ขณะที่ขั้นตอนการผลิตโปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตรจะเริ่มต้นในไตรมาสที่ 4 พร้อมสาธิตประสิทธิภาพของสถาปัตยกรรม 32 นาโนเมตร รุ่นถัดไป ที่ใช้ชื่อรหัสว่า แซนดี้ บริดจ์? (Sandy Bridge) ในงานไอดีเอฟ
วันนี้ นายพอล โอเทลลินี ประธานและ ซีอีโอของอินเทลไ ด้นำแผ่นเวเฟอร์ที่ทำจากซิลิกอนที่ประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 22 นาโนเมตรเป็นตัวแรกของโลกมาแสดงในงานไอดีเอฟ (Intel Developer Forum หรือ IDF) ซึ่งโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้มี SRAM เมมโมรี่และระบบวงจรไฟฟ้าแบบ logic circuits ที่จะถูกนำไปใช้ในโปรเซสเซอร์รุ่นต่อๆ ไปของอินเทลในอนาคต
โอเทลลินีกล่าวว่า ?ที่บริษัทอินเทล เราพยายามรักษากฏของมัวร์ และพัฒนานวัตกรรมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ด้วยการเริ่มผลิตโปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตรตัวแรก ที่จะมีประสิทธิภาพสูงพร้อมทั้งมีระบบกราฟฟิกรวมอยู่ในโปรเซสเซอร์ และในขณะเดียวกันเรานำเทคโนโลยีก้าวไปอีกขั้นด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต แบบ 22 นาโนเมตร ที่จะทำให้เราสามารถผลิตโปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพและทำงานได้มากขึ้น?
แผ่นเวเฟอร์แบบ 22 นาโนเมตรที่โอเทลลินีนำมาแสดงในวันนี้ประกอบด้วยดาย (die) ที่มีขนาดเพียงเล็บมือแต่มี SRAM เมมโมรี่มากถึง 364 ล้านบิต และมีทรานซิสเตอร์มากกว่า 2.9 พันล้านตัวบรรจุอยู่ โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้มี SRAM ขนาดเล็กที่สุดที่เคยมีมาคือมีขนาดเพียง 0.092 ตารางไมครอนเท่านั้น โดยชิ้นส่วนนี้เป็นการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตทรานซิสเตอร์ Hi-k metal gate รุ่นที่3 ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นและลดการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าให้น้อยลง
อินเทลแสดงความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมและนำเอาคุณสมบัติใหม่ๆ ใส่ไว้ในโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ เทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตรของอินเทลได้รับการรับรองถึงประสิทธิภาพ และเวเฟอร์สำหรับโปรเซสเซอร์เวสท์เมียร์ (Westmere) ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตตามแผนการณ์ที่วางไว้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 นี้ และต่อเนื่องจากเทคโนโลยี 32 นาโนเมตร อินเทล จะมีการเปิดตัวสถาปัตยกรรมใหม่ที่มีชื่อรหัสว่า ?แซนดี้ บริดจ์? หรือ (Sandy Bridge) ซึ่งจะมีจุดเด่นคือ เป็นรุ่นที่หกที่มีการรวมเอากราฟฟิกคอร์ไว้อยู่บนดายของโปรเซสเซอร์คอร์ นอกจากนั้นยังมีชุดคำสั่ง AVX เพื่อรองรับการทำงานของซอฟท์แวร์ที่ต้องใช้พลังการประมวลผลหนักๆ หรือ ซอฟท์แวร์แบบ floating point และซอฟท์แวร์ทางด้านสื่อต่างๆ อีกด้วย
นอกจากนั้นความมุ่งมั่นในด้านการผลักดันนวัตกรรมทำให้อินเท ลสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดกลุ่มใหม่ เช่น เน็ตบุ๊ก อุปกรณ์พกพา อุปกรณ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ และแอพพลิเคชั่นแบบ ฝังตัวอีกด้วย
โอเทลลินีกล่าวเสริมว่า ?โปรเซสเซอร์ในตระกูล อินเทลTM คอร์TM และอินเทลTM อะตอมTM ได้สร้างความตื่นตัวและโอกาสในตลาดสำคัญๆ อย่างที่เราคาดไม่ถึงมาก่อน และเพื่อเป็นการสร้างความนิยมอย่างต่อเนื่อง อินเทลยังคงพยายามที่จะสร้างประสบการณ์การสำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไร้ ขอบเขต และรองรับการใช้งานอุปกรณ์ที่มีการประมวลผลทุกชนิด และวันนี้เรากำลังประกาศถึงโครงการที่จะช่วยให้การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับ ซอฟท์แวร์ ที่สามารถเขียนขึ้นครั้งเดียวแต่สามารถใช้กับวินโดวส์และอุปกรณ์โมบลิน เพื่อเป็นการขยายขอบเขตการใช้งานของอุปกรณ์เหล่านี้ไปยังผู้ใช้ได้อย่างหลาก หลายมากขึ้น?
โครงการ อินเทล อะตอม ดิเวลลอปเปอร์ (หรือ Intel Atom Developer Program) จะเป็นการสร้างแนวทางสำหรับผู้พัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ ( Independent Software Vendors หรือ ISVs) ในการสร้างและขายแอพพลิเคชั่นสำหรับเน็ตบุ๊กและผลิตภัณฑ์อื่นที่มี อินเทลTM อะตอมTM โปรเซสเซอร์ และเพื่อเป็นการสร้างความหลากหลายให้แอพพลิเคชั่นสามารถนำไปใช้กับแพลตฟอร์ม ต่างๆ กันได้ โครงการนี้จะสนับสนุนระบบปฏิบัติการหลายแบบและสามารถใช้กับหลายสภาะวะการทำ งาน ซึ่งนักพัฒนาซอฟท์แวร์สามารถใช้โค้ดการทำงานแบบเดียวบนการทำงานที่หลากหลาย และรองรับแพลตฟอร์มของอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยไม่ต้องทำการโปรแกรมใหม่ ช่วยให้สามารถลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด นอกจากนี้แล้ว อินเทลจะร่วมกับพันธมิตรหลายรายเช่น เอเซอร์ อัสซุส และผู้ผลิตรายอื่นๆ เพื่อสร้างหน้าร้านที่จะมีการขายแอพพลิเคชั่นซอฟท์แวร์ที่ได้รับการอนุมัติ แล้ว
ในกลุ่มตลาดสำหรับอุปกรณ์แบบฝังตัว อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ กำลังนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยนี้เข้าสู่สาขาใหม่ๆ ตั้งแต่ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล จนกระทั่งแอพพลิเคชั่นในการบินสำหรับระบบเครื่องเสียง ซึ่งในขณะนี้อินเทลมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ มากกว่า 460 ดีไซน์ ซึ่งรวมถึง Harman International Industries ที่เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องเสียงและอุปกรณ์ที่ให้ความบันเทิงสำหรับยาน พาหนะ ที่ได้ประกาศเปิดตัวอุปกรณ์สำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ได้อย่างสมบูรณ์ และมี navigation แบบ 3 มิติ อีกด้วย
นายพอล โอเทลลินี ประธานและ ซีอีโอของอินเทลได้นำแผ่นเวเฟอร์ที่ทำจากซิลิกอนที่ประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 22 นาโนเมตรเป็นตัวแรกของโลกซึ่งประกอบด้วยดาย (die) ที่มีขนาดเพียงเล็บมือแต่มีทรานซิสเตอร์มากกว่า 2.9 พันล้านตัวบรรจุอยู่มาแสดงในงานไอดีเอฟ
นายพอล โอเทลลินี ประธานและ ซีอีโอของอินเทลกล่าวเปิดงาน ไอดีเอฟ ที่มีผู้เข้ารวมงานมากกว่า 400 คน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา