อัพเดทกันอีกหนึ่งครั้งกับการมาของ MacBook Air รุ่นล่าสุดโดยมีการเปิดตัวและจำหน่าย MacBook Air 13 [Early 2015] ในประเทศไทยไปซักพักแล้ว ที่แน่นอนว่ามาพร้อมกับหน้าจอแสดงผลทั้งขนาด 11 และ 13 นิ้วเช่นเดิม แม้ว่าดีไซน์การออกแบบยังคงเหมือนเดิมแต่ก็ยังน่าสนใจอยู่ ล่าสุดทางทีมงานได้ขออนุญาติทาง iStudio by comseven ไปรีวิวถึงหน้าร้านกันเลยทีเดียว สำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] ซึ่งมาพร้อมกับสเปก Intel Core i Gen 5 (Broadwell) ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้นกว่ารุ่นก่อน
นอกเหนือจากนั้นยังได้มีการอัพเดทพอร์ตการเชื่อมต่อเป็น Thunderbolt 2 และเพิ่มความเร็วของ SSD เข้าไปอีกด้วย เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย กับในส่วนของคนที่กำลังเล็งซื้อ MacBook Air เครื่องใหม่อยู่ ที่ในบทความรีวิวนี้เราจะมีมาดูกันว่า MacBook Air 13 [Early 2015] มีความน่าสนใจขนาดไหนกับผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วย OS X 10.10 Yosemite ท่ามกลางกระแสคอมพิวเตอร์พีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 อยู่มากมาย
Specification
สเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] ทุกรุ่นก็คือสเปกของ Ultrabook ที่ใช้ชิปสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 5 (Broadwell) โดยชิปประมวลผลจะเป็น Intel Core i5-5250U ที่มีอัตราการกินไฟที่ต่ำ แต่ประสิทธิภาพนั้นเทียบชั้นได้กับ Core i5 ปกติเลยทีเดียว ความเร็วในการทำงานก็อยู่ที่ 1.6 GHz และยังแอบ Turbo Boost ขึ้นไปได้สูงสุดถึงกว่า 2.7 GHz อีก และแน่นอนว่าภายใน MacBook Air 13 [Early 2015] ก็มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel HD Graphics 6000 ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นจากรุ่นเก่ามากพอตัว
MacBook Air มีขนาดจอให้เลือกคือ 13.3 นิ้ว บนความละเอียดสูง 1440 x 900 พิกเซล และขนาด 11.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล ต่อมาก็เป็นเรื่องของแรม ที่ MacBook Air ทุกรุ่นจะใช้เป็นแบบฝังมาบนเมนบอร์ดเลยโดยมีขนาด 4GB ไม่สามารถเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ทำให้เวลาจะสั่งซื้อต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะเพิ่มแรมหรือไม่ ซึ่งถ้าจะเพิ่มแรมเป็น 8 GB ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ 3,000 บาทด้วยกัน
ในส่วนของฮาร์ดดิสก์ SSD บน MacBook Air จะมีความจุ 128GB และ 256GB ให้เลือก โดยเครื่องที่เรานำมารีวิวนั้นเป็นความจุ 128GB ที่แม้ว่าจะดูน้อยแต่ก็เพียงพอต่อการใช้งาน นอกจากนี้ MacBook Air 13 [Early 2015] ทั้งหมดยังได้มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยความสำรองเป็น PCIe รุ่นล่าสุด ซึ่งความให้ในการทำงานมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัวทีเดียว อีกทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อก็ยังครบครัน (ตามสไตล์ Mac ) ทั้ง USB 3.0, Thunderbolt 2 และ Bluetooth 4.0 เป็นต้น ซึ่ง Apple มีสเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] ให้เลือกดังต่อไปนี้ (สเปกชิปประมวลผลและแรมเหมือนกันหมด ต่างกันแค่ความจุ SSD ซึ่งใครอยากได้แรงกว่านี้ ต้องสั่ง CTO เอง)
- MacBook Air 11 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 128GB ราคา 31,900 บาท
- MacBook Air 11 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 256GB ราคา 37,900 บาท
- MacBook Air 13 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 128GB ราคา 34,900 บาท
- Macbook Air 13 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 256GB ราคา 41,900 บาท
Hardware / Design
โดยด้านดีไซน์การออกแบบ MacBook Air 13 [Early 2015] ยังคงในส่วนของรูปทรงแบบเก่าไว้ทั้งหมดไม่ต่างจาก MacBook Air 13 ในรุ่นก่อน ทั้งวัสดุในการผลิตอย่างอะลูมิเนียมอัลลอยด์แบบเดิมที่ให้ความสวยงามและผิวสัมผัสที่ดี รวมทั้งยังใช้เทคโนโลยีการผลิตรูปแบบ Unibody อย่าง MacBook Pro หรือ MacBook Air ในรุ่นผ่านๆ มาที่ให้ในความบางเฉียบแต่มาพร้อมความแน่นหนา โดยทั้งเครื่องหลักๆ ประกอบจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์เพียง 3 ชิ้นเท่านั้น
ซึ่งก็ถือได้ว่า Unibody เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ MacBook เหนือกว่าคู่แข่งในเรื่องของการออกแบบให้มีความบางแต่ยังคงมีความแข็งแรงอยู่ ด้วยความที่ว่าต้องลงทุนสูงด้วยค่าเครื่องจักรตัดโลหะด้วยคอมพิวเตอร์ CNC ประกอบกับปริมาณในการผลิตต่อวัน ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุม ซึ่งทาง Apple เองก็สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตมีต้นทุนที่ไม่สูงมากแต่สามารถจำหน่ายได้ราคา ซึ่งเป็นอะไรที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ นำไปทำตามได้ยาก
ดีไซน์ของ MacBook Air 13 [Early 2015] มีการออกแบบที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ทั้งในเรื่องของความบางตัวเครื่องที่หนาที่สุดก็จะอยู่ที่ 17 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักที่ 1.35 กิโลกรัม แน่นอนว่าทั้ง Super Drive (DVD-RW Drive) ไม่ได้ถูกติดตั้งเอาไว้ เพื่อให้ตัวเครื่องมีความบางและเบาลงตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบา (ถ้าจะใช้อ่านเขียนแผ่น DVD ต้องซื้อไดร์ฟแยก) และที่ขาดไม่ได้เลยของ MacBook ก็คือโลโก้ Apple ที่สามารถเปล่งแสงได้ตามความสว่างของหน้าจอ เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นจุดขายของ MacBook เกือบทุกรุ่นก็ว่าได้ (MacBook Retina 12 รุ่นใหม่ล่าสุด ไม่มีแล้วตรงส่วนนี้)
ต่อกันที่ด้านล่างตัวเครื่องของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเห็นว่า เหมือนกับ MacBook Air 13 รุ่นก่อนๆ ไม่แตกต่างกันทีเดียว โดยมีส่วนที่เป็นสีดำกลมจะเป็นยางรองตัวเครื่องทั้ง 4 ด้าน (สองตัวด้านหลังจะสูงกว่าเล็กน้อย) สำหรับส่วนของน็อตก็เป็นแบบพิเศษเช่นเดียวกับตัว MacBook Air รุ่นก่อน และ MacBook Pro Retina ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบดอกจันตรงกลางลึกลงไป เรียกได้ว่าใครจะหาซื้อไขควงมาแกะคงต้องลำบากกันเสียหน่อย (แต่เอาจริงก็แกะได้ไม่ยากนักหากมีเครื่องมือ) คาดการณ์ว่าเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานอย่างเราๆ สามารถแกะเครื่อง MacBook ได้ตัวเองง่ายๆ นอกจากนี้ตรงส่วนที่ใช้ยกฝาจอเพื่อเปิดเครื่องใช้งานก็จะมีการทำเป็นเว้าร่องลงไปเพื่อช่วยในการเปิดเครื่องที่ง่ายขึ้น แต่ตรงมุมแหลมทั้งสองด้านค่อนข้างคมพอสมควร แต่ก็ไม่ได้รบกวนในเรื่องของการใช้งานมากนัก
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ด MacBook Air 13 [Early 2015] ยังได้คงรูปแบบเดิมไว้ซึ่งก็ถือว่าทำไว้ดีอยู่แล้วเช่นกันตามสไตล์ของ Mac กับคีย์บอร์ด 4 แถวขนาด Full Size อีกทั้งด้านการใช้งานในการพิมพ์ ก็ยังตอบสนองได้เป็นอย่างดีทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด รวมทั้งแป้นก็เด้งกับนิ้วเมื่อกดลงไปอย่างพอดี ที่สำคัญมาพร้อมกับไฟส่องสว่างคีย์บอร์ด หรือหลายๆ คนอาจจะเรียกว่า Backlit Keyboard ที่สามารถใช้งานจริงได้สมบูรณ์แบบ ไม่แยงตาอย่างโน๊ตบุ๊คบางรุ่นบางยี่ห้อ และสามารถปรับระดับไฟได้ตามต้องการ หรือจะอัตโนมัติตามสภาพปริมาณแสงก็ได้
ซึ่งบน MacBook Air 13 [Early 2015] มี Ambient light sensor คอยปรับความสว่างไปอัตโนมัติอย่างนุ่มนวลทั้ง Backlit Keyboard และความสว่างของหน้าจอ ส่วนด้านบนของแป้นคีย์บอร์ดที่เป็นปุ่ม F1-F12 จะเป็นปุ่มฟังก์ชุ่นการทำงานพิเศษ อาทิเช่น การปรับความสว่างหน้าจอ เพิ่มเสียงลดเสียง และเรียกใช้งาน Mission Control, Launchpad & Dock ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่ว่าปุ่ม Power ได้ย้ายมาอยู่ตำแหน่งของ Eject เดิม (มุมซ้ายบนสุดของคีย์บอร์ด) เมื่อเทียบกับ MacBook รุ่นหลายปีก่อน
ทัชแพด หรือใน Mac จะเรียกว่า Trackpad ยังคงมีลักษณะรูปแบบหน้าตาเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของสัดส่วนขนาด ที่เป็นวัสดุที่ทำออกมาได้ดี สามารถลากนิ้วได้ลื่น ไม่เกิดอาการสะดุดหรือหน่วงใดๆ ซึ่งจากการใช้งานจริง พบว่าสามารถตอบสนองการใข้งานได้เป็นอย่างดี ทั้งในการใช้งานแบบปกติหรือใช้งานฟังก์ชันการทำงานแบบ Multi-Touch Gesture จริงๆ อย่างที่ทัชแพดควรจะเป็นในโน๊ตบุ๊คทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานตั้งแต่ 1 นิ้ว ไปจนถึง 5 นิ้ว ก็มีให้ใช้งานได้ครบถ้วนในระบบปฏิบัติการ OS X
Screen / Speaker
MacBook Air 13 [Early 2015] ยังคงมาพร้อมหน้าจอแบบด้านขนาด 13.3 นิ้ว ที่มีความละเอียดที่ 1440 x 900 พิกเซล โดยเป็นสัดส่วนหน้าจอ 16:10 ตามมาตรฐานของ MacBook ของ Apple เกือบทุกรุ่น (จะมี MacBook Air 11 เท่านั้นที่ใช้สัดส่วนหน้าจอเป็น 16:9) นอกจากนี้พาเนลหน้าจอยังใช้งานเป็นพาเนล TN แบบชั้นสูง เพราะให้สีสันที่ค่อนข้างสดใสสวยงามกว่าโน๊ตบุ๊คที่ใช้พาเนล TN ปกติ ซึ่งบริเวณตรงกลางของขอบจอด้านล่างจะมีโลโก้ MacBook Air คิดอยู่อย่างสวยงาม
สำหรับบานพับของ MacBook Air 13 [Early 2015] ดูแล้วค่อนข้างเหมือนเดิมก็คือเป็นแบบแกนเดียวที่ให้ความแข็งแรงเมื่อใช้งานและไม่หลวมหรือคลอนง่ายๆ เมื่อใช้งานไปนานๆ ประกอบกับทาง Apple ยังได้มีการติดตั้งแม่เหล็กไว้บริเวณขอบฝาด้านบนไว้สองตำแหน่งทั้งซ้ายและขวา เพื่อให้ตัวเครื่องและฝาประกบกันสนิท แต่ก็ไม่ถืงกับทำให้เปิดฝาขึ้นมาใช้งานลำบากแต่อย่างใด
กล้องเว็บแคมบน MacBook Air 13 [Early 2015]หรือที่ทาง Apple เรียกว่า FaceTime HD camera มาพร้อมกับความละเอียด 720P ที่ให้ความคมชัดกว่า MacBook รุ่นก่อนๆ (เมื่อใช้งานจะมีไฟสีเขียวติดขึ้นมา) เรียกได้ว่าสามารถรองรับการใช้งานในเรื่องของ VDO Call หรือถ่ายรูปตัวเองจากกล้องเว็บแคมใน MacBook Air 13 ได้เป็นอย่างดีทีเดียว ที่น่าสนใจก็คือด้านข้างของกล้องยังได้มีการติดตั้ง Ambient light sensor ไว้ทำหน้าที่ในการตรวจสภาพปริมาณแสงรอบๆ เพื่อคอยปรับความสว่างหน้าจอและคีย์บอร์ดให้เหมาะสมแบบอัตโนมัติ
สำหรับลำโพงของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเป็นแบบสเตอริโอที่ซ่อนตัวอยู่ภายใต้คีย์บอร์ด เพื่อใช้พิ้นที่ในตัวเครื่องได้อย่างคุ้มค่า คุณภาพเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่เสียงดังใช้ได้ แต่ยังไงก็ด้อยกว่าลำโพงของ MacBook Pro Retina 15 พอสมควร เพราะให้ได้เพียงเสียงแหลม เสียงกลางเท่านั้น โดยเสียงทุ้มที่ก็มีมาให้เรียกได้ว่าแทบไม่มี ลักษณะเสียงออกไปแนวกลางๆ ไม่ค่อยใสเคลียร์เท่าใดนัก โดยส่วนตัวจัดว่าพอฟังได้ใช้งานได้ แต่ถ้าให้ดีคงจะเลือกต่อลำโพงแยกหรือหูฟังมากกว่า
ส่วนไมโครโฟนของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเป็นแบบคู่โดยอยู่ทางด้านข้างขอบเครื่องทางซ้าย ให้ประสิทธิภาพในการรับเสียงที่ดี ซึ่งจากการใช้งานจริงพบว่าในการใช้งาน VDO Call หรือบันทึกเสียงโดยตรงจากไมโครโฟนของเครื่อง เสียงที่ออกมานั้นมีความคมชัดพอใช้ได้ และเสียงรบกวนก็ลดน้อยลงอย่างชัดเจน
Connector / Thin And Weight
MacBook Air 13 [Early 2015] จากด้านข้าง เราจะเห็นถือความบางเฉียบที่มีมากกว่าโน๊ตบุ๊คขนาด 13 นิ้วทั่วไปพอสมควร เรียกได้ว่าเทียบกับ Ultrabook ในบางรุ่นได้อย่างสบายๆ ทีเดียว ซึ่งในเรื่องของพอร์ตการเชื่อมต่อของตัว MacBook Air 13 [Early 2015] ที่ตามภาพจะเป็นด้านซ้าย ประกอบไปด้วย ช่องเสียบสายชาร์จไฟ Magsafe 2 มีลักษณะพิเศษคือ เป็นแม่เหล็กดูดติดกับเครื่อง เรียกได้ว่ามีความปลอดภัยในการใช้งานสูงหากเราไม่สะดุดสายไฟ ตัวเครื่องก็จะไม่ตกลงมา ซึ่ง Magsafe เป็นสิทธิบัตรของ Apple เพียงรายเดียว ฉะนั้นแล้วเราจะเห็นที่ชาร์จแบบนี้ได้ ก็จะมีเพียง MacBook เท่านั้น ในการใช้งานหากไฟแบตเตอรี่เต็มจะมีไฟแสดงสถานะเป็นสีเขียว แต่ถ้าหากกำลังชาร์จไฟก็จะเป็นสีส้ม
ถัดมาก็จะเป็น สำหรับพอร์ต USB 3.0 ด้านซ้ายนี้ได้มีใส่มาจำนวน 1 พอร์ตและช่องหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตรที่รองรับการเชื่อมต่อไมค์ในตัวอีกหนึ่งช่องด้วยกัน นอกเหนือจากนี้ไมโครโฟนจำนวน 2 ตัวยังได้อยู่ติดตั้งบริเวณนี้อีกด้วย
ด้านข้างขวาของ MacBook Air 13 [Early 2015] ก็จะเป็นในส่วนช่องเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt 2 จำนวน 1 ช่องทาง ที่นอกเหนือจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นช่องทางการแสดงผล Display Port ได้อีกด้วย และพอร์ต USB 3.0 อีกหนึ่งพอร์ต รวมกับด้านซ้ายก็จะมีทั้งหมดทั้งเครื่องอยู่ 2 พอร์ตด้วยกัน ตามสไตล์ของ MacBook ที่ไม่ต้องการให้มีมากจนเกินไป เพราะจะมีผลต่อรูปแบบดีไซน์ สุดท้ายกับช่องอ่านการ์ดที่รองรับการ์ดความจำยอดนิยมอย่าง SD Card, SDXC Card ที่ใช้ในกล้องดิจิตอลปัจจุบัน
สำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] ตัวเครื่องด้านหน้าก็ยังได้มีการเว้าบริเวณตรงกลาง ลักษณะคล้ายๆ เดิมตามสไตล์ของ MacBook Air ที่ดูสวยงามลงตัว ด้วยการที่มีรูปแบบที่เว้าเข้าไปในเครื่องที่น้อยลง และด้านหลังก็ยังคงรูปแบบเดิมเอาไว้ นั่นก็คือโล่งๆ เราจะเห็นเป็นเพียงแกนฝาพับที่หุ้มด้วยพลาสติกสีดำเท่านั้น ซึ่งมิติของตัวเครื่องMacBook Air 13 [Early 2015] อยู่ที่ ความหนา (ความสูง) 1.7 เซนติเมตร / กว้าง 32.5 เซนติเมตร / ยาว 22.7 เซนติเมตร ที่เรียกได้ว่าความกว้างความยาวไม่แตกต่างไปจาก MacBook Air 13 รุ่นก่อนหน้าเลย อย่างไรก็ตามพวกซอฟต์เคสหรือกระเป๋าที่ใว้ใช้กับ MacBook Air 13 ก็สามารถใช้กับพวกซอฟต์เคสของเหล่า Ultrabook ได้อย่างสบายๆ
อย่างไรก็ตามตามสเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] น้ำหนักจะอยู่ที่ 1.35 กิโลกรัม ในส่วนนี้ก็ไม่ต้องกังวลมากนัก กับน้ำหนักเท่านี้ที่เป็นโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว เรียกได้ว่าเทียบกับ Ultrabook ในบางรุ่นได้อย่างสูสี
แน่นอนว่าในการใช้งานจริงบางครั้งเราจำเป็นต้องพกพาอแดปเตอร์ไปด้วย โดยน้ำหนักก็จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 กิโลกรัม ที่ก็จัดว่ามีน้ำหนักรวมกันไม่สูงมากนัก อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยน้ำหนักยังเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว เมื่อรวมอแดปเตอร์แล้ว และจากการทดลองพกพาใช้งานจริงดูแล้วก็ถือว่ามีความแตกต่างจาการพกพา MacBook Pro Retina 13 เล็กน้อยเท่านั้น
Performance / Software
ด้านซอฟต์แวร์บน MacBook Air 13 [Early 2015] แน่นอนว่า Mac ทุกเครื่องนั้นมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการของตัวเองอย่าง OS X ซึ่งในตอนนี้เวอร์ชั่นล่าสุดก็เป็นในส่วนของ 10.10 ที่มีชื่อว่า Yosemite โดยจะมีเวอร์ย่อยลงมาอีก อย่างใน MacBook Air 13 [Early 2015] เครื่องนี้ก็จะเป็น OS X 10.10.2 แล้ว ที่เร็วๆ นี้จะมีการเปลี่ยนเป็น OS X 10.10.3 อีกทีหนึ่ง
ซึ่งตัว OS X เองสามารถตรวจสเปกของ Mac เครื่องนั้นๆ ได้ง่ายๆ ผ่านทาง About This Mac ซึ่งจากภาพก็แสดงให้เห็นถึงว่า Mac รุ่นนี้คือรุ่นอะไร ปีไหน และสเปกคร่าวๆ อย่าง ชิปประมวลผล, แรม, กราฟิกการ์ด, ซีเรียลนับเบอร์ และเวอร์ชั่นของ OS X โดยถ้าใครต้องการชมแบบละเอียดๆ ก็สามารถกดเข้าไปชมกันได้ที่ปุ่ม System Report ได้เลยครับ ซึ่งเรียกว่าเราจะพบกับข้อมูลและสเปกแบบละเอียดสุดๆ ไปเลย ว่าชิ้นส่วนไหนใช้อะไร ของแบรนด์ไหนบ้าง อันนี้คงไม่เจาะลงไปนะครับ เพราะมันยิบย่อยมากๆ
Benchmark (OS X)
โปรแกรมทดสอบเครื่องที่นิยมในฝั่ง Mac ก็คือ GeekBench ที่มีตัวเลือกให้เทสประสิทธิภาพได้ทั้งแบบ Singer-Core และ Multi-Core ซึ่งคะแนนที่ได้ออกมาก็สามารถนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลคะแนนเฉลี่ยนของ GeekBench เองได้ครับ โดยในส่วนของ Singer-Core ของ MacBook Air [Early 2015] ชิปประมวลผล Core i5 Gen5 มาพร้อมประสิทธิภาพที่เหนือกว่า MacBook Air [Mid 2012] ที่เป็น Core i7 Gen 3 เล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นรองในส่วนของ MacBook Air [Mid 2013] Core i7 Gen 4 และ MacBook Air [Early 2015] Core i7 Gen 5 อยู่พอสมควร
จากนั้นมาชมกันที่ Multi-Core ก็จะพบว่าผลคะแนนที่ออกมานั้นกลับน้อยกว่า MacBook Air [Mid 2012] Core i7 Gen 3 อยู่เล็กน้อย ซึ่งเทียบกันในด้านของการประมวลก็คงไม่มีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าเทียบกับ MacBook Air [Mid 2013] Core i7 Gen 4 และ MacBook Air [Early 2015] Core i7 Gen 5 จะเห็นได้ว่าคะแนนมีความห่างกันพอสมควร ซึ่งถ้าใช้งานทั่วไปในปัจจุบัน ตัว MacBook Air [Early 2015] Core i5 Gen 5 ก็ตอบโจทย์แล้วครับ
โดยทดสอบพลังการประมวลผลของทั้งซีพียูเป็นหลักด้วยโปรแกรม Cinebench R15 ในฝั่ง OS X ของ MacBook Air 13 [Early 2015] คะแนนที่ออกมานั้นถือได้ว่าดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งชิปประมวลผล Intel Core i5-5250U ที่มาพร้อมกราฟิกการ์ด Intel HD Graphics 6000 ให้ผลคะแนน OpenGL ที่มากกว่า MacBook Air 13 รุ่นก่อน พอสมควร ที่ยังไงการทดสอบ Cinebench R11.5 เราจะไปชมคะแนนฝั่ง Windows กันอีกทีนะครับ
อีกส่วนที่หลายๆ คนอยากทราบทดสอบกันที่สุดก็คือความเร็วของ SSD ที่อยู่บน MacBook Air 13 [Early 2015] โดยเครื่องที่ทดสอบได้ติดตั้ง SSD เป็นของ Samsung ขนาดความจุ 128GB สามารถทำความเร็วเฉลี่ยในการอ่านได้ที่ประมาณ 1300 MB/s ส่วนความเร็วในการเขียนจะอยู่ช่วงประมาณ 621 MB/s ด้วยกัน ซึ่งก็คงเป็นผลมาจากการใช้การเชื่อต่อแบบ PCIe ที่โน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ระดับสูงนิยมใช้กัน รวมไปถึง SSD ประสิทธิภาพสูงจากทาง Samsung อีกด้วย ซึ่งเทียบกับรุ่นก่อนหน้าดีขึ้นกว่า 50% ถึงเกือบ 100% เลยทีเดียว
Benchmark (Windows 8)
มาถึงส่วนที่หลายๆ คนน่าจะให้ความสนใจกัน นั่นคือการทดสอบ MacBook Air 13 [Early 2015] บนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ที่ติดตั้งผ่านทางซอฟต์แวร์ Bootcamp ซึ่งการติดตั้ง Bootcamp นั้นก็เหมือนกับการติดตั้ง Windows ในโน๊ตบุ๊คทั่วไปเลย ไม่มีการลดทอนประสิทธิภาพการทำงานลง เพราะมันก็คือการใช้งาน Windows บนเครื่องตรงๆ นั่นเอง แถมยังสะดวกกว่าด้วย เพราะสามารถโหลดไฟล์รวมไดร์ฟเวอร์จาก Apple มาเป็นชุดเดียวเลย คลิกติดตั้งครั้งเดียว แล้วก็รอจนเสร็จซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก
Windows ที่ใช้ในการทดสอบก็คือ Windows 8.1 ที่ทำการอัพเดทล่าสุดแล้ว ซึ่งก็ตรงนี้ทำให้เราเห็นสเปกชัดเจนของชิปประมวลว่าเป็นรุ่น Intel Core i5-5250U โดยมาพร้อมกับแรมขนาด 4GB
โปรแกรม Cinebench R11.5 เทียบกันระหว่างฝั่งรุ่นก่อนหน้า กับรุ่นที่ทดสอบในเรื่องของความเร็วในการทำงานนั้นเต็มที่ตลอดการทดสอบจริงๆ จากการวัดอัตราการใช้งานซีพียูที่เต็มประสิทธิภาพเต็มความเร็วทั้งคู่ โดยผลที่ออกมาก็คือส่วนของกราฟิก OpenGL ฝั่ง MacBook Air 13 [Early 2015] ทำผลคะแนนได้ดีกว่าพอสมควร ส่วนคะแนนขิปประมวลผลนั้นก็ทำได้ดีกว่าพอสมควรเหมือนกัน (เดิม OpenGL 15.31 fps และ CPU 1.89 fps)
ส่วนการทดสอบด้วยเกมนั้น เกมพื้นฐานอย่าง Resident Evil 6 นั้นก็ตั้งค่าความละเอียดแบบ Default ที่ 1280 x 720 พิกเซล ได้คะแนนอยู่ที่ระดับกลางๆ อย่าง Rank C โดยมีคะแนนมากกว่ารุ่นก่อนประมาณ 300-400 ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงคะแนนที่มากกว่าโน๊ตบุ๊คสเปกทีใกล้เคียงกันอีกครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ใช้ฮาร์ดดิสก์เป็น SSD แบบไม่ต้องสงสัยทั้งๆ ที่ใช้เพียงกราฟิการ์ดแบบออนบอร์ดเท่านั้น แต่ก็ถือได้ว่าน่าประทับใจแล้วเพราะเกมนี้อย่างที่รู้ๆ กันก็คือตัว Benchmark ค่อยข้างกินทรัพยากรเครื่องพอสมควร
สำหรับ Street Fighter 4 ที่ตั้งค่าเป็น Default บนความละเอียด 1280 x 720 พิกเซล ผลคะแนนก็ได้เท่าๆ กับโน๊ตบุ๊คที่มีสเปกใกล้เคียงกันเช่นกัน ที่สำคัญยังได้คะแนนมากกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 3,000 คะแนนด้วยกัน ที่แสดงให้เห็นถึงฮาร์ดแวร์ที่ทาง Apple เลือกสรรค์มามีความเข้ากันได้เป็นอย่างดี โดยสำหรับเกมนี้ถือได้ว่าพอจะเล่นได้แบบสบายๆ เพราะกราฟิกกินไม่ค่อยมากอยู่แล้ว
สรุปแล้วในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานด้วยชิปประมวลผลและกราฟิกการ์ดดีขึ้นแบบรู้สึกได้เลย (ผลเทสอาจจะน้อยและไม่ละเอียดเท่าที่ควร เพราะไปรีวิวที่หน้าร้านครับ ยังไงของอภัยตรงจุดนี้ด้วย)
Battery / Heat / Noise
ในการทดสอบเรื่องของการใช้งานแบตเตอรี่ที่มีความจุ 7324 mAh บน MacBook Air 13 [Early 2015] นั้น ด้วยความที่เป็นระบบปฏิบัติการ OS X จึงสามารถจัดการพลังงานได้อย่างสมบูรณ์า โดยในสถานะเครื่องเปิดไว้เฉยในสถานะแบตเตอรี่ 100% โดยทดสอบตามสถานะตามการใข้งานจริงด้วยการปรับความสว่างบนหน้าจออยู่ที่ 50% และไฟคีย์บอร์ด Backlit ปรับไว้ที่ 50% เช่นกัน ผลเวลาที่ได้ออกมาจะอยู่ที่ประมาณ 12 ชั่วโมงกว่า ตามที่ Apple บอกไว้ในสเปกและรายละเอียดของ MacBook Air 13 พอดีที่ 12 ชั่วโมง ซึ่งเชื่อว่าหากใช้งานบน Windows ระยะเวลาของแบตเตอรี่น่าจะน้อยลงกว่านี้
เรื่องความร้อนของเครื่องที่ทดสอบด้วยโปรแกรม Hardward Monitor นั้น ในภาพด้านบนเป็นการวัดในขณะเครื่องไม่ได้เปิดโปรแกรมอื่น (ดูที่ค่า Min) ซึ่งก็คืออยู่ในสถานะ idle อุณหภูมิที่ออกมาจัดได้ว่าค่อนข้างเย็น ส่วนตัวเครื่องอุณหภูมิโดนรอบตัวเครื่องทั้งหมดก็ถือว่ามีอุณหภูมิที่ต่ำ เนื่องด้วยความสามารถของตัววัสดุที่ช่วยถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็ว รวมไปถึงพัดลมระบายความร้อนก็หมุนรอบที่น้อยลงกว่าเดิม แน่นอนว่าด้วยอุณหภูมิที่ต่ำลงคงต้องยกความดีความชอบให้กับชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 ที่กินไฟต่ำ แต่ยังคงให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่าเดิม
เรื่องอุณหภูมิบริเวณตัวเครื่อง เมื่อทำการเบิร์นให้ทำงาน 100% ได้ค่าอุณหภูมิซีพียูภายในชิปประมวลผลอยู่ที่ประมาณ 104 องศาเซลเซียส จากค่า Max) เพื่อที่จะได้ทำเครื่องทำงานเต็มประสิทธิภาพที่สุด โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส ในอุณหภูมิห้องที่ 27 องศาเซลเซียส โดยประมาณ แต่ละตำแหน่งตามตัวเครื่อง ที่เป็นส่วนของที่พักมือกับ Trackpad และส่วนด้านล่างของตัวเครื่อง จะเห็นได้ว่าแทบไม่มีความร้อนออกเลย นั่นก็เพราะบริเวณส่วนนี้ไม่มีอะไรนอกเหนือจากแบตเตอรี่
ส่วนบริเวณของกลางเครื่องที่เป็นที่อยู่ของชิปประมวลผลทั้งซีพียูจะเห็นว่ามีอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง แต่การใช้งานจริงเพียงแค่รู้สึกร้อนๆ นิดหน่อยเท่านั้น ต่อกันที่ตำแหน่งใกล้ Macsafe จะมีอุณหภูมิสูงหน่อยกรณีที่เราชาร์จไฟ แต่ถ้าแบตเตอรี่เต็มแล้วก็จะไม่มีความร้อนแต่อย่างใด สรุปรวมๆ แล้วความร้อนภายในตัวเครื่องไม่มีผลกับการใข้งานแต่อย่างใดครับ ที่สำคัญพัดลมยังมีเสียงที่ค่อยข้างเงียบกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปเล็กน้อย แต่ก็ขอแนะนำว่าหากจำเป็นต้องใช้งานหนักหรือประมวลผลสูงๆ ก็ให้มาใช้ในห้องที่เย็นหน่อย นอกจากนี้เครื่องของ MacBook Air 13 [Early 2015] ยังสามารถคลายความร้อนได้อย่างรวดเร็วจากบอดี้ที่เป็นวัสดุอะลูมิเนียมอัลลอยด์อีกด้วย เพราะฉะนั้นไม่ติดฟิล์มไม่ใส่เคสที่ตัวเครื่องจะดีที่สุดครับ
Conclusion / Award
MacBook Air 13 [Early 2015] นับเป็นผลิตภัณฑ์จาก Apple ที่เป็นเพียงการอัพเดทสเปกและเปลี่ยนแปลงหน้าตาเล็กน้อยเท่านั้น กับโน๊ตบุ๊คขนาด 11 และ 13 นิ้ว ที่มีความบางเบาโดยใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5 Gen 5 สถาปัตยกรรม Broadwell ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ โดยยังประหยัดพลังงานเหมือนเดิม แต่กลับร้อนน้อยลง รวมไปถึงได้มีการเลือกใช้หน่วยความจำสำรองเป็นแบบ SSD PCIe เวอร์ชั่นล่าสุดซึ่งมีความเร็วสูงกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ที่ส่งผลให้สามารถรีดประสิทธิภาพสูงสุดออกมาได้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้นเรื่องประสิทธิภาพจัดว่าตอบสนองได้ดีทีเดียว แม้ว่าอาจจะเป็นรองด้านราคาเหมือนเทียบกับ Ultrabook บางรุ่น ที่พับหรือถอดจอเป็นแท็บเล็ตที่สามารถทัชสกรีนได้
สำหรับรุ่นที่ทางทีมงานนำมารีวิวนั้นเป็น MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มีขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว ความละเอียด 1440 x 900 พิกเซล มาพร้อมชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5-4250U ความเร็ว 1.3GHz อีกทั้งยังเพิ่มความเร็วไปได้ถึง 2.6GHz ระบบการทำงานเป็นแบบ 2 คอร์ 4 เทรด แรมเป็นแบบถอดเปลี่ยนเองไม่ได้ติดเครื่องมาให้จำนวน 4GB ที่เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปอย่างสบายๆ ส่วนกราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดที่เรียกได้ว่าตรงจุดนี้มีความน่าสนใจเพราะถือว่าแรงกว่ารุ่นก่อนหน้าพอตัวด้วย Intel HD Graphics 6000 รวมไปถึงยังเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ความเร็วสูง
อีกทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ OS X 10.10 Yosemite ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดพร้อมคุณสมบัติใหม่ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้มีการเข้ากันทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดี มีความสเถียรแบบไม่ต้องกังวลว่าเครื่องจะแฮงค์หรือค้าง แถมยังมีการแสดงภาพ User Interface ที่ดูแล้วสวยงามลงตัว ที่สำคัญในเรื่องของการตื่นจาก Sleep ก็ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที อีกทั้งใช้เวลา Boot เครื่องเพียงประมาณ 10 วินาทีเท่านั้นเอง ที่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นผลมาจาก SSD แบบ PCIe รุ่นล่าสุดที่ติดตั้งมาให้
ด้านงานประกอบของ Apple หลายๆ คนคงทราบเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่ามีความสมบูรณ์แค่ไหน รวมไปถึงวัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบก็จัดได้ว่าเป็นชั้นดีทั้งสิ้น จวบจนการดีไซน์ออกแบบของตัวเครื่อง MacBook Air 13 [Early 2015] นั้น เชื่อได้ว่าทุกคนที่ได้เห็นต้องชอบมันอย่างแน่นอน ด้วยการเน้นแนวทางการอกแบบที่ดูเรียบๆ แต่หรูหรา ยิ่งมีในส่วนของฝาหลังรูป Apple มีแสงไฟเปล่งออกมา ยิ่งทำให้น่าจับจองมาใช้งานเพิ่มขึ้นไปอีก รวมไปถึงความบางและน้ำหนักที่น้อย ทำให้สะดวกในการพกพากว่าโน๊ตบุ๊คธรรมดาทั่วไปขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนานสูงสุดประมาณ 12 ชั่วโมงด้วยกัน
นอกเหนือจากนั้นตัวคีย์บอร์ดเองก็มีไฟ Backlit ทำให้เพิ่มความสะดวกในการใช้งานที่มีแสงน้อยยิ่งขึ้น เรื่องของสัมผัส Trackpad และคีย์บอร์ดก็ให้ความรู้สึกที่ดีในการใช้งานแบบรู้สึกได้ไม่ยาก เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คตัวอื่นๆ อีกทั้งยังมีช่องเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt 2, USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต และ Bluetooth เวอร์ชั่น 4.0 ที่มีเอาไว้ใช้กับอุปกรณ์ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะดูเป็นโน๊ตบุ๊คเครื่องหนึ่งที่ดูสมบูรณ์แบบในเรื่องของความบาง น้ำหนัก การพกพา ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ แต่ก็ยังมีข้อสังเกตเรื่องพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีอยู่อย่างจำกัด สำหรับในการตัด Super Drive อันนี้คงเป็นเรื่องของความบางและน้ำหนักของเครื่องที่ต้องลดลง ซึ่งใครจะใช้การอ่านเขียนแผ่น DVD คงต้องซื้อไดร์ฟ DVD ภายนอกติดเอาไว้ รวมไปถึงพอร์ตต่างๆ ที่ทาง Apple คงเห็นว่าคงจะใช้ไม่ค่อยบ่อยอย่าง Ethenet (RJ-45) และ Firewire 800 แต่อย่างไรก็ตามคนที่ต้องจำเป็นใช้งานอยู่ก็สามารถหาซื้อสายแปลงได้ จาก Thunderbolt ไป Ethenet หรือ Thunderbolt ไป Firewire 800 สนนราคาอยู่ที่เส้นละ 990 บาท (จัดว่าไม่ถูกและก็ไม่แพงจนเกินไป)
คนที่มีความสนใจในโน๊ตบุ๊คที่บางและเบาอารมณ์แบบ Ultrabook มีความเป็นไปได้ที่จะนำ MacBook Air รุ่นใหม่นี้มาเป็นตัวเลือกอย่างแน่นอน ที่ถึงแม้หน้าจอจะไม่สามารถทัชสกรีนได้ แต่ในกรณีใช้งานบนระบบปฏิบัติการ OS X ก็สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบไม่น้อยหน้าเครื่องโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ทีเดียว ส่วนรุ่นที่แนะนำคงเป็น MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มาพร้อม SSD ความจุ 128GB โดยเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปในราคาเพียง 34,900 บาทเท่านั้น เรียกได้ว่าราคาถูกกว่า Ultrabook บางรุ่นซะอีก
เอาเป็นว่าสำหรับคนที่สนใจก็สามารถสั่งซื้อ MacBook Air รุ่นใหม่นี้ ขอแนะนำให้เพิ่มแรมเป็น 8GB ก็จะดีมากๆ เพื่อรองรับการใช้งานสำหรับการเปิดหลายโปรแกรม หรือถ้าจะเน้นทำงานหนักก็อัพเกรดเป็นตัวชิปประมวลผล Core i7 ดูได้เลย ราคาก็เพิ่มขึ้นมาตามภาพประกอบด้านล่าง ที่โดยส่วนตัวก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์รับได้ ไม่แพงจนเกินไปนัก
ปิดท้ายกันสำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] แม้ว่าในเรื่องของการดีไซน์ออกแบบยังคงเดิม ซึ่งก็เป็นปกติของ Apple อยู่แล้วที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์บ่อยๆ แต่จะเป็นการเพิ่มฟีเจอร์หรือประสิทธิภาพการทำงานเข้าไปแทน รวมไปถึงหน้าจอ Retina Display จะยังไม่มาในรุ่นนี้ แต่ก็เชื่อได้ว่าในอนาคต Apple ต้องเพิ่มความละเอียดหน้าจอลงไปใน MacBook Air รุ่นต่อๆ ไปอย่างแน่นอนครับ โดยรวมก็ถือว่าปรับสเปกขึ้นลดราคาลง ทำให้หลายๆ คนตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ว่าแล้วก็ซื้อผ่านทาง Apple Store Online ส่วนใครอยากจับเครื่องจริงๆ ก่อนตัดสินใจซื้อก็สามารถเดินไปตามหน้าร้าน iStudio by comseven กันได้เลย เรียกได้ว่ามีพนักงานคอยให้บริการเป็นอย่างดีแน่นอน ปิดท้ายด้วยสเปกและราคาของ MacBook Air 13 [Early 2015] ทั้ง 4 รุ่นครับ
- MacBook Air 11 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 128GB ราคา 31,900 บาท
- MacBook Air 11 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 256GB ราคา 37,900 บาท
- MacBook Air 13 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 128GB ราคา 34,900 บาท
- Macbook Air 13 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 256GB ราคา 41,900 บาท
จุดเด่น
- เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 13.3 นิ้ว มีขนาดบาง น้ำหนักเบา สามารถพกพาไปได้สะดวก
- มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้เป็นอย่างดี ด้วยชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 (Broadwell)
- หน้าจอมีความสสวยสมจริงตามมาตรฐาน Apple MacBook
- กราฟิกภายใน Intel HD Graphics 6000 มีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นเดิมพอสมควร
- SSD มีความเร็วมากกว่ารุ่นก่อนหน้าประมาณ 50% – 100%
- เปิดเครื่องหรือตื่นจากโหมด Sleep, Boot เครื่อง และเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้อย่างรวดเร็ว
- ดีไซน์การออกแบบสวยและงานประกอบมีความประณีต ด้วยวัสดุชั้นดีอย่างอะลูมิเนียมแบบ Unibody ตัวเครื่องแข็งแรง
- มีไฟ Backlit Keyboard ที่ใช้งานได้อย่างสบายตา
- สามารถสั่งอัพเกรดสเปกได้โดยตรงตั้งแต่ตอนสั่งซื้อ (ซีพียู, ฮาร์ดดิสก์)
- TrackPad (ทัชแพด) สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี
- มีช่องทางเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt จำนวน 2 พอร์ต, USB 3.0 อีก 2 พอร์ต
- มาตรฐานการเชื่อมต่อเป็นรุ่นล่าสุด 802.11ac
- ไมโครโฟนที่ติดตั้งมาเป็นแบบคู่ที่ประสิทธิกาพการทำงานดีกว่าเดิม
- ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานสูงสุดประมาณ 11-12 ชั่วโมง
- มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Mac OS X 10.10 Yosemite ที่มีคุณสมบัติมากมาย
- มีอุปกรณ์เสริมให้เลือกใช้มาก ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดเคส ซอฟต์เคส หรืออื่นๆ ที่ออกแบบมาเฉพาะ
- ราคาคุ้มค่ากว่า Ultrabook ในบางรุ่นในท้องตลาด
- สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 ได้หากต้องการ ผ่านทาง Bootcamp
ข้อสังเกต
- พอร์ตเชื่อมต่อในตัวเครื่องค่อนข้างมีจำกัด หากต้องการใช้ Ethernet หรือ Firewire 800 ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่ม
- ด้วยวัสดุเป็นอะลูมิเนียม ถ้าปลั๊กไม่มีการเดินสายดินไว้ อาจเกิดไฟดูดบ้างเล็กน้อย
- ไม่สามารถอัพเกรดใดๆ ได้เลยในภายหลัง
- ในการแกะฝาใต้เครื่องทำได้ยาก เพราะต้องใช้ไขควรเฉพาะ
- ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้งานกับพอร์ต Thunderbolt ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพงอยู่ จึงอาจใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพในขณะนี้
- เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 13 นิ้วที่ไม่มีออฟติคอลไดร์ฟ
- ในการ Restore OS X เครื่องต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น ยกเว้นสำรองไฟล์ติดตั้งเอาไว้แล้ว
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง MacBook Air 13 [Early 2015] ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Design
เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Apple มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดใน MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโฉบเฉี่ยวเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรู ประกอบการงานการประกอบระดับคุณภาพ ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกันอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งความบางของตัวเครื่องก็ถือว่าทำได้ดีเทียบเท่ากับ Ultrabook ระดับสูงหลายๆ รุ่นทีเดียว ฉะนั้นในเรื่องของรางวัล Best Design ทำให้ได้ไปอย่างไม่ยากเย็น
Best Mobility
ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของ MacBook อยู่เช่นเดิม ทั้งในความบางเพียง 17 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.35 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก แถมไม่ต้องกลัวว่าเครื่องจะมีปัญหาอีกด้วย เพราะระบบไม่ได้ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก จึงทำให้ MacBook Air 13 [Early 2015] ได้รับรางวัล Best Mobility ไปอย่างง่ายดาย
Best Battery Life
แม้ว่าในตัวของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะอัดแน่นไปด้วยสเปกหรือเทคโนโลยีต่างๆ แต่ในเรื่องของการใช้งานของแบตเตอรี่ก็ถือว่าทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจ โดยเฉลี่ยแล้วถ้าใช้งานทั่วไปจะอยู่ได้นานถึงประมาณ 11 ชั่วโมงด้วยกัน ส่งผลให้ได้รางวัล Best Battery Life ซึ่งในส่วนนี้ก็เป็นผลมาจากการที่ Apple ได้ใส่แบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ความจุ 7125 mAh เข้าไป อีกทั้งระบบปฏิบัติการ OS X 10.10 Yosemite ก็เป็นตัวช่วยจัดการพลังงานได้เป็นอย่างดี โดยที่เราไม่จำเป็นต้องปรับค่าเองแต่อย่างใดเลย
ขอขอบคุณ iStudio by comseven สำหรับการรีวิว MacBook Air 13 [Early 2015]
Specification
สเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] ทุกรุ่นก็คือสเปกของ Ultrabook ที่ใช้ชิปสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 5 (Broadwell) โดยชิปประมวลผลจะเป็น Intel Core i5-5250U ที่มีอัตราการกินไฟที่ต่ำ แต่ประสิทธิภาพนั้นเทียบชั้นได้กับ Core i5 ปกติเลยทีเดียว ความเร็วในการทำงานก็อยู่ที่ 1.6 GHz และยังแอบ Turbo Boost ขึ้นไปได้สูงสุดถึงกว่า 2.7 GHz อีก และแน่นอนว่าภายใน MacBook Air 13 [Early 2015] ก็มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel HD Graphics 6000 ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นจากรุ่นเก่ามากพอตัว
MacBook Air มีขนาดจอให้เลือกคือ 13.3 นิ้ว บนความละเอียดสูง 1440 x 900 พิกเซล และขนาด 11.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล ต่อมาก็เป็นเรื่องของแรม ที่ MacBook Air ทุกรุ่นจะใช้เป็นแบบฝังมาบนเมนบอร์ดเลยโดยมีขนาด 4GB ไม่สามารถเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ทำให้เวลาจะสั่งซื้อต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะเพิ่มแรมหรือไม่ ซึ่งถ้าจะเพิ่มแรมเป็น 8 GB ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ 3,000 บาทด้วยกัน
ในส่วนของฮาร์ดดิสก์ SSD บน MacBook Air จะมีความจุ 128GB และ 256GB ให้เลือก โดยเครื่องที่เรานำมารีวิวนั้นเป็นความจุ 128GB ที่แม้ว่าจะดูน้อยแต่ก็เพียงพอต่อการใช้งาน นอกจากนี้ MacBook Air 13 [Early 2015] ทั้งหมดยังได้มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยความสำรองเป็น PCIe รุ่นล่าสุด ซึ่งความให้ในการทำงานมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัวทีเดียว อีกทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อก็ยังครบครัน (ตามสไตล์ Mac ) ทั้ง USB 3.0, Thunderbolt 2 และ Bluetooth 4.0 เป็นต้น ซึ่ง Apple มีสเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] ให้เลือกดังต่อไปนี้ (สเปกชิปประมวลผลและแรมเหมือนกันหมด ต่างกันแค่ความจุ SSD ซึ่งใครอยากได้แรงกว่านี้ ต้องสั่ง CTO เอง)
- MacBook Air 11 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 128GB ราคา 31,900 บาท
- MacBook Air 11 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 256GB ราคา 37,900 บาท
- MacBook Air 13 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 128GB ราคา 34,900 บาท
- Macbook Air 13 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 256GB ราคา 41,900 บาท
Hardware / Design
โดยด้านดีไซน์การออกแบบ MacBook Air 13 [Early 2015] ยังคงในส่วนของรูปทรงแบบเก่าไว้ทั้งหมดไม่ต่างจาก MacBook Air 13 ในรุ่นก่อน ทั้งวัสดุในการผลิตอย่างอะลูมิเนียมอัลลอยด์แบบเดิมที่ให้ความสวยงามและผิวสัมผัสที่ดี รวมทั้งยังใช้เทคโนโลยีการผลิตรูปแบบ Unibody อย่าง MacBook Pro หรือ MacBook Air ในรุ่นผ่านๆ มาที่ให้ในความบางเฉียบแต่มาพร้อมความแน่นหนา โดยทั้งเครื่องหลักๆ ประกอบจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์เพียง 3 ชิ้นเท่านั้น
ซึ่งก็ถือได้ว่า Unibody เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ MacBook เหนือกว่าคู่แข่งในเรื่องของการออกแบบให้มีความบางแต่ยังคงมีความแข็งแรงอยู่ ด้วยความที่ว่าต้องลงทุนสูงด้วยค่าเครื่องจักรตัดโลหะด้วยคอมพิวเตอร์ CNC ประกอบกับปริมาณในการผลิตต่อวัน ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุม ซึ่งทาง Apple เองก็สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตมีต้นทุนที่ไม่สูงมากแต่สามารถจำหน่ายได้ราคา ซึ่งเป็นอะไรที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ นำไปทำตามได้ยาก
ดีไซน์ของ MacBook Air 13 [Early 2015] มีการออกแบบที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ทั้งในเรื่องของความบางตัวเครื่องที่หนาที่สุดก็จะอยู่ที่ 17 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักที่ 1.35 กิโลกรัม แน่นอนว่าทั้ง Super Drive (DVD-RW Drive) ไม่ได้ถูกติดตั้งเอาไว้ เพื่อให้ตัวเครื่องมีความบางและเบาลงตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบา (ถ้าจะใช้อ่านเขียนแผ่น DVD ต้องซื้อไดร์ฟแยก) และที่ขาดไม่ได้เลยของ MacBook ก็คือโลโก้ Apple ที่สามารถเปล่งแสงได้ตามความสว่างของหน้าจอ เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นจุดขายของ MacBook เกือบทุกรุ่นก็ว่าได้ (MacBook Retina 12 รุ่นใหม่ล่าสุด ไม่มีแล้วตรงส่วนนี้)
ต่อกันที่ด้านล่างตัวเครื่องของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเห็นว่า เหมือนกับ MacBook Air 13 รุ่นก่อนๆ ไม่แตกต่างกันทีเดียว โดยมีส่วนที่เป็นสีดำกลมจะเป็นยางรองตัวเครื่องทั้ง 4 ด้าน (สองตัวด้านหลังจะสูงกว่าเล็กน้อย) สำหรับส่วนของน็อตก็เป็นแบบพิเศษเช่นเดียวกับตัว MacBook Air รุ่นก่อน และ MacBook Pro Retina ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบดอกจันตรงกลางลึกลงไป เรียกได้ว่าใครจะหาซื้อไขควงมาแกะคงต้องลำบากกันเสียหน่อย (แต่เอาจริงก็แกะได้ไม่ยากนักหากมีเครื่องมือ) คาดการณ์ว่าเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานอย่างเราๆ สามารถแกะเครื่อง MacBook ได้ตัวเองง่ายๆ นอกจากนี้ตรงส่วนที่ใช้ยกฝาจอเพื่อเปิดเครื่องใช้งานก็จะมีการทำเป็นเว้าร่องลงไปเพื่อช่วยในการเปิดเครื่องที่ง่ายขึ้น แต่ตรงมุมแหลมทั้งสองด้านค่อนข้างคมพอสมควร แต่ก็ไม่ได้รบกวนในเรื่องของการใช้งานมากนัก
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ด MacBook Air 13 [Early 2015] ยังได้คงรูปแบบเดิมไว้ซึ่งก็ถือว่าทำไว้ดีอยู่แล้วเช่นกันตามสไตล์ของ Mac กับคีย์บอร์ด 4 แถวขนาด Full Size อีกทั้งด้านการใช้งานในการพิมพ์ ก็ยังตอบสนองได้เป็นอย่างดีทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด รวมทั้งแป้นก็เด้งกับนิ้วเมื่อกดลงไปอย่างพอดี ที่สำคัญมาพร้อมกับไฟส่องสว่างคีย์บอร์ด หรือหลายๆ คนอาจจะเรียกว่า Backlit Keyboard ที่สามารถใช้งานจริงได้สมบูรณ์แบบ ไม่แยงตาอย่างโน๊ตบุ๊คบางรุ่นบางยี่ห้อ และสามารถปรับระดับไฟได้ตามต้องการ หรือจะอัตโนมัติตามสภาพปริมาณแสงก็ได้
ซึ่งบน MacBook Air 13 [Early 2015] มี Ambient light sensor คอยปรับความสว่างไปอัตโนมัติอย่างนุ่มนวลทั้ง Backlit Keyboard และความสว่างของหน้าจอ ส่วนด้านบนของแป้นคีย์บอร์ดที่เป็นปุ่ม F1-F12 จะเป็นปุ่มฟังก์ชุ่นการทำงานพิเศษ อาทิเช่น การปรับความสว่างหน้าจอ เพิ่มเสียงลดเสียง และเรียกใช้งาน Mission Control, Launchpad & Dock ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่ว่าปุ่ม Power ได้ย้ายมาอยู่ตำแหน่งของ Eject เดิม (มุมซ้ายบนสุดของคีย์บอร์ด) เมื่อเทียบกับ MacBook รุ่นหลายปีก่อน
ทัชแพด หรือใน Mac จะเรียกว่า Trackpad ยังคงมีลักษณะรูปแบบหน้าตาเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของสัดส่วนขนาด ที่เป็นวัสดุที่ทำออกมาได้ดี สามารถลากนิ้วได้ลื่น ไม่เกิดอาการสะดุดหรือหน่วงใดๆ ซึ่งจากการใช้งานจริง พบว่าสามารถตอบสนองการใข้งานได้เป็นอย่างดี ทั้งในการใช้งานแบบปกติหรือใช้งานฟังก์ชันการทำงานแบบ Multi-Touch Gesture จริงๆ อย่างที่ทัชแพดควรจะเป็นในโน๊ตบุ๊คทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานตั้งแต่ 1 นิ้ว ไปจนถึง 5 นิ้ว ก็มีให้ใช้งานได้ครบถ้วนในระบบปฏิบัติการ OS X
Screen / Speaker
MacBook Air 13 [Early 2015] ยังคงมาพร้อมหน้าจอแบบด้านขนาด 13.3 นิ้ว ที่มีความละเอียดที่ 1440 x 900 พิกเซล โดยเป็นสัดส่วนหน้าจอ 16:10 ตามมาตรฐานของ MacBook ของ Apple เกือบทุกรุ่น (จะมี MacBook Air 11 เท่านั้นที่ใช้สัดส่วนหน้าจอเป็น 16:9) นอกจากนี้พาเนลหน้าจอยังใช้งานเป็นพาเนล TN แบบชั้นสูง เพราะให้สีสันที่ค่อนข้างสดใสสวยงามกว่าโน๊ตบุ๊คที่ใช้พาเนล TN ปกติ ซึ่งบริเวณตรงกลางของขอบจอด้านล่างจะมีโลโก้ MacBook Air คิดอยู่อย่างสวยงาม
สำหรับบานพับของ MacBook Air 13 [Early 2015] ดูแล้วค่อนข้างเหมือนเดิมก็คือเป็นแบบแกนเดียวที่ให้ความแข็งแรงเมื่อใช้งานและไม่หลวมหรือคลอนง่ายๆ เมื่อใช้งานไปนานๆ ประกอบกับทาง Apple ยังได้มีการติดตั้งแม่เหล็กไว้บริเวณขอบฝาด้านบนไว้สองตำแหน่งทั้งซ้ายและขวา เพื่อให้ตัวเครื่องและฝาประกบกันสนิท แต่ก็ไม่ถืงกับทำให้เปิดฝาขึ้นมาใช้งานลำบากแต่อย่างใด
กล้องเว็บแคมบน MacBook Air 13 [Early 2015]หรือที่ทาง Apple เรียกว่า FaceTime HD camera มาพร้อมกับความละเอียด 720P ที่ให้ความคมชัดกว่า MacBook รุ่นก่อนๆ (เมื่อใช้งานจะมีไฟสีเขียวติดขึ้นมา) เรียกได้ว่าสามารถรองรับการใช้งานในเรื่องของ VDO Call หรือถ่ายรูปตัวเองจากกล้องเว็บแคมใน MacBook Air 13 ได้เป็นอย่างดีทีเดียว ที่น่าสนใจก็คือด้านข้างของกล้องยังได้มีการติดตั้ง Ambient light sensor ไว้ทำหน้าที่ในการตรวจสภาพปริมาณแสงรอบๆ เพื่อคอยปรับความสว่างหน้าจอและคีย์บอร์ดให้เหมาะสมแบบอัตโนมัติ
สำหรับลำโพงของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเป็นแบบสเตอริโอที่ซ่อนตัวอยู่ภายใต้คีย์บอร์ด เพื่อใช้พิ้นที่ในตัวเครื่องได้อย่างคุ้มค่า คุณภาพเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่เสียงดังใช้ได้ แต่ยังไงก็ด้อยกว่าลำโพงของ MacBook Pro Retina 15 พอสมควร เพราะให้ได้เพียงเสียงแหลม เสียงกลางเท่านั้น โดยเสียงทุ้มที่ก็มีมาให้เรียกได้ว่าแทบไม่มี ลักษณะเสียงออกไปแนวกลางๆ ไม่ค่อยใสเคลียร์เท่าใดนัก โดยส่วนตัวจัดว่าพอฟังได้ใช้งานได้ แต่ถ้าให้ดีคงจะเลือกต่อลำโพงแยกหรือหูฟังมากกว่า
ส่วนไมโครโฟนของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเป็นแบบคู่โดยอยู่ทางด้านข้างขอบเครื่องทางซ้าย ให้ประสิทธิภาพในการรับเสียงที่ดี ซึ่งจากการใช้งานจริงพบว่าในการใช้งาน VDO Call หรือบันทึกเสียงโดยตรงจากไมโครโฟนของเครื่อง เสียงที่ออกมานั้นมีความคมชัดพอใช้ได้ และเสียงรบกวนก็ลดน้อยลงอย่างชัดเจน
Connector / Thin And Weight
MacBook Air 13 [Early 2015] จากด้านข้าง เราจะเห็นถือความบางเฉียบที่มีมากกว่าโน๊ตบุ๊คขนาด 13 นิ้วทั่วไปพอสมควร เรียกได้ว่าเทียบกับ Ultrabook ในบางรุ่นได้อย่างสบายๆ ทีเดียว ซึ่งในเรื่องของพอร์ตการเชื่อมต่อของตัว MacBook Air 13 [Early 2015] ที่ตามภาพจะเป็นด้านซ้าย ประกอบไปด้วย ช่องเสียบสายชาร์จไฟ Magsafe 2 มีลักษณะพิเศษคือ เป็นแม่เหล็กดูดติดกับเครื่อง เรียกได้ว่ามีความปลอดภัยในการใช้งานสูงหากเราไม่สะดุดสายไฟ ตัวเครื่องก็จะไม่ตกลงมา ซึ่ง Magsafe เป็นสิทธิบัตรของ Apple เพียงรายเดียว ฉะนั้นแล้วเราจะเห็นที่ชาร์จแบบนี้ได้ ก็จะมีเพียง MacBook เท่านั้น ในการใช้งานหากไฟแบตเตอรี่เต็มจะมีไฟแสดงสถานะเป็นสีเขียว แต่ถ้าหากกำลังชาร์จไฟก็จะเป็นสีส้ม
ถัดมาก็จะเป็น สำหรับพอร์ต USB 3.0 ด้านซ้ายนี้ได้มีใส่มาจำนวน 1 พอร์ตและช่องหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตรที่รองรับการเชื่อมต่อไมค์ในตัวอีกหนึ่งช่องด้วยกัน นอกเหนือจากนี้ไมโครโฟนจำนวน 2 ตัวยังได้อยู่ติดตั้งบริเวณนี้อีกด้วย
ด้านข้างขวาของ MacBook Air 13 [Early 2015] ก็จะเป็นในส่วนช่องเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt 2 จำนวน 1 ช่องทาง ที่นอกเหนือจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นช่องทางการแสดงผล Display Port ได้อีกด้วย และพอร์ต USB 3.0 อีกหนึ่งพอร์ต รวมกับด้านซ้ายก็จะมีทั้งหมดทั้งเครื่องอยู่ 2 พอร์ตด้วยกัน ตามสไตล์ของ MacBook ที่ไม่ต้องการให้มีมากจนเกินไป เพราะจะมีผลต่อรูปแบบดีไซน์ สุดท้ายกับช่องอ่านการ์ดที่รองรับการ์ดความจำยอดนิยมอย่าง SD Card, SDXC Card ที่ใช้ในกล้องดิจิตอลปัจจุบัน
สำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] ตัวเครื่องด้านหน้าก็ยังได้มีการเว้าบริเวณตรงกลาง ลักษณะคล้ายๆ เดิมตามสไตล์ของ MacBook Air ที่ดูสวยงามลงตัว ด้วยการที่มีรูปแบบที่เว้าเข้าไปในเครื่องที่น้อยลง และด้านหลังก็ยังคงรูปแบบเดิมเอาไว้ นั่นก็คือโล่งๆ เราจะเห็นเป็นเพียงแกนฝาพับที่หุ้มด้วยพลาสติกสีดำเท่านั้น ซึ่งมิติของตัวเครื่องMacBook Air 13 [Early 2015] อยู่ที่ ความหนา (ความสูง) 1.7 เซนติเมตร / กว้าง 32.5 เซนติเมตร / ยาว 22.7 เซนติเมตร ที่เรียกได้ว่าความกว้างความยาวไม่แตกต่างไปจาก MacBook Air 13 รุ่นก่อนหน้าเลย อย่างไรก็ตามพวกซอฟต์เคสหรือกระเป๋าที่ใว้ใช้กับ MacBook Air 13 ก็สามารถใช้กับพวกซอฟต์เคสของเหล่า Ultrabook ได้อย่างสบายๆ
อย่างไรก็ตามตามสเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] น้ำหนักจะอยู่ที่ 1.35 กิโลกรัม ในส่วนนี้ก็ไม่ต้องกังวลมากนัก กับน้ำหนักเท่านี้ที่เป็นโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว เรียกได้ว่าเทียบกับ Ultrabook ในบางรุ่นได้อย่างสูสี
แน่นอนว่าในการใช้งานจริงบางครั้งเราจำเป็นต้องพกพาอแดปเตอร์ไปด้วย โดยน้ำหนักก็จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 กิโลกรัม ที่ก็จัดว่ามีน้ำหนักรวมกันไม่สูงมากนัก อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยน้ำหนักยังเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว เมื่อรวมอแดปเตอร์แล้ว และจากการทดลองพกพาใช้งานจริงดูแล้วก็ถือว่ามีความแตกต่างจาการพกพา MacBook Pro Retina 13 เล็กน้อยเท่านั้น
Performance / Software
ด้านซอฟต์แวร์บน MacBook Air 13 [Early 2015] แน่นอนว่า Mac ทุกเครื่องนั้นมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการของตัวเองอย่าง OS X ซึ่งในตอนนี้เวอร์ชั่นล่าสุดก็เป็นในส่วนของ 10.10 ที่มีชื่อว่า Yosemite โดยจะมีเวอร์ย่อยลงมาอีก อย่างใน MacBook Air 13 [Early 2015] เครื่องนี้ก็จะเป็น OS X 10.10.2 แล้ว ที่เร็วๆ นี้จะมีการเปลี่ยนเป็น OS X 10.10.3 อีกทีหนึ่ง
ซึ่งตัว OS X เองสามารถตรวจสเปกของ Mac เครื่องนั้นๆ ได้ง่ายๆ ผ่านทาง About This Mac ซึ่งจากภาพก็แสดงให้เห็นถึงว่า Mac รุ่นนี้คือรุ่นอะไร ปีไหน และสเปกคร่าวๆ อย่าง ชิปประมวลผล, แรม, กราฟิกการ์ด, ซีเรียลนับเบอร์ และเวอร์ชั่นของ OS X โดยถ้าใครต้องการชมแบบละเอียดๆ ก็สามารถกดเข้าไปชมกันได้ที่ปุ่ม System Report ได้เลยครับ ซึ่งเรียกว่าเราจะพบกับข้อมูลและสเปกแบบละเอียดสุดๆ ไปเลย ว่าชิ้นส่วนไหนใช้อะไร ของแบรนด์ไหนบ้าง อันนี้คงไม่เจาะลงไปนะครับ เพราะมันยิบย่อยมากๆ
Benchmark (OS X)
โปรแกรมทดสอบเครื่องที่นิยมในฝั่ง Mac ก็คือ GeekBench ที่มีตัวเลือกให้เทสประสิทธิภาพได้ทั้งแบบ Singer-Core และ Multi-Core ซึ่งคะแนนที่ได้ออกมาก็สามารถนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลคะแนนเฉลี่ยนของ GeekBench เองได้ครับ โดยในส่วนของ Singer-Core ของ MacBook Air [Early 2015] ชิปประมวลผล Core i5 Gen5 มาพร้อมประสิทธิภาพที่เหนือกว่า MacBook Air [Mid 2012] ที่เป็น Core i7 Gen 3 เล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นรองในส่วนของ MacBook Air [Mid 2013] Core i7 Gen 4 และ MacBook Air [Early 2015] Core i7 Gen 5 อยู่พอสมควร
จากนั้นมาชมกันที่ Multi-Core ก็จะพบว่าผลคะแนนที่ออกมานั้นกลับน้อยกว่า MacBook Air [Mid 2012] Core i7 Gen 3 อยู่เล็กน้อย ซึ่งเทียบกันในด้านของการประมวลก็คงไม่มีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าเทียบกับ MacBook Air [Mid 2013] Core i7 Gen 4 และ MacBook Air [Early 2015] Core i7 Gen 5 จะเห็นได้ว่าคะแนนมีความห่างกันพอสมควร ซึ่งถ้าใช้งานทั่วไปในปัจจุบัน ตัว MacBook Air [Early 2015] Core i5 Gen 5 ก็ตอบโจทย์แล้วครับ
โดยทดสอบพลังการประมวลผลของทั้งซีพียูเป็นหลักด้วยโปรแกรม Cinebench R15 ในฝั่ง OS X ของ MacBook Air 13 [Early 2015] คะแนนที่ออกมานั้นถือได้ว่าดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งชิปประมวลผล Intel Core i5-5250U ที่มาพร้อมกราฟิกการ์ด Intel HD Graphics 6000 ให้ผลคะแนน OpenGL ที่มากกว่า MacBook Air 13 รุ่นก่อน พอสมควร ที่ยังไงการทดสอบ Cinebench R11.5 เราจะไปชมคะแนนฝั่ง Windows กันอีกทีนะครับ
อีกส่วนที่หลายๆ คนอยากทราบทดสอบกันที่สุดก็คือความเร็วของ SSD ที่อยู่บน MacBook Air 13 [Early 2015] โดยเครื่องที่ทดสอบได้ติดตั้ง SSD เป็นของ Samsung ขนาดความจุ 128GB สามารถทำความเร็วเฉลี่ยในการอ่านได้ที่ประมาณ 1300 MB/s ส่วนความเร็วในการเขียนจะอยู่ช่วงประมาณ 621 MB/s ด้วยกัน ซึ่งก็คงเป็นผลมาจากการใช้การเชื่อต่อแบบ PCIe ที่โน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ระดับสูงนิยมใช้กัน รวมไปถึง SSD ประสิทธิภาพสูงจากทาง Samsung อีกด้วย ซึ่งเทียบกับรุ่นก่อนหน้าดีขึ้นกว่า 50% ถึงเกือบ 100% เลยทีเดียว
Benchmark (Windows 8)
มาถึงส่วนที่หลายๆ คนน่าจะให้ความสนใจกัน นั่นคือการทดสอบ MacBook Air 13 [Early 2015] บนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ที่ติดตั้งผ่านทางซอฟต์แวร์ Bootcamp ซึ่งการติดตั้ง Bootcamp นั้นก็เหมือนกับการติดตั้ง Windows ในโน๊ตบุ๊คทั่วไปเลย ไม่มีการลดทอนประสิทธิภาพการทำงานลง เพราะมันก็คือการใช้งาน Windows บนเครื่องตรงๆ นั่นเอง แถมยังสะดวกกว่าด้วย เพราะสามารถโหลดไฟล์รวมไดร์ฟเวอร์จาก Apple มาเป็นชุดเดียวเลย คลิกติดตั้งครั้งเดียว แล้วก็รอจนเสร็จซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก
Windows ที่ใช้ในการทดสอบก็คือ Windows 8.1 ที่ทำการอัพเดทล่าสุดแล้ว ซึ่งก็ตรงนี้ทำให้เราเห็นสเปกชัดเจนของชิปประมวลว่าเป็นรุ่น Intel Core i5-5250U โดยมาพร้อมกับแรมขนาด 4GB
โปรแกรม Cinebench R11.5 เทียบกันระหว่างฝั่งรุ่นก่อนหน้า กับรุ่นที่ทดสอบในเรื่องของความเร็วในการทำงานนั้นเต็มที่ตลอดการทดสอบจริงๆ จากการวัดอัตราการใช้งานซีพียูที่เต็มประสิทธิภาพเต็มความเร็วทั้งคู่ โดยผลที่ออกมาก็คือส่วนของกราฟิก OpenGL ฝั่ง MacBook Air 13 [Early 2015] ทำผลคะแนนได้ดีกว่าพอสมควร ส่วนคะแนนขิปประมวลผลนั้นก็ทำได้ดีกว่าพอสมควรเหมือนกัน (เดิม OpenGL 15.31 fps และ CPU 1.89 fps)
ส่วนการทดสอบด้วยเกมนั้น เกมพื้นฐานอย่าง Resident Evil 6 นั้นก็ตั้งค่าความละเอียดแบบ Default ที่ 1280 x 720 พิกเซล ได้คะแนนอยู่ที่ระดับกลางๆ อย่าง Rank C โดยมีคะแนนมากกว่ารุ่นก่อนประมาณ 300-400 ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงคะแนนที่มากกว่าโน๊ตบุ๊คสเปกทีใกล้เคียงกันอีกครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ใช้ฮาร์ดดิสก์เป็น SSD แบบไม่ต้องสงสัยทั้งๆ ที่ใช้เพียงกราฟิการ์ดแบบออนบอร์ดเท่านั้น แต่ก็ถือได้ว่าน่าประทับใจแล้วเพราะเกมนี้อย่างที่รู้ๆ กันก็คือตัว Benchmark ค่อยข้างกินทรัพยากรเครื่องพอสมควร
สำหรับ Street Fighter 4 ที่ตั้งค่าเป็น Default บนความละเอียด 1280 x 720 พิกเซล ผลคะแนนก็ได้เท่าๆ กับโน๊ตบุ๊คที่มีสเปกใกล้เคียงกันเช่นกัน ที่สำคัญยังได้คะแนนมากกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 3,000 คะแนนด้วยกัน ที่แสดงให้เห็นถึงฮาร์ดแวร์ที่ทาง Apple เลือกสรรค์มามีความเข้ากันได้เป็นอย่างดี โดยสำหรับเกมนี้ถือได้ว่าพอจะเล่นได้แบบสบายๆ เพราะกราฟิกกินไม่ค่อยมากอยู่แล้ว
สรุปแล้วในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานด้วยชิปประมวลผลและกราฟิกการ์ดดีขึ้นแบบรู้สึกได้เลย (ผลเทสอาจจะน้อยและไม่ละเอียดเท่าที่ควร เพราะไปรีวิวที่หน้าร้านครับ ยังไงของอภัยตรงจุดนี้ด้วย)
Battery / Heat / Noise
ในการทดสอบเรื่องของการใช้งานแบตเตอรี่ที่มีความจุ 7324 mAh บน MacBook Air 13 [Early 2015] นั้น ด้วยความที่เป็นระบบปฏิบัติการ OS X จึงสามารถจัดการพลังงานได้อย่างสมบูรณ์า โดยในสถานะเครื่องเปิดไว้เฉยในสถานะแบตเตอรี่ 100% โดยทดสอบตามสถานะตามการใข้งานจริงด้วยการปรับความสว่างบนหน้าจออยู่ที่ 50% และไฟคีย์บอร์ด Backlit ปรับไว้ที่ 50% เช่นกัน ผลเวลาที่ได้ออกมาจะอยู่ที่ประมาณ 12 ชั่วโมงกว่า ตามที่ Apple บอกไว้ในสเปกและรายละเอียดของ MacBook Air 13 พอดีที่ 12 ชั่วโมง ซึ่งเชื่อว่าหากใช้งานบน Windows ระยะเวลาของแบตเตอรี่น่าจะน้อยลงกว่านี้
เรื่องความร้อนของเครื่องที่ทดสอบด้วยโปรแกรม Hardward Monitor นั้น ในภาพด้านบนเป็นการวัดในขณะเครื่องไม่ได้เปิดโปรแกรมอื่น (ดูที่ค่า Min) ซึ่งก็คืออยู่ในสถานะ idle อุณหภูมิที่ออกมาจัดได้ว่าค่อนข้างเย็น ส่วนตัวเครื่องอุณหภูมิโดนรอบตัวเครื่องทั้งหมดก็ถือว่ามีอุณหภูมิที่ต่ำ เนื่องด้วยความสามารถของตัววัสดุที่ช่วยถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็ว รวมไปถึงพัดลมระบายความร้อนก็หมุนรอบที่น้อยลงกว่าเดิม แน่นอนว่าด้วยอุณหภูมิที่ต่ำลงคงต้องยกความดีความชอบให้กับชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 ที่กินไฟต่ำ แต่ยังคงให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่าเดิม
เรื่องอุณหภูมิบริเวณตัวเครื่อง เมื่อทำการเบิร์นให้ทำงาน 100% ได้ค่าอุณหภูมิซีพียูภายในชิปประมวลผลอยู่ที่ประมาณ 104 องศาเซลเซียส จากค่า Max) เพื่อที่จะได้ทำเครื่องทำงานเต็มประสิทธิภาพที่สุด โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส ในอุณหภูมิห้องที่ 27 องศาเซลเซียส โดยประมาณ แต่ละตำแหน่งตามตัวเครื่อง ที่เป็นส่วนของที่พักมือกับ Trackpad และส่วนด้านล่างของตัวเครื่อง จะเห็นได้ว่าแทบไม่มีความร้อนออกเลย นั่นก็เพราะบริเวณส่วนนี้ไม่มีอะไรนอกเหนือจากแบตเตอรี่
ส่วนบริเวณของกลางเครื่องที่เป็นที่อยู่ของชิปประมวลผลทั้งซีพียูจะเห็นว่ามีอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง แต่การใช้งานจริงเพียงแค่รู้สึกร้อนๆ นิดหน่อยเท่านั้น ต่อกันที่ตำแหน่งใกล้ Macsafe จะมีอุณหภูมิสูงหน่อยกรณีที่เราชาร์จไฟ แต่ถ้าแบตเตอรี่เต็มแล้วก็จะไม่มีความร้อนแต่อย่างใด สรุปรวมๆ แล้วความร้อนภายในตัวเครื่องไม่มีผลกับการใข้งานแต่อย่างใดครับ ที่สำคัญพัดลมยังมีเสียงที่ค่อยข้างเงียบกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปเล็กน้อย แต่ก็ขอแนะนำว่าหากจำเป็นต้องใช้งานหนักหรือประมวลผลสูงๆ ก็ให้มาใช้ในห้องที่เย็นหน่อย นอกจากนี้เครื่องของ MacBook Air 13 [Early 2015] ยังสามารถคลายความร้อนได้อย่างรวดเร็วจากบอดี้ที่เป็นวัสดุอะลูมิเนียมอัลลอยด์อีกด้วย เพราะฉะนั้นไม่ติดฟิล์มไม่ใส่เคสที่ตัวเครื่องจะดีที่สุดครับ
Conclusion / Award
MacBook Air 13 [Early 2015] นับเป็นผลิตภัณฑ์จาก Apple ที่เป็นเพียงการอัพเดทสเปกและเปลี่ยนแปลงหน้าตาเล็กน้อยเท่านั้น กับโน๊ตบุ๊คขนาด 11 และ 13 นิ้ว ที่มีความบางเบาโดยใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5 Gen 5 สถาปัตยกรรม Broadwell ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ โดยยังประหยัดพลังงานเหมือนเดิม แต่กลับร้อนน้อยลง รวมไปถึงได้มีการเลือกใช้หน่วยความจำสำรองเป็นแบบ SSD PCIe เวอร์ชั่นล่าสุดซึ่งมีความเร็วสูงกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ที่ส่งผลให้สามารถรีดประสิทธิภาพสูงสุดออกมาได้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้นเรื่องประสิทธิภาพจัดว่าตอบสนองได้ดีทีเดียว แม้ว่าอาจจะเป็นรองด้านราคาเหมือนเทียบกับ Ultrabook บางรุ่น ที่พับหรือถอดจอเป็นแท็บเล็ตที่สามารถทัชสกรีนได้
สำหรับรุ่นที่ทางทีมงานนำมารีวิวนั้นเป็น MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มีขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว ความละเอียด 1440 x 900 พิกเซล มาพร้อมชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5-4250U ความเร็ว 1.3GHz อีกทั้งยังเพิ่มความเร็วไปได้ถึง 2.6GHz ระบบการทำงานเป็นแบบ 2 คอร์ 4 เทรด แรมเป็นแบบถอดเปลี่ยนเองไม่ได้ติดเครื่องมาให้จำนวน 4GB ที่เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปอย่างสบายๆ ส่วนกราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดที่เรียกได้ว่าตรงจุดนี้มีความน่าสนใจเพราะถือว่าแรงกว่ารุ่นก่อนหน้าพอตัวด้วย Intel HD Graphics 6000 รวมไปถึงยังเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ความเร็วสูง
อีกทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ OS X 10.10 Yosemite ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดพร้อมคุณสมบัติใหม่ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้มีการเข้ากันทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดี มีความสเถียรแบบไม่ต้องกังวลว่าเครื่องจะแฮงค์หรือค้าง แถมยังมีการแสดงภาพ User Interface ที่ดูแล้วสวยงามลงตัว ที่สำคัญในเรื่องของการตื่นจาก Sleep ก็ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที อีกทั้งใช้เวลา Boot เครื่องเพียงประมาณ 10 วินาทีเท่านั้นเอง ที่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นผลมาจาก SSD แบบ PCIe รุ่นล่าสุดที่ติดตั้งมาให้
ด้านงานประกอบของ Apple หลายๆ คนคงทราบเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่ามีความสมบูรณ์แค่ไหน รวมไปถึงวัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบก็จัดได้ว่าเป็นชั้นดีทั้งสิ้น จวบจนการดีไซน์ออกแบบของตัวเครื่อง MacBook Air 13 [Early 2015] นั้น เชื่อได้ว่าทุกคนที่ได้เห็นต้องชอบมันอย่างแน่นอน ด้วยการเน้นแนวทางการอกแบบที่ดูเรียบๆ แต่หรูหรา ยิ่งมีในส่วนของฝาหลังรูป Apple มีแสงไฟเปล่งออกมา ยิ่งทำให้น่าจับจองมาใช้งานเพิ่มขึ้นไปอีก รวมไปถึงความบางและน้ำหนักที่น้อย ทำให้สะดวกในการพกพากว่าโน๊ตบุ๊คธรรมดาทั่วไปขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนานสูงสุดประมาณ 12 ชั่วโมงด้วยกัน
นอกเหนือจากนั้นตัวคีย์บอร์ดเองก็มีไฟ Backlit ทำให้เพิ่มความสะดวกในการใช้งานที่มีแสงน้อยยิ่งขึ้น เรื่องของสัมผัส Trackpad และคีย์บอร์ดก็ให้ความรู้สึกที่ดีในการใช้งานแบบรู้สึกได้ไม่ยาก เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คตัวอื่นๆ อีกทั้งยังมีช่องเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt 2, USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต และ Bluetooth เวอร์ชั่น 4.0 ที่มีเอาไว้ใช้กับอุปกรณ์ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะดูเป็นโน๊ตบุ๊คเครื่องหนึ่งที่ดูสมบูรณ์แบบในเรื่องของความบาง น้ำหนัก การพกพา ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ แต่ก็ยังมีข้อสังเกตเรื่องพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีอยู่อย่างจำกัด สำหรับในการตัด Super Drive อันนี้คงเป็นเรื่องของความบางและน้ำหนักของเครื่องที่ต้องลดลง ซึ่งใครจะใช้การอ่านเขียนแผ่น DVD คงต้องซื้อไดร์ฟ DVD ภายนอกติดเอาไว้ รวมไปถึงพอร์ตต่างๆ ที่ทาง Apple คงเห็นว่าคงจะใช้ไม่ค่อยบ่อยอย่าง Ethenet (RJ-45) และ Firewire 800 แต่อย่างไรก็ตามคนที่ต้องจำเป็นใช้งานอยู่ก็สามารถหาซื้อสายแปลงได้ จาก Thunderbolt ไป Ethenet หรือ Thunderbolt ไป Firewire 800 สนนราคาอยู่ที่เส้นละ 990 บาท (จัดว่าไม่ถูกและก็ไม่แพงจนเกินไป)
คนที่มีความสนใจในโน๊ตบุ๊คที่บางและเบาอารมณ์แบบ Ultrabook มีความเป็นไปได้ที่จะนำ MacBook Air รุ่นใหม่นี้มาเป็นตัวเลือกอย่างแน่นอน ที่ถึงแม้หน้าจอจะไม่สามารถทัชสกรีนได้ แต่ในกรณีใช้งานบนระบบปฏิบัติการ OS X ก็สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบไม่น้อยหน้าเครื่องโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ทีเดียว ส่วนรุ่นที่แนะนำคงเป็น MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มาพร้อม SSD ความจุ 128GB โดยเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปในราคาเพียง 34,900 บาทเท่านั้น เรียกได้ว่าราคาถูกกว่า Ultrabook บางรุ่นซะอีก
เอาเป็นว่าสำหรับคนที่สนใจก็สามารถสั่งซื้อ MacBook Air รุ่นใหม่นี้ ขอแนะนำให้เพิ่มแรมเป็น 8GB ก็จะดีมากๆ เพื่อรองรับการใช้งานสำหรับการเปิดหลายโปรแกรม หรือถ้าจะเน้นทำงานหนักก็อัพเกรดเป็นตัวชิปประมวลผล Core i7 ดูได้เลย ราคาก็เพิ่มขึ้นมาตามภาพประกอบด้านล่าง ที่โดยส่วนตัวก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์รับได้ ไม่แพงจนเกินไปนัก
ปิดท้ายกันสำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] แม้ว่าในเรื่องของการดีไซน์ออกแบบยังคงเดิม ซึ่งก็เป็นปกติของ Apple อยู่แล้วที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์บ่อยๆ แต่จะเป็นการเพิ่มฟีเจอร์หรือประสิทธิภาพการทำงานเข้าไปแทน รวมไปถึงหน้าจอ Retina Display จะยังไม่มาในรุ่นนี้ แต่ก็เชื่อได้ว่าในอนาคต Apple ต้องเพิ่มความละเอียดหน้าจอลงไปใน MacBook Air รุ่นต่อๆ ไปอย่างแน่นอนครับ โดยรวมก็ถือว่าปรับสเปกขึ้นลดราคาลง ทำให้หลายๆ คนตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ว่าแล้วก็ซื้อผ่านทาง Apple Store Online ส่วนใครอยากจับเครื่องจริงๆ ก่อนตัดสินใจซื้อก็สามารถเดินไปตามหน้าร้าน iStudio by comseven กันได้เลย เรียกได้ว่ามีพนักงานคอยให้บริการเป็นอย่างดีแน่นอน ปิดท้ายด้วยสเปกและราคาของ MacBook Air 13 [Early 2015] ทั้ง 4 รุ่นครับ
- MacBook Air 11 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 128GB ราคา 31,900 บาท
- MacBook Air 11 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 256GB ราคา 37,900 บาท
- MacBook Air 13 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 128GB ราคา 34,900 บาท
- Macbook Air 13 : Core i5/HD6000/Ram 4GB/SSD 256GB ราคา 41,900 บาท
จุดเด่น
- เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 13.3 นิ้ว มีขนาดบาง น้ำหนักเบา สามารถพกพาไปได้สะดวก
- มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้เป็นอย่างดี ด้วยชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 (Broadwell)
- หน้าจอมีความสสวยสมจริงตามมาตรฐาน Apple MacBook
- กราฟิกภายใน Intel HD Graphics 6000 มีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นเดิมพอสมควร
- SSD มีความเร็วมากกว่ารุ่นก่อนหน้าประมาณ 50% – 100%
- เปิดเครื่องหรือตื่นจากโหมด Sleep, Boot เครื่อง และเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้อย่างรวดเร็ว
- ดีไซน์การออกแบบสวยและงานประกอบมีความประณีต ด้วยวัสดุชั้นดีอย่างอะลูมิเนียมแบบ Unibody ตัวเครื่องแข็งแรง
- มีไฟ Backlit Keyboard ที่ใช้งานได้อย่างสบายตา
- สามารถสั่งอัพเกรดสเปกได้โดยตรงตั้งแต่ตอนสั่งซื้อ (ซีพียู, ฮาร์ดดิสก์)
- TrackPad (ทัชแพด) สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี
- มีช่องทางเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt จำนวน 2 พอร์ต, USB 3.0 อีก 2 พอร์ต
- มาตรฐานการเชื่อมต่อเป็นรุ่นล่าสุด 802.11ac
- ไมโครโฟนที่ติดตั้งมาเป็นแบบคู่ที่ประสิทธิกาพการทำงานดีกว่าเดิม
- ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานสูงสุดประมาณ 11-12 ชั่วโมง
- มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Mac OS X 10.10 Yosemite ที่มีคุณสมบัติมากมาย
- มีอุปกรณ์เสริมให้เลือกใช้มาก ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดเคส ซอฟต์เคส หรืออื่นๆ ที่ออกแบบมาเฉพาะ
- ราคาคุ้มค่ากว่า Ultrabook ในบางรุ่นในท้องตลาด
- สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 ได้หากต้องการ ผ่านทาง Bootcamp
ข้อสังเกต
- พอร์ตเชื่อมต่อในตัวเครื่องค่อนข้างมีจำกัด หากต้องการใช้ Ethernet หรือ Firewire 800 ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่ม
- ด้วยวัสดุเป็นอะลูมิเนียม ถ้าปลั๊กไม่มีการเดินสายดินไว้ อาจเกิดไฟดูดบ้างเล็กน้อย
- ไม่สามารถอัพเกรดใดๆ ได้เลยในภายหลัง
- ในการแกะฝาใต้เครื่องทำได้ยาก เพราะต้องใช้ไขควรเฉพาะ
- ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้งานกับพอร์ต Thunderbolt ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพงอยู่ จึงอาจใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพในขณะนี้
- เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 13 นิ้วที่ไม่มีออฟติคอลไดร์ฟ
- ในการ Restore OS X เครื่องต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น ยกเว้นสำรองไฟล์ติดตั้งเอาไว้แล้ว
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง MacBook Air 13 [Early 2015] ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Design
เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Apple มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดใน MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโฉบเฉี่ยวเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรู ประกอบการงานการประกอบระดับคุณภาพ ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกันอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งความบางของตัวเครื่องก็ถือว่าทำได้ดีเทียบเท่ากับ Ultrabook ระดับสูงหลายๆ รุ่นทีเดียว ฉะนั้นในเรื่องของรางวัล Best Design ทำให้ได้ไปอย่างไม่ยากเย็น
Best Mobility
ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของ MacBook อยู่เช่นเดิม ทั้งในความบางเพียง 17 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.35 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก แถมไม่ต้องกลัวว่าเครื่องจะมีปัญหาอีกด้วย เพราะระบบไม่ได้ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก จึงทำให้ MacBook Air 13 [Early 2015] ได้รับรางวัล Best Mobility ไปอย่างง่ายดาย
Best Battery Life
แม้ว่าในตัวของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะอัดแน่นไปด้วยสเปกหรือเทคโนโลยีต่างๆ แต่ในเรื่องของการใช้งานของแบตเตอรี่ก็ถือว่าทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจ โดยเฉลี่ยแล้วถ้าใช้งานทั่วไปจะอยู่ได้นานถึงประมาณ 11 ชั่วโมงด้วยกัน ส่งผลให้ได้รางวัล Best Battery Life ซึ่งในส่วนนี้ก็เป็นผลมาจากการที่ Apple ได้ใส่แบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ความจุ 7125 mAh เข้าไป อีกทั้งระบบปฏิบัติการ OS X 10.10 Yosemite ก็เป็นตัวช่วยจัดการพลังงานได้เป็นอย่างดี โดยที่เราไม่จำเป็นต้องปรับค่าเองแต่อย่างใดเลย