวางให้รับสัญญาณได้ดีสุด ใช้กับระบบปฏิบัติการได้หลากหลาย ได้แก่ Windows 10 (64-bit), Chrome OS, Linux เป็นต้น หากใครไม่เกี่ยงว่าเป็นสินค้า OEM เน้นว่าต้องการสินค้าดีราคาไม่แพงมากก็เริ่มต้นกับตัวนี้ก่อนได้เลย

สเปคของ Intel AX210 Pro WiFi 6E
  • Connectivity : Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax รองรับ Bluetooth 5.2
  • Bands : 2.4GHz, 5GHz, 6GHz แบนด์วิธ 160MHz
  • Technology : MU-MIMO, OFDMA, Intel vPro
  • OS ที่รองรับ : Windows 10 (64-bit), Chrome OS, Linux
  • Price : 1,090 บาท (tichakorn.ch Shopee Recommend)
2. TP-Link Archer TX55E (1,390 บาท)

Archer TX55E overview normal 20220511090800u

TP-Link Archer TX55E เป็นตัวรับสัญญาณ WiFi น่าใช้และเชื่อถือได้อย่างแน่นอน โดยตัวการ์ดจะติดตั้งฮีตซิ้งค์ระบายความร้อนและเสาอากาศมาให้อีกคู่ ใช้ชิปเซ็ต Intel Wi-Fi 6 รับสัญญาณ Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax จับคลื่น 2.4GHz, 5GHz ได้หมด โดยความเร็วสูงสุดที่รับได้ของคลื่น 5GHz อยู่ที่ 2,402 Mbps และ 2.4GHz อยู่ที่ 574 Mbps มีเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลครบถ้วนทั้ง MU-MIMO, OFDMA, Intel vPro และมีฟังก์ชั่นรักษาความปลอดภัย WPA3 รองรับ Bluetooth 5.2 อีกด้วย แต่จุดสังเกต คือ ตัวการ์ดนี้จะรองรับเฉพาะระบบปฏิบัติการ Windows 10 (64-bit) ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งส่วนตัวผู้เขียนก็ซื้อ WiFi Card ของแบรนด์นี้มาต่อกับเกมมิ่งพีซีส่วนตัวไว้ทำงานและเล่นเกมก็ถือว่าประสิทธิภาพดีรับส่งข้อมูลได้เสถียรทีเดียว สามารถซื้อมาใช้งานได้เลย ไม่ต้องกังวล

สเปคของ TP-Link Archer TX55E
  • Connectivity : Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax รองรับ Bluetooth 5.2
  • Bands : 2.4GHz ที่ 574 Mbps, 5GHz ที่ 2,402 Mbps
  • Technology : MU-MIMO, OFDMA, Intel vPro, WPA3 
  • OS ที่รองรับ : Windows 10 (64-bit) ขึ้นไป
  • Price : 1,390 บาท (satitjaichumni Shopee Recommend)
3. ASUS PCE-AX3000 (1,390 บาท)

ด้านแบรนด์ผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ชั้นนำอย่าง ASUS ก็มี ASUS PCE-AX3000 ให้เลือกซื้อไปติดตั้งในเครื่องเช่นกัน แต่ตัว PCIe Card นี้จะไม่มีฮีตซิ้งค์ติดตั้งมาให้เหมือนรุ่นอื่น ส่วนการรับส่งข้อมูลเป็น Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax จับคลื่น 2.4GHz ความเร็วสูงสุด 867 Mbps, 5GHz ความเร็วสูงสุด 2,402 Mbps แบนด์วิธ 160MHz มีเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล MU-MIMO, OFDMA, Intel vPro, WPA3 และรองรับ Bluetooth 5.0 ได้ รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 10 (64-bit) และ Linux Kernel 5.1 ขึ้นไป ซึ่งชื่อชั้นของแบรนด์ ASUS ก็จัดว่าดีไว้ใจได้ ถ้าจะซื้อมาใช้งานก็ไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน

สเปคของ ASUS PCE-AX3000
  • Connectivity : Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax รองรับ Bluetooth 5.0
  • Bands : 2.4GHz ที่ 867 Mbps, 5GHz 2,402 Mbps แบนด์วิธ 160MHz
  • Technology : MU-MIMO, OFDMA, Intel vPro, WPA3 
  • OS ที่รองรับ : Windows 10 (64-bit), Linux Kernel 5.1 ขึ้นไป
  • Price : 1,390 บาท (Jedicool Shopee Mall)
4. CF-AX210 Pro (1,590 บาท)

fb6b1f11ab385690e2cdd16c3f585b6c

CF-AX210 Pro เป็นตัวรับสัญญาณ WiFi แบบ OEM อีกแบรนด์ที่น่าสนใจเช่นกัน ซึ่งตัวการ์ดติดตั้งชิป Intel AX210 มาให้ รับสัญญาณ Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax รับคลื่น 2.4GHz, 5GHz, 6GHz ได้ มีแบนด์วิธ 160MHz มีเทคโนโลยี MU-MIMO, OFDMA, Intel vPro รองรับ Bluetooth 5.2 ในตัว ติดตั้งฮีตซิ้งค์ระบายความร้อนมาให้เสร็จสรรพแต่เสาอากาศจะเป็นแบบติดหลังการ์ดไม่ใช่แบบต่อสายไฟลากเสาอากาศแยกออกมา รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 10, Linux, Chrome OS ครบถ้วน จัดเป็น Wi-Fi PCIe Card ที่น่าสนใจอีกรุ่นเลย แม้จะเป็น OEM ก็น่าซื้อมาใช้งานเช่นกัน

สเปคของ CF-AX210 Pro
  • Connectivity : Wi-Fi 6E มาตรฐาน 802.11ax รองรับ Bluetooth 5.2
  • Bands : 2.4GHz, 5GHz, 6GHz แบนด์วิธ 160MHz
  • Technology : MU-MIMO, OFDMA, Intel vPro
  • OS ที่รองรับ : Windows 10, Linux, Chrome OS
  • Price : 1,590 บาท (Silicon Gadgets Shopee Recommend)
5. TP-LINK Archer TX3000E (1,879 บาท)

2 normal 1566801264506f

TP-LINK Archer TX3000E รุ่นนี้เป็นตัวรับสัญญาณ WiFi เพื่อเกมมิ่งพีซีโดยเฉพาะ โดยตัวนี้ทาง TP-Link ออกแบบให้มันลดค่า Latency ได้มากกว่าปกติ ซึ่งตัวการ์ดนี้รับสัญญาณ Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax จับคลื่น 2.4GHz อยู่ที่ 574 Mbps, 5GHz อยู่ที่ 2,402 Mbps รองรับเทคโนโลยีรับส่งข้อมูล MU-MIMO, OFDMA, Intel vPro, WPA3 และรองรับ Bluetooth 5.2 ด้วย ส่วนดีไซน์ตัวการ์ดจะติดตั้งฮีตซิ้งค์ระบายความร้อนและต่อเสาสัญญาณยาวออกมาจากตัวเครื่องให้ตั้งในจุดรับสัญญาณได้ดีที่สุด รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 10 (64-bit) ขึ้นไป ถ้าใครหาตัวรับสัญญาณ WiFi ดีๆ มาต่อเกมมิ่งพีซีสักตัว ก็น่าซื้อตัวนี้ไปใช้งานเช่นกัน

สเปคของ TP-LINK Archer TX3000E
  • Connectivity : Wi-Fi 6 มาตรฐาน 802.11ax รองรับ Bluetooth 5.2
  • Bands : 2.4GHz, 5GHz 
  • Technology : MU-MIMO, OFDMA, Intel vPro, WPA3
  • OS ที่รองรับ : Windows 10 (64-bit) ขึ้นไป
  • Price : 1,879 บาท (satitjaichumni Shopee Recommend)

praveen kumar mathivanan yqLrqIsl294 unsplash scaled e1660723141722

จะเห็นว่าตัวรับสัญญาณ WiFi ในปัจจุบันนี้ขอแค่เป็น Wi-Fi 6 ขึ้นไป ก็จัดว่ามีประสิทธิภาพดีไว้ใจได้ จะใช้ทำงานหรือเล่นเกมก็ลื่นไหลไม่แพ้การต่อสาย LAN อย่างแน่นอน ขอแค่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวเสาสัญญาณกับตัว Router ให้น้อยที่สุดเท่านี้ก็ใช้งานได้ดีมากแล้ว และปัญหาเรื่องสัญญาณไม่เสถียรหรือหลุดบ่อยก็จะไม่มีมากวนใจอย่างแน่นอน

ข้อดีของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย Wi-Fi นั้น คือเราไม่ต้องลากสาย LAN ให้วุ่นวาย จะตั้งเกมมิ่งพีซีเอาไว้ตรงไหนก็สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้สะดวกเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าบ้านไหนไม่สะดวกลากสาย LAN ล่ะก็ ผู้เขียนแนะนำให้ตัดปัญหาโดยหา Wi-Fi PCIe Card คุณภาพดีสักตัวมาต่อคอม เท่านี้ก็สมบูรณ์แบบ


บทความที่เกี่ยวข้อง

wifi cover

wifi new cover

usb wifi cover

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

How to

โลกในตอนนี้ไม่สามารถตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตได้เลยไม่ว่าจะเรื่องงานหรือความบันเทิงก็ต้องใช้มันทั้งนั้น แต่อุปกรณ์ไอทีทุกชิ้นต่างต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ตบ้างให้อุปกรณ์ได้โหลดการตั้งค่ากลับมาใหม่อีกครั้งเป็นระยะๆ เพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการรีเซ็ตสัญญาณจะคล้ายกับวิธีการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ต่อ Wi-Fi ไม่ได้ แต่ในบทความนี้จะเน้นเรื่องลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาเน็ตบ้านหรือเน็ตออฟฟิศใช้งานไม่ได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นก่อนติดต่อช่างให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในภายหลัง เมื่อไหร่ต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ต? ทำแล้วดีอย่างไร? การรีเซ็ตสัญญาณอินเทอร์เน็ตนอกจากการปิดเปิดเราเตอร์ ก็รวมถึงการรีเซ็ตในระบบปฏิบัติการด้วย ถ้าไดรเวอร์มีปัญหาสามารถกด Roll Back driver หรือโหลดมาติดตั้งใหม่จะช่วยแก้ปัญหาได้ ถ้ารีเซ็ตสัญญาณแล้วใช้งานไม่ได้ อาจเกิดปัญหาจาก Node กระจายสัญญาณของผู้ให้บริการก็ได้ เมื่อติดตั้งเน็ตบ้านเอาไว้แล้ว แนะนำให้ขอบัญชีและรหัสผ่านเอาไว้เข้าไปตั้งค่าเราเตอร์เผื่อไว้ด้วย 6 วิธีรีเซ็ตสัญญาณเน็ตด้วยตัวเอง...

รีวิว Asus

ASUS Vivobook S 15 S5507QA ความหวังใหม่ของคนทำงานด้วยพลัง Snapdragon X Elite และฟีเจอร์ครบเครื่อง! ถ้าพูดถึง Qualcomm ทุกคนย่อมคิดถึงชิปเซ็ตในสมาร์ทโฟนก่อน จนกระทั่งยักษ์แห่งวงการสมาร์ทโฟนจับมือกับเหล่ายักษ์แห่งวงการคอม ก็ได้เป็น ASUS Vivobook S 15 S5507QA โน๊ตบุ๊ค Copilot+ PC รุ่นแรกรับยุคแห่ง...

Accessories review

TP-Link TL-MR105 เราเตอร์ซิม 4G LTE ใช้ง่ายแค่ใส่ซิมก็พร้อมใช้! ในปัจจุบันแม้เราจะสามารถสมัครใช้บริการเน็ตบ้านความเร็วสูงได้ แต่คนที่อยู่หอพักหรือบ้านเช่าแล้วเจ้าของไม่อนุญาตให้ดัดแปลงอาคารก็ทำอะไรไม่ได้ TP-Link TL-MR105 เราเตอร์ 4G LTE ที่ออกแบบให้ใส่ซิมเน็ตก็เชื่อมต่อกับโลกอินเทอร์เน็ตได้ทันทีจึงเป็นตัวเลือกของชาวบ้านเช่าหอพักแน่นอน ข้อดีของเราเตอร์ตัวนี้ ทั้งจ่ายสัญญาณให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับมันได้มากสุด 32 เครื่อง ทั้งผ่าน Wi-Fi หรือต่อสาย LAN ก็ได้ รองรับความเร็วสูงสุดถึง...

Tips & Tricks

สอนเปลี่ยนรหัสไวไฟ AIS, True, 3BB, TOT, CAT เช็คคนแอบใช้ ทำได้เองในไม่กี่ขั้นตอน อัพเดท 2024 การเปลี่ยนรหัส Wi-Fi นั้น ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราสามารถเข้าไปเปลี่ยนรหัสไวไฟได้ผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชันโดยที่เว็บไซต์นั้น ก็จะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการของเรา ทีมงาน NotebookSPEC ก็ได้รวบรวมวิธีการเปลี่ยนรหัสไวไฟของแต่ละค่ายที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านมาฝากกัน สามารถทำได้ผ่านขั้นตอนง่ายๆ ด้วยตัวเอง ทำได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนเลย วิธีเปลี่ยนรหัส...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก