ใกล้หน้าร้อนทุกปี ผู้ใช้โน๊ตบุ๊คที่หลายคน ก็มักจะเจอกับปัญหาโน๊ตบุ๊คร้อน เครื่องแฮงก์ ก็ต้องหาทางลดความร้อน โน๊ตบุ๊คกัน โดยเฉพาะผู้ที่ใช้เกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค ที่ไม่ได้ใช้งานในห้องปรับอากาศ การจะใช้งานโดยไม่เจอกับปัญหาเครื่องฮีต คอมแฮงก์ ก็ต้องอาศัยวิธีการที่เหมาะกับแต่ละคน ไม่ซับซ้อนมากนัก และควรจะใช้ได้ในทุกโอกาส ซึ่งมีตั้งแต่ซอฟต์แวร์ ไปจนถึงฮาร์ดแวร์ แต่สิ่งที่สำคัญคือ ไม่ควรจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่แพงเกินไปนัก เช่นเดียวกับในบทความนี้ ที่เราจะหาวิธีในการแก้ปัญหาความร้อนโน๊ตบุ๊คแบบง่ายๆ กัน
ลดความร้อน โน๊ตบุ๊ค
- โน๊ตบุ๊คร้อนได้อย่างไร?
- โน๊ตบุ๊คร้อนแล้วจะเกิดปัญหาอะไรตามมา?
- ความร้อนจากภายนอกโน๊ตบุ๊ค
- ความร้อนจากภายในโน๊ตบุ๊ค
- 5 แก้ปัญหาความร้อนในโน๊ตบุ๊ค
- ตัวอย่างอุปกรณ์ระบายความร้อนโน๊ตบุ๊คน่าใช้
แต่ก่อนที่จะไปสู่การแก้ปัญหาโน๊ตบุ๊คร้อน ก็คงจะต้องมาดูสาเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนกันก่อนดีกว่า ซึ่งสาเหตุที่ว่านี้มีตั้งแต่ ปัจจัยภายนอก เช่น อากาศร้อน อยู่ใกล้บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ฝุ่นเยอะ ใช้งานในพื้นที่ปิดอากาศไม่ถ่ายเท ไปจนถึงวางของไว้ใกล้กับโน๊ตบุ๊คมากเกินไป ปิดช่องทางระบายอากาศ และการใช้งานผิดรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่ทำให้โน๊ตบุ๊คร้อนด้วยกันทั้งสิ้น หรือจะเกิดความผิดปกติกับชุดระบายความร้อนภายในเครื่องก็เป็นได้เช่นกัน
โน๊ตบุ๊คร้อนได้อย่างไร?
หลายคนคงสงสัยว่า โน๊ตบุ๊คตัวเล็กกว่าพีซีตั้งเยอะ ใช้ไฟก็น้อยกว่าอุปกรณ์ก็ไม่ค่อยมี แล้วจะร้อนได้อย่างไร? คำตอบก็คือ เกิดจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในโน๊ตบุ๊คนั้นเอง แม้ว่าจะไม่ได้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นใหญ่ เหมือนกับบนพีซี แต่อย่าลืมว่า ก็ยังมีชิ้นส่วนอยู่มากมายในนั้น ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู กราฟิกชิป คอนโทรลเลอร์ และภาคควบคุมไฟ รวมถึงจิปาถะอีกมากมาย ด้วยพื้นที่ค่อนข้างจำกัด บางครั้งพัดลมตัวเล็กๆ ก็อาจจะจัดการความร้อนไปได้มากนัก ยิ่งหากผู้ใช้ไม่ได้มองเรื่องของการจัดวางหรือพื้นที่ใช้งานที่เหมาะสม ก็อาจจะทำให้โน๊ตบุ๊คธรรมดาร้อนได้เช่นกัน ยังไม่ต้องพูดถึงเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับความแรง เพื่อให้รีดเฟรมเรตในการเล่นเกมได้แบบลื่นๆ ยิ่งมีความร้อนมหาศาล จึงต้องพึ่งการออกแบบการระบายความร้อนที่ดี รวมถึงอาจจะต้องใช้อุปกรณ์จากภายนอกมาช่วย
โน๊ตบุ๊คร้อนแล้วจะเกิดปัญหาอะไรตามมา?
แน่นอนว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา เมื่อโน๊ตบุ๊คเจอกับความร้อนมากๆ หรือต้องฝืนใช้ไปนานๆ ก็มีโอกาสจะเกิดความผิดปกติในการใช้งานตามมาได้มากมาย เช่น
ชิ้นส่วนเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร: ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แม้จะออกแบบมาให้ทนต่อความร้อนได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็จะเสื่อมสภาพไปไวได้เช่นกัน หากต้องทำงานภายใต้อุณหภูมิที่สูงอย่างต่อเนื่อง ก็อาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้เช่นกัน
แบตฯ เสื่อมไว: ความร้อนที่สูง ไม่ว่าจะเกิดจากการใช้งานหรือการจัดเก็บ ย่อมส่งผลต่อการเก็บประจุของแบตเตอรี่ มีโอกาสที่จะทำให้เกิดแบตเสื่อมไว ปัญหาแบตหมดเร็วได้ ซึ่งถ้าอยากจะให้ใช้ได้นานๆ ต่อการชาร์จแบตแต่ละครั้ง ควรจะแก้ปัญหาความร้อนให้เหมาะสมที่สุด
ใช้งานไม่สะดวก ร้อนเกินไป: หลายคนอาจเคยเจอเวลาที่จะพิมพ์งานหรือวางมือก็ลำบาก เพราะโน๊ตบุ๊คร้อนเกินไป เรียกว่าแตะทีนึงถึงกับสะดุ้ง ยิ่งวางมือบนแป้นพิมพ์จะรู้สึกได้ว่าความร้อนสูง ถ้าคุณต้องหาพัดลมมาเป่ามือขณะที่เล่น แสดงว่าต้องรีบหาทางแก้ไขได้แล้วครับ
พัดลมเสียงดัง: โน๊ตบุ๊คหลายรุ่นมาพร้อมกับระบบการระบายความร้อน ลดความร้อน โน๊ตบุ๊คที่ดี โดยเฉพาะเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค ที่มักจะมีให้ปรับโหมด Turbo หรือ High Performance หรือ Game Mode เพื่อเร่งประสิทธิภาพในการทำงานให้รองรับการเล่นเกมได้ดีขึ้น แต่ก็จะมาพร้อมการระบายความร้อนแบบสุดๆ เช่นเดียวกัน ด้วยรอบพัดลมที่สูง และเสียงที่ดัง แต่ถ้าในกรณีที่พัดลมดังแบบไม่ได้ใช้งานโหดๆ ก็แสดงว่าอาจมีความผิดปกติหรือความร้อนที่สูงเกิดขึ้นภายในเครื่อง ควรจะต้องหาทางแก้ไขโดยไว ไม่อย่างนั้นก็ต้องฟังเสียงพัดลมไปเรื่อยๆ
เสี่ยงต่อระบบ และการจัดเก็บข้อมูล: ค่อนข้างจะมีส่วนไม่น้อย เพราะอย่าลืมว่า เมื่อความร้อนภายในสูง อุปกรณ์ต่างๆ ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย รวมถึง RAM หรือ SSD ก็ตาม ยิ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไวต่อความร้อนและแรงดันไฟ ก็มีโอกาสที่จะทำให้ระบบล่ม หรือเสียหายได้
เครื่องแฮงก์ค้าง คอมดับ: และหากความร้อนมีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ ก็ย่อมส่งผลต่อระบบได้เช่นกัน ซึ่งนั่นหมายถึงอาการเครื่องค้าง คอมแฮงก์ ไปจนถึงระบบปฏิบ้ติการเสียหาย ถ้าโชคดีก็อาจใช้วิธี Automatic Repair Windows 10 หรือ Recovery ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าโชคร้ายเครื่องดับบ่อย วินโดว์ต้องหยุดชะงักต่อเนื่อง ก็อาจจะกลับคืนมาเหมือนเดิมไม่ได้เช่นกัน เพราะฮาร์ดแวร์ RAM หรือ Storage เสียหาย
ความร้อนจากภายนอกโน๊ตบุ๊ค
ใช้งานในที่ห้องหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง อากาศไม่ถ่ายเท: ดูจะเป็นสิ่งที่เจอกันบ่อย เพราะโน๊ตบุ๊คเป็นคอมพิวเตอร์ที่เคลื่อนย้ายไปใช้งานที่ต่างๆ ได้ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถเลือกพื้นที่ในการใช้งานได้เช่นกัน บางครั้งต้องอยู่ในสภาวะที่ร้อน มีความชื้น เช่น อยู่ในห้องที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ หรือนั่งอยู่ข้างนอกในที่สาธารณะ หรือในช่วงเร่งด่วนบนรถก็ตาม เมื่ออากาศข้างนอกก็สูง ไม่ค่อยเอื้ออำนวย การจัดวางก็ไม่สะดวก บางครั้งปิดช่องลมเย็นที่จะเข้าไป ก็มำผลทำให้ความร้อนสะสม ยิ่งใช้งานไปนานๆ ก็ยิ่งร้อนมากขึ้นนั่นเอง ก็ควรจะหาวิธีแก้ไขในเบื้องต้น หรือพักการทำงานเป็นระยะ เพื่อลดความร้อน โน๊ตบุ๊คภายในเครื่อง หรือถ้าง่ายๆ ก็แค่ยกด้านใต้โน๊ตบุ๊คให้สูงขึ้น เพื่อรับลมเย็นๆ ให้ถ่ายเทได้สะดวก
ใช้งานหนักอย่างต่อเนื่อง: หลายคนที่เป็นเกมเมอร์ ก็มักจะเผลอสนุกไปกับการเล่นเกม หรือคนที่กำลังมุ่งมั่นในการทำงาน รายงาน หรือทำงานกราฟิก ที่เรียกใช้พลังจากซีพียู การใช้การ์ดจอกับการเล่นเกม ทำให้เกิดความร้อนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถ้าหากระบายอากาศไม่ดี ก็อาจจะเกิดปัญหาโอเวอร์ฮีตได้เช่นกัน ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้งานโน๊ตบุ๊คแบบทรหดเช่นนี้ ก็ควรจะต้องเตรียมหาวิธีในการกำจัดความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจไม่ใช่การพึ่งพาประสิทธิภาพบนโน๊ตบุ๊คอย่างเดียวเท่านั้น
วางในจุดที่ระบายความร้อนได้ยาก: เป็นเรื่องปกติที่หลายคนทำบ่อยๆ โดยเฉพาะพื้นที่การวาง บางคนชอบที่จะเปิดทำงานบนเตียง วางบนผ้าหรือว่าใช้งานบนที่อ่อนนุ่ม ซึ่งวัสดุเหล่านั้น จะปิดช่องทางลมเข้าทางด้านใต้ของโน๊ตบุ๊คหรือบางทีก็ปิดทางออกของลมด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดปัญหาความร้อนสูง เพราะลมเย็นก็เข้าไม่ได้ ลมร้อนก็ติดขัด สุดท้ายคอมก็ดับได้ เพราะความร้อนสูงเกินกว่าที่ซีพียูกำหนด
มีของวางอยู่โดยรอบโน๊ตบุ๊ค: บางครั้งการวางของไว้เกะกะบนโต๊ะทำงาน และไปเบียดกับพื้นที่วางโน๊ตบุ๊ค ก็อาจทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน เพราะไม่มีทางให้ลมร้อนระบายออกไปไกลๆ แต่กลับไหลเวียนอยู่โดยรอบเครื่อง รวมถึงยังถูกดูดกลับเข้าไปใหม่
เปิดโปรแกรมเยอะไป: ก็มีส่วนทำให้โน๊ตบุ๊คร้อนได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนที่ใช้โน๊ตบุ๊คแรงๆ และเปิดทำงาน หลายๆ งานพร้อมกัน ในช่วงที่มี Full load จากการใช้ทรัพยากรของซีพียูมากๆ หรือใช้ในการเรนเดอร์งาน แปลงไฟล์และอื่นๆ แม้จะไม่ได้มีผลต่อความร้อนที่สูงมากมายนัก แต่เมื่อรวมกับองค์ประกอบอื่นๆ หรือการระบายความร้อนที่ทำได้ไม่เต็มที่ ก็มีโอกาสจะทำให้มีความร้อนสะสมได้ง่ายๆ เลยทีเดียว
นอกจากนี้คุณอาจมีโปรแกรมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังโดยที่ไม่รู้ตัวได้เหมือนกัน เนื่องจากโปรแแกรมเหล่านี้จะเริ่มทำงานหลังจากที่คุณบูตเครื่องเสร็จ ในการมองหาโปรแกรมเหล่านี้ ให้เข้าไปดูที่ Task Manager > Startup ซึ่งสิ่งที่อยู่ในแท็ปนี้ จะประกอบไปด้วยโปรแกรมที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เปิดโปรแกรมเหล่านี้เองก็ตาม ดังนั้นควรตรวจสอบและปิดการทำงานด้วยการ End task เพื่อหยุดการทำงานของรายการบางอย่างเหล่านี้
ความร้อนจากภายในโน๊ตบุ๊ค
มีสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติมากมายในโน๊ตบุ๊ค จนก่อให้เกิดความร้อนสะสม และไม่สามารถลดความร้อน โน๊ตบุ๊คได้รวดเร็ว ซึ่งอาการเหล่านี้ตรวจสอบและควบคุมได้ยาก บางครั้งจะพบก็เมื่อมีความผิดปกติรุ่นแรง เช่น พัดลมไม่หมุน หรือทางเข้าออกของลมอุดตัน ไม่ถ่ายเท จนกว่าจะแกะเครื่องออกมาดู มาสังเกตอาการกันว่า สิ่งที่เป็นปัญหาจากภายในของโน๊ตบุ๊คนั้น เกิดจากสิ่งใดได้บ้าง
พัดลมไม่ทำงาน: เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเจอกันบ่อย โดยเฉพาะกับคนที่ใช้งานโน๊ตบุ๊คเป็นประจำ รวมถึงอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่น ขน และกลุ่มที่ต้องเจอกับสภาวะแวดล้อม นอกห้องทำงานปกติ เพราะจะมีฝุ่นขนาดเล็ก ที่ถูกดูดเข้าไปตามช่องทางลมเข้า หากผ่านตัวกรองไปได้ ก็จะเข้าไปติดบริเวณใบพัดลมได้ต่อเนื่อง สะสมจากจุดเล็กๆ และขยายใหญ่ขึ้น รวมถึงเมื่อเจอความชื่น ก็ยิ่งเกาะตัวกันแน่น จนไม่สามารถทำงานได้ หรือบางทีก็เกิดจากอายุการใช้งานของพัดลม เมื่อใช้มานาน ก็มีอาการเสียได้เช่นกัน ส่วนใหญ่ถ้าเป็นโน๊ตบุ๊คที่บางเบา หรือโน๊ตบุ๊คทำงานทั่วไป ก็จะไม่ค่อยได้รู้สึก เพราะพัดลมจะเบามาก แต่ถ้าเป็นเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค ก็จะรู้สึกได้มากกว่า ว่าพัดลมไม่หมุน วิธีที่ง่ายที่สุดคือ อยู่ในห้องที่เงียบ และฟังเสียงพัดลมขณะทำงาน หรือไม่ก็ใช้โปรแกรมประเภท Hardware Monitor หรือจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มากับโน๊ตบุ๊ค เพื่อตรวจเช็ครอบการทำงานของพัดลมได้เช่นกัน
มีฝุ่นอยู่ภายใน ระบายลมไม่สะดวก: ต่อเนื่องจากด้านบน ฝุ่นผงและชิ้นส่วนขนาดใหญ่ อาจเข้าไปปิดกั้นช่องระบายอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตะแกรงขนาดเล็ก ที่กรองสิ่งสกปรกได้ในระดับหนึ่ง แต่หากมีการดูดลมเข้าไปในปริมาณมากๆ ก็ทำให้ฝุ่นชิ้นใหญ่ๆ ติดตามตะแกรง หรือผงเล็กๆ เมื่ออยู่กันแน่นๆ ก็ปิดทางลมได้เช่นกัน วิธีที่ง่ายที่สุดคือใช้แปรงมาปัดออก หากเป็นตะแกรงด้านใต้เครื่อง ให้ยกค้างไว้หรือตะแคงข้าง ให้เวลาปัดแล้วฝุ่นหล่นลงมาข้างนอก ไม่ใช่ปัดแล้วยิ่งหลุดเข้าไปภายในโน๊ตบุ๊คมากขึ้น ส่วนลมออกทางด้านข้าง ก็ใช้วิธีแบบเดียวกัน แต่ตะแคงออกเล็กน้อย ถ้าให้ดีก็ควรจะต้องถอดฝาปิด เปิดเครื่องด้านใน แล้วจึงทำความสะอาดจะดีที่สุด
ซิลิโคนเสื่อมสภาพ: ซิลิโคนจะทำหน้าที่หลักในการนำความร้อนระหว่างซีพียู กราฟิกชิป ไปยังหน้าสัมผัส ฮีตไปป์ แล้วจึงใช้พัดลมระบายอากาศ แต่เมื่อใช้งานนานๆ ไป ก็อาจจะเสื่อมสภาพ ละลายหรือแข็งจนแห้ง ไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนเดิม จึงเกิดความร้อนมากขึ้น เพราะถ่ายเทความร้อนได้ไม่ดี ในกรณีนี้การเปลี่ยนซิลิโคน หรือ Thermal Compound เป็นทางออกที่ดีกว่า แต่ไม่จำเป็นต้องทำเอง หากไม่ชำนาญ แนะนำไปที่ร้าน เสียแค่ไม่กี่บาท ก็กลับมาเหมือนใหม่ได้แล้ว
5 แก้ปัญหาลดความร้อน โน๊ตบุ๊ค
1.อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
โน๊ตบุ๊คจัดเป็นคอมพิวเตอร์แบบโมบาย ที่บางครั้งอาจจะไม่ได้ทำงานในห้องปรับอากาศเสมอไป เพราะมันพกพาได้ อำนวยความสะดวกเมื่อต้องใช้ในพื้นที่ต่างๆ ดังนั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องอยู่ในห้องแอร์เสมอไป อาจเลือกที่นั่งบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ลมผ่านเข้าออกได้สะดวก หรือถ้าให้ดีก็มีที่ตั้งเหมาะสม ลมผ่านใต้เครื่องได้ เท่านี้ก็ช่วยลดความร้อนภายในโน๊ตบุ๊คไปได้มากแล้ว
2.จัดพื้นที่ให้มีลมผ่านเข้าออกโน๊ตบุ๊คได้สะดวก
การยกเครื่องให้สูงขึ้น เพิ่มช่องทางการระบายความร้อน ก็ช่วยลดความร้อน โน๊ตบุ๊คได้ หลักการทานของระบบระบายความร้อนคือการดูดอากาศจากใต้ท้องเครื่อง เพื่อเข้าไประบายความร้อนในเครื่อง แต่ก็อย่างที่เห็นกันว่าใต้ท้องเครื่องนั้นไม่ค่อยจะโปร่งเท่าไร จึงขอแนะนำให้ยกใต้ท้องเครื่องขึ้น ไม่ว่าจะหนุนด้วยอุปกรณ์ทั่วไปเช่นยางลบ จนไปถึงที่รองโน๊ตบุ๊คที่มักจะแถมมาตอนเราซื้อเครื่อง เพื่อให้ใต้ท้องเครื่องมีพื้นที่อากาศถ่ายเทมากขึ้น การใช้งานกับโต๊ะที่เหมาะสมก็ช่วยลดความร้อนได้ไม่น้อย
3.จัดการซอฟต์แวร์ และตั้งค่า Power Options ให้เหมาะสม
- Balanced – ให้ประสิทธิภาพ (Performance) การทำงานอย่างเต็มที่เมื่อคุณต้องการ แต่ประหยัดพลังงานเมื่อไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์
- Power saver – ให้ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการยืดอายุแบตเตอรีให้ใช้ยาวนานที่สุด ประหยัดค่าไฟแต่การทำงานจะมีประสิทธิภาพที่ต่ำ ลดความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง
- High performance – เพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้สูงสุดในการใช้งาน แต่ต้องแลกกับการใช้งานของแบตเตอรี่ที่มากขึ้น รวมถึงความร้อนที่อาจสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
แต่นอกจากนี้ก็ยังมีโน๊ตบุ๊คหลายรุ่น ที่เตรียมซอฟต์แวร์มาให้กับผู้ใช้ได้จัดการประสิทธิภาพและการมอนิเตอร์อุณหภูมิได้ง่ายขึ้น และอินเทอร์เฟสยังเป็นกันเองอีกด้วย เช่น ตัวอย่างจากโน๊ตบุ๊ค Omen Command Center ที่มีฟีเจอร์ Performance control ยังรวมเอาการกำหนดประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ คล้ายกับการเลือก Power options บน Windows แต่อันนี้ง่ายกว่า รวมไปถึงการตั้งค่า Thermal control ตรงนี้จะมีให้เลือกความเร็วของพัดลม Max, Auto และ Manual เรียกว่าจัดได้หลายระดับ ตามความต้องการ และยังมีตัวเลขอุณหภูมิรายงานการใช้แบบเรียลไทม์อีกด้วย
4.ตรวจเช็ค ดูแล และทำความสะอาดภายในบ้าง
บางครั้งการใช้งานโน๊ตบุ๊คมานานและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองหรือสิ่งต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการระบายความร้อนฮาร์ดดิสก์โดยตรง ซึ่งเมื่อเกิดฝุ่นหรือสิ่งต่างๆ มาสะสมบนพัดลมมากขึ้น ก็จะเข้าไปเกาะตามใบพัดและจุดต่างๆ ภายใน โดยเฉพาะทางลมเข้าออก เมื่อถูกปิดกั้นมากๆ จนเกิดความร้อนสะสม ไม่ว่าพัดลมจะหมุน ช้าเร็วหรือไม่ก็ตาม ความร้อนก็จะทำให้ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ เข้าเกม ไม่ได้?ได้ในทันทีหรือไม่ระบบก็จะตัดการทำงานของซีพียูไปก่อน เนื่องจากความร้อนสูงเกินไปนั่นเอง อาการแบบนี้จะเป็นทั้งหน้าร้อนและหน้าหนาว บางทีอากาศเย็นก็เป็นช้า ที่สังเกตได้อีกอย่างคือ เสียงพัดลมดังหรือเครื่องสั่นเพราะการหมุนที่ผิดปกติ
การแก้ไขก็คือ คงต้องเปิดดูภายในโน๊ตบุ๊คอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อทำความสะอาด ในขั้นตอนนี้สามารถทำได้เองหรือจะส่งร้านก็ได้ เพราะความยากง่ายของการแกะโน๊ตบุ๊คในแต่ละรุ่นต่างกัน บางรุ่นอาจจะแกะน็อตไม่กี่ตัว ก็เปิดขึ้นมาได้แล้ว แต่บางรุ่นต้องแกะเกือบทั้งเครื่องถึงจะเปิดได้ ดังนั้นถ้ายากและไม่อยากทำเอง ก็จ้างที่ร้านให้ทำให้ก็ได้ ก็เป็นวิธีลดความร้อน โน๊ตบุ๊คที่ดี
การทำความสะอาดชุดระบายความร้อน โดยหลักๆ เลยก็คือพัดลมระบายอากาศ, heatsink, heatpipe รวมไปถึงช่องระบายอากาศที่อยู่ภายในของตัวเครื่อง ซึ่งอาจจะทำความสะอาดได้ยากหน่อย เพราะในบางรุ่นจะมีการออกแบบมาให้มีแต่ศูนย์เท่านั้นที่สามารถเปิดเครื่องเข้าไปทำความสะอาดได้ ดังนั้นทางที่ดี เมื่อรู้สึกว่าเครื่องร้อนเกินไป ก็ควรนำไปเข้าศูนย์เพื่อให้ช่างเป่าฝุ่นออก โดยเฉพาะจากพัดลมระบายอากาศและจากช่องระบายความร้อน ถ้าจะให้ดี ถอดแผงโลหะตรงช่องระบายความร้อนออกมาล้างเลยก็จะดีมาก เพราะตรงนั้นเป็นจุดที่มีฝุ่นสะสมเยอะที่สุดในเครื่องเลยก็ว่าได้ รับรองว่าเครื่องเย็นลง
โดยการแกะชุดระบายความร้อน แล้วเช็ดซิลิโคนเก่าออก จากนั้นทาซิลิโคนเข้าไปใหม่ วิธีนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่ส่งผ่านระหว่างตัวชิปต่างๆ ไปยังชุดระบายความร้อยได้ดีขี้น และเห็นผลได้มากทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้ซิลิโคนระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการโอเวอร์คล๊อกมาใช้ ลดความร้อน โน๊ตบุ๊คไปได้หลัก 5-10 องศาเซลเซียสได้เลย แต่ต้องถ้าให้พอเหมาะไม่หนาไม่บางเกินไป
วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีวิชาพอตัวนะครับ ไม่แนะนำอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่เพราะอุปกรณ์ภายในเครื่องอาจเสียหายได้ แต่ถ้าใครมีโน๊ตบุ๊คที่เสียแล้ว หรือไม่ได้ใช้งาน ก็ลองเอามาลองซ้อมมือกันได้ ในส่วนของซิลิโคนที่จะเอามาทานั้นก็หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือจะหาซิลิโคนดีๆ ที่เรียกว่า Thermal Grease จากห้างไอที หรืออาจจะสั่งทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ สนนราคาก็ตั้งแต่หลักสิบบาท ไปจนถึงหลายร้อยบาท แต่ให้แนะนำซิลิโคนใหม่ก็พอจะเห็นความแตกต่างแล้ว
5.มองหาอุปกรณ์เสริมที่ช่วยระบายความร้อน
อีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้ในการช่วยระบายความร้อนให้กับ notebook นั่นก็คือการหาซื้อแท่นรองระบายความร้อนใต้เครื่อง เนื่องด้วยเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะในปัจจุบันแท่นรอง notebook ก็มีขายกันแทบจะทั่วไป อยู่ที่จะต้องการใช้แบบมีแบรนด์หรือเปล่าเท่านั้นเอง โดยตัวแท่นรองนั้นส่วนมากก็จะมีพัดลมระบายความร้อนให้ ซึ่งถ้าต้องการประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่ดีที่สุด ควรจะเลือกซื้อแท่นรองที่มีการติดตั้งพัดลมให้ตรงกับจุดระบายความร้อนของเครื่องเรา ไม่ว่าจะทั้งตำแหน่งและทิศทางลม เพราะเรื่องของทิศทางการเป่าเข้าหรือดูดออกของลมล้วนมีผลต่อการระบายความร้อนทั้งสิ้น
บางครั้งการใช้งานโน๊ตบุ๊คมานานและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองหรือสิ่งต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการระบายความร้อนฮาร์ดดิสก์โดยตรง ซึ่งเมื่อเกิดฝุ่นหรือสิ่งต่างๆ มาสะสมบนพัดลมมากขึ้น ก็จะเข้าไปเกาะตามใบพัดและจุดต่างๆ ภายใน โดยเฉพาะทางลมเข้าออก เมื่อถูกปิดกั้นมากๆ จนเกิดความร้อนสะสม ไม่ว่าพัดลมจะหมุน ช้าเร็วหรือไม่ก็ตาม ความร้อนก็จะทำให้ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ เข้าเกม ไม่ได้?ได้ในทันทีหรือไม่ระบบก็จะตัดการทำงานของซีพียูไปก่อน เนื่องจากความร้อนสูงเกินไปนั่นเอง อาการแบบนี้จะเป็นทั้งหน้าร้อนและหน้าหนาว บางทีอากาศเย็นก็เป็นช้า ที่สังเกตได้อีกอย่างคือ เสียงพัดลมดังหรือเครื่องสั่นเพราะการหมุนที่ผิดปกติ
ในการแก้ไขก็คือ คงต้องเปิดโน๊ตบุ๊คอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อทำความสะอาด ในขั้นตอนนี้สามารถทำได้เองหรือจะส่งร้านก็ได้ เพราะความยากง่ายของการแกะโน๊ตบุ๊คในแต่ละรุ่นต่างกัน บางรุ่นอาจจะแกะน็อตไม่กี่ตัว ก็เปิดขึ้นมาได้แล้ว แต่บางรุ่นต้องแกะเกือบทั้งเครื่องถึงจะเปิดได้ ดังนั้นถ้ายากและไม่อยากทำเอง ก็จ้างที่ร้านให้ทำให้ก็ได้ เวลานี้มีร้านรับทำโน๊ตบุ๊คอยู่มากมายตามห้างไอที เอาไปทิ้งไว้หรือจะไปนั่งเฝ้าก็ได้ไม่เป็นปัญหาสนนราคาก็ไม่กี่ร้อยบาท แต่ได้เครื่องที่สะอาดหมดจดลดความร้อน ไม่เกิด เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ เข้าเกม ไม่ได้ก็คุ้มค่ามากแล้ว
ตัวอย่างอุปกรณ์ระบายความร้อนโน๊ตบุ๊คน่าใช้
อุปกรณ์ช่วยในการลดความร้อน โน๊ตบุ๊คมีให้เลือกมามายในท้องตลาด ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบ และความสะดวกในการใช้งาน มีทั้งแบบใช้งานง่ายๆ ราคาประหยัด ไปจนถึงของใช้ระดับพรีเมียม อยู่ที่ว่าชอบแบบไหน และเหมาะกับการใช้งานในแบบใดมากที่สุด
จัดเป็น Gaming Notebook Cooler ที่ออกแบบมาเพื่อโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งโดยเฉพาะ ด้วยขนาดที่ใหญ่ รองรับโน๊ตบุ๊คทั้ง 15 และ 17 นิ้วได้อย่างสบาย พร้อมพัดลมขนาด 140 มิลลิเมตร จำนวน 2 ตัว ช่วยในการระบายความร้อน ดีไซน์ผสมด้วยโลหะและพลาสติกคุณภาพดี พร้อมเส้นไฟ RGB ที่ช่วยเสริมความสวยงาม
มาในขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ทำให้สามารถใช้งานกับโน๊ตบุ๊คไซส์ใหญ่ 17 นิ้ว มาพร้อมยางรอง 4 จุด โดยวัสดุจะเป็นโลหะที่มีการเจาะรูช่วยการระบายความร้อน ช่วยให้อากาศถ่ายเทด้วยพัดลมขนาด 140 เซนติเมตร จำนวน 2 ตัว โดยวัสดุโดยรอบจะเป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรง ขอบด้านล่างยาวไปถึงด้านซ้ายขวาทรงตัว U เป็นจุดแสดงไฟ RGB ที่ออกแบบให้เป็นเส้นวิ่งไปมา โดยสามารถเปลี่ยนโหมดการแสดงผลได้ตรงปุ่มรูปลายนิ้วมือตรงกลาง
พัดลมระบายความร้อนทั้ง 2 ตัว โดยจะเป็นการดูดลมเข้าจากทางด้านล่าง เพื่อไประบายใต้เครื่องโน๊ตบุ๊ค นอกจากนั้นก็ยังมีที่เก็บสายอยู่ด้านข้าง และขาตั้งขนาดเล็ก เหมาะกับโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งด้วยขนาดที่ใหญ่ วัสดุดี รับน้ำหนักได้เยอะ ปรับระดับได้ตามต้องการช่วยในการระบายความร้อนด้วยพัดลมคู่ ยกระดับให้พิมพ์ได้สะดวกขึ้น
EKONTA RGB GAMING COOLING PAD
ออกแบบมาเพื่อเจาะกลุ่มเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค เพื่อช่วยในการปรับมุมมองในการเล่นเกม การใช้งานต่างๆให้เหมาะสม สามารถใช้งานกับโน๊ตบุ๊ค 17 นิ้วได้ อีกทั้งยังช่วยในการระบายความร้อนด้วยพัดลมขนาดใหญ่ถึง 20 เซนติเมตร และยังเพิ่มความสวยงามด้วยไฟ RGB ที่ขอบโดยรอบ เรียกได้ว่าครบเครื่องเพื่อโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งเลยทีเดียว
ขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ทำให้สามารถใช้งานกับโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งตัวท็อปๆ ได้ไม่ยาก โดยวัสดุจะเป็นโลหะที่เป็นรูตรงการเพื่อช่วยในการระบายความร้อน ช่วยให้อากาศถ่ายเทด้วยพัดลมขนาด 20 เซนติเมตร ขอบของบอดี้หลักเป็นสีขาว ซึ่งมีแสงไฟ RGB พร้อมการออกแบบที่มีลวดลายในแบบเกมมิ่ง เหมาะกับโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งด้วยขนาดที่ใหญ่ วัสดุดี รับน้ำหนักได้เยอะ ปรับระดับได้ตามต้องการช่วยทั้งให้ตัวโน๊ตบุ๊คอยู่ในระดับสายตา ไม่ปวดหลัง อีกทั้งยังช่วยระบายความร้อน
ไปหาซื้อกันได้ที่ EKONTA
IKEA BRADA
เน้นไว้ใช้วางโน๊ตบุ๊คให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์และการมอง วัสดุเป็นพลาสติก มีหลายสีให้เลือกทั้งชมพู ดำ น้ำเงิน และขาว โดยจะมี 2 ขนาดให้เลือกซื้อ ขนาดเล็ก และใหญ่ รุ่นที่นำมาใช้งาน จะมีความยาว 42 เซนติเมตร กว้าง 31 เซนติเมตร และฐานสูง 9 เซนติเมตร รองรับโน๊ตบุ๊คขนาดใหญ่สุดได้ถึง 17 นิ้ว โดยจะมีขอบรองที่ด้านล่างกันหล่น
ผลิตมาจากพลาสติกแข็ง แต่ก็ยังสามารถยืดหยุ่นได้นิดหน่อยทำให้ไม่แตกหักง่ายแม้จะตกจากโต๊ะ ขนาดใหญ่ และสามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 5 กิโลกรัมหรือมากกว่า เหมาะแก่การวางมือเพื่อพิมพ์ในระยะยาว เพราะนอกจากช่วยให้พิมพ์ได้สะดวกแล้ว ยังยกระดับเครื่องในส่วนของจอภาพให้อยู่ในระดับที่สามารถมองได้สะดวก ผู้ใช้งานจะนั่งหลังตรงขึ้น ทำให้ลดอาการปวดหลังอีกด้วย โดยเฉพาะท่านที่ต้องใช้งานโน๊ตบุ๊คเป็นเวลานานโดยเฉพาะตามสำนักงาน ออฟฟิตต่างๆ มีติดไว้จะช่วยให้ท่านใช้งานโน๊ตบุ๊คได้สะดวกไปอีกขั้น อีกทั้งด้วยราคา 149 บาท เท่านั้น
สุดท้ายนี้ก็อยากให้ทุกคนได้ลองปรับพฤติกรรมการใช้โน๊ตบุ๊ค เพื่อเป็นการลดปัญหาความร้อนที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต และที่สำคัญการตรวจเช็คโน๊ตบุ๊คปีละ 1-2 ครั้ง ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานไปได้ยาวยานเลยทีเดียว สิ่งที่นำมาแนะนำกันในวันนี้ หลายวิธีทำได้เอง ไม่ยุ่งยาก แต่ถ้าอยากจะลองทำด้วยการแกะเครื่องหรือทาซิลิโคนใหม่ แนะนำให้มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแนะนำให้ เพื่อลดความเสียหาย และอาจมีผลต่อการรับประกันได้ในอนาคต ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการใช้งานโน๊ตบุ๊คเครื่องโปรดในช่วงหน้าร้อนนี้ครับ