Connect with us

Hi, what are you looking for?

PC Review

[RAM] G.SKILL TridentZ DDR4 3000 16GB แรมแกร่งตัวแรง พร้อมแสง RGB

กระแสของลูกเล่น RGB กระจายออกไปยังอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ซึ่งล่าสุดน่าจะเหลือแค่การ์ดจอเท่านั้น ที่ยังไม่โดน แต่เชื่อว่าอีกไม่นาน ซึ่งหลายคนก็ดูจะชื่นชอบกับสไตล์ของสีสันเหล่านี้ เช่นเดียวกับแรมที่นำมาทดสอบในคร้้งนี้ ก็ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ที่มาพร้อมกับไฟ RGB นี้ด้วย และเชื่อว่าใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์ที่มีลูกเล่นของ RGB อยู่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง

2861_5858e530b782c

Advertisement

G.Skill Trident Z RGB เป็นแรม DDR4 รุ่นล่าสุดจากค่ายแรมยักษ์ใหญ่อีกรายหนึ่งในท้องตลาด ที่เข้ามาขานรับลูกเล่นแสงสี เพื่อตอบสนองการใช้งานของบรรดา Modding หรือ Gamer ที่ต้องการสีสันในการใช้งานพีซีอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากเป็นแรม DDR4 ที่มาพร้อมความเร็วที่สูงถึง 3000MHz ยังด้วยจุดเด่นในเรื่องของแสงสีในแบบ RGB ที่สร้างสรรค์ความสวยงามได้ด้วยตัวเองผ่านทางซอฟต์แวร์ Trident Z RGB Control นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับฟีเจอร์ AURA ที่ปรับแต่งให้เข้ากับธีมภายในเคสได้อย่างลงตัว ร่วมกับเมนบอร์ดที่รองรับฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ด้วย โดยที่แรมรุ่นนี้จะมีให้เลือก 2 รุ่นด้วยกันคือ F4-3000C16D-16GTZR ความจุ 16GB (8GB x 2) และ F4-3000C16Q-32GTZR ที่เป็นแบบ 32GB (8GB x 4) กับค่า CL 16-18-18-38-2N ที่เรียกว่าอยู่ในระดับที่ดีทีเดียว ก็ต้องมาดูกันครับว่า ความสวยงามของแรมจาก G.Skill รุ่นนี้จะเป็นอย่างไรและร้อนแรงเพียงใด

Specification F4-3000C16D-16GTZR

  • Series Trident Z RGB
  • Memory Type DDR4
  • Capacity 16GB (8GBx2)
  • Multi-Channel Kit Dual Channel Kit
  • Tested Speed 3000MHz
  • Tested Latency 16-18-18-38-2N
  • Tested Voltage 1.35v
  • Registered/Unbuffered Unbuffered
  • Error Checking Non-ECC
  • SPD Speed 2133MHz
  • SPD Voltage 1.20v
  • Fan lncluded No
  • Height 44 mm / 1.73 inch
  • Warranty Limited Lifetime
  • Features Intel XMP 2.0 (Extreme Memory Profile) Ready

รูปลักษณ์และประสิทธิภาพ

G.Skill Trident Z RGB-22

สำหรับแพ็คเกจดูเหมือนว่าจะต่างจากที่ได้รับมาทดสอบในครั้งที่แล้วอยู่บ้าง โดยเฉพาะดีไซน์กล่องที่ดูแปลกตามากขึ้น พร้อมช่องใสๆ ให้เห็นตัวแรมและเน้นสีสันสะดุดตาเลยทีเดียว

G.Skill Trident Z RGB-23

ข้อมูลและรายละเอียดส่วนใหญ่อยู่ทางด้านหลัง ซึ่งบอกข้อมูลพื้นฐาน พร้อมฉลากที่ใส่รายละเอียด รุ่น ความเร็วและค่า CL มาให้ได้ทราบ

G.Skill Trident Z RGB-16

G (10)

ตัวแรมที่ออกแบบมา แทบจะไม่ต่างไปจาก TridentZ ตัวเดิม 3600 ที่เคยนำมาทดสอบก่อนหน้านี้ รูปบนเป็น F4-3000C16D-16GTZR ส่วนรูปล่างเป็น F4-3600C16D-16GTZKW ที่ทดสอบไปก่อนหน้านี้

G.Skill Trident Z RGB-17

แรมมาพร้อมแพ็คเกจแบบคู่ 16GB แถวละ 8GB x 2 ความเร็ว 3000MHz มีซิงก์อลูมิเนียมขนาดใหญ่ ในโทนสีดำและตัดโทนด้วยแถบสีขาวบังไฟ RGB ด้านบน

G.Skill Trident Z RGB-18

โดยพื้นฐานดูแล้วการออกแบบค่อนข้างเรียบง่าย พร้อมลายสกรีนรุ่นมาให้เห็นอย่างชัดเจน

G.Skill Trident Z RGB-19 G.Skill Trident Z RGB-20

อีกด้านหนึ่งมีฉลากบอกรายละเอียด ทั้งความเร็ว, CL และแรงดันไฟ รุ่นนี้มาพร้อมความเร็ว 3000MHz, CL 16-18-18-38 ที่แรงดันไฟ 1.35v ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงทีเดียว เมื่อเทียบกับแรม DDR4 3000 ในระดับเดียวกัน

G.Skill Trident Z RGB-21

ด้านบนเป็นแถบไฟ RGB ซึ่งให้ผู้ใช้สามารถปรับเลือกสีได้อย่างสวยงาม เมื่อต่อเข้ากับเมนบอร์ดและใช้ซอฟต์แวร์ Trident Z RGB Control

G.Skill Trident Z RGB-13

สำหรับใครที่ใช้เมนบอร์ดที่รองรับ AURA จะสามารถทำงานร่วมกันได้ระหว่างแรมกับเมนบอร์ด ซึ่งทำให้ผู้ใช้เลือกปรับสี RGB ได้อย่างสอดคล้องร่วมกัน ทั้ง 2 อุปกรณ์ ซึ่งแน่นอนว่าความสวยงามและต่อเนื่องต้องดียิ่งขึ้น

G.Skill Trident Z RGB-8 G.Skill Trident Z RGB-9

G.Skill Trident Z RGB-4

ตัวอย่างเมนบอร์ดจาก ASUS ที่นำมาใช้ในการทดสอบ AURA ที่เป็นเมนบอร์ด X370 สำหรับ AMD ให้คุณเลือกปรับสีได้ตามใจชอบและทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัว

gskill-3000-rgb (1)

แต่เนื่องจากเมนบอร์ดที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งเป็นชุด AMD ติดเรื่องของเวลาในการทดสอบเล็กน้อย ทำให้ทีมงานขยับมาใช้ชุดทดสอบ Intel แทน โดยครั้งนี้มีซีพียู Intel Core i7-7700K และ ASRock Z270 Extreme4 มาทำหน้าที่ในการทดสอบ ซึ่งหน้าไบออส ก็แจ้งรายละเอียดความเร็วได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่ครั้งแรกที่บูตเครื่อง

gskill-3000-rgb (2)

ในหน้าแรกของไบออส เมนบอร์ดสามารถรายงานได้อย่างถูกต้อง สำหรับความเร็วและความจุของแรม F4-3000C16D-16GTZR 

gskill-3000-rgb (4)

เมื่อเข้าสู่หน้า OC Tweaker ข้อมูลของแรมที่รายงาน ก็เป็นไปตามที่ระบุไว้จากสเปก ก็ไม่รอช้าเข้าสู่การทำงานที่ความเร็ว 3000MHz ด้วยโหมด XMP profile

gskill-3000-rgb (3)


gskill3000-cpuz-2 gskill3000-cpuz

CPUz

gskill3000-aida-write gskill3000-aida-copy gskill3000-aida-lat gskill3000-aida-read

ผลทดสอบจาก AIDA64 กับตัวเลข Memory Read, Write, Copy และ Latency บนบัส 3,000MHz

Sisoft-mem band

Sisoft-mem lat

การทดสอบด้วย Sisoft Sandra 2017 กับ Memory Bandwidth และ Memory Latency ด้วยแรมความเร็ว 3,000MHz

Overclock


gskill3200-cpuz2

gskill3200-cpuz

จากนั้นเราได้ปรับความเร็วขึ้นไปเล็กน้อย ให้ไปอยู่ที่ 3200MHz บนค่า CL 18-20-20-40

AIDA64-mem write AIDA64-mem copy AIDA64-mem laten AIDA64-mem read

ผลที่ได้จากการทดสอบแรม F4-3000C16D-16GTZR ที่ความเร็ว 3200MHz ผลที่ได้คือความเร็วขยับขึ้นไปเล็กน้อย บนการทดสอบ AIDA64

Sisoft-mem band

Sisoft-mem lat

การทดสอบด้วย Sisoft Sandra 2017 กับ Memory Bandwidth และ Memory Latency ด้วยแรมความเร็ว 3,200MHz

Conclusion

ก็ต้องถือว่าเป็นแรมที่ให้ประสิทธิภาพในการทำงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทีเดียว สำหรับแรม G.Skill DDR4 3000 RGB รุ่นนี้ ซึ่งตอบโจทย์การใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์หรือเกม ที่ต้องการแบนด์วิทธ์สูงๆ ได้ดี เช่นเดียวกับตัวเลขในการทดสอบ นอกจากนี้ยังพอมีช่องว่างในการโอเวอร์คล็อกได้เพิ่มขึ้น แม้แรงดันไฟจะขยับมาแตะที่ 1.35v แล้วก็ตาม โดยในครั้งนี้จากที่ลองปรับเล็กน้อย ให้ขยับสูงจาก XMP 2.0 3000MHz มาเป็น 3200MHz ก็ไม่ได้ยุ่งยากนัก เพียงขยับบัสขึ้นมาเล็กน้อยเท่านั้น แต่น่าจะไปได้ไกลกว่านี้ สำหรับคนที่อยากลอง แต่ที่น่าสนใจมากกว่าคือ การใช้งานไฟ RGB ที่ต้องแยกเป็น 2 ส่วนคือ การทำงานร่วมกับ AURA Sync ในการปรับแสงสีร่วมกันได้ แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดอื่น ที่ไม่ได้รองรับ AURA Sync ก็คงต้องแยกการปรับแต่งแรมและเมนบอร์ดแยกจากกัน โดยทำงานผ่าน Trident Z RGB Control ส่วนเมนบอร์ดการใช้ซอฟต์แวร์ของแต่ละยี่ห้อสำหรับปรับแสงสีให้ลงตัวได้เช่นกัน ก็เรียกได้ว่าได้ทั้งความสวยงามและประสิทธิภาพอย่างครบเครื่อง ใครเหมาะกับแรม G.Skill DDR4 3000 RGB นี้บ้าง ก็คงต้องตอบว่า เหมาะกับทุกคนที่ชอบความสวยงามหรือกำลังมองหาธีมพีซีของตน และคนที่เริ่มต้นการโอเวอร์คล็อก ซึ่งแรมรุ่นนี้มีเสถียรภาพมากพอที่จะตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเหมาะสม

จุดเด่น

  • มีไฟแสดงผล RGB ในตัว รองรับการปรับแต่งได้
  • ให้ความเร็วในการทำงานที่ดี
  • รองรับการปรับแต่ง โอเวอร์คล็อกได้

ข้อสังเกต

  • การปรับแต่งไฟ RGB ให้สอดคล้องกับเมนบอร์ดต้องรองรับ AURA Sync

 

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

PC Review

Kingston FURY BEAST DDR5 6800 MT/s เพิ่มความเร็วให้เกมเมอร์ ไฟ RGB เพิ่มสีสันให้คอมเครื่องโปรด Kingston FURY BEAST DDR5 6800MT/s แรมความเร็วสูงเพื่อคอเกมและกลุ่มที่ชอบ Performance เร่งสปีดพีซีไปให้สุด โทนสีขาวดูพรีเมียมกับความจุ 32GB พร้อมแถบไฟ RGB สว่างสดใส ปรับแต่งร่วมกับซอฟต์แวร์ได้...

PC Review

DarkFlash DS900 Air เคสคอมเย็นฉ่ำ โชว์ภายในได้ทุกอย่าง สวยอัพเกรดง่าย จ่ายเบาๆ DarkFlash DS900 Air เคสคอมสำหรับคอเกมและผู้ที่ชอบแต่งคอม ดีไซน์สวย เน้นการระบายลมได้ดี ติดตั้งพัดลมได้เยอะ โชว์ฮาร์ดแวร์ภายในได้เต็มที่กับกระจกเทมเปอร์ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง กับโทนสีขาวภายในตลอดทั้งบอดี้ มีฟังก์ชั่นสำหรับไฟ RGB กับพื้นที่ภายในกว้างขวาง เหมาะกับคนที่ใช้อุปกรณ์จำนวนมาก ทั้งชุดน้ำ และ Liquid Cooling...

Gaming Gear

S-GEAR SCYLLA คีย์บอร์ด 2023 Custom Hot Swap เลือกคีย์แคป เปลี่ยนคีย์สวิทช์เองได้ตามใจ ไฟ RGB สวย S-GEAR SCYLLA เกมมิ่งคีย์บอร์ดที่มีความโดดเด่น ในรูปแบบของ Mechanical keyboard รุ่นนี้ ไม่ใช่แค่ความเป็นคีย์บอร์ดที่มีแสงไฟสวยงาม หรือมาในแบบ TKL ที่มีขนาดกระทัดรัด เท่านั้น...

REVIEW

HyperX Alloy Origins PBT 2023 เล่นเกมสนุก ทนทาน ปรับแต่งง่าย คีย์ไทย ไฟ RGB เล่นได้ทุกเกม HyperX Alloy Origins PBT จัดเป็นเกมมิ่งคีย์บอร์ด RGB ในสายของ Alloy ที่ได้รับการพัฒนามาต่อเนื่อง จากรุ่นพี่ที่เป็น Alloy Origins...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก