Bios เป็นคำที่ย่อมาจาก Basic Input/OutPut System เป็นโปรแกรมเริ่มต้นบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่ในการควบคุมและตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่บนเมนบอร์ด รวมไปถึงทำหน้าที่ในการรายงานข้อผิดพลาดของอุปกรณ์เหล่านั้นด้วย ใครที่ต้องการดูข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเองก็สามารถเช็คได้ผ่าน BIOS ไปจนถึงการแก้ไขปรับค่าต่างๆ สำหรับการเข้าสู่หน้า BIOS ของแต่ละเมนบอร์ดและโน๊ตบุ๊คแต่ละรุ่นจะแตกต่างกันออกไป ทีมงานจึงได้รวบรวม Bios Key ที่ใช้สำหรับเข้าหน้า Bios ของ PC & Notebook เท่าที่ทราบและใช้งานกันโดยส่วนใหญ่ไว้ดังนี้
Bios Key สำหรับ PC/Desktop
ในส่วนของ PC/Desktop สามารถเช็คได้จากยี่ห้อของเมนบอร์ดที่ใช้ (กรณีคอมประกอบ) หรืออาจจะเป็นตามแบรนด์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้
PC/Desktop | Bios | Boot Menu Key |
ASUS | Del | F8 |
ASRock | Del, F2 | F11 |
Acer | Del | F12 |
Dell | F2 | F12 |
EVGA | Del | F7 |
Gigabyte | Del, F2 | F12 |
HP | F1 | Esc |
IBM | F1 | F12 |
Intel | F2 | F10 |
Lenovo | F2 | F12, F8, F10 |
MSI | Del | F11 |
คอมประกอบทั่วไป | F2, Del | F10 |
Bios Key สำหรับ Notebook
สำหรับ Notebook นั้น Bios Key สามารถตรวจสอบได้จากแต่ละแบรนด์
Notebook | Bios | Boot Menu Key |
Acer | F2 | F12 |
ASUS | F2 | Esc |
Compaq | F10 | Esc, F9 |
Dell | F2 | F12 |
Gigabyte | F2 | – |
HP | F10 | Esc, F9 |
Lenovo | F1, F2 | F12 |
MSI | Del | F11 |
NEC | F2 | F5 |
Samsung | F2 | Esc |
Sony | F2 | F11 |
Sharp | F2 | – |
Toshiba | F2 | F12 |
**ข้อสังเกต: Bios Key ของแต่ละเครื่องขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่น ทั้งนี้ข้อมูลในตารางจึงอาจมีความคลาดเคลื่อน ทั้งนี้จึงควรสอบถามจากตัวแทนของแต่ละยี่ห้อโดยตรง**
ทั้งนี้เราจะต้องตรวจสอบ PC / Notebook ของเราด้วยว่าใช้รุ่นไหนอยู่ จากนั้นให้กดปุ่ม Bios Key ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากำลัง Boot อยู่ (ในกรณีที่กดไม่ทันก็ให้ทำการ Restart เครื่องแล้วกดใหม่อีกครั้ง ยกเว้นแต่ใน Windows 10 ที่สามารถเข้าผ่านหน้า Desktop ได้เลย)
สำหรับการเข้าหน้า BIOS ผู้ใช้ควรมีความรู้ในการเข้าไปใช้งาน/แก้ไข Bios ในระดับหนึ่ง เพราะหากแก้ไขค่าผิดหรือไปปรับแต่งค่าต่าง ๆ ด้วยความไม่รู้อาจส่งผลร้ายถึงขั้น Boot เครื่องไม่ติดได้เลย