Connect with us

Hi, what are you looking for?

CONTENT

20 Windows Command Prompt (CMD) ที่คุณควรรู้

20 Windows Command Prompt เด็ดๆ สำหรับการใช้งานผ่านทาง Windows Command Prompt สำหรับแก้ไขปัญหาของ Windows เบื้องต้นที่คุณควรรู้ จะมีอะไรบ้างไปติดตามกัน

20 Windows Command Prompt
20 Windows Command Prompt

สิ่งหนึ่งที่อยู่กับระบบปฏิบัติการ Windows มาหลายยุดหลายสมัยนั้นก็คือหน้าจอการใช้งานคำสั่งลักษณธ DOS ผ่านทาง Windows Command Prompt หรือที่เราๆ ท่านๆ คุ้นเคยกันในชื่อว่า CMD ถึงแม้ว่ามันจะโบราณเพราะการใช้งานนั้นคุณจะต้องป้อนคำสั่่งเป็นชุดคำด้วยการพิมพ์ผ่านทางคีย์บอร์ด ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วนั้นในยุคปัจจุบันเราๆ ท่านๆ ก็แทบจะไม่ได้ใช้งานกันแล้วเพราะตั้งแต่ในยุค Windows 8 เรื่อยมาทาง Microsoft ก็เริ่มสร้างแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมการใช้งานชุดคำสั่งโบราณนั้นๆ แล้ว

อย่างไรก็ตามแต่นั้นการใช้งานชุดคำสั่งผ่านทาง Windows Command Prompt หรือ CMD ก็ยังคงมีความจำเป็นอยู่เพราะมันจะถูกเก็บเอาไว้ใช้เป็นเครื่องมือสำรองในกรณีที่ระบบปฏิบัติการ Windows มีปัญหาไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชันในรูปแบบหน้าต่าง Windows ได้ก็จะสามารถกลับมาใช้งานในรูปแบบชุดคำสั่งผ่านทาง Windows Command Prompt เพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ก่อน

Advertisement

ดังนั้นแล้วการรู้จักชุดคำสั่งเบื้องต้นจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ผู้ใช้งานควรรู้ เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมานั่ง Reset Windows หรือลง Windows ใหม่ทั้งๆ ที่อาจจะยังสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นด้วยชุดคำสั่งบางชุดได้อยู่ ในวันนี้ทาง Notebookspec จึงขอนำชุดคำสั่ง Windows Command Prompt จำนวน 20 ชุดที่เป็นชุดคำสั่งแก้ไขปัญหาเบื้อต้นมาให้ทุกท่านได้รู้จักกัน จะมีอะไรบ้างนั้นไปติดตามกันเลย



1. Assoc

assoccmd

โดยปกติแล้วนั้นไฟล์ต่างๆ บนระบบปฏิบัติการ Windows จะมีโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันจำเพาะสำหรับการเปิดใช้งานอยู่ตัวอย่างเช่นไฟล์นามสกุล .doc ที่จะมีโปรแกรม Microsoft Word สำหรับการเปิด โดยปกติแล้วนั้นในทุกๆ ครั้งที่เราทำการเปิดไฟล์นามสกุลใดก็ตาม ระบบปฏิบัติการ Windows จะเลือกโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันเบื้องต้นมาทำการเปิดไฟล์นั้นๆ ให้กับเรา แต่ถ้าตัวระบบปฏิบัติการไม่รู้ว่าจะต้องเปิดไฟล์เหล่านั้นด้วยโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันอะไร ตัวระบบปฏิบัติการ Windows เองก็จะให้เราทำการเลือกโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันสำหรับใช้ในการเปิดไฟล์นั้นในครั้งแรกและถามเราว่าจะให้ตัวระบบปฏิบัตการ Windows จดจำโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันเหล่านั้นเพื่อทำการเปิดในครั้งต่อๆ ไปหรือไม่

อย่างไรก็ตามในบางกรณีการกำหนดโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันสำหรับเปิดไฟล์นามสกุลต่างๆ ผ่านทางหน้าจอ Windows เองนั้นจะมีปัญหาอยู่บ้างหากโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันเหล่านั้นไม่ใช่โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันหลักที่ทาง Windows รู้จักและเลือกมาแสดงเบื้องต้นให้เรา ทำให้ในการกำหนดนั้นมีความจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องรู้จัก Directory ที่ติดตั้งโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันเหล่านั้นเพื่อที่จะชี้ช่องทางให้กับ Windows จดจำโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันได้

ปัญหายังไม่หมดแค่เพียงเท่านั้นเพราะบางครั้งระบบปฏิบัตการ Windows จะเกิดอาการ “ลืม” โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันเปิดไฟล์เหล่านั้นไปเสียดื้อๆ จนทำให้ผู้ใช้ต้องมาทำการตั้งค่าใหม่ อีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้ระบบปฏิบัติการ Windows ถูกบังคับให้จดจำมากขึ้นก็คือการใช้คำสั่ง Assoc ตัวอย่างวิธีการใช้งานก็คือเมื่ออยู่ในหน้าจอ CMD แล้วให้พิมพ์คำสั่ง assoc .txt=word แล้วกด Enter เพียงแค่นี้ก็จะเป็นการกำหนดให้ไฟล์ที่ามีนามสกุล .txt เปิดด้วยโปรแกรม Word ได้แล้ว

สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 10 ขึ้นไปสามารถที่จะไปตั้งค่าดังหล่าวผ่านหน้าจอ Windows Settings ได้เช่นเดียวกันโดยให้เข้าไปที่ Settings (Windows + I) > Apps > Default apps > Choose default app by file type แล้วเลือกตามนามสกุลไฟล์ก็จะสามารถที่จะทำการกำหนดได้แบบง่ายๆ เช่นเดียวกัน


2. Cipher

ciphercmd

โดยปกติแล้วนั้นการลบไฟล์ที่อยู่บนแหล่งเก็บข้อมูลแบบจานหมุนหรือที่เราเรียกกันว่า Harddisk(HDD) บน Windows นั้ันจะไม่ได้เป็นการลบไฟล์ดังกล่าวทิ้งไปทั้งหมดเพราะด้วยลักษณธของการทำงานของแหล่งเก็บข้อมูลแบบจานหมุนจะยังมีการเก็บบางส่วนของไฟล์ไว้บนพื้นที่จานหมุนนั้นๆ อยู่ ซึ่งหากเราใช้งานไปนานๆ แล้วนั้นเศษไฟล์ที่เหลือเหล่านี้ก็จะกินพื้นที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เราไม่ได้ใช้งานพื้นที่นั้นจริงๆ 

บนระบบปฏิบัติการ Windows เองจึงมีคำสั่ง Wipe ซึ่งจะถูกเก็บเอาไว้อยู่ในโปรแกรม Disk Management ทว่าคำสั่ง Wipe ในโปรแกรม Disk Management จะทำให้ข้อมูลที่อยู่บน Harddisk หายไปทั้งหมดทั้งไฟล์ที่เราลบไปแล้วและไฟล์ที่เรายังต้องการเก็บข้อมูลเอาไว้ ดังนั้นคำสั่ง cipher จึงมีส่วนเข้ามาช่วยในกรณีดังกล่าวเป็นอย่างมาเนื่องจากมันจะทำการลบเฉพาะเศษไฟล์คงเหลือของไฟล์ที่เราลบทิ้งไปแล้วเท่านั้น

คำสั่ง cipher จะมีข้อกำหนดในการใช้งานอยู่นั่นก็คือมันจะสามารถใช้งานได้กับเฉพาะแหล่งเก็บข้อมูลที่มีโครงสร้างไฟล์เป็นแบบ NTFS เท่านั้น วิธีการใช้งานก็คือเมื่ออยู่ที่หน้าจอ CMD ให้พิมพ์คำสั่ง cipher /w:d และกด Enter ก็จะเป็นการ Wipe เศษไฟล์ที่เราลบไปแล้วบน Drive C: โดยที่ไม่ไปยุ่ีงเกี่ยวกับไฟล์ที่เราไม่ได้ทำการลบ

นอกไปจากนั้นแล้วคำสั่ง cipher ยังสามารถที่จะใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลใน Drive ที่เราสั่งได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น 

  • cipher /e:<filename> จะเป็นการเข้ารหัสไฟล์ที่เราระบุไวตรง <filename>
  • cipher /c:<filename> จะเป็นการเรียกดูไฟล์ที่เราเข้ารหัสไฟล์เอาไว้ <filename> (ต้องเป็นไฟล์ที่มีการเข้าหรัสไว้ก่อนแล้ว)
  • cipher /d:<filename> จะเป็นการถอดรหัสไฟล์ที่เราระบุไวตรง <filename> (ต้องเป็นไฟล์ที่มีการเข้าหรัสไว้ก่อนแล้ว)

ในการเข้ารหัสไฟล์ดังกล่าวนี้ตั้งแต่บน Windows 8 เป็นต้นไปสามารถใช้งานเครื่องมือที่มีชื่อว่า Windows encryption tool BitLocker แทนได้


3. File Compare

filecomparecmd

คำสั่งต่อมาอย่าง File Compare หรือ fc นั้นสำหรับผู้ใช้ทั่วไปอาจจะไม่ค่อยจำเป็นสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปสักเท่าไรนัก แต่สำหรับผู้ใช้ที่เป็นนักเขียนหรือสายโปรแกรมเมอร์แล้วล่ะก็คำสั่ง fc นี้ถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมากเพราะมันสามารถช่วยเปรียบเทียบของข้อความในไฟล์ text 2 ไฟล์ได้อย่างง่ายดาย งานนี้ใครชอบเม็มชื่อไฟล์ว่า อัปเดทxxx แล้วต้องการดูว่าไฟล์แต่ละไฟล์แตกต่างกันกี่จุดล่ะก็ถือได้ว่าเป็นงานกล้วยๆ เลยทีเดียว

วิธีการใช้งานคำสั่ง File Compare เมื่ออยู่ที่หน้าจอ CMD ให้พิมพ์

fc /l “C:\Program Files (x86)\example1.doc” “C:\Program Files (x86)\example2.doc”

“C:\Program Files (x86)\example1.doc” และ “C:\Program Files (x86)\example2.doc” ให้ทำการพิมพ์แทนด้วย path ของไฟล์นั้นๆ ตามด้วยชื่อไฟล์ที่คุณต้องการเปรียบเทียบ เมื่อพิมพ์แล้วตัวโปรแกรมจะใช้เวลาตรวจสักพักหนึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์ที่ทำการเปรียบเทียบ แล้วโปรแกรมก็จะแสดงผลลัพธ์ของการเปรียบเทียบออกมา

นอกไปจากนั้นแล้วคุณยังสามารถใช้งานส่วนขยายของชุดคำสั่ง fc เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลการเปรียบเทียบได้อีกเช่น

  • /b ใช้เพื่อเปรียบเทียบแล้วให้แสดงผลในรูปแบบเฉพาะ binary output
  • /c ใช้เพื่อให้ตัวโปรแกรม fc ยกเว้นการเปรียบเทียบข้อความที่อยู่ภายในไฟล์
  • /l ใช้สำหรับเปรียบโดยคำนึงเฉพาะการเทียบด้วยข้อความแบบ ASCII เท่านั้น

4. Ipconfig

ipconfigcmd

คำสั่งต่อมากับ ipconfig จะเป็นคำสั่งเอาใจสายเน็ตเวิร์คสำหรับใช้เพื่อดูค่าของ IP Address เครื่องของเราในระบบเน็ตเวิร์คว่าเป็นค่าอะไร นอกไปจากนั้นแล้วยังสามารถที่จะทำการใช้ส่วนขยาายของชุดคำสั่ง ipconfig เพื่อประโยชน์อื่นๆ ได้อีกเช่น

  • ipconfig /release แล้วตามด้วย ipconfig /renew สำหรับสั่งใช้ Router ทำการเปลี่ยน IP Address ที่แจกให้เครื่องของเราได้ใหม่ 
  • ipconfig /flushdns เพื่อทำการรีเฟรช DNS Address ของ Router

ชุดคำสั่ง ipconfig นั้นถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมากเวลาที่ Windows network troubleshooter เป็นโปรแกรมบน Windows เองไม่สามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาระบบเน็ตเวิร์คให้กับท่านได้


5. Netstat

netstatcmd

Netstat เป็นชุดคำสั่งที่เอาไว้ใช้ตรวจสอบดูว่า ณ ช่วงเวลานั้นๆ มีอุปกรณ์เครื่องใดบ้างที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอยู่แบบออนไลน์ รวมทั้งมันยังสามารถแสดงให้เราเห็นได้อีกว่าเครื่องของเรามีโทรจันแอบแผงรึเปล่า

netstat มีหลายชุดคำสั่งหลายอย่างที่จะช่วยให้เราดูข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ณ ขณะเวลานั้นๆ ผ่านเครือข่ายได้มากขึ้น สำหรับชุดคำสั่งที่ง่ายที่สุดสำหรับการใช้งานเบื้องต้นก็คือ netstat -an ผ่านทาง CMD โดยจะปรากฏรายชื่ออุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราผ่านเครือข่ายอยู่ ณ เวลานั้นๆ 


6. Ping

pingcmd

มาถึงคำสั่งยอดฮิตกับคำสั่ง ping ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่าหลานๆ ท่านนั้นน่าจะได้เคยใช้งานกันมาบ้างแล้วโดยเฉพาะกับคนที่ทำงานสายเน็ตเวิร์คหรือแม้กระทั่งนักเล่นเกมที่ต้องคอยตรวจสอบค่า Ping ระหว่าง Client ของตัวเองกับเครื่อง Server 

วิธีใช้งานชุดคำสั่ง ping นั้นมีอยู่หลายคำสั่งย่อย แต่โดยปกติทั่วไปนั้นมักจะใช้กันแค่คำสั่ง ping แล้วตามด้วย IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในเครือข่าย แล้วกด Enter ตัวคำสั่งจะทำการส่งแพ็คเก็ตข้อมูลทดสอบไปยัง IP Address ที่เราระบุเอาไว้นั้นๆ แล้วหลังจากนั้นก็จะคอยจับเวลาดูว่าแพ็คเก็ตนั้นใช้เวลาในการส่งไปจากเครื่องของเราแล้วส่งกลับมาจากเครื่อง Server เป็นระยะเวลาเท่าไร(แน่นอนว่ายิ่งน้อยยิ่งดี)


7. PathPing

pathpingcmd

เหนือขั้นขึ้นมาหน่อยกับคำสั่งเวอร์ชันอัปเกรดของ Ping อย่าง PathPing ซึ่งคำสั่งนี้นั้นจะมีประโยชน์เมื่อระหว่างเครื่องของคุณกับเครื่องที่ทำการทดสอบการ Ping มีเราเตอร์มากกว่า 1 ขึ้นไป ชุดคำสั่ง pathping จะช่วยให้เราสามารถรับทราบได้ว่าข้อมูลที่เราส่งนั้นจะไปถึงเครื่องที่รับข้อมูลผ่านเราเตอร์ตัวไหนบ้าง วิธี ใช้งานนั้นจะคล้ายกับชุดคำสั่ง ping นั่นก็คือการพิมพ์ด้วย pathping ตามด้วย IP Address ของเครื่องปลายทาง เพียงเท่านั้นชุดคำสั่ง pathping ก็จะทำการแสดงข้อมูลเส้นทางการเดือนทางของข้อมูลของเราไปยังเครื่องปลายทางได้แล้ว


8. Tracert

tracertcmd

ยังคงอยู่กับคำสั่งทางด้านเน็ตเวิร์คกับชุดคำสั่ง tracert ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วชุดคำสั่งดังกล่าวนี้นั้นมีส่วนที่คล้ายคลึงกับชุดคำสั่ง pathping อยู่บ้าง วิธีการใช้งานนั้นก็จะเหมือนกันคือพิมพ์ tracert ตามด้วย IP Address ของเครื่องเป้าหมาย โดยตัวคำสั่ง tracert นั้นจะแสดงข้อมูลที่ละเอียดกว่า pathping ซึ่งนั่นก็คือมันจะมีการแสดงผลข้อมูลที่ละเอียดกว่า pathping เช่นมีการบอกจำนวนครั้งที่ข้อมูลที่เราส่งไปนั้นผ่านเราเตอร์มาทั้งหมดกี่ครั้งและแต่ละครั้งนั้นมีการใช้เวลาในการเดินทางระหว่างกันมากน้อยเท่าไร


9. Powercfg

powercfgacmd

มาถึงคำสั่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ใช้เครื่องโน๊ตบุ๊คซึ่งนั่นก็คือชุดคตำสั่ง Powercfg ที่จะคอยเอาไว้ทำการจัดการและติดตามการใช้พลังงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับชุดคำสั่ง Powercfg นั้นจะมีคำสั่งส่วนขยายย่อยค่อนข้างมาก ในที่นี้ขอยกตัวอย่างให้ดูบางส่วนดังต่อไปนี้

  • powercfg hibernate on และ powercfg hibernate off เป็นคำสั่งที่เอาไว้ใช้สำหรับทำการเปิดปิดฟีเจอร์ hibernation ของตัวระบบปฏิบัติการ Windows
  • powercfg /a เพื่อดูว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้นมีการใช้งานสถานะการประหยัดพลังงานด้านไหนถูกเปิดใช้งานอยู่บ้าง
  • powercfg /devicequery s1_supported ใช้เพื่อดูว่าอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้นรองรับการเชื่อมต่อสแตนด์บายหรือไม่(และยังเป็นการตรวจสอบด้วยว่ามีการเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้อยู่รึเปล่า) หากพบว่าอุปกรณ์ไหนที่เปิดใช้งานฟีเจอร์นี้อยู่นั้นเราก็จะสามารถใช้อุปกรณ์นั้นทำการสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าสู่โหมดสแตนด์บายได้ (วิธีการตั้งค่าให้เครื่องของเรานั้นสามารถที่จะถูกสั่งงานสแตนด์บายได้จากอุปกรณ์อื่นๆ จะสามารถเข้าไปเปิดได้ที่ Device Manager > แล้วใหทำการเปิดไปที่ tabs properties > จากนั้นเลือกไปที่ tab Power Management > เช็คถูกที่หน้าตัวเลือก Allow this device to wake the computer
powercfgenergycmd
  • Powercfg /lastwake เป็นคำสั่งที่เอาไว้ใช้สำหรับทำการเปิดดูว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณล่าสุดถูกเปิดขึ้นมาเพื่อใช้งาน(จากที่อยู่ในโหมด sleep state) จากอุปกรณ์เครื่องใดและถูกเปิดใช้งานมาแล้วกี่นาที
  • powercfg /energy เป็นชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับสร้างรายงานการใช้พลังงานโดยละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งรายงานทั้งหมดนั้นจะถูกเก็บเอาไว้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ html ตามที่ถูกระบุเอาไว้ในตำแหน่งสุดท้ายเมื่อสิ้นสุดการทำงานของคำสั่ง powercfg /energy รายงานดังกล่าวนี้นั้นจะช่วยให้คุณสามารถที่จะทำการตรวจสอบดูได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นมีข้อผิดพลาดในเรื่องของการใช้พลังงานจากอุปกรณ์เชื่อมต่อใดบ้างเช่นคุณสามารถที่จะตรวจดูได้ว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนที่ทำให้คุณไม่สามารถใช้งาน Sleep Mode ได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถทำการแก้ไขเรื่องพลังงานให้อุปกรณ์นั้นๆ ได้ต่อไป
  • powercfg /batteryreport เป็นชุดคำสั่งที่ให้รายละเอียดการวิเคราะห์การใช้งานแบตเตอรี่ของเครื่องโน๊ตบุ๊คของคุณ ซึ่งรายละเอียดที่จะมีการแสดงออกมาให้เห็นนั้นก็จะมีเช่น จำนวนครั้งและระยะเวลาในการชาร์จหรือการคายประจุของแบตเตอรี่ของเครื่องของคุณ, อายุการใช้งานแบตเตอรี่เฉลี่ยตลอดอายุการใช้งานและความจุแบตเตอรี่โดยประมาณ

10. Shutdown

shutdowncmd

ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ Windows 8 เป็นต้นมานั้นทาง Microsoft ได้เอาการเข้าถึง Advanced Start Options menu ที่เราสามารถทำการเลือกได้ว่าเราจะทำการเข้า Windows ในลักษณะแบบใด(ใน Windows 7 ลงมาตอนที่ทำการเปิดเครื่อง(หรือรีสตาร์ทเราสามารถที่จะกด F7 เพื่อที่จะเข้าถึง Advanced Start Options menu ได้) 

ดังนั้นแล้วคำสั่ง shutdown ตั้งแต่บนระบบปฏิบัติการ Windows 8 เป็นต้นมานั้นจึงมีประโยชน์เป็นอย่างมากหากผู้ใช้ต้องการเข้าถึง Advanced Start Options menu วิธีการใช้งานนั้นก็คือให้พิมพ์ shutdown /r /o แล้วเครื่องจะทำการรีสตาร์ทขึ้นมาเป็นหน้าจอ Advanced Start Options menu ซึ่งต่อจากจุดนี้เราก็จะสามารถทำการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ต่อไปอย่างเช่นการเข้าไปในส่วนของ Safe Mode หรือจะเป็นการเข้าถึง Windows recovery utilities เป็นต้น


11. System File Checker

sfccmd

System File Checker เป็นชุดคำสั่งสำหรับทำการตรวจสอบและแก้ไขไฟล์ของตัวระบบปฏิบัติการ Windows โดยเฉพาะ วิธีการใช้งานนั้นคุณจะต้องทำการเข้า CMD ในรูปแบบ administrator(หรือเข้า CMD โดยมีสิทธิ์เป็นผู้ดูแลระบบ) จากนั้นให้พิมพ์คำสั่ง sfc /scannow ตัวคำสั่งก็จะทำการตรวจสอบไฟล์ของระบบปฏิบัติการ Windows ว่ามีข้อเสียหายหรือว่ามีไฟล์ใดหายไปหรือไม่ นอกไปจากนั้นเมื่อทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วตัวชุดคำสั่งนี้เองก็จะทำการแก้ไขปัญหาเรื่องของไฟล์ระบบดังกล่าวให้ด้วย อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นด้วยความที่ชุดคำสั่งดังกล่าวนี้จะตรวจสอบไฟล์ระบบปฏิบัติการอย่างละเอียดดังนั้นแล้วเมื่อเริ่มต้นคำสั่งแล้วอาจจะใช้เวลาในการ scan มากกว่า 1 ชั่วโมงหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นเป็นเครื่องที่มีอายุการใช้งานมากแล้ว


12. Tasklist

tasklistcmd

เช่นเดียวกันกับการใช้งาน Task Manager บน Windows ชุดคำสั่ง tasklist เมื่อใช้งานผ่าน CMD แล้วนั้นจะเป็นการแสดงรายการโปรแกรมทั้งหมดที่กำลังทำงานอยู่บนระบบ อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นด้วยความที่ชุดคำสั่ง tasklist จะมีส่วนขยายเพิ่มเติมสำหรับการทำงานเพิ่มหลายๆ อย่างที่ Task Manager บน Windows ไม่สามารถที่จะใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น

  • Tasklist -svc เป็นคำสั่งสำหรับแสดง services ที่เกี่ยวข้องกับในแต่ละโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่
  • tasklist -v เป็นคำสั่งสำหรับการแสดงผลรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละงานที่เรากำหนด
  • tasklist -m เป็นคำสั่งสำหรับแสดงไฟล์ DLL ที่เกี่ยวข้องกับงานที่กำลังทำงานอยู่

นอกไปจากนั้นแล้วยังมีอีกคำสั่งหนึ่งอย่าง tasklist | find [process id] ที่ใช้สำหรับแสดงไฟล์ที่กำลังถูกใช้งานจาก ID (หมายเลขงานของโปรแกรมที่คุณสนใจ) 


13. Taskkill

taskkillcmd

เมื่อคุณใช้งานชุดคำสั่ง tasklist จะเห็นได้ว่าในทุกๆ คำสั่งนั้นมี ID ปฏิบัติการและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ ID ของงานนั้นๆ อยู่ หากคุณต้องการทำการหยุดการทำงาน ID นั้นๆ คุณสามารถที่จะใช้คำสั่ง taskkill -im แล้วตามด้วย ชื่อไฟล์โปรแกรมที่ต้องการหยุด(เช่น taskkill -im conhost.exe) หรือจะใช้อีกคำสั่งหนึ่งคือ taskkill -pid แล้วตามด้วยหมายเลข ID ของโปรแกรมนั้นๆ (เช่น taskkill -pid 19668)

แน่นอนว่าการใช้คำสั่ง taskkill นั้นยังคงมีความคล้ายคลึงกับการทำงานผ่านทาง Task Manager อยู่ ทว่าคำสั่ง taskkill นั้นมีความสามารถมากกว่าตรงที่สามารถที่จะทำการสั่งปิดโปรแกรมที่ไม่ตอบสนองต่อการสั่งปิดผ่านทาง Task Manager หรือยังสามารถที่จะใช้งานในการปิดโปรแกรมที่ถูกซ่อนเอาไว้อยู่(ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะไม่สามารถหาเจอได้โดยตรงผ่านทาง Task Manager)


14. Chkdsk

Windows chckdsk command

โดยปกติทั่วไปนั้นระบบปฏิบัติการ Windows จะคอยทำการตรวจสอบ drive สำหรับการวินิจฉัยด้วยค่ำสั่งตรวจสอบผ่านทาง chkdsk อยู่แล้วหากมีข้อสงสัยว่ามีไดรฟ์ใดในเครื่องเกิดอาการมีเซกเตอร์เสีย, clusters ของข้อมูลเสียหายหรือมีข้อผิดพลาดทางตรรกะหรือทางกายภาพอื่นๆ หรือไม่

อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นหากคิดว่าฮาร์ดไดรฟ์ใดๆ ก็ตามบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเสียหาย คุณสามารถที่จะทำการสแกนได้ด้วยตัวเองอยู่ด้วยการใช้คำสั่ง chkdsk โดยตรงผ่านทาง CMD ตัวอย่างเช่น chkdsk c: ที่จะทำการสแกนไดรฟ์ C: ของคุณโดยที่คุณไม่จำเป็นจะต้องรีสตาร์ทเครื่องใหม่แต่อย่างใด

นอกไปจากนั้นแล้วชุดคำสั่ง chkdsk ยังคงมีพารามิเตอร์ย่อยเช่น /f, /r, /x และ /b เช่นในการใช้งานนั้นก็จะพิมพ์เป็น chkdsk /f /r /x /b c: ซึ่งการใช้ชุดคำสั่งดังกล่าวนี้นั้นจะทำการสแกนแล้วทำการแก้ไขข้อผิดพลาด, ทำการกู้ข้อมูล, ทำการ dismount ไดรฟ์ และทำการเคลียร์ bad sectors ภายในการใช้งานคำสั่งเดียว ทั้งนี้การใช้ชุดคำสั่งดังกล่าวนี้นั้นจำเป็นจะต้องทำการรีบูทเครื่องเพื่อที่จะทำการออกจากระบบปฏิบัติการ Windows ก่อนแล้วเมื่อรีสตาร์ทแล้วนั้นตัวชุดคำสั่ง chkdsk /f /r /x /b c: ที่สั่งไปนั้นจะทำงานก่อนระบบปฏิบัติการ Windows รันเข้ามา


15. schtasks

Windows schtasks command

Schtasks เป็นชุดคำสั่งสำหรับเรียกเข้าทำงาน Task Scheduler ที่มีลักษณะการใช้งานคล้ายคลึงกับ Windows administrative tools ซึ่งเป็น GUI ที่ทำงานบน Windows อย่างไรก็ตาม Windows administrative tools นั้นมีข้อจำกัดอยู่นั่นก็คือไม่สามารถที่จะทำการสั่งการในรูปแบบซับซ้อนได้มากเท่าไรนักทว่าชุดคำสั่ง Schtasks นั้นสามารถที่จะทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าได้เป็นอย่างมากเช่นเราสามารถที่จะทำการตั้งค่างานที่คล้ายกันหลายรายการโดยไม่ต้องคลิกผ่านตัวเลือกต่างๆ ที่สำคัญมากที่สุดนั้นก็คือชุดคำสั่ง Schtasks นั้นมีการใช้งานไม่ซับซ้อนมากเท่าไรนักและสามารถที่จะเข้าใจได้ง่าย

ตัวอย่างเช่นหากคุณต้องการตั้งกำหนดการให้เครื่องคอมพิวเตอร์รีบูทตัวเองตอน 23.00 น. ในทุกๆ วันศุกร์ คุณสามารถที่จะใช้คำสั่งดังกล่าวดังต่อไปนี้ได้

schtasks /create /sc weekly /d FRI /tn “auto reboot computer weekly” /st 23:00 /tr “shutdown -r -f -t 10”

หากคุณต้องการที่จะทำการตั้งค่าให้โปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งเปิดตัวเองขึ้นมาหลังจากที่มีการรีบูทเครื่องตามกำหนดการที่คุณได้ทำการตั้งเอาไว้ คุณสามารถที่จะใช้ชุดคำสั่งดังต่อไปนี้ได้

schtasks /create /sc onstart /tn “launch Chrome on startup” /tr “C:\Program Files (x86)\Google\Chrome\Application\Chrome.exe”


16. Format

Windows Command Prompt Format

สำหรับคำสั่ง Format นั้นเชื่อว่าทุกท่านคงคุ้นเคยกับการใช้งานผ่าน GUI บน Windows File Explorer ทว่าคุณสามารถที่จะใช้คำสั่ง format ผ่านทาง CMD ได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามในการใช้งานคำสั่ง Format นั้นคุณจะต้องเข้า CMD ในโหมด Administrator และในการใช้คำสั่ง Format ทุกครั้งคุณจะต้องมั่นใจว่าไดรฟ์ใดที่คุณต้องการจะทำการ Format แล้วตามพารามิเตอร์สำหรับการกำหนดค่าการ Format ตัวอย่างเช่น

format D: /Q /FS:exFAT /A:2048 /V:label

ชุดคำสั่งทางด้านบนนี้นั้นจะมีความหมายว่าให้ format ไดรฟ์ D: ให้อยู่ในรูปแบบของ exFAT file system โดยที่กำหนดให้ขนาดของ allocation unit อยู่ที่ 2048 bytes และทำการเปลี่ยนชื่อของไดรฟ์เป็น “label” นอกไปจากนั้นแล้วยังมีพารามิเตอร์ที่น่าสนใจสำหรับการใช้งานกับขุดคำสั่ง Format อยู่อีกเช่น

  • /X สำหรับใช้ในการสั่งให้ปิดไดรฟ์ข้อมูล
  • /R สำหรับทำการ format ไดรฟ์ที่เป็น NTFS File System
  • /? สำหรับใช้เพื่อเรียกดูพารามิเตอร์สำหรับการทำงานร่วมกับชุดคำสั่ง Format ทั้งหมด

17. prompt

Windows Command Prompt Prompt Command

ในส่วนของคำสั่ง prompt นั้นจะเอาไว้ใช้ในการปรับแต่ง หน้าจอ CMD ให้มาพร้อมกับคำแนะนำต่างๆ รวมถึงแสดงข้อมูลบางอย่างบนหน้าจอตัวอย่างเช่น

prompt Your wish is my command:

prompt $t on $d at $p using $v:

จากตัวอย่างคำสั่งทางด้านบนนี้นั้นจะเป็นการกำหนดให้บนหน้าจอ CMD แสดงผลเวลา, วันที่, ไดรฟ์และ path, แสดงเวอร์ชันของระบบปฏิบัติการ Windows ฯลฯ

ในการยกเลิกการแสดงผลข้อมูลต่างๆ นั้นให้คุณทำการพิมพ์คำสั่ง “prompt” เฉยๆ อีกครั้งก็จะเป็นการรีเซ็ทค่าที่เราตั้งสำหรับการแสดงผลทั้งหมด


18. cls

มาถึงคำสั่งที่ 18 กันแล้วกับคำสั่ง cls ซึ่งเป็นคำสั่งสำหรับการเคลียร์หน้าจอของ CMD ทั้งหมด


19. Systeminfo

systeminfocmd

คำสั่งก่อนปิดจ๊อบกับคำสั่ง systeminfo ซึ่งเป็นคำสั่งที่เอาไว้ใช้สำหรับแสดงผลรายละเอียดข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นวันที่คุณทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows, เวลาล่าสุดที่คุณทำการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมา หรือแม้กระทั่งเวอร์ชันของ BIOS เป็นต้น

systeminfo /s [host_name] /u [domain][user_name] /p [user_password]

นอกไปจากนั้นแล้วคุณยังสามารถใช้คำสั่ง systeminfo ในการเปิดดูข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันกับคุณได้ด้วยโดยใช้คำสั่งดังทางด้านบน


20. Driverquery

driverquerycmd

ปิดท้ายกันด้วยคำสั่งสำหรับผู้ที่ต้องการดูว่า Driver ที่ถูกติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นมีอะไรบ้าง โดยตัวชุดคำสั่ง Driverquery นั้นยังสามารถที่จะแสดงวันและเวลาที่ Driver นั้นถูกปล่อยออกมาได้อีกด้วย ดังนั้นแล้วคำสั่ง Driverquery นี้นั้นจึงเป็นคำสั่งที่จะช่วยให้คุณสามารถทราบได้ว่า Driver ที่ติดตั้งในเครื่องของคุณนั้นมีระยะเวลานานมากน้อยแล้วแค่ไหนและควรต้องทำการอัปเดทแล้วหรือยัง

นอกไปจากนั้นแล้วด้วยการใช้คำสั่ง driverquery -v นั้นยังสามารถที่จะใช้ในการรับข้อมูลเพิ่มเติมของ Driver ที่ติดตั้งนั้นได้อีกไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ติดตั้งของ Driver นั้นๆ 

หมายเหตุ – บนระบบปฏิบัติการ Windows 8 และ Windows Server 2012 จะมีการใช้งานคนละแบบกับบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 และ Windows 11

ที่มา : makeuseof

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

10 วิธีแก้คอมช้า เพิ่มความเร็วให้คอมเก่า Windows 10, 11 Speed up ทำเองได้ เล่นเกมลื่นขึ้น 10 วิธีแก้คอมช้า ที่นำไปลองทำเองได้ในช่วงปลายปี 2025 นี้ เพิ่มความเร็วคอมเครื่องเก่าได้ทั้ง Windows 10 และ Windows 11 เล่นลื่นกว่าเดิม ไม่ต้องโอเวอร์คล็อก ไม่ต้องปรับแต่งให้ยุ่งยาก...

How to

โน๊ตบุ๊คเปิดไม่ติด Windows 11 กับ 7 วิธีเช็คและแก้ไขอัพเดตปี 2024 ทำเองก็ได้ โน๊ตบุ๊คเปิดไม่ติดอาการยอดฮิตที่เจอกันบ่อย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางครั้งแค่ปิดเครื่อง ชัตดาวน์ แล้วเข้านอน เช้ามาเปิดไม่ติดแล้ว หรือบางทีฝนตกไฟดับ ทำหลุดมือหล่นลงพื้น ก็เป็นสาเหตุที่เครื่องดับได้ แต่ทั้งนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ ในบทความนี้จะให้คุณได้ทราบถึงปัญหา การเตรียมตัว และการแก้ไขอาการเปิดไม่ติดของโน๊ตบุ๊คกันว่า คุณจะต้องเตรียมการอย่างไร เพื่อรับมือกับสถานการณ์แบบที่ยังไม่ต้องส่งถึงมือช่างซ่อม โน๊ตบุ๊คเปิดไม่ติด...

CONTENT

ปุ่ม Print Screen เป็นปุ่มที่บางคนใช้งานค่อนข้างที่จะบ่อยเป็นอย่างมาก แต่บางครั้งก็มีปัญหาเกิดขึ้นกับปุ่ม Print Screen นี้ เรามาดูวิธีการแก้ไขกันว่าจะแก้ไขได้อย่างไรบ้างสำหรับผู้ใช้ Windows 11 ปุ่ม Print Screen (PrtScr) เป็นหนึ่งในวิธีที่เร็วที่สุดในบันทึกภาพหน้าจอบน Windows มาหลายยุคหลายสมัย อย่างไรก็ตามหากปุ่ม Print Screen ของคุณหยุดทำงานกะทันหัน คุณอาจสามารถลองแก้ไขบางอย่างได้ด้วยตัวของคุณเองก่อนที่จะทำการเปลี่ยนคีย์บอร์ด ปุ่ม...

CONTENT

error -2147219196 เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเปิดไฟล์รูปภาพด้วยแอป Photo ของ Windows หากคุณพบปัญหานี้ล่ะก็ บทความนี้จะแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาให้คุณได้ลองทำกัน คุณอาจเห็นข้อผิดพลาดของระบบไฟล์ error -2147219196 เมื่อพยายามเปิดรูปภาพผ่าน Windows Photo App ที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ Windows 10 เลย ในบางครั้ง error -2147219196 นี้ก็อาจเกิดขึ้นได้เมื่อคุณพยายามเปิดแอปอื่นๆ ของ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก