โปรแกรม Super PI ใช้วิธีการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้หยุด โปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่า ให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
การคำนวณผลของ SuperPI ใช้เวลาไป 14.6 วินาที เวลาที่ได้จากการประมวลผลด้วยแกนเดียวต้องบอกว่าไวมาก เพราะว่า Intel Core i7 740QM สามารถทำ Turbo Boost ไปได้ถึง 2.93 GHz
โปรแกรม Hyper PI ใช้หลักการคำนวณเหมือนกับ Super PI แต่สามารถสั่งให้ทุก Thread ของ CPU คำนวณได้พร้อมกัน
ผลของโปรแกรม HyperPI สำหรับ CPU ตัวนี้ใช้เวลาในการคำนวณไป 32 ? 34 วินาทีกว่า ๆ หัวเยอะแต่ความเร็วพื้นฐานจริง ๆ ค่อนข้างต่ำทีเดียว เลยเสียเวลาในการคำนวณไปเยอะ
สรุปจากกราฟจะเห็นได้กว่าเครื่อง MSI GT663R ยังประมวลผลการทำงานพร้อมกันหลาย ๆ คอร์ช้า เพราะความเร็วที่เป็นฐานนั้นค่อนข้างต่ำมาก ๆ มันจะทำงานเร็วกว่าได้จริง ๆ ก็เพราะมี Turbo Boost ช่วยหนุนหลังให้นั่นเอง
เวลาที่ใช้ในการคำนวณกับโปรแกรม wPrime ก็ดูค่อนข้างเร็วครับ 1024M ใช้เวลาไปเกือบ ๆ 11 นาที ถ้าเป็น Intel Atom นี้เป็นชั่วโมง ๆ เลยครับ
โปรแกรม PCMark05 ใช้สำหรับการทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การคำนวณทางฟิสิกส์ การเข้ารหัสไฟล์ภาพยนตร์เพื่อสร้างคะแนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพออกมา
คะแนน PCMark05 ที่ออกมายังนับว่าสูงอยู่มากในทุก ๆ ส่วนประกอบ แค่คะแนนที่ได้ยังน้อยกว่าของ GX660 อาจจะเป็นที่เครื่องที่ไม่สามารถผ่านการทดสอบของโปรแกรมได้ทั้งหมด ทำให้คะแนนที่ออกมาน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในการทดสอบ
โปรแกรม 3DMark06 ใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการประมวลผลของ GPU โดยทดสอบทั้ง High Dynamic Range, Shader Model 3.0 รองรับ CPU ทั้ง Single Core และ Multi Core
การ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 460M พร้อมแรมวีขนาด 1.5 GB เยอะขนาดนี้ก็เพื่อจะให้รองรับหน้าจอความละเอียด 1920 x 1080 ได้เต็มที่ แต่เนื่องจากการ์ดจอตัวนี้ยังไม่ใช่ตัวที่ดีที่สุดของทาง NVIDIA ประสิทธิภาพที่ได้จริง ๆ ก็เลยลดไปมาก การที่มีหน้าจอความละเอียด 1920 x 1080 คงจะตอบสนองคนที่อยากดูหนัง Blu-Ray มากกว่าคนเล่นเกมครับ
*ส่วนกราฟใช้ความละเอียดนี้ เพราะเป็นขนาดมาตรฐานเดียวที่สองเครื่องนี้มีเหมือนกัน
Game Benchmark : Crysis WARHEAD ความละเอียด 1280 x 720 Gamer AA 0X
ผลการทดสอบอีกหนึ่งเกมที่กินสเปกเครื่องเกินงาม Crysis WARHEAD ไม่ว่าจะเปิดความละเอียด 1280 หรือ 1920 ผลที่ได้ออกมาก็ดูไม่แตกต่างกันมากเท่าไร ถ้าเป็นแบบนี้เปิดอันที่เล่นแล้วไม่รู้สึกมึนหัวก็แล้วกันครับ