โปรแกรม Super PI คือการคำนวณค่า PI จาก เส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้น เป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้นเมื่อ Loop มันเป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณค่าได้ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่า ให้คำนวณค่าที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณค่าที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณค่าได้น้อยลง
มาถึงโปรแกรมทดสอบที่ผมให้เป็นพระเอกในการทดสอบ Core i7 ตัวนี้เลย ด้วย Super Pi เพราะเป็นโปรแกรมที่ค่อนข้างเก่าไม่รองรับการทำงานแบบ 4 Core จึงจะทำให้สามารถเห็นประสิทธิภาพของฟังค์ชั่น Turbo boost ได้ โดยจาก Task Manager จะเห็นว่าซีพียู OS นั้นเห็นว่าซีพียูมี 8 Thread ซึ่งขณะรันโปรแกรมซีพียูใช้งานแต่ 15 % เท่านั้น หรือตีเป็น 1 Thread นิดๆ
Core i7-720QM
Core i7-820QM
เมื่อรันโปรแกรมพร้อมกับเปิดฟังค์ชั่น Turbo boost เพื่อแสดงประสิทธิภาพสูงสุดต่อโปรแกรม Super pi จะเห็นได้เลยนะครับว่าสามารถคำนวณค่า 1 MB เพียงแค่ 15 วินาทีนิดๆเท่านั้น เหนือกว่าซีพียู 2 หัว ความเร็วสูงหลายๆตัว แสดงให้เห็นถึงฟังค์ชั่นนี้ที่มีประโยชน์กับโปรแกรมหลายๆโปรแกรมที่ไม่รองรับซีพียูหลายๆหัว หรือต้องการแค่ซีพียูที่มีความเร็วสูงๆเท่านั้น แต่ถ้าหากบางโปรแกรมรองรับซีพียูหลายๆหัวหรือหลายๆ Thread Turbo boost ก็สามารถปรับให้เหมาะสมตามการทำงานได้
เทียบกันให้เห็นๆไปเลยครับว่าระหว่าง 820QM ที่มีสเปก(และราคา)สูงกว่า มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า 720QM อยู่เล็กน้อยตามสเปกความเร็วสูงสุดของ Turbo Boost ต่างกันประมาณ 1 วินาที ถ้าหากเป็นโปรแกรมที่หนักๆจริงก็เห็นผลได้มากเลยทีเดียว แต่ถ้าใช้งานไม่หนักมาก และเน้นในเครื่องของราคาด้วยละก็ Core i7-720QM ก็เพียงพอแล้ว
Hyper PI
มีหลักการทำงานคล้ายๆกับ Super Pi แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัวทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
Core i7-720QM
Core i7-820QM
ในโปรแกรม Hyper Pi ก็มีประสิทธิภาพที่ต่างกันพอสมควร ราวๆ 2 วินาทีแนวเดียวกับ Super Pi
โปรแกรมที่ Intel ให้การยอมรับเพราะสามารถทดสอบประสิทธิภาพซีพียูทั้ง 8 Thread พร้อมกันโดยซีพียูจะทำงานถึง 100 %
เมื่อเป็นโปรแกรมที่รองรับแล้วจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพต่างกันมากพอสมควรเลยทีเดียว
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสค์ขนาด 500 GB
จากการทดสอบความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลจะอยู่ที่ 77.6 Mb ต่อ วินาที ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 19.3 ms (ยิ่งน้อยยิ่งดี)
ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสค์จัดได้ว่าดีทีเดียว
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยเชื่อมต่อกับ Access Point ที่มีระยะห่างออกไป 1.5 เมตร และโอนถ่ายข้อมูลจาก PC อีกเครื่องที่อยู่ในวงแลนเดียวกัน
เป็นการ์ด Wireless ระดับขั้นเทพเลยครับกับ 5300AGN รุ่น 3 เสา สัญญาณสเถียรและนิ่งสุดๆ
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรม โดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, Graphics, HDD
ประสิทธิภาพสูงมากเลยทีเดียวโดยเฉพาะในส่วนของซีพียู แต่จะเห็นว่าเป็นรองอีกรุ่นก็เพราะว่าการ์ดจอเองเป็นรุ่นที่ด้อยกว่า และแรมที่มีความจุน้อยกว่า แต่ก็ต่างกันไม่มากนัก
PCMark Vantage
PCMark Vantage ก็เป็นไปในเชิงเดียวกับ PCMark05 ด้อยกว่าของอีกรุ่น ด้วยการ์ดจอและรอมที่เป็นรองกว่า แต่แน่นอนว่าราคาเองก็ต่างกันเอาเรื่องเลยทีเดียว