Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

วิธีดูรหัสผ่าน (Password) เว็บไซต์ที่บันทึกไว้ใน Google Chrome กรณีที่ลืมรหัสผ่าน 2020

หลายคนที่ใช้เบราเซอร์ Google Chrome มักจะเจอปัญหาเวลาลืมรหัสผ่านที่เข้าใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อนๆรู้หรือเปล่าว่า Chrome นั่นสามารถเปิดดูรหัสผ่านที่เราเคยบันทึกไว้ได้ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนรหัสแต่ก็จำรหัสเดิมไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนรหัส หลายๆเว็บมักจะให้กรอกรหัสผ่านเดิมก่อน

559

หลายคนที่ใช้เบราเซอร์ Google Chrome มักจะเจอปัญหาเวลาลืมรหัสผ่านที่เข้าใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อนๆรู้หรือเปล่าว่า Chrome นั่นสามารถเปิดดูรหัสผ่านที่เราเคยบันทึกไว้ได้ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนรหัสแต่ก็จำรหัสเดิมไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนรหัส หลายๆเว็บมักจะให้กรอกรหัสผ่านเดิมก่อน

วิธีดูรหัสผ่าน Password เว็บที่เคยบันทึกไว้ใน Google Chrome

เรามาดูวิธีการเข้าดู Password ที่เราเคย Save ไว้ตอนเข้าเว็บไซต์ครั้งแรก เพื่อง่ายต่อการเข้าใช้งานครั้งถัดไป แต่พอนานไปหลายๆคนก็จะลืมว่าเคยตั้งรหัสอะไรไว้

Advertisement

1. เปิด Chrome จากนั้นคลิกไปที่  ตัวเลือก (ไอคอนจุด 3 จุด บริเวณมุมขวาบน) จากนั้นเลือกที่ Setting (การตั้งค่า)

วิธีดูรหัสผ่าน

2. จากนั้นให้เลื่อนลงมาข้างล่างแล้วคลิกที่ ขั้นสูง

วิธีดูรหัสผ่าน

3. จากนั้นเลื่อนลงมาดูที่ รหัสผ่านและฟอร์ม > จัดการรหัสผ่าน

003 7

4. หากเราต้องการดูรหัสผ่านของเว็บไซต์ไหนบ้างให้คลิกที่ รูปตา ดังภาพเพื่อให้แสดงรหัสผ่าน

วิธีดูรหัสผ่าน

5. กรณีที่คลิกแล้วเด้งหน้าต่างถาม password ขึ้นมา ก็คือรหัสในการเข้าใช้งาน windows ตอนเปิดเครื่อง ให้เราทำการใส่ไปตามปกติ

6. หากไม่ติดอะไรจะแสดงรหัสผ่านที่เราเคยบันทึกไว้ขึ้นมา

วิธีดูรหัสผ่าน

แค่นี้เราก็ไม่ต้องกังวลว่าจะลืมรหัสผ่านแล้วครับ แต่จะใช้ได้ผลกับรหัสที่บันทึกไว้ใน Chrome เท่านั้น หากเพื่อนๆตอนใส่รหัสหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ไม่ได้เลือก บันทึก หรือ จำรหัสผ่าน จะไม่สามารถย้อนกลับมาดูได้นะครับ

สำหรับใครที่สงสัยอะไรหรือติดปัญหาขั้นตอนไหนสามารถแสดงความคิดเห็นไว้ด้านล่างได้เลยครับ

Click to comment

บทความน่าสนใจ

SOFTWARE

โปรแกรมแคปหน้าจอโน๊ตบุ๊คและฟังก์ชั่นเก็บภาพกับวิดีโอหน้าจอเป็นฟังก์ชั่นสำคัญในยุคนี้ที่แทบทุกคนออนไลน์และพบเจอคอนเทนต์ในชีวิตหลากหลายอย่าง ตั้งแต่เรื่องดีและน่าประทับใจก็อยากเก็บภาพเอาไว้, อยากเอาภาพหน้าจอและเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งมาส่งต่อให้คนใกล้ตัวได้ดูหรือเก็บภาพหน้าจอเอาไว้ใช้ดำเนินการต่างๆ ก็ได้เหมือนกัน ซึ่งแต่ละระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะ Windows, macOS หรือ Linux ต่างก็มีฟังก์ชั่นนี้ติดมาให้ในตัวทั้งหมด ต่างกันก็แค่วิธีกดเท่านั้นนั่นหมายความว่าผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ใดมาเพิ่มก็ได้ถ้าไม่ต้องการฟีเจอร์พิเศษใดๆ มาใช้เพิ่มเติม ในทางกลับกัน ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ประเภทนี้ก็พยายามสร้างจุดเด่นให้โปรแกรมของทางบริษัทมีจุดเด่นมากกว่าฟังก์ชั่นติดระบบปฏิบัติการหลายอย่าง ไม่ว่าจะแต่งภาพเพิ่ม, เติมเครื่องหมายไอคอนไปจน Edit ภาพเบื้องต้นได้ด้วยซ้ำ ถ้าหากใครต้องการใช้ฟีเจอร์ใดเป็นพิเศษจะดาวน์โหลดมาเพิ่มก็ดีเช่นกัน Advertisement ว่าด้วยเรื่องของการแคปหน้าจอโน๊ตบุ๊ค การแคปหน้าจอคอมจะนับเป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานติดระบบปฏิบัติการทั้ง Windows และ...

How to

เว็บไซต์เช็คความเร็วเน็ตนอกจากใช้เช็คความเร็ว Download กับ Upload ว่าเราเตอร์กับเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ทำความเร็วได้ดีเท่าไหร่แล้ว ยังใช้ดูรายละเอียดต่างๆ นอกเหนือจากความเร็วได้อีกว่าตอนกำลังรับส่งข้อมูลเกิดความหน่วงระหว่างการรับส่งข้อมูลไหม? ถ้ามีแล้วเกิดตอนไหนและมีความหน่วงกี่มิลลิวินาที (ms – millisecond) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์มากและถ้าเข้าใจก็จะตัดสินได้ว่าตอนนี้เน็ตบ้านหรือเครือข่าย Wi-Fi ที่เชื่อมต่ออยู่ทำงานได้ดีไหมแล้วจะใช้งานต่อดีหรือเปล่า? จุดน่าสนใจของเว็บเช็คความเร็วเน็ตเหล่านี้ คือ แต่ละแห่งจะแสดงข้อมูลมากน้อยแตกต่างกัน บางเว็บจะโชว์แต่ความเร็ว Download อย่างเดียวแล้วกดดูข้อมูลอื่นอย่างความเร็ว Upload และ Latency เพิ่มได้...

How to

หนึ่งในปัญหายอดนิยมเวลามีคอมพิวเตอร์ Windows สักเครื่อง คือโน๊ตบุ๊คต่อ WiFi ไม่ได้ คอมพิวเตอร์ต่อเน็ตไม่ติด ซึ่งปัญหานี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้หลากหลายทางมาก ตั้งแต่ฮาร์ดแวร์, ซอฟท์แวร์ไปจนเครือข่ายมีปัญหาเองก็ได้ทั้งนั้น แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออกและวิธีแก้ไขทั้งนั้น ถ้าสันนิษฐานได้ว่าปัญหาน่าจะมาจากจุด A, B หรือ C แล้ว ก็แก้ปัญหาได้ในเวลาไม่นาน แถมวิธีทำก็ง่ายมากและทำตามขั้นตอนในบทความนี้ได้ง่ายๆ ก่อนส่งให้ศูนย์บริการรับผิดชอบต่อได้ด้วย วิธีเช็คและแก้ปัญหาโน๊ตบุ๊คต่อ WiFi ไม่ได้ ถ้าต่ออินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้...

Accessories review

TP-Link Archer MR402 และ TP-Link Archer MR202 เราเตอร์ 4G LTE อเนกประสงค์ ใช้ในบ้านก็ได้ พกไปไหนก็เลิศ! เราเตอร์ใส่ซิม 4G แล้วใช้งานได้ทันทีอย่าง TP-Link Archer MR402 และ TP-Link Archer MR202 เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ของคนอยากขยายเครือข่าย...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก