Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

คอมเปิดไม่ติด มีเสียง ติ๊ด 10 เสียงสัญญาณ Beepcode ดูวิธีแก้ไขให้ Quick

คอมจอดำ เปิดไม่ติด ลองฟังเสียงดูแก้ปัญหาได้ ใครที่เคยเจออาการอยู่ๆ เปิดเครื่องคอมไม่ติด จอดำ คอมเปิดไม่ติด มีเสียง ติ๊ด งงไปหมดว่าเกิดอะไรขึ้น!?

คอมเปิดไม่ติด มีเสียง ติ๊ด

สำหรับวันนี้ ทางทีมงานมีเทคนิคดูอาการคอมพิวเตอร์เสียหรือมีปัญหาเบื้องต้น คอมเปิดไม่ติด มีเสียง ติ๊ด มาให้เพื่อนๆช่วยวิเคราะห์ก่อนที่จะยกไปให้ช่างเปลี่ยน บางทีโดนช่างฟันอีก

ASRock X570 Phantom Gaming X 2

เสียง ปิ๊บ(ฺBeep code) คือเสียงที่เมื่อคอมพิวเตอร์ของเรานั้นเกิดปัญหาจะส่งรหัสเสียงออกมาเป็น Beep แทน โดยเราสามารถเช็ครหัสเสียงแล้วเอาไปวิเคราะห์อาการได้ว่าเครื่องเรามีอะไรเสียบ้าง ควรเปลี่ยนอะไรบ้าง สำหรับรหัสเสียงใน BIOS จะมีดังนี้

Advertisement

ตารางรหัสเสียง Beep BIOS Award

เสียงความหมาย
เสียงบี๊บสั้นๆ 1 ครั้ง (Beep) เครื่องทำงานปกติดี , POST ผ่าน
เสียงบี๊บสั้นๆ 2 ครั้ง /(Beep Beep) เครื่องทำงานผิดปกติ , POST ไม่ผ่าน
 เสียงบี๊บสั้นๆ หลายครั้งอย่างต่อเนื่อง
(Beep Beep Beep Beep Beep)
 แหล่งจ่ายไฟ (PowerSupply) หรือเมนบอร์ดมีปัญหา
 เสียงบี๊บยาวๆ 1 ครั้ง และสั้นๆ 1 ครั้ง
(Beep… Beep)
 เมนบอร์ดมีปัญหา
 เสียงบี๊บยาวๆ 1 ครั้ง และสั้นๆ 3 ครั้ง
(Beep… Beep Beep Beep)
 การ์ดจอเสียบไม่แน่น หรือการ์ดจอเสีย
 เสียงบี๊บยาวๆ หลายครั้งอย่างต่อเนื่อง
(Beep… Beep… Beep… Beep… Beep…)
 แรมเสียบไม่แน่น หรือหน้าสัมผัสสกปรก
 ไม่มีเสียง… BIOS ล่ม, power supply มีปัญหา, หรือเมนบอร์ดเสีย

ปัญหาที่เจอตามมานอกจากคอมเอง เปิดไม่ติดก็คือ อุปกรณ์ภายในเครื่องคอมอื่นๆ จะเสียเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ยังฝืนใช้คอม ในขณะที่ยังมีปัญหา เมื่อสวิทช์ถูกเปิด และไฟถูกตัดจากการลัดวงจรหรือไฟกระชาก ก็อาจทำให้อุปกรณ์คอม ที่มีความอ่อนไหว เสียหายตามไปด้วย อาทิ เมนบอร์ด แรม การ์ดจอ

Intel PC 11

ดังนั้นหากพบกับปัญหาเรื่องของคอมดับเอง ไม่จำเป็น ก็อย่าไปกดเปิดบ่อยๆ เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายถาวรได้ และถ้าเป็นไปได้ ให้ลองหาอุปกรณ์ที่พอมีอยู่ ลองสลับสับเปลี่ยนดู เพื่อที่จะได้ตรวจเช็คและประเมินอาการได้ในเบื้องต้น

ตารางรหัสเสียง Beep BIOS AMI

เสียง (จำนวนครั้ง)ความหมาย
1 เครื่องทำงานปกติดี, POST ผ่าน
2 หน่วยความจำส่วนแรกสุด (64k) มีปัญหา ตรวจสอบ partition ไม่ผ่าน
3 การทดสอบการอ่าน/เขียนข้อมูลในหน่วยความจำมีปัญหา
4 วงจรตั้งเวลาตัวหลักบนเมนบอร์ดมีปัญหา
5 CPU มีปัญหา
6 ตัวชิปที่ควบคุมการทำงานของ keyboard มีปัญหา
7 เกิดปัญหาในการเปลี่ยน mode การทำงานของ CPU
8 หน่วยความจำบนการ์ดจอมีปัญหา (การ์ดเสีย) หรือการ์ดเสียบไม่แน่น หน้าสัมผัสสกปรก
9 BIOS มีปัญหา
10 CMOS มีปัญหา ไม่สามารอ่านเขียน CMOS ได้
11 หน่วยความจำ cache มีปัญหา
Intel PC spec Sep 2020 30

เป็นยังไงบ้างครับเพื่อนๆ หวังว่าเพื่อนๆจะได้รู้ถึงปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เพื่อนๆใช้อยู่กรณีมีปัญหาก็สามารถเปลี่ยนเองและวิเคราะห์เองได้แบบง่ายๆ ไม่ต้องเสียเวลายกไปให้ช่างซ่อมให้ แถมเสี่ยงกับการโดนฟันอีกด้วย สำหรับใครที่สงสัยหรือติขัดปัญหาตรงไหนสามารถคอมเม้นต์หรือแสดงความคิดเห็นไว้ด้านล่างได้เลยครับ

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Accessories review

ถ้าคุณเป็นครีเอเตอร์ Lexar Portable SSD SL400 คือไอเท็มสำคัญควรมีติดกระเป๋า! ในวงการหน่วยความจำแล้ว Lexar ก็เป็นผู้ผลิตหน่วยความจำระดับโลกซึ่งมีสินค้าหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น Lexar Portable SSD SL400 สำหรับครีเอเตอร์ยุคใหม่เจ้าของ iPhone 15 Pro และ 16 Pro Series ได้ถ่ายคลิปเก็บไอเดียสร้างสรรค์ไว้ทำงานต่อได้หรือพกคู่มือถือ Android...

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

Mac Corner

ถ้าใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ไม่ว่าจะ Windows หรือ MacBook ทุกคนย่อมกดคีย์ลัดสั่งการให้คอมของตัวเองทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นแน่นอน ถ้าใช้คอมมานานแล้ว คีย์ลัด Mac ก็ยังใช้วิธีกดปุ่มคำสั่ง 2-3 ปุ่มรวมกัน แค่เปลี่ยนชื่อกับภาพไอคอนปุ่มคำสั่ง (Modifier) บางปุ่มให้เป็นตามแบบฉบับของ Apple เอง คนที่ย้ายจาก Windows มาใช้ macOS ก็ใช้เวลาปรับตัวเรียนรู้คีย์ลัดสักระยะก็ใช้งานได้ถนัดอย่างแน่นอน ก่อนจะเริ่มใช้งานคีย์ลัด Mac...

How to

โลกในตอนนี้ไม่สามารถตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตได้เลยไม่ว่าจะเรื่องงานหรือความบันเทิงก็ต้องใช้มันทั้งนั้น แต่อุปกรณ์ไอทีทุกชิ้นต่างต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ตบ้างให้อุปกรณ์ได้โหลดการตั้งค่ากลับมาใหม่อีกครั้งเป็นระยะๆ เพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการรีเซ็ตสัญญาณจะคล้ายกับวิธีการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ต่อ Wi-Fi ไม่ได้ แต่ในบทความนี้จะเน้นเรื่องลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาเน็ตบ้านหรือเน็ตออฟฟิศใช้งานไม่ได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นก่อนติดต่อช่างให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในภายหลัง เมื่อไหร่ต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ต? ทำแล้วดีอย่างไร? การรีเซ็ตสัญญาณอินเทอร์เน็ตนอกจากการปิดเปิดเราเตอร์ ก็รวมถึงการรีเซ็ตในระบบปฏิบัติการด้วย ถ้าไดรเวอร์มีปัญหาสามารถกด Roll Back driver หรือโหลดมาติดตั้งใหม่จะช่วยแก้ปัญหาได้ ถ้ารีเซ็ตสัญญาณแล้วใช้งานไม่ได้ อาจเกิดปัญหาจาก Node กระจายสัญญาณของผู้ให้บริการก็ได้ เมื่อติดตั้งเน็ตบ้านเอาไว้แล้ว แนะนำให้ขอบัญชีและรหัสผ่านเอาไว้เข้าไปตั้งค่าเราเตอร์เผื่อไว้ด้วย 6 วิธีรีเซ็ตสัญญาณเน็ตด้วยตัวเอง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก