เป็นหนึ่งในคำถามสงสัยของผู้ใช้งาน SSD โดยเฉพาะจากค่าย WD ว่าแต่ละสีนั้นมันแตกต่างกันอย่างไร ทั้งที่ความจุก็เท่าๆ กัน อินเตอร์เฟสเชื่อมต่อก็เหมือนๆกัน แล้วจะแบ่งสีต่างๆ ไปทำไมกันนะ วันนี้ทีมงานมีโอกาสดีได้ทดสอบกรุ๊ปของ SSD จากค่าย WD แบบครบเซ็ตทุกสีที่วางจำหน่ายในบ้านเรา โดยจะขอเน็ตไปที่ SSD ซึ่งใช้งานในโน๊ตบุ๊คได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบการเชื่อมต่อ SATA ทั้งแบบ 2.5 นิ้ว และ M.2 ไปจนถึงตัวแรงที่เป็นแบบ M.2 PCIE nVme ความต่างแต่ละสีเป็นไงนะ
ก่อนอื่นทางผมขอนำนิยมของแต่ละสีของ WD มาแนะนำเบื่องต้นกันก่อน
รูปแบบการเชื่อมต่อ จะแบ่งเป็น 3 มาตรฐาน
SATA
พอร์ตเชื่อมต่อมาตรฐานที่ใช้กันมานานจนถึงปัจจุบันที่เวอร์ชั่น 3 มีความเร็วตามสเปคที่ 6Gb/s สามารถใช้งานได้ทั้งฮาร์ดดิสค์พีซี 3.5 นิ้ว ฮาร์ดดิสค์โน๊ตบุ๊ค 2.5 นิ้ว ทั้งแบบฮาร์ดดิสค์จานหมุนและแบบ SSD โน๊ตบุ๊คและพีซีเกือบทุกตัวจะเชื่อมต่อผ่านพอร์ต SATA เป็นหลัก รวมไปถึงพีซีโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่าๆด้วย
M.2 SATA
จะเรียกว่าพอร์ตก็ไม่ถูกเป็นสล็อตมากกว่า มาแทน mSata สล็อตแบบเดียวกับการ์ด wifi ของโน๊ตบุ๊คนะละครับ บนเมนบอร์ดพีซีปัจจุบันมีสล็อต M.2 เกือบทุกรุ่น ส่วนโน๊ตบุ๊คส่วนใหญ่ที่มีจะเป็นรุ่นใหญ่สำหรับคอเกมที่ติดตั้งได้ทั้งฮาร์ดดิสค์ SATA และ M.2 รวมถึงโน๊ตบุ๊คบางเบาก็นิยมใช้ M.2 ด้วย โดยความเร็วของ M.2 SATA จะเป็นความเร็วพื้นฐานเท่าๆกับต่อผ่านพอร์ต SATA นะครับ เหมาะกับท่านที่เน้นความจุสูง งบน้อย
M.2 PCIe
สล็อตการเชื่อมต่อตัวแรงที่ออกแบบมาเพื่อการเชื่อมต่อความเร็วสูง โดยจะมีในรูปแบบที่คล้ายๆ M.2 SATA แต่จะมีในเทคโนโลยีเช่นเดียวกับสล็อต PCIe หรือที่ต่อการ์ดจอนั่นละครับ ทำให้สามารถทำความเร็วไปได้สูงกว่า SATA ถึง 5-6 เท่าเลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับชิปคอนโทรล หรือที่เราชอบเรียกว่า nvme นะละครับ
โดยมีข้อสังเกตุระหว่าง M.2 ทั้ง 2 แบบนี้นึงที่ M.2 SATA ไม่สามารถใส่ M.2 PCIe ได้ แต่ในทางกลับกัน M.2 PCIe บางรุ่นสามารถใส่ SATA ได้
WD Green (เชื่อมต่อแบบ SATA ,M.2 SATA)
WD Green จะเป็นรุ่นล่างสุด เน้นราคาประหยัดเหมาะกับผู้ใช้งานมือใหม่ หรือผู้ที่เน้นเรื่องของราคาเป็นหลัก อีกทั้งยังกินไฟต่ำมากเป็นพิเศษทำให้ใช้งานแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊คได้ยาวนานขึ้น แต่ยังให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่รวดเร็วในแบบ SSD จะวางจำหน่ายในรุ่นความจุ 120GB และ 240GB รวมถึงแบบในเคสทั้งขนาด 2.5 นิ้ว/7 มม. หรือขนาด M.2 2280 โดยจะมีความเร็วในการอ่าน 540MB/s และเขียนอย่างต่อเนื่องสูงสุดถึง 405MB/s อายุการใช้งานราวๆ 80 TBW
WD Blue (เชื่อมต่อแบบ SATA ,M.2 SATA)
สำหรับท่านที่กำลังมองหาประสิทธิภาพที่มากขึ้นของ SATA โซลิดสเตทไดรฟ์รุ่น WD Blue เป็นตัวเลือกที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานแบบ multitasking ( การทำงานหลายชนิดเวลาเดียวกัน ) และการใช้งานที่ต้องใช้ทรัพยากรสูงมาก เรียกได้ว่าเป็นรุ่นที่สมบูรณ์แบบอย่างยิ่งสำหรับโน๊ตบุ๊คหรือเครื่องพีซีเดสก์ท็อป ทั้งนี้ SSD รุ่น WD Blue จะมีวางจำหน่ายในรุ่นความจุ 250GB, 500GB และ 1TB รวมถึงแบบในเคสทั้งขนาด 2.5 นิ้ว/7 มม. หรือขนาด M.2 2280 ( กว้าง 22 มม. ยาว 80 มม. ) โซลิดสเตทไดรฟ์รุ่น WD Blue มาพร้อมความเร็วในการอ่านและเขียนอย่างต่อเนื่องสูงสุดถึง 545MB/s และ 525MB/s มีอัตราความคงทนในการใช้งานยาวนานสูงสุดถึง 400 TBW
WD Black (เชื่อมต่อแบบ M.2 PCIe)
มีขนาด M.2 2280 ( กว้าง 22 มม. ยาว 80 มม. ) แบบ PCIe Gen3 x4 NVMe มีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ต่อเนื่องถึง 2,050 MB/s และความเร็วในการเขียนข้อมูล 700 MB/s Write- เร็วกว่า SATA SSD ถึงสามเท่า ปัจจุบันมี 2 ความจุคือ 256GB และ 512GB
แนะนำในส่วนของ SATA กันก่อน จะมีในรุ่น Green และ Blue แบบชนิด 2.5 นิ้ว ที่ใช้ในโน๊ตบุ๊คมีฉลากระบุรุ่นชัดเจน Green จะมีขนาดหนากว่าเล็กน้อย และมีความจุ 120GB สำหรับท่านที่เน้นราคาประหยัด ส่วน Blue จะมาพร้อมเทคโนโลยีใหม่อย่าง 3D Nano ทำให้มีราคาสูงขึ้นและมีความจุมากขึ้นเป็นเริ่มต้นที่ 250GB
มาถึงในส่วนของ M.2 จะมีทั้ง WD Green ,Blue และ Black มีฉลากกำกับ และสีของแผ่น PCB ที่ต่างกัน โดยจะมีขนาดมาตรฐาน 2280 เท่ากันหมด และจะต่างกันในส่วนของหน้าสัมผัสสล็อต
หน้าสัมผัสสล็อตกว้างเท่ากันหมด จะมีแค่ WD Green กับ Blue ที่เหมือนกัน มี 2 ร่อง แต่ WD Black จะมีแค่ร่องเดียว และที่สำคัญคือแม้จะมีร่องทางซ้ายที่ใกล้ๆกัน แต่ไม่สามารถใส่แทนกันได้ เพราะ WD Black หรือ PCIe นั้นจะมีหน้าสัมผัส 4 เส้น ส่วน SATA จะมีหน้าสัมผัส 5 เส้นทำให้ไม่สามารถใส่แทนกันไม่ได้ในบ้างเมนบอร์ดหรือใส่ได้ก็ใช่ไม่ได้
การเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดก็แค่ใส่ในมุมทะแยงแล้วก็ขันน๊อตให้เป็นแนวราบไป
ทดสอบ
WD Green (M.2 SATA)
WD Blue (M.2 SATA)
ถ้าวัดตามสเปคแทบไม่ต่างกันเท่าไรนัก แต่เมื่อทดสอบอ่านเขียนแล้วพบกว่า ความเร็วในการอ่านข้อมูล WD Blue เร็วกว่าราวๆ 15-20% และให้ความเรีวในการเขียนที่แทบไม่ต่างจากการอ่าน ขณะที่ WD Green ความเร็วในการเขียนจะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้มีงบประมาณที่จำกัดจนเกินไป อัพเกรทไปใช้ WD Blue ดีกว่าครับ
WD Black (M.2 PCIe)
WD Black เป็น SSD ที่เร็วที่สุดของ WD ในปัจจุบัน ให้ความเร็วการอ่านสูงสุดถึง 1,5xx MB/s และเขียน 8xx MB/s หรือให้ความเร็วอ่าน และเขียน มากกว่า Blue 2-3 เท่า แทบจะเปิดเครื่องปุ๊ปติดปั๊ปกันเลยทีเดียว เหมาะกับเพื่อนที่ต้องการความเร็วฮาร์ดดิสค์สูงที่สุดทำหรับการทำงานที่ต้องอ่านเขียนฮาร์ดดิสค์บ่อยๆ แต่ด้วยราคาค่าตัวต่อความจุที่สูง จึงเหมาะกับการใช้งานคู่กับฮาร์ดดิสค์ธรรมดาด้วย
…
รีวิวนี้คงไม่ได้ฟันธงว่า WD SSD รุ่นไหนดีสุดหรือเหมาะกับท่านมากที่สุด เพราะการจะซื้อ SSD ตัวไหน ขึ้นอยู่กับงบประมาณความต้องการของแต่ละท่านมากกว่า
- ถ้างบน้อยจริงๆและต้องการ SSD ไว้ใช้งานคู่กับฮาร์ดดิสค์ หรือประกอบพีซีให้เด็กน้อยที่ใช้งานไม่หนักมาก WD Green ก็เพียงพอแล้ว
- ถ้าต้องการใช้ SSD เพื่อเก็บข้อมูลเป็นหลักลงเกมโปรแกรมต่างๆต้องการความจุสูงขึ้นในราคาที่ไม่สูงจนเกินไปก็ต้องเป็น WD Blue
- ถ้างบประมาณไม่ใช่ปัญหาและต้องการความเร็วในการอ่านเขียนสูงที่สุดละก็ต้อง WD Black เลย แต่อย่าลืมว่าเมนบอร์ดของท่านต้องรองรับด้วยนะ
WD Green ความจุ 120 ,240 GB ราคา 1,390 บาท
WD Blue ความจุ 250 ,500 ,1TB ราคาเริ่มต้น 2,890 บาท
WD Black ความจุ 256 ,512 GB ราคาเริ่มต้น 3,890 บาท