ในปัจจุบันอุปกรณ์คอมต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีในการผลิต จะทำให้เกิดความ Compatible กันมากขึ้น แต่สำหรับคนที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์ม ส่วนหนึ่งก็มีความกังวลในการใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นพีซีหรือโน๊ตบุ๊คก็ตาม ซึ่งทำให้หลายครั้งมีความลังเลที่จะอัพเกรด โดยเฉพาะเรื่องของแรม
เนื่องจากแรมในเวลานี้ราคาสูงมากทีเดียว DDR4 8GB ก็ไปแตะที่ราวๆ 3,xxx บาท ขึ้นไปแล้ว ส่วนถ้าเป็น 16GB ก็เกือบๆ หมื่นบาทเลยทีเดียว และยิ่งมีการพูดถึงกันเรื่อง ใส่แรมต่างรุ่น ต่างยี่ห้อ ต่างความจุ อาจเกิดปัญหาไม่สามารถเข้ากันได้อีก ก็ยิ่งทำให้หลายๆ คนเกิดความกังวลไม่น้อย
วันนี้ทีมงานเลยขอนำเอาประเด็นปัญหานี้ มาพูดถึงกัน เพราะคำถามเกี่ยวกับแรมที่มีมากมาย สอบถามเข้ามาทางเพจและ Facebook ของทาง Notebookspec ทีมงานจึงขอหยิบยกเอาประเด็นนี้ขึ้นมานำเสนอ เพื่อเป็นหนึ่งในแนวทางสำหรับการอัพเดรดแรม เพียงแต่เงื่อนไขของแรมที่นำมาใช้สำหรับอ้างอิงนี้ อาจไม่ได้ครอบคลุมแรม DDR4 ทุกแบบในตลาด แต่ก็พอจะใช้เป็นตัวอย่างสำหรับการพิจารณาในการใช้งานต่อไปได้
ปัญหาที่พูดถึงมีอะไรบ้าง
- แรมต่างยี่ห้อจำนวน 2 แถว ทำงานร่วมกันได้มั้ย?
- ใส่แรม 4 แถว ความเร็วต่างกัน ทำงานร่วมกันได้หรือไม่?
- แรมต่างความจุใช้ร่วมกันได้หรือไม่ และทำ Dual-channel ได้หรือเปล่า?
- ใส่แรมความจุต่างกัน 4 แถว จะทำงานเป็น Single หรือ Dual-channel?
- ใส่แรมต่างความจุกัน 2 แถว แล้วจะตั้งค่าให้ทำงานบนโหมด XMP ได้หรือไม่?
- ใส่แรมจำนวน 3 แถว จะทำงานในแบบ Dual-channel หรือ Single-channel กันแน่?
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ ประกอบไปด้วย
- Processor: Intel Core i7-8700K
- Mainboard: GIGABYTE Z370M D3H
- RAM: DDR4 จำนวน 4 รุ่นด้วยกัน ประกอบด้วย
- G.Skill TridentZ F4-3200C16D
- HyperX HX433C16PB3K2/16
- TEAM Group DDR4 2400
- F4-320014D-16GFX
- VGA: nVIDIA GTX 1060 3GB
- PSU: Thermaltake 750W
มาดูที่ผลการทดสอบในแต่ละข้อกัน โดยเงื่อนไขสำคัญคือ แรมทุกแถวต้องสามารถใช้งานได้ตามปกติ ทดสอบโดยติดตั้งแรมแต่ละแถวลงบนเมนบอร์ด บูตเครื่องได้ สามารถเข้าวินโดวส์ได้ตามปกติ เพื่อลดปัญหาการ
1.แรมต่างความจุใช้ร่วมกันได้หรือไม่ และทำ Dual-channel ได้หรือเปล่า?
เงื่อนไข: ติดตั้งแรมตามรูปด้านบนนี้ บนสล็อต DDR4_4 และ DDR4_3
ผลที่ได้: สามารถบูตเข้าระบบได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเข้าไปปรับแต่งใดๆ ในไบออส
2.ใส่แรม 4 แถว ความเร็วต่างกัน ทำงานร่วมกันได้หรือไม่?
เงื่อนไข: ติดตั้งแรมตามรูปด้านบนนี้ บนสล็อต DDR4_4 และ DDR4_3, DDR4_2 และ DDR4_1
ผลที่ได้: ระบบสามารถเปิดทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเข้าไปตั้งค่าใดๆ บนไบออส ที่สำคัญยังสามารถผ่านการทดสอบโปรแกรม AIDA64 และ SiSoft Sandra ได้สบาย อีกทั้งเข้าเล่นเกม PUBG ได้ตามปกติิอีกด้วย
3.ใส่แรมความจุเดียวกัน 2 แถว จำนวน 2 ชุด ทำงานในแบบ Dual-channel ได้หรือไม่?
เงื่อนไข: ติดตั้งแรมตามรูปด้านบนนี้ บนสล็อต DDR4_4 และ DDR4_3
ผลที่ได้: แม้ว่าจะต่างกันทั้งความเร็วและความจุก็ตาม แต่ระบบยังรายงานออกมาเป็น Dual-channel ตามปกติ แต่ทำงานด้วยความเร็วบัสต่ำสุด ที่ติดตั้งลงบนเมนบอร์ด
4.ใส่แรมต่างความจุกัน แล้วตั้งค่าให้ทำงานความเร็วสูงขึ้นได้หรือไม่? (XMP)
เงื่อนไข: ติดตั้งแรมตามรูปด้านบนี้ บนสล็อต DDR4_4 และ DDR4_3
ผลที่ได้: ด้วยการตั้งค่า XMP Profile1 บนเมนบอร์ด ระบบสามารถตรวจเช็คและทำงานได้ที่แรมความเร็วบัสต่ำสุดที่ติดตั้งคือ DDR4 3200 และทำงานตามบัสที่ระบุเอาไว้ได้ตามปกติ
5.ใส่แรมจำนวน 3 แถว จะทำงานในแบบ Dual-channel หรือ Single-channel กันแน่?
เงื่อนไข: ติดตั้งแรมบนสล็อต DDR4_4, DDR4_3 และ DDR4_2
ผลที่ได้: ผลปรากฏว่าระบบสามารถเปิดทำงานได้ตามปกติ อีกทั้งแสดงผลบน CPUz ในโหมด Dual-channel อีกด้วย โดยน่าจะเป็นการตรวจจับจากสล็อต DDR4_4, DDR4_3 และแน่นอนว่า สามารถใช้งานได้ตามปกติ ที่สำคัญยังผ่านการทดสอบโปรแกรม Specviewperf ได้อีกด้วย รวมถึงการเล่นเกม PUBG ได้อีกด้วย
บทสรุปการทดสอบในวันนี้ ตามที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นว่า แรมที่นำมาใช้เป็นเพียงการอ้างอิง สำหรับการติดตั้งแรมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งผลที่ได้อาจแตกต่างออกไปได้ ตามตัวแปรที่คุณใช้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของซีพียู เมนบอร์ดและแรม อย่างไรก็ดี สิ่งที่ได้เห็นในการทดสอบนี้ บอกได้อย่างหนึ่งว่า แรมที่ต่างบัสและความจุ สามารถทำงานในแบบ Dual-channel ได้ แม้ว่าจะติดตั้ง 2 หรือ 4 แถวก็ตาม
ส่วนคนที่ต้องการเปิดใช้ XMP มีความเป็นไปได้สูง หากแรมทำงานเข้ากันได้แล้ว การปรับไบออสให้สามารถทำงานร่วมกันได้บนความเร็วสูงผ่านโหมด XMP ก็เป็นไปได้มากเช่นเดียวกัน แม้แรมจะต่างกันก็ตาม รวมถึงจะทำงานที่ความเร็วบัสต่ำสุดที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดอีกด้วย
สุดท้ายคือ หากติดตั้งแรมไปพร้อมๆ กันจำนวน 4 แถวในครั้งแรก ระบบอาจไม่ทำงาน ก็ให้ทดลองติดตั้งเข้าไปทีละแถว แล้วบูตเครื่องใหม่ หลังจากนั้นทะยอยติดตั้งเข้าไป จนกว่าจะครบทั้ง 4 แถว หรือให้ลอง Clear BIOS หลังจากนั้นจึงติดตั้งกลับเข้าไปใหม่ ก็มีโอกาสที่จะทำงานร่วมกันได้ สำหรับคนที่มีแรมเก่า แล้วต้องการอัพเกรด ก็ขอให้ลองทำดูก่อน หรือนำข้อมูลมากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้เลย