ซื้อพาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 นี้มีคำตอบพร้อมรุ่นน่าใช้ให้เลือกเพียบ!
ยุคที่อุปกรณ์ไอทีมีความสำคัญกับชีวิตของเราจนแทบเป็นอวัยวะอีกชิ้นไปแล้ว นอกจากอแดปเตอร์ก็มีคนถามหาว่าจะซื้อพาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 นี้ถึงจะแรงพอใช้ชาร์จแบตเตอรี่ให้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะหูฟังไร้สาย, สมาร์ทโฟนไปจนโน๊ตบุ๊คได้ในเครื่องเดียวบ้าง? สำหรับคำถามแรกนี้ก็ต้องทำความเข้าใจกับเทคโนโลยี GaN (Gallium Nitride) สารกึ่งตัวนำสำหรับผลิต IC (Integrated Circuit) เป็นวัสดุซิลิคอนซึ่งมีความสามารถในการแปลงไฟฟ้าได้ดีและค่าความต้านทานกับอุณหภูมิระหว่างทำงานต่ำ จึงกลายเป็นวัสดุยอดนิยมสำหรับพาวเวอร์แบงค์และอแดปเตอร์ชาร์จตัวเล็กกำลังสูงทั้งหลายในยุคนี้นั่นเอง หากใครสนใจก็สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในบทความนี้ได้
ประเด็นถัดมาจากเรื่องเทคโนโลยี GaN แล้ว ถ้าคิดว่าจะซื้อพาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 ไว้ใช้งาน ถ้าใช้งานในประเทศเป็นหลักก็ไม่ยุ่งยากนัก แค่เลือกแบรนด์ชั้นนำไว้ใจได้และความจุตามต้องการได้เลย แต่ถ้านำติดตัวขึ้นเครื่องบินไปต่างประเทศ ตามกฏของ IATA และ CAAT (The Civil Aviation Authority of Thailand) นั้นจะมีกฏห้ามพกพาวเวอร์แบงค์ความจุมากเกิน 32,000mAh หรือเกิน 99.9Wh ขึ้นเครื่องบินในทุกกรณีและห้ามโหลดใต้เครื่อง เพื่อป้องกันเหตุสุดวิสัยระหว่างการโดยสารได้ ถ้าใครกำลังสนใจข้อมูลเรื่องนี้อยู่สามารถอ่านบทความประกอบการตัดสินใจที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ได้
- 7 พาวเวอร์แบงค์ชาร์จเร็ว จ่ายไฟแรงเต็มแม็กซ์พร้อมลุยได้ทั้งวัน! แรง 200W พร้อมวิธีพกขึ้นเครื่องบิน อัพเดทปี 2023
- 6 พาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องไม่ติด ตม. ใส่กระเป๋าออกบินสะดวก!
6 พาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 นี้ ถึงชาร์จโน๊ตบุ๊คและมือถือได้แรงๆ
- Eloop E43 25,000mAh (1,079 บาท)
- Eloop EW56 7,000mAh (1,199 บาท)
- Baseus FAST CHARGE POWER BANK QPow2 20,000mAh (1,275 บาท)
- Anker 733 GaNPrime Power Bank 65W 10,000mAh (3,990 บาท)
- ZMI Cuktech PB200P 20,000mAh (3,990 บาท)
- ZMI CUKTECH P23 25,000mAh (5,990 บาท)
1. Eloop E43 25,000mAh (1,079 บาท)
- Capacity : Li-Polymer 25,000mAh
- Port : USB-C*2, USB-A*2
- Total output : 30 วัตต์
- Charging protocols : QC 3.0, PD
- Price : 1,079 บาท (Eloop Shopee Mall)
ถ้าพาวเวอร์แบงค์ลูกเก่าเก็บประจุไม่ดีเท่าเดิมแล้วคิดว่าจะซื้อพาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 มาใช้แทน เริ่มต้นจาก Eloop E43 ได้เลย ซึ่งข้อดีของพาวเวอร์แบงค์ก้อนนี้ยกให้เรื่องกำลังชาร์จ 30 วัตต์ ซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดของโปรโตคอลชาร์จแบบ Power Delivery นอกจากชาร์จสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เสริมต่างๆ ได้พร้อมกันถึง 4 ชิ้น แถมชาร์จแบตเตอรี่ให้โน๊ตบุ๊คบางเบาหลายๆ รุ่นได้ด้วยโปรโตคอล Power Delivery ช่วยให้ทำงานได้นานขึ้นอีกนิดในยามจำเป็น เป็นพาวเวอร์แบงค์ความจุเยอะ ชาร์จเร็วและราคาไม่แพงเกินไป เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับปี 2024 นี้อย่างแน่นอน
ข้อดี
- มีพอร์ต USB-C, USB-A รวม 4 ช่อง ชาร์จไฟได้ 4 อุปกรณ์พร้อมกันโดยสะดวก
- มีความจุมากถึง 25,000mAh ชาร์จสมาร์ทโฟนจนแบตเตอรี่เต็มได้หลายรอบ
- รองรับโปรโตคอลชาร์จมาตรฐานทั้ง QC 3.0, PD ชาร์จไฟให้สมาร์ทโฟนและโน๊ตบุ๊คบางเบาได้
- กำลังชาร์จ 30 วัตต์ ด้วยพอร์ต USB-C มากพอใช้ชาร์จโน๊ตบุ๊คบางเบาในปัจจุบันได้
ข้อสังเกต
- ไฟแสดงสถานะแบตเตอรี่เป็น LED 4 ดวงเท่านั้น ไม่ใช่จอแสดงเลขเปอร์เซ็นต์
2. Eloop EW56 7,000mAh (1,199 บาท)
- Capacity : Li-Polymer 7,000mAh
- Port : USB-C*2, Qi Wireless Charging
- Total output : 20 วัตต์, Qi 15 วัตต์
- Charging protocols : QC 3.0, PD, Qi
- Price : 1,199 บาท (Eloop Shopee Mall)
สำหรับคนมี iPhone 12 เป็นต้นไปแล้วอยากได้พาวเวอร์แบงค์ไว้ติดชาร์จด้วยแม่เหล็ก MagSafe หลังเครื่องล่ะก็ Eloop EW56 เป็นตัวเลือกที่ดีเพราะนอกจากชาร์จไร้สายเร็ว 15 วัตต์และดูดติดหลังมือถือได้แล้ว ยังมีพอร์ต USB-C เผื่อชาร์จให้อุปกรณ์อื่นหรือตั้งเป็นแท่นชาร์จไร้สายเวลาใช้งานในที่พักก็ได้ด้วยขาตั้งด้านหลัง ทำให้วางมือถือในแนวตั้งตามปกติหรือหมุนเป็นแนวนอนไว้ดูซีรี่ส์ไปพลางๆ ก็ได้ ส่วนเจ้าของสมาร์ทโฟน Android รุ่นมีชาร์จไร้สายแต่ไม่มีแม่เหล็กแบบ MagSafe ก็หาซื้อวงแหวนแม่เหล็กมาติดเคสเพิ่มก็ใช้พาวเวอร์แบงค์ลูกนี้ได้ นับว่าน่าใช้งานมาก
ข้อดี
- ชาร์จไร้สายให้สมาร์ทโฟนรุ่นที่รองรับได้สะดวกโดยเฉพาะ iPhone 12 เป็นต้นไป
- มีขาตั้งสำหรับยกมือถือขึ้นแล้วหมุนมือถือใช้งานเป็นแนวนอนได้ ปรับองศาความชันได้สะดวก
- มีพอร์ต USB-C*2 ช่องให้ต่อชาร์จไว 20 วัตต์ ได้ หรือชาร์จไร้สาย 15 วัตต์ก็ได้
- ขนาดเล็กพกพาสะดวกและใช้เป็นแท่นชาร์จไร้สายสำหรับชาร์จมือถือได้
ข้อสังเกต
- มีความจุเพียง 7,000mAh ใช้ชาร์จแบตเตอรี่ให้มือถือยามฉุกเฉินได้ราว 1 รอบครึ่งเท่านั้น
3. Baseus FAST CHARGE POWER BANK QPow2 20,000mAh (1,275 บาท)
- Capacity : Li-Polymer 20,000mAh
- Port : สาย USB-C*1, สาย Lightning*1, USB-C*1, USB-A*1
- Total output : PD 22.5 วัตต์
- Charging protocols : QC 4.0, PD, AFC, SCP, FCP
- Price : 1,275 บาท (Baseus Shopee Mall)
พาวเวอร์แบงค์ชื่อยาวอย่าง Baseus FAST CHARGE POWER BANK QPow2 ตัวนี้ตอบโจทย์คนมองหาพาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 สำหรับชาร์จอุปกรณ์สาย Lightning กับ USB-C พร้อมกันได้โดยไม่ต้องพกสายชาร์จเพิ่มเพราะฝังมากับตัวพาวเวอร์แบงค์เลยและยังมีพอร์ต USB-C, USB-A ติดเพิ่มมาเผื่อชาร์จอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้พร้อมกัน แถมขนาดและความจุก็กำลังดีพอพกขึ้นเครื่องบินได้สบายๆ เป็นพาวเวอร์แบงค์น่าใช้สำหรับสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ
ข้อดี
- มีสาย USB-C กับ Lightning ติดมาให้อย่างละเส้น เวลาใช้ก็ดึงสายออกมาใช้งานได้เลย
- มีพอร์ต USB-A, USB-C ติดเสริมเข้ามาให้อีกอย่างละช่อง รวมแล้วชาร์จได้ 4 อุปกรณ์พร้อมกัน
- รองรับโปรโตคอลชาร์จหลากหลายและทันสมัย โดยเฉพาะ QC 4.0 ซึ่งทันสมัยมาก
- มีความจุมากถึง 20,000mAh ชาร์จมือถือจนแบตเตอรี่เต็มได้หลายรอบ
- มีหน้าจอแสดงปริมาณแบตเตอรี่เป็นเลขเปอร์เซ็นต์ ดูปริมาณแบตฯ คงเหลือได้ง่าย
ข้อสังเกต
- หากไม่ได้ใช้อุปกรณ์สาย Lightning แล้ว จะมีสายเหลือใช้งาน 1 เส้น
4. Anker 733 GaNPrime Power Bank 65W 10,000mAh (3,990 บาท)
- Capacity : 10,000mAh
- Port : USB-C*2, USB-A*1, AC Charger
- Total output : 65 วัตต์
- Charging protocols : PowerIQ 3.0, ActiveShield 2.0, Power Delivery
- Price : 3,990 บาท (Anker Shopee Mall)
สายพกพาและเดินทางบ่อยไม่อยากพกอแดปเตอร์ GaN คู่กับพาวเวอร์แบงค์ให้เปลืองพื้นที่ในกระเป๋า มี Anker 733 GaNPrime Power Bank 65W พาวเวอร์แบงค์แบบรวมกับอแดปเตอร์ GaN กำลังชาร์จสูงสุด 65 วัตต์ในโหมด Wall Charge พอไม่ใช้ก็พับขาปลั๊กเก็บเป็นโหมด Powerbank ก็ยังชาร์จได้ 30 วัตต์ จ่ายไฟชาร์จแบตเตอรี่ให้โน๊ตบุ๊คบางเบาพร้อมพอร์ต USB-C Power Delivery ได้ในยามจำเป็น ถ้ากำลังคิดว่าจะซื้อพาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 ให้อเนกประสงค์ที่สุด Anker 733 รุ่นนี้คือคำตอบที่น่าพิจารณามาก
ข้อดี
- มีเทคโนโลยีการชาร์จทันสมัยทั้ง PowerIQ 3.0 และเช็คอุณหภูมิอัจฉริยะ ActiveShield 2.0
- ใช้งานเป็นพาวเวอร์แบงค์ 10,000mAh ชาร์จมือถือหรือเป็นอแดปเตอร์ Wall Charger ได้ในตัวเดียว
- ขาปลั๊กพับเก็บหรือกางออกเพื่อใช้งานได้ ทำให้พกพาสะดวกประหยัดพื้นที่ในกระเป๋า
- กำลังชาร์จแบบ Wall Charge 65 วัตต์ ใช้ชาร์จโน๊ตบุ๊คมี USB-C Power Delivery ได้แทบทุกรุ่น
- กำลังชาร์จในโหมด Powerbank 30 วัตต์ ใช้ชาร์จโน๊ตบุ๊คบางเบาหลายๆ เครื่องได้
ข้อสังเกต
- มีความจุเพียง 10,000mAh เท่านั้น ใช้ชาร์จสมาร์ทโฟนจนแบตเตอรี่เต็มได้ไม่เกิน 2 รอบ
5. ZMI Cuktech PB200P 20,000mAh (3,590 บาท)
- Capacity : Li-ion 20,000mAh
- Port : USB-C*2, USB-A*1
- Total output : 150 วัตต์
- Charging protocols : PD3.0, QC 3.0, AFC, PPS
- Price : 3,590 บาท (ZMI Thailand Shopee Mall)
ถ้าคิดว่าจะซื้อพาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 ที่ชาร์จได้เร็วแรงทันใจด้วยกำลังชาร์จ 120 วัตต์ ZMI Cuktech PB200P ภาคต่อของ ZMI QB823 รุ่นนี้เป็นคำตอบโดยเฉพาะคนใช้โน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงมีพอร์ต USB-C Full Function หรือ Thunderbolt แล้วต้องใช้พาวเวอร์แบงค์กำลังชาร์จ 100 วัตต์ขึ้นไปโดยเฉพาะ MacBook Pro พร้อมชิป Pro หรือ Max ต้องใช้พาวเวอร์แบงค์กำลังชาร์จ 65 วัตต์ ถึงจะชาร์จได้ ZMI Cuktech PB200P ตัวนี้ก็ชาร์จได้สบายๆ แถมข้อดีอีกอย่างคือโหมดชาร์จกระแสต่ำ (Low current charging) สำหรับอุปกรณ์เสริมอย่างหูฟังไร้สาย, สมาร์ทว็อชและแกดเจ็ตต่างๆ แค่กดปุ่มสวิตช์ 2 ครั้งก็สลับโหมดการชาร์จได้ในทันที แม้จะเห็นราคาแพงอยู่บ้างแต่ลูกเล่นและกำลังชาร์จของมันถือว่าน่าหาซื้อมาใช้งานมาก
ข้อดี
- มีความจุเยอะ กำลังชาร์จ USB-C สูงสุด 120 วัตต์ ชาร์จโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงได้
- มีหน้าจอแสดงเปอร์เซ็นต์แบตเตอรี่ที่เหลือให้ดูและใช้งานได้สะดวกขึ้น
- มีโหมดชาร์จแบบ Low current สำหรับชาร์จอุปกรณ์เสริมเช่นหูฟังหรือสมาร์ทว็อช
- แถมสาย USB-C ความยาว 1 เมตรสำหรับกระแส 240 วัตต์มาให้ รองรับ PD 3.1
- ใช้ชาร์จเร็ว 120 วัตต์ ให้โน๊ตบุ๊คคู่กับ 30 วัตต์ สำหรับสมาร์ทโฟนได้พร้อมกัน
- มีระบบป้องกันเวลาชาร์จติดตั้งมาให้ 9 อย่าง สามารถใช้งานได้อย่างสบายใจ
ข้อสังเกต
- ราคาของพาวเวอร์แบงค์ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรุ่นอื่น แลกกับการชาร์จเร็ว
6. ZMI CUKTECH P23 25,000mAh (5,990 บาท)
- Capacity : Li-Ion 25,000mAh
- Port : USB-C*2, USB-A*1
- Total output : 210 วัตต์
- Charging protocols : PD3.0, QC 3.0, AFC, PPS
- Price : 5,990 บาท (ZMI Shopee Mall)
ถ้ามีงบประมาณสำหรับพาวเวอร์แบงค์ระดับครึ่งหมื่นแล้วโจทย์ว่าจะซื้อพาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 แค่ต้องได้ของดีและชาร์จไว ให้ซื้อ ZMI CUKTECH P23 ซึ่งพัฒนาต่อจาก ZMI QB826 พาวเวอร์แบงค์ชาร์จเร็วอันเลื่องชื่อของทางบริษัทมาใช้งานได้เลย โดยรุ่นนี้นอกจากปรับแต่งดีไซน์ภายนอกให้ทันสมัยแก้ภายในให้ระบายความร้อนได้ดีกว่าเดิมขึ้นมากแล้ว ยังรองรับการชาร์จเร็วทุกช่องโดย USB-C 1 จะจ่ายกระแสได้สูงถึง 140 วัตต์ ควบคู่กับ USB-C 2 ซึ่งจ่ายกระแส 60 วัตต์ และ USB-A อีก 30 วัตต์ได้เลย แถมยังชาร์จเร็ว 110 วัตต์กลับคืนให้พาวเวอร์แบงค์ได้และยังดูสถานะการชาร์จว่าตอนนี้อุปกรณ์ชิ้นนั้นต่อแล้วชาร์จด้วยกระแสกี่วัตต์ได้บนหน้าจอ TFT 1.54 นิ้วได้ นอกจากนี้ยังกดสลับเป็นโหมด Low current ไว้ชาร์จแบตเตอรี่ให้อุปกรณ์เสริมต่างๆ ทั้งหูฟังไร้สายและสมาร์ทว็อชได้โดยแบตเตอรี่ไม่เสื่อมไปก่อน นอกจากนี้ความจุไม่ว่าจะนับแบบมิลลิแอมป์ (mAh) หรือวัตต์ชั่วโมง (Whr) ก็เข้าเกณฑ์พกขึ้นเครื่องบินไปเที่ยวต่างประเทศได้โดยไม่ต้องกังวลใจใดๆ เลย
ข้อดี
- มีความจุมากถึง 25,000mAh ใช้ชาร์จสมาร์ทโฟนและโน๊ตบุ๊คจนเต็มได้หลายรอบ
- กำลังชาร์จรวมสูงถึง 210 วัตต์ จ่ายไฟพอร์ต USB-C ช่องเดียวได้ถึง 140 วัตต์
- รองรับการชาร์จไวคืนให้พาวเวอร์แบงค์ด้วยกำลังชาร์จ 110 วัตต์ ใช้เวลาชาร์จไม่นานก็เต็ม
- มีหน้าจอ TFT ขนาด 1.54 นิ้ว แสดงกำลังและกระแสไฟเวลาชาร์จได้ละเอียดชัดเจน
- โครงสร้างภายในดีไซน์ให้ระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี ชาร์จเข้าออกแล้วไม่เกิดปัญหาความร้อน
- มีระบบป้องกันเวลาชาร์จติดตั้งมาให้ 9 อย่าง ใช้งานได้สบายใจไม่ต้องกลัวปัญหาในภายหลัง
- ความจุสูงแต่อยู่ในเกณฑ์สามารถพกขึ้นเครื่องบินได้แน่นอนเพราะมีความจุ 90Wh เท่านั้น
- มีโหมดชาร์จแบบ Low current สำหรับชาร์จแกดเจ็ดและอุปกรณ์แบบไม่รับกระแสไฟสูง
ข้อสังเกต
- ราคาสูงถึง 5,990 บาท แต่กำลังชาร์จและความจุเยอะพอชาร์จเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คได้สบายๆ
- มีพอร์ตชาร์จเพียง 3 ช่องเท่านั้น ถ้ามี USB-A อีกช่องจะใช้งานได้สะดวกขึ้นมาก
สรุปสเปค 6 พาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 มีติดกระเป๋าไว้ให้อุ่นใจ ไปไหนแบตฯ ไม่มีหมด!
สรุปสเปค พาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 | Eloop E43 25,000mAh | Eloop EW56 7,000mAh | Baseus FAST CHARGE POWER BANK QPow2 20,000mAh |
Capacity | Li-Polymer 25,000mAh | Li-Polymer 7,000mAh | Li-Polymer 20,000mAh |
Port | USB-C*2 USB-A*2 | USB-C*2 Qi Wireless Charging | สาย USB-C*1 สาย Lightning*1 USB-C*1 USB-A*1 |
Total output | 30 วัตต์ | 20 วัตต์ Qi 15 วัตต์ | PD 22.5 วัตต์ |
Charging protocols | QC 3.0 PD | QC 3.0 PD Qi | QC 4.0 PD AFC SCP FCP |
Price | 1,079 | 1,199 | 1,275 |
สรุปสเปค พาวเวอร์แบงค์ยี่ห้อไหนดี 2024 | Anker 733 GaNPrime Power Bank 65W 10,000mAh | ZMI Cuktech PB200P 20,000mAh | ZMI CUKTECH P23 25,000mAh |
Capacity | 10,000mAh | Li-ion 20,000mAh | Li-Ion 25,000mAh |
Port | USB-C*2 USB-A*1 AC Charger | USB-C*2 USB-A*1 | USB-C*2 USB-A*1 |
Total output | 65 วัตต์ | 150 วัตต์ | 210 วัตต์ |
Charging protocols | PowerIQ 3.0 ActiveShield 2.0 Power Delivery | PD3.0 QC 3.0 AFC PPS | PD3.0 QC 3.0 AFC PPS |
Price | 3,990 | 3,990 | 5,990 |
ณ ตอนนี้จะเห็นว่าตอนนี้ Powerbank รุ่นใหม่กำลังชาร์จสูงก็มีให้เลือกซื้อหลากหลายรุ่น ตั้งแต่ราคาประหยัดเอาไว้ชาร์จสมาร์ทโฟนหรือรุ่นกำลังชาร์จสูงหลักร้อยวัตต์สำหรับโน๊ตบุ๊คก็มีให้เลือกมากมาย ดังนั้นจะหาซื้อติดกระเป๋าเอาไว้สักตัวเป็นอุปกรณ์ช่วยการันตีให้เราอุ่นใจขึ้น ไม่ต้องคอยพะวงว่าใช้ทำงานหนักเกินไปแบตเตอรี่จะหมดระหว่างวันทำงานต่อไม่ได้โทรหาใครไม่ติด อย่างน้อยมีเอาไว้สักก้อนความจุ 10,000mAh ก็ช่วยได้มากแถมจ่ายแค่หลักพันบาทต้นๆ ก็ได้แบรนด์ชั้นนำคุณภาพดีมาใช้ ขอแค่หาซื้อสายชาร์จแบบรองรับกำลังไฟ 100 วัตต์ติดไว้สักเส้นแค่นี้ก็สมบูรณ์แบบ!
FAQ
1. ถ้าพกพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องบินต้องมีความจุกี่มิลลิแอมป์?
ตอบ มีความจุไม่เกิน 32,000mAh และมีความจุต่ำกว่า 99.9Whr
2. พาวเวอร์แบงค์ต้องมีกำลังชาร์จกี่วัตต์ถึงจะชาร์จโน๊ตบุ๊คได้?
ตอบ ต้องเป็นพาวเวอร์แบงค์ที่ชาร์จแบบ Power Delivery ได้ และมีกำลังชาร์จ 30 วัตต์ขึ้นไปจะชาร์จโน๊ตบุ๊คบางเบาได้ แต่ให้ดีแนะนำกำลังชาร์จ 65 วัตต์ขึ้นไปจะดีสุด
3. ถ้าใช้สมาร์ทโฟน Android แต่ต้องการใช้พาวเวอร์แบงค์ MagSafe ชาร์จไร้สายได้ไหม?
ตอบ ได้ แต่ไม่สามารถดูดติดหลังสมาร์ทโฟนได้แบบ iPhone ต้องซื้อวงแหวนแม่เหล็กมาติดเพิ่ม
4. น่าซื้อพาวเวอร์แบงค์แบบมีหัวอแดปเตอร์ AC ไหม ปลอดภัยหรือไม่?
ตอบ พาวเวอร์แบงค์ที่มีหัวปลั๊ก AC นอกจากใช้งานแทนอแดปเตอร์ GaN ได้แล้ว ยังเป็นพาวเวอร์แบงค์ได้ นอกจากสะดวกแล้วทางผู้ผลิตก็ใส่ฟีเจอร์ป้องกันปัญหาด้านไฟฟ้าเพิ่มเข้ามาด้วย จึงใช้งานได้ปลอดภัยไร้กังวลแน่นอน
5. พาวเวอร์แบงค์กำลังชาร์จสูงๆ มีข้อดีและข้อสังเกตอย่างไรบ้าง?
ตอบ ข้อดีของพาวเวอร์แบงค์กำลังชาร์จสูงนอกจากชาร์จแบตเตอรี่ให้สมาร์ทโฟนได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังใช้ชาร์จโน๊ตบุ๊คบางรุ่นที่มีพอร์ต USB-C Power Delivery ระดับ 100 วัตต์ เช่น โน๊ตบุ๊คครีเอเตอร์หรือเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คได้ ซึ่งการชาร์จเร็วจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วขึ้นแต่ทางผู้ผลิตสมาร์ทโฟนก็วิจัยเทคโนโลยีช่วยลดอาการแบตเตอรี่เสื่อมเสริมเข้ามาระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้นถ้ามีฟีเจอร์ชาร์จเร็วก็ใช้งานได้เลยไม่ต้องกังวล
6. ควรซื้อพาวเวอร์แบงค์แบบฝังสายชาร์จมาหรือไม่?
ตอบ น่าซื้อ เพราะใช้งานได้สะดวกไม่ต้องพกสายเพิ่มและดึงออกมาใช้งานได้สะดวกขึ้น
7. ทำไมห้ามโหลดพาวเวอร์แบงค์ใส่ใต้เครื่องบิน?
ตอบ เป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย เพราะถ้าพาวเวอร์แบงค์เกิดปัญหาไม่ว่าจะไฟลุกไหม้หรือสารเคมีภายในรั่วไหลออกมาแล้วเกิดประกายไฟ อาจจะทำให้เพลิงลุกลามแล้วก่ออันตรายใหญ่ต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสารคนอื่นได้ ถ้านำติดตัวขึ้นเครื่องตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้วเกิดเหตุยังมีผู้พบเห็นเหตุการณ์แล้วช่วยกันระงับเหตุอันตรายก่อนได้