Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

รวมวิธีอ่านสเปค SSD ที่คนขายไม่เคยบอก อัพเดตล่าสุด 2021

ตอนซื้อ SSD นั้นไม่ใช่แค่เรื่อง PCIe รุ่นไหน ความเร็วเท่าไหร่ เพราะสเปค SSD นั้นเขียนรายละเอียดอื่น ๆ ที่มีผลต่อการใช้งานเอาไว้เยอะมากจนผู้ใช้ทั่วไปอาจจะเลือกมองข้าม เพราะดูแล้วยุ่งยากมากเกินไปเลยเลือกแค่ดูเรื่องความเร็วอย่างเดียวแล้วจบ เพราะถ้าเราดูข้อมูลในหน้ากระดาษสเปคของผู้ผลิตจะเห็นว่า SSD ไม่ว่าจะเป็น SATA, NVMe หรือแม้แต่ External SSD จะมีรายละเอียดอยู่มากมายทีเดียว

สำหรับคนที่ไม่มีความรู้เรื่อง SSD หรือคนที่เคยเลือกซื้อ SSD ด้วยวิธีการดูแค่ความเร็วอย่างเดียวแล้วมีความสนใจอยากรู้ว่าในสเปคจากผู้ผลิตเขียนอะไรเอาไว้บ้าง เราจะมาไล่ดูรายละเอียดทีละส่วนในบทความนี้กัน

Advertisement

สเปค ssd
สเปคข้างใน SSD สักตัวบอกเลยว่าสำคัญกว่ามีไฟ RGB เป็นไหน ๆ

สเปค SSD มีเรื่องสำคัญกว่าแค่ดูความเร็ว Read/Write และไฟ RGB

14756 01 biostar launches new m700 2 pcie nvme ssds

จากในบทความเกี่ยวกับ SSD ที่ผ่านมานั้น ผู้เขียนก็ได้สอดแทรกข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับ SSD ในส่วนต่าง ๆ เอาไว้บ้างแล้ว แต่ก็เป็นรายละเอียดประกอบการตัดสินใจซื้อ SSD และอุปกรณ์อื่น ๆ อยู่เป็นระยะ ๆ ทั้งประเภทของ flash memory ในบทความ “ไขข้อข้องใจ SSD กี่ GB ดี? 256GB หรือ 512GB? หรือ 1TB เลยจบๆ”, จุดเด่นของ SSD ทั้งแบบ SATA และ NVMe ใน “SSD รุ่นไหนดี มาดู NVMe 6 รุ่นนี้ได้เลย สเปคดีฟีเจอร์เด็ดแน่” และคีย์แบบต่าง ๆ ของ NVMe ในบทความ “แนะนำ 4 กล่อง SSD ใส่ NVMe ใช้เซฟงานได้ Clone Windows ก็ดี”

แต่ทั้งหมดนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของการเลือก SSD ทั้ง SATA และ NVMe เท่านั้น นั่นเพราะหน้าสเปคจากผู้ผลิตนั้นยังมีรายละเอียดสเปค SSD รุ่นนั้น ๆ เขียนเอาไว้อีกหลายส่วนซึ่งผู้ใช้เช่นเราอาจจะมองข้ามไปเพราะไม่เข้าใจว่าจริง ๆ แล้วมันคืออะไร ทั้งที่จริง ๆ แล้วสำคัญไม่แพ้เรื่องความเร็ว Read/Write ซึ่งถูกนำมาโฆษณาอยู่เป็นประจำ

Screenshot 2021 02 27 161944

อย่างไรก็ตามถ้าเรากดเข้าไปดูหน้าสเปค SSD ตามหน้าเว็บไซต์ผู้ผลิตต่าง ๆ เช่น Western Digital ในหน้าสเปคของ WD Blue SN550 ก็อาจจะเห็นข้อมูลเพียงแค่ Sequential Read Performance และ Sequential Write Performance สูงเท่าไหร่เท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งเข้าใจได้ง่ายที่สุด แต่จริง ๆ แล้วถ้าเราคลิกในส่วนของ Spec โดยละเอียดของ SSD รุ่นนั้น ๆ ขึ้นมาอ่าน ก็จะเป็นหน้าเอกสาร PDF แสดงสเปค SSD รุ่นนั้นโดยละเอียด

wd blue 1tb

จะเห็นว่าในหน้าข้อมูลจำเพาะจะมีข้อมูลแสดงรายละเอียดทั้งหมดของ SSD รุ่นนั้น ถ้าดูในส่วนของอินเตอร์เฟส จะเห็นข้อมูลส่วนแรกคือ M.2 2280 คือเป็น SSD แบบ M.2 NVMe ขนาด 2280 (กว้าง 22 มม. ยาว 80 มม.) และเป็น NVMe ที่ใช้อินเตอร์เฟส PCIe Gen3 มีความเร็วในการอ่านเขียนไฟล์ที่ 8Gb/s

สำหรับคนที่สงสัยว่า PCIe Gen3 เอาไปใช้กับเมนบอร์ดที่มีช่อง M.2 PCIe Gen4 ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่จะทำงานที่ความเร็วสูงสุดเท่ากับ PCIe รุ่นที่ต่ำกว่า นั่นคือจะวิ่งได้ความเร็วสูงสุดที่ PCIe Gen 3 เท่านั้น

จะเห็นว่า ความเร็วในการอ่านอ่านตามลำดับสูงสุด (Max Sequential Read Performance) และความเร็วในการเขียนตามลำดับสูงสุด (Max Sequential Write Performance) ของ WD Blue SN550 จะเป็นความเร็วเดียวกันกับที่เขียนเอาไว้ตรงหน้าแรกของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ 

Random vs sequential access

สำหรับการเขียนและอ่านข้อมูลเข้าออก SSD นั้นจะแบ่งออกเป็นสองแบบคือ Sequential (เรียง) และ Random (สุ่ม) โดย Sequential จะเป็นผลความเร็วในการอ่านเขียนไฟล์ขนาดใหญ่ที่ทางผู้ผลิตนำมาเสนอในหน้าแสดงสเปคให้ผู้ใช้เห็นนั่นเอง

โดยไฟล์ที่ SSD จะอ่านแบบ Sequential คือไฟล์ขนาดใหญ่เกิน 128 kB ขึ้นไป ส่วนการอ่านแบบ Random จะใช้กับไฟล์ขนาดเล็ก เช่นไฟล์ 4KB เป็นพวกไฟล์ cache, Cookies ต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้เช่นเราก็จะได้ใช้งานทั้งสองแบบนี้สลับกันไปมา

CrystalDiskMark 6.0.2 x64 2 11 2020 11 47 45 AM

อิงจากรีวิว WD Blue SN550 ความจุ 1TB ที่ Notebookspec เคยรีวิว จะได้ผล Benchmark ก็จะเห็นว่าการอ่านแบบ Sequential Read Performance จะได้อยู่ 2,432MB/s และ Sequential Write Performance อยู่ที่ 2,033MB/s ซึ่งถ้าใช้งานกับโปรแกรมและไฟล์ขนาดใหญ่ก็จะอ่านเขียนได้เร็วทีเดียว

ส่วนไฟล์แคชขนาดเล็กในส่วน 4KiB จะได้ Read 1,036MB/s และ Write 1,231MB/s ซึ่งถ้าเป็นไฟล์แคชขนาดเล็กก็จะเห็นว่าประสิทธิภาพลดลงไปครึ่งหนึ่ง

wd blue 1tb IOPS TBW

หัวข้อ IOPS (Input/Output Operations per second) หรือความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลเข้าและออก SSD แบบสุ่มในความเร็วต่อวินาที ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ควรโฟกัสเวลาอ่านรีวิว SSD รุ่นต่าง ๆ เพราะเป็นความเร็วตอนเขียนอ่านไฟล์เช่น cache file, cookies, pages file, ความเร็วในการเซฟและโหลดเซฟเกม ฯลฯ ซึ่งถ้ามีค่ามากก็จะยิ่งทำให้ SSD อันนั้นสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง เรียกว่าเป็นค่าความเร็วจริงของ SSD รุ่นนั้น ๆ 

ดังนั้นในส่วนนี้ถ้ามีค่า IOPS สูง ก็จะทำให้ NVMe ลูกนั้น ๆ สามารถจัดการคำสั่งต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ทำได้เร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง และ IOPS จะมีความเกี่ยวข้องกับส่วนของ 4KB Random Read, 4KB Random Write ด้วย

1800655

หัวข้อ TBW หรือ Terabytes Written เป็นส่วนแสดงอายุการใช้งานของ SSD นั้น ๆ ว่ามีอายุการใช้งานมากน้อยเท่าไหร่ เช่นของ WD Blue SN550 ตัวนี้จะอยู่ที่ 600TBW คือสามารถเขียนไฟล์ทับลงไปใน flash memory ของ SN550 ได้ 600TB

หากเทียบพื้นที่ขนาด 1TB เป็นจำนวนเพลง เราจะสามารถจุเพลงเอาไว้ได้ 200,000 เพลง ถ้าใช้ลง Windows 10 Home ขนาด 32GB (คิดจากตอนไฟล์ทั้งหมดติดตั้งลงเครื่องและบูตขึ้นมาพร้อมใช้งานแล้ว) ก็จะลง Windows 10 Home ซ้ำ ๆ ใน SSD ลูกนั้นได้ 31.25 ครั้ง ถึงจะครบ 1TB ดังนั้นอายุการใช้งาน 600TBW นั้นถือว่ายาวนานมาก

หัวข้อความเชื่อถือได้ ในข้อมูลของสเปค SSD นั้น จะเป็นการประเมินชั่วโมงการใช้งานของ SSD ลูกนั้นโดยผู้ผลิตจะเขียนทั้ง MTTF (Mean Time To Failure) และ MTBF (Mean Time Between Failure) ซึ่งทั้งสองหัวข้อนี้จะมีความหมายใกล้เคียงกันแต่ไม่เหมือนเสียทีเดียว โดย

  • MTTF (Mean Time To Failure) – เป็นการประเมินอายุการใช้งานโดยรวม ตั้งแต่เริ่มใช้งานจนกระทั่งเสียหายและใช้งานไม่ได้อีกเลยและซ่อมให้กลับมาใช้งานไม่ได้
  • MTBF (Mean Time Between Failure) – เป็นการประเมินอายุการใช้งาน ซึ่งจะเป็นเวลาใช้งานโดยเฉลี่ยจนกว่าจะเกิดปัญหาระหว่างใช้งาน แต่ยังซ่อมกลับมาใช้งานได้

ซึ่งค่า MTTF และ MTBF จะเขียนหน่วยในหน้าสเปคเอาไว้ระดับล้านชั่วโมง จะเห็นว่า SN550 นี้เขียนเป็น MTTF นั่นคือผู้ผลิตประเมินอายุการใช้งานเอาไว้ที่ 1.7 ล้านชั่วโมง ถ้าคำนวนเป็นเวลา 24 ชั่วดมง (1 วัน) จะอยู่ที่ 70,833 วัน หรือราว 190 ปี แต่อย่างไรก็ตามการประเมินนี้จะเป็นการคำนวนจากระบบและอัลกอริธึ่มของผู้ผลิต ซึ่งถ้าใช้งานจริงอาจจะมีตัวแปรอื่น ๆ ทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการจ่ายไฟฟ้าไม่เสถียร, สภาพอากาศและอื่น ๆ

temp and warranty

หัวข้อสภาพแวดล้อม จะเป็นเรื่องอุณหภูมิระหว่างการใช้งาน SSD ลูกนั้น ๆ ซึ่งถ้าอยู่ในระดับความร้อนที่เหมาะสมก็จะทำให้ใช้งานได้นานขึ้นนั่นเอง ซึ่งในตัวอย่างจะเห็นว่าอุณหภูมิการตอนทำงานอยู่ที่ 0-70 องศาเซลเซียส และตอนไม่ใช้ทำงาน อยู่ที่ -55 ถึง 85 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าเราใช้งานตามปกติก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ กับตัว SSD อย่างแน่นอน

หัวข้อการรับประกันแบบจำกัดเงื่อนไข จะเห็นว่าตัว SSD นี้จะมีอายุรับประกันที่ 5 ปี แต่ตรงหัวข้อถูกเขียนตัวเลขหมายเหตุเอาไว้ จะเห็นว่าผู้ผลิตนั้นกำหนดเงื่อนไขรับประกันเอาไว้ว่าถ้า SSD ลูกนี้มีอายุการใช้งานที่ 5 ปี หรือ ค่าความทนทานการใช้งาน (Terabytes Written) เขียนถึงกำหนดก่อน ก็จะหมดประกันการใช้งานไปโดยปริยาย ซึ่งส่วนตัวผู้เขียนมองว่าถ้า SSD ลูกนั้นไม่ถูกนำไปทำเป็น Server หรือฮาร์ดดิสก์ที่ถูกเขียนอ่านข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ค่า TBW ก็จะไม่เต็มง่าย ๆ อย่างแน่นอน แต่ประกันตามอายุการใช้งานที่กำหนดน่าจะหมดก่อนเสียมากกว่า

นอกจากนี้ถ้าผู้อ่านคนไหนเห็นคำว่า 3D NAND อยู่ในหน้าสเปค นั่นคือ SSD แบบที่ใช้วิธีการผลิตโดยซ้อน cell ของ flash memory ลงไป 32 เลเยอร์ เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของ flash memory ให้ SSD มีความจุมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็น SSD ที่ใช้ 3D NAND มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้ flash memory แบบ TLC และ QLC มากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

sata ssd

เมื่ออ่านข้อมูลสเปค SSD ว่าแต่ละหัวข้อหมายถึงอะไรบ้างมาถึงจุดนี้แล้ว จะเห็นว่าในหน้าข้อมูลของ SATA SSD ก็จะเขียนข้อมูลแบบเดียวกันกับ NVMe SSD แต่จะต่างกันตรงอินเตอร์เฟสที่เปลี่ยนจาก PCIe 3.0 หรือ 4.0 ไปเป็น SATA III ความเร็ว 6Gb/s แทน

sata ssd Copy

แต่จุดสังเกตในสเปค SSD แบบ SATA คือ อินเตอร์เฟสจะมีแบบ M.2 2280 ด้วย ซึ่งมีหน้าตาคล้ายกับ M.2 NVMe เป็นอย่างมากและใช้หน้าพิน เป็น M-Key แบบเดียวกันได้ด้วยเช่นที่เคยอธิบายไปในบทความที่แล้ว 

798d4dc6a3b1f9022fe8f8052a33b047 e1614427415580
ถ้าสังเกตหน้ากล่องตรงตัว SSD ที่สกรีนเอาไว้ จะมีคำว่า SATA M.2 2280 เขียนอยู่

ตัวอย่างเช่น WD Green PC SSD SATA M.2 2280 ในตัวอย่างจะเขียนคำว่า SATA เอาไว้ตรงภาพ SSD ที่หน้ากล่อง หรือไม่ก็สังเกตว่าตรงอินเตอร์เฟสที่เอามาต่อกับคอมพิวเตอร์เป็น B & M Key ก็จะรับส่งข้อมูลได้ที่ระดับ PCIe x2 เท่านั้น ดังนั้นจะมีความเร็วระดับ SATA เท่านั้น อย่างที่ทางเว็บไซต์เคยรีวิวไปก่อนหน้านี้ 

ดังนั้นเราจะเห็นแล้วว่าในหน้าสเปค SSD ถ้าอ่านโดยละเอียดและสังเกตดี ๆ ก็จะเห็นว่ามีรายละเอียดต่าง ๆ ให้อ่านมากมายทำให้เรารู้ว่า SSD รุ่นนั้น ๆ มีประสิทธิภาพดีอย่างที่เราต้องการหรือไม่ และก่อนซื้อก็ควรเช็คเมนบอร์ดของเราเสมอว่าสามารถใช้ SSD แบบไหนบ้าง จะได้เลือกซื้อ SSD อันใหม่มาอัพเกรดเครื่องของเราได้โดยไม่เสียเงินฟรีนั่นเอง

Click to comment

บทความน่าสนใจ

PR-News

“วันสำรองข้อมูลโลก” (World Backup Day) ประจำปี 2568 นี้ บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (Western Digital) พบว่า แม้พฤติกรรมการสำรองข้อมูลของผู้ใช้งานจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ยังคงมีผู้ใช้งานหลายรายที่เผชิญกับความท้าทายเรื่องข้อจำกัดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล ข้อจำกัดด้านเวลา และการขาดความตระหนักในเรื่องนี้ ซานโฮเซ่, แคลิฟอร์เนีย, 27 มีนาคม 2568 – เนื่องในวันสำรองข้อมูลโลก...

Accessories review

ORICO C10 External SSD ตัวเด็ดเพื่อครีเอเตอร์และคนทำงาน มีติดกระเป๋าไว้โอนไฟล์เร็วทำงานไวขึ้น! คนทำงานควรมีติดกระเป๋าไว้! ไดรฟ์บันทึกข้อมูลแบบพกพามีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากฟล็อปปี้ดิสก์, แฟลชไดรฟ์มาจนถึง Portable HDD กับ SSD ซึ่ง ORICO C10 จากผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมสำหรับบันทึกข้อมูลคุณภาพสูงก็มีฮาร์ดดิสก์พกพาให้เลือกซื้อไว้ใช้งาน ตัวไดรฟ์เป็นพอร์ต USB-C ความเร็วสูงสุด 1,000 MB/s นอกจากเขียนอ่านไฟล์ได้เร็วทันใจ...

PR-News

บริษัท เอสเซนตี้ รีซอร์สเซส จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย SSD SAMSUNG ผู้นำด้านเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล SAMSUNG เปิดตัว SSD 990 EVO PLUS M.2 พลังแห่งความเร็วและประสิทธิภาพที่เหนือชั้น SAMSUNG แบรนด์ผู้นำด้านเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล เปิดตัวผลิตภัณฑ์ SSD ใหม่ 990 EVO PLUS...

Buyer's Guide

10 External SSD 1TB ไซส์จิ๋ว SSD พกพา USB-C โอนไวจุได้เยอะ เริ่มแค่ 2 พันกว่าบาท ปี 2025 Portable SSD 1TB กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับคนที่ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มและความรวดเร็วในการโอนถ่ายไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์งาน, หนัง, หรือเกม, External SSD ก็ตอบโจทย์ได้หมด...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก