สเปกของเครื่อง Asus Eee PC 1015P ใช้ Intel Atom N450 ความเร็ว 1.66 GHz มีเทคโนโลยี Hyper Threading ทำงานพร้อมกัน 2 Thread มีหน่วยความจำมาให้ 1 GB ฮาร์ดดิสก์ขนาด 250 GB Seagate Momentus 5400.6 มีแคชขนาด 8 MB เชื่อมต่อด้วย SATA 3.0 GB/s หน้าจอ LED ความละเอียด 1024 x 600 กราฟิกการ์ดไม่มีแยกออกมา ยังคงใช้ Intel GMA 3150 ที่มากับ CPU เป็นหลักเหมือนเดิม สเปกทั้งหมดก็ดูไม่ต่างอะไรกับเครื่องเน็ตบุ๊กระดับเริ่มต้นทั่วไปตามท้องตลาด ทีนี้เราลองมาดูอย่างอื่นกันดีกว่าว่าจะมีอะไรพิเศษกว่าเครื่องอื่น ๆ ไหม
รูปลักษณ์ภายนอก
รูปร่างของเครื่อง Asus Eee PC 1015P แบบนี้ ทาง Asus ให้ชื่อว่าเป็นแบบ Seashell (เปลือกหอย) มีลักษณะเป็นสีขาว ๆ เงา ๆ ให้อารมณ์กลมกลืนไปกับพื้นทราย ถึงจะไม่มีใครซื้อไปใช้แถวทะเลก็ตาม ฝาด้านนอกเรียบง่าย มีแค่โลโก้ Asus ตัวเดียว
รูปลักษณ์ภายใน
เปิดฝามาดูตัวเครื่องด้านในกันบ้าง เราจะเห็นเครื่องสีขาวตัดกับขอบจอสีดำ ตัว Windows ก็ได้รับการตกแต่งให้แสดงภาพชายหาดเป็นหน้า Log In (ภาพเดียกับรูป แต่คนละหน้าต่าง) คีย์บอร์ดได้รับการออกแบบให้พิมพ์สะดวกขึ้นกว่าเครื่องรุ่นแรก ๆ แม้จะยังไม่ดีที่สุดก็ตาม
มีโลโก้ Eee PC อยู่ที่มุมของจอ บ่งบอกยี่ห้อของตัวเองได้เป็นอย่างดี
แกนยึดของจอดูบาง ๆ และอยู่บริเวณขอบของเครื่องค่อนข้างมาก จากที่ลองเปิดฝาและเขย่าเครื่องดูก็พบกว่าจอโยกเข้าออกได้ และมีคลื่นสั่น ๆ ที่เกิดจากเวลาที่เรากดแรง ๆ ลงบนหน้าจอด้วย
ไฟแสดงสถานะยังคงมีสี่ดวงแบบเดิม ซึ่งแสดงสถานะดังนี้ สถานะการทำงานของเครื่อง / สถานะแบตเตอรี่ /? การโหลดของฮาร์ดดิสก์ / Wi-Fi
ความหนาของจอ
ฝาเครื่องมีความหนาไม่มาก ซึ่งบางกว่าขนาดของตัวเครื่องเล็กน้อย
ส่วนตัวเครื่องเองถ้ายกให้ตรงจะเห็นว่าไม่หนามากเช่นกัน แต่การออกแบบทำให้ท้ายเครื่องโดนยกให้สูงขึ้น เพื่อให้คนใช้พิมพ์ได้สะดวกมากขึ้น
จอสามารถกางออกได้ประมาณ 135 องศา
เปรียบเทียบขนาดตัวเครื่อง
ลองเทียบขนาดเครื่องกับกล่อง DVD จะเห็นว่าส่วนด้านหลังของเครื่องที่ถูกยกให้สูงทำให้เครื่องดูหนากว่าปกติ แต่เวลาใช้งานจริงก็ไม่ได้รู้สึกลำบากกับความหนาที่เพิ่มขึ้นมาจากด้านหลัง
ด้านล่างของเครื่อง
สิ่งแรกที่สังเกตได้คือ ขาวมาก ขาวไปหมด ช่องระบายอากาศมีจำนวนช่องเอาไว้นับแก้เหงาได้ดีทีเดียว นอกจากนั้นจุดที่น่าสังเกตก็มีแค่ช่องเปลี่ยนหน่วยความจำกับหมายเลขของ Windows เท่านั้นเอง
ช่องระบายอากาศ
ช่องระบายอากาศที่หน่วยความจำ ทำช่องไว้แค่นี้สงสัยว่าจะกลัวทรายพัดเข้าไปข้างใน
แนวช่องระบายอากาศด้านหน้าพร้อมช่องลำโพง โดยทำแนวเอาไว้ให้พอสวยงาน แต่ไม่เจาะช่องให้ใช้งานได้
Keyboard
คีย์บอร์ดแบบ Island แยกแต่ละปุ่มชัดเจน ส่วน Touch Pad ก็ใช้เส้นสีเงิน ๆ แยกส่วนให้เห็นชัดเจน ปุ่มกดเป็นแผ่นเดียวและมีขนาดเล็กมาก ทำให้กดลำบาก มีหลายครั้งที่ถึงขั้นกดปุ่มไม่ลงเลยทีเดียว
คีย์บอร์ดอาจจะได้รับการออกแบบให้พิมพ์ได้ง่ายขึ้น แต่ปุ่มพิเศษก็ยังจัดวางไม่ค่อยดีเท่าไรนัก โดยเฉพาะแถวตัวลูกศร
ปุ่มพิเศษด้านซ้ายของเครื่องคือปุ่ม Asus ExpressGate 2 / ปุ่มปิด / เปิด Wi-Fi และ Bluetooth
ด้านขวาเป็นปุ่มปิด / เปิดเครื่อง ดูผ่าน ๆ เหมือนจะทำให้เลื่อนเอาไว้เปิดปิด แต่จริง ๆ แล้วให้กดลงไปตรงๆ
Touch Pad
ปุ่ม Touch Pad มีขนาดเล็ก เพราะไม่ทำให้ยาวไปจนถึงขอบเครื่อง ใครนิ้วใหญ่ ๆ อาจจะกดลำบาก ส่วนขนาดพื้นที่ในการใช้งานก็ 3.5 นิ้ว มาตรฐาน
ด้านหน้า
ด้านหน้ามีเพียงสัญญาณไฟแสดงสถานะที่ด้านขวา
ด้านซ้าย
ด้ายซ้ายของเครื่องมีช่อง สาย AC / VGA / USB2.0 / ช่องระบายอากาศ
ด้านขวา
ด้านขวามีช่อง Card Reader / Audio / Mic / USB2.0 / USB2.0 / Kensington Lock / Lan
ด้านหลัง
ด้านหลังไม่มีพอร์ตอะไร
Webcam
กล้องเว็บแคม 1.3 MP มีฝาสำหรับปิดหน้าเลนส์ แต่ว่าไม่ได้ปิดการทำงานของกล้อง ถ้าอยากประหยัดไฟต้องสั่งตัดสัญญาณที่ตัวเครื่องด้วย
Speaker
ลำโพงของเครื่องถูกวางไว้ใต้เครื่องด้านหน้า คุณภาพเสียงก็ขึ้นอยู่กับผิวโต๊ะที่สะท้อนเสียงด้วย
แบตเตอรี่
แบตสามารถถอดได้ ด้วยการดึงตัวล็อคออกพร้อมกันทั้งสองข้าง และสไลด์แบตออกด้านหลัง
สังเกตดี ๆ ด้านบนภาษาญี่ปุ่น จะเห็นว่าแบตสามารถใช้กับรุ่น 1015, 1016 และ 1215 ได้ด้วย ส่วนความจุประมาณ 4,000 mAh แต่อยู่ได้นานประมาณ 6 ชั่วโมง แม้ว่าจะใช้ดูหนังก็ตาม
ด้านซ้าย
มาตรฐานเน็ตบุ๊กทุกวันนี้ต้องมีสติกเกอร์ Intel Atom และ Windows 7 Starter
Asus ExpressGate 2
จุดเด่นของเครื่อง Asus Eee PC P1015P ที่แตกต่างจากเน็ตบุ๊กเครื่องอื่น ๆ คือ มีระบบ Asus ExpressGate 2 ที่ทำให้เครื่องบูตได้ใน 8 วินาที ซึ่งระบบที่ว่านี้เป็นระบบปฏิบัติการ Linux ที่ถูกปรับแต่งมาแล้ว จากที่ทดลองเข้าอินเทอร์เน็ตด้วย Wi-Fi และเปิดเว็บผ่าน Firefox ก็สามารถใช้งานเว็บภาษาไทยได้ตามลักษณะของ Linux คือตัวอักษรจะเพี้ยน ๆ เล็กน้อย ส่วนโปรแกรมไม่สามารถปรับค่าอะไรได้มากนัก ทำให้ระบบนี้ดีพอใช้สำหรับคนที่อยากเปิดเครื่องมาดูเมลแบบรีบ ๆ เท่านั้น นอกจากนั้นก็เห็นจะมีโปรแกรม Skype ที่สามารถเรียกขึ้นมาได้ทันที ส่วนจะคิดว่าระบบนี้มีประโยชน์จริง ๆ หรือไม่ ก็คงอยู่ที่ผู้ใช้งานเองแล้วครับ
เครื่อง Asus Eee PC 1015P ติดตั้งมาพร้อมระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 7 Starter ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้งานจริงมากมาย แต่ก็เป็นมาตรฐานสำหรับเครื่องเน็ตบุ๊กทุกวันนี้ ส่วนคะแนนทดสอบของทาง Windows ที่ออกมา CPU เป็นจุดที่อ่อนที่สุด แต่ถ้าหากผู้ใช้สามารถปรับแต่งระบและรู้วิธีการดูแลโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม เครื่องเล็ก ๆ แบบนี้ก็สามารถทำงานออกมาได้มากมายไม่แพ้เครื่องใหญ่ ๆ เช่นกัน
โปรแกรม CPU-Z ใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดของ CPU ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง รวมทั้ง Chipset และหน่วยความจำหลัก
Asus Eee PC 1015P ยังคงใช้ CPU แบบ Single Core เป็นรุ่น Intel Atom N450 ความเร็ว 1.66 GHz รองรับ Hyper Threading ทำงานได้ 2 Thread พร้อมกัน ใช้ไฟแค่ 5.5 วัตต์ ซึ่ง ณ ปัจจุบันดูจะเสียเปรียบเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ที่เริ่มใช้ Atom Dual Core อย่าง N550 ซะแล้ว เพราะหลายคนก็อยากได้เครื่องที่พกพาง่าย แต่มีพลังในการประมวลผลโปรแกรมใหม่ ๆ มากกว่านี้ แต่สำหรับการใช้งานทั่วไปก็ยังทำงานได้ดีครับ
Chipset ของเครื่องยังคงเป็น Intel NM10 ที่ทำออกมาใช้กับ Intel Atom อยู่
โปรแกรม CPU-Z แสดงให้เห็นว่าเครื่องใช้หน่วยความจำแบบ DDR3 ขนาด 1 GB แต่ไม่สามารถแสดงข้อมูลของแผงที่ใส่ไว้
โปรแกรม GPU-Z ใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดของ GPU และ IGP ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ดูรายละเอียดของอุณหภูมิได้ รองรับเครื่องที่มีสอง GPU ด้วย
การ์ดจอใช้ชิป Intel GMA 3150 ซึ่งมาพร้อมกับ Intel Atom ความสามารถในการทำงานก็เป็นแบบพื้นฐาน อย่างดูวิดีโอทั่วไป ดู YouTube เล่นเกมที่กราฟฟิกไม่หนักบางเกมได้ ก็เอาไว้ใช้เป็นเครื่องเล่นมัลติเพลเยอร์ได้บ้าง
ความละเอียดหน้าจอ
เครื่อง Asus Eee PC 1015P ต้องมีขนาดหน้าจอ 10 นิ้ว เป็น LED ตามชื่อรุ่นอยู่แล้ว ส่วนความละเอียดจอมาตรฐานนั้นอยู่ที่ 1024 x 600 แต่ถ้าใครจะดันไปที่ 1024 x 768 ตัวจอก็สามารถแสดงผลได้โดยไม่ต้องเลื่อนหน้าจอไปมา แต่ภาพจะหดเสียสัดส่วนไป
NotebookSpec
LCDSpec
Notebook For Game
โปรแกรม Super PI ใช้วิธีการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง/เส้นผ่านศูนย์กลางจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้หยุด โปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
เวลาที่ใช้ในการคำนวนก็ค่อนข้างนานสำหรับ CPU อย่าง Intel Atom N450 ที่ใช้เวลาไปหนึ่งนาทีครึ่ง แต่ค่าที่ได้ก็ยังเหมือนกับเครื่องอื่น ๆ ที่ใช้ CPU แบบเดียวกัน
โปรแกรม Hyper PI ใช้หลักการคำนวณเหมือนกับ Super PI แต่สามารถสั่งให้ทุก Thread ของ CPU คำนวณได้พร้อมกัน
การทดสอบด้วย HyperPI ใช้เวลามากกว่าเดิมประมาณ 20 วินาที ความเร็วที่ได้จากการประมวลผลของทั้งสอง Thread ไม่ต่างกันมาก
โปรแกรม PCMark05 ใช้สำหรับการทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การคำนวณทางฟิสิกส์ การเข้ารหัสไฟล์ภาพยนตร์เพื่อสร้างคะแนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพออกมา
แม้ผลคะแนนรวมของ PCMark05 จะไม่สามารถแสดงผลออกมาได้
แต่เราก็สามารถเห็นสภาพเครื่องในส่วนประกอบอื่น ๆ จากคะแนนย่อย ๆ ได้ ถ้าเราสังเกตดูจะเห็นว่าคะแนนกราฟิกนั้นเป็นส่วนที่ได้น้อยที่สุด แค่ 360 คะแนนนั้น เป็นเพราะว่า Intel GMA 3150 ถูกตัดความสามารถออกไปหลาย ๆ อย่าง เช่น ความสามารถในการเล่นไฟล์พวก HD และยังเป็นชิปที่ถูกฝั่งมากับ CPU ด้วย ทำให้การประมวลผลช้ากว่าการ์ดจอแยกอย่างมาก ส่วนคะแนนฮาร์ดดิสก์นั้นได้เยอะที่สุด เพราะว่าใช้ฮาร์ดดิสก์แบบเดียวกับโน๊ตบุ๊คทั่วไป
โปรแกรม Performance Test เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่สามารถทดสอบประสิทธิภาพเครื่องได้ในหลาย ๆ ส่วนทั้ง CPU, GPU, 2D, 3D, CD/DVD ด้วย
สำหรับคะแนน Performance Test ได้ 227 กว่าคะแนน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเกินความคาดหมาย แม้แต่เครื่องที่ใช้ Intel Atom N550 ก็ได้คะแนนประมาณ 300 กว่า ๆ เท่านั้น สำหรับคะแนนย่อย ๆ ก็ยังให้ผลเหมือนกันของ PCMark05 คือ มีกราฟิกและ CPU น้อย และมีฮาร์ดดิสก์ได้คะแนนมากกว่า
โปรแกรม Sisoftware Sandra ใช้ตรวจสอบค่าต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หลายคนรู้จักกันดี นอกจากเอาไว้อ่านค่าต่าง ๆ แล้ว ยังมีความสามารถในการทดสอบระบบและเปรียบเทียบผลลัพท์ที่ออกมากับค่ากลางของอุปกรณ์รุ่นอื่น ๆ ได้ทันที โดยจะทดสอบใน 3 โหมด ดังนี้
1. Processor Arithmetic
2. Memory Bandwidth
3. File Systems
โปรแกรม HD Tune ใช้ในการทดสอบความเร็วในการอ่านและการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวได้
ฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งมากับเครื่องเป็นของ Seagate Momentus มีขนาด 250 GB มีความเร็วในการหมุน 5400 rpm เชื่อมต่อด้วย SATA 3.0 GB/s จากกราฟจะเห็นได้ว่าเครื่องทำงานค่อนข้างดี ไม่เหวี่ยงมากเกินไป ส่วนอัตราการเข้าถึงใช้เวลาไป 18.2 ms ยังเร็วอยู่สำหรับฮาร์ดดิสก์จานหมุนแบบนี้
โปรแกรม Bettery Mon ใช้เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแบตเตอรี่ที่กำลังใช้กับเครื่อง และวัดระดับการใช้พลังงานออกมาเป็นกราฟได้ด้วย
ข้อมูลของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ของเครื่องมีประจุประมาณ 4,000 mAh
ระยะเวลาการใช้งาน
สำหรับระยะเวลาในการใช้งานของเครื่อง ถ้าหากเปิดความสว่างหน้าจอเต็ม 100 และเล่นไฟล์วิดีโอไปด้วยจะอยู่ได้ประมาณ 6 ชั่วโมงกว่า ๆ สำหรับการใช้งานทั่วไป และเปิดอุปกรณ์ตามที่เหมาะสมแบตจะอยู่ได้อีกหลายชั่วโมงเลย
ระยะเวลาการชาร์จแบตเตอรี่
?
ระยะเวลาในการชาร์จแบตประมาณเกือบ ๆ สองชั่วโมงครึ่ง
โปรแกรม Wireless Mon ใช้ในการวัดความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย
การ์ด Atheros AR9285 รับสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ดีมาก
วิธีการทดสอบ ใช้โปรแกรม CPU Burn-In เปิดตามจำนวน Thread ของ CPU ใช้ ATI Tools เปิดภาพสามมิติและเปิดไฟล์วิดีโอขนาด 1920 x 1080 พร้อมกัน เพื่อให้เครื่องได้ทำการประมวลผลในทุกส่วนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ และวัดผลด้วยโปรแกรม HW Monitor
อุณหภูมิก่อนการทดสอบ
ระหว่างการทดสอบ
อุณหภูมิหลังการทดสอบ
ความร้อนก่อนการทดสอบอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 60 องศา ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่าช่องระบายอากาศที่ตัวเครื่องนั้นน้อยมาก ๆ ทำให้อากาศในเครื่องค่อนข้างอบ ไม่รู้ว่าเป็นการออกแบบมากันลมทะเลเข้าเครื่องหรือเปล่า ส่วนอุณหภูมิสูงสุดจากการทดสอบอยู่ที่ 80 องศา ซึ่งหลาย ๆ คนคงอยากให้อุณหภูมิต่ำกว่านี้
เครื่อง Asus Eee PC 1015P เป็นเน็ตบุ๊กขนาดเล็ก ด้วยการออกแบบน่าจะเหมาะกับคุณผู้หญิง ให้ความรู้สึกเหมือนไปเที่ยวทะเลอยู่ตลอดเวลา แม้สเปกของเครื่องจะธรรมดา ซึ่งเป็นเครื่องในระดับเริ่มต้น CPU และก็ยังเป็น Single Core แบบเดิม ซึ่งอีกไม่นานหลาย ๆ ผู้ผลิตก็จะเริ่มออกเครื่องที่ใช้ Intel Atom แบบ Dual Core ในบ้านเรากันแล้ว จุดเด่นของเครื่องนี้อีกอย่างก็คือ Asus ExpressGate ที่ทำให้เครื่องสามารถบูตได้ในเวลา 8 วินาที แต่ก็เป็นการบูตเข้า Linux ดัดแปลง ซึ่งเพียงพอจะเอาไว้ดูเมลไว ๆ หรือดู Facebook เล็กน้อย เพราะตัว Firefox ที่ลงมาก็ยังไม่ได้รับการปรับแต่งให้ใช้งานภาษาไทยได้เต็มที่ ระบบนี้จึงเหมือนเป็นความสามารถที่ไม่ได้ใช้งานกันมากนัก Asus Eee PC 1015P อาจจะเหมาะกับคุณ ถ้าหากคนชอบการออกแบบของมัน แต่นอกเหนือจากนั้นตัวเครื่องก็ไม่ได้แตกต่างกับเน็ตบุ๊กที่มีขายกันทั่วไป
ข้อดี
- ระบบ Asus ExpressGate 2 สามารถบูตเครื่องได้ใน 8 วินาที
ข้อสังเกต
- CPU ยังเป็น Intel Atom N450 Single Core
- ช่องระบายอากาศน้อยเกินไป
- ระบบ Asus ExpressGate 2 ยังรองรับภาษาไทยได้ไม่เต็มที่