หลายท่านที่เป็นผู้ใช้พีซีมือใหม่อาจจะส่งสัยกันว่าซีพียูบางตัวทำไมแพง การ์ดจอบางตัวทำไมราคาเป็นแสนเล่นเกมก็ไม่ได้ หรือพีซีบางเครื่องสเปคก็ดูงั้นๆแต่ทำไมมันแพงเวอร์ หรือกระทั้งคำว่า Workstation มันคืออะไรกันมันคือพีซีแบบไหน และมันต่างจากพีซีทั่วไปที่เราประกอบกันอย่างไรวันนี้ทีมงานขอพาไปรู้จักกันครับ
Workstation คืออะไร
Workstation คือพีซีที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานเฉพาะทางไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ (CAD: Computer Aided Design) งานบัญชี สถิติหรืองานตัดต่อวิดีโอ (Video Editing) ไปจนถึงงานด้านการแพทย์ที่ต้องการพลังประมวลผลระดับสูง เครื่องซึ่งประมวลได้รวดเร็วกว่าพีซีทั่วไป และทำงานได้ราบลื่นไม่มีปัญหาการใช้งานโดยเฉพาะโปรแกรมเฉพาะทางอย่างที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งแม้พีซีทั่วไปจะใช้งานได้แต่ก็ประมวลผลได้ช้ากว่าแม้จะเป็นพีซีราคาแพงแต่ก็ยังประวลผลโปรแกรมเหล่านี้ได้ช้ากว่า Workstation ราคาถูกกว่าเสียอีก เพราะการ์ดจอและสเปคอื่นๆออกแบบมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ แต่ถ้าถามว่าใช้โปรแกรมอื่นๆทั่วไปได้ไหม ตอบเลยว่าได้แต่ก็คงไม่จำเป็นต้องถึงขั้นใช้ Workstation ทำงานเหล่าหรอกครับพีซีก็เพียงพอแล้ว
หลักๆ Workstation ออกแบบมาเพื่อการทำงานเฉพาะทางโดยเฉพาะงานออกแบบ ,วิศวกร ,ตลาดหุ้น นักวิจัยด้านต่างๆ ไปจนถึงด้านการแพทย์เช่นการวิเคราห์อาการคนไข้ ฟิล์มเอกซเรย์ ล้วนแต่ใช้ Workstation เพื่อการทำงานเหล่านี้กับโปรแกรมที่รองรับ หรืองานที่ต้องคำนวนข้อมูลซึ่งซับซ้อนปริมาณมาก แม้แต่งานระดับเริ่มต้นก็แนะนำว่าใช้งาน Workstation ก็ยังดีกว่าประกอบพีซีมาใช้งาน
ความแตกต่างระหว่าง Workstation กับพีซี
- ราคา – ถือเป็นจุดแตกต่างที่เห็นได้ง่ายที่สุด ซึ่งพีซีราคาเริ่มต้นตอนนี้ไม่ถึงหมื่นก็มีให้เลือกแล้ว ไม่นับพวกประกอบที่เน้นการเล่นเกมใช้งานด้านกราฟิกบ้างอาจจะอยู่ที่ราวๆ 15,000 บาท ส่วนเล่นเกมได้ลื่นๆระดับท๊อปอาจจะอยู่ที่ 40,000 – 50,000 บาทขึ้นไป แต่สำหรับ Workstation นั้นจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 20,000 บาท กับสเปคที่อาจจะเป็นเพียงการ์ดจอออนบอร์ด แต่การันตีการใช้งานด้าน Workstation ได้ หรือถ้าอยากใช้งานด้านนี้โดยเฉพาะแบบลื่นไหล อาจจะต้องมีเงินระดับหลักแสนบาทเลยทีเดียวครับ
- ประสิทธิภาพ – พีซีทั่วไปสามารถใช้งานต่างๆ เล่นเกมหนักๆ หรือตัดต่อวีดีFอก็ได้อยู่ แต่ไม่ใช่สำหรับงานเฉพาะทางที่ต้องการประมวลผลต่อเนื่องยาวนาน หรือคำนวนด้านกราฟิก ด้านการแพทย์ไปจนถึงการคำนวนขั้นสูงซึ่งถ้าเราใช้พีวีทำงานเหล่านี้อาจจะต้องใช้เวลานาน หรือไม่สามารถทำงานได้ ไปจนถึงอาการค้าง แฮงค์ กระตุกอันเนื่องมาจากการทำงานที่หนักเกินไป (แม้จะเป็นพีซีราคาแพงก็ตาม) แต่สำหรับ Workstation สามารถทำงานเหล่านั้นได้ลื่นไหลไม่มีสะดุด และยังรวดเร็วกว่าเครื่องพีซีเสียด้วยซ้ำไปครับ หรือจะเปิดโปรแกรมใช้งานพร้อมๆกันก็ยังเอาอยู่ ไม่มีอาการสะดุด
- ความทนทาน – ถือเป็นอีกปัจจัยที่ผู้ใช้ Workstation ต้องการ เพราะพีซีทั่วไปทั้งพีซีแบรนด์ เครื่องพีซีประกอบไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้งานต่อเนื่องยาวนาน แม้ในความเป็นจริงผมเชื่อว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่เคยเปิดเครื่องทั้งวันทั้งคือนโดยไม่ปิดมาแล้ว และหลายท่านจะบอกว่ามันก็ทำงานได้นิ แต่ความเป็นจริงพีวีมีโอกาสที่จะดับ จะแฮงค์ หรือกระตุกได้ตลอดเวลาอันเนื่องมาจากความทนทานของอุปกรณ์ โปรแกรม ไปจนถึงตัวของวินโดวส์ที่ไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้งานต่อเนื่องนานนาน แต่ขณะที่ Workstation หรือกระทั่ง Server ทุกชิ้นส่วนออกแบบมาให้มีความทนทานสูงกว่า วัสดุที่ดีกว่า ไปจนถึงตัวโอเอสที่สามารถปรับแต่งได้มากกว่า เพื่อการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ เป็นเดือนเป็นปีโดยไม่ปิดก็ยังได้ สามารถแรงเดอร์งานต่อเนื่องได้โดยไม่ค้างให้ความเชื่อถือที่มากกว่า ขณะที่พีซีแค่แรนเดอร์วีดีโอตัวนึงเรายังต้องมานั่งลุ้นเลยว่าค้างไหม ดับไหม
แล้ว Workstation มันดีกว่าพีซีตรงไหนกัน
- Core ของซีพียูที่มากกว่า – แม้ปัจจุบันซีพียูของพีซีทั่วไปจะมีคอร์มากเท่าไรก็ตาม แต่ยังเทียบไม่ได้กับซีพียูที่ออกแบบมาเพื่อตลาด Server หรือ Workstation โดยเฉพาะ Intel Xeon ที่ให้คอร์ระดับหลัก 10 มานานแล้ว และยังพัฒนามาถึงสูงสุดตอนนี้ที่ 56 คอร์ (112 เทรด) อีกทั้งยังมีแคชที่สูงกว่าถึง 70 เมกะไบท์ (ใน Intel xeon 9282) หรือจะรุ่นราคาประหยัดก็มีให้เลือกกับคอร์เทรดที่อาจจะไม่ต่างจากซีพียูเครื่องพีซีทั่วไป แต่มาพร้อมจุดเด่นเรื่องของความทนทานที่การันตีให้งานต่อเนื่องได้ 24 ชั่วโมง เมนบอร์ดบางรุ่นยังรองรับ 2 ซีพียู ทำให้สามารถรองรับการประมวลผลหนักๆได้อีกเท่าตัว
- GPU ระดับ Quadro ,Firepro – อีกหนึ่งจุดแตกต่างของ Workstation ก็คือการ์ดจอที่ออกแบบมาเพื่องานเฉพาะทาง ซีรีย์การืดจอที่หลายท่านน่าจะเห็นขายกันในราคาเริ่มต้นหลักพันกับการ์ดจอที่ดูง่อยๆ ไปจนถึงราคาหลักหลายแสน ที่บางท่านแซะว่าการ์ดจอก็แพงแต่เล่นเกมอะไรสูงการ์ดจอถูกๆไม่ได้ ใช่ครับมันเล่นไม่ได้เพราะมันไม่ได้ออกแบบมาไว้ให้เล่นเกม แต่มันออกแบบมาเพื่อการทำงานเฉพาะทางเช่นงานด้านวิศวกรรม การแพทย์พวกเครื่อง CT scan ,MRI ที่ต้องประมวลผลด้านภาพ ไปจนถึงการทำงานแอนนิเมชั่นขั้นสูงแบบที่เราเห็นการ์ตูน Disney และการสร้างเกมให้เราได้เล่นกันเขาก็ใช้การ์ดจอพวกนี้ทำงานครับ คงไม่ได้ใช้ RTX 2080 Ti มาแรนเดอร์ ironman ให้เราได้ดูหรอกครับ และที่เห็นว่าแพงๆแบบนี้ บางท่านซื้อมาทำงานแค่ไม่กี่ชิ้นเขาก์ได้ค่าการ์ดจอคืนแล้วนะครับ
- RAM แบบ ECC – แรมที่เราใช้งานกันส่วนใหญ่กับที่ใช้ใน Server ,Workstation ต่างกันพอสมควรโดยจะเป็นแรมแบบ ECC หรือว่าแรมจะสามารถตรวจสอบความผิดพลาดได้เอง เช่นเมื่อมีการเรียกใช้งานข้อมูลจากแรม มันจะช่วยแก้ไข้ข้อมูลที่ผิดพลาดได้เองอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้กระทบกับระบบอื่น ช่วยลดปัญหา Downtime ของข้อมูล ทำให้ประมวลผลได้รวดเร็วขึ้น หรือเรียกง่ายๆว่าลดอาการแฮงค์ กระตุก หรือเครื่องช้า ไปจนถึงเครื่องเปิดไม่ติดอันเนื่องมาจากตัวแรมได้ครับ
- รองรับ RAID ที่สูงกว่า – แม้พีซีในปัจจุบันจะรองรับ RAID กันเกือบหมดแล้ว โดยเฉพาะเมนบอร์ดระดับท๊อป แต่บน Workstation ยังคงเหนือกว่าด้วยการรองรับ RAID เกือบทุกรูปแบบ และยังออกแบบให้ปรับแต่งได้ตามต้องการ สามารถติดตั้งฮาร์ดดิสค์หรือหน่วยความจำได้มากกว่า ทั้งพอร์ตบนเมนบอร์ด และช่องติดตั้งในเคส อีกทั้งยังสามารถเพิ่มการ์ด RAID แบบเฉพาะทางได้อีก
- การันตีความเข้ากันได้ – สำหรับผู้ที่ซื้อ Workstation แบรนด์นอกจากประกอบเครื่องมาให้เสร็จพร้อมใช้งานแล้ว ยังการันตีความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ว่าแต่ละชิ้นสามารถำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา ด้วยการทดสอบในโรงงานมาเป็นสิบๆหรือร้อยๆชั่วโมง เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าใช้งานร่วมกันได้ทุกอุปกรณ์
- ออปชั่นที่เหนือกว่า – เช่นเมนบอร์ดที่รองรับซีพียู 2 ตัว รองรับแรมได้ถึง 8 – 12 แถว สามารถใส่พาวเวอร์ซัพพลายได้ถึง 2 ตัว Bay HDD แบบ hot seap และอื่นๆอีกมากมาย
- การรับประกัน – จะเรียกว่าเหมือนพีวีแบรนด์เลยก็ไม่ผิดนัก เพราะการรับประกันจะเป็นแบบซ่อมฟรีถึงที่ ไม่ว่าอุปกรณ์ไหนจะเสีย ไม่ต้องยกไปให้ร้านซ่อมโดยเฉพาะตามองค์กรหรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซื้อ Workstation หรือ พีซีประกอบเสียแล้วยังต้องเสียเวลายกไปซ่อมอีก โดยเฉพาะแบรน์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Dell ,Lenovo ,HP ซ่อมฟรีถึงที่ทั่วไทย ในการรับประกันเริ่มต้นที่ 1-3 ปี และยังสามารถซื้อเพิ่มได้ถึง 5 ปีเลยทีเดียว ซื้อแพงแต่ก็ใช้งานได้อีกยาว
แล้วพีซีใช้งาน Workstation ได้ไหม
ตอบเลยว่าทำได้ เพราะอย่างงานตัดต่อวีดีโอที่เมื่อก่อนต้องใช้เครื่อง Workstation เท่านั้น ตอนนี้พีซีแค่หลักหมื่นก็สามารถตัดต่อได้ (แต่ก็มีโอกาสแฮงค์หรือค้างง่ายกว่า แรนเดอร์ทีก็ต้องมารอลุ้น) หรืออย่างงานด้านวิศวกรรม เช่นการเขียนแบบ CAD พีซีก็สามารถทำงานได้ แต่ก็จำเป็นต้องใช้สเปคที่สูงสักหน่อย และอาจจะทำงานได้ช้ากว่า และแฮงค์หรือค้างง่ายกว่าเช่นเดียวกันครับ แต่กับบางโปรแกรมหรืองานบางอย่างเช่นด้านการแพทย์ การคำนวนข้อมูลปริมาณมาก ไปจนถึงงานด้านวิศวกรรมขั้นสูงเช่นออกแบบตึกสูงหรือคอนโดนยังไง Workstation ก็ยังจำเป็นอยู่ สมมุติเขียนแบบคอนโดพันยูนิท เพื่อนๆคงไม่ฝากชีวิตไว้กับพีซีหลักหมื่นใช่หรือไม่ครับ
สรุปคือพีซีทำงาน Workstation ได้ แต่ก็ต้องมีราคาสูงพีซียูมากคอร์ การ์ดจอแพงๆระดับ RTX หรือ VAGA แต่สุดท้ายก็ยังต้องมาลุ้นว่าคอมจะค้าง จะแฮงค์ไหม และอาจจะทำงานบางโปรแกรมได้ช้ากว่า Workstation ที่ประมวลผลได้เร็วกว่า ทำงานได้ราบลื่นไม่มีแฮงค์ให้สะดุด อุปกรณ์ที่ทานทานใช้งานได้ต่อเนื่องกว่า แต่ก็มาในราคาที่แพงกว่าเยอะ++
##แล้วเพื่อนๆละรู้จัก Workstation ดีแค่ไหน##