โปรแกรม Super PI คือการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่งต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
Super PI นั้นจะใช้สเปกซีพียู Core i ที่มี 4 Threads ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ (แต่ก็เป็นโปรแกรมที่สามารถทดสอบ Turbo Boost ได้สูงสุด จะเห็นได้จากความเร็วสูงสุดที่ 2.926 GHz)
ซีพียู Intel Core i5 รุ่นใหม่อย่าง i5-520M ของ Toshiba Qosmio F60 สามารถทำเวลาได้ 15.756 วินาที ในการคำนวณค่า PI 1M
มีประสิทธิภาพที่เรียกได้ว่าแรงไม่แพ้รุ่นพี่เลย ประสิทธิภาพเหนือกว่าในรุ่นล่างๆ อย่างเห็นได้ชัด
Hyper PI
มีหลักการทำงานคล้ายๆ กับ Super Pi แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่ง???? แน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
Hyper PI จะเป็นโปรแกรมที่สามารถทดสอบซีพียูหลาย Threads ได้ดีที่สุด เพราะสามารถทดสอบตั้งแต่ 2 Core จนถึงหลาย Core ได้เลย รันเต็ม 100% แน่นอนครับ
ทำเวลาได้ออกมาน่าประทับใจเลยทีเดียว
เป็นโปรแกรมที่เน้นทดสอบความแรงด้านกราฟิก 3D ของซีพียู นิยมนำมาทดสอบเพื่อวัดประสิทธิภาพของซีพียูเป็นหลักครับ
ผลทดสอบจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ทดสอบแบบ Core เดียว (1 CPU) ซึ่งได้คะแนน 2962 CB และการทดสอบแบบหลาย Core (x CPU) ได้คะแนนที่ 6737 CB
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 640 GB
จากการทดสอบความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลจะอยู่ที่ 86.6 Mb ต่อวินาที ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 18.5 ms (ยิ่งน้อยยิ่งดี)
WirelessMon
ความจุสูงแต่ก็ยังมีประสิทธิภาพที่ดีไม่น้อย
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยเชื่อมต่อกับ Access Point ที่มีระยะห่างออกไป 1.5 เมตร และโอนถ่ายข้อมูลจาก PC อีกเครื่องที่อยู่ในวงแลนเดียวกัน
สังเกตได้จากหลายๆ เครื่องจะเห็นว่า เมื่อเข้าสู่ Core I แล้ว จะไม่มีแพลตฟอร์มเซนทริโน 2 อีกต่อไป แต่ละค่ายเริ่มใช้การ์ด WiFi ที่ไม่ใช่ของ Intel กันมากขึ้น ส่วนประสิทธิภาพก็ตามแต่ละยี่ห้อ อย่าง Toshiba Qosmio F60 การ์ด WiFi ที่ติดตั้งมามีประสิทธิภาพค่อนข้างดี มีความเข้มทางสัญญาณสูงและค่อนข้างนิ่งดี
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, Graphics, HDD
คะแนนไม่สามารถแสดงรวมออกมาได้ แต่คะแนนแต่ละส่วนที่ออกมาจัดได้ว่าสูงทีเดียว
PCMart Vantage
โปรแกรมใหม่อีกโปรแกรมหนึ่งที่กำลังเริ่มนิยมนำมาใช้ในการทดสอบเครื่องมากขึ้น ซึ่งผมเองก็อยากจะนำมาแนะนำให้ทุกท่านได้ชมกัน แต่โปรแกรมนี้ผมจะทดสอบกับเครื่องที่มีประสิทธิภาพดีและแรงๆ เท่านั้นนะครับ เพราะเครื่องที่มีประสิทธิภาพไม่ดี จะข้ามไปไม่ทดสอบนะครับ เพราะทดสอบผ่านยากมากเลย
คะแนนออกมาสูงเป็นที่น่าพอใจ
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบทั้ง SM 2.0 Graphics Tests, CPU Test
เป็นไปตามประสิทธิภาพของการ์ดจอที่ค่อนข้างแรง