Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

6 คีย์บอร์ดเกมมิ่งตัวเด็ดชวนซื้อ ฟีเจอร์เพียบ แค่ 3,290 บาทก็ซื้อได้ อัพเดท 2021

คีย์บอร์ดเกมมิ่งดี ๆ มีติดคอมสักตัว บอกเลยว่าจริงจังเกมเมอร์มีฟิน

kb cover 1

คีย์บอร์ดเกมมิ่งยุคนี้นอกจากจะหาง่าย, ฟีเจอร์เยอะและยังราคาไม่แพงมาก ทำให้เกมเมอร์ที่พอมีงบประมาณระดับหนึ่งสามารถหาซื้อมาเล่นเกมได้แล้ว และตอนนี้ก็มีให้เลือกหลากหลายแบรนด์ตามความชอบว่าใครอยากใช้แบรนด์ไหน สวิตช์สีอะไร ขนาดตัวคีย์บอร์ดแบบกี่เปอร์เซ็นต์ก็เลือกได้หมดตามความชอบความถนัดเลย

Advertisement

สำหรับเกมมิ่งคีย์บอร์ดในยุคนี้ ถ้าหาเป็นแบรนด์ชั้นนำงานประกอบดีและใช้วัสดุกับสวิตช์คุณภาพดีด้วย เมื่อก่อนต้องมีหลัก 4-5 พันบาทขึ้นไปถึงจะหาซื้อมาใช้เล่นเกมกันได้ แต่ตอนนี้แค่ 3 พันบาทก็หาซื้อมาเล่นเกมได้แล้วและมีฟีเจอร์สำหรับเล่นเกมหลัก ๆ ค่อนข้างครบทีเดียว

คีย์บอร์ดเกมมิ่ง

คีย์บอร์ดเกมมิ่งควรมีฟีเจอร์อะไรบ้าง ถึงจะเหมาะกับเกมเมอร์?

mateo vrbnjak nCU4yq5xDEQ unsplash

ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนเคยแนะนำเรื่องขนาดของเกมมิ่งคีย์บอร์ดไปในบทความแนะนำคีย์บอร์ด Mechanical ทางเลือกและประเภทของสวิตช์ในบทความคีย์บอร์ดเกมมิ่งมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ยังมีฟีเจอร์ของเกมมิ่งคีย์บอร์ดที่เอื้อกับการเล่นเกมที่ยังไม่ได้พูดถึงอยู่เช่นกัน ซึ่งถ้าใครกำลังอยากเปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่แล้วไม่แน่ใจว่าฟีเจอร์ที่มีในเกมมิ่งคีย์บอร์ดตัวที่อยากซื้อจะเอื้อกับการเล่นเกมไหม ผู้เขียนขอแนะนำให้เช็คเรื่องฟีเจอร์เหล่านี้เอาไว้ เวลาซื้อแล้วจะได้มีฟีเจอร์มาแบบครบ ๆ แล้วเล่นเกมได้ฟินที่สุด ซึ่งจะมีฟีเจอร์ดังนี้

  1. Anti-Ghosting : ฟีเจอร์ทำให้คีย์บอร์ดอันนั้น ๆ สามารถกดหลายปุ่มพร้อมกันแล้วไม่เกิดปัญหาว่ากดปุ่มแล้วสัญญาณไม่ไป แต่ถ้าใครซื้อคีย์บอร์ดมาแล้วอยากรู้ว่าคีย์บอร์ดอันนั้นกดพร้อมกันได้กี่ปุ่ม ก็สามารถทดสอบได้ที่นี่
  2. n-key rollover (NKRO) : ฟีเจอร์ที่ทำให้ปุ่มบนคีย์บอร์ดแต่ละปุ่มทำงานแยกกันโดยสมบูรณ์ระดับฮาร์ดแวร์และเป็นฟีเจอร์ที่มาคู่กับ Anti-Ghosting ซึ่งคีย์บอร์ดที่มี NKRO จะทำให้เราสามารถกดหลาย ๆ ปุ่มพร้อมกันได้ ถึงเราจะกดปุ่มอื่นอยู่แล้วกดปุ่มใหม่เพิ่มเข้าไปก็จะไม่เกิดอาการรวนอย่างแน่นอน ซึ่งเกมมิ่งคีย์บอร์ดในตอนนี้ควรมี 10-key rollover หรืออาจจะเขียนว่า n-key rollover ก็ได้จะได้กดหลายปุ่มพร้อมกันโดยไม่มีปัญหา 
  3. Multimedia Key, Macro Key : สำหรับ Multimedia Key นั้นเรียกว่าเป็นฟีเจอร์ที่มีก็ยิ่งดีแต่ไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะจะเป็นฟีเจอร์เอาไว้คุมเรื่องความบันเทิงอย่างปุ่มเล่นหรือหยุดเพลง, เลื่อนไปเพลงก่อนหน้าหรือถัดไปและบางรุ่นจะมีลูกล้อเอาไว้ปรับ Volume เพิ่มลดเสียงได้ด้วย ส่วนของปุ่ม Macro นั้นจะมีปุ่มแยกเอาไว้โดยเฉพาะเหมือนเกมมิ่งคีย์บอร์ดบางรุ่นก็ได้ แต่ปัจจุบันนี้เกมมิ่งคีย์บอร์ดหลายรุ่นจะตั้งค่าปุ่ม Macro โดยใช้ปุ่มรวมกับปุ่มอื่น ๆ บนคีย์บอร์ดได้แล้ว และทำงานได้เหมือนกับแบบมีปุ่ม Macro แยกเลย และตั้งได้เกิน 10 ปุ่มอีกด้วย
  4. ถอดสาย USB ได้หรือไม่ได้ : บางคนอาจจะคิดว่าคีย์บอร์ดทั้งทีให้สาย USB ติดเอาไว้กับเครื่องก็ได้เวลายกไปไหนจะได้ไม่ต้องควานหาสายให้เสียเวลา แต่ข้อดีเวลาสาย USB สามารถถอดแยกแล้วต่อกลับเข้าไปได้นั้น นอกจากจะจัดสายบนโต๊ะให้สวยงามง่ายก็ เวลาสายขาดหรือช็อตก็เอาสาย USB ที่มีอยู่มาเปลี่ยนแล้วเล่นเกมต่อได้ทันทีโดยไม่มีปัญหา ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่าถ้าเลือกได้ก็หาแบบถอดสาย USB ได้จะดีกว่า

สำหรับฟีเจอร์ทั้ง 4 ข้อนี้ เรียกว่าเป็นฟีเจอร์ที่น่ามีติดเกมมิ่งคีย์บอร์ดเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามบางอย่างเช่น Multimedia Key อาจจะหายไปหรือตั้งปุ่ม Macro ได้ไม่กี่ชุดก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่นัก แต่ที่สำคัญคือควรเลือกให้เข้ากับสไตล์การเล่นเกมของเราว่าเกมหลักที่เล่นเป็นประจำนั้นเป็นเกมแนวไหน เช่น FPS อาจจะเน้นแค่สัมผัสการกดที่ดีและมี Multimedia Key เผื่อเอาไว้บ้าง ส่วนสาย RTS หรือ MMORPG ก็ควรหาแบบมีฟีเจอร์ Macro เป็นหลัก จะได้ออกสกิลได้อย่างต่อเนื่องและไม่ต้องเสียเวลากดหลายปุ่มพร้อมกันเป็นต้น

6 คีย์บอร์ดเกมมิ่งน่าใช้ มีไว้เล่นเกมเพลินแน่นอน!

สำหรับเกมมิ่งคีย์บอร์ดที่เลือกมาแนะนำในบทความนี้ จะเป็นแบรนด์หลักทั้งหมดรวม 6 รุ่น ซึ่งมีฟีเจอร์สำหรับเกมเมอร์แบบครบเครื่อง รวมทั้งตั้งค่าในซอฟท์แวร์เฉพาะที่ผู้ผลิตทำขึ้นมาได้ง่าย มีประกันศูนย์ไทยให้อุ่นใจ ซึ่งจะมีรุ่นแนะนำดังนี้

  1. HyperX Alloy Origins (3,290 บาท)
  2. Logitech G613 (3,799 บาท)
  3. Corsair K70 RGB MK.2 (3,990 บาท)
  4. Cooler Master MasterKeys MK750 (3,390 บาท)
  5. SteelSeries Apex 7 (5,290 บาท)
  6. Razer Huntsman Elite (7,390 บาท)
1. HyperX Alloy Origins (3,290 บาท)

เกมมิ่งคีย์บอร์ดตัวแรกที่ถึงจะเพิ่งย้ายบ้านเข้าไปอยู่กับ HP เมื่อไม่นานนี้อย่าง HyperX นั้นเป็นเกมมิ่งคีย์บอร์ดแบรนด์แรกที่เลือกมาแนะนำกัน โดยเป็นรุ่น HyperX Alloy Origins ที่คุณภาพงานประกอบแข็งแรง บอดี้อลูมิเนียมมีไฟ RGB ที่เกมเมอร์ชื่นชอบ และยังถอดสาย USB-C ที่ติดมากับตัวคีย์บอร์ดได้ด้วย

สำหรับดีไซน์ของคีย์บอร์ดเกมมิ่งตัวนี้จะเป็นแบบ Full-size 104 ปุ่มตามปกติ เน้นดีไซน์เรียบง่ายและใช้สวิตช์บนตัวคีย์บอร์ดของ HyperX เอง ซึ่งตอบสนองได้เร็วและกดได้ร่วม 80 ล้านครั้ง เลือกได้ว่าเป็น Tactile, Linear หรือ Clicky ตั้งค่าคีย์บอร์ดได้ด้วยซอฟท์แวร์ HyperX NGENUITY ที่เอาไว้คุมเรื่องแสงสีและตั้งโปรไฟล์ตอนเล่นเกมได้ 3 โปรไฟล์ มีขาตั้งปรับความสูงได้ 3 ระดับ ตั้งแต่ 3, 7, 11 องศา นอกจากนี้ยังมีปุ่ม Game Mode, Anti-Ghosting และ N-Key rollover มาแบบเป็นมาตรฐาน รวมทั้ง Multimedia Key แบบกดปุ่ม Fn ได้ด้วย แต่ถ้าจะใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพควรใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งถ้าใครอยากได้เกมมิ่งคีย์บอร์ดงานประกอบดีมีคุณภาพจะเริ่มจาก HyperX Alloy Origins ตัวนี้ก่อนเลยก็ได้

สเปคของ HyperX Alloy Origins
  • คีย์บอร์ดเมคานิคแบบ Full-size 104 ปุ่ม มีขาตั้งปรับความสูงได้ 3 ระดับ ตั้งแต่ 3, 7, 11 องศา
  • สวิตช์ HyperX กดได้ 80 ล้านครั้ง เลือกโปรไฟล์ได้ว่าเอา Tactile, Linear หรือ Clicky
  • มีปุ่ม Multimedia Key โดยกดปุ่ม Fn, Anti-Ghosting, N-key rollover
  • บันทึกโปรไฟล์ได้ 3 แบบบนตัวคีย์บอร์ด ตั้งค่าได้ในซอฟท์แวร์ HyperX NGENUITY
  • เชื่อมต่อด้วยสาย USB-C to USB-A และถอดสายได้
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 7 ขึ้นไป
  • ราคา 3,290 บาท (BaNANA)
2. Logitech G613 (3,799 บาท)

g613 gallery 1

ส่วนเกมเมอร์ที่เล่นเกม MMORPG แล้วต้องใช้ปุ่ม Macro กดชุดสกิลอยู่บ่อย ๆ อาจจะหันมาดูเป็น Logitech G613 ตัวนี้ที่มีปุ่ม Macro แยกเฉพาะเอาไว้ให้ 6 ปุ่มเลยจะดีกว่า รวมทั้งมีชุดปุ่ม Multimedia Key แยกเฉพาะมาให้ใช้ และจุดเด่นอีกอย่างคือเป็นคีย์บอร์ดแบบไร้สายเต็มตัวที่เชื่อมต่อได้ทั้ง LIGHTSPEED ที่เป็น USB Wireless เฉพาะของทาง Logitech หรือ Bluetooth ก็ได้

สำหรับดีไซน์ของ Logitech G613 ตัวนี้ก็เป็นคีย์บอร์ดเกมมิ่งแบบ Full-size เหมือนกันและใช้สวิตช์รุ่นพิเศษที่ทาง Logitech ทำขึ้นมาเองในชื่อ ROMER-G ที่กดได้ 70 ล้านครั้ง และเป็นปุ่มแบบ Tactile ที่เสียงตอนเล่นไม่ดังและระยกดสั้น เวลาเล่นเกมหรือพิมพ์งานก็กดได้อย่างรวดเร็ว มี N-key rollover กับ Anti-Ghosting เหมือนกับเกมมิ่งคีย์บอร์ดรุ่นอื่น ๆ เช่นกัน ส่วนแบตเตอรี่ใช้ถ่าน AA x 2 ก้อน ก็ใช้เล่นเกมได้นาน ซึ่งทาง Logitech เคลมไว้ว่าใช้เล่นเกมและทำงานได้นานสุด 18 เดือน ส่วนการปรับแต่งและตั้งค่าคีย์บอร์ดรุ่นนี้จัดการได้ใน Logitech G HUB ได้เลย ซึ่งถ้าเกมเมอร์คนไหนเริ่มจัดโต๊ะทำงานของตัวเองให้เป็นแบบไร้สายทั้งหมดแล้วอยากได้เกมมิ่งคีย์บอร์ดไร้สายดี ๆ สักตัว แนะนำให้ดูตัวนี้ไว้ได้เลย

สเปคของ Logitech G613
  • คีย์บอร์ดเมคานิคแบบ Full-size 104 ปุ่ม 
  • สวิตช์ Logitech ROMER-G กดได้ 70 ล้านครั้ง เป็นปุ่มแบบ Tactile
  • มีปุ่ม Multimedia Key แยกเฉพาะ มี Anti-Ghosting, N-Key rollover
  • มีปุ่ม Macro 6 ปุ่ม เซ็ตการตั้งค่าคีย์บอร์ดทั้งหมดได้ใน Logitech G HUB
  • เชื่อมต่อไร้สายด้วย LIGHTSPEED USB Wireless หรือ Bluetooth ก็ได้
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 8 ขึ้นไป, Mac OS X 10.12, Android 3.2, iOS 10
  • ราคา 3,799 บาท (Logitech Official Shop)
3. Corsair K70 RGB MK.2 (3,990 บาท)

k70

คีย์บอร์ดเกมมิ่งจาก Corsair แบบราคาไม่แพงแต่คุ้มค่านั้น จะมี Corsair K70 RGB MK.2 เรียกว่าเป็นรุ่นใหม่ที่ยังใส่ฟีเจอร์หลัก ๆ เอาไว้ครบถ้วน โดยจุดเด่นคือเรื่องคีย์แคปที่เปลี่ยนให้เข้ากับเกมแบบ FPS หรือ MOBA ก็ได้ มี Anti-Ghosting กับ N-Key rollover แบบครบถ้วน ตัวเฟรมเป็นอลูมิเนียมเกรดอากาศยานที่แข็งแรงทนทานใช้งานหนักหน่อยก็ไม่เป็นไรแน่นอน

ตัวคีย์บอร์ดจะเป็นแบบ Full-size 104 ปุ่ม สวิตช์ Cherry MX Brown โดยเป็นปุ่มแบบ Tactile ตัวสวิตช์มีคุณภาพกดได้ร่วม 50 ล้านครั้ง มีชุดปุ่ม Multimedia Key และปุ่ม Windows Key Lock แยกเอาไว้ให้โดยเฉพาะ ทำให้เวลาเล่นเกมแล้วพลาดกดโดนก็ไม่รบกวนการเล่นเกมอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB-A ที่ตัวคีย์บอร์ดเป็น USB Pass-Through ที่เอาไว้ต่อหูฟังหรือเมาส์เกมมิ่งของเราอีกตัวได้ด้วย ส่วนการตั้งค่าโปรไฟล์ให้คีย์บอร์ดได้ 3 โปรไฟล์, ไฟ RGB, มาโคร ใช้ซอฟท์แวร์ Corsair iCUE ตัวเดียวคุมอุปกรณ์ Corsair ได้ทั้งเครื่อง ซึ่งถ้าพีซีของใครใช้ชิ้นส่วนของ Corsair เป็นหลักแล้วอยากจัดเกมมิ่งเกียร์ให้เข้าเซ็ตกันด้วย แนะนำให้ลงทุนสักนิดแล้วเลือกเอาคีย์บอร์ดตัวนี้ไปใช้ได้เลย

สเปคของ Corsair K70 RGB MK.2
  • คีย์บอร์ดเมคานิคแบบ Full-size 104 ปุ่ม 
  • สวิตช์ Cherry MX Brown กดได้ 50 ล้านครั้ง เป็นปุ่มแบบ Tactile
  • มีปุ่ม Multimedia Key แยกเฉพาะ มี Anti-Ghosting, N-Key rollover
  • มีปุ่ม Macro และเซ็ตการตั้งค่าคีย์บอร์ดทั้งหมดได้ใน Corsair iCUE
  • เชื่อมต่อด้วยสาย USB-A 2.0 และที่ตัวคีย์บอร์ดมี USB-A Pass-Through ด้วย
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 
  • ราคา 3,990 บาท (GUMP)
4. Cooler Master MasterKeys MK750 (3,390 บาท)

mk750 001 zoom

ถ้าคีย์บอร์ดเกมมิ่งรุ่นอื่น ๆ ต้องลงซอฟท์แวร์ให้วุ่นวายล่ะก็ Cooler Master MasterKeys MK750 ตัวนี้เรียกว่าตัดเรื่องซอฟท์แวร์ทิ้งไปได้เลย เพราะผู้ผลิตออกแบบให้ใช้งานแบบไม่ต้องมีซอฟท์แวร์ก็ได้ แค่ต่อสายแล้วก็ใช้งานได้เลยทั้งปรับโหมดแสงไฟ RGB ได้หลากหลายแบบ, บันทึกปุ่มมาโครได้โดยไม่ต้องใช้ซอฟท์แวร์ก็ได้ เพราะในตัวคีย์บอร์ดมีชิปกับเมมโมรี่เอาไว้บันทึกการทำงานได้ด้วย หรือถ้าต้องการลงซอฟท์แวร์เพิ่มเติมก็มี Cooler Master Portal ให้โหลดไปติดตั้งได้ด้วย

ตัวคีย์บอร์ดจะเป็นแบบ Full-size 104 ปุ่มและมีชุดปุ่ม Multimedia Key แยกเฉพาะให้เช่นกัน แต่จะมีแค่ปุ่มเปิดหรือปิดเสียง, เล่นหรือหยุดเพลงและกดเลื่อนไปเพลงก่อนหน้านี้หรือเพลงต่อไป ไม่มีตัวปรับ Volume ติดตั้งมาเหมือนตัวอื่น สวิตช์เป็น Cherry MX Switch เลือกได้ 3 แบบคือ Tactile, Linear หรือ Clicky ที่กดได้มากสุด 50 ล้านครั้งทีเดียว บอดี้เป็นอลูมิเนียมมีที่วางข้อมือเป็นหนัง PU แถมมาให้และเชื่อมต่อผ่านสาย USB-C to USB-A หนึ่งเส้นและสามารถถอดเก็บและจัดสายได้สะดวก รวมทั้งมี มี Anti-Ghosting กับ N-Key rollover ให้ใช้เช่นกัน ซึ่งถ้าใครอยากได้คีย์บอร์ดเกมมิ่งแบบต่อสายใช้งานได้เลยและบันทึก Macro เอาไว้ใช้ได้ด้วยล่ะก็ Cooler Master MasterKeys ตัวนี้ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน

สเปคของ Cooler Master MasterKeys MK750
  • คีย์บอร์ดเมคานิคแบบ Full-size 104 ปุ่ม 
  • สวิตช์ Cherry MX Switch กดได้ 50 ล้านครั้ง เลือกได้ทั้ง Tactile, Linear หรือ Clicky
  • มีปุ่ม Multimedia Key แยกเฉพาะ มี Anti-Ghosting, N-Key rollover
  • บันทึก Macro ได้บนตัวคีย์บอร์ดไม่ต้องพึ่งโปรแกรม หรือใช้ Cooler Master Portal ก็ได้
  • เชื่อมต่อด้วยสาย USB-C to USB-A 
  • ราคา 3,390 บาท (BaNANA)
5. SteelSeries Apex 7 (5,290 บาท)

buyimg apex7 001 v2.jpg 1850x800 q100 crop scale optimize subsampling 2

ถ้ามีงบประมาณสักหน่อย ส่วนตัวผู้เขียนแนะนำให้เพิ่มเงินสักนิดเลือก SteelSeries Apex 7 ที่ทางเว็บไซต์เคยทำรีวิวไปแล้วมาใช้เล่นเกมที่บ้านก็น่าสนใจ เพราะนอกจากไฟ RGB แล้ว ตัวคีย์บอร์ดมีหน้าจอ OLED ขนาดเล็กสำหรับดูการแจ้งเตือนต่าง ๆ และมีลูกล้อที่ติดตั้งไว้ข้าง ๆ กันเพื่อใช้คุมการทำงานกับซอฟท์แวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งในเครื่องได้ด้วย ซึ่งถ้าอยากเปลี่ยนการตั้งค่าคีย์บอร์ดในส่วนไหนก็เปลี่ยนได้เลยอย่างรวดเร็วและเซฟ Macro เอาไว้ได้ 5 ชุด เอาไว้เปลี่ยนตามโปรแกรมหรือเกมที่เล่นได้ทันที

ตัวคีย์บอร์ดเป็น Full-size 104 ปุ่ม ตัวคีย์บอร์ดใช้อลูมิเนียมเกรดอากาศยานทำเป็นตัวเฟรมคีย์บอร์ด สวิตช์เป็น SteelSeries QX2 ที่เลือกได้ว่าจะเป็น Tactile, Linear หรือ Clicky ก็ได้ สามารถกดได้ 50 ล้านครั้ง มี Anti-Ghosting และ N-Key rollover ครบเครื่องตามสไตล์เกมมิ่งคีย์บอร์ดทุกรุ่น เชื่อมต่อด้วยสาย USB และที่วางข้อมือก็ดูดติดด้วยแม่เหล็กจึงต่อหรือถอดได้ง่าย และยกขาตั้งด้านหลังตัวคีย์บอร์ดเพื่อปรับความสูงให้เข้ากับผู้ใช้ได้ด้วย ส่วนการตั้งค่าต่าง ๆ ของคีย์บอร์ดใช้ซอฟท์แวร์ SteelSeries Engine ปรับแต่งได้ตามชอบ ใช้งานได้ทั้ง Windows 7, Mac OS X 10.11 ขึ้นไป, Xbox, PlayStation ซึ่งถ้าใครอยากใช้คีย์บอร์ดเกมมิ่งฟีเจอร์ล้ำ ๆ สักตัวและมีเกมมิ่งพีซีกับคอนโซลอยู่ที่บ้านหลายชิ้น แนะนำให้ดู SteelSeries Apex 7 ตัวนี้เอาไว้ได้เลย

สเปคของ SteelSeries Apex 7
  • คีย์บอร์ดเมคานิคแบบ Full-size 104 ปุ่ม พร้อมจอ OLED
  • สวิตช์ SteelSeries QX2 กดได้ 50 ล้านครั้ง เลือกได้ทั้ง Tactile, Linear หรือ Clicky
  • มีลูกล้อไว้คุมการทำงานกับโปรแกรมต่าง ๆ มี Anti-Ghosting, N-Key rollover
  • บันทึก Macro ได้บนตัวคีย์บอร์ดได้ 5 แบบ ใช้ SteelSeries Engine ปรับแต่งการทำงานได้
  • ใช้งานได้ทั้ง Windows 7, Mac OS X 10.11 ขึ้นไป, Xbox, PlayStation
  • เชื่อมต่อด้วยสาย USB
  • ราคา 5,290 บาท (GUMP)
6. Razer Huntsman Elite (7,390 บาท)

huntsman elite

แนะนำคีย์บอร์ดเกมมิ่งมาหลายต่อหลายรุ่นแล้ว ยังไงก็ต้องมี Razer อยู่ด้วยแน่นอน แต่ถ้าเป็นรุ่นแนะนำแล้วกะว่าซื้อทีเดียวคุ้ม ก็แนะนำให้ซื้อ Razer Huntsman Elite ตัวสุดของทางค่ายไปทีเดียวเลยดีกว่า แม้จะแพงสักหน่อยแต่คุ้มแน่นอน เพราะ Huntsman Elite ตัวนี้จะเป็นสวิตช์แบบพิเศษของ Razer ที่กดได้ 100 ล้านครั้งแล้ว ยังเป็น Optical Switch ที่ใช้เลเซอร์จับการกดปุ่มด้วย ทำให้ระยะกดแล้วปุ่มทำงานและการรีเซ็ตให้พร้อมกดอีกครั้งเร็วกว่าสวิตช์แบบอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์สำหรับเกมเมอร์ใส่มาแบบจัดเต็มเช่นเดิม ส่วนการเชื่อมต่อเป็นสาย USB

ตัวคีย์บอร์ดนี้เป็นแบบ Full-size 104 ปุ่ม โครงอลูมิเนียมเพื่อความแข็งแรง ใช้สวิตช์ Razer Optical Switch ที่กดได้ 100 ล้านครั้ง เลือกได้ว่าเอาแบบ Linear หรือ Clicky มี Anti-Ghosting และ 10 Key rollover พร้อมชุดปุ่ม Multimedia Key และ Gaming Mode อีกด้วย ส่วนที่วางข้อมือเป็นพลาสติก PU ดูดติดกับตัวคีย์บอร์ดด้วยแม่เหล็ก ทำให้ถอดหรือติดกลับเข้าไปได้ง่าย สามารถบันทึก Macro เอาไว้ใช้ได้ 5 แบบตามสะดวกและมี Razer Hypershift ฟีเจอร์กดปุ่มเดียวเปลี่ยนฟังก์ชั่นของปุ่มบนคีย์บอร์ดเป็นอีกเซ็ตที่เซฟเอาไว้ในซอฟท์แวร์ Razer Synapse 3 ได้ทันที ซึ่งนอกจากจะบันทึกโปรไฟล์เอาไว้ในตัวคีย์บอร์ดแล้วยังแบ็คอัพขึ้นระบบ Cloud ของ Razer แล้วโหลดโปรไฟล์ที่เราถนัดกลับมาใช้กับคีย์บอร์ด Razer ตัวใหม่หรือแชร์ให้เกมเมอร์คนอื่นเอาไปลองใช้ได้อีกด้วย

สเปคของ Razer Huntsman Elite
  • คีย์บอร์ดเมคานิคแบบ Full-size 104 ปุ่ม 
  • สวิตช์ Razer Optical Switch กดได้ 100 ล้านครั้ง เลือกได้ทั้ง Linear หรือ Clicky
  • มีชุดปุ่ม Multimedia Key, Anti-Ghosting, N-Key rollover
  • บันทึก Macro ได้ 5 แบบ ใช้ Razer Synapse 3 ปรับแต่งการทำงานและเซฟโปรไฟล์เอาไว้ใน Cloud แล้วโหลดกลับมาใช้งานได้, มี Razer Hypershift เอาไว้สลับฟังก์ชั่นบนคีย์บอร์ดได้และมี Gaming Mode ด้วย 
  • ใช้งานกับระบบปฏิบัติการ Windows 
  • เชื่อมต่อด้วยสาย USB
  • ราคา 7,390 บาท (GUMP)

สรุปสเปค 6 คีย์บอร์ดเกมมิ่งเพื่อเกมเมอร์

สำหรับคีย์บอร์ดเกมมิ่งทั้ง 6 ตัวที่เลือกมาแนะนำในบทความนี้ จะมีทั้งแบบราคาไม่แพงมากแต่ฟีเจอร์ครบถ้วนไปจนถึงตัวราคาแพงอัดฟีเจอร์มาแบบจัดเต็มให้เลือกซื้อกัน ถ้าสรุปฟีเจอร์แล้วจะเป็นดังนี้

สเปคของคีย์บอร์ดเกมมิ่ง รูปแบบและการเชื่อมต่อ สวิตช์ ฟังก์ชั่นบนคีย์บอร์ด ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้และซอฟท์แวร์เฉพาะ ราคา
HyperX Alloy Origins Full-size 104 ปุ่ม

เชื่อมต่อด้วยสาย USB-C to A
HyperX Switch กดได้ 80 ล้านครั้ง ปุ่ม Multimedia Key

Anti-Ghosting

N-Key rollover 
Windows 7 ขึ้นไป

ใช้ HyperX NGENUITY ปรับแต่งการทำงาน
3,290 บาท
Logitech G613 Full-size 104 ปุ่ม

เชื่อมต่อด้วย LIGHTSPEED USB Wireless

Bluetooth
Logitech ROMER-G กดได้ 70 ล้านครั้ง ปุ่ม Multimedia Key

Anti-Ghosting

N-Key rollover

มีปุ่มมาโคร 6 ปุ่ม
Windows 8, Mac OS X 10.12, Android 3.2, iOS 10 ขึ้นไป

ใช้ Logitech G HUB ปรับแต่งการทำงาน
3,799 บาท
Corsair K70 RGB MK.2 Full-size 104 ปุ่ม

เชื่อมต่อด้วยสาย USB-A 2.0

มี USB-A Pass-Through
Cherry MX Brown กดได้ 50 ล้านครั้ง ปุ่ม Multimedia Key

Anti-Ghosting

N-Key rollover
Windows

ใช้ Corsair iCUE ปรับแต่งการทำงาน
3,990 บาท
Cooler Master MasterKeys MK750 Full-size 104 ปุ่ม

เชื่อมต่อด้วยสาย USB-C to USB-A
Cherry MX Switch กดได้ 50 ล้านครั้ง เลือกได้ทั้ง Tactile, Linear หรือ Clicky ปุ่ม Multimedia Key

Anti-Ghosting

N-Key rollover
Windows

ใช้ Cooler Master Portal ปรับแต่งการทำงานได้ หรือจะตั้งค่าบนตัวคีย์บอร์ดเลยก็ได้
3,390 บาท
SteelSeries Apex 7 Full-size 104 ปุ่ม

เชื่อมต่อด้วยสาย USB
SteelSeries QX2 กดได้ 50 ล้านครั้ง เลือกได้ทั้ง Tactile, Linear หรือ Clicky มีจอ OLED และลูกล้อเอาไว้ใช้คุมการทำงานโดยเฉพาะ

Anti-Ghosting

N-Key rollover

บันทึก Macro ได้ 5 แบบ
Windows 7, Mac OS X 10.11 ขึ้นไป, Xbox, PlayStation

ใช้ SteelSeries Engine ปรับแต่งการทำงาน
5,290 บาท
Razer Huntsman Elite Full-size 104 ปุ่ม

เชื่อมต่อด้วยสาย USB
Razer Optical Switch กดได้ 100 ล้านครั้ง เลือกได้ทั้ง Linear หรือ Clicky ปุ่ม Multimedia Key

Anti-Ghosting

N-Key rollover

บันทึก Macro ได้ 5 แบบ

Razer Hypershift สำหรับสลับฟังก์ชั่นบนคีย์บอร์ด
Windows

ใช้ Razer Syanapse 3 ตั้งค่าการทำงานและเซฟโปรไฟล์ไว้ใน Cloud ของ Razer
7,390 บาท

ถึงจะเห็นว่าคีย์บอร์ดเกมมิ่งมีตั้งแต่ราคาพันต้นไปจนเกือบหลักหมื่นเลยทีเดียว แต่ข้อดีคือเรื่องของฟีเจอร์และสวิตช์ที่ออกแบบมาอย่างดี ทำให้ใช้งานได้หลายปีโดยไม่มีปัญหาและประกันอุปกรณ์คอยซัพพอร์ตอีกด้วย ซึ่งเกมเมอร์คนไหนที่อยากลงทุนกับเกมมิ่งคีย์บอร์ดดี ๆ สักตัวเอาไว้เล่นเกมล่ะก็ แนะนำให้ลงทุนสักหน่อย เชื่อว่านอกจากจะคุ้มแล้วยังใช้งานต่อเนื่องได้หลายปีอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องฟีเจอร์นั้นขึ้นอยู่กับความชอบว่าต้องการฟีเจอร์ไหนเป็นพิเศษ ก็เลือกดูจากที่ผู้เขียนแนะนำหรือจะลองดูเองตามแบรนด์ที่ชอบก็ได้

ส่วนเรื่องราคา ถึงใครเห็นว่าแพงจนแทบเท่ากับชิ้นส่วนอื่นในคอมพิวเตอร์ของเราล่ะก็ ส่วนตัวผู้เขียนเห็นว่าถ้าใครเล่นเกมหนักและยังคง Work From Home อย่างต่อเนื่องล่ะก็ การลงทุนคีย์บอร์ดดี ๆ เอาไว้ใช้สักตัวถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะมันสามารถหาเงินให้เราได้และให้สัมผัสการพิมพ์ที่แตกต่างจากคีย์บอร์ดแบบ Rubber dome ที่ราคาหลักร้อยบาทอย่างแน่นอน


บทความที่เกี่ยวข้อง

neolution esport cover

keyboard cover

gaming keyboard

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ไม่ว่าจะคอมทำงานหรือเกมมิ่ง จอคอม 24 นิ้ว เป็นขนาดที่หลายคนเลือกซื้อมาใช้ เพราะได้ภาพคมชัดดีและมีความละเอียด 1080p ยืนพื้นมาให้ จึงได้ภาพคมชัดพอใช้ทำงานได้ดีไม่มัวหรือแตกแถมใช้สเปคคอมไม่เยอะมาก ถ้าอิงกับการสำรวจสเปคคอมของ Steam แล้ว เกมเมอร์ก็ยังนิยมหน้าจอ Full HD อยู่ไม่เสื่อมคลายเพราะกินสเปคเครื่องไม่มาก ขอแค่การ์ดจออยู่ในระดับกลางราคาหลักหมื่นบาทไม่เกี่ยงจะค่ายแดงหรือเขียวก็ตั้งค่ากราฟิคเอาไว้ระดับสูงสุดแล้วเล่นเกมได้สบายๆ ไม่ต้องเปลืองเงินเกินจำเป็นนัก หากจำกันได้เมื่อ 3~4 ปีก่อน จอคอม 24 นิ้วจะมีราคายืนพื้นอยู่ช่วง...

Buyer's Guide

ในตอนนี้คีย์บอร์ดแมคคานิคอลได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของใครๆ ไม่ว่าจะใช้เป็นอุปกรณ์ทำงานหรือเล่นเกมก็ต้องมีติดโต๊ะเอาไว้ใช้ทั้งนั้น แถมราคาก็ถูกลงอย่างต่อเนื่องจากแต่ก่อนต้องมีเงินหลักหลายพันบาทก็ลดลงมาจนมีเพียงหนึ่งพันบาทต้นๆ ก็ซื้อมาใช้ได้แล้วแถมยังตอบรับกระแส Custom Keyboard แถมตัวถอดสวิตช์กับคีย์แคปมาให้ถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ตามใจ จะปรับแต่งต่อก็ว่าไปตามใจ เรียกว่าใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากินก็ได้หรือจะทำเป็นงานอดิเรกของสะสมก็ดี โดยเฉพาะคนต้องพิมพ์งานทั้งวันน่าจะถูกใจ คีย์บอร์ดแมคคานิคอลน่าใช้ไหม มีข้อดีอย่างไร? คีย์บอร์ดแมคคานิคอลจะมีทั้งรุ่นถอดสวิตช์ไม่ได้และถอดได้แบบ Hot-swappable หลายคนนิยมแบบ Hot-swappable เพราะสามารถถอดเปลี่ยนสวิตช์ได้ตามชอบ ซึ่งปัจจุบันมีทั้ง 3, 5 ปุ่ม ดังนั้นก่อนซื้อสวิตช์มาเปลี่ยนต้องดูช่องบนแผ่นปริ้นท์ให้ดีก่อน บางรุ่นนอกจากต่อสายแล้ว ยังมีสวิตช์เปลี่ยนโหมดเชื่อมต่อด้วย...

Accessories review

HyperX Pulsefire Haste 2 Core และ HyperX Pulsefire Haste 2 Mini รุ่นใหม่ 2 ไซซ์ จับง่ายเข้ามือ น้ำหนักอย่างเบา 59 กรัม! HyperX Pulsefire Haste 2 Core และ...

Gaming Gear

แมคคานิคอลคีย์บอร์ดไร้สายนอกจากเป็นเกมมิ่งเกียร์ติดโต๊ะคอมประจำบ้านแล้ว หลายๆ คนก็ซื้อมาใช้ทำงานในออฟฟิศเพราะสัมผัสเวลาพิมพ์งานดี ได้อารมณ์กว่าคีย์บอร์ดทั่วไปคนละชั้นไม่พอ ตอนนี้ก็หาซื้อได้ง่ายไม่แพ้กันทั้งหน้าร้านค้าจริงหรือออนไลน์ก็มีตัวเลือกมากมายตั้งแต่หลักร้อยบาทประกอบมาสำเร็จรูปพร้อมใช้งานหรือไปหลักพันบาทกลาง ดีไซน์มาให้เจ้าของปรับแต่งต่อได้แทบทุกส่วนตามรสนิยมของผู้ใช้จนกลายเป็นงานอดิเรกใหม่ของใครหลายๆ คนไปโดยปริยาย เลือกแมคคานิคอลคีย์บอร์ดไร้สายอย่างไรดี? แมคคานิคอลคีย์บอร์ดไร้สายมักเชื่อมต่อด้วย USB RF 2.4GHz และบางรุ่นอาจรองรับ Bluetooth ด้วย แมคคานิคอลคีย์บอร์ดไร้สายหลายรุ่นในปัจจุบันสามารถกดสลับเลย์เอาท์ระหว่าง Windows หรือ macOS ได้ด้วยคีย์ลัดบนคีย์บอร์ด นอกจากคอมพิวเตอร์แล้ว แมคคานิคอลคีย์บอร์ดไร้สายก็ต่อ Bluetooth ใช้กับแท็บเล็ตได้ด้วย...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก