หลังจากที่มีแฟนเพจหลาย ๆท่านได้ถามมาในเรื่องการระบายความร้อนและการเลือกซื้อ Cooling Pad ไป วันนี้ผมมีวิธีง่าย ๆ สำหรับการช่วยให้ Notebook ที่เราใช้อยู่นั้นสามารถระบายความร้อนได้ดีมากขึ้น ส่วนใหญ่แล้ว ตัวเครื่อง notebook จะมีชอบระบายความร้อนในส่วนของ Hardware ต่าง ๆ อยู่แล้ว แต่ด้วยข้อจำกัดของขนาดเครื่องและการเรียงอุปกรณ์ต่าง ๆ ยิ่งชิดกัน ยิ่งเล็ก ยิ่งบาง ความร้อนสะสมมักเกิดขึ้น แต่ผมมีวิธีแก้ปัญหาแบบง่าย ๆ และไม่ต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียว ด้วยฝาพลาสติก (อ่า?งงกันอ่ะดิว่าทำไง) ก่อนอื่นผมขอไม่แนะนำให้ใช้งานเครื่องดื่มที่เป็นโลหะนะครับ เพราะโลหะนั้นเป็นวัสดุที่นำไฟฟ้า ขนาดเวลาเราใช้ Notebook เองยังโดนดูดเลย ok เรามาเริ่ม DIY กันแบบง่าย ๆ กันเลย
Hardware ที่ใช้ในการทดสอบ
- CPU : Intel Core-i5 2430M (2.4 GHz)
- VGA : AMD HD 6470 VRAM 512 MB
- RAM : DDR III 8 GB
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
อุปกรณ์ที่เราต้องเตรียมคือขวดน้ำพลาสิตก จำนวน 2 ขวดด้วยกัน แล้วเลือกใช้แต่ฝาขวดเพื่อจับมาทำฐานรองของเครื่อง Notebook แนะนำว่าควรเป็นฝาพลสติกแบบเรียบ ๆ นะครับ ^^
วิธีทำแบบง่าย ๆ ด้วยฝาขวด
เตรียมขวดน้ำเอามาใช้ เลือกใช้ฝาแบบพลาสติก จำนวน 2 ขวด
ถอดฝาจากขวด แล้วจับมันวางลงในแนวนอน จากนั้นนำฝาเข้าไปวางรองใต้เครื่องของหัวมุมบน ทั้งซ้ายและขวาของตัวเครื่อง
วางฝาไว้ใต้เครื่อง Notebook ในแต่ละหัวมุมของเครื่อง
เท่านี้ก็ช่วยให้เครื่อง Notebook ได้มีพื้นที่ในการระบายความร้อนนจากใต้เครื่องแล้ว ^^
ทดสอบความต่างของการใช้งาน DIY ฝาน้ำช่วยระบายความร้อน
สำหรับการทดสอบว่า DIY ฝาน้ำระบายความร้อนได้จริงแค่ไหน ครั้งนี้ผมได้ทดสอบกับโปรแกรม EVEREST โดยการให้เครื่องทำงาน Full load เป็นเวลา 5 นาที โดยเทียบระหว่างใช้ฝาน้ำและใช้เครื่อง Notebook แบบธรรมดา ๆ มาดูกันว่าความร้อนที่เกิดขึ้นทั้งใน Full load และ อุณภูมิเริ่มต้น
ผลทดสอบก่อนจะทำ DIY
จากการทดสอบโดยไม่ใช่อะไรช่วยระบายทั้งสิ้น และทำการทดสอบ Full load ด้วยโปรแกรม EVEREST ผลการทดสอบออกมาคือ อุณภูมิเริ่มต้นอยู่ที่ 53 องศา และ Full Load อยู่ที่ 88 องศา โดยการทดสอบในครั้งนี้ใช้เวลามในการทดสอบ Full load เป็นเวลา 5 นาที
ผลทดสอบ DIY ฝาน้ำช่วยระบายความร้อน
จากการทดสอบ DIY ฝาน้ำช่วยระบายความร้อน ผมได้ทำการทดสอบ Full Load เพื่อให้ทราบความร้อนสะสม เป็นเท่าไร โดยทดสอบอุณภูมิผ่านโปรแกรม Everest โดยทดสอบ Full load เป็นเวลา 5 นาที โดยผลการทดสอบออกมาดังนี้ อุณภูมิเริ่มต้น 55 องศา และ Full load อยู่ที่ 86 องศา ซึ่งถือว่าก็ช่วยในเรื่องการระบายความร้อนได้ในระดับหนึ่ง
กราฟเปรียบเทียบความร้อนจากการทดสอบ DIY ฝาน้ำระบายความร้อน
คำทิ้งท้าย ระบายความร้อนด้วยฝาขวดน้ำ
หวังว่าการ DIY ในครั้งนี้จะพอช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการระบายความของตัวเครื่อง Notebook ของเพื่อน ๆได้บ้าง ซึ่งการใช้งาน DIY ในครั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ขึ้นมาเป็นปัจจัยที่อุณภูมิของตัวเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นอุณภูมิห้อง , ระบบระบายความของตัวเครื่อง Notebook ของเครื่องนั้นเองด้วย ทั้งนี้ผมเพียงมุ่งหวังอยากให้เพื่อน ๆ สามารถแก้ปัญหาสำหรับการระบายความร้อนแบบง่าย ๆ และสำหรับคนที่มีงบที่จำกัด แค่เรื่องง่าย ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง สำหรับวันนี้ผมคงต้องขอปิดบทความ DIY แต่เพียงเท่านี้ สำหรับ DIY จะมีอะไรให้เรามาเล่นกันอีก โปรดติดตามกันต่อไปที่ Notebook4Game ที่นี่ที่เดียว?.