Connect with us

Hi, what are you looking for?

CONTENT

มาตรฐาน 12VO ของ PSU คืออะไร ดีกว่าแบบที่ใช้อยู่ตอนนี้อย่างไรบ้าง

หากพูดถึงฮาร์ดแวร์ในเคสของเครื่องพีซี หลายส่วนต่างก็ได้รับการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและอัปเกรดเพื่อเพิ่มความสามารถ บางชิ้นก็มีการลดขนาดของจุดเชื่อมต่อลง เช่น การเปลี่ยนซ็อกเก็ต CPU ในแต่ละช่วงปี การเปลี่ยนพอร์ตเชื่อมต่อสตอเรจจาก IDE ที่ใช้มาอย่างยาวนาน มาเหลือแค่หัว SATA เล็ก ๆ และในปัจจุบันก็มาเน้นที่ M.2 PCIe แทน เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งที่เราใช้งานกันมาอย่างยาวนาน แต่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมานานกว่า 20 ปีก็คือหัวต่อสายไฟ ATX จาก power supply (PSU) มายังเมนบอร์ด ที่ยังคงใช้แบบ ATX 24 พินมาอย่างยาวนาน แต่ในช่วงสามปีหลังมานี้ได้มีการพูดถึงมาตรฐานใหม่อย่าง 12VO ขึ้นมา ซึ่งในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกันครับ

PSU 12VO

Advertisement

มาตรฐาน 12VO คืออะไร?

ตัวมาตรฐานใหม่นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Intel ในปี 2020 ซึ่งที่จริงแล้ว Intel ก็เป็นผู้พัฒนามาตรฐาน ATX ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปี 1995 ด้วยเช่นกัน ชื่อเต็มคือ ATX12VO โดยตัว O จะย่อมาจากคำว่า Only ทำให้ถ้าแปลชื่อออกมาตรง ๆ ก็จะหมายถึงมาตรฐานจุดจ่ายไฟแบบ ATX ที่จ่ายเฉพาะไฟฟ้าที่มีแรงดัน 12 โวลต์เท่านั้น ส่วนสาเหตุที่มีการออกมาตรฐานใหม่ออกมาก็คือเพื่อทำให้ระบบจ่ายไฟมีความเรียบง่ายมากขึ้น ซึ่งถ้าเราดูจากโครงสร้างและหน้าที่ของแต่ละพินในปลั๊กแบบ 20-24 พินที่เราใช้กันอยู่ตามภาพด้านล่างนี้

atx connector 20 24pin

หากเราพิจารณารวมกันทั้ง 24 พินเลย จะเห็นว่ามีบางพินที่ออกแบบมาสำหรับการจ่ายไฟแรงดัน 3.3V และ 5V ซึ่งแรงดันไฟทั้งสองค่านี้ ปกติแล้วจะใช้สำหรับต่อกับอุปกรณ์เสริมที่กินไฟไม่สูง เช่น ไฟ 5V สำหรับ HDD, SSD แบบ SATA, ไดรฟ์อ่านแผ่น รวมถึงพวกพัดลมหรืออุปกรณ์อื่นที่ต่อผ่านหัว molex ที่จ่ายไฟตรงมาจาก PSU ส่วนไฟ 3.3V ตอนนี้แทบจะไม่ค่อยมีการใช้งานเท่าไหร่แล้ว เพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่เคยใช้ไฟ 3.3V อย่าง M.2 SSD และแรมจะเปลี่ยนไปใช้ไฟผ่านเมนบอร์ดที่ทำหน้าที่แปลงจาก 12V ลงมาเหลือระดับแรงดันที่แต่ละอุปกรณ์ต้องการแทน

จะเห็นว่าจริง ๆ แล้วเราแทบจะตัดพินที่เกี่ยวกับการจ่ายไฟ 3.3V ออกไปได้เลย แล้วปล่อยให้เมนบอร์ดไปทำหน้าที่แปลงไฟ 12V เป็น 3.3V เองถ้าจำเป็น ส่วนพินของไฟ 5V ทั้งพินจ่ายไฟปกติและพินสำหรับสแตนด์บาย (+5VSB) ถึงแม้ว่าจะยังจำเป็นอยู่ แต่ไหน ๆ ก็จะโยนหน้าที่การแปลงแรงดันไฟลง (step down) ให้กับเมนบอร์ดแล้ว ก็ให้บอร์ดจัดการแปลง 12V ลงมาเป็น 5V ไปด้วยเลยแล้วกัน ประกอบกับแนวโน้มการพัฒนาของอุปกรณ์ USB เอง ก็อาจจะเปลี่ยนจากยุค 5V มาเป็น 12V ด้วยเช่นกัน

ake4mXtkvT3qrKc2rKgv6H 970 80

นั่นจึงเกิดเป็นมาตรฐานใหม่ออกมา คือทำให้ PSU และจุดจ่ายไฟทำหน้าที่จ่ายแค่ไฟ 12V เข้าเมนบอร์ดเท่านั้น แล้วนำภาคแปลงไฟมาไว้บนเมนบอร์ดแทน ทำให้สามารถลดจำนวนพินที่ปลั๊กจาก PSU และพอร์ตบนเมนบอร์ดเหลือแค่เพียง 10 พินเท่านั้น แบ่งเป็น

  • 1 พิน PS_ON# สำหรับเปิด/ปิดคอม
  • 3 พิน COM สำหรับเป็นกราวด์ของภาคจ่ายไฟ ลดจากเดิมที่มี 8 เหลือ 3
  • 1 พินที่สงวนไว้เผื่อใช้
  • 1 พิน PWR_OK ใช้ตรวจสอบความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้าก่อนบูตเครื่อง
  • 1 พินสแตนด์บาย เปลี่ยนจาก +5VSB เป็น +12VSB แทน
  • 3 พินจ่ายไฟ +12V DC โดยมีพินที่ 10 สำหรับใช้ตรวจจับความผิดปกติของแรงดันไฟด้วย

จะเห็นว่าพอตัดพินเกี่ยวกับไฟ 3.3V และ 5V ออก ก็สามารถลดจำนวนพินและลดขนาดของจุดเชื่อมต่อลงได้มากทีเดียว ซึ่งในการลดที่ขั้วเชื่อมต่อแบบนี้ ก็จะส่งผลถึงการออกแบบอุปกรณ์จ่ายไฟอย่าง PSU ด้วย จากเดิมที่จะต้องมีชุด step down และรางสำหรับไฟ 3.3 กับ 5V ก็สามารถตัดออก เหลือแค่ราง 12V อย่างเดียว ลดความซับซ้อน ลดต้นทุนการผลิต ลดความร้อนที่เกิดจากการสูญเสียพลังงานขณะการแปลงไฟ และน่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ PSU ขึ้นมาได้ด้วย

ส่วนการติดตั้ง HDD/SSD แบบ SATA ที่ยังใช้ไฟ 5V แบบต่อตรงจาก PSU อยู่ สำหรับกรณีนี้ทางผู้ผลิต PSU หรือเมนบอร์ดจะใช้การแถมสายแปลงไฟที่เป็นตัว step-down จาก 12V ลงมาเหลือ 5V ให้ มาใช้ต่อจาก PSU เข้าอุปกรณ์แทน ไม่สามารถใช้สายปกติได้

Screenshot 2024 01 16 at 1.56.08 PM

เพิ่มเติมรายละเอียดที่น่าสนใจจากในเอกสารแนวทางการออกแบบฮาร์ดแวร์ตามมาตรฐานนี้จาก Intel เอง จะมีข้อบังคับเรื่องระดับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของ PSU ขณะที่ใช้โหลดไฟในระดับต่าง ๆ ตามที่ Intel กำหนดไว้ ณ ที่ระดับแรงดันไฟ 115V จะเห็นว่าทั้งการโหลดที่ระดับ 100% 50% จนถึงโหลดเบา ๆ แค่ 20% ตัว PSU ก็จะต้องมีประสิทธิภาพในการแปลงไฟ จ่ายไฟได้ไม่ต่ำกว่า 82% ทั้งสิ้น ซึ่งเท่ากับว่า PSU จะต้องผ่านการรับรองตามมาตรฐาน 80 Plus Bronze เป็นขั้นต่ำแน่นอนทุกรุ่น ส่วนถ้าเป็นไฟ 220-230V ของบ้านเราก็น่าจะเป็นลักษณะเดียวกัน เพราะเกณฑ์ของ 80 Plus Bronze ที่ไฟ 230V จะอยู่ที่ 81% 85% และ 81% ตามลำดับ

ซึ่งสิ่งที่ทำให้ Intel สามารถกำหนดระดับประสิทธิภาพขั้นต่ำไปตั้งต้นได้ที่ 80 Plus Bronze ก็เนื่องจากการเปลี่ยนรางจ่ายไฟของ PSU เป็นแบบรางเดี่ยว (single rail) ของมาตรฐาน 12VO ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การแปลงไฟได้ดีขึ้นนั่นเอง

Gemini 01

สำหรับฝั่งของฮาร์ดแวร์ ในตอนนี้ก็เริ่มมีผู้ผลิตที่นำผลิตภัณฑ์ที่ใช้มาตรฐาน 12VO ออกมาแสดงกันบ้างแล้ว เช่น Enermax ที่นำ PSU รุ่นใหม่ในซีรีส์ PlatiGemini มาแสดงในงาน CES 2024 ที่ผ่านมา ในฐานะของ PSU รุ่นแรกที่รองรับทั้งมาตรฐาน ATX12VO และ ATX 3.1 โดยไม่ต้องใช้หัวแปลงใด ๆ นอกจากนี้ เมื่อช่วงปลายปีก็มีข่าวลือออกมาว่า MSI มีแผนจะเปิดตัวเมนบอร์ดที่ใช้พอร์ตต่อขั้วจ่ายไฟแบบ 12VO ทั้งรุ่นที่ใช้ชิปเซ็ต B650 (AMD AM5) และ H610M (Intel 1700) รวมถึงยังจะมี PSU ที่ใช้ขั้วต่อแบบใหม่ด้วยเช่นกัน แต่ก็ยังไม่มีการนำมาโชว์ในงาน คาดว่าน่าจะมีการเปิดตัวแยกในภายหลังอีกที

Screenshot 2024 01 15 at 3.46.35 PM

เราจะได้ใช้มาตรฐานใหม่นี้กันเมื่อไหร่?

เท่าที่ตามสืบข่าวมา ต้องบอกว่ากระแสของผลิตภัณฑ์หลักที่จะเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานการจ่ายไฟแบบใหม่นี้ยังอยู่แค่ในระดับเริ่มต้นเท่านั้น โดยคาดว่าน่าจะมีเปิดตัวออกมาไม่กี่รุ่นก่อน ประกอบกับในงาน CES 2024 ก็เพิ่งจะมีการประกาศเปิดตัว PSU อย่างเป็นทางการไปแค่แบรนด์เดียวเท่านั้น เราจึงน่าจะยังไม่ได้เห็น PSU และเมนบอร์ดที่ใช้มาตรฐานการจ่ายไฟแบบใหม่วางขายให้เลือกซื้อกันทั่วไปภายในปี 2024 ถ้าจะมีคงเป็นรุ่นที่จับตลาดงบระดับกลางค่อนสูงหน่อย เช่นกลุ่มของผู้ใช้ที่อยากได้คอมซ่อนสาย ด้วยขั้วจ่ายไฟที่มีขนาดเล็ก จัดสายง่าย หรือจะไปสุดทางเลยก็คือซ่อนไปไว้ด้านหลังบอร์ดก็น่าจะทำได้ง่ายกว่า ATX 24 พินด้วย

ด้านฝั่งของ PSU เอง ที่จริงก็ยังอยู่ในช่วงที่ผลิตภัณฑ์พร้อมมาตรฐาน ATX 3.0 เริ่มเข้าทำตลาดมากขึ้น และ ATX 3.1 เริ่มทยอยเปิดตัว การที่จะกระโดดมาใช้ ATX12VO แบบเต็มตัวคงจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้แน่นอน แต่น่าจะออกมาเป็นแนวรุ่นทางเลือกสำหรับคนที่อยากประกอบคอมที่ใช้มาตรฐานใหม่ล้วน ๆ เลยมากกว่า

Screenshot 2024 01 15 at 3.46.44 PM

ดังนั้น ถ้าหากใครมีแผนจะประกอบคอมในเร็ว ๆ นี้ ก็สามารถทำได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอเมนบอร์ดและ PSU ที่ใช้ ATX12VO ก็ได้ เพราะข้อดีหลัก ๆ ในมุมของผู้ใช้งานของมาตรฐานใหม่นี้ก็คือการลดความซับซ้อนของสายเชื่อมต่อซะมากกว่า ที่เหลือน่าจะเป็นข้อดีที่เกิดกับฝั่งผู้ผลิต กว่าจะมีรุ่นให้เลือกหาซื้อได้ตามต้องการ คาดว่าคงต้องรอไปขั้นต่ำ ๆ ก็อีกซักปีสองปีเลย แถมราคาช่วงแรกก็น่าจะแรงพอตัวด้วย

หรืออย่างเร็ว เราอาจจะได้พบกันในกลุ่มคอมเดสก์ท็อปประกอบสำเร็จจากโรงงานก่อน เช่นเครื่องจากแบรนด์ต่าง ๆ เพราะบริษัทสามารถคุมสเกลการผลิต และการสั่งชิ้นส่วนจากบริษัทอื่นเป็นล็อตใหญ่เพื่อลดต้นทุนรวมได้

สรุปความแตกต่างระหว่างมาตรฐานใหม่ กับแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

  • ขนาดขั้วเชื่อมต่อเล็กกว่า ด้วยการตัดหลายพินออก สายก็ใช้น้อยกว่า ทำให้จัดสายง่าย เคสดูไม่รก
  • ภาคแปลงไฟ จ่ายไฟของ PSU จะมีความซับซ้อนน้อยลง เหลือแค่แปลงจาก 220V เป็น 12V แล้วจ่ายออกได้เลย ซึ่งน่าจะช่วยลดต้นทุนการผลิตลง รวมถึงอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจ่ายไฟ และลดความร้อนสะสมที่ PSU ลงได้
  • ถ้าหากต้องการติดตั้ง HDD/SSD แบบ SATA หรือรวมถึงการเชื่อมต่อและอุปกรณ์อื่นที่เดิมต้องใช้ไฟ 5V ตรงจาก PSU จะต้องต่อผ่านตัวแปลง step down ไฟจาก 12V เป็น 5V ด้วย ที่ในขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าจะออกมาเป็นรูปแบบใด คงต้องรอมีของออกมาขายก่อน
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

PR-News

Ascenti เปิดตัวพาวเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่ Super Flower 80PLUS ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ราคาสุดคุ้ม บริษัท เอสเซนตี้ รีซอร์สเซส จำกัด เปิดตัว Super Flower พาวเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่ พร้อมมาตรฐานCybernetics ควบคู่ 80PLUS ตอบโจทย์การผู้ใช้งานทุกระดับ ในราคาสุดคุ้ม Super Flower แบรนด์พาวเวอร์ซัพพลายที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก ด้วยชื่อเสียงด้านความทนทาน...

CONTENT

เลือกเครื่องเกมพกพา Handheld game console ปี 2024 ดูที่สิ่งใดบ้าง มี 5 ข้อนี้ซื้อได้เลย หลายท่านที่วางแผนจะซื้อคอมใหม่ในช่วงนี้ โดยเฉพาะถ้าต้องพกพาเครื่องไปใช้นอกสถานที่บ่อย ๆ เชื่อว่าคงมีแอบเล็งเครื่องเกมพกพา ที่เป็น Handheld PC กันไว้บ้าง เพราะส่วนใหญ่ก็จะมาพร้อม Windows 11 ที่ใช้งานได้เต็มรูปแบบ และจากที่มีจอสัมผัสในตัว ระบบควบคุมที่ใช้งานได้พอตัว...

CONTENT

7 ข้อคิดก่อนซื้อจอทีวีมาใช้เป็นจอคอม ดูหนัง เล่นเกม ทำงานคุ้มมั้ย ความคมชัด สีสัน ราคา 2024 ด้วยคุณสมบัติของจอทีวีในปัจจุบันที่พัฒนาในหลาย ๆ จุดขึ้นมาก เช่น ประสิทธิภาพในการแสดงสีสัน มุมมองความกว้างของภาพ รีเฟรชเรต ในขณะเดียวกันก็มีทีวีที่ขนาดหน้าจอไม่ใหญ่มากนัก แต่เน้นคุณภาพของภาพมากขึ้น จึงทำให้หลายท่านอยากจะซื้อทีวีมาใช้แทนจอคอมไปเลย เผื่อไว้ใช้ทั้งทำงาน ดูหนังและเล่นเกม ในบทความนี้จะเป็นข้อควรพิจารณา 7 ข้อก่อนจะซื้อทีวีมาใช้เป็นจอคอม...

PC News

MSI ผู้นำระดับโลกด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสินค้าเกมมิ่ง ยินดีที่จะประกาศว่า MAG A1000GL PCIE5 และ MAG A850GL PCIE5 เป็นหนึ่งในพาวเวอร์ซัพพลายตัวแรกที่ได้รับการรับรอง PPLP ATX 3.0 certification อะไรคือ PPLP Certification?  PPLP ย่อมาจาก “PSU Performance Level Plan”...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก