Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

แนะนำ 4 กล่อง sSD ใส่ NVMe ใช้เซฟงานได้ Clone Windows ก็ดี

หลังจากเลือกได้แล้วว่าเราจะซื้อ SSD รุ่นไหนมาใช้ ฟันธงได้ว่าจะเอาความจุกี่ GB มาใช้งานได้แล้ว กล่อง SSD สำหรับใช้เป็นตัวใส่ฮาร์ดดิสก์ทั้งแบบ SATA 2.5″ หรือ M.2 ก็เป็นของจำเป็นขึ้นมาทันที เวลาต้องการ Clone Windows จากฮาร์ดดิสก์ลูกเก่าเข้ามาอยู่ใน SSD ลูกใหม่จะได้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้นไม่ต้องมาเสียเวลาติดตั้ง Windows ใหม่ด้วย

ยิ่งตอนนี้ราคาของ SSD แบบ M.2 NVMe ยิ่งถูกลงเรื่อย ๆ และมีโปรโมชั่นลดราคาและเซลส์กันอย่างต่อเนื่องจนหลาย ๆ คนน่าจะมี NVMe ใช้กันและอาจจะอยากเอามาเปลี่ยนกับฮาร์ดดิสก์เก่าในเครื่อง แต่ยังไม่รู้ว่าจะหาซื้อกล่องใส่ SSD ตัวไหนมาใช้ดีและกลัวว่าซื้อมาจะใช้งานไม่ได้ด้วย ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจกันว่ามันมีวิธีดูและเลือกง่าย ๆ อย่างไรบ้าง

Advertisement

กล่อง ssd
มีเอาไว้ใช้เป็น External Harddisk ถ่ายข้อมูลเร็ว ๆ หรือเอาไว้ Clone Windows ก็เวิร์ค!

ก่อนซื้อมาเข้าใจ NVMe ของเรากันก่อน

Screenshot 2021 02 24 143731

เวลาเราเปิดดูเรื่องสเปคของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่นเมนบอร์ดหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ M.2 NVMe ในส่วนของ Storage นั้น เราจะเห็นว่าบรรทัดข้อมูลของ SSD M.2 NVMe จะมีการวงเล็บตัวเลข 4 ตัวเอาไว้อยู่ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่ามันหมายถึงอะไร และทำไมต้องเขียนเอาไว้เยอะขนาดนั้น

เช่นในภาพตัวอย่างในกรอบสี่เหลี่ยมที่มีลูกศรชี้อยู่ จะเห็นว่าสเปคเมนบอร์ดนี้รองรับ M.2 NVMe SSD แบบ 2242/ 2260/ 2280/ 22110 นอกจากนี้ถ้าเห็นตรงหัวข้อ 3x M.2 slots จะมีวงเล็บว่า Key M เอาไว้ด้วย

b0996abe9746c0cc29fa97abee839650 e1614151081964

ส่วนแรก ตัวเลข 4 ตัว ในหน้าสเปคหมายถึงขนาดของ M.2 NVMe ที่เมนบอร์ดรวมทั้งกล่อง SSD รุ่นนั้น ๆ สามารถใช้ได้ ซึ่งหมายถึงความกว้างและยาวของ M.2 SATA และ M.2 NVMe ชิ้นนั้น ๆ เวลาอ่านจะต้องแบ่งการอ่านออกเป็นคู่ เช่น M.2 NVMe 2280 นั่นคือ NVMe กว้าง 22 มิลลิเมตร และยาว 80 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานของ NVMe หลาย ๆ รุ่นในปัจจุบันนี้

ดังนั้นเวลาเราจะเลือกซื้อเมนบอร์ดหรือกล่อง SSD มาใช้ หรือกลับกันถ้าเราจะซื้อ NVMe SSD มาใส่กับเมนบอร์ดหรือกล่องใส่ SSD ก็ตาม ก็ต้องเลือกขนาดให้เข้ากันด้วย

M2 FAQ Q17 BOTTOM

ถัดมาในส่วนของ Key M ตรงบรรทัดบนจากภาพที่แล้ว จะหมายถึงส่วนของจุดเชื่อมต่อของ M.2 SSD เข้ากับขั้วตัวรับของเมนบอร์ดหรือกล่อง SSD ซึ่งในภาพตัวอย่างจะเห็นว่า M.2 SSD นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือแบบ B-Key และ M-Key และลูกผสมอย่าง B & M Key

วิธีการสังเกตคือให้เรานับจำนวนขีด (Pin) ตรงหัวเล็กของ M.2 SSD ว่ามีจำนวนกี่เส้น ถ้ามี 6 อันคือ B-Key ส่วนแบบ 5 อัน คือ M-Key ส่วนแบบที่แตกเป็นสองหัวคือ B & M Key โดยมีข้อแตกต่างกันคือ

  1. B-Key – สามารถใช้รับส่งข้อมูลให้ M.2 NVMe แบบ SATA และ/หรือ PCIe ก็ได้ แต่ใช้ได้แค่อินเตอร์เฟส PCIe x2 จึงรับส่งข้อมูลได้เร็วสุดตามหน้าสเปคคือ 1,000MB/s 
  2. M-Key – สามารถใช้รับส่งข้อมูลให้ M.2 NVMe แบบ SATA และ/หรือ PCIe ก็ได้ และใช้อินเตอร์เฟส PCIe x4 ทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วถึง 2,000MB/s ทีเดียว และ M.2 SSD หลายรุ่นในปัจจุบันนี้ก็ยิ่งเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง NVMe รุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันนี้จะใช้เป็น M-Key กันแทบทุกรุ่นแล้วเพราะสามารถรับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว
  3. B & M Key – ขั้วแบบลูกผสม ช่วยให้ติดตั้งได้หลายอุปกรณ์ยิ่งขึ้น รับส่งข้อมูล M.2 NVMe แบบ SATA และ/หรือ PCIe ก็ได้ แต่ใช้อินเตอร์เฟส PCIe x2 เหมือนกันกับ B-Key จึงรับส่งข้อมูลได้เร็วสุดเพียง 1,000MB/s เท่านั้น

ดังนั้นก่อนเราจะซื้อกล่อง SSD มาใส่ M.2 NVMe ก็ควรเช็คสเปคก่อนเสมอ ซึ่งเราสามารถคลิกอ่านได้ที่หน้าสเปคของกล่อง SSD รุ่นนั้น ๆ ที่เราสนใจและสังเกตตรงหัวข้อ Input หรือ Interface ทางผู้เขียนจะระบุเอาไว้ว่ากล่องนี้รองรับ M.2 NVMe แบบ B-Key หรือ M-Key นั่นเอง

4 กล่อง SSD แนะนำ ใส่ NVMe SSD ได้แน่นอน

ถ้าใครกำลังหากล่อง SSD สำหรับใส่ NVMe ไว้ใช้ Clone Windows หรือทำเป็น External Harddisk เพราะมี NVMe อันเก่าอยู่ในบ้านแล้วไม่ได้ใช้งาน บทความนี้เราได้รวบรวมรุ่นที่เป็น M-Key ซึ่งใช้งานกับ M.2 NVMe SSD ได้อย่างแน่นอนมาให้เลือกกัน 4 รุ่นด้วยกัน ได้แก่

  1. ORICO TCM2-C3 (990 บาท)
  2. CHOETECH PC-HDE03 (1,258 บาท)
  3. UGREEN M.2 PCI-e (1,350 บาท)
  4. ORICO PVM2-C3 (1,490 บาท)
1. ORICO TCM2-C3 (990 บาท)

1 31 3 e1614158793312

ORICO TCM2-C3 เป็นกล่องสำหรับ M.2 NVMe SSD ดีไซน์สวยซึ่งบอดี้ภายนอกเป็นพลาสติกใสและมีซิ้งค์อลูมิเนียมช่วยระบายความร้อนให้ NVMe ให้ไม่ร้อนเกินไปอีกด้วย นอกจากนี้ตัวกล่องยังมีขนาดเล็กระดับใส่กระเป๋ากางเกงได้สบาย ๆ 

สเปคจะรองรับ NVMe ทั้ง M-Key และ B & M-Key ใส่ได้ตั้งแต่ขนาด 2230, 2242, 2260 และ 2280 ส่วนพอร์ตบนตัวกล่องจะเป็น USB 3.1 Type-C สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็ว 10Gbps รองรับ NVMe ความจุสูงสุดที่ 2TB ใช้งานร่วมกับ Windows, macOS และ Linux ได้ ในแพ็คเกจแถมสาย USB Type-C to Type-A แบบ USB 3.0 มาให้หนึ่งเส้น

สเปคของ ORICO TCM2-C3

  • รองรับ NVMe แบบ M-Key และ B & M Key
  • ใส่ NVMe ขนาด 2230, 2242, 2260, 2280 ได้
  • รองรับ NVMe ความจุสูงสุด 2TB
  • พอร์ตที่กล่องเป็น USB 3.1 Type-C รับส่งข้อมูลได้เร็วสุด 10Gbps
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows, macOS, Linux
  • ราคา 990 บาท (Advice)
2. CHOETECH PC-HDE03 (1,258 บาท)

615Bir35D0L. SL1500 e1614159729207

CHOETECH PC-HDE03 เป็นกล่อง SSD น่าใช้อีกรุ่นซึ่งทางเว็บไซต์ SpecPhone เคยทำรีวิวเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยเป็นเคสอลูมิเนียมขนาดพกพาง่ายและระบายความร้อนได้ดีและดีไซน์ให้มีช่องด้านข้างเคสเพื่อระบายความร้อนระหว่างใช้งานได้ด้วย สามารถเลื่อนสลักตรงท้ายกล่องแล้วเปิดฝามาใส่ M.2 NVMe เข้าไปแล้วขันน็อตเพื่อใช้งานได้เลย ซึ่งใช้งานได้สะดวกมากและยังคงพกพาง่ายเช่นเดียวกับกล่อง SSD รุ่นอื่น

สเปคจะรองรับ M.2 NVMe แบบ M-Key เท่านั้น สามารถติดตั้งขนาด 2230, 2242, 2260, 2280 ลงไปได้ พอร์ตของเคสเป็น USB 3.1 Type-C Gen 2 สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็ว 10Gbps เช่นกัน รองรับการใช้งานกับ Windows และ macOS ได้ แต่จุดสังเกตของกล่อง CHOETECH คือไม่ระบุว่ารองรับ NVMe ความจุสูงสุดกี่ TB และไม่มีสาย USB Type-C แถมมาให้ ถ้าจะซื้อรุ่นนี้ควรมีสาย USB-C Gen 2 สำหรับเชื่อมต่อเพื่อรับส่งข้อมูลด้วย

สเปคของ CHOETECH PC-HDE03

  • รองรับ NVMe แบบ M-Key เท่านั้น
  • ใส่ NVMe ขนาด 2230, 2242, 2260, 2280 ได้
  • พอร์ตที่กล่องเป็น USB 3.1 Type-C Gen 2 รับส่งข้อมูลได้เร็วสุด 10Gbps
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows, macOS
  • ราคา 1,258 บาท (Shopee CHOETECH Official Shop)
3. UGREEN M.2 PCI-e (1,350 บาท)

60354 1 3 363293 560x e1614160884357

UGREEN M.2 PCI-e นั้นถือเป็นอีกรุ่นจากแบรนด์ราคาไม่แพง จึงได้ใจคนชอบอุปกรณ์ไอทีราคาคุ้มค่าไปโดยง่าย ซึ่งกล่องนี้ของ UGREEN เองก็ออกแบบมาเป็นเคสอลูมิเนียมเช่นเดียวกันกับแบรนด์อื่นเพื่อช่วยระบายความร้อนให้ M.2 NVMe ให้เย็นลง ช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานยิ่งขึ้น และสามารถถอดมาใส่ SSD ได้ง่ายมาก เพียงสไลด์แล้วขันน็อตเท่านั้น

สเปคของเคส UGREEN ตัวนี้จะมีแบ่งเป็นรุ่น M-Key และ B-Key ขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อของเรา โดยรุ่น M-Key จะเป็นกล่องเทาเข้ม สามารถใส่ NVMe ขนาด 2230, 2242, 2260 และ 2280 ได้ ตัวกล่องเป็นพอร์ต USB 3.1 Gen 2 Type-C สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วสุด 10Gbps รองรับ SSD ความจุสูงสุด 2TB เช่นกัน ใช้งานกับ Windows, macOS, Linux และ Chrome OS ได้ด้วย เรียกว่ารองรับกว้างขวางมากรุ่นหนึ่งทีเดียว ส่วนในกล่องจะแถมสาย USB Type-C to A มาให้ 1 เส้น

สเปคของ UGREEN M.2 PCI-e

  • รองรับ NVMe แบบ M-Key หรือ B-Key ขึ้นอยู่กับรุ่นที่เลือกซื้อ
  • ใส่ NVMe ขนาด 2230, 2242, 2260, 2280 ได้
  • รองรับ NVMe ความจุสูงสุด 2TB
  • พอร์ตที่กล่องเป็น USB 3.1 Type-C Gen 2 รับส่งข้อมูลได้เร็วสุด 10Gbps
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows, macOS, Linux และ Chrome OS
  • ราคา 1,350 บาท (Shopee UGREEN Official Shop)
4. ORICO PVM2-C3 (1,490 บาท)

4 7 61 e1614162366164

ORICO PVM2-C3 ก็เป็นกล่อง SSD ดีไซน์เรียบร้อยหรูหรารุ่นหนึ่งที่ทั้งแข็งแรงเพราะตัวเคสใช้วัสดุเป็นอลูมิเนียมและระบายความร้อนได้ดีทีเดียว ซึ่งตัวเคสอลูมิเนียมแบบทั้งตัวจึงกันน้ำ, รอยขีดข่วนได้เป็นอย่างดี แต่เวลาจะใส่หรือถอด M.2 NVMe จำเป็นต้องใช้ไขควงไขน็อตตรงท้ายกล่องเสมอ แต่เมื่อซื้อสินค้ามาแล้วจะมีไขควงสำหรับใช้ไขถอดน็อตและขันน็อต NVMe แถมมาให้ด้วยพร้อมกับสาย USB-C to C อีกหนึ่งเส้น

สเปคของ ORICO PVM2-C3 จะรองรับ M.2 NVMe แบบ M-Key ขนาด 2230, 2242, 2260 และ 2280 ซึ่งครอบคลุมขนาดมาตรฐานในปัจจุบันทั้งหมด มีพอร์ต USB 3.1 Type-C Gen 2 สำหรับรับส่งข้อมูล มีความเร็วสูงสุด 10Gbps และตัวกล่องนี้จะรองรับ NVMe ความจุสูงสุด 2TB ด้วยกัน ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows และ macOS

สเปคของ ORICO PVM2-C3

  • รองรับ NVMe แบบ M-Key
  • ใส่ NVMe ขนาด 2230, 2242, 2260, 2280 ได้
  • รองรับ NVMe ความจุสูงสุด 2TB
  • พอร์ตที่กล่องเป็น USB 3.1 Type-C Gen 2 รับส่งข้อมูลได้เร็วสุด 10Gbps
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Windows, macOS
  • ราคา 1,490 บาท (JIB)

สรุป – ซื้อกล่อง SSD รุ่นไหนไปใส่ NVMe ดี

สำหรับกล่อง SSD สักรุ่นนั้นจะมีตัวเลือกในตลาดคละกันอยู่หลายรุ่นทั้งแบบ B-Key และ M-Key ซึ่งถ้าเราเช็คข้อมูลกล่องรุ่นนั้น ๆ ให้ดี ก็จะช่วยให้เราเลือกซื้อสินค้าได้ถูกรุ่นและไม่เสียเงินฟรีอีกด้วย สำหรับสเปคโดยสรุปของทั้ง 4 รุ่น จะมีดังนี้

รุ่น / สเปค ประเภทของ Key ขนาดของ NVMe
ที่รองรับ
ความจุสูงสุด พอร์ตที่กล่อง ระบบปฏิบัติการ จุดเด่น ราคา
ORICO TCM2-C3 M-Key
และ
B & M Key
2230

2242

2260

2280
2TB USB 3.1 Type-C

รับส่งข้อมูลได้เร็วสุด 10Gbps
Windows

macOS

Linux
เคสแบบใสดีไซน์สวยงาม และราคาไม่แพงมาก 990 บาท
CHOETECH PC-HDE03 M-Key 2230

2242

2260

2280
USB 3.1 Type-C Gen 2

รับส่งข้อมูลได้เร็วสุด 10Gbps
Windows

macOS
ถอดเปลี่ยน NVMe ในกล่องได้ง่าย 1,258 บาท
UGREEN M.2 PCI-e M-Key
หรือ
B-Key

ขึ้นอยู่กับรุ่นที่ซื้อ
2230

2242

2260

2280
2TB USB 3.1 Type-C Gen 2

รับส่งข้อมูลได้เร็วสุด 10Gbps
Windows

macOS

Linux

Chrome OS
ถอดเปลี่ยน NVMe ในกล่องได้ง่าย

รองรับระบบปฏิบัติการหลายรุ่น
1,350 บาท
ORICO PVM2-C3 M-Key 2230

2242

2260

2280
2TB USB 3.1 Type-C Gen 2

รับส่งข้อมูลได้เร็วสุด 10Gbps
Windows

macOS
ดีไซน์สวยดูดี แข็งแรง

กันน้ำและรอยขีดข่วน

มีไขควงแถมมาให้ในกล่อง
1,490 บาท

เมื่อเราศึกษาข้อมูลของกล่อง SSD และรู้ว่ารุ่นไหนเหมาะกับเราแล้วค่อยเลือกซื้อรุ่นที่ตอบโจทย์ไปใช้งานได้เลย ซึ่งไม่ว่ารุ่นไหนก็จัดว่าคุ้มค่าและน่าลงทุนทั้งนั้นเพราะนอกจากเราจะใช้เป็นอุปกรณ์ใช้ Clone Windows ไปยัง NVMe อันใหม่ได้แล้ว ก็สามารถใส่ NVMe อันอื่นเอาไว้เป็น External Harddisk เพื่อเซฟข้อมูลสำคัญเอาไว้ใช้ยามจำเป็นได้และรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ดังนั้นจึงคุ้มค่าน่าเลือกซื้อมาใช้เป็นของใช้ส่วนตัวสักชิ้นเป็นอย่างมาก

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ถ้าประกอบคอมหรือซื้อโน๊ตบุ๊คมาสักเครื่อง นาทีนี้เป็นใครก็อยากได้ SSD 1TB มาใส่ในเครื่องสัก 1~2 ชิ้นแน่นอน จะได้ติดตั้งโปรแกรมทำงาน, เกมและเก็บไฟล์งานเรียกใช้บ่อยได้สะดวก เพราะตอนนี้จะเกมหรือโปรแกรมไหนก็กินพื้นที่กันหลัก 50~100GB กันทั้งนั้น ยังไม่รวมส่วนเสริมอีกร้อยแปดสำหรับเพิ่มลูกเล่นให้งานเสร็จเร็วหรือน่าสนใจยิ่งขึ้นซึ่งอาจใช้พื้นที่เพิ่มอีกพอควร ยิ่งตอนนี้โน๊ตบุ๊คทำงานขนาดปกติกับเกมมิ่งส่วนใหญ่ก็ติดตั้ง SSD ตัวเสริมเข้าไปได้แทบทุกรุ่นอยู่แล้ว ดังนั้นจะซื้อมาใส่ในเครื่องตั้งแต่ก่อนเริ่มใช้งานก็ดี เปิดเครื่องมาตั้งค่าอีกหน่อยก็ใช้งานได้เลย อย่างไรก็ตาม SSD ในปัจจุบันจะมีอินเทอร์เฟสให้เลือกหลายเวอร์ชั่น ตั้งแต่ PCIe 3.0...

CONTENT

สำหรับในปี 2024 อุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภท SSD ได้กลายเป็นฮาร์ดแวร์ชิ้นหลักของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการ โปรแกรมรวมถึงเกมแทนที่ HDD จานหมุนไปแทบจะ 100% แล้ว ด้วยปัจจัยเรื่องราคาต่อ GB ที่จับต้องได้ง่ายขึ้นมาก รวมถึงบรรดาผู้ผลิตคอมชุดสำเร็จรูปรวมถึงโน้ตบุ๊กก็เลือกจะใช้ SSD เป็นอุปกรณ์หลักด้วยเช่นกัน แม้จะมีกระแสข่าวว่าราคาขายปลีก SSD อาจจะปรับสูงขึ้นบ้างในปีนี้ แต่เชื่อว่าชอยส์หลักของอุปกรณ์ประเภทนี้ก็น่าจะยังไม่เปลี่ยนไป ดังนั้นในบทความนี้เรามาดูกันดีกว่า ว่าเวลาจะอ่านสเปคก่อนเลือกซื้อ SSD...

Buyer's Guide

SSD 1TB รุ่นใหม่ๆ ตอนนี้มีตัวแรงให้เลือกเยอะเลยนะ ในยุคนี้เมื่อ SSD แบบต่างๆ ไม่ว่าจะ M.2 NVMe หรือ 2.5″ SATA III ก็ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ เพราะราคาไม่แพงแต่สเปคดี ซึ่ง SSD 1TB เป็นความจุที่มากกำลังดี ตอบโจทย์ทั้งสายทำงานที่อยากอัพเกรดพีซีเครื่องเก่าที่มีพอร์ต PCIe ไม่ว่าจะเวอร์ชั่น 3.0...

Buyer's Guide

SSD 500GB ตัวเด็ดอัพเดท 2022 ตอนนี้ตัวเด็ดอ่านเขียนไวทันใจเปิดตัวมากันเพียบ!! จะเกมเมอร์หรือคนทำงานก็ตาม ถ้าอยากอัพเกรด SSD ในพีซีหรือโน๊ตบุ๊คของตัวเองก็คงจะมองหา SSD 500GB มาเปลี่ยนเป็นไดรฟ์ C:\ หรือเสริมเป็นไดรฟ์เสริมสำหรับติดตั้งเกมและโปรแกรมต่างๆ ได้ และเป็นความจุที่เยอะกำลังดีไม่มากไม่น้อยเกินไป และราคาก็ไม่ถูกไม่แพงเกินไปอีกด้วย เพียงแค่หลักพันต้นๆ ไม่เกิน 4 พันบาทก็ซื้อมาเติมในเครื่องได้เลย และตอนนี้ก็มีทั้งรุ่นอินเตอร์เฟส PCIe 3.0...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก