ในบรรดาโปรแกรมป้องกันไวรัสต่างๆ คุณอาจเห็นว่าบางรายฟรี บางรายก็เสียเงิน ซึ่งหลายครั้งโปรแกรมบางตัว อาจไม่ได้เป็นชื่อที่คุ้นเคย ซึ่งเมื่อเห็นว่าฟรี ก็นำมาติดตั้งลงบนเครื่อง แต่คุณทราบหรือไม่ว่า ซอฟต์แวร์ Anti-virus ฟรีบางตัวนั้น ได้มาพร้อม Adware, Spyware, toolbar รวมถึงเครื่องมือแฝงที่สามารถติดตั้งได้รวดเร็วบนเครื่องของคุณ
จุดสำคัญก็คือ แอนตี้ไวรัสฟรีเหล่านั้น ส่วนใหญ่มักจะเจอกับ โฆษณาแฝง แทรกตัวมาด้วย ซึ่งบางครั้งก็จะอยู่ในรูปแบบที่ให้ผู้ใช้อัพเกรดโดยด่วน เพื่อจ่ายเงินค่าใช้บริการ โดยที่แอนตี้ไวรัสฟรีเหล่านั้น จะใช้การโฆษณามาเป็นตัวทำเงิน ไม่ว่าจะเป็นระบบการติดตามการใช้งานของผู้ใช้หรือติดตั้ง Junkware ลงไปในเครื่องเมื่อเราติดตั้ง
โดยสิ่งที่เป็นกลยุทธ์เหล่านี้สามารถทำเงินบนคอมพิวเตอร์ของคุณได้อย่างไร ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น
เปลี่ยน Search engine บนเครื่องของคุณ : บางบริษัทใช้วิธีเปลี่ยนระบบ Search บนเบราว์เซอร์ให้เป็นหนึ่งในทางเลือกของผู้ใช้ จากนั้นทำเงินด้วยการให้คลิกโฆษณาบนหน้าระบบค้นหาเหล่านี้ บางครั้งก็อาจมีโลโก้สินค้าบางอย่างเช่น “Secure search” เพียงแค่คุณใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหา ก็เป็นอีกช่องหนึ่งในการทำเงินให้บริษัทเหล่านั้นแล้ว
เปลี่ยนหน้า Homepage : ผู้ผลิตแอนตี้ไวรัสบางราย ต้องการเปลี่ยนหน้า Homepage หลักของคุณให้เข้าไปยังหน้าที่ต้องการ ในการทำโฆษณา เพื่อให้คุณเข้าไปใช้จ่ายในนั้น
Junkware : ผู้ผลิตบางราย เพิ่มโปรแกรมหรือบริการให้อัตโนมัติโดยติดตั้งเป็นค่าพื้นฐาน ซึ่งผู้ที่สร้างโปรแกรมเหล่านั้น จะคิดค่าใช้จ่ายถ้าสามารถติดตั้งโปรแกรมเหล่านั้นลงบนระบบของผู้ใช้ได้ในแต่ละเครื่อง
ระบบติดตาม : บริษัทบางแห่งใช้ระบบติดตามการใช้งานเบราว์เซอร์ของผู้ใช้แต่ละคน และเก็บเป็นรายละเอียด บางบริษัทผู้ผลิตก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปขาย เพื่อสร้างเม็ดเงิน จากข้อมูลต่างๆ ที่คุณใช้ในการค้นหา
ที่มา : howtogeek