สำหรับหน่วยประมวผลรุ่นที่ 10 สำหรับโน๊ตบุ๊คของทาง Intel นั้นเริ่มที่จะวางจำหน่ายออกมาได้สักพักแล้วครับ อย่างไรก็ตามแต่ครับคงต้องยอมรับความจริงกันอยู่ว่าสำหรับหน่วยประมวลผลสำหรับโน๊ตบุ๊คนั้นประสิทธิภาพของ Core Gen 10 ยังดูดีกว่าคู่แข่งอยู่พอสมควร ทั้งนี้แล้วทาง Intel เองก็ไม่ได้เพ่มเติมเฉพาะในส่วนของประสิทธิภาพสำหรับการประมวลผลของตัวหน่วยประมวลผลเท่านั้นนะครับ เนื่องจากบนหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Comet Lake-U และ Ice Lake-U นั้นยังจะมาพร้อมกับชิปกราฟิกแบบฝังในรุ่น Iris Plus ซึ่งเป็นชิปกราฟิกแบบฝังรุ่นใหม่ของทาง Intel ด้วย(เฉพาะในบางรุ่น)
สำหรับชิปกราฟิกแบบฟัง Iris Plus บนหน่วยประมวผลรุ่นที่ 10 ของทาง Intel นั้นจะเป็นกราฟิกชิปแบบฝังรุ่นที่ 11 ครับ โดยหากทุกท่านจะเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับชิปกราฟิกรุ่นดังกล่าวนั้นให้สังเกตง่ายๆ เลยครับว่าที่รหัสหน่วยประมวลผลจะมีสัญลักษณะ G7 อยู่ตัวอย่างเช่น Core i7-1065G7 ที่เราจะนำมาให้ทุกท่านได้ดูผลทดสอบของมันกับกราฟิกชิปแบบแยกอย่าง GeForce MX250 ในวันนี้ครับ
ก่อนอื่นต้องพูดถึงสเปคของ Iris Plus G7 กันก่อนครับ โดยหากยึดตามข้อมูลของทาง Intel ที่ได้ปล่อยออกมานั้นจะพบว่าตัวชิป Iris Plus G7 จะมาพร้อมกับ 64 EUs พร้อมด้วยความเร็วสัญญาณนาฬิกาฐานที่ 300 MHz และ boost ที่ 1100 MHz หน่วยความจำที่ใช้นั้นจะเป็น DDR4 คือต้องดึงหน่วยความจำจากระบบไประดับหนึ่งเพื่อที่จะใช้งานนั่นล่ะครับ ตัวชิปนั้นจะรองรับ DirectX 12 ฟีเจอร์เด็ดนอกจากการเล่นเกมแล้วนั้นก็คือเจ้า Iris Plus G7 นั้นยังมาพร้อมกับเทคโนโลยี QuickSync ซึ่งจะเข้ามาช่วยในการเข้าและถอดรหัสไฟล์วีดีโอ VP9 และ H.265/HEVC Main10 profile ที่ 10-bit ได้สบายๆ ครับ
หากคิดสเปคตามทฤษฎีแล้วนั้นจะพบว่า Iris Plus G7 นั้นจะมีประสิทธิภาพอยู่ระหว่าง Vega 10 และ Vega 11 ของทางฝั่ง AMD ครับ ซึ่งด้วยสเปคขนาดนี้ล่ะครับที่ทำให้มันน่าสนใจเอามากๆ เลยเนื่องจากว่ามันสามารถที่จะใช้งานในการเล่นเกมโดยทั่วไปบนโน๊ตบุ๊คได้อย่างดีมากๆ หากประสิทธิภาพที่ได้รับนั้นออกมาเหมือนกับทฤษฎีจริงๆ ก่อนที่จะไปดูการประชันกันนั้นลองมาดูสเปคของ GeForce MX250 กันก่อนครับ
สำหรับ GeForce MX250 นั้นจะมาพร้อมกับสถาปัตยกรรม Pacsal ครับโดยที่ตัวชิปนั้นจะมี Pipelines อยู่ที่ 384 – unified ความเร็วสัญญาณนาฬิกานั้นจะอยู่ที่ 1518 MHz ถึง 1582 MHz ที่ boost ด้วยความที่เป็นชิปกราฟิกแบบแยกนั้นเลยทำให้ GeForce MX250 นั้นจะมาพร้อมกับหน่วยความจำ GDDR5 ที่ขนาด 4 GB ครับ ซึ่งตรงจุดนี้ล่ะครับที่ทำให้ GeForce MX250 นั้นดูมีภาษีดีมากกว่า Iris Plus G7 อยู่พอสมควรเลยทีเดียวครับ
อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นสิ่งหนึ่งที่อยากให้ทุกท่านได้เข้าใจกันเอาไว้ก่อนนั้นก็คือการทดสอบด้วยโปรแกรม Benchmark อย่างเช่น 3DMark นั้นหากคะแนนที่ได้ต่างกันมาก ทว่าในการเล่นเกมจริงนั้นอาจจะไม่ต่างกันเท่ากับ Benchmark ก็เป็นได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยก็คือชิปกราฟิก GTX 1060 กับ RTX 2070 Max-Q ที่ RTX 2070 Max-Q นั้นได้คะสูงกว่า GTX 1060 อยู่ที่ราวๆ 40% บน 3DMark ทว่ากับบนการเล่นเกมจริงแล้วนั้นประสิทธิภาพนั้นจะต่างกันที่ราวๆ 20% เท่านั้น ดังนั้นแล้วไปชมกันก่อนครับว่าจะเป็นเช่นไรบ้างกับการทดสอดด้วยโปรแกรม 3DMark ครับ
จากผลการทดสอบนั้นจะเห็นได้ครับว่า Iris Plus G7 นั้นสามารถที่จะทำคะแนนแรงกว่า GeForce MX250 ในบางการทดสอบ บางการทดสอบนั้นก็ได้คะแนนน้อยกว่าสลับกันไปมา แต่ทว่าหากดูกันโดยรวมแล้วนั้นจะพบว่าคะแนนที่ออกมานั้นจะไม่ค่อยแตกต่างกันไปสักเท่าไรนักครับ ทว่าเพื่อเป็นการพิสูจน์อย่างถูกต้องแล้วนั้นก็ต้องลองกับเกมจริงๆ หน่อย โดยในการทดอบกับเกมนั้นจะได้ผลการทดสอบดังต่อไปนี้ครับ
และแล้วก็มาถึงผลการทดสอบในการเล่นเกมจริงๆ ครับ ซึ่งจากกราฟทางด้านบนนั้นทุกท่านจะสามารถเห็นได้ว่า GeForce MX250 นั้นยังคงสามารถที่จะขับ FPS ของตัวเกมออกมาได้ดีกว่า Iris Plus เป็นอย่างมาก โดยหากเฉลี่ยรวมๆ กันแล้วนั้นก็จะมีความแตกต่างกันราวๆ 50% – 70% กันเลยทีเดียว สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจากสิ่งต่างๆ ดังนี้ครับ
- การปรับแต่งเกมให้เข้าและเหมาะสมกับคุณสมบัติที่อยู่บน Iris Plus นั้นเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีผู้ผลิตรายใดเลยที่ทำออกมา นั่นเลยทำให้ประสิทธิภาพของ Iris Plus เองนั้นทำออกมาได้ไม่ดีมากนักดังเช่นเกมตัวอย่างอย่าง Shadow of the Tomb Raider เป็นต้นครับ
- เรื่องของหน่วยความจำที่กราฟิกชิปทั้ง 2 ใช้ โดย Iris Plus นั้นจะแชร์หน่วยความจำมาจากหน่วยความจำหลักของตัวเครื่องซึ่งนั่นทำให้หากตัวเครื่องมีขนาดหน่วยความจำหน้อยอยู่แล้วนั้นก็จะส่งกระทบต่อการเล่นเกมด้วย อีกจุดหนึ่งก็คือปัญหาเรื่องขอขวดที่การประมวลผลต่างๆ นั้นจะต้องส่งผ่านทางหน่วยความจำของระบบทั้งหมดครับ ในจุดนีันั้นย่อมแน่นอนว่าชิปกราฟิกที่มาพร้อมกับหน่วยความจำแบบแยกนั้นย่อมที่จะประมวลผลได้ดีกว่ามาก
เอาเป็นว่าจริงๆ แล้วหากจะนำชิปกราฟิกแบบฝังกับชิปกราฟิกแบบแยกมาทำการเปรียบเทียบกันนั้นก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการจับคู่ที่ไม่ค่อยจะถูกเท่าไรนัก ทว่ากราฟิกชิปแบบฝังอย่าง Iris Plus G7 นั้นก็เรียกได้ว่าได้รับการปรับปรุงมาจากรุ่นเก่าของทาง Intel เป็นอย่างมากครับ ดังนั้นแล้วหากเป็นไปได้ถ้าคุณยังคงที่จะนำโน๊ตบุ๊คมาเล่นเกมบ้างแก้เบื่อล่ะก็ยอมเพิ่มงบอีกสักนิดหน่อยไปเล่นเครื่องรุ่นที่มาพร้อมกับชิปกราฟิกแบบแยกก็ยังคงจะดีกว่าครับ
ที่มา : notebookcheck