สวัสดี ครับ วันนี้มาดูอะไรดีๆเกี่ยวกับ Battery Notebook กันดีกว่านะครับ ผมขอเกริ่นก่อนละกันนะครับ ผมก็เหมือนทุกๆท่านที่ใช้ Notebook
ผมว่าทุกๆท่านที่ได้อ่านบทความนี้ก็น่าจะมี Notebook หรือไม่ก็เคยใช้ผ่านมือมาบ้างรวมไปถึงอุปกรณ์ไอทีประเภทต่างๆด้วยนะครับ แต่ในที่นี้ผมจะขอกล่าวถึงแบตเตอรี่ของ Notebook เป็นหลักนะครับ ซึ่งโดยปกติแล้วแบตเตอรี่ Notebook จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ
1. แบตเตอรี่ Ni-Cd
2. แบตเตอรี่ NiMH
3. แบตเตอรี่ Li-Ion
4. แบตเตอรี่ Li-Polymer
ซึ่งในปัจจุบัน Notebook ของเราส่วนใหญ่ก็จะใช้แบตเตอรี่ที่เป็นชนิดของ Lithium Ion (Li-Ion) ซึ่งข้อดีของตัว Li-Ion นั้นก็คือสามารถชาร์จไฟค้างไว้ได้ตลอดและสามารถชาร์จไฟเมื่อไหร่ก็ได้ไม่ว่า แบตเตอรี่จะเหลือมากหรือน้อยแค่ไหนนั่นเอง โดยจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ Memory Effect* (ซึ่งมีผลกับแบตเตอรี่รุ่น Ni-Cd และรุ่น NiMH) แต่ Notebook บางรุ่นหรือบางยี่ห้อก็ได้นำแบตเตอรี่รุ่นใหม่มาใช้ก็คือแบตเตอรี่ชนิด Li-Polymer ซึ่งข้อดีของตัว Li-Polymer นั้นก็จะเป็นด้านการใช้งานทางด้านการพกพาเป็นหลัก และได้ปรับปรุงแก้ไขข้อเสียของแบตเตอรี่รุ่น Li-Ion อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า มีน้ำหนักที่เบากว่ามากและมีประสิทธิภาพสูงกว่า Notebook ที่ได้นำมาทดลองใช้ก็มี Lenovo ThinkPad X300 เป็นต้น
มาชมรูปแบบของ Battery Notebook ทั้งสองชนิดกันดีกว่า
Li-Polymer
Li-Ion
Memory Effect
คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่ทุกๆชนิด คือถ้าหากมีการใช้พลังงานไฟฟ้าของแบตเตอรี่ไม่หมด แล้วนำไปชาร์จไฟใหม่ ทำแบบนี้หลายๆครั้ง ก็จะเกิดภาวะที่เรียกว่า Memory Effect ขึ้นมา เนื่องจากประจุไฟฟ้าในไส้แบตเตอรี่ยังถูกใช้หมด แต่ถูกสะสมอยู่ในการชาร์จไฟเข้าไปใหม่ ในขณะที่ยังมีประจุไฟฟ้าเดิมค้างอยู่ย่อมทำให้ตัวแบตเตอรี่ไม่สามารถเก็บ ประจุไฟฟ้าในค่าเดิมได้ และหากเกิดขึ้นบ่อยๆ เข้า แบตเตอรี่ก็จะเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับแบตเตอรี่ชนิด Ni-Cd ส่วนแบตเตอรี่ Li-Ion และ Li-Polymer ก็จะไม่ได้รับผลกระทบเพราะได้ถูกพัฒนาและใช้วงจรในการตรวจสอบแก้ไขจนหลีก เลี่ยงปัญหาดังกล่าวได้
ชาร์จแบตเตอรี่อย่างไรถึงจะดี?
สำหรับปัจจุบันนั้น Notebook ทั่วไปจะเลือกใช้งานแบตเตอรี่เป็นแบบ Li-Ion และ Li-Polymer แทบจะทั้งหมดครับ ซึ่งแบตเตอรี่ทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดีคือ สามารถชาร์ทอย่างไรก้ได้ตามใจฉัน เพราะเงื่อนไขของการเสื่อมนั้น จะมาจากอย่างอื่นแทน ซึ่งปัจจัยที่เราเกี่ยวข้องด้วยจะมีเพียงแค่ในเรื่องของความร้อนเท่านั้น เพราะความร้อนจากตัวเครื่องของตัวเครื่อง Notebook นั้นจะสามารถส่งผลกระทบทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้เช่นกัน ส่วนปัจจัยอื่นๆนั้นอยู่นอกเหนือการควบคุมครับ เช่น เรื่องการเสื่อมสภาพลงนับตั้งแต่วันที่ถูกผลิตแล้ว หรือจะเป็นเรื่องของการชาร์ทด้วยกระแสมากน้อยต่างกัน เพราะ Adapter ที่เราได้รับมาจากทางผู้ผลิตนั้นเป็นแบบปรับค่าไม่ได้ จึงไม่ต้องไปกังวลในจุด… แต่
ภาพที่ 1 แสดงลักษณะการชาร์ทของแบตเตอรี่แบบ Li-on
ลักษณะการชาร์ทโดยทั่วไปของแบตเตอรี่แบบ Li-on นั้นจะมีการชาร์ที่แบ่งออกเป็น 3 Stage ดังภาพ คือ Stage ที่ 1,2 และ 3 โดย Stage ที่ 1 นั้นจะมีการอัดประจุเข้าไปโดยใช้กระแสที่ค่อนข้างสูงกว่า Stage ที่ 2 และ 3 ถัดจากนั้นก็จะลดหลั่นลงมาเรื่อยๆ จนถึง Stage ที่ 3 จะมีการใช้กระแสน้อยที่สุด ซึ่งใครที่ชาร์ทแบตเตอรี่บ่อยๆคงจะสังเกตเห็นกันว่าที่ระดับ 90% ขึ้นไปนั้นทำไมมันช่างชาร์ทนานซะเหลือเกิน – – แตกต่างจากกาชาร์ทที่ระดับต่ำๆมาถึงระดับ 70-80% ซึ่งเหตุผลนี้เป็นเพราะว่าใน Stage ที่ 1 นั้น ผู้ผลิตแบตเตอรี่ต้องการที่จะลดเวลาในการชาร์ทลงให้ได้มากที่สุด(ขืนใช้งาน 2 ชั่วโมง ชาร์ทกัน 10 ชั่วโมงมีหวังได้โดนผู้ใช้ด่ากันขรมแน่ๆ ^^) จึงออกแบบมาให้ Stage ที่ 1 นั้นชาร์ทโดยใช้กระแสสูงๆเพื่อประหยัดเวลา ส่วนStage ที่ 2 และ 3 นั้นก็จะค่อยหันกลับมาชาร์ทแบบถนอมอายุการใช้งาน ถนอมอย่างไรนั้นเราไปชมภาพกันเลยดีกว่าครับ
ภาพที่ 2 แสดงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ชาร์ทด้วยกระแสระดับต่างๆ
อธิบายกันก่อน การชาร์ทที่ระดับ 1C นั้นหมายถึง ถ้าสมมติว่าแบตเตอรี่มีขนาด 20Ah แล้วเราทำการชาร์ทด้วยกระแส 2A เท่ากับว่าเราต้องใช้เวลาในการชาร์ท 10 ชั่วโมง หรือนั่นก็คือ C/10 ได้เท่ากับ 0.1C นั่นเองครับ แต่หากว่า เป็น 1C นั่นก็หมายความว่าเราชาร์ทด้วยกระแส 20A เป็นเวลา 1 ชั่วโมงครับ ซึ่งก็จะเช่นเดียวกันกับ 2C และ 3C คือการเพิ่มระดับกระแสเข้าไปมากขึ้นให้ใช้เวลาในการชาร์ทที่น้อยลง
แต่จากภาพจะเห็นได้ว่าเมื่อชาร์ที่ระดับ 2C และ 3C นั้น จะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าแบบ 1C ดังนั้นเมื่อเรานำภาพที่ 1 และ 2 มาพิจารณาร่วมกัน ก็จะเห็นได้ว่า หากเราใช้งาน Notebook โดยเริ่มชาร์ทกันที่ Stage 2 ขึ้นไป(จากภาพที่ 1)ก็น่าจะยืดอายุการใช้งานของ แบตเตอรี่ออกไปได้นานกว่าการชาร์ที่ระดับ 1 เสมอๆครับๆ เพราะมีการใช้กระแสในการชาร์ทที่ต่ำกว่า ซึ่งแบตเตอรี่แต่ละยี่ห้อก็จะมีการแบ่งระดับการชาร์ทที่แตกต่างออกไป แต่ผมแนะนำว่าควรจะชาร์ทเมื่อแบตเตอรี่มีระดับพลังงาน 60% ขึ้นไป น่าจะอยู่ใน Stage 2 หรือ Stage 3 ในบางยี่ห้อครับ
สำหรับทฤษฏี นี้อาจจะยังไม่มีการยืนยันโดยตรงแต่ก็ไม่เสียหายอะไรที่จะดูแลโดยขั้นตอนนี้ ครับ เพราะตัวแบตเตอรี่แบบ Li-on นั้นไม่มี Memory Effect อยู่แล้ว ฉะนั้นจะชาร์ทกันซักกี่พันรอบก็ไม่มีปัญหาอะไร นอกจากนี้ยังมีคำเตือนในเรื่องของการอย่าใช้แบตเตอรี่จนหมดในแบตเตอรี่ชนิด Li-on ซึ่งผมว่ามันก็น่าจะสมเหตุสมผลกันอยู่ ใครว่างๆอยากจะลองทดสอบกันดูก็ได้นะครับ ^^ แต่ถ้าแบตเตอรี่เสื่อมแล้วจะหาว่าไม่เตือน หุหุ
This Sector Edited by: mnssp04
การนับรอบการชาร์จ (Cycle)
การนับรอบการชาร์จของแบตเตอรี่รุ่น Li-Ion และ Li-Polymer จะนับจากการชาร์จไฟรวมที่ประมาณ 85 ? 95 %(ขึ้นอยู่กับสถานะสูงสุดของแบตเตอรี่ที่สามารถรับไฟได้) ของแบตเตอรี่ โดยจะเริ่มนับเป็น 1 รอบ ยกตัวอย่างเช่น ที่แบตเตอรี่ประสิทธิภาพ 100% ท่านใช้เหลือ 80% ก็คือใช้ไปแล้ว 20% คุณก็สามารถที่จะทำแบบนี้ได้อีก 5 ครั้ง ถึงจะเป็น 100% ของการชาร์จรวมทั้งหมด นี่คือการนับเป็น 1 รอบของการชาร์จแบตเตอรี่นั่นเอง ซึ่งสองรุ่นนี้จะต่างจากรุ่น Ni-Cd และรุ่น NiMH ซึ่งนับรอบการชาร์จจากจำนวนครั้งในการชาร์จไฟ ซึ่งให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่สั้นมาก
แล้วเราควรจะใส่หรือถอดแบตเตอรี่ดีเอ่ย?
โดยทั่วไปแล้ว เราส่วนใหญ่ก็คงรู้กันดีว่าถ้าหากไม่ได้มีการใช้ Notebook เป็นเวลานานก็ควรถอดแบตเตอรี่ออกจาก Notebook เนื่องจากเมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าครบวงจรยังไงก็ต้องมีกระแสไฟฟ้าไหลอย่างแน่นอน ซึ่งอาจทำให้แบตเตอรี่สูญเสียพลังงานโดยใช่เหตุ และอาจเป็นการลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ไปในตัว แต่ท่านเคยคิดหรือไม่ว่าถ้าถอดแบตเตอรี่ออกมาแล้วเราควรจะเอามันไปเก็บไว้ ที่ไหนดี หรือเก็บยังไงดี? ถึงจะปลอดภัยและมีอายุการใช้งานสูงสุด
ตารางแสดงการสูญเสียพลังงานอัตราการชาร์จของแบตเตอรี่ต่อระดับอุณหภูมิ
โดยจากตารางผมสรุปได้ว่าหากทำการเก็บแบตเตอรี่ที่อุณหภูมิปกติ (ประมาณ 25 องศา) แบตเตอรี่ที่มีความจุ 40% จะคลายประจุออกมา 4% ในระยะเวลาผ่านไป 1 ปี และยิ่งถ้าเก็บแบตเตอรี่ในที่ๆมีอุณหภูมิสูง อัตราการคลายประจุก็จะเพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่แบตเตอรี่ที่มีความจุเต็ม 100% ก็จะคลายประจุออกมาถึง 20% หลังจากผ่านไป 1 ปี และหากอุณหภูมิ การเก็บสูงขึ้นอัตราการคลายประจุก็จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าหากต้องการถอดและเก็บแบตเตอรี่นั้นควรให้แบตเตอรี่มีพลังงาน ที่ 40% และควรเก็บในสถานที่ๆมีอากาศเย็น โดยปราศจากความชื้น (40% Charge นี้เป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดจากผลการทดลองทางแบตเตอรี่)
แต่ในกรณีที่มีการใช้งาน Notebook แบบปกติแล้ว ก็ควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มความจุทุกครั้ง โดยประมาณ 4 ? 8 ชั่วโมง