Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 จัดว่าเป็น Gaming Notebook ราคาถูกคุ้มที่หลายๆ คนพูดถึงกัน ด้วยราคาและสเปกที่คุ้มค่า จากชิปปประมวลผล Intel Core i5-9300H/i7-9750H หรือ AMD Ryzen 5 3550H/Ryzen 7 3750H โดยใช้การ์ดจอตั้งแต่ NVIDIA GeFroce GTX 1050 – RTX 2060 ซึ่งทั้ง Acer Nitro 5 และ ASUS TUF FX505 มีให้เลือกหลากรุ่นหลายสเปกกันอีกทีด้วย สนนราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 19,900 บาทเท่านั้นเอง จัดว่าถูกมากๆ หรือถ้าอยากได้สเปกแรงที่สุด ก็จะอยู่ที่ราคา 36,900 บาท
แน่นอนว่าทำให้บางคนนนั้นเลือกซื้อกันไม่ถูก ในบทความนี้เราก็เลยจะนำ Acer Nitro 5 VS ASUS TUF FX505 มาเทียบให้ดูกันแต่ละจุดอีก โดยแบ่งออกเป็น 10 ประเด็นชัดๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของ รุ่น สเปก ราคา / ดีไซน์ความบางเบา / หน้าจอ ลำโพง / การระบายความร้อน / การใช้งานแบตเตอรี่ / การแกะงัดอัพเกรด / ซอฟต์แวร์ติดเครื่อง / ฟีเจอร์เสริมอื่นๆ / ประสิทธิภาพการเล่นเกม รวมถึงการรับประกันและบริการ ที่น่าจะเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆ ตัดสินใจเลือกซื้อกันได้ ยังไงอ่านเสร็จแล้วบอกกันหน่อยว่า จะซื้อหรือซื้อไปแล้วรุ่นไหน ??? เพราะอะไร ???
รุ่น / สเปก / ราคา
Acer Nitro 5 ปี 2019 เพราะมาพร้อมกับสเปกใหม่ล่าสุดด้วยชิปประมวลผล Intel Core i Gen 9 อย่าง Core i5-9300H หรือ i7-9750H ที่สำคัญได้การ์ดจอรุ่นใหม่มาเสริมทัพอัพเดทอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1660 Ti/1650 ที่เป็นรุ่นใหม่ของ GTX เน้นความแรงและคุ้มค่าเป็นหลัก รวมไปถึงยังมีการ์ดจอ GTX 1050 รุ่นใหม่แต่ปรับสเปกเป็น 3GB GDDR5 เป็นตัวเลือกอยู่ (เดิมเป็น 4GB GDDR5) ส่วนรุ่นถูกสุดจะเป็นชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 3550H ทำงานร่วมกับการ์ดจอ Radeon RX560X
ส่วนสเปกอื่นๆ มีทั้งรุ่นมีที่เก็บข้อมูลฮาร์ดดิสก์ HDD ความจุ 1 TB หรือรุ่นที่ใส่ SSD M.2 NVMe ที่ 512GB มาเลย (รองรับใส่ได้ 2 ช่อง) หรือใส่ทั้งคู่มาเลย ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 8GB – 16GB แบบ DDR4 Bus 2666 สามารถอัพเกรดได้สูงสุด 32 GB อีกทั้งมีทั้งรุ่นหน้าจอพาเนล IPS ที่ 60Hz และ 144Hz มาให้เลือกด้วย ตามแต่ความต้องการ เรียกได้แบ่งรุ่นออกเยอะเหมือนกัน ยังไงให้แนะนำคือ ควรซื้อรุ่นที่มี SSD มาเลย ไม่ก็ซื้อแล้วต้องอัพเกรดให้มี SSD ทันที
Acer Nitro 5 ปี 2019 มีราคาเริ่มต้นที่ 21,990 บาท ไปจนถึง 36,990 บาท ทุกรุ่นประกัน 3 ปี On-site Service ทั้งหมด แบ่งสเปกราคาตามนี้
- Ryzen 5 3550H / RX560X / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 144Hz ราคา 21,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1050 / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 23,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1650 / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 25,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1050 / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 60Hz ราคา 26,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1650 / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 144Hz ราคา 27,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1650 / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 144Hz ราคา 28,990 บาท
- Core i7-9750H / GTX 1050 / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 31,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1660Ti / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 32,990 บาท
- Core i7-9750H / GTX 1650 / RAM 8GB / SSD 128GB + HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 35,990 บาท
- Core i7-9750H / GTX 1650 / RAM 16GB / SSD 128GB + HDD 1TB / จอ 144Hz ราคา 36,990 บาท
สเปกของ ASUS TUF Gaming FX505 ไม่ว่าจะเป็น DY/DD/DT/DU/DV เลือกใช้ชิปประมวลผลเป็น AMD ทั้งหมด โดยมีทั้ง Ryzen 5 3550H และ Ryzen 7 3750H สถาปัตยกรรม 12 นาโนเมตร ประสิทธิภาพแรง พร้อมฟีเจอร์มากมาย เช่น SenseMI คอยจัดการให้เหมาะสมกับการใช้งานอย่างที่ไม่มีใน Intel ผสานกับการ์ดจอออนบอร์ดที่เป็น Radeon RX Vega 8 / Vega 10 ส่วนการ์ดจอก็มีตั้งแต่ Radeon RX560X และ GeFroce GTX 1050 จนไปถึงแรงระดับ RTX 2060 (6GB GDDR6) ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า GTX รุ่นใหม่ทั้งหมด นับได้ว่าเป็นส่วนผสมที่ลงตัวมากๆ ทีเดียว หาได้ยากใน Gaming Notebook รุ่นอื่นๆ
ส่วนสเปกอื่นๆ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ได้หน้าจอขนาด 15.6″ ที่ 120Hz หรือ 60Hz แบบ NanoEdge ขอบจอบาง ความละเอียด Full HD พาเนล IPS ในทุกๆ รุ่น โดยใส่แรมมาแล้วขนาด 8GB – 16GB สามารถติดตั้งแรมได้สูงสุด 32GB DDR4 Bus 2666 รวมไปถึงที่เก็บข้อมูลก็รองรับทั้ง SSD M.2 NVMe ที่ความจุ 512GB ในบางรุ่น หรือบางรุ่นก็จะใส่ฮาร์ดดิสก์ปกติ HDD SATA 3 ที่ความจุ 1TB ที่เราสามารถเลือกอัพเกรดเพิ่มเติมได้ภายหลังด้วย
ASUS TUF Gaming FX505 มีราคาเริ่มต้นที่ 19,900 บาท จนไปถึง 36,900 บาท การรับประกัน 2 ปี ส่งเคลม 7-11 และที่สำคัญเมื่อเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกจากทาง ASUS โดยแบ่งได้ตามนี้
- Ryzen 5 3550H / RX560X / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 120Hz ราคา 19,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / RX560X / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 21,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / GTX 1050 / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 20,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / GTX 1050 / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 60Hz ราคา 22,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / GTX 1650 / RAM 8GB /HDD 1TB / จอ 120Hz ราคา 22,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / GTX 1650 / RAM 8GB /SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 24,900 บาท
- Ryzen 7 3750H / GTX 1650 / RAM 8GB /SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 26,900 บาท
- Ryzen 7 3750H / GTX 1660Ti / RAM 8GB /SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 29,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / RTX 2060 / RAM 16GB /SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 34,900 บาท
- Ryzen 7 3750H / RTX 2060 / RAM 16GB /SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 36,900 บาท
ดีไซน์ / ความบางเบา
เรื่องของการดีไซน์ออกแบบ Acer Nitro 5 (2019) หลักๆ ยังมีทรงคล้ายๆ เดิมแต่มีการปรับให้ตัวเครื่องมีความเล็กกระชับขอบจอบาง ส่งผลให้ตัวเครื่องมีความบางเบากว่าเดิมแน่นอน รวมไปถึงการพกพาก็สะดวกยิ่งขึ้น อย่าง Acer Nitro 5 รุ่นใหม่ (Acer Nitro AN515-54) หน้าจอ 15.6″ พาเนล IPS ขอบจอบางเพียง 7.18 มิลลิเมตร พื้นที่สัดส่วนกว่า 80% ทำให้มีขนาดเครื่องพอๆ กับโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 14″ แบบก่อน ที่น้ำหนักตัวเครื่อง 2.3 กิโลกรัม โดยมีรุ่นหน้าจอ Refresh Rate ที่ 60Hz และ 144Hz ให้เลือกตามความต้องการ วัสดุของตัวเครื่องทั้งหมดจะเป็นพลาสติกเกรดดี
สำหรับสีสันก็ยังคงเอกลักษณ์สีดำแซมด้วยสีแดงเอาไว้อยู่ อย่างโดดเด่นและสวยงาม ที่ต้องว่า Acer Nitro 5 ฝาหลังจะมีลักษณะลวดลายผิวไม่เรียบบริเวณด้านข้างซ้ายและขวา ฝาบนจะโลโก้คำว่า Acer สีดำคมเข้มไม่ธรรมดา ผิวฝาบนพื้นผิวเป็นพลาสติกมีสีดำด้านให้สัมผัสดีมีคุณภาพสูง พร้อมมีเกล็ดเล็กๆ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นรอยนิ้วมือง่ายนิดหนึ่ง ซึ่งคงต้องหมั่นคอยเช็ดทำความสะอาดสักหน่อย เวลามือมีเหงื่อออกแล้วไปจับ รวมไปถึงขอบตัวเครื่องบริเวณฝาพับ Acer Nitro 5 ปี 2019 จะเป็นสีแดงพร้อมกับมีคำว่า Nitro เอาไว้ โดยสามารถกางหน้าจอได้มากกว่า 145 องศาทีเดียว
ทางด้านหลังตัวเครื่องก็จะมีช่องระบายความร้อน 1 ช่องขนาดใหญ่ทางซ้ายเห็นเป็นลักษณะของฟินสีดำสนิท ส่วนช่องทางขวาจะเป็นช่องที่ดีไซน์คล้ายกันเป็นตะแกรงสีดำ แต่ไม่มีพัดลมติดตั้งอยู่ พร้อมแกนฝาพับจะเป็นสีแดง พร้อมมีตัวอักษรเขียนไว้ว่า Nitro แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะรุ่น ซึ่งดูสวยงามโดดเด่นมากเลยทีเดียว มีการติดตั้งปุ่ม Power ไว้มุมขวาบนสุดของชุดคีย์บอร์ด รวมไปถึงยังมีการติดตั้งปุ่ม NitroSense ไว้เหนือแป้นตัวเลขด้วย กดใช้งานได้สะดวกดี
ASUS TUF Gaming FX505 ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้รุ่นอื่นๆ อย่างในเรื่องของขอบหน้าจอบาง นั่นก็ทำให้ตัวเครื่องมิติโดยรวมมีความเล็กกระทัดรัดลง แม้เป็น Gaming Notebook หน้าจอ 15.6″ แต่ก็มีความใกล้เคียงกับโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 14″ แบบสมัยก่อนๆ มาก ส่วนน้ำหนักก็อยู่ที่ 2.2 กิโลกรัม จัดได้ว่าเป็น Notebook ที่สเปกแรงมากๆ แต่น้ำหนักเบาๆ พกพาสะดวก
ดีไซน์การออกแบบของ ASUS TUF Gaming FX505 เรียกได้ว่าถอดรูปแบบมาจาก FX505 รุ่นก่อนหน้านี้มาแบบเต็มๆ แล้วจับมาเปลี่ยนโทนสีเป็นโทนสีดำคล้ายกับรุ่น FX505 ตัวก่อนๆ โดยบอดี้ตัวเครื่องก็จะมีลักษณะที่เน้นเรื่องความโฉบเฉี่ยว ดุดัน โดยจะเปลี่ยนลายฝาหลังวัสดุจะเป็นพลาสติกสีดำ ทำเป็นลายขีดเส้นตัว X ผิวเรียบลายปัดเสี้ยน ตรงกลางฝาหลังมีโลโก้ ASUS สีเงินสะท้อนแสงสวยงาม สไตล์ Gaming Notebook ที่เรียบๆ โดย ASUS ให้ชื่อกับสีสันนี้ว่า Stealth Black
ส่วนด้านในจะเป็นพลาสติกแบบมีลวดลายคล้ายโลหะปัดเสี้ยนให้สัมผัสผิวไม่เรียบ ที่นอกสายสวยงามแล้วคือเป็นลายนิ้วมือได้ยาก นับว่าเป็รอะไรที่น่าประทับใจมากๆ ทั้งภายนอกและภายใน ที่ดูแล้วลงตัวกว่ารุ่นก่อนหน้าไปอีกขั้น ทางด้านพับตัวเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่วัสดุเป็นพลาสติกแข็งแรง พร้อมมีการตัดช่องเป็น V-Sharp ช่วงให้อากาศไหลผ่านได้ดีขึ้น และมีช่องระบายอากาศด้านบนคีย์บอร์ดเพิ่มเข้ามา
เรียกได้ว่าแนวทางการออกแบบของ Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน แน่นอนว่าเป็น Gaming Notebook คนละแบรนด์ ย่อมมีแนวทางการดีไซน์ที่ไม่เหมือนกันเป็นธรรมดา โดยส่วนของ Acer Nitro 5 (2019) ดูเน้นความเรียบง่ายที่เป็นการต่อยอดจาดรุ่นเดิม ส่วน ASUS TUF Gaming FX505 ก็จะมีความรายละเอียดที่มากว่า แต่ก็ต่อยอดมาจากรุ่นก่อนๆ เช่นเดียวกัน โดยมีมิติตัวเครื่องใกล้เคียงกับขอบจอบางเหมือนกัน แต่ที่เห็นได้ชัดคือน้ำหนักที่ ASUS FX505 เบากว่า Acer Nitro 5 ที่ 100 กรัม (จริงๆ ก็เหมือนจะมีผลอะไรมากมาย ฮาๆ)
หน้าจอ / ลำโพง
Acer Nitro 5 ปี 2019 มาพร้อมหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว แบบ Screen-to-Body เป็น 80% ด้วยขอบจอบางเพียง 7.18 มิลลิเมตร บนความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) ที่เลือกใช้ พาเนล IPS ให้มุมมองที่คมชัด สีสันสวยสดงดงามสมจริง ซึ่งจะมีรุ่นหน้าจอ Refresh Rate 60Hz และ 144Hz โดยพื้นผิวจอเป็นแบบจอด้าน Anti-Glare ช่วยลดแสงสะท้อนเวลาเรานำโน๊ตบุ๊คไปทำงานข้างนอก ซึ่งดูรวมๆ แล้งทั้งสีสันและความคมชัดจัดว่าใช้ได้เลยทีเดียว เหมาะกับการใช้งานทั่วไปหรือการเล่นเกม ดูหนังก็ทำได้ย่อมทำได้อย่างน่าประทับใจไม่มีปัญหา
ผลจากการทดสอบพบว่ารุ่น 60Hz นั้นจะมีประสิทธิภาพการแสดงผลที่เป็นรองกว่ารุ่นหน้าจอ 144Hz โดยรุ่น 60Hz ให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 61% และ Adobe RGB ที่ 46% ส่วนรุ่น 144Hz จะมีค่า sRGB ที่ 91% และ Adobe RGB ที่ 69% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอ เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันนั้นดีมากกว่าเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ซึ่งมีความเที่ยงตรงของสีสูง ส่วนความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 230 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าค่อนข้างสว่างกว่าหน้าจอโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่น สามารถไปทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงได้โอเคเลยทีเดียว
ส่วน ASUS TUF FX505 มีหน้าจอขอบจอบางเฉียบเพียง 6.5 มิลลิเมตรทั้งขอบด้านข้างและด้านบน ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) พาเนลเป็น IPS คุณภาพดี มุมมองกว้าง พื้นผิวจอแบบด้าน Anti-Glare รวมๆ ทั้งสีสันความคมชัดแล้วจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไปหรือการเล่นเกมก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ รวมไปถึงยังเป็นหน้าจอ 120Hz ทำให้ใช้งานเล่นเกม FPS ฉากเคลื่อนไหวเร็วๆ ได้อย่างลื่นไหลกว่าหน้าจอทั่วไปที่แค่ 60Hz รวมๆ แล้ว ถือว่าดีกว่ามาตรฐานของ Gaming Notebook ปี 2019 ทั่วไปมากทีเดียว
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB 62% และ AdobeRGB 46% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีเขียวและสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันระดับกลางๆ ค่อนไปทางดี ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 220 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คทั่วไป คือ พอสู้แสงกลางแจ้งได้ รวมไปถึงการทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพหน่อยก็ทำได้ดีเช่นกัน
สำหรับระบบเสียงลำโพงของ Acer Nitro 5 (2019) นั้นจะมีด้วยกัน 2 ตัวโดยจะอยู่ทางด้านล่างมุมซ้ายและขวาของเครื่องอย่างละตัว ลำโพงนั้นจะมีการวางตำแหน่งในลักษณะเฉียงลงไปยังพื้นเพื่อที่จะให้เสียงได้สัมผัสกับพื้นแล้วสะท้อนขึ้นมาก ซึ่งคุณภาพเสียงการใช้งานต่างๆ เมื่อใช้งานร่วมกับฟีเจอร์ Waves MaxxAudio ที่ผสานกับ Acer TrueHarmony เพิ่มประสิทธิภาพเสียงเบส เสียงสนทนา และระดับเสียงได้อย่างยอดเยี่ยม
และ ASUS TUF FX505 ลำโพงของตัวเครื่องใช้เป็นแบบ Stereo 2.0 แยกเสียงซ้ายขวาได้ชัดเจนดี ระบบเสียง DTS Headphone: X ทำให้มีเสียงดังฟังชัด มีน้ำหนัก ถือว่าเอามาเล่นเกมฟังเพลงได้ดีในระดับหนึ่งตามสไลต์เสียงจากลำโพงโน๊ตบุ๊ค ช่องลำโพงถูกออกแบบมาอย่างแนบเนียน อยู่ด้านข้างตัวเครื่องซ้ายขวา พร้อมทำสีสันเป็นสีแดง ช่วยแก้ปัญหาสำหรับบางคนที่เวลาพิมพ์งานข้อมืออาจจะไปปิดช่องลำโพงทำให้เสียงออกไม่เต็มที่ได้
การระบายความร้อน
Acer Nitro 5 (2019) มีเทคโนโลยี Acer CoolBoost และช่องระบายความร้อนคู่ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและระบายความร้อนด้วยพัดลมคู่ โดยมีช่องระบายความร้อนด้านหลังแถวยาว 1 แถวและช่องด้านข้างทางขวาอีก 1 ช่อง เมื่อมีการใช้งานที่หนักหน่วง CoolBoost จะเพิ่มความเร็วพัดลมมากขึ้น 10% และการระบายความร้อน CPU/GPU มากขึ้น 9% เมื่อเทียบกับโหมดอัตโนมัติ (ตามที่ Acer เคลมไว้) พร้อมจัดการระบบของเราแบบเรียลไทม์ด้วยซอฟต์แวร์ NitroSense ซึ่งครอบคลุมถึงอุณหภูมิ ความเร็วพัดลมและอีกมากมาย
ส่วนเรื่องอุณหภูมิในการใช้งานนั้น Acer Nitro 5 ปี 2019 เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 35 – 45 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 25 – 27 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัดสุด ด้วยการเปิดโหมดพัดลมระดับสูงสุดด้วยารปรับเป็น CoolBoots เพื่อให้พัดลมทำงาน 100%
ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของชิปประมวลผล CPU อยู่ที่ไม่เกิน 90 – 95 องศาเซลเซียส นับว่าไม่ได้ร้อนจนเกินไปนัก ส่วนการ์ดจอถือว่าเย็นทีเดียวโดยร้อนสุดเพียง 70 องศาเซลเซียสเท่านั้น โดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้กลับมากับขนาดตัวเครื่องเล็กกระทัดรัดพกพาง่ายกว่าเดิม สำหรับเสียงรบกวนในเวลาทำงานนั้นถือว่าดังประมาณนึง จากการที่เราสามารถเพิ่มรอบสูงสุดได้ด้วยโหมด CoolBoots นั่นเอง
ASUS TUF FX505 ใช้ระบบระบายความร้อนเป็น Hyper Cool สามารถปรับเร่งรับได้ ฟินระบายความร้อนสีแดง พร้อมมี Anti-Dust Tunnel สำหรับเป่าฝุ่นออกมาให้อีกด้วย จัดเต็มจริงๆ ให้มาครบไม่มีกั๊ก มีพัดลมขนาดใหญ่ 2 ตัว พร้อมระบายความร้อน 2 ช่องด้านหลัง หมดกังวลเรื่องฝุ่นที่ติดตรงครีบระบายความร้อนจุดสังเกตที่เปลี่ยนไปคือตัวเครื่องเลือกใช้ฮีทไปป์ 3 เส้นขนาดใหญ่
ส่วนเรื่องอุณหภูมิในการใช้งานนั้น ASUS TUF FX505 เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 30 – 40 – 50 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 35 – 45 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 25 – 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัดสุด ด้วยการเปิดโหมด Turbo
ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 90 – 92 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 75 – 80 องศาเซลเซียสโดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้กลับมา แน่นอนว่ามากกว่า Gaming Notebook ในสเปกเดียวกัน สำหรับเสียงรบกวนในเวลาทำงานนั้นถือว่าดังประมาณนึง จากการที่เราสามารถเพิ่มรอบสูงสุดได้ด้วยซอฟต์แวร์จากปกติที่จะเป็นแบบ Balance ก็สามารถทำได้
การใช้งานแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน Acer Nitro 5 ปี 2019 ครื่องนี้เป็นแบบฝังตามปกติ ความจุ 3750mAh ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับต่ำ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube พร้อมเปิดโปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราวๆ 7 ชั่วโมงโดยประมาณ เรียกได้ว่าน่าประทับใจทีเดียวกับการที่ Gaming Notebook จอ 15.6″ ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานขนาดนี้
แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS TUF Gaming FX505 ครื่องนี้เป็นแบบฝังตามปกติ ความจุ 4000mAh ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับกลางๆ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราวๆ 6 – 7 ชั่วโมงโดยประมาณ เรียกได้ว่าน่าประทับใจทีเดียวกับการที่ Gaming Notebook จอ 15.6″ ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานขนาดนี้
การแกะงัดอัพเกรด
การแกะเครื่องเพื่ออัพเกรด Acer Nitro 5 นั้นสามารถทำได้ง่าย โดยเฉพาะในส่วนของแรมและฮาร์ดดิสก์เพียงแค่ไขน็อตทุกตัวรอบฝาล่างออก จะมีน็อตแค่ตัวเดียวที่มีสติกเกอร์แปะอยู่ เราสามารถเจาะทะลุไปได้เลย จากนั้นใช้บัตรแข็งค่อยๆ รูดถอดออกที่ละส่วน จากด้านหลังมาด้านหน้าทีละข้าง โดยเวลาทำห้ามใจร้อนเด็ดขาด ไม่งั้นเกลียวใต้ฝาอาจจะหักได้ แล้วค่อยๆ แงะฝาขึ้นมาอีกที งานประกอบการจัดวางตำแหน่งคล้ายกับรุ่นเดิมมีฮีท์ไปป์สองเส้นพาดผ่าน CPU และ GPU โดยมีพัดลมสองตัวติดกัน ช่องระบายความร้อนแถวยาวช่องเดียว
ซึ่งแรมกับฮาร์ดดิสก์จะแยกส่วนกันอย่างชัดเจน ที่เห็นได้ถึงแรมสามารถติดตั้งได้ 2 แถว โดยติดตั้ง 8GB มาแล้ว 1 แถว สามารถอัพเกรดเพิ่มได้อีกแถวทันที โดยรองรับสูงสุดที่ 32GB ส่วน SSD M.2 NVMe รองรับการติดตั้ง 2 สล็อตด้วยกัน พร้อมมีน็อตมาให้ด้วย ส่วนอื่นๆ ก็จะเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ 2.5″ ที่ให้มาอยู่แล้วเป็นมาตรฐาน อย่างไรก็ตามการแกะฝาล่างนั้นไม่ทำให้หลุดประกันแต่บริษัทจะไม่รับผิดชอบหากแกะเองแล้วเกิดความเสียหาย ถือได้ว่า Acer ทำการบ้านมาได้ดี การแกะตัวเครื่องเพื่ออัพเกรดหรือทำความสะอาดก็สามารถทำได้ง่ายและก็สะดวกทีเดียว
การแกะเครื่อง ASUS TUF Gaming FX505 เพื่อทำการอัพเกรดนั้นทำง่ายมากเพียงแกะน็อตออกทุกตัวแล้วใช้บัตรแข็งๆ ค่อยๆ แงะจากด้านหลังตรงแกนฝาพับตัวเครื่องแล้วค่อยๆ รูดไปตามแนวฝาหลัง และแกะแผ่นออกมาทั้งหมด เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ ถูกออกแบบจัดระเบียบได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว มีพัดลมขนาดใหญ่ HyperCool พร้อมระบายความร้อนที่มี Anti-Dust Tunnels ที่อยู่ในชุดฟินสีแดง หมดกังวลเรื่องฝุ่นที่ติดตรงครีบระบายความร้อนจุดสังเกตที่เปลี่ยนไปคือตัวเครื่องเลือกใช้ฮีทไปป์ขนาดใหญ่
ซึ่งหลังจากที่แกะออกมาแล้วนั้นจะเห็นแผ่นสีดำ สีเทาแปะติดไว้อยู่ในหลายๆ ส่วนเพื่อกันไฟฟ้าสถิต และในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่สามารถทำการอัพเกรดคือมีช่องใส่ SSD หรือ HDD 2.5″ ธรรมดาก็ได้แล้วจะเรา กรณีที่อยากได้ความจุเพิ่ม โดยตัวเครื่องได้ให้น็อตมาให้ 4 ตัวในกล่องสำหรับถาด HDD ส่วน Ram ใส่มาแล้วเป็น 8GB 1 แถว โดยรองรับการอัพเกรดได้สูงสุดที่ 32 GB และ SSD M.2 NVMe ความจุ 512GB ก็ติดตั้งมาแล้ว เพียงพอต่อการใช้งานของเราแน่นอน
ซอฟต์แวร์ติดเครื่อง
Acer Nitro 5 มาพร้อมกับซอฟแวร์ยูทิลิตี้ NitroSense ที่ทำให้เราสามารถปรับค่าต่างๆ ในตัวเครื่องได้อย่างง่ายดายไม่ว่า CoolBoots เร่งรอบพัดลมให้สุดที่ 6000 รอบทั้ง 2 ตัว ที่ใช้ระบายความร้อน CPU/GPU เมื่อต้องใช้งานหนักๆ รวมไปถึงการปรับโหมดการใช้งาน เช่นประหยัดพลังงานใช้แบตเตอรี่ก็ต้องเป็น Power Saver และสุดท้ายกับการดูสถานะการทำงานของตัวเครื่องก็มีทั้ง อุณหภูมิ รอบพัดลม กันแบบเวลาจริงเลยล่ะ เรียกได้ว่า Acer ใส่ใจใน NitroSense เพื่อให้เราใช้งานได้งานและใช้งานได้จริงทีเดียว
นอกจากนี้ทาง Acer Nitro 5 เองก็ยังมีในส่วนของซอต์ฟแวร์ที่จะเป็นตัวช่วยในการใช้งานของเราอีกด้วยอย่าง Acer Care Center (เปิดเครื่องมาเจอเลย) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสเปกภายใน หรือเช็คสถานะการทำงานส่วนต่างๆ ของเครื่อง รวมไปถึงยังสามารถ ตรวจเช็คสถานะเครื่องกับข้อมูลแคชต่างๆ ก็ทำการลบทิ้งได้ตรงนี้เลย หรือเช็คอัพเดทซอฟ์ตแวร์และไดร์เวอร์ต่างๆ ของเครื่องก็สามารถทำผ่านตรงนี้ได้เช่นกัน ที่สำคัญถ้าใครต้องการ Backup หรือ Recovery ข้อมูลภายในก็จัดการได้เลย
ทางด้าน ASUS FX505 มี Armory Crate ซอฟต์แวร์ Utility ที่ยกมาจาก ROG โดยเป็นลักษณะของแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเอื้ออำนวยในการปรับแต่งเพื่อการเล่นหรือทำงานโดยเฉพาะ อย่าง TUF Aura ที่เราสามารถปรับแต่งไฟคีย์บอร์ด RGB All Zone ได้ ในหลายๆ แบบ หลายๆ สไตล์ ตามพรีเซ็ทต่างๆ รวมไปถึงการปรับไฟขณะเปิดหรือปิดเครื่องได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อย่าง โหมดการใช้งานพร้อมแสดงสถานะแบบชัดเจน ที่สำคัญคือใช้งานง่าย ส่วนการปรับแต่งอื่นๆ เพิ่มเติมจะเป็น MyASUS ซึ่งหน้าที่ก็จะคล้ายๆ กับ Acer Care Center เหมือนกัน เรียกได้ว่าทั้ง 2 รุ่นนี้เป็นคนละรูปแบบ แต่ก็ใช้งานได้ดีเหมือนๆ กัน
ฟีเจอร์เสริมอื่นๆ
ฟีเจอร์เสริมอื่นๆ ของ Acer Nitro 5 มาพร้อมการติดตั้งพอร์ต LAN RJ45 (Gigabit Ethernet) พร้อมด้วยความสามารถ Killer Ethernet E2500 เพื่อการเล่นเกมออนไลน์ที่ลื่นไหล ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายเป็รมาตรฐาน Wi-Fi AC ที่มีเทคโนโลยี 2×2 MU-MIMO เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมดที่มีสเถียรภาพ รวมไปถึงแหล่งเก็บข้อมูล SSD M.2 NVMe ก็รองรับการติดตั้ง 2 สล็อตด้วยกัน ทำให้เราสามารถอัพเกรด SSD M.2 NVMe ได้เพิ่มเติมภายหลัง โดยจะเชื่อมต่อ Raid 0 หรือ Raid 1 ก็ได้ตามความต้องการ
สำหรับฟีเจอร์เสริมอื่นๆ ของ ASUS TUF Gaming FX505 ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องมีความทนทานระดับ Military Grade ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เรียกได้ว่าเป็น Gaming Notebook น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้ ส่วนของคีย์บอร์ดจะให้ไฟ RGB แบบ All Zone ปุ่ม WASD ทำไฮไลท์ไว้ สามารถรองรับการกดได้ 20 ล้านครั้ง Travel Key 1.8 mm
อย่างไรก็ตามฟีเจอร์เหล่านี้จัดว่าเป็นฟีเจอร์เสริมอื่นๆ อยู่ที่ตัวเราว่าจำเป็นต้องการใช้งานหรือเปล่า โดยส่วนตัวแล้วก็ถือว่าเป็นข้อดี แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อของ Gaming Notebook ทั้ง 2 รุ่นนี้ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเห็นต่างจากนี้ได้ไม่มีผิดถูก ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน
ประสิทธิภาพการเล่นเกม
เทียบกันให้ดู จากที่เคยทดสอบ Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 ในสเปกที่ใกล้กันที่สุด เท่าที่เป็นไปได้
โดย Acer Nitro 5 (2019) จะสเปกชิปประมวลผล Intel Core i5-9300H (2.40 – 4.10 GHz) ทำงานแบบ 4 Core/8 Thread ประสิทธิภาพไว้ใจได้ แรงกว่า i5-8300H ประมาณนึง พร้อมกราฟฟิการ์ดตัวแรงระดับ Desktop อย่าง NVIDIA GeForce GTX 1650 (4GB GDDR5) รุ่นใหม่ มีที่เก็บข้อมูลเป็นฮาร์ดดิสก์ความจุ 1 TB 5400 รอบ พร้อมรองรับติดตั้ง SSD แบบ M.2 PCIe จำนวน 2 ช่องอีกด้วย ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 8 GB แบบ DDR 4 Bus 2666 สามารถอัพเกรดได้สูงสุด 32 GB
และสเปกของ ASUS TUF Gaming FX505 จะเป็นรุ่น DT ใช้ชิปประมวลผลเป็น AMD Ryzen 7 3750H ทำงานแบบ 4 Core/8 Thread ด้วยความเร็ว 2.3 – 4GHz สถาปัตยกรรม 12 นาโนเมตร ประสิทธิภาพแรง พร้อมฟีเจอร์มากมาย เช่น SenseMI คอยจัดการให้เหมาะสมกับการใช้งานอย่างที่ไม่มีใน Intel ผสานกับการ์ดจอออนบอร์ดที่เป็น Radeon RX Vega 10 ส่วนการ์ดจอก็อย่างที่รู้กันดีคือ GTX 1650 (GDDR5 4GB) ที่มาทดแทน GTX 1050Ti ส่วนแรมขนาด 8GB 1 แถว DDR4 2666MHz และให้ SSD NVME PCIe ความจุ 512GB เป็นมาตรฐาน
คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจประมาณนึง โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (FPS) จากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยมากกว่า 30 – 60 FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย สำหรับ Acer Nitro 5 ใช้สเปกชิปประมวลผล Intel Core i5-9300H ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 1650 ออกมาได้อย่างเต็มที่และเหมาะสม ประกอบกับยังใช้แรม 8GB DDR4 ก็ถือว่าพอได้อยู่ ติดอยู่ตรงที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ปกตินี่แหละ ถ้าใส่ SSD บางเกมน่าจะลื่นไหลกว่านี้อีก แตกต่างจาก ASUS FX505 ที่เป็นชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 3550H และได้ SSD มาเป็นตัวช่วย
ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง GTA V / FarCry 5 ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ตามภาพด้านบน ที่ต้องบอกว่าภาพก็สวยจนน่าประทับใจ เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุดแล้ว ซึ่งถ้าอยากให้เฟรมเรทลื่นไหลกว่านี้ก็สามารถเลือกปรับกราฟิกระดับกลางๆ ก็ได้ แต่สำหรับ BF V ต้องยอมรับว่า Acer Nitro 5 จำเป็นต้องปรับเป็น Medium ลงไป ไม่อย่างงั้นจะไม่สามารถเล่นได้เลย จากการที่ใช้ HDD ต่างจาก ASUS FX505 ที่ปรับได้สุด
ส่วนเกมออนไลน์อย่าง PUBG / Overwatch / DOTA 2 ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมดให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 40 – 60 – 80 ขึ้นไปตลอด
แต่ในส่วนของเกม PUBG อาจจะมีเฟรมเรทตกไปต่ำกว่า 60 บ้าง รวมไปถึงอาจจะมีอาการโหลดฉากช้าบ้าง ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะเป็นเกมออนไลน์ที่กินทรัพยากรพอตัวเหมือนกัน ซึ่งสรุปโดยรวมแล้ว ถือว่า Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 เล่นพอได้อยู่เทียบแล้วถ้าไม่รวม BF V Acer Nitro 5 ทำเฟรมเรทได้ดีกว่า ASUS FX505 ในทุกเกม แต่ Acer Nitro 5 ควรต้องมี SSD เป็นอย่างมาก หรือไม่ก็ต้องซื้อรุ่นที่มี SSD มาให้เลย
สรุปซื้ออะไรดี ???
สรุปจากทั้งหมด โดยเป็นความคิดเห็นของแอดมินโป้งเอง ที่ได้มีโอกาสรีวิว Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS FX505 กันไปหลากหลายรุ่นล่ะก็ ขอแบ่งออกเป็นตามหัวข้อเลย (เพื่อนๆ สามารถเห็นต่างจากนี้ได้ ไม่มีผิดถูกแต่อย่างใด)
รุ่น สเปก ราคา
เน้นชิปประมวลผลแรง เลือก Acer Nitro 5 / เลือกการ์ดจอแรง เลือก ASUS FX505
หรือถ้าเลือกใช้ Intel ต้องเป็น Acer Nitro 5 เท่านั้น แต่ถ้าอยากได้ RTX 2060 ต้องเป็น ASUS FX505 ตัวท็อป
ดีไซน์ความบางเบา
สัมผัสของวัสดุดีกว่า เลือก Acer Nitro 5 / ตัวเครื่องเบากว่าเล็กน้อย เลือก ASUS FX505
ความสวยงามแล้วแต่ชอบ เพราะแตกต่างกันชัดเจน
หน้าจอ ลำโพง
Acer Nitro 5 รุ่นหน้าจอ 144Hz ให้ค่า sRGB ที่สูงถึง 91% (60Hz ได้ 61%) / ASUS FX505 ทุกรุ่น 120Hz ได้ 62%
ลำโพงที่ติดตั้งมาให้ความดังและคุณภาพของเสียงไม่ต่างกันมาก
การระบายความร้อน
Acer Nitro 5 และ ASUS FX505 มีระบบระบายความร้อน ที่ทำได้ดีพอๆ กันเมื่อเกิดความร้อนสูงสุด
ที่อุณหภูมิ CPU 90+ – / GPU 80 + – ส่วนใช้งานทั่วไปได้สบายๆ
การใช้งานแบตเตอรี่
Acer Nitro 5 และ ASUS FX505 มีระยะการใช้งานแบตเตอรี่ใกล้เคียงกันที่ 7 ชั่วโมง + –
โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับต่ำ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube
การแกะงัดอัพเกรด
Acer Nitro 5 และ ASUS FX505 สามารถถอดฝาหลังเพื่ออัพเกรดแรมและ SSD หรือ HDD ได้ง่ายทั้งคู่
แต่ส่วนของ Acer Nitro 5 จะใส่ SSD M.2 NVMe ได้ 2 ช่อง
ซอฟต์แวร์ติดเครื่อง
Acer Nitro 5 และ ASUS FX505 ได้ซอฟต์แวร์ยูทิลิตี้ ที่สามารถปรับปรับโหมดเพื่อเกมได้ง่ายทั้งคู่
รวมไปถึงมี Acer Care Center และ MyASUS ไว้ปรับแต่งเรื่องอื่นๆ
ฟีเจอร์เสริมอื่นๆ
Acer Nitro 5 มีพอร์ต LAN ที่เป็น Killer Ethernet E2500 และ Wi-Fi แบบ2×2 MU-MIMO / ASUS FX505 ได้ความทนทานระดับ Military Gradeรวมไปถึง มี Anti-Dust Tunnel เป่าไล่ฝุ่น และคีย์บอร์ดไฟ RGB แบบ All Zone กดได้ 20 ล้านครั้ง Travel Key 1.8 mm
ประสิทธิภาพการเล่นเกม
จากรุ่นที่เทียบกันตามข้างต้นที่ใกล้เคียงกันที่สุด เท่าที่มีในการทดสอบจริงๆ
จะเห็นว่า Acer Nitro 5 มีประสิทธิภาพการเล่นเกมที่ดีกว่า ASUS FX505 แต่อย่างไรก็ตาม Acer Nitro 5 ก็ควรมี SSD ในตัวด้วย
ปิดท้ายจริงๆ อีกหนึ่งเรื่องสำคัญของการซื้อ Gaming Notebook หรือโน๊ตบุ๊คทั่วไปมาใช้งานทีเดียว เพราะถือว่าเป็นอุปกรณ์ไอทีที่ยังไงก็มีโอกาสที่จะเสียได้แบบที่ไม่ทันตั้งตัว ยังไงก็ตามถ้ามีการรับประกันที่เหมาะสมกับเรา ที่เราคิดว่าดี คิดว่าเรายอมรับได้ก็น่าจะดีที่สุด ซึ่งต้องบอกเลยสำหรับ Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 นั้น แตกต่างกันอย่างชัดเจน
โดย Acer Nitro 5 ทุกรุ่นทุกเครื่องทุกสเปก จะมาพร้อมการรับประกันจากทาง Acer ประเทศไทย ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งมีทั้งบริการที่สามารถส่งเข้าศูนย์บริการ หรือตัวแทนของศูนย์บริการต่างๆ ได้ตามปกติ ที่อยู่ตามห้างร้านหรือศูนย์ใหญ่อย่าง Acer สาขาพระราม 3 หรือฟอร์จูนรัชดา ที่กรณีที่เครื่อง Acer Nitro 5 เราเสียก็สามารถส่งซ่อมด้วยตนเอง พร้อมมีบริการพิเศษซ่อมด่วนใน 3 ชั่วโมง ที่หากว่าใช้เวลาซ่อมเวลาเคลมนานกว่า 3 ชั่วโมง ก็จะมีเครื่องสำรองให้เรากลับบ้านไปใช้งานด้วย รวมไปถึงยังมีบริการซ่อมฟรีถึงบ้าน On-site Service ที่โทรติดต่อวันนี้ พรุ่งนี้ก็จะมาบริการซ่อมหรือเคลมกันถึงที่บ้าน ทั่วประเทศไทยเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นสุดๆ ของทาง Acer Nitro 5 ก็ว่าได้
เว็บไซต์ Acer Call Center โทร. 0-2153-9600 เวลาทำการ : จันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-18.00 น
สำหรับ ASUS TUF Gaming FX505 การรับประกันเป็นแบบ 2 ปี จะเป็นการส่งซ่อมศูนย์บริการตามที่ต่างๆ ตามปกติ เช่นห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์ใหญ่พระราม 9 ซึ่งจะเป็นศูนย์ของ ASUS เอง หรือตามร้านค้าต่างๆ ที่แต่งตั้งเอาไว้ พร้อมความแตกต่างและโดดเด่นไม่เหมือนใครจากการที่เราไม่จำเป็นต้องส่งตามศูนย์เพียงอย่างเดียว แต่สามารถที่จะส่งเคลมผ่านทางร้านค้าที่มีอยู่ทั่วประเทศอย่าง 7-11 ได้ด้วย เรียกได้ว่าไปซื้อขนมหรือกาแฟก็สามารถไปเคลมได้ แต่ก็มีข้อสังเกตุเล็กน้อยที่อาจจะนานกว่าส่งศูนย์ด้วยตนเอง รวมไปถึงยังมีประกันอุบัติเหตุในปีแรก (Pefect Warranty) เงื่อนไขแค่เมื่อเราเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS เท่านั้นเอง
เว็บไซต์ ASUS Call Center โทร. 0-2401-1717 เวลาทำการ : จันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-24.00 น.
ในส่วนของการรับประกันของ Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 อยู่ที่เราเลือกจริงๆ ว่าชอบเงื่อนไขแบบไหน สไตล์ไหน ??? เพราะแต่ละคนมีจุดที่รับได้ไม่เหมือนกัน
รุ่น / สเปก / ราคา
Acer Nitro 5 ปี 2019 เพราะมาพร้อมกับสเปกใหม่ล่าสุดด้วยชิปประมวลผล Intel Core i Gen 9 อย่าง Core i5-9300H หรือ i7-9750H ที่สำคัญได้การ์ดจอรุ่นใหม่มาเสริมทัพอัพเดทอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1660 Ti/1650 ที่เป็นรุ่นใหม่ของ GTX เน้นความแรงและคุ้มค่าเป็นหลัก รวมไปถึงยังมีการ์ดจอ GTX 1050 รุ่นใหม่แต่ปรับสเปกเป็น 3GB GDDR5 เป็นตัวเลือกอยู่ (เดิมเป็น 4GB GDDR5) ส่วนรุ่นถูกสุดจะเป็นชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 3550H ทำงานร่วมกับการ์ดจอ Radeon RX560X
ส่วนสเปกอื่นๆ มีทั้งรุ่นมีที่เก็บข้อมูลฮาร์ดดิสก์ HDD ความจุ 1 TB หรือรุ่นที่ใส่ SSD M.2 NVMe ที่ 512GB มาเลย (รองรับใส่ได้ 2 ช่อง) หรือใส่ทั้งคู่มาเลย ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 8GB – 16GB แบบ DDR4 Bus 2666 สามารถอัพเกรดได้สูงสุด 32 GB อีกทั้งมีทั้งรุ่นหน้าจอพาเนล IPS ที่ 60Hz และ 144Hz มาให้เลือกด้วย ตามแต่ความต้องการ เรียกได้แบ่งรุ่นออกเยอะเหมือนกัน ยังไงให้แนะนำคือ ควรซื้อรุ่นที่มี SSD มาเลย ไม่ก็ซื้อแล้วต้องอัพเกรดให้มี SSD ทันที
Acer Nitro 5 ปี 2019 มีราคาเริ่มต้นที่ 21,990 บาท ไปจนถึง 36,990 บาท ทุกรุ่นประกัน 3 ปี On-site Service ทั้งหมด แบ่งสเปกราคาตามนี้
- Ryzen 5 3550H / RX560X / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 144Hz ราคา 21,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1050 / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 23,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1650 / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 25,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1050 / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 60Hz ราคา 26,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1650 / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 144Hz ราคา 27,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1650 / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 144Hz ราคา 28,990 บาท
- Core i7-9750H / GTX 1050 / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 31,990 บาท
- Core i5-9300H / GTX 1660Ti / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 32,990 บาท
- Core i7-9750H / GTX 1650 / RAM 8GB / SSD 128GB + HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 35,990 บาท
- Core i7-9750H / GTX 1650 / RAM 16GB / SSD 128GB + HDD 1TB / จอ 144Hz ราคา 36,990 บาท
สเปกของ ASUS TUF Gaming FX505 ไม่ว่าจะเป็น DY/DD/DT/DU/DV เลือกใช้ชิปประมวลผลเป็น AMD ทั้งหมด โดยมีทั้ง Ryzen 5 3550H และ Ryzen 7 3750H สถาปัตยกรรม 12 นาโนเมตร ประสิทธิภาพแรง พร้อมฟีเจอร์มากมาย เช่น SenseMI คอยจัดการให้เหมาะสมกับการใช้งานอย่างที่ไม่มีใน Intel ผสานกับการ์ดจอออนบอร์ดที่เป็น Radeon RX Vega 8 / Vega 10 ส่วนการ์ดจอก็มีตั้งแต่ Radeon RX560X และ GeFroce GTX 1050 จนไปถึงแรงระดับ RTX 2060 (6GB GDDR6) ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า GTX รุ่นใหม่ทั้งหมด นับได้ว่าเป็นส่วนผสมที่ลงตัวมากๆ ทีเดียว หาได้ยากใน Gaming Notebook รุ่นอื่นๆ
ส่วนสเปกอื่นๆ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ได้หน้าจอขนาด 15.6″ ที่ 120Hz หรือ 60Hz แบบ NanoEdge ขอบจอบาง ความละเอียด Full HD พาเนล IPS ในทุกๆ รุ่น โดยใส่แรมมาแล้วขนาด 8GB – 16GB สามารถติดตั้งแรมได้สูงสุด 32GB DDR4 Bus 2666 รวมไปถึงที่เก็บข้อมูลก็รองรับทั้ง SSD M.2 NVMe ที่ความจุ 512GB ในบางรุ่น หรือบางรุ่นก็จะใส่ฮาร์ดดิสก์ปกติ HDD SATA 3 ที่ความจุ 1TB ที่เราสามารถเลือกอัพเกรดเพิ่มเติมได้ภายหลังด้วย
ASUS TUF Gaming FX505 มีราคาเริ่มต้นที่ 19,900 บาท จนไปถึง 36,900 บาท การรับประกัน 2 ปี ส่งเคลม 7-11 และที่สำคัญเมื่อเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกจากทาง ASUS โดยแบ่งได้ตามนี้
- Ryzen 5 3550H / RX560X / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 120Hz ราคา 19,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / RX560X / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 21,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / GTX 1050 / RAM 8GB / HDD 1TB / จอ 60Hz ราคา 20,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / GTX 1050 / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 60Hz ราคา 22,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / GTX 1650 / RAM 8GB /HDD 1TB / จอ 120Hz ราคา 22,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / GTX 1650 / RAM 8GB /SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 24,900 บาท
- Ryzen 7 3750H / GTX 1650 / RAM 8GB /SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 26,900 บาท
- Ryzen 7 3750H / GTX 1660Ti / RAM 8GB /SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 29,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / RTX 2060 / RAM 16GB /SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 34,900 บาท
- Ryzen 7 3750H / RTX 2060 / RAM 16GB /SSD 512GB / จอ 120Hz ราคา 36,900 บาท
ดีไซน์ / ความบางเบา
เรื่องของการดีไซน์ออกแบบ Acer Nitro 5 (2019) หลักๆ ยังมีทรงคล้ายๆ เดิมแต่มีการปรับให้ตัวเครื่องมีความเล็กกระชับขอบจอบาง ส่งผลให้ตัวเครื่องมีความบางเบากว่าเดิมแน่นอน รวมไปถึงการพกพาก็สะดวกยิ่งขึ้น อย่าง Acer Nitro 5 รุ่นใหม่ (Acer Nitro AN515-54) หน้าจอ 15.6″ พาเนล IPS ขอบจอบางเพียง 7.18 มิลลิเมตร พื้นที่สัดส่วนกว่า 80% ทำให้มีขนาดเครื่องพอๆ กับโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 14″ แบบก่อน ที่น้ำหนักตัวเครื่อง 2.3 กิโลกรัม โดยมีรุ่นหน้าจอ Refresh Rate ที่ 60Hz และ 144Hz ให้เลือกตามความต้องการ วัสดุของตัวเครื่องทั้งหมดจะเป็นพลาสติกเกรดดี
สำหรับสีสันก็ยังคงเอกลักษณ์สีดำแซมด้วยสีแดงเอาไว้อยู่ อย่างโดดเด่นและสวยงาม ที่ต้องว่า Acer Nitro 5 ฝาหลังจะมีลักษณะลวดลายผิวไม่เรียบบริเวณด้านข้างซ้ายและขวา ฝาบนจะโลโก้คำว่า Acer สีดำคมเข้มไม่ธรรมดา ผิวฝาบนพื้นผิวเป็นพลาสติกมีสีดำด้านให้สัมผัสดีมีคุณภาพสูง พร้อมมีเกล็ดเล็กๆ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นรอยนิ้วมือง่ายนิดหนึ่ง ซึ่งคงต้องหมั่นคอยเช็ดทำความสะอาดสักหน่อย เวลามือมีเหงื่อออกแล้วไปจับ รวมไปถึงขอบตัวเครื่องบริเวณฝาพับ Acer Nitro 5 ปี 2019 จะเป็นสีแดงพร้อมกับมีคำว่า Nitro เอาไว้ โดยสามารถกางหน้าจอได้มากกว่า 145 องศาทีเดียว
ทางด้านหลังตัวเครื่องก็จะมีช่องระบายความร้อน 1 ช่องขนาดใหญ่ทางซ้ายเห็นเป็นลักษณะของฟินสีดำสนิท ส่วนช่องทางขวาจะเป็นช่องที่ดีไซน์คล้ายกันเป็นตะแกรงสีดำ แต่ไม่มีพัดลมติดตั้งอยู่ พร้อมแกนฝาพับจะเป็นสีแดง พร้อมมีตัวอักษรเขียนไว้ว่า Nitro แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะรุ่น ซึ่งดูสวยงามโดดเด่นมากเลยทีเดียว มีการติดตั้งปุ่ม Power ไว้มุมขวาบนสุดของชุดคีย์บอร์ด รวมไปถึงยังมีการติดตั้งปุ่ม NitroSense ไว้เหนือแป้นตัวเลขด้วย กดใช้งานได้สะดวกดี
ASUS TUF Gaming FX505 ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้รุ่นอื่นๆ อย่างในเรื่องของขอบหน้าจอบาง นั่นก็ทำให้ตัวเครื่องมิติโดยรวมมีความเล็กกระทัดรัดลง แม้เป็น Gaming Notebook หน้าจอ 15.6″ แต่ก็มีความใกล้เคียงกับโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 14″ แบบสมัยก่อนๆ มาก ส่วนน้ำหนักก็อยู่ที่ 2.2 กิโลกรัม จัดได้ว่าเป็น Notebook ที่สเปกแรงมากๆ แต่น้ำหนักเบาๆ พกพาสะดวก
ดีไซน์การออกแบบของ ASUS TUF Gaming FX505 เรียกได้ว่าถอดรูปแบบมาจาก FX505 รุ่นก่อนหน้านี้มาแบบเต็มๆ แล้วจับมาเปลี่ยนโทนสีเป็นโทนสีดำคล้ายกับรุ่น FX505 ตัวก่อนๆ โดยบอดี้ตัวเครื่องก็จะมีลักษณะที่เน้นเรื่องความโฉบเฉี่ยว ดุดัน โดยจะเปลี่ยนลายฝาหลังวัสดุจะเป็นพลาสติกสีดำ ทำเป็นลายขีดเส้นตัว X ผิวเรียบลายปัดเสี้ยน ตรงกลางฝาหลังมีโลโก้ ASUS สีเงินสะท้อนแสงสวยงาม สไตล์ Gaming Notebook ที่เรียบๆ โดย ASUS ให้ชื่อกับสีสันนี้ว่า Stealth Black
ส่วนด้านในจะเป็นพลาสติกแบบมีลวดลายคล้ายโลหะปัดเสี้ยนให้สัมผัสผิวไม่เรียบ ที่นอกสายสวยงามแล้วคือเป็นลายนิ้วมือได้ยาก นับว่าเป็รอะไรที่น่าประทับใจมากๆ ทั้งภายนอกและภายใน ที่ดูแล้วลงตัวกว่ารุ่นก่อนหน้าไปอีกขั้น ทางด้านพับตัวเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่วัสดุเป็นพลาสติกแข็งแรง พร้อมมีการตัดช่องเป็น V-Sharp ช่วงให้อากาศไหลผ่านได้ดีขึ้น และมีช่องระบายอากาศด้านบนคีย์บอร์ดเพิ่มเข้ามา
เรียกได้ว่าแนวทางการออกแบบของ Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน แน่นอนว่าเป็น Gaming Notebook คนละแบรนด์ ย่อมมีแนวทางการดีไซน์ที่ไม่เหมือนกันเป็นธรรมดา โดยส่วนของ Acer Nitro 5 (2019) ดูเน้นความเรียบง่ายที่เป็นการต่อยอดจาดรุ่นเดิม ส่วน ASUS TUF Gaming FX505 ก็จะมีความรายละเอียดที่มากว่า แต่ก็ต่อยอดมาจากรุ่นก่อนๆ เช่นเดียวกัน โดยมีมิติตัวเครื่องใกล้เคียงกับขอบจอบางเหมือนกัน แต่ที่เห็นได้ชัดคือน้ำหนักที่ ASUS FX505 เบากว่า Acer Nitro 5 ที่ 100 กรัม (จริงๆ ก็เหมือนจะมีผลอะไรมากมาย ฮาๆ)
หน้าจอ / ลำโพง
Acer Nitro 5 ปี 2019 มาพร้อมหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว แบบ Screen-to-Body เป็น 80% ด้วยขอบจอบางเพียง 7.18 มิลลิเมตร บนความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) ที่เลือกใช้ พาเนล IPS ให้มุมมองที่คมชัด สีสันสวยสดงดงามสมจริง ซึ่งจะมีรุ่นหน้าจอ Refresh Rate 60Hz และ 144Hz โดยพื้นผิวจอเป็นแบบจอด้าน Anti-Glare ช่วยลดแสงสะท้อนเวลาเรานำโน๊ตบุ๊คไปทำงานข้างนอก ซึ่งดูรวมๆ แล้งทั้งสีสันและความคมชัดจัดว่าใช้ได้เลยทีเดียว เหมาะกับการใช้งานทั่วไปหรือการเล่นเกม ดูหนังก็ทำได้ย่อมทำได้อย่างน่าประทับใจไม่มีปัญหา
ผลจากการทดสอบพบว่ารุ่น 60Hz นั้นจะมีประสิทธิภาพการแสดงผลที่เป็นรองกว่ารุ่นหน้าจอ 144Hz โดยรุ่น 60Hz ให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 61% และ Adobe RGB ที่ 46% ส่วนรุ่น 144Hz จะมีค่า sRGB ที่ 91% และ Adobe RGB ที่ 69% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอ เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันนั้นดีมากกว่าเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ซึ่งมีความเที่ยงตรงของสีสูง ส่วนความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 230 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าค่อนข้างสว่างกว่าหน้าจอโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่น สามารถไปทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงได้โอเคเลยทีเดียว
ส่วน ASUS TUF FX505 มีหน้าจอขอบจอบางเฉียบเพียง 6.5 มิลลิเมตรทั้งขอบด้านข้างและด้านบน ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) พาเนลเป็น IPS คุณภาพดี มุมมองกว้าง พื้นผิวจอแบบด้าน Anti-Glare รวมๆ ทั้งสีสันความคมชัดแล้วจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไปหรือการเล่นเกมก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ รวมไปถึงยังเป็นหน้าจอ 120Hz ทำให้ใช้งานเล่นเกม FPS ฉากเคลื่อนไหวเร็วๆ ได้อย่างลื่นไหลกว่าหน้าจอทั่วไปที่แค่ 60Hz รวมๆ แล้ว ถือว่าดีกว่ามาตรฐานของ Gaming Notebook ปี 2019 ทั่วไปมากทีเดียว
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB 62% และ AdobeRGB 46% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีเขียวและสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันระดับกลางๆ ค่อนไปทางดี ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 220 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คทั่วไป คือ พอสู้แสงกลางแจ้งได้ รวมไปถึงการทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพหน่อยก็ทำได้ดีเช่นกัน
สำหรับระบบเสียงลำโพงของ Acer Nitro 5 (2019) นั้นจะมีด้วยกัน 2 ตัวโดยจะอยู่ทางด้านล่างมุมซ้ายและขวาของเครื่องอย่างละตัว ลำโพงนั้นจะมีการวางตำแหน่งในลักษณะเฉียงลงไปยังพื้นเพื่อที่จะให้เสียงได้สัมผัสกับพื้นแล้วสะท้อนขึ้นมาก ซึ่งคุณภาพเสียงการใช้งานต่างๆ เมื่อใช้งานร่วมกับฟีเจอร์ Waves MaxxAudio ที่ผสานกับ Acer TrueHarmony เพิ่มประสิทธิภาพเสียงเบส เสียงสนทนา และระดับเสียงได้อย่างยอดเยี่ยม
และ ASUS TUF FX505 ลำโพงของตัวเครื่องใช้เป็นแบบ Stereo 2.0 แยกเสียงซ้ายขวาได้ชัดเจนดี ระบบเสียง DTS Headphone: X ทำให้มีเสียงดังฟังชัด มีน้ำหนัก ถือว่าเอามาเล่นเกมฟังเพลงได้ดีในระดับหนึ่งตามสไลต์เสียงจากลำโพงโน๊ตบุ๊ค ช่องลำโพงถูกออกแบบมาอย่างแนบเนียน อยู่ด้านข้างตัวเครื่องซ้ายขวา พร้อมทำสีสันเป็นสีแดง ช่วยแก้ปัญหาสำหรับบางคนที่เวลาพิมพ์งานข้อมืออาจจะไปปิดช่องลำโพงทำให้เสียงออกไม่เต็มที่ได้
การระบายความร้อน
Acer Nitro 5 (2019) มีเทคโนโลยี Acer CoolBoost และช่องระบายความร้อนคู่ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและระบายความร้อนด้วยพัดลมคู่ โดยมีช่องระบายความร้อนด้านหลังแถวยาว 1 แถวและช่องด้านข้างทางขวาอีก 1 ช่อง เมื่อมีการใช้งานที่หนักหน่วง CoolBoost จะเพิ่มความเร็วพัดลมมากขึ้น 10% และการระบายความร้อน CPU/GPU มากขึ้น 9% เมื่อเทียบกับโหมดอัตโนมัติ (ตามที่ Acer เคลมไว้) พร้อมจัดการระบบของเราแบบเรียลไทม์ด้วยซอฟต์แวร์ NitroSense ซึ่งครอบคลุมถึงอุณหภูมิ ความเร็วพัดลมและอีกมากมาย
ส่วนเรื่องอุณหภูมิในการใช้งานนั้น Acer Nitro 5 ปี 2019 เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 35 – 45 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 25 – 27 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัดสุด ด้วยการเปิดโหมดพัดลมระดับสูงสุดด้วยารปรับเป็น CoolBoots เพื่อให้พัดลมทำงาน 100%
ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของชิปประมวลผล CPU อยู่ที่ไม่เกิน 90 – 95 องศาเซลเซียส นับว่าไม่ได้ร้อนจนเกินไปนัก ส่วนการ์ดจอถือว่าเย็นทีเดียวโดยร้อนสุดเพียง 70 องศาเซลเซียสเท่านั้น โดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้กลับมากับขนาดตัวเครื่องเล็กกระทัดรัดพกพาง่ายกว่าเดิม สำหรับเสียงรบกวนในเวลาทำงานนั้นถือว่าดังประมาณนึง จากการที่เราสามารถเพิ่มรอบสูงสุดได้ด้วยโหมด CoolBoots นั่นเอง
ASUS TUF FX505 ใช้ระบบระบายความร้อนเป็น Hyper Cool สามารถปรับเร่งรับได้ ฟินระบายความร้อนสีแดง พร้อมมี Anti-Dust Tunnel สำหรับเป่าฝุ่นออกมาให้อีกด้วย จัดเต็มจริงๆ ให้มาครบไม่มีกั๊ก มีพัดลมขนาดใหญ่ 2 ตัว พร้อมระบายความร้อน 2 ช่องด้านหลัง หมดกังวลเรื่องฝุ่นที่ติดตรงครีบระบายความร้อนจุดสังเกตที่เปลี่ยนไปคือตัวเครื่องเลือกใช้ฮีทไปป์ 3 เส้นขนาดใหญ่
ส่วนเรื่องอุณหภูมิในการใช้งานนั้น ASUS TUF FX505 เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 30 – 40 – 50 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 35 – 45 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 25 – 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัดสุด ด้วยการเปิดโหมด Turbo
ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 90 – 92 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 75 – 80 องศาเซลเซียสโดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้กลับมา แน่นอนว่ามากกว่า Gaming Notebook ในสเปกเดียวกัน สำหรับเสียงรบกวนในเวลาทำงานนั้นถือว่าดังประมาณนึง จากการที่เราสามารถเพิ่มรอบสูงสุดได้ด้วยซอฟต์แวร์จากปกติที่จะเป็นแบบ Balance ก็สามารถทำได้
การใช้งานแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน Acer Nitro 5 ปี 2019 ครื่องนี้เป็นแบบฝังตามปกติ ความจุ 3750mAh ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับต่ำ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube พร้อมเปิดโปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราวๆ 7 ชั่วโมงโดยประมาณ เรียกได้ว่าน่าประทับใจทีเดียวกับการที่ Gaming Notebook จอ 15.6″ ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานขนาดนี้
แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS TUF Gaming FX505 ครื่องนี้เป็นแบบฝังตามปกติ ความจุ 4000mAh ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับกลางๆ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราวๆ 6 – 7 ชั่วโมงโดยประมาณ เรียกได้ว่าน่าประทับใจทีเดียวกับการที่ Gaming Notebook จอ 15.6″ ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานขนาดนี้
การแกะงัดอัพเกรด
การแกะเครื่องเพื่ออัพเกรด Acer Nitro 5 นั้นสามารถทำได้ง่าย โดยเฉพาะในส่วนของแรมและฮาร์ดดิสก์เพียงแค่ไขน็อตทุกตัวรอบฝาล่างออก จะมีน็อตแค่ตัวเดียวที่มีสติกเกอร์แปะอยู่ เราสามารถเจาะทะลุไปได้เลย จากนั้นใช้บัตรแข็งค่อยๆ รูดถอดออกที่ละส่วน จากด้านหลังมาด้านหน้าทีละข้าง โดยเวลาทำห้ามใจร้อนเด็ดขาด ไม่งั้นเกลียวใต้ฝาอาจจะหักได้ แล้วค่อยๆ แงะฝาขึ้นมาอีกที งานประกอบการจัดวางตำแหน่งคล้ายกับรุ่นเดิมมีฮีท์ไปป์สองเส้นพาดผ่าน CPU และ GPU โดยมีพัดลมสองตัวติดกัน ช่องระบายความร้อนแถวยาวช่องเดียว
ซึ่งแรมกับฮาร์ดดิสก์จะแยกส่วนกันอย่างชัดเจน ที่เห็นได้ถึงแรมสามารถติดตั้งได้ 2 แถว โดยติดตั้ง 8GB มาแล้ว 1 แถว สามารถอัพเกรดเพิ่มได้อีกแถวทันที โดยรองรับสูงสุดที่ 32GB ส่วน SSD M.2 NVMe รองรับการติดตั้ง 2 สล็อตด้วยกัน พร้อมมีน็อตมาให้ด้วย ส่วนอื่นๆ ก็จะเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ 2.5″ ที่ให้มาอยู่แล้วเป็นมาตรฐาน อย่างไรก็ตามการแกะฝาล่างนั้นไม่ทำให้หลุดประกันแต่บริษัทจะไม่รับผิดชอบหากแกะเองแล้วเกิดความเสียหาย ถือได้ว่า Acer ทำการบ้านมาได้ดี การแกะตัวเครื่องเพื่ออัพเกรดหรือทำความสะอาดก็สามารถทำได้ง่ายและก็สะดวกทีเดียว
การแกะเครื่อง ASUS TUF Gaming FX505 เพื่อทำการอัพเกรดนั้นทำง่ายมากเพียงแกะน็อตออกทุกตัวแล้วใช้บัตรแข็งๆ ค่อยๆ แงะจากด้านหลังตรงแกนฝาพับตัวเครื่องแล้วค่อยๆ รูดไปตามแนวฝาหลัง และแกะแผ่นออกมาทั้งหมด เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ ถูกออกแบบจัดระเบียบได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว มีพัดลมขนาดใหญ่ HyperCool พร้อมระบายความร้อนที่มี Anti-Dust Tunnels ที่อยู่ในชุดฟินสีแดง หมดกังวลเรื่องฝุ่นที่ติดตรงครีบระบายความร้อนจุดสังเกตที่เปลี่ยนไปคือตัวเครื่องเลือกใช้ฮีทไปป์ขนาดใหญ่
ซึ่งหลังจากที่แกะออกมาแล้วนั้นจะเห็นแผ่นสีดำ สีเทาแปะติดไว้อยู่ในหลายๆ ส่วนเพื่อกันไฟฟ้าสถิต และในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่สามารถทำการอัพเกรดคือมีช่องใส่ SSD หรือ HDD 2.5″ ธรรมดาก็ได้แล้วจะเรา กรณีที่อยากได้ความจุเพิ่ม โดยตัวเครื่องได้ให้น็อตมาให้ 4 ตัวในกล่องสำหรับถาด HDD ส่วน Ram ใส่มาแล้วเป็น 8GB 1 แถว โดยรองรับการอัพเกรดได้สูงสุดที่ 32 GB และ SSD M.2 NVMe ความจุ 512GB ก็ติดตั้งมาแล้ว เพียงพอต่อการใช้งานของเราแน่นอน
ซอฟต์แวร์ติดเครื่อง
Acer Nitro 5 มาพร้อมกับซอฟแวร์ยูทิลิตี้ NitroSense ที่ทำให้เราสามารถปรับค่าต่างๆ ในตัวเครื่องได้อย่างง่ายดายไม่ว่า CoolBoots เร่งรอบพัดลมให้สุดที่ 6000 รอบทั้ง 2 ตัว ที่ใช้ระบายความร้อน CPU/GPU เมื่อต้องใช้งานหนักๆ รวมไปถึงการปรับโหมดการใช้งาน เช่นประหยัดพลังงานใช้แบตเตอรี่ก็ต้องเป็น Power Saver และสุดท้ายกับการดูสถานะการทำงานของตัวเครื่องก็มีทั้ง อุณหภูมิ รอบพัดลม กันแบบเวลาจริงเลยล่ะ เรียกได้ว่า Acer ใส่ใจใน NitroSense เพื่อให้เราใช้งานได้งานและใช้งานได้จริงทีเดียว
นอกจากนี้ทาง Acer Nitro 5 เองก็ยังมีในส่วนของซอต์ฟแวร์ที่จะเป็นตัวช่วยในการใช้งานของเราอีกด้วยอย่าง Acer Care Center (เปิดเครื่องมาเจอเลย) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสเปกภายใน หรือเช็คสถานะการทำงานส่วนต่างๆ ของเครื่อง รวมไปถึงยังสามารถ ตรวจเช็คสถานะเครื่องกับข้อมูลแคชต่างๆ ก็ทำการลบทิ้งได้ตรงนี้เลย หรือเช็คอัพเดทซอฟ์ตแวร์และไดร์เวอร์ต่างๆ ของเครื่องก็สามารถทำผ่านตรงนี้ได้เช่นกัน ที่สำคัญถ้าใครต้องการ Backup หรือ Recovery ข้อมูลภายในก็จัดการได้เลย
ทางด้าน ASUS FX505 มี Armory Crate ซอฟต์แวร์ Utility ที่ยกมาจาก ROG โดยเป็นลักษณะของแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเอื้ออำนวยในการปรับแต่งเพื่อการเล่นหรือทำงานโดยเฉพาะ อย่าง TUF Aura ที่เราสามารถปรับแต่งไฟคีย์บอร์ด RGB All Zone ได้ ในหลายๆ แบบ หลายๆ สไตล์ ตามพรีเซ็ทต่างๆ รวมไปถึงการปรับไฟขณะเปิดหรือปิดเครื่องได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อย่าง โหมดการใช้งานพร้อมแสดงสถานะแบบชัดเจน ที่สำคัญคือใช้งานง่าย ส่วนการปรับแต่งอื่นๆ เพิ่มเติมจะเป็น MyASUS ซึ่งหน้าที่ก็จะคล้ายๆ กับ Acer Care Center เหมือนกัน เรียกได้ว่าทั้ง 2 รุ่นนี้เป็นคนละรูปแบบ แต่ก็ใช้งานได้ดีเหมือนๆ กัน
ฟีเจอร์เสริมอื่นๆ
ฟีเจอร์เสริมอื่นๆ ของ Acer Nitro 5 มาพร้อมการติดตั้งพอร์ต LAN RJ45 (Gigabit Ethernet) พร้อมด้วยความสามารถ Killer Ethernet E2500 เพื่อการเล่นเกมออนไลน์ที่ลื่นไหล ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายเป็รมาตรฐาน Wi-Fi AC ที่มีเทคโนโลยี 2×2 MU-MIMO เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมดที่มีสเถียรภาพ รวมไปถึงแหล่งเก็บข้อมูล SSD M.2 NVMe ก็รองรับการติดตั้ง 2 สล็อตด้วยกัน ทำให้เราสามารถอัพเกรด SSD M.2 NVMe ได้เพิ่มเติมภายหลัง โดยจะเชื่อมต่อ Raid 0 หรือ Raid 1 ก็ได้ตามความต้องการ
สำหรับฟีเจอร์เสริมอื่นๆ ของ ASUS TUF Gaming FX505 ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องมีความทนทานระดับ Military Grade ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เรียกได้ว่าเป็น Gaming Notebook น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้ ส่วนของคีย์บอร์ดจะให้ไฟ RGB แบบ All Zone ปุ่ม WASD ทำไฮไลท์ไว้ สามารถรองรับการกดได้ 20 ล้านครั้ง Travel Key 1.8 mm
อย่างไรก็ตามฟีเจอร์เหล่านี้จัดว่าเป็นฟีเจอร์เสริมอื่นๆ อยู่ที่ตัวเราว่าจำเป็นต้องการใช้งานหรือเปล่า โดยส่วนตัวแล้วก็ถือว่าเป็นข้อดี แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อของ Gaming Notebook ทั้ง 2 รุ่นนี้ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเห็นต่างจากนี้ได้ไม่มีผิดถูก ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน
ประสิทธิภาพการเล่นเกม
เทียบกันให้ดู จากที่เคยทดสอบ Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 ในสเปกที่ใกล้กันที่สุด เท่าที่เป็นไปได้
โดย Acer Nitro 5 (2019) จะสเปกชิปประมวลผล Intel Core i5-9300H (2.40 – 4.10 GHz) ทำงานแบบ 4 Core/8 Thread ประสิทธิภาพไว้ใจได้ แรงกว่า i5-8300H ประมาณนึง พร้อมกราฟฟิการ์ดตัวแรงระดับ Desktop อย่าง NVIDIA GeForce GTX 1650 (4GB GDDR5) รุ่นใหม่ มีที่เก็บข้อมูลเป็นฮาร์ดดิสก์ความจุ 1 TB 5400 รอบ พร้อมรองรับติดตั้ง SSD แบบ M.2 PCIe จำนวน 2 ช่องอีกด้วย ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 8 GB แบบ DDR 4 Bus 2666 สามารถอัพเกรดได้สูงสุด 32 GB
และสเปกของ ASUS TUF Gaming FX505 จะเป็นรุ่น DT ใช้ชิปประมวลผลเป็น AMD Ryzen 7 3750H ทำงานแบบ 4 Core/8 Thread ด้วยความเร็ว 2.3 – 4GHz สถาปัตยกรรม 12 นาโนเมตร ประสิทธิภาพแรง พร้อมฟีเจอร์มากมาย เช่น SenseMI คอยจัดการให้เหมาะสมกับการใช้งานอย่างที่ไม่มีใน Intel ผสานกับการ์ดจอออนบอร์ดที่เป็น Radeon RX Vega 10 ส่วนการ์ดจอก็อย่างที่รู้กันดีคือ GTX 1650 (GDDR5 4GB) ที่มาทดแทน GTX 1050Ti ส่วนแรมขนาด 8GB 1 แถว DDR4 2666MHz และให้ SSD NVME PCIe ความจุ 512GB เป็นมาตรฐาน
คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจประมาณนึง โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (FPS) จากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยมากกว่า 30 – 60 FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย สำหรับ Acer Nitro 5 ใช้สเปกชิปประมวลผล Intel Core i5-9300H ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 1650 ออกมาได้อย่างเต็มที่และเหมาะสม ประกอบกับยังใช้แรม 8GB DDR4 ก็ถือว่าพอได้อยู่ ติดอยู่ตรงที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ปกตินี่แหละ ถ้าใส่ SSD บางเกมน่าจะลื่นไหลกว่านี้อีก แตกต่างจาก ASUS FX505 ที่เป็นชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 3550H และได้ SSD มาเป็นตัวช่วย
ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง GTA V / FarCry 5 ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ตามภาพด้านบน ที่ต้องบอกว่าภาพก็สวยจนน่าประทับใจ เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุดแล้ว ซึ่งถ้าอยากให้เฟรมเรทลื่นไหลกว่านี้ก็สามารถเลือกปรับกราฟิกระดับกลางๆ ก็ได้ แต่สำหรับ BF V ต้องยอมรับว่า Acer Nitro 5 จำเป็นต้องปรับเป็น Medium ลงไป ไม่อย่างงั้นจะไม่สามารถเล่นได้เลย จากการที่ใช้ HDD ต่างจาก ASUS FX505 ที่ปรับได้สุด
ส่วนเกมออนไลน์อย่าง PUBG / Overwatch / DOTA 2 ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมดให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 40 – 60 – 80 ขึ้นไปตลอด
แต่ในส่วนของเกม PUBG อาจจะมีเฟรมเรทตกไปต่ำกว่า 60 บ้าง รวมไปถึงอาจจะมีอาการโหลดฉากช้าบ้าง ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะเป็นเกมออนไลน์ที่กินทรัพยากรพอตัวเหมือนกัน ซึ่งสรุปโดยรวมแล้ว ถือว่า Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 เล่นพอได้อยู่เทียบแล้วถ้าไม่รวม BF V Acer Nitro 5 ทำเฟรมเรทได้ดีกว่า ASUS FX505 ในทุกเกม แต่ Acer Nitro 5 ควรต้องมี SSD เป็นอย่างมาก หรือไม่ก็ต้องซื้อรุ่นที่มี SSD มาให้เลย
สรุปซื้ออะไรดี ???
สรุปจากทั้งหมด โดยเป็นความคิดเห็นของแอดมินโป้งเอง ที่ได้มีโอกาสรีวิว Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS FX505 กันไปหลากหลายรุ่นล่ะก็ ขอแบ่งออกเป็นตามหัวข้อเลย (เพื่อนๆ สามารถเห็นต่างจากนี้ได้ ไม่มีผิดถูกแต่อย่างใด)
รุ่น สเปก ราคา
เน้นชิปประมวลผลแรง เลือก Acer Nitro 5 / เลือกการ์ดจอแรง เลือก ASUS FX505
หรือถ้าเลือกใช้ Intel ต้องเป็น Acer Nitro 5 เท่านั้น แต่ถ้าอยากได้ RTX 2060 ต้องเป็น ASUS FX505 ตัวท็อป
ดีไซน์ความบางเบา
สัมผัสของวัสดุดีกว่า เลือก Acer Nitro 5 / ตัวเครื่องเบากว่าเล็กน้อย เลือก ASUS FX505
ความสวยงามแล้วแต่ชอบ เพราะแตกต่างกันชัดเจน
หน้าจอ ลำโพง
Acer Nitro 5 รุ่นหน้าจอ 144Hz ให้ค่า sRGB ที่สูงถึง 91% (60Hz ได้ 61%) / ASUS FX505 ทุกรุ่น 120Hz ได้ 62%
ลำโพงที่ติดตั้งมาให้ความดังและคุณภาพของเสียงไม่ต่างกันมาก
การระบายความร้อน
Acer Nitro 5 และ ASUS FX505 มีระบบระบายความร้อน ที่ทำได้ดีพอๆ กันเมื่อเกิดความร้อนสูงสุด
ที่อุณหภูมิ CPU 90+ – / GPU 80 + – ส่วนใช้งานทั่วไปได้สบายๆ
การใช้งานแบตเตอรี่
Acer Nitro 5 และ ASUS FX505 มีระยะการใช้งานแบตเตอรี่ใกล้เคียงกันที่ 7 ชั่วโมง + –
โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับต่ำ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube
การแกะงัดอัพเกรด
Acer Nitro 5 และ ASUS FX505 สามารถถอดฝาหลังเพื่ออัพเกรดแรมและ SSD หรือ HDD ได้ง่ายทั้งคู่
แต่ส่วนของ Acer Nitro 5 จะใส่ SSD M.2 NVMe ได้ 2 ช่อง
ซอฟต์แวร์ติดเครื่อง
Acer Nitro 5 และ ASUS FX505 ได้ซอฟต์แวร์ยูทิลิตี้ ที่สามารถปรับปรับโหมดเพื่อเกมได้ง่ายทั้งคู่
รวมไปถึงมี Acer Care Center และ MyASUS ไว้ปรับแต่งเรื่องอื่นๆ
ฟีเจอร์เสริมอื่นๆ
Acer Nitro 5 มีพอร์ต LAN ที่เป็น Killer Ethernet E2500 และ Wi-Fi แบบ2×2 MU-MIMO / ASUS FX505 ได้ความทนทานระดับ Military Gradeรวมไปถึง มี Anti-Dust Tunnel เป่าไล่ฝุ่น และคีย์บอร์ดไฟ RGB แบบ All Zone กดได้ 20 ล้านครั้ง Travel Key 1.8 mm
ประสิทธิภาพการเล่นเกม
จากรุ่นที่เทียบกันตามข้างต้นที่ใกล้เคียงกันที่สุด เท่าที่มีในการทดสอบจริงๆ
จะเห็นว่า Acer Nitro 5 มีประสิทธิภาพการเล่นเกมที่ดีกว่า ASUS FX505 แต่อย่างไรก็ตาม Acer Nitro 5 ก็ควรมี SSD ในตัวด้วย
ปิดท้ายจริงๆ อีกหนึ่งเรื่องสำคัญของการซื้อ Gaming Notebook หรือโน๊ตบุ๊คทั่วไปมาใช้งานทีเดียว เพราะถือว่าเป็นอุปกรณ์ไอทีที่ยังไงก็มีโอกาสที่จะเสียได้แบบที่ไม่ทันตั้งตัว ยังไงก็ตามถ้ามีการรับประกันที่เหมาะสมกับเรา ที่เราคิดว่าดี คิดว่าเรายอมรับได้ก็น่าจะดีที่สุด ซึ่งต้องบอกเลยสำหรับ Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 นั้น แตกต่างกันอย่างชัดเจน
โดย Acer Nitro 5 ทุกรุ่นทุกเครื่องทุกสเปก จะมาพร้อมการรับประกันจากทาง Acer ประเทศไทย ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งมีทั้งบริการที่สามารถส่งเข้าศูนย์บริการ หรือตัวแทนของศูนย์บริการต่างๆ ได้ตามปกติ ที่อยู่ตามห้างร้านหรือศูนย์ใหญ่อย่าง Acer สาขาพระราม 3 หรือฟอร์จูนรัชดา ที่กรณีที่เครื่อง Acer Nitro 5 เราเสียก็สามารถส่งซ่อมด้วยตนเอง พร้อมมีบริการพิเศษซ่อมด่วนใน 3 ชั่วโมง ที่หากว่าใช้เวลาซ่อมเวลาเคลมนานกว่า 3 ชั่วโมง ก็จะมีเครื่องสำรองให้เรากลับบ้านไปใช้งานด้วย รวมไปถึงยังมีบริการซ่อมฟรีถึงบ้าน On-site Service ที่โทรติดต่อวันนี้ พรุ่งนี้ก็จะมาบริการซ่อมหรือเคลมกันถึงที่บ้าน ทั่วประเทศไทยเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นสุดๆ ของทาง Acer Nitro 5 ก็ว่าได้
เว็บไซต์ Acer Call Center โทร. 0-2153-9600 เวลาทำการ : จันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-18.00 น
สำหรับ ASUS TUF Gaming FX505 การรับประกันเป็นแบบ 2 ปี จะเป็นการส่งซ่อมศูนย์บริการตามที่ต่างๆ ตามปกติ เช่นห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์ใหญ่พระราม 9 ซึ่งจะเป็นศูนย์ของ ASUS เอง หรือตามร้านค้าต่างๆ ที่แต่งตั้งเอาไว้ พร้อมความแตกต่างและโดดเด่นไม่เหมือนใครจากการที่เราไม่จำเป็นต้องส่งตามศูนย์เพียงอย่างเดียว แต่สามารถที่จะส่งเคลมผ่านทางร้านค้าที่มีอยู่ทั่วประเทศอย่าง 7-11 ได้ด้วย เรียกได้ว่าไปซื้อขนมหรือกาแฟก็สามารถไปเคลมได้ แต่ก็มีข้อสังเกตุเล็กน้อยที่อาจจะนานกว่าส่งศูนย์ด้วยตนเอง รวมไปถึงยังมีประกันอุบัติเหตุในปีแรก (Pefect Warranty) เงื่อนไขแค่เมื่อเราเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS เท่านั้นเอง
เว็บไซต์ ASUS Call Center โทร. 0-2401-1717 เวลาทำการ : จันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-24.00 น.
ในส่วนของการรับประกันของ Acer Nitro 5 (2019) และ ASUS TUF Gaming FX505 อยู่ที่เราเลือกจริงๆ ว่าชอบเงื่อนไขแบบไหน สไตล์ไหน ??? เพราะแต่ละคนมีจุดที่รับได้ไม่เหมือนกัน