OMEN ให้ความสำคัญกับการเป็นเกมเมอร์ที่ต้องการก้าวสู่ความสำเร็จ เช่นเดียวกับแนวคิด “Play to Progress” ที่อยากให้ทุกคนสามารถทะลุขีดจำกัดของตัวเอง ทั้งการเล่นเกมและในชีวิตจริง
โดยที่ OMEN 15 ใหม่นี้ จะช่วยให้คุณคว้าชัยชนะในการภารกิจต่างๆ ในการเล่นเกมและพัฒนาต่อไปไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าคุณจะลุยเดี่ยวหรือการเล่นเป็นทีมก็ตาม และให้การเล่นเกม ไม่ใช่แค่ความสนุก แต่เป็นการฝึกฝนทักษะสู่การเป็นเกมเมอร์อย่างแท้จริงในวันข้างหน้า
มิติของ Omen laptop by HP ใหม่นี้ จะค่อนข้างต่างจากในโมเดล 2019 อยู่ไม่น้อยเลย เริ่มตั้งแต่บอดี้ถูกดีไซน์ให้กระชับขึ้น จุดที่บางก็บางลงกว่า และส่วนที่หนาตรงด้านท้ายก็ทำให้เรียวรับกับโครงสร้างได้ลงตัว เพิ่มจุดระบายความร้อน และออกแบบช่องทางระบายอากาศใหม่ ส่วนหน้าจอจากที่บานพับระยะแคบ รูปแบบคล้าย Pavilion Gaming ก็เปลี่ยนมาเป็นบานพับที่มีระยะห่างมากขึ้น แต่ยังคงแน่นหนาเหมือนเดิม ส่วนเลย์เอาท์และแสงสีบนคีย์บอร์ดยังคงจัดเต็ม เช่นเดียวกับคีย์แพด ที่ค่อนมาทางซ้ายในสไตล์เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คเช่นเดัยวกัน แต่ปรับโลโก้ใหม่ เป็นสี่เหลี่ยมเช่นเคย แต่ใช้โทนสีไล่เฉด แทนที่จะเป็นโลโก้ Omen ที่เป็นลวดลายในอดีต
Specification
โดยที่สเปคของ Omen 15 ที่ได้รับมาทดสอบในครั้งนี้ ใช้ซีพียู Intel Core i7-10750H ความเร็วบูสท์สูงสุด 5.0GHz ทำงานแบบ 6 core/ 12 thread และติดตั้งแรม DDR4 2933 8GB พร้อมระบบ Storage SSD M.2 NVMe 512GB และกราฟิกการ์ด GeForce RTX 2060 GDDR6 6GB หน้าจอเป็นแบบ IPS 15.6″ รีเฟรชเรต 144Hz พร้อมฟีเจอร์เด็ด Omen Tempest Cooling และ Omen Conmmand Center ที่ได้รับการปรับปรุงมาในเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด
ในส่วนของมิติบอดี้แม้จะดูบึกบึนขึ้น แต่ก็แทบไม่ต่างไปจากเดิมมากมายนัก ความหนาอยู่ที่ 2.25 เซ็นติเมตร และน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.36 กิโลกรัม เท่านั้น แทบจะเรียกได้ว่าระดับเดียวกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คในปัจจุบัน พอร์ตการเชื่อมต่อมีมาให้ครบ ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 Type-A, USB 3.1 Type-C รวมถึง HDMI และ Mini-Display port รวมถึง Thunderbolt และ RJ-45 รองรับ WiFi 6 และ Bluetooth 5.0 พร้อมกับ Windows 10 ให้ใช้งานได้ทันที แต่จุดที่น่าสนใจคือ แบตขนาดใหญ่ 6-cell และการรับประกัน On-site 2 ปีเต็ม สนนราคารุ่นนี้อยู่ที่ 44,990 บาท
ดูรายละเอียดของ OMEN 15 เพิ่มเติมได้ที่ > http://bit.ly/HPOMEN15-1
Hardware / Design
Omen 15 มาในดีไซน์ที่ค่อนข้างแตกต่างจากในรุ่นที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด ทั้งพื้นผิวและสีสัน แต่วัสดุยังเป็นอะลูมิเนียมในโทนสี Shadow Black ดูหรูหรา และสไตล์ดุดัน ตามแบบฉบับเกมเมอร์ ด้วยสีดำด้านของบอดี้ จึงลดปัญหารอยนิ้วมือไปได้เยอะ วัสดุให้ความแข็งแรง บอดี้ที่หนักแน่น งานประกอบที่ปราณีต ให้จับได้ถนัดมือ เพิ่มความโดดเด่นด้วยโลโก้ OMEN แบบใหม่ ที่ดูสะดุดตา ทรง Diamond Square ไล่สี gradient สีฟ้า-เขียว Minimal
โดยเฉพาะฝาหลัง Cover ที่ปรับเปลี่ยนให้ดูเคร่งขรึมมากขึ้น แทนที่จะเป็นโลโก้เดิม และลวดลายที่แปลกตา แต่ครั้งนี้มาแบบเนี๊ยบๆ ให้คุณเอาไปใช้ในโอกาสใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทำงาน ห้องประชุม หรือจะเป็นร้านกาแฟ ในช่วงเวลาที่พักผ่อน เพราะด้วยความเรียบหรู ไม่เน้นแสงไฟหรือลวดลายที่สะดุดตาเกินไป เพราะด้านหลังมีเพียงโลโก้ใหม่ พร้อมตัว OMEN มาบางๆ เท่านั้น
ส่วนถ้าหันมาดูด้านใน ก็ยิ่งน่าจะถูกใจคนที่ชอบความเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความเท่ คล้ายสไตล์ภายในของ Sport car ที่เน้นโทนสีดำ Shadow Black เช่นเดียวกัน ขอบจอที่บางพิเศษทั้ง 3 ด้าน พร้อมกล้องเว็บแคมด้านบน และการวางองค์ประกอบเต็มพื้นที่ ให้ดูแน่นๆ พื้นที่คีย์บอร์ดแบบ Full-size เกือบเต็มพื้นที่ และมีขอบข้างเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ที่ชอบเป็นพิเศษคือ Omen 15 ยังใช้วัสดุที่ดูพรีเมียมและไม่เป็นรอยนิ้วมือง่าย ที่น่าจะเป็นจุดที่ทำให้เกมเมอร์น่าจะถูกใจ นอกจากดีไซน์ที่ดูดี ส่วนสติ๊กเกอร์ที่ติดมา จะเป็นเพียง Intel Core i7 Gen 10 และ GeForce RTX เท่านั้น
ส่วนด้านล่างของหน้าจอ จะเป็นโลโก้ตัวอักษร OMEN สีจางๆ มาด้วย พร้อมสติ๊กเกอร์ 144Hz refresh rate และจุดเด่นคือ การสร้างสมดุลที่ดีให้กับผู้ใช้ที่ชอบเปิดเครื่องด้วยมือเดียว เพราะคุณสามารถยก Cover เปิดเครื่องขึ้นมาได้แบบตัวเครื่องไม่กระดกขึ้นมาด้วย ด้วยบานพับขนาดใหญ่ 2 ด้าน แยกออกไปเกือบสุดบอดี้ซ้าย-ขวา จึงให้ความแข็งแรงได้ดีพอสมควร รวมถึงหน้าจอที่กางออกได้ 180 องศาสบายๆ
ด้านใต้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คในไม่กี่รุ่น ที่มีการออกแบบมาอย่างละเอียด ให้พื้นที่ในการระบายความร้อนเกินครึ่งของพื้นที่ด้านใต้ เปิดช่องทางลมให้กับพัดลมในการดูดลมเย็นจากด้านใต้เข้าไปเวียนในระบบ ด้วยพัดลม 12V ขนาดใหญ่ 2 ตัว และฮีตไปป์ โดยมีพื้นรองคล้ายกับยางจำนวนมาก แทนที่แผงปิดทึบขนาดใหญ่ อย่างที่เราเคยเห็นกันในโน๊ตบุ๊คทั่วไป ออกแบบให้เปิดช่องระบายอากาศได้ดี นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวยกโน๊ตบุ๊คให้สูงขึ้น เพื่อให้มีลมเข้ามาได้มากขึ้นนั่นเอง โดยวัสดุที่นำมาใช้ส่วนใหญ่ ค่อนข้างแข็งแรง และมีการยึดแน่นเข้ากับตัวพื้นด้านใต้ ไม่หลุดง่าย แต่ด้วยช่องที่มีขนาดใหญ่นี้ แม้จะมีตัวกรองมาให้ ก็ต้องลุ้นกับเรื่องของฝุ่นด้วยเช่นเดียวกัน
Keyboard / Touchpad
อารมณ์ของคีย์บอร์ดบน Omen 15 มีน่าประทับใจ 2 เรื่องหลักเลยคือ หากคุณได้เคยใช้คีย์บอร์ดบนโน๊ตบุ๊คทั่วไปมาก่อน จะรู้สึกว่าค่อนข้างจะยุบยวบ หรือกดแล้วตอบสนองช้า แต่บน Omen นี้ จะทำให้คุณต้องทำอะไรไวกว่าเดิม ไม่ใช่แค่การเล่นเกมที่สัมผัสได้ ในการพิมพ์งานในคนที่ชอบพิมพ์สัมผัส จะเป็นเหมือนความรู้สึกในคีย์บอร์ดราคาแพงๆ เพราะระยะของ Travel key สั้นลง จึงตอบสนองได้ทันที เรื่องเสียงน้อยมาก ในมุมมองของคนทำงาน ให้คะแนนเต็มได้เลย ส่วนในแง่ของการเล่นเกม ก็ไม่ต้องพูดกันมาก เพราะออกมาเพื่อเกมโดยเฉพาะอยู่แล้ว เลย์เอาท์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ปุ่มแบบ Full-size อีกทั้งมี Numeric key มา ตัวเลขครบครัน รวมถึงฟีเจอร์อย่าง Anti-Ghosting หรือ Key Rollover ก็มีมาครบ แต่ติดอยู่นิดหน่อยตรง Arrow key ตัว Up/Down จะมาเต็มก็ไม่เต็ม ขาดครึ่งเล็กน้อย แต่ก็ไม่ใช่นัยสำคัญเท่าไรนัก
และอีกสิ่งที่จะช่วยเพิ่มอรรถรสให้กับการเล่นเกม คือเรื่องแสงไฟ ที่ให้คุณเปิดใช้งาน เพื่อเป็นแสงสว่าง Backlit บนปุ่มในการใช้งานที่แสงน้อยหรือจะใช้ในช่วงที่เล่นเกมเพื่อสร้างอารณ์เร้าใจ หรือจะปิดในช่วงที่คุณต้องการความเรียบง่ายหรือใช้แค่พิมพ์งานในวันสบายๆ แต่จุดเด่นคือ แสงไฟที่ออกมาเต็มคีย์ ไม่มีแหว่งเว้า หรือขึ้นแต่ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยไม่ชัด แต่ออกมาคมชัดทุกตัวอักษร คิดว่าทาง Omen น่าจะทำการบ้านมาเป็นอย่างดี เรื่องของความพรีเมียม ตรงจุดนี้บอกได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะทำมาด้วยก็คือ ทำไมไม่ให้ปรับระดับแสงได้สัก 1-2 สเตปนะ แต่ถ้าจะปรับก็ปรับได้ โดยเข้าไปตั้งค่าในส่วนของ Lighting ในซอฟต์แวร์ Omen Command Center นั่นเอง
โดยเมื่อเข้าไปในฟีเจอร์ปรับแสงคีย์บอร์ด Lighting นี้ จะมีให้เราเลือกปรับแสงไฟได้ 4 โซนด้วยกันคือ ซ้าย กลาง ขวา และปุ่ม WASD คุณเลือกปรับได้ตามสีที่ชื่นชอบ อยากได้โทนไหน แบบใด หรือจะเลือกสีเอง คลิ๊กที่ Advanced แล้วเลือกสีที่ต้องการ ด้วยการเลือกที่ Hue ส่วนถ้าจะปรับความสว่างแสงไปที่ Brightness แต่บอกไว้ก่อนว่ามีแค่ Static mode เท่านั้นครับ
ส่วนทัชแพดบอกเลยว่าบิ๊กไซส์ ใหญ่กำลังดี และหลีกในส่วนของ Numpad ย้ายมาทางซ้ายเล็กน้อย ไม่เกะกะ ให้สัมผัสที่ลื่นกว่า ต่างจากในรุ่นปี 2019 เช่นเดียวกับปุ่มคลิ๊กซ้าย-ขวาที่ซ่อนไว้ใน Pad กดได้เกือบทั่วแผ่นเลยทีเดียว และเช่นเดียวกันขนาดทัชแพดก็กว้างกว่าเดิมเห็นๆ
ในภาพรวมของแป้นพิมพ์และทัชแพด ถูกปรับให้น่าใช้กว่าเดิม เพิ่มเติมคือ ทั้งขนาด ลูกเล่น เรื่องของสีสันก็ดูสนใจ แต่สิ่งที่จะต่างไปจากรุ่นก่อนๆ ก็น่าจะเป็นปุ่มเพาเวอร์เปิด-ปิด โยกมาไว้ในชุดคีย์บอร์ด ตรงนี้แล้วแต่คนจะชอบ แต่ส่วนตัวอยากให้แยกเหมือนเดิม กันกดผิดและยังดูเป็นเอกลักษณ์ดี แต่ปุ่มที่เป็น Hot key ก็มากันครบ รวมถึงปุ่มเสริมที่เรียก Omen Command Center และ Calculate ที่ใส่มาให้ใช้ง่ายขึ้น แค่กด fn+… เท่านั้นเอง
Screen / Speaker
ในส่วนของหน้าจอ ก็ต้องถือว่าเป็นความพิเศษตามสไตล์ของ Omen ที่เติมความสนุกให้กับการเล่นเกมด้วยพาแนลคุณภาพ บนหน้าจอ 15.6″ ใช้พาแนล IPS คุณภาพสูง ซึ่งเท่าที่เช็คก็น่าจะใกล้เคียงกับในรุ่นที่แล้ว ซึ่งทำไว้ได้ดี ความละเอียด Full-HD 1920 x 1080 พิกเซล พอเหมาะกับการเล่นเกมและทำงาน เรื่องของสีสันและมุมมอง ถ้าในแง่ของการเล่นเกมและความคมชัด จัดว่ามาดีมาก เพราะจากการเล่นเกม ให้สีได้จัดจ้าน เหมาะกับคอเกมแอ็คชั่น ปรับสีให้จัด แล้วดันความละเอียดลง นอกจากมองเห็นศัตรูชัด ก็ยังซัดได้เต็มข้อมากขึ้น พร้อมขอบที่ยกระดับขึ้นมานิดหน่อย ไม่ให้จอบดบี้กับคีย์บอร์ดจนเป็นรอยได้ เว็บแคมในแบบ HD กับไมโครโฟนคู่ด้านบนสนทนาเห็นหน้าชัดเจน
ในการทดสอบประสิทธิภาพจอบน Omen 15 รุ่นใหม่ปี 2020 นี้ ซึ่งเป็นพาแนลแบบ IPS ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ในการตรวจสอบอย่าง Spyder5Elite กับการตรวจเช็คค่าสีของหน้าจอ ผลที่ได้ในการทดสอบครั้งนี้ ตัวเลขที่ได้ ค่อนข้างเทียบเคียงกับในรุ่นที่ผ่านมา ซึ่งหลายส่วนจัดว่ามีการปรับเปลี่ยนไปพอสมควร แต่ค่า Gamut ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเช่นเคย
โดยขอบเขตความกว้างของสีสันอยู่ในระดับ 88% sRGB ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ของเกมมิ่งโน้ตบุ๊กระดับกลางค่อนไปทางบนในท้องตลาดส่วนใหญ่ ความสว่างของหน้าจอสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 270-280cd/m2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งในแง่ของการใช้งาน ก็คงต้องเน้นหนักไปที่การเล่นเกม ส่วนจะนำมาแต่งภาพ ตัดต่อวีดีโอ อยู่ในระดับกลางๆ หากจะเน้นไปที่ความจริงๆ เน้นสีตรงเป๊ะ แนะนำว่าให้ต่อจอเฉพาะทางเพิ่มดูจะเหมาะสมกว่า
ส่วนในด้านความสว่างของหน้าจอ ด้วยการทดสอบแบ่งตาราง 9 ช่อง เพื่อดูการแสดงผล ที่ให้ความสว่างในการทำงาน ตรงกลางหน้าจอ ให้ค่า 0% บอกถึงการให้แสงสว่างได้อย่างเต็มที่ และรองลงมา คือทางด้านขวาของหน้าจอ ที่มีตัวเลขเฉลี่ยไล่เลี่ยกัน ส่วนทางซ้ายสุดจะค่อนข้างคลาดเคลื่อนไปพอสมควร อาจไม่ได้่มีผลต่อการเล่นเกมมากนัก แต่ถ้าจะใช้ในการทำงาน Editing การแต่งภาพหรือด้านวีดีโอ อาจจะต้องเผื่อไว้สักเล็กน้อย ส่วนเรื่องของตัวเลขทดสอบแบบ Overall บน Spyder5Elite อยู่ที่ 3.5 จัดว่าใช้ได้เลย
ลำโพงที่อยู่บน Omen 15 รุ่นนี้ มาในแบบ Stereo 2.0 แยกช่องทางเสียงซ้าย-ขวา ด้วยระบบเสียง BANG & OLUFSEN ซึ่งบอกได้เลยว่ามาในแนวของการเล่นเกมชัดมาก กับเสียงที่ทุ้มหนักออกกลางชัด ช่วงที่อยู่กลางสมรภูมิ ไม่ว่าจะเป็น BF5 หรือจะไป PUBG ตื่นเต้นดี ทั้งเสียงกระสุน ระเบิด และเอฟเฟกต์ใกล้ตัว เสียงแหลมมาพอได้ การเก็บรายละเอียดถือว่ากลางๆ เสียงไม่แตกเละดันขึ้นไปสูงๆ ส่วนตัวคิดว่าน่าจะต้องผ่านการปรับแต่ง Mixer บ้างเพื่อความมันส์ในอารมณ์ของแต่บุคคล ในภาพรวมต้องถือว่าเสียงจากลำโพงด้านบนและที่ออกด้านข้าง 2 ด้าน ให้ผลงานออกมาได้ดี
Connector / Thin And Weight
พอร์ตเชื่อมต่อ สิ่งจำเป็นไม่มีขาดหายไปบน Omen 15 ใหม่นี้ เพราะมากันแบบครบไลน์ นำขบวนมาด้วย Thunderbolt 3 ในแบบ 40Gbps และ Type-C SuperSpeed 10Gbps รวมไปถึง USB Type-A 5Gbps 1 ช่องด้านซ้าย และ Type-A อีก 2 ช่องด้านขวา ส่วนพอร์ตแสดงผลมาพร้อม HDMI 2.0 และ Mini DisplayPort รวมไปถึง RJ-45 และ หูฟังไมโครโฟนคอมโบ 3.5mm และที่ขาดไม่ได้คือ SD media card reader ส่วนการเชื่อมต่อ WiFi เป็นแบบ 802.11ax หรือ WiFi6 (AX201) Intel ส่วน Gigabit LAN Realtek เช่นเคย
เรื่องมิติอาจจะกล่าวไม่เต็มที่ว่าจะบางได้สุดๆ เพราะเป็นโน๊ตบุ๊คเกมมิ่ง แต่ถ้าเทียบกับซีรีส์เดียวกัน และมีระบบระบายความร้อนจัดเต็มเช่นนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นอีกรุ่นหนึ่งที่มีขนาดกระทัดรัดน่าใช้ และมีน้ำหนักที่ทำให้การพกพาหรือเคลื่อนย้าย ไม่เหนื่อยมากนัก แม้ว่าจะใส่คีย์บอร์ดจัดเต็ม 6 แถว พร้อม NumPad มาด้วย เพิ่มทัชแพดแบบชิดขอบบนล่าง กระชับบอดี้กันสุดๆ น้ำหนักโดยรวม 2.36 กิโลกรัม ก็ถือว่าทำได้ดีมากแล้ว ส่วนใครจะบอกน้ำหนักประมาณนี้ การพกพา อาจไม่สะดวก ก็อย่าลืมว่า นี่คือ เกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค ครับ
Performance / Software
มาดูในส่วนของ CPU-z กันก่อน ระบุรายละเอียดมาอย่างชัดเจน ซีพียู Intel Core i7-10750 “Comet Lake” ความเร็วสูงสุด 5.0GHz Turbo Boost ทำงานในแบบ 6 core/ 12 thread ซึ่งมากพอสำหรับการเล่นเกมและทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ตกแต่ง หรืองานตัดต่อวีดีโอในเบื้องต้น และมีค่า TDP สูงสุด 45W เท่านั้น มาพร้อมกับแรม DDR4 3200 8GB และยังมีสล็อตสำหรับการอัพเกรดในนาคตได้อีกด้วย
ที่น่าสนใจก็คือ การทดสอบพื้นฐาน ด้วยโปรแกรม CPU-z ผลที่ได้จาก Single-thread อยู่ที่ 518.5 และ Multi-thread 3,793.8 เรียกว่าเทียบเท่ากับซีพียูอดีตตัวท็อประดับ Core i7-8700K ไปได้นิ่มๆ จัดว่าไม่ธรรมดา
ถัดมาเป็นการรายละเอียดของกราฟิก ประกอบด้วย Intel UHD Graphic ที่ถูก Integrate มาพร้อมซีพียู Intel Gen 10 สามารถแชร์ VRAM จากระบบได้ ให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีพอสมควร เหมาะกับงาน 2D และเล่นเกมง่ายๆ ที่ไม่ดึงทรัพยากรมากเกินไป และกราฟิกที่เป็น Discrete ที่เสริมมาเป็นพิเศษ GeForce RTX 2060 จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติและประสิทธิภาพนั้นจัดเต็ม เพื่อให้คอเกมได้รีดเฟรมเรตกันแบบสุดๆ มาดูผลทดสอบแต่ละส่วนกันได้เลย
คะแนนเซ็ตแรกมาจากโปรแกรม PCMark 10 Standard คะแนนรวมอยู่ที่ 6,303 คะแนน เรียกว่าผ่านการทดสอบได้สบาย และคะแนนที่ได้จากการทดสอบ ซึ่งตามกราฟระบุว่า เหนือกว่าพื้นฐานของเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คปี 2020 อีกด้วย
ส่วนคะแนนจาก CINEBench R20 ที่เป็นการทดสอบพลังซีพียูแบบล้วนๆ ตัวซีพียู Intel Core i7 ก็เรียกคะแนนออกมา แซงหน้าซีพียูตัวแกร่งสำหรับงาน Workstation อย่าง Xeon ไปได้ไม่ยาก กับตัวเลขที่ 2838 pts ด้วยชิปประมวลผลที่ประสิทธิภาพสูงเช่นนี้ ก็น่าจะตอบโจทย์การใช้งานในด้านต่างๆ ได้ไม่ยาก
คะแนนของระบบ Storage ด้วยโปรแกรม CrystalDiskMark โดยข้อมูลที่เช็คมาได้บน Info นั้น ระบุว่าเป็น SSD M.2 NVMe จากทาง Samsung บนอินเทอร์เฟส PCIe Gen3 x4 ซึ่งผลที่ได้ออกมา ในแง่ของการอ่านข้อมูล ทะลุไปกว่า 3.2GB/s แต่ในการเขียน ได้ที่ประมาณ 1.2GB/s เท่านั้น อย่างไรก็ดีถ้าเทียบกับ SATA III หรือฮาร์ดดิสก์ ก็ทิ้งห่างกันไปหลายช่วงตัว แต่ตรงจุดนี้ต้องเช็คกับโมเดลที่จำหน่ายจริงกันอีกครั้งหนึ่ง
PUBG ปรับค่าความละเอียด Ultra ในเกม เฟรมเรตอยู่ที่ 98 fps. ส่วนถ้าปรับ Low เฟรมเรตอยู่ที่ 144 fps. โดยประมาณ ถือว่าลื่นไหล สำหรับสเปกนี้กับเกมนี้
Battlefield V ปรับความละเอียด Ultra ในเกม เฟรมเรตอยู่ที่ 86 fps. ส่วนถ้าปรับ Low เฟรมเรตอยู่ที่ 103 fps. โดยประมาณ
Horizon Zero Down ปรับความละเอียด Ultra Quality ในเกม เฟรมเรตอยู่ที่ 55 fps. ส่วนถ้าปรับ Favor performance เฟรมเรตอยู่ที่ 93 fps. โดยประมาณ
DOTA 2 ปรับความละเอียด Best looking ในเกม เฟรมเรตอยู่ที่ 100 fps. ส่วนถ้าปรับ Fastest เฟรมเรตอยู่ที่ 117 fps. โดยประมาณ
สำหรับการมาของหน้าจอ 144Hz ต้องบอกว่า เป็นเพียงในบางเกม ที่สามารถจะดันเฟรมเรตไปได้ระดับนั้น แต่ถ้ามันตรงกันแล้ว เรียกว่าไหลลื่นๆ อยู่แถว 120-150fps ขึ้นไป ภาพจะดูลื่นไหลมากขึ้น จุดหนึ่งที่พอสังเกตได้และดูจะเป็นผลดีสำหรับคนที่เล่นเกมแล้วเวียนหัว ภาพที่ดูต่อเนื่อง และให้ความราบลื่น ไม่สะดุดหรือเกิดอาการฉีกขาด มีส่วนทำให้อาการของคุณดีขึ้น และดูผ่อนคลายลง เพราะคุณจะไม่ต้องใช้สายตาหนักเกินไป และดูผิดธรรมชาติ นับว่าเป็นข้อดีของจอ Hz สูงๆ เช่นนี้ ซึ่งน่าจะเป็นอีกข้อดีหนึ่งของเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ในปัจจุบัน
Software
ในการทดสอบความร้อนในเบื้องต้น ด้วยการทำงานของ Performance control กับค่า Idle ปรับรอบพัดลม Manual 50% ความร้อน CPU 52 องศาเซลเซียส ส่วนการ์ดจอ 47 องศาเซลเซียส และเมื่อปรับ Thermal control ในโหมด Max ผลที่ได้ ความร้อน CPU 44 องศาเซลเซียส ส่วนการ์ดจอ 39 องศาเซลเซียส
และเมื่อมาสู่การทดสอบ Full load ด้วย OCCT ปรับรอบพัดลม Max ความร้อน CPU 84 องศาเซลเซียส และเมื่อปรับ Thermal control ในโหมด Max ผลที่ได้ ความร้อน CPU 80 องศาเซลเซียส เท่านั้น
อีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างยิ่งก็คือ Omen Command Center จัดฟังก์ชั่นมาอย่างจุใจ ให้การใช้งานบน Omen ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจุดสำคัญจะอยู่ที่หัวข้อ Omen 15 ซึ่งจะเป็นฟังก์ชั่นสำหรับการตรวจเช็ค ปรับแต่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของซีพียู การ์ดจอ หน่วยความจำ และยังเช็คความเร็วการดาวน์โหลดและอัพโหลดไฟล์บนอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย
นอกจากนี้ในส่วน Performance control ยังรวมเอาการกำหนดประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ คล้ายกับการเลือก Power options บน Windows แต่อันนี้ง่ายกว่า รวมไปถึงการตั้งค่า Thermal control ตรงนี้จะมีให้เลือกความเร็วของพัดลม Max, Auto และ Manual เรียกว่าจัดได้หลายระดับ ตามความต้องการ และยังมีตัวเลขอุณหภูมิรายงานการใช้แบบเรียลไทม์อีกด้วย
อีกจุดหนึ่งที่น่าจะเป็นส่วนสำคัญก็คือ Lighting ที่ช่วยในการปรับแสงไฟ RGB ให้กับคีย์บอร์ด ซึ่งได้อธิบายรายละเอียดไปในส่วนของ Keyboard and Touchpad กันไปแล้วก่อนหน้านี้ การใช้งานค่อนข้างง่าย คลิ๊กเลือกตามโซนที่แบ่งไว้ 4 โซน จากนั้นเลือกสีตามต้องการ จะให้ไล่เฉดไปตามโทน หรือจะตัดกันก็ได้ รวมถึงปุ่ม WASD ที่แยกสีได้อย่างชัดเจน เสียดายที่ไม่สามารถปรับเอฟเฟกต์ได้ ไม่อย่างนั้นจะลงตัวดีทีเดียว
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ที่ระบุไว้ในสเปคนั้นจะเป็นแบบ 6-cell 70.9 Wh หรือ 5,500 mAh เป็นแบบลิเธียมไอออน ซึ่งในการทดสอบด้วยโปรแกรม BatteryMon กับรูปแบบการทสอบในการปรับความสว่างที่ 30% และเสียงที่ 30% เพื่อให้อยู่ในโหมดการชมภาพยนตร์ ซึ่งเสียงและภาพอยู่ในระดับที่มองเห็นได้ดี ไม่สว่างเกินไป และเปิดโหมดประหยัดพลังงาน Battery Saving จากนั้นเปิดวีดีโอ Youtube ให้ทำงานต่อเนื่อง ผลที่ได้นั้นอยู่ที่ราว 2.20 ชั่วโมง แต่หากใช้เป็นการเล่นเกมอย่างต่อเนื่องแล้ว เท่าที่ทดสอบด้วยการเล่นเกมอยู่ที่ประมาณชั่วโมงกว่าๆ แบบไม่ต่อสายไฟ AC ฉะนั้นหากเป็นการท่องเว็บ สลับเล่นเกม ดูหนังบ้าง ก็น่าจะได้นานกว่านี้
มาในส่วนของอุณหภูมิกันบ้าง แยกการทดสอบมาจาก Omen Command Center โดยการใช้โหมดปกติคือ Auto แล้วทดสอบด้วย OCCT ที่รีดความเร็วของซีพียูแบบ Full load 100% เป็นเวลาต่อเนื่อง อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 94 องศาเซลเซียส ส่วน idle จะอยู่ที่ประมาณ 42-43 องศาเซลเซียส ย้ำว่าตัวเลขนี้ยังไม่ได้เปิดโหมด Max บนโปรแกรม เพราะความร้อนจะลดลงกว่านั้นมาก
ส่วนเรื่องเสียงรบกวน ถ้าอยู่ในโหมดการทำงานทั่วไป เช่น พิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเว็บ ไม่ได้โหลดซีพียูจัดๆ ก็แทบจะไม่มีเสียงรบกวนใดๆ เพราะโหลดของซีพียูใช้ไปไม่มาก แต่ถ้าเล่นเกม Full load กันแบบเต็มพิกัด เสียงพัดลมก็ดังพอสมควร แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ของเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค แต่อุณหภูมิที่ได้ ก็ลดลงมาอย่างน้อยๆ ก็ 10 องศาเซลเซียสจากปกติ ก็ต้องพิจารณากันว่าจะปรับโหมดพัดลมด้วย Manual เพื่อให้อยู่ในระดับที่ต้องการ หรือจะเปิด Max แล้วหาทางออกอย่างอื่น เพราะซีพียู การ์ดจอเย็นลง ทำให้เล่นเกมได้ดียิ่งขึ้น
ในการทดสอบของเรานี้ อยู่ในเงื่อนไขของอุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าสภาพแวดล้อมของคุณต่างกันออกไป เช่น ห้องปกติ พัดลม หรือมีการระบายอากาศดีมากน้อยเพียงใด ก็จะส่งผลต่ออุณหภูมิของระบบและการใช้งานของคุณเองด้วย
แต่สิ่งหนึ่งที่คุณอาจจะต้องปรับตัวบ้างกับการใช้งาน โดยเฉพาะการเล่นเกม เนื่องจากพัดลมอยู่ทางด้านขวามือ หากมีโหลดหนักๆ ลมร้อน ก็อาจจะเป่าไปทางที่มือจับเมาส์อยู่บ้าง อย่างไรแล้วก็หาระยะช่องว่างห่างออกไปบ้าง ก็ลดเรื่องลมร้อนเป่ามือไปได้แล้วตครับ จุดนี้ไม่เป็นปัญหา แต่อาจมีผลต่อคนขี้รำคาญเท่านั้น อย่างไรก็ดีด้วยการออกแบบและเทคโนโลยี Omen Tempest Cooling ก็ถือว่าช่วยควบคุมเรื่องของความร้อนได้ไม่น้อยเลย
Conclusion / Award
มาสรุปกับการใช้งาน Omen 15 รุ่นใหม่ปี 2020 นี้กันบ้าง หลังจากที่ได้ลองใช้มาช่วงประมาณหนึ่งอาทิตย์ สิ่งหนึ่งที่สามารถเอาคะแนนไปเต็มๆ เลยก็คือ เรื่องของดีไซน์และวัสดุ เพราะดูแล้วมีความใส่ใจ ให้ความปราณีตในการประกอบ รูปลักษณ์นั้นเรียกว่า เอาไปใช้ที่ไหน ก็ดูเข้ากันได้ทุกที่ แม้ว่ารูปลักษณ์จะอยู่ในโทนสีดำ แต่มันไม่ได้ดำแบบดิบๆ ดูมีการปรุงแต่ง ผสมผสานความเรียบลื่นและมีความแข็งแรง ไม่เงางามตามสไตล์ของโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งที่เป็นสมัยนิยม แต่เป็นแบบที่น่าจะลงตัวกับเกมเมอร์ที่ไม่ชอบรอยนิ้วมือให้ดูเลอะเทอะกันไป นอกจากนี้ถ้าดูจากคอนเซปต์ของ Omen เอง ก็น่าจะพอมองเห็นแนวทางการออกแบบที่ดูลงตัวเช่นนี้
คีย์ฟีเจอร์สำคัญของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ น่าจะอยู่ที่ รูปลักษณ์และฟีเจอร์ เพราะจัดเต็มมาตั้งแต่ต้น ดีไซน์ไม่ใช่แค่สวยหรู แต่ยังเติมฟังก์ชั่นการใช้งานมาเพียบ ไม่ว่าจะเป็นจอแสดงผล IPS 144Hz ให้ภาพและสีที่สวยงาม ตอบสนองด้านเกมชัดเจน คีย์บอร์ดที่มาแบบ Full-size แถมยังมีไฟ RGB เพิ่มมาให้ด้วย ปุ่มกดตอบสนองไว เสียงรบกวนน้อย กดแล้วไม่ยวบ และส่วนของพอร์ตที่เติม Thunderbolt 3 มาให้ และรองรับ WiFi 6 อีกด้วย รวมถึงส่วนสำคัญสุดท้ายก็คือ การระบายความร้อน Omen Tempest Cooling ที่เปิดช่องทางให้ลมเข้าออกได้คล่องตัว ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ Omen Command Center ที่ให้ผู้ใช้ปรับการทำงานของระบบ ให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ เกมที่เล่น ลดความร้อน เพิ่มความเร็วไปในตัวอีกด้วย คอเกมที่จริงจัง น่าจะปรับกันได้สนุกมือ แค่กดปุ่มสี่เหลี่ยมบนคีย์บอร์ด ก็พร้อมใช้งานแล้ว
ระบบเสียงจัดว่าให้ความสนุก ปลุกอารมณ์ให้คึกคัก อยากจะลงสมรภูมิลุยให้มันสะใจ เพราะเสียงจากลำโพงด้านบน ให้เอฟเฟกต์แน่น เสียงทุ้มดังสะใจ ลำโพงไม่แตก เมื่อเปิดระดับเสียงสูงๆ เสียงแหลมออกข้าง และบอกรายละเอียดของทิศทางได้พอสมควร การดูหนัง ฟังเพลง ก็ตอบโจทย์ได้ดี
จุดที่ผู้ใช้จะได้ไปอีกอย่างก็คือ คุณภาพสินค้าและการรับประกัน HP On site Service รับเครื่องซ่อมถึงหน้าบ้านเป็นระยะเวลา 3 ปี + Smart Friend 1 ปี ให้อุ่นใจเมื่อใช้งาน
ข้อดี
- ดีไซน์ดูเรียบหรู วัสดุแข็งแรงอะลูมิเนียม งานประกอบปราณีต
- วัสดุเรียบเงา สัมผัสติดมือ ไม่เป็นรอยง่าย
- จัดสเปคมาให้เต็มพิกัด Intel Core i7-10750 และ RTX 2060
- หน้าจอ IPS ความละเอียด Full-HD สีสันสดใส รีเฟรชเรต 144Hz
- มาพร้อมคีย์บอร์ด 6 แถว พร้อมคีย์ลัด ตอบสนองไว มีไฟ RGB 4 โซนปรับแต่งได้
- ระบบเสียงคุณภาพ BANG & OLUFSEN
- มีระบบปฏิบัติการ Windows 10 มาให้พร้อมใช้งาน
- ซอฟต์แวร์ Omen Command Center ช่วยในการมอนิเตอร์ ตรวจเช็ค ปรับแต่งได้สะดวก
- การรับประกัน รับเครื่องซ่อมถึงหน้าบ้านเป็นระยะเวลา 2 ปี + Smart Friend 1 ปี
ข้อสังเกต
- เสียงพัดลมค่อนข้างดัง เมื่อรอบทำงานสูง ในการเปิดโหมด Max
- เน้นการปรับแต่งที่ซอฟต์แวร์เป็นหลัก เพื่อการใช้งานที่สะดวกกว่า
- อแดปเตอร์ขนาดใหญ่พอสมควร
Award
Best Design
ในแง่รูปลักษณ์และการออกแบบ หากได้มาสัมผัสตัวจริง จะรู้สึกได้ถึงความพรีเมียม ที่เป็นจุดแข็งของ Omen มาหลายยุคสมัย และไม่ใช่แค่ความสวยงาม แต่ยังเป็นอีกค่ายหนึ่ง ซึ่งมีการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ามา เพื่อให้การใช้งานนั้นลงตัวมากขึ้น ความเรียบหรูดูดี แต่มีการระบายความร้อนที่ยอดเยี่ยม สอดคล้องกับฟีเจอร์พิเศษ เช่น คีย์บอร์ดไฟ RGB แม้จะไม่ได้เน้นเส้นสายให้ดูสะดุดตา แต่ภายใต้พื้นผิวและวัสดุ รวมถึงรูปทรงที่ปรับใหม่ ก็ทำให้เกมเมอร์ประทับใจได้แน่นอน
Best Performance
Omen 15 รุ่นใหม่นี้ สเปคมาแบบจัดหนัก ให้กับเหล่าเกมเมอร์เล่นได้ไม่ผิดหวัง เพราะมีตัวเลือกไปจนถึงระดับ RTX 2070 Max-Q แต่ในรุ่น RTX 2060 นี้ ก็สามารถแสดงศักยภาพออกมาได้อย่างน่าทึ่ง โดยเฉพาะการประมวลผลด้าน 3 มิติ และการเล่นเกม ที่มีสองประสาน ซีพียู Intel Gen 10 ใหม่ล่าสุดกับการ์ดจอ ที่เรียกว่ารองท็อปในตลาดโมบาย นอกจากนี้ยังมี SSD และหน้าจอแบบ 144Hz จึงให้ภาพที่ลื่นไหล ดูลงตัวกับสเปคที่มีให้เป็นอย่างดี
Specification
โดยที่สเปคของ Omen 15 ที่ได้รับมาทดสอบในครั้งนี้ ใช้ซีพียู Intel Core i7-10750H ความเร็วบูสท์สูงสุด 5.0GHz ทำงานแบบ 6 core/ 12 thread และติดตั้งแรม DDR4 2933 8GB พร้อมระบบ Storage SSD M.2 NVMe 512GB และกราฟิกการ์ด GeForce RTX 2060 GDDR6 6GB หน้าจอเป็นแบบ IPS 15.6″ รีเฟรชเรต 144Hz พร้อมฟีเจอร์เด็ด Omen Tempest Cooling และ Omen Conmmand Center ที่ได้รับการปรับปรุงมาในเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด
ในส่วนของมิติบอดี้แม้จะดูบึกบึนขึ้น แต่ก็แทบไม่ต่างไปจากเดิมมากมายนัก ความหนาอยู่ที่ 2.25 เซ็นติเมตร และน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.36 กิโลกรัม เท่านั้น แทบจะเรียกได้ว่าระดับเดียวกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คในปัจจุบัน พอร์ตการเชื่อมต่อมีมาให้ครบ ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 Type-A, USB 3.1 Type-C รวมถึง HDMI และ Mini-Display port รวมถึง Thunderbolt และ RJ-45 รองรับ WiFi 6 และ Bluetooth 5.0 พร้อมกับ Windows 10 ให้ใช้งานได้ทันที แต่จุดที่น่าสนใจคือ แบตขนาดใหญ่ 6-cell และการรับประกัน On-site 2 ปีเต็ม สนนราคารุ่นนี้อยู่ที่ 44,990 บาท
ดูรายละเอียดของ OMEN 15 เพิ่มเติมได้ที่ > http://bit.ly/HPOMEN15-1
Hardware / Design
Omen 15 มาในดีไซน์ที่ค่อนข้างแตกต่างจากในรุ่นที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด ทั้งพื้นผิวและสีสัน แต่วัสดุยังเป็นอะลูมิเนียมในโทนสี Shadow Black ดูหรูหรา และสไตล์ดุดัน ตามแบบฉบับเกมเมอร์ ด้วยสีดำด้านของบอดี้ จึงลดปัญหารอยนิ้วมือไปได้เยอะ วัสดุให้ความแข็งแรง บอดี้ที่หนักแน่น งานประกอบที่ปราณีต ให้จับได้ถนัดมือ เพิ่มความโดดเด่นด้วยโลโก้ OMEN แบบใหม่ ที่ดูสะดุดตา ทรง Diamond Square ไล่สี gradient สีฟ้า-เขียว Minimal
โดยเฉพาะฝาหลัง Cover ที่ปรับเปลี่ยนให้ดูเคร่งขรึมมากขึ้น แทนที่จะเป็นโลโก้เดิม และลวดลายที่แปลกตา แต่ครั้งนี้มาแบบเนี๊ยบๆ ให้คุณเอาไปใช้ในโอกาสใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทำงาน ห้องประชุม หรือจะเป็นร้านกาแฟ ในช่วงเวลาที่พักผ่อน เพราะด้วยความเรียบหรู ไม่เน้นแสงไฟหรือลวดลายที่สะดุดตาเกินไป เพราะด้านหลังมีเพียงโลโก้ใหม่ พร้อมตัว OMEN มาบางๆ เท่านั้น
ส่วนถ้าหันมาดูด้านใน ก็ยิ่งน่าจะถูกใจคนที่ชอบความเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความเท่ คล้ายสไตล์ภายในของ Sport car ที่เน้นโทนสีดำ Shadow Black เช่นเดียวกัน ขอบจอที่บางพิเศษทั้ง 3 ด้าน พร้อมกล้องเว็บแคมด้านบน และการวางองค์ประกอบเต็มพื้นที่ ให้ดูแน่นๆ พื้นที่คีย์บอร์ดแบบ Full-size เกือบเต็มพื้นที่ และมีขอบข้างเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ที่ชอบเป็นพิเศษคือ Omen 15 ยังใช้วัสดุที่ดูพรีเมียมและไม่เป็นรอยนิ้วมือง่าย ที่น่าจะเป็นจุดที่ทำให้เกมเมอร์น่าจะถูกใจ นอกจากดีไซน์ที่ดูดี ส่วนสติ๊กเกอร์ที่ติดมา จะเป็นเพียง Intel Core i7 Gen 10 และ GeForce RTX เท่านั้น
ส่วนด้านล่างของหน้าจอ จะเป็นโลโก้ตัวอักษร OMEN สีจางๆ มาด้วย พร้อมสติ๊กเกอร์ 144Hz refresh rate และจุดเด่นคือ การสร้างสมดุลที่ดีให้กับผู้ใช้ที่ชอบเปิดเครื่องด้วยมือเดียว เพราะคุณสามารถยก Cover เปิดเครื่องขึ้นมาได้แบบตัวเครื่องไม่กระดกขึ้นมาด้วย ด้วยบานพับขนาดใหญ่ 2 ด้าน แยกออกไปเกือบสุดบอดี้ซ้าย-ขวา จึงให้ความแข็งแรงได้ดีพอสมควร รวมถึงหน้าจอที่กางออกได้ 180 องศาสบายๆ
ด้านใต้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คในไม่กี่รุ่น ที่มีการออกแบบมาอย่างละเอียด ให้พื้นที่ในการระบายความร้อนเกินครึ่งของพื้นที่ด้านใต้ เปิดช่องทางลมให้กับพัดลมในการดูดลมเย็นจากด้านใต้เข้าไปเวียนในระบบ ด้วยพัดลม 12V ขนาดใหญ่ 2 ตัว และฮีตไปป์ โดยมีพื้นรองคล้ายกับยางจำนวนมาก แทนที่แผงปิดทึบขนาดใหญ่ อย่างที่เราเคยเห็นกันในโน๊ตบุ๊คทั่วไป ออกแบบให้เปิดช่องระบายอากาศได้ดี นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวยกโน๊ตบุ๊คให้สูงขึ้น เพื่อให้มีลมเข้ามาได้มากขึ้นนั่นเอง โดยวัสดุที่นำมาใช้ส่วนใหญ่ ค่อนข้างแข็งแรง และมีการยึดแน่นเข้ากับตัวพื้นด้านใต้ ไม่หลุดง่าย แต่ด้วยช่องที่มีขนาดใหญ่นี้ แม้จะมีตัวกรองมาให้ ก็ต้องลุ้นกับเรื่องของฝุ่นด้วยเช่นเดียวกัน
Keyboard / Touchpad
อารมณ์ของคีย์บอร์ดบน Omen 15 มีน่าประทับใจ 2 เรื่องหลักเลยคือ หากคุณได้เคยใช้คีย์บอร์ดบนโน๊ตบุ๊คทั่วไปมาก่อน จะรู้สึกว่าค่อนข้างจะยุบยวบ หรือกดแล้วตอบสนองช้า แต่บน Omen นี้ จะทำให้คุณต้องทำอะไรไวกว่าเดิม ไม่ใช่แค่การเล่นเกมที่สัมผัสได้ ในการพิมพ์งานในคนที่ชอบพิมพ์สัมผัส จะเป็นเหมือนความรู้สึกในคีย์บอร์ดราคาแพงๆ เพราะระยะของ Travel key สั้นลง จึงตอบสนองได้ทันที เรื่องเสียงน้อยมาก ในมุมมองของคนทำงาน ให้คะแนนเต็มได้เลย ส่วนในแง่ของการเล่นเกม ก็ไม่ต้องพูดกันมาก เพราะออกมาเพื่อเกมโดยเฉพาะอยู่แล้ว เลย์เอาท์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ปุ่มแบบ Full-size อีกทั้งมี Numeric key มา ตัวเลขครบครัน รวมถึงฟีเจอร์อย่าง Anti-Ghosting หรือ Key Rollover ก็มีมาครบ แต่ติดอยู่นิดหน่อยตรง Arrow key ตัว Up/Down จะมาเต็มก็ไม่เต็ม ขาดครึ่งเล็กน้อย แต่ก็ไม่ใช่นัยสำคัญเท่าไรนัก
และอีกสิ่งที่จะช่วยเพิ่มอรรถรสให้กับการเล่นเกม คือเรื่องแสงไฟ ที่ให้คุณเปิดใช้งาน เพื่อเป็นแสงสว่าง Backlit บนปุ่มในการใช้งานที่แสงน้อยหรือจะใช้ในช่วงที่เล่นเกมเพื่อสร้างอารณ์เร้าใจ หรือจะปิดในช่วงที่คุณต้องการความเรียบง่ายหรือใช้แค่พิมพ์งานในวันสบายๆ แต่จุดเด่นคือ แสงไฟที่ออกมาเต็มคีย์ ไม่มีแหว่งเว้า หรือขึ้นแต่ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยไม่ชัด แต่ออกมาคมชัดทุกตัวอักษร คิดว่าทาง Omen น่าจะทำการบ้านมาเป็นอย่างดี เรื่องของความพรีเมียม ตรงจุดนี้บอกได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะทำมาด้วยก็คือ ทำไมไม่ให้ปรับระดับแสงได้สัก 1-2 สเตปนะ แต่ถ้าจะปรับก็ปรับได้ โดยเข้าไปตั้งค่าในส่วนของ Lighting ในซอฟต์แวร์ Omen Command Center นั่นเอง
โดยเมื่อเข้าไปในฟีเจอร์ปรับแสงคีย์บอร์ด Lighting นี้ จะมีให้เราเลือกปรับแสงไฟได้ 4 โซนด้วยกันคือ ซ้าย กลาง ขวา และปุ่ม WASD คุณเลือกปรับได้ตามสีที่ชื่นชอบ อยากได้โทนไหน แบบใด หรือจะเลือกสีเอง คลิ๊กที่ Advanced แล้วเลือกสีที่ต้องการ ด้วยการเลือกที่ Hue ส่วนถ้าจะปรับความสว่างแสงไปที่ Brightness แต่บอกไว้ก่อนว่ามีแค่ Static mode เท่านั้นครับ
ส่วนทัชแพดบอกเลยว่าบิ๊กไซส์ ใหญ่กำลังดี และหลีกในส่วนของ Numpad ย้ายมาทางซ้ายเล็กน้อย ไม่เกะกะ ให้สัมผัสที่ลื่นกว่า ต่างจากในรุ่นปี 2019 เช่นเดียวกับปุ่มคลิ๊กซ้าย-ขวาที่ซ่อนไว้ใน Pad กดได้เกือบทั่วแผ่นเลยทีเดียว และเช่นเดียวกันขนาดทัชแพดก็กว้างกว่าเดิมเห็นๆ
ในภาพรวมของแป้นพิมพ์และทัชแพด ถูกปรับให้น่าใช้กว่าเดิม เพิ่มเติมคือ ทั้งขนาด ลูกเล่น เรื่องของสีสันก็ดูสนใจ แต่สิ่งที่จะต่างไปจากรุ่นก่อนๆ ก็น่าจะเป็นปุ่มเพาเวอร์เปิด-ปิด โยกมาไว้ในชุดคีย์บอร์ด ตรงนี้แล้วแต่คนจะชอบ แต่ส่วนตัวอยากให้แยกเหมือนเดิม กันกดผิดและยังดูเป็นเอกลักษณ์ดี แต่ปุ่มที่เป็น Hot key ก็มากันครบ รวมถึงปุ่มเสริมที่เรียก Omen Command Center และ Calculate ที่ใส่มาให้ใช้ง่ายขึ้น แค่กด fn+… เท่านั้นเอง
Screen / Speaker
ในส่วนของหน้าจอ ก็ต้องถือว่าเป็นความพิเศษตามสไตล์ของ Omen ที่เติมความสนุกให้กับการเล่นเกมด้วยพาแนลคุณภาพ บนหน้าจอ 15.6″ ใช้พาแนล IPS คุณภาพสูง ซึ่งเท่าที่เช็คก็น่าจะใกล้เคียงกับในรุ่นที่แล้ว ซึ่งทำไว้ได้ดี ความละเอียด Full-HD 1920 x 1080 พิกเซล พอเหมาะกับการเล่นเกมและทำงาน เรื่องของสีสันและมุมมอง ถ้าในแง่ของการเล่นเกมและความคมชัด จัดว่ามาดีมาก เพราะจากการเล่นเกม ให้สีได้จัดจ้าน เหมาะกับคอเกมแอ็คชั่น ปรับสีให้จัด แล้วดันความละเอียดลง นอกจากมองเห็นศัตรูชัด ก็ยังซัดได้เต็มข้อมากขึ้น พร้อมขอบที่ยกระดับขึ้นมานิดหน่อย ไม่ให้จอบดบี้กับคีย์บอร์ดจนเป็นรอยได้ เว็บแคมในแบบ HD กับไมโครโฟนคู่ด้านบนสนทนาเห็นหน้าชัดเจน
ในการทดสอบประสิทธิภาพจอบน Omen 15 รุ่นใหม่ปี 2020 นี้ ซึ่งเป็นพาแนลแบบ IPS ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ในการตรวจสอบอย่าง Spyder5Elite กับการตรวจเช็คค่าสีของหน้าจอ ผลที่ได้ในการทดสอบครั้งนี้ ตัวเลขที่ได้ ค่อนข้างเทียบเคียงกับในรุ่นที่ผ่านมา ซึ่งหลายส่วนจัดว่ามีการปรับเปลี่ยนไปพอสมควร แต่ค่า Gamut ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเช่นเคย
โดยขอบเขตความกว้างของสีสันอยู่ในระดับ 88% sRGB ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ของเกมมิ่งโน้ตบุ๊กระดับกลางค่อนไปทางบนในท้องตลาดส่วนใหญ่ ความสว่างของหน้าจอสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 270-280cd/m2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งในแง่ของการใช้งาน ก็คงต้องเน้นหนักไปที่การเล่นเกม ส่วนจะนำมาแต่งภาพ ตัดต่อวีดีโอ อยู่ในระดับกลางๆ หากจะเน้นไปที่ความจริงๆ เน้นสีตรงเป๊ะ แนะนำว่าให้ต่อจอเฉพาะทางเพิ่มดูจะเหมาะสมกว่า
ส่วนในด้านความสว่างของหน้าจอ ด้วยการทดสอบแบ่งตาราง 9 ช่อง เพื่อดูการแสดงผล ที่ให้ความสว่างในการทำงาน ตรงกลางหน้าจอ ให้ค่า 0% บอกถึงการให้แสงสว่างได้อย่างเต็มที่ และรองลงมา คือทางด้านขวาของหน้าจอ ที่มีตัวเลขเฉลี่ยไล่เลี่ยกัน ส่วนทางซ้ายสุดจะค่อนข้างคลาดเคลื่อนไปพอสมควร อาจไม่ได้่มีผลต่อการเล่นเกมมากนัก แต่ถ้าจะใช้ในการทำงาน Editing การแต่งภาพหรือด้านวีดีโอ อาจจะต้องเผื่อไว้สักเล็กน้อย ส่วนเรื่องของตัวเลขทดสอบแบบ Overall บน Spyder5Elite อยู่ที่ 3.5 จัดว่าใช้ได้เลย
ลำโพงที่อยู่บน Omen 15 รุ่นนี้ มาในแบบ Stereo 2.0 แยกช่องทางเสียงซ้าย-ขวา ด้วยระบบเสียง BANG & OLUFSEN ซึ่งบอกได้เลยว่ามาในแนวของการเล่นเกมชัดมาก กับเสียงที่ทุ้มหนักออกกลางชัด ช่วงที่อยู่กลางสมรภูมิ ไม่ว่าจะเป็น BF5 หรือจะไป PUBG ตื่นเต้นดี ทั้งเสียงกระสุน ระเบิด และเอฟเฟกต์ใกล้ตัว เสียงแหลมมาพอได้ การเก็บรายละเอียดถือว่ากลางๆ เสียงไม่แตกเละดันขึ้นไปสูงๆ ส่วนตัวคิดว่าน่าจะต้องผ่านการปรับแต่ง Mixer บ้างเพื่อความมันส์ในอารมณ์ของแต่บุคคล ในภาพรวมต้องถือว่าเสียงจากลำโพงด้านบนและที่ออกด้านข้าง 2 ด้าน ให้ผลงานออกมาได้ดี
Connector / Thin And Weight
พอร์ตเชื่อมต่อ สิ่งจำเป็นไม่มีขาดหายไปบน Omen 15 ใหม่นี้ เพราะมากันแบบครบไลน์ นำขบวนมาด้วย Thunderbolt 3 ในแบบ 40Gbps และ Type-C SuperSpeed 10Gbps รวมไปถึง USB Type-A 5Gbps 1 ช่องด้านซ้าย และ Type-A อีก 2 ช่องด้านขวา ส่วนพอร์ตแสดงผลมาพร้อม HDMI 2.0 และ Mini DisplayPort รวมไปถึง RJ-45 และ หูฟังไมโครโฟนคอมโบ 3.5mm และที่ขาดไม่ได้คือ SD media card reader ส่วนการเชื่อมต่อ WiFi เป็นแบบ 802.11ax หรือ WiFi6 (AX201) Intel ส่วน Gigabit LAN Realtek เช่นเคย
เรื่องมิติอาจจะกล่าวไม่เต็มที่ว่าจะบางได้สุดๆ เพราะเป็นโน๊ตบุ๊คเกมมิ่ง แต่ถ้าเทียบกับซีรีส์เดียวกัน และมีระบบระบายความร้อนจัดเต็มเช่นนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นอีกรุ่นหนึ่งที่มีขนาดกระทัดรัดน่าใช้ และมีน้ำหนักที่ทำให้การพกพาหรือเคลื่อนย้าย ไม่เหนื่อยมากนัก แม้ว่าจะใส่คีย์บอร์ดจัดเต็ม 6 แถว พร้อม NumPad มาด้วย เพิ่มทัชแพดแบบชิดขอบบนล่าง กระชับบอดี้กันสุดๆ น้ำหนักโดยรวม 2.36 กิโลกรัม ก็ถือว่าทำได้ดีมากแล้ว ส่วนใครจะบอกน้ำหนักประมาณนี้ การพกพา อาจไม่สะดวก ก็อย่าลืมว่า นี่คือ เกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค ครับ
Performance / Software
มาดูในส่วนของ CPU-z กันก่อน ระบุรายละเอียดมาอย่างชัดเจน ซีพียู Intel Core i7-10750 “Comet Lake” ความเร็วสูงสุด 5.0GHz Turbo Boost ทำงานในแบบ 6 core/ 12 thread ซึ่งมากพอสำหรับการเล่นเกมและทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ตกแต่ง หรืองานตัดต่อวีดีโอในเบื้องต้น และมีค่า TDP สูงสุด 45W เท่านั้น มาพร้อมกับแรม DDR4 3200 8GB และยังมีสล็อตสำหรับการอัพเกรดในนาคตได้อีกด้วย
ที่น่าสนใจก็คือ การทดสอบพื้นฐาน ด้วยโปรแกรม CPU-z ผลที่ได้จาก Single-thread อยู่ที่ 518.5 และ Multi-thread 3,793.8 เรียกว่าเทียบเท่ากับซีพียูอดีตตัวท็อประดับ Core i7-8700K ไปได้นิ่มๆ จัดว่าไม่ธรรมดา
ถัดมาเป็นการรายละเอียดของกราฟิก ประกอบด้วย Intel UHD Graphic ที่ถูก Integrate มาพร้อมซีพียู Intel Gen 10 สามารถแชร์ VRAM จากระบบได้ ให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีพอสมควร เหมาะกับงาน 2D และเล่นเกมง่ายๆ ที่ไม่ดึงทรัพยากรมากเกินไป และกราฟิกที่เป็น Discrete ที่เสริมมาเป็นพิเศษ GeForce RTX 2060 จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติและประสิทธิภาพนั้นจัดเต็ม เพื่อให้คอเกมได้รีดเฟรมเรตกันแบบสุดๆ มาดูผลทดสอบแต่ละส่วนกันได้เลย
คะแนนเซ็ตแรกมาจากโปรแกรม PCMark 10 Standard คะแนนรวมอยู่ที่ 6,303 คะแนน เรียกว่าผ่านการทดสอบได้สบาย และคะแนนที่ได้จากการทดสอบ ซึ่งตามกราฟระบุว่า เหนือกว่าพื้นฐานของเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คปี 2020 อีกด้วย
ส่วนคะแนนจาก CINEBench R20 ที่เป็นการทดสอบพลังซีพียูแบบล้วนๆ ตัวซีพียู Intel Core i7 ก็เรียกคะแนนออกมา แซงหน้าซีพียูตัวแกร่งสำหรับงาน Workstation อย่าง Xeon ไปได้ไม่ยาก กับตัวเลขที่ 2838 pts ด้วยชิปประมวลผลที่ประสิทธิภาพสูงเช่นนี้ ก็น่าจะตอบโจทย์การใช้งานในด้านต่างๆ ได้ไม่ยาก
คะแนนของระบบ Storage ด้วยโปรแกรม CrystalDiskMark โดยข้อมูลที่เช็คมาได้บน Info นั้น ระบุว่าเป็น SSD M.2 NVMe จากทาง Samsung บนอินเทอร์เฟส PCIe Gen3 x4 ซึ่งผลที่ได้ออกมา ในแง่ของการอ่านข้อมูล ทะลุไปกว่า 3.2GB/s แต่ในการเขียน ได้ที่ประมาณ 1.2GB/s เท่านั้น อย่างไรก็ดีถ้าเทียบกับ SATA III หรือฮาร์ดดิสก์ ก็ทิ้งห่างกันไปหลายช่วงตัว แต่ตรงจุดนี้ต้องเช็คกับโมเดลที่จำหน่ายจริงกันอีกครั้งหนึ่ง
PUBG ปรับค่าความละเอียด Ultra ในเกม เฟรมเรตอยู่ที่ 98 fps. ส่วนถ้าปรับ Low เฟรมเรตอยู่ที่ 144 fps. โดยประมาณ ถือว่าลื่นไหล สำหรับสเปกนี้กับเกมนี้
Battlefield V ปรับความละเอียด Ultra ในเกม เฟรมเรตอยู่ที่ 86 fps. ส่วนถ้าปรับ Low เฟรมเรตอยู่ที่ 103 fps. โดยประมาณ
Horizon Zero Down ปรับความละเอียด Ultra Quality ในเกม เฟรมเรตอยู่ที่ 55 fps. ส่วนถ้าปรับ Favor performance เฟรมเรตอยู่ที่ 93 fps. โดยประมาณ
DOTA 2 ปรับความละเอียด Best looking ในเกม เฟรมเรตอยู่ที่ 100 fps. ส่วนถ้าปรับ Fastest เฟรมเรตอยู่ที่ 117 fps. โดยประมาณ
สำหรับการมาของหน้าจอ 144Hz ต้องบอกว่า เป็นเพียงในบางเกม ที่สามารถจะดันเฟรมเรตไปได้ระดับนั้น แต่ถ้ามันตรงกันแล้ว เรียกว่าไหลลื่นๆ อยู่แถว 120-150fps ขึ้นไป ภาพจะดูลื่นไหลมากขึ้น จุดหนึ่งที่พอสังเกตได้และดูจะเป็นผลดีสำหรับคนที่เล่นเกมแล้วเวียนหัว ภาพที่ดูต่อเนื่อง และให้ความราบลื่น ไม่สะดุดหรือเกิดอาการฉีกขาด มีส่วนทำให้อาการของคุณดีขึ้น และดูผ่อนคลายลง เพราะคุณจะไม่ต้องใช้สายตาหนักเกินไป และดูผิดธรรมชาติ นับว่าเป็นข้อดีของจอ Hz สูงๆ เช่นนี้ ซึ่งน่าจะเป็นอีกข้อดีหนึ่งของเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ในปัจจุบัน
Software
ในการทดสอบความร้อนในเบื้องต้น ด้วยการทำงานของ Performance control กับค่า Idle ปรับรอบพัดลม Manual 50% ความร้อน CPU 52 องศาเซลเซียส ส่วนการ์ดจอ 47 องศาเซลเซียส และเมื่อปรับ Thermal control ในโหมด Max ผลที่ได้ ความร้อน CPU 44 องศาเซลเซียส ส่วนการ์ดจอ 39 องศาเซลเซียส
และเมื่อมาสู่การทดสอบ Full load ด้วย OCCT ปรับรอบพัดลม Max ความร้อน CPU 84 องศาเซลเซียส และเมื่อปรับ Thermal control ในโหมด Max ผลที่ได้ ความร้อน CPU 80 องศาเซลเซียส เท่านั้น
อีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างยิ่งก็คือ Omen Command Center จัดฟังก์ชั่นมาอย่างจุใจ ให้การใช้งานบน Omen ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจุดสำคัญจะอยู่ที่หัวข้อ Omen 15 ซึ่งจะเป็นฟังก์ชั่นสำหรับการตรวจเช็ค ปรับแต่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของซีพียู การ์ดจอ หน่วยความจำ และยังเช็คความเร็วการดาวน์โหลดและอัพโหลดไฟล์บนอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย
นอกจากนี้ในส่วน Performance control ยังรวมเอาการกำหนดประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ คล้ายกับการเลือก Power options บน Windows แต่อันนี้ง่ายกว่า รวมไปถึงการตั้งค่า Thermal control ตรงนี้จะมีให้เลือกความเร็วของพัดลม Max, Auto และ Manual เรียกว่าจัดได้หลายระดับ ตามความต้องการ และยังมีตัวเลขอุณหภูมิรายงานการใช้แบบเรียลไทม์อีกด้วย
อีกจุดหนึ่งที่น่าจะเป็นส่วนสำคัญก็คือ Lighting ที่ช่วยในการปรับแสงไฟ RGB ให้กับคีย์บอร์ด ซึ่งได้อธิบายรายละเอียดไปในส่วนของ Keyboard and Touchpad กันไปแล้วก่อนหน้านี้ การใช้งานค่อนข้างง่าย คลิ๊กเลือกตามโซนที่แบ่งไว้ 4 โซน จากนั้นเลือกสีตามต้องการ จะให้ไล่เฉดไปตามโทน หรือจะตัดกันก็ได้ รวมถึงปุ่ม WASD ที่แยกสีได้อย่างชัดเจน เสียดายที่ไม่สามารถปรับเอฟเฟกต์ได้ ไม่อย่างนั้นจะลงตัวดีทีเดียว
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ที่ระบุไว้ในสเปคนั้นจะเป็นแบบ 6-cell 70.9 Wh หรือ 5,500 mAh เป็นแบบลิเธียมไอออน ซึ่งในการทดสอบด้วยโปรแกรม BatteryMon กับรูปแบบการทสอบในการปรับความสว่างที่ 30% และเสียงที่ 30% เพื่อให้อยู่ในโหมดการชมภาพยนตร์ ซึ่งเสียงและภาพอยู่ในระดับที่มองเห็นได้ดี ไม่สว่างเกินไป และเปิดโหมดประหยัดพลังงาน Battery Saving จากนั้นเปิดวีดีโอ Youtube ให้ทำงานต่อเนื่อง ผลที่ได้นั้นอยู่ที่ราว 2.20 ชั่วโมง แต่หากใช้เป็นการเล่นเกมอย่างต่อเนื่องแล้ว เท่าที่ทดสอบด้วยการเล่นเกมอยู่ที่ประมาณชั่วโมงกว่าๆ แบบไม่ต่อสายไฟ AC ฉะนั้นหากเป็นการท่องเว็บ สลับเล่นเกม ดูหนังบ้าง ก็น่าจะได้นานกว่านี้
มาในส่วนของอุณหภูมิกันบ้าง แยกการทดสอบมาจาก Omen Command Center โดยการใช้โหมดปกติคือ Auto แล้วทดสอบด้วย OCCT ที่รีดความเร็วของซีพียูแบบ Full load 100% เป็นเวลาต่อเนื่อง อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 94 องศาเซลเซียส ส่วน idle จะอยู่ที่ประมาณ 42-43 องศาเซลเซียส ย้ำว่าตัวเลขนี้ยังไม่ได้เปิดโหมด Max บนโปรแกรม เพราะความร้อนจะลดลงกว่านั้นมาก
ส่วนเรื่องเสียงรบกวน ถ้าอยู่ในโหมดการทำงานทั่วไป เช่น พิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเว็บ ไม่ได้โหลดซีพียูจัดๆ ก็แทบจะไม่มีเสียงรบกวนใดๆ เพราะโหลดของซีพียูใช้ไปไม่มาก แต่ถ้าเล่นเกม Full load กันแบบเต็มพิกัด เสียงพัดลมก็ดังพอสมควร แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ของเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค แต่อุณหภูมิที่ได้ ก็ลดลงมาอย่างน้อยๆ ก็ 10 องศาเซลเซียสจากปกติ ก็ต้องพิจารณากันว่าจะปรับโหมดพัดลมด้วย Manual เพื่อให้อยู่ในระดับที่ต้องการ หรือจะเปิด Max แล้วหาทางออกอย่างอื่น เพราะซีพียู การ์ดจอเย็นลง ทำให้เล่นเกมได้ดียิ่งขึ้น
ในการทดสอบของเรานี้ อยู่ในเงื่อนไขของอุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าสภาพแวดล้อมของคุณต่างกันออกไป เช่น ห้องปกติ พัดลม หรือมีการระบายอากาศดีมากน้อยเพียงใด ก็จะส่งผลต่ออุณหภูมิของระบบและการใช้งานของคุณเองด้วย
แต่สิ่งหนึ่งที่คุณอาจจะต้องปรับตัวบ้างกับการใช้งาน โดยเฉพาะการเล่นเกม เนื่องจากพัดลมอยู่ทางด้านขวามือ หากมีโหลดหนักๆ ลมร้อน ก็อาจจะเป่าไปทางที่มือจับเมาส์อยู่บ้าง อย่างไรแล้วก็หาระยะช่องว่างห่างออกไปบ้าง ก็ลดเรื่องลมร้อนเป่ามือไปได้แล้วตครับ จุดนี้ไม่เป็นปัญหา แต่อาจมีผลต่อคนขี้รำคาญเท่านั้น อย่างไรก็ดีด้วยการออกแบบและเทคโนโลยี Omen Tempest Cooling ก็ถือว่าช่วยควบคุมเรื่องของความร้อนได้ไม่น้อยเลย
Conclusion / Award
มาสรุปกับการใช้งาน Omen 15 รุ่นใหม่ปี 2020 นี้กันบ้าง หลังจากที่ได้ลองใช้มาช่วงประมาณหนึ่งอาทิตย์ สิ่งหนึ่งที่สามารถเอาคะแนนไปเต็มๆ เลยก็คือ เรื่องของดีไซน์และวัสดุ เพราะดูแล้วมีความใส่ใจ ให้ความปราณีตในการประกอบ รูปลักษณ์นั้นเรียกว่า เอาไปใช้ที่ไหน ก็ดูเข้ากันได้ทุกที่ แม้ว่ารูปลักษณ์จะอยู่ในโทนสีดำ แต่มันไม่ได้ดำแบบดิบๆ ดูมีการปรุงแต่ง ผสมผสานความเรียบลื่นและมีความแข็งแรง ไม่เงางามตามสไตล์ของโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งที่เป็นสมัยนิยม แต่เป็นแบบที่น่าจะลงตัวกับเกมเมอร์ที่ไม่ชอบรอยนิ้วมือให้ดูเลอะเทอะกันไป นอกจากนี้ถ้าดูจากคอนเซปต์ของ Omen เอง ก็น่าจะพอมองเห็นแนวทางการออกแบบที่ดูลงตัวเช่นนี้
คีย์ฟีเจอร์สำคัญของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ น่าจะอยู่ที่ รูปลักษณ์และฟีเจอร์ เพราะจัดเต็มมาตั้งแต่ต้น ดีไซน์ไม่ใช่แค่สวยหรู แต่ยังเติมฟังก์ชั่นการใช้งานมาเพียบ ไม่ว่าจะเป็นจอแสดงผล IPS 144Hz ให้ภาพและสีที่สวยงาม ตอบสนองด้านเกมชัดเจน คีย์บอร์ดที่มาแบบ Full-size แถมยังมีไฟ RGB เพิ่มมาให้ด้วย ปุ่มกดตอบสนองไว เสียงรบกวนน้อย กดแล้วไม่ยวบ และส่วนของพอร์ตที่เติม Thunderbolt 3 มาให้ และรองรับ WiFi 6 อีกด้วย รวมถึงส่วนสำคัญสุดท้ายก็คือ การระบายความร้อน Omen Tempest Cooling ที่เปิดช่องทางให้ลมเข้าออกได้คล่องตัว ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ Omen Command Center ที่ให้ผู้ใช้ปรับการทำงานของระบบ ให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ เกมที่เล่น ลดความร้อน เพิ่มความเร็วไปในตัวอีกด้วย คอเกมที่จริงจัง น่าจะปรับกันได้สนุกมือ แค่กดปุ่มสี่เหลี่ยมบนคีย์บอร์ด ก็พร้อมใช้งานแล้ว
ระบบเสียงจัดว่าให้ความสนุก ปลุกอารมณ์ให้คึกคัก อยากจะลงสมรภูมิลุยให้มันสะใจ เพราะเสียงจากลำโพงด้านบน ให้เอฟเฟกต์แน่น เสียงทุ้มดังสะใจ ลำโพงไม่แตก เมื่อเปิดระดับเสียงสูงๆ เสียงแหลมออกข้าง และบอกรายละเอียดของทิศทางได้พอสมควร การดูหนัง ฟังเพลง ก็ตอบโจทย์ได้ดี
จุดที่ผู้ใช้จะได้ไปอีกอย่างก็คือ คุณภาพสินค้าและการรับประกัน HP On site Service รับเครื่องซ่อมถึงหน้าบ้านเป็นระยะเวลา 3 ปี + Smart Friend 1 ปี ให้อุ่นใจเมื่อใช้งาน
ข้อดี
- ดีไซน์ดูเรียบหรู วัสดุแข็งแรงอะลูมิเนียม งานประกอบปราณีต
- วัสดุเรียบเงา สัมผัสติดมือ ไม่เป็นรอยง่าย
- จัดสเปคมาให้เต็มพิกัด Intel Core i7-10750 และ RTX 2060
- หน้าจอ IPS ความละเอียด Full-HD สีสันสดใส รีเฟรชเรต 144Hz
- มาพร้อมคีย์บอร์ด 6 แถว พร้อมคีย์ลัด ตอบสนองไว มีไฟ RGB 4 โซนปรับแต่งได้
- ระบบเสียงคุณภาพ BANG & OLUFSEN
- มีระบบปฏิบัติการ Windows 10 มาให้พร้อมใช้งาน
- ซอฟต์แวร์ Omen Command Center ช่วยในการมอนิเตอร์ ตรวจเช็ค ปรับแต่งได้สะดวก
- การรับประกัน รับเครื่องซ่อมถึงหน้าบ้านเป็นระยะเวลา 2 ปี + Smart Friend 1 ปี
ข้อสังเกต
- เสียงพัดลมค่อนข้างดัง เมื่อรอบทำงานสูง ในการเปิดโหมด Max
- เน้นการปรับแต่งที่ซอฟต์แวร์เป็นหลัก เพื่อการใช้งานที่สะดวกกว่า
- อแดปเตอร์ขนาดใหญ่พอสมควร
Award
Best Design
ในแง่รูปลักษณ์และการออกแบบ หากได้มาสัมผัสตัวจริง จะรู้สึกได้ถึงความพรีเมียม ที่เป็นจุดแข็งของ Omen มาหลายยุคสมัย และไม่ใช่แค่ความสวยงาม แต่ยังเป็นอีกค่ายหนึ่ง ซึ่งมีการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ามา เพื่อให้การใช้งานนั้นลงตัวมากขึ้น ความเรียบหรูดูดี แต่มีการระบายความร้อนที่ยอดเยี่ยม สอดคล้องกับฟีเจอร์พิเศษ เช่น คีย์บอร์ดไฟ RGB แม้จะไม่ได้เน้นเส้นสายให้ดูสะดุดตา แต่ภายใต้พื้นผิวและวัสดุ รวมถึงรูปทรงที่ปรับใหม่ ก็ทำให้เกมเมอร์ประทับใจได้แน่นอน
Best Performance
Omen 15 รุ่นใหม่นี้ สเปคมาแบบจัดหนัก ให้กับเหล่าเกมเมอร์เล่นได้ไม่ผิดหวัง เพราะมีตัวเลือกไปจนถึงระดับ RTX 2070 Max-Q แต่ในรุ่น RTX 2060 นี้ ก็สามารถแสดงศักยภาพออกมาได้อย่างน่าทึ่ง โดยเฉพาะการประมวลผลด้าน 3 มิติ และการเล่นเกม ที่มีสองประสาน ซีพียู Intel Gen 10 ใหม่ล่าสุดกับการ์ดจอ ที่เรียกว่ารองท็อปในตลาดโมบาย นอกจากนี้ยังมี SSD และหน้าจอแบบ 144Hz จึงให้ภาพที่ลื่นไหล ดูลงตัวกับสเปคที่มีให้เป็นอย่างดี