Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

Review – Linksys VELOP ขยายสัญญาณ ต่อเน็ตไม่มีสะดุดแม้ในวันมามาก

เชื่อว่าหลายคนที่มีบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ หรือทาวน์โฮม 3 ชั้น อาจจะพบเจอกับปัญหา Wi-Fi ไม่พอเล่น หรือไม่คลอบคลุมทั้งบ้าน ไปไกลหน่อยไวไฟก็หลุด เล่นเกมกระตุก บางครั้งเข้าห้องน้ำในมุมอับก็ไม่มีสัญญาณแล้ว วันนี้ทาง Linksys มีทางออกแบบง่ายๆ มานำเสนอกับ Linksys VELOP เพิ่มโหนดนิด ไวไฟแรงขึ้นอีกบาน

LINKSYS VELOP 4

Advertisement

Linksys ได้พัฒนาสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีนี้ด้วย โดยที่เราจะรีวิวกันในวันนี้คือ Linksys VELOP นอกจากที่เป็น Mesh Wi-Fi แล้ว ยังมีอีกหนึ่งในจุดเด่นก็คือ ทาง Linksys ได้การันตีว่าความเร็วจะไม่ลดลงใน Hops ถัดไป เนื่องจากมีการใช้คลื่นความถี่ 5 GHz สองย่านความถี่ ทำให้สามารถแบ่งย่านความถี่นึงไปใช้รับ-ส่งข้อมูลกับตัว VELOP ด้วยกัน และอีกคลื่นความถี่ใช้สำหรับสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อ เช่น สมาร์ทโฟน โน๊ตบุ๊ค ส่วนสเปคของอุปกรณ์มีดังนี้

Specification Linksys VELOP

  • Wi-Fi AC 2200 mu-mimo (ต่อ 1 Node)
  • Wi-Fi Tri-Band (คลื่นความถี่ 2.4 GHz, คลื่นความถี่ 5 GHz ย่านที่ 1, คลื่นความถี่ 5 GHz ย่านที่ 2)
  • IEEE 802.11 b/g/n – 2.4 GHz – 256 QAM
  • IEEE 802.11 n/ac – 5 GHz – 256 QAM
  • เทคโนโลยี Beamforming
  • Seamless roaming technology หรือที่รู้จักกันในชื่อ Fast Handover
  • CPU 716 MHz Quad Core
  • Ram 512 MB
  • Rom 4 GB
  • เสาอากาศ 6 เสา
  • LAN Gigabit 10/100/1000
  • Bluetooth 4.0
  • รองรับการเข้ารหัสแบบ WPA2
  • รองรับการตั้งค่าผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน

เทคโนโลยีที่จะนำเสนอในวันนี้คือ Mesh (เมช) Wi-Fi หรือการเชื่อมต่อแบบใยแมงมุมที่ทุกเครื่องเชื่อมต่อหาถึงกันทั้งหมด (ดูได้จากภาพ) ทำให้เมื่อเครื่องใดเครื่องใดเครื่องหนึ่งหลุดออกไปจากระบบ ระบบจะไม่ล่ม เพราะมันจะไปใช้เส้นทางอื่นแทนเส้นทางที่ขาดไป ก่อนหน้านี้เราใช้วิธีการขยายสัญญาณอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายด้วย Repeater หรือ Range Extender ซึ่งคุณภาพอินเทอร์เน็ตที่ได้มันไม่ดีเลย แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงสินค้าผมอยากให้ทุกคนเข้าใจเรื่องของ Mesh Wi-Fi กันก่อน

Fully connected mesh network.svg

หนึ่งในคำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมก่อนหน้านี้ Mesh Wi-Fi ไม่ได้รับความนิยมทั้งที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เพราะข้อเสียของระบบ Mesh คือ มีค่าใช้จ่ายสูงมาก และ ข้อจำกัดในเรื่องของ Bandwidth (ความกว้างของช่องสัญญาณ) ที่จะลดลงใน Hops ถัดไปครึ่งนึง เพราะต้องแบ่ง Bandwidth ครึ่งนึงเป็นข้างรับ และอีกข้างหนึ่งเป็นข้างส่ง จึงเกิดปัญหาคอขวด และเมื่อขยายออกไปไกลๆ แล้ว มันแทบจะไม่เหลืออะไรให้เราใช้เลย ในที่นี้ผมขออธิบายตามทฤษฎีก่อน เพราะยังไงการใช้งานจริงมันก็ไม่ได้ตามทฤษฎีอยู่แล้ว

Velop 08

เช่น Hops 1. Router -> Hops 2. Repeater -> Hops 3. Repeater -> เครื่องของเรา (3ต่อ) พบว่าถ้าใช้งานตามนี้ Bandwidth จะลดลงมากๆ ใน Wi-Fi  N บนคลื่นความถี่ 2.4 GHz ดังนี้ 300 Mbps -> 150 Mbps -> 75 Mbps -> 36 Mbps และยิ่งในยุคที่เน็ตบ้าน 100 Mbps เดือนนึงเหลือไม่ถึง 1000 บาทต่อเดือน ถ้านำมาใช้กับระบบนี้แค่ไม่กี่ต่อความเร็วก็ไม่ถึง 100 Mbps แล้ว นี่ยังไม่นับอุปสรรคอย่างอื่นอีก เช่น คลื่นรบกวน กำแพงบ้านที่หนามากๆ และอีกมากมาย

Velop 02 e1528205782125

Hops คืออะไร ให้คิดง่ายๆ ว่ามันคือ Router Repeater Range Extender หรืออะไรทำนองนั้น  หรือมันคือเส้นทางที่จากเครื่องของเราไปยังปลายทาง เช่นเราต้องการเข้าเว็บไซต์สักเว็บไซต์นึง Router จะค้นหาเส้นทางจากบ้านของเรา ไปยังเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง เช่น จาก Router ที่บ้านเรา -> ชุมสายในหมู่บ้าน -> ชุมสายของเขต -> เซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ จะได้ทั้งหมด 4 Hops เป็นต้น

Velop 06

แต่ Mesh แบบสมัยใหม่ได้ทำการแก้ปัญหา หรือทำให้ปัญหาลดลงแล้ว เนื่องจากการนำเทคโนโลยี Wi-Fi AC คลื่นความถี่ 5 GHz มาประยุกต์ใช้งาน โดยที่ Wi-Fi AC คลื่นความถี่ 5 GHz มี Bandwidth ที่กว้างกว่า Wi-Fi  N คลื่นความถี่ 2.4 GHz มาก ทำให้เมื่อเราใช้งาน  Repeater บน Wi-Fi AC คลื่นความถี่ 5 GHz ฺจะพบว่า Bandwidth ที่ลดลงในแต่ละ Hops จะลดลงไปจริง แต่ก็ไม่ได้ลดลงไปต่ำกว่าความเร็วอินเทอร์เน็ตที่เราสมัครกับผู้ให้บริการ ในที่นี้ขอตั้งไว้ที่ไม่เกิน 200 Mbps

Wi-Fi AC คลื่นความถี่ 5 GHz มี Bandwidth กว้างถึง 867 Mbps ถ้าหารสองจะเหลือ 430 Mbps  (867 Mbps -> 430 Mbps -> 215 Mbps -> 100 Mbps) กว่าความเร็วจะลดลงต่ำกว่า 100 Mbps ก็ขยายไปได้ไกลกว่า Wi-Fi N คลื่นความถี่ 2.4 GHz มาก จึงเป็นที่มาของ Mesh Wi-Fi สมัยใหม่ที่พัฒนาออกมาแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดี

Velop 09

สิ่งหนึ่งที่ผมว่าหลายคนตั้งคำถาม “ก็ซื้อ Repeater ที่ใช้ Wi-Fi AC ไปเลยสิ จะยากอะไร” ผมบอกเลยว่าการจะหา Repeater ที่มีคุณภาพดีๆ ราคามันก็ไม่ได้ถูกเลย และการตั้งค่าไม่ได้ง่ายแบบนี้แน่นอน

การเข้ามาของ Mesh เป็นการพยายามแก้ไขปัญหาการกระจัดกระจายของ Access Point ที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมที่ศูนย์กลาง โดยการทำให้ทุกอย่างรวมอยู่ที่ศูนย์กลางที่เดียว เหมือนกับว่าเป็นการรวมกลุ่มก้อน Wi-Fi หลายๆ ก้อน ให้เป็นก้อนใหญ่เดียว (ดูได้จากภาพ)

Velop 03

แน่นอนว่าทาง Linksys ได้พัฒนาสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีนี้ด้วย โดยที่เราจะรีวิวกันในวันนี้คือ Linksys VELOP นอกจากที่เป็น Mesh Wi-Fi แล้ว ยังมีอีกหนึ่งในจุดเด่นก็คือ ทาง Linksys ได้การันตีว่าความเร็วจะไม่ลดลงใน Hops ถัดไป เนื่องจากมีการใช้คลื่นความถี่ 5 GHz สองย่านความถี่ ทำให้สามารถแบ่งย่านความถี่นึงไปใช้รับ-ส่งข้อมูลกับตัว VELOP ด้วยกัน และอีกคลื่นความถี่ใช้สำหรับสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อ เช่น สมาร์ทโฟน โน๊ตบุ๊ค ส่วนสเปคของอุปกรณ์มีดังนี้

 

LINKSYS VELOP 1 LINKSYS VELOP 2

LINKSYS VELOP รุ่นที่ทีมงานได้มาทดสอบ เป็นแบบ 2 โหนด ตามกล่องมีโชว์ 2 เครื่อง และฟีเจอรืแนะนำการใช้งานเบื่องต้น

LINKSYS VELOP 3

อุปกรณ์ภายในกล่องประกอบไปด้วยคู่มือ Adapter สาย LAN 1 เส้น และหัวแปลงปลั๊ก

LINKSYS VELOP 6

LINKSYS VELOP 5 LINKSYS VELOP 7

Design ภายนอกของ Linksys VELOP เป็นแท่งสี่เหลี่ยมสีขาว ขนาดไม่ใหญ่มาก หน้าตาดูดีเรียบหรู สำหรับวัสดุที่ใช้จะเป็นพลาสติกทั้งหมด โดยที่จะมีสองด้านที่เป็นแบบทึบ และอีกสองด้านที่เป็นแบบเจาะรู้ระบายอากาศ

LINKSYS VELOP 8

ด้านบนประกอบไปด้วยช่องระบายอากาศและไฟแสดงสถานะ

LINKSYS VELOP 9

ด้านล่างจะมาพร้อมกับยางรองกันลื่นด้วย และด้านในจะพบกับพอร์ตการเชื่อมต่อ และปุ่มควบคุมต่างๆ ประกอบไปด้วย Port LAN Ethernet แบบ 10/100/1000 จำนวน 2 พอร์ต รองรับความเร็วสูงสุด 1 Gbps ปุ่ม Reset ช่องต่อไฟเลี้ยง สวิทช์เปิด-ปิดอุปกรณ์ นอกจากนี้ได้มีการออกแบบให้บริเวณมุมของอุปกรณ์สามารถเก็บสายไฟได้ด้วย

ความหมายของไฟแสดงสถานะต่างๆ

  • ไฟสีฟ้ากระพริบ อุปกรณ์กำลังเริ่มทำงาน
  • ไฟสีฟ้า อุปกรณ์ทำงานปกติ
  • ไฟสีม่วงกระพริบ อุปกรณ์เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน และพร้อมสำหรับการตั้งค่า
  • ไฟสีม่วง อุปกรณ์พร้อมสำหรับการตั้งค่า
  • ไฟสีแดงกระพริบ อุปกรณ์หลุดการเชื่อมต่อจาก Node หลัก
  • ไฟสีแดง อุปกรณ์หลุดการเชื่อมต่อจากอินเทอร์เน็ต
  • ไฟสีเหลือง อุปกรณ์อยู่ไกลเกินระยะเชื่อมต่อที่เหมาะสมจากระบบ

อุปกรณ์จ่ายไฟจะถูกออกมาให้มีดีไซน์ที่เรียบหรู โดยมีทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส และเมื่อนำไปเสียบกับปลั๊กผนังก็พบว่ามันเข้ากันได้ดี สวย เนียน และดูแพง

LINKSYS VELOP 4

วิธีการติดตั้ง และวิธีการตั้งค่าระบบ

Review Linksys Velop Whole Home Mesh Wi Fi Notebookspec 12

Linksys VELOP ถูกออกแบบมาให้สามารถตั้งค่าได้ง่าย เรียกได้ว่าสำหรับคนที่ไม่ต้องเก่งด้านคอมพิวเตอร์หรือ อินเทอร์เน็ตมาก ก็สามรถตั้งค่าด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน

Velop sw 1

เมื่อเปิดกล่องจะพบว่ามี Node VELOP อยู่ 3 ตัว เราสามารถเลือกใช้ Node ไหนก็ได้ทำงานเป็นตัวหลัก และ Node ตัวอื่นๆ จะทำหน้าที่เป็น Access Point เองแบบอัตโนมัติ หลังจากที่เชื่อมต่ออุปกรณ์จ่ายไฟแล้ว ให้เปิดแอปพลิเคชันของทาง Linksys และทำการตั้งค่าได้เลย โดยใน Node แรกมีรายละเอียดดังนี้

  1. เปิด Bluetooth ที่สามร์ทโฟน
  2. จากนั้นให้เข้าไปดาว์นโหลดแอปพลิเคชันของทาง Linksys ดังนี้ iOS, Android
  3. เปิดแอปพลิเคชัน และทำตามขั้นตอนที่ขึ้นในหน้าจอ ซึ่งง่ายมาก

ในการตั้งค่า เราเพียงกดปุ่ม Next ไปเรื่อยๆ ตามที่ขึ้นบนหน้าจอ เอาเป็นว่าเข้าใจง่าย และไม่มีอะไรซับซ้อน ตัวระบบจะทำการตั้งค่าให้เองแบบอัตโนมัติ ในส่วนนี้อาจจะต้องใช้เวลานิดนึง Velop sw 2

สำหรับขั้นตอนถัดไปให้หาที่ตั้ง Node ที่สอง และ Node ที่สามตามลำดับ ซึ่งจะเอาไปตั้งตรงไหนก็ได้ตัวแอปพลิเคชันจะเป็นตัวบอกเราเองว่าเราตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วหรือยัง

จากนั้นเปิดแอปพลิเคชันกดปุ่มเพิ่ม Node VELOP และทำตามขั้นตอนได้เลย การตั้งค่าจะส่งจาก Node แรกไปยัง Node ถัดไปให้แบบอัตโนมัติ

ข้อแนะนำ เมื่อมีการย้ายสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ที่ผ่านการตั้งค่าแล้ว ควรที่จะจำว่าตัวไหนเป็นตัวหลักไว้ด้วย เพราะผมเคยเก็บอุปกรณ์แล้วจะนำมาต่อใช้งานอีกครั้ง พบว่าหา Node หลักไม่เจอ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ต้องตั้งค่าใหม่

Software

Velop app 1

Linksys VELOP สามารถเข้าสู่ส่วนตั้งค่าได้ 2 วิธี คือ บนแอปพลิเคชัน และผ่านหน้าเว็บ

Moblie Application iOS / Android

ในการตั้งค่าผ่านแอปพลิเคชันเรียกได้ว่าสามารถตั้งค่าส่วนหลักๆ ของ Router ได้ทั้งหมดเลยก็ว่าได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • แดชบอร์ด เป็นหน้าที่แสดงภาพรวมของระบบให้ดูเข้าใจง่าย
  • อุปกรณ์ เป็นหน้าที่แสดงอุปกรณ์ที่กำลังเชื่อมต่อกับ VELOP
  • การตั้งค่า Wi-Fi เป็นหน้าที่แสดงการตั้งค่า Wi-Fi เช่น การตั้งชื่อ Wi-Fi
  • การตั้งค่า Guest  Network เป็นหน้าที่เอาไว้ตั้งค่า Guest  Network สำหรับแยกวง Wi-Fi สำหรับแขกที่มาบ้านแล้วเขาอยากใช้งานอินเทอร์เน็ต แต่เราไม่อยากให้เขาเห็นระบบภายใน

Velop app 2

  • การทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต เป็นหน้าที่เหมือนกับยกแอปพลิเคชัน Speedtest มาไว้เลย
  • การควบคุมของผู้ปกครอง เป็นหน้าสำหรับการตั้งค่าควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของบุตรหลาน เช่น ตั้งเวลาใช้งาน
  • การจัดลำดับความสำคัญของอุปกรณ์ เป็นหน้าสำหรับตั้งสิทธิพิเศษในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่นถ้าตั้งให้คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ได้รับสิทธิพิเศษ ไม่ว่าเครื่องอื่นจะโหลดบิตกันหนักหน่วงแค่ไหน เครื่องนี้จะไม่ได้รับผลกระทบ
  • การแจ้งเตือน เป็นหน้าสำหรับแจ้งเตือนเวลา Node ขาดการเชื่อมต่อ

Velop app 3

  • การดูแลระบบ VELOP เป็นหน้าที่แสดงรายละเอียดของ Node ต่างๆ ในระบบ เช่น IP Address ที่ Node นั้นได้รับ
  • การตั้งค่าขั้นสูง จะประกอบไปด้วยการตั้งค่าการรับอินเทอร์เน็ตขาเข้า การตั้งค่าพอร์ต การตั้งค่า MAC Authentication และการตั้งค่า DHCP Server เอาเป็นว่ามันเข้าใจยาก
  • บัญชีผู้ใช้งาน เป็นหน้าที่เอาไว้ตั้งค่าบัญชี Linksys ที่ทำการเชื่อมต่อกับระบบ Cloud และบัญชีผู้ใช้ประจำเครื่อง
  • การตั้งค่าอุปกรณ์ใหม่ เป็นหน้าที่จะเอาไว้เพิ่ม Node VELOP ใหม่เข้าไปในระบบ

Direct Web Service

ในส่วนของการเข้าถึงตั้งค่าด้วยวิธีนี้ เราจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ด้านอินเทอร์เน็ตสักหน่อย ส่วนวิธีการใช้งานก็จะเหมือนกับการ Router ทัวไป ดังนี้

  1. เราจะต้องหา IP Address ของ Router ตัวหลักให้เจอเสียก่อน โดยสามารถหาได้จากการใช้คำสั่ง ipconfig ใน Command Line ของ Windows ได้
  2. เมื่อได้ IP Address ของ Router ตัวหลักแล้ว ให้เราเปิด Browser เช่น Chrome  จากนั้นกรอกเลข IP Address ลงในช่อง Address
  3. เมื่อเข้าไปถึงจะพบว่าระบบจะให้เราตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าสู่ระบบครั้งต่อไปก่อน
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบได้แล้ว จะพบว่าหน้าตา UI จะคล้ายๆ กับบนแอปพลิเคชัน

เมื่อทดลองใช้งานไปสักพักพบว่าตัวแอปพลิเคชันใช้ง่าย และทำความเข้าใจได้ง่าย การตั้งค่าทำได้ลึก และตั้งค่าได้เยอะ ครบถ้วน ตามที่การงานทั่วไปควรที่จะทำได้แล้ว

Performance Test

Review Linksys Velop Whole Home Mesh Wi Fi Notebookspec 14

สำหรับการทดสอบ เราได้ทำการติดตั้ง Linksys VELOP เอาไว้บริเวณจุดต่างๆ ของออฟฟิศ โดยที่ออฟฟิศเป็นทาวน์โฮม 3 ชั้น จึงทำการติดตั้งชั้น 1 และ 3 ส่วนอินเทอร์เน็ตที่เข้าจะเข้าที่ชั้น 1 ส่วนหัวข้อการทดสอบจะแบ่งเป็น การทดสอบระบบไฟฟ้า การทดสอบประสิทธิภาพ และการทดสอบใช้งานจริง

Latency

การทดสอบ Latency หรือค่า Ping ที่หลายคนรู้จักกัน ในการทดสอบหากค่า Ping ที่วัดได้นั้นยิ่งมีน้อยจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการตอบสนองการเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ดี วิธีการทดสอบจะใช้โน๊ตบุ๊คเชื่อมต่อกับ VELOP ด้วย Wi-Fi และย้ายตำแหน่งไปยังจุดต่างๆ ของออฟฟิศทั้ง 3 ชั้น และทำการใช้โปรแกรม Comand Line ใช้คำสั่ง Ping เพื่อ Ping ไปยัง Gateway ของระบบ และ Google Public DNS (8.8.8.8) โดยได้ผลการทดสอบเป็นค่าเฉลี่ยดังนี้

Velop ping test2

จากผลการทดสอบพบว่าค่า Ping ที่ได้ในแต่ละชั้นมีความต่างกันน้อยมากๆ  หากมองว่าระบบทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วย Wi-Fi ค่า Ping ที่ได้น่าประทับใจมาก อย่างไรก็ตามผลการทดสอบนี้มีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมาก เช่นสภาพแวดล้อม วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคาร อาจทำให้ผลการทดสอบเปลี่ยนแปลงได้

Internet Speed

ในหัวข้อการทดสอบนี้เป็นการหาค่าความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ได้จากการใช้งานจริง ซึ่งแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานจะเป็นความเร็ว 80/30 Mbps โดยได้ทำการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ www.speedtest.net และแน่นอนว่าเหมือนกับการทดสอบ Ping ที่จะทำการย้ายไปยังจุดต่างๆ โดยได้ผลการทดสอบดังนี้

Velop speed test2

จากผลการทดสอบ พบว่าชั้น 3 ได้ความเร็วเต็มๆ แต่พอลงมาชั้น 2 พบว่าความเร็วลดลงครึ่งนึง และเมื่อลงไปชั้น 1 ความเร็วจะลดลงอีกเล็กน้อย เอาจริงๆ ผมเองก็แปลกใจเล็กน้อย ไม่คิดว่าความเร็วที่ได้จะลดลงขนาดนี้ แต่อย่างไรก็ตามผลการทดสอบนี้มีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมาก เช่นสภาพแวดล้อม วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคาร ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคของสัญญาณ Wi-Fi ได้

การทดสอบใช้งานจริง

ก่อนอื่นเลยผมขอทดสอบการเล่นเกม Dota 2 ก่อนเลย บททดสอบนี้จัดว่าเป็นบททดสอบที่วัดประสิทธิภาพของสัญญาณอินเทอร์เน็ตว่ามีความนิ่งพอที่จะเล่นเกมที่ต้องการ การตอบสนองที่ดีมากได้หรือไม่

ผลการทดสอบพบว่า ทำได้ดีมาก ไม่ว่าจะเล่นเกมทีชั้นไหนของบ้าน Ping ยังนิ่ง มีแปรผันขึ้นลงไม่เกิน 5 ms และค่า Ping สูงสุด พบว่าไม่เกิน 50 ms ทำให้เล่นเกมได้ลื่นไม่มีกระตุกหัวร้อน แม้ว่าจะอยู่ส่วนไหนของบ้านก็ตาม ในตอนแรกผมคิดว่ามันจะ Ping เยอะกว่านี้ เนื่องจากการเชื่อมต่อระหว่าง Node เป็น Wi-Fi จึงถูกรบกวนจากสัญญาณรบกวนได้ง่าย

ส่วนบททดสอบถัดไปจะเป็นการทดสอบดู Live Steam ความละเอียด 1080p แล้วเดินจากชั้น 3 ไป ชั้น 1 พบว่าลื่นไม่มีสะดุด ไม่มีอาการหมุน ขาดตอนในการรับชม เรียกได้ว่าผ่านบทบทสอบนี้ได้สบายเลย

และสุดท้ายเมื่อเปิดดูขีดวัดระดับสัญญาณในหน้าตั้งค่าของสมาร์ทโฟนแล้วพบว่าเต็ม 3 ขีดตลอด หมายความว่าสัญญาณเต็มทั่วบ้าน ไม่ทีจุดไหนสัญญาณอ่อน เหมือนที่ได้เคลมไว้

linksysvelop 4

สรุปรีวิว Linksys VELOP Mesh Wi-Fi

Linksys VELOP เหมาะกับผู้ที่ต้องการขยายวง Wi-Fi ให้มีพื้นที่ครอบคุมเพิ่มมากขึ้นด้วยวิธีการที่ง่าย และมีสัญญาณที่ได้มีคุณภาพ หรือบ้านที่ไม่สะดวกเดินสายแลนไปยังส่วนต่างๆ ของบ้าน ฟีเจอร์ระดับสูงที่ให้มาเพียงพอ หรืออาจจะเกินพอสำหรับใช้งานในบ้านด้วยซ้ำ ดีไซน์ที่ดูดี ไม่กินพื้นที่ในการวาง แอปพลิเคชันที่ใช้ง่าย ขนาดที่ว่าถ้าเล่น Line ได้ก็ต้องใช้แอพนี้ได้เช่นกัน ประสิทธิภาพที่เชื่อมั่นได้ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของบ้านสัญญาณจะเต็มตลอด

และสุดท้ายนี้สำหรับใครที่กำลังมองว่าอุปกรณ์มีราคาสูง ผมบอกเลยฟีเจอร์ และความง่ายระดับนี้ ราคานี้สมเหตุสมผลแล้ว ถ้าประหยัดค่าอุปกรณ์ไปใช้รุ่นที่ถูกกว่า คุณก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของความรู้ความสามารถในการตั้งค่าให้มันใช้งานได้แบบนี้ สุดท้ายแล้วอาจจะวุ่นวาย ไม่จบงานสักทีก็ได้ หรือใครจะเดินสาย LAN แล้วติดตั้ง Access Point ก็ทำได้เช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วคุณก็ต้องมาตั้งค่าเองอยู่ดี ซึ่งแน่นอนยากกว่านี้ ดังนั้น Linksys VELOP พยายยามทำให้ทุกอย่างดูง่ายเพียงแค่ไม่กี่ขั้นตอน สำหรับใครที่สนใจตอนนี้ได้วางจำหน่ายในร้านค้าชั้นนำแล้ว

ส่วนในเรื่องของราคา และควรเลือกรุ่นไหนดี ผมคิดว่าควรจะซื้อ 2 Node ขึ้นไป เพราะในเรื่องของความคุ้มค่าด้วยส่วนหนึ่ง และที่สำคัญเลยคือ ถ้าไม่ใช้ความสามารถ Mesh Wi-Fi ก็ควรที่จะดูเป็นรุ่นอื่นมากกว่า

มาที่คำถามถัดไป บ้านขนาดไหนควรใช้กี่ Node? สำหรับบ้านที่ไม่ใหญ่มาก เช่น บ้านเดี่ยวขนาดกลาง บ้านทาวน์โฮม 2 ชั้น หรือเล็กกว่า คิดว่า 2 Node ก็พอ แต่สำหรับบ้านที่มีขนาดใหญ่ หรือบ้านที่มี 3 ชั้น ควรที่จะซื้อแบบ 3 Node ไปเลยจะได้ “ซื้อแล้วจบ” ไม่ต้องกังวลว่าสัญญาณจะครอบคลุมทั่วบ้านไหม

ข้อดี

  • อุปกรณ์มีประสิทธิภาพสูง รองรับการใช้งานในอนาคตได้อีกหลายปี
  • Ping ต่ำ เนียนเหมือนใช้สาย
  • เชื่อมต่อไม่มีสะดุด การสลับการใช้งาน Access Point ต่างๆ ทำได้เร็ว
  • พื้นที่ครอบคุลมกว้างมาก รับมือบ้านขนาดใหญ่ได้
  • เทคโนโลยีระดับสูง เช่น Tri-Band Wi-Fi, MU-MIMO, Cloud Controller
  • ติดตั้งง่าย

ข้อสังเกต

  • มีราคาสูง
  • มีข้อจำด้านประสิทธิภาพในบางพื้นที่

ราคาและรุ่นที่จัดจำหน่าย (ประกัน 3 ปี)

  • Linksys VELOP 2 Node ราคา 9,990 บาท (ราคาต่อ Node ประมาณ 5,000 บาท)

สั่งซื้อได้ที่ : [onlineicon type=”jib-icon”]

  • Linksys VELOP 3 Node ราคา 17,990 บาท (ราคาต่อ Node ประมาณ 6,000 บาท)

สั่งซื้อได้ที่ : [onlineicon type=”jib-icon”]

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ตัวกระจายสัญญาณ WiFi แบบ Mesh Router ช่วยเน็ตแรงทั้งบ้านไม่ต้องสลับเครือข่ายไปมา! ตัวกระจายสัญญาณ WiFi แบบ Mesh Router เป็นอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ทั่วบริเวณบ้านและออฟฟิศซึ่งดีไม่แพ้ WiFi Repeater ที่เคยแนะนำไปก่อนหน้านี้ ถ้า Repeater สามารถเชื่อมกับ Router รุ่นไหนก็ได้ไม่เกี่ยงแบรนด์ขอแค่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตส่งมาถึงก็ใช้งานได้เลย แต่ก็จะแยกคลื่นสัญญาณเป็นอีกชื่อและต้องเชื่อมต่อใหม่เวลาจะใช้งาน ผิดกับ Mesh Router...

Special Story

เทคโนโลยีใหม่อย่าง WiFi 7 จ่ายวันนี้ใช้ได้ยาวไม่ต้องอัพเกรดบ่อย! เมื่อไม่นานมานี้ Wi-Fi Alliance ได้ทำการรับรอง WiFi 7 อย่างเป็นทางการแล้ว หากนับจากวันที่เริ่มต้นอนุมัติครั้งแรกเมื่อปี 2019 แล้วก็เป็นเวลา 5 ปี ก่อนจะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการพร้อมใช้งานและมีสินค้าให้เลือกซื้อได้แล้วด้วย ซึ่งทาง Wi-Fi Alliance เองก็นิยามว่า WiFi 7 จะเน้นเรื่องความเร็ว,...

Buyer's Guide

Mesh WiFi อุปกรณ์ช่วยให้เน็ตแรงทั้งบ้าน เซ็ตอัพง่ายน่าใช้มาก! Mesh WiFi เป็นคำที่ผู้ใช้หลายๆ คนน่าจะได้ยินผ่านหูจากเพื่อนที่เก่งเรื่องคอมพิวเตอร์เมื่อเราเปิดปากพูดว่า “ไวไฟในบ้านไม่แรงเลย ทำยังไงดี?” ซึ่งอันที่จริงแล้ว นอกจากการเปลี่ยน Router ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระจายสัญญาณได้ดีกว่าเดิมก็ตาม แต่ในบางส่วนที่เป็นพื้นที่อับสัญญาณก็จะรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้แย่ลงได้เช่นกัน ยิ่งถ้าใครใช้อุปกรณ์ประเภท IoT ในบ้านหลายชิ้น จะยิ่งรู้สึกได้เลยว่าสัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่ดีเชื่อมต่ออุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ ไม่ได้เสียด้วยซ้ำไปAdvertisement ซึ่งอุปกรณ์จำพวก Mesh, Extender...

PC Zone

ASUS ROG Rapture GT6 ระบบ Mesh Wi-Fi รุ่นใหม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน Gamescom 2022 อัปเกรดรองรับ tri-band Wi-Fi 6 เพิ่มความแรงให้กับเครือข่ายไร้สายในบ้านคุณ ถือว่ายืนหนึ่งมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องจริงๆ กับแบรนด์ ASUS ที่ล่าสุดได้ใช้โอกาสในงาน Gamescom 2022 ที่นอกจากจะมีการเปิดตัวเราเตอร์รุ่นท๊อปสำหรับนักเล่นเกมอย่าง Rapture GT-AXE16000(เราเตอร์สำหรับการเล่นเกมตัวแรกของโลกที่รองรับ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก