TOSHIBA Satellite L635 รุ่นใหม่ที่ทาง NBS ได้มาทดสอบกันนะครับ หน้าตาอาจจะไม่แตกต่างจากรุ่นเดิมมากนัก แต่ในความเหมือนก็มีความต่าง เพราะมาพร้อมกับฟังก์ชันเด็ดด้วยจอภาพขนาด 13.3 นิ้ว แบบ 16:9? และระบบเด็ดใน Windows 7 ซึ่งติดตั้งของแท้มาพร้อมให้ใช้งานแล้วด้วย ส่วนสเปกอื่นๆ ก็มาพร้อมสเปกที่สดใหม่ตามสไตล์สถาปัตยกรรม Core i เริ่มด้วยซีพียู Core i3-350M ความเร็วที่ 2.26 GHz แถมยังมากับเจ้าการ์ดจอ ATI Mobility Radeon? HD 5145 อีกด้วยครับ แรมขนาด 2 GB แบบ DDR3? ฮาร์ดดิสก์ 320 GB พร้อมรองรับฟังก์ชันป้องกันข้อมูลจากการสั่นสะเทือนด้วย พอร์ตการเชื่อมต่อก็มีมาอย่างครบครันทั้ง HDMI, พอร์ต e-sata โอนถ่ายข้อมูลที่เร็วกว่า USB 2.0 มีติดเครื่องไว้ไม่ผิดหวังนะครับ
ภาพบอดี้ส่วนนอซึ่งเป็นรายละเอียดหลักของตัวเครื่อง
Toshiba Satellite L635 มี 3 สี 3 สไตล์ทั้งสีดำ, สีแดง และสีขาว แบบที่ NBS ได้มาทดสอบนี้ แรกเห็นหน้าตาก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นโน๊ตบุ๊คจาก Toshiba ด้วยการออกแบบที่เรียบงายแต่สวยงาม พร้อมโชว์ความหรูหราด้วยสีขาวได้ในราคาเบาๆ ไม่แพ้เครื่องรุ่นใหญ่ของ Toshiba เลยละครับ
อย่างที่เห็นครับว่า พื้นหลังจอภาพจะเป็นลายจุดๆ พร้อมการเคลือบเงา แต่จะเป็นรอยได้ง่ายหากใช้งานไม่ระมัดระวัง
หน้าจอกางได้ประมาณ 150 องศา
จอภาพขนาดมาตรฐาน 13.3 นิ้ว Widescreen ที่ความละเอียด 1366 x 768 แบบจอกระจก LED คมชัด ขอบของจอจะเป็นสีขาว ดูกลมกลืนไปกับตัวเครื่องเลยทีเดียว
บานพับของ Toshiba Satellite L635 เป็นรูปตัว L แบบที่นิยมกัน ความแข็งแรงอยู่ในระดับกลางๆ ไม่แข็งหรืออ่อนจนเกินไปครับ
มุมด้านข้างกันบ้างครับ
เมื่อเทียบขนาดกับกล่อง DVD ก็ได้ออกมาอย่างที่เห็นละครับ หนากว่าอยู่เล็กน้อย
ด้านใต้ท้องเครื่องรวมถึงช่องระบายความร้อนใต้เครื่อง
ใต้เครื่องจะเป็นฝาปิดที่สามารถเปิดฝาไ้ด้ โดยจะเป็นแรมและฮาร์ดดิสก์ด้านบน
ช่องระบายความร้อนค่อนข้างน้อย แต่จะเน้นรูระบายให้กับ pipeline และแรมซะเป็นส่วนใหญ่ครับ
นี้คือพัดลมระบายครับ ถูกปิดให้เหลือแค่ครึ่งเดียว
ช่องระบายความร้อนของ CPU ขนาดกลางๆ ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ลมแรงพอสมควร เสียงไม่ดังมากเท่าไร เงียบกำลังดี แต่ก็มีอุณหภูมิที่สูงพอสมควรเวลาทำงานหนักๆ
ส่วนนี้ถ้าหากเราสามารถจะเปิดฝาปิดเครื่องภายในได้ ก็จะเปิดให้ดูว่าไส้ในเป็นยังไง มีระบบหรืออุปกรณ์อะไรบ้าง
เมื่อเปิดออกมาแล้วจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ฮาร์ดดิสก์ และในส่วนของแรมครับ
แรมติดตั้งมาให้แล้ว 1 แถว และสามารถใส่ได้สูงสุดถึง 8 GB เลยทีเดียวครับ
ขนาดของคีย์บอร์ด Toshiba Satellite L635 จัดได้ว่าใหญ่ทั้งคีย์บอร์ดและปุ่มต่างๆ เมื่อเทียบกับขนาดเครื่อง ช่วยให้สามารถใช้งานได้สะดวก มีขอบด้านข้างปุ่มเพื่อบอกตำแหน่งชัดเจนพอสมควร ไม่ได้ติดกันเป็นแพเสียทีเดียว ตรงขอบปุ่มสีขาวตัวอักษรสีเทาก็สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน สามารถสั่งงานได้อย่างดี ปุ่มไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไปนัก ซึ่งคีย์บอร์ดแบบนี้จะใช้งานได้ง่ายและนุ่มนวลกว่า ดูแข็งแรงกว่าคีย์บอร์ดแบบ Chicklet ในรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมานะครับ
ปุ่ม Fn ครบครันและครอบคลุมทุกการใช้งานของเครื่อง ปุ่มพิเศษต่างๆ ที่เป็นปุ่มแยกก็ถูกใส่มาในส่วนของปุ่ม Fn เช่น เพิ่ม/ลดเสียง ปรับความสว่างจอภาพ
Touchpad จัดว่ามีขนาดพอสมควร อีกทั้งยังมีลักษณะ wide เช่นเดียวกับจอภาพ โดยจะเป็นคนละพื้นผิวกับที่พักมือ โดยสามารถสังเกตได้ชัดเจน ว่าจะสู้สึกสากที่ผิวนิดๆ ทำให้รู้สึกได้ถึงการใช้งาน ปุ่มใหญ่พอสมควร โดยจะติดกันทั้งปุ่มเมาส์ด้านซ้ายและด้านขวา ค่อนข้างแข็ง อีกทั้งยังเป็นสีเงินเช่นเดียวกับโครเมียม ดูสวยงาม
ตรา Toshiba ก็อยู่ตรงกลางเหมือนเคย
สำหรับสติกเกอร์บน Toshiba Satellite L635 ก็นับว่าครบครันตามสูตรต้นฉบับ โดยทาง Toshiba ออกแบบมาให้มีสีสันเข้ากันกับตัวเครื่องได้ดี พร้อมตรารับประกันประสิทธิภาพจาก Intel Core i3, Windows 7, ATI MOBILITY RADEON, Energy Star
Panel ด้านหน้ามีเพียงไฟ LED แสดงสถานะ ทางด้านขาวมือซึ่งเริ่มจากไฟแสดงการทำงานของไฟอะแดปเตอร์, ไฟเครื่อง, ไฟของแบตเตอรี่, ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์, ไฟแสดงการทำงานของ Card reader และไฟแสดงการทำงานของ WLAN ครับ
ทางด้านซ้ายเริ่มด้วยไดรฟ์, ช่องเสียบ Adapter, USB 2 พอร์ต, Card Reader 4-in-1 และ DVD-RW ครับ
ทางด้านขวาเริ่มด้วยช่องเสียบหูฟังและไมล์, E-Sata (USB Combo), HDMI, LAN, D-Sub, ช่องระบายความร้อน และKensington Lock
ด้านหลังไม่มีอุปกรณ์อะไรนอกจากแบตเตอรี่
ด้านบนสุดก็จะเป็นปุ่มเปิด/ปิดเครื่องครับ ดูธรรมดาไม่มีไฟแสดงสถานะบอกตรงปุ่มเลยครับ
คุณภาพของ Webcam และระบบเสียง
กล้อง Webcam 0.3MP และมีช่องรับเสียงไมค์อยู่ข้างๆ
ส่วนด้านบนก็จะเป็นลำโพงแยกกันอยู่สองฝั่งครับ แต่เสียงเบาไปหน่อยครับ
สำหรับแบตเตอรี่ของเครื่อง Toshiba Satellite L635? จะใช้เป็น Li-Ion 6 Cells 4200mAh
จบเรื่องฮาร์ดแวร์แล้ว ก็มาดูกันต่อที่ซอฟท์แวร์กันบ้างนะครับ
โปรแกรมต่างๆ ที่ได้มีการติดตั้งมาให้
Toshiba ConfigFree สำหรับความคุมจัดการ การเชื่อมต่อต่างๆ เช่น Wi-Fi, LAN, Bluetooth ตั้งแต่เปิด/ปิดการเชื่อมต่อ ไปจนถึงการสร้างเป็น Pro File ได้ด้วย
อีกโปรแกรมหนึ่งที่มีประโยชน์และน่าสนใจมากๆ คือ โปรแกรม HDD Protection สำหรับป้องกันข้อมูลในฮาร์ดดิสค์จากการสั่นสะเทือน โดยจะมีการเตือนเมื่อเครื่องขยับหรือสั่น เพื่อไม่ให้ข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์เกิดความเสียหาย นี่ขนาดเป็นรุ่นราคาไม่สูงมากนะครับ Toshiba ยังให้ฟังก์ชันเด็ดแบบนี้มาเลย
เป็นโปรแกรมตรวจสอบสเปกเครื่อง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ละเอียดดีพอสมควรเลยครับ
โปรแกรมจัดการระบบรักษาความปลอดภัยด้วยใบหน้าครับ ใครไม่ใช่หน้าเราไม่มีสิทธิ์ใช้งานเครื่องได้ครับ
โปแกรมจัดการและใส่ Effect ให้ Webcam ครับ
HWSetup อีกหนึ่งโปรแกรมอำนวยความสะดวกจาก Toshiba กับการ Setup Bios ง่ายๆ แม้มือใหม่ก็สามารถใช้งานได้
โปรแกรมเด่นอีกตัวคือ การตั้งค่าการชาร์จแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อผ่านพอร์ต USB แม้จะปิดเครื่องได้ด้วยครับ
โปรแกรมจัดการเวลาขยายจอภาพครับ ซึ่งสามารถใช้งานด้วย Touchpad แบบ Multi touch
แน่นอนครับ ว่าโดดเด่นด้วยการใช้งานที่ยาวนาน ขาดโปรแกรมนี้ไปเห็นทีจะดูแปลกๆ กับโปรแกรมใหม่อีกหนึ่งตัวที่มาในซีรีส์ใหม่จาก Toshiba นั้นก็คือฟังก์ชันประหยัดพลังงาน เมื่อกดปุ่มที่เป็นสัญลักษณ์ของโปรแกรม โปรแกรมก็จะจัดการปรับแต่งเครื่องให้เราอัตโนมัติ เช่น ลดความสว่างหน้าจอลง ปิดฟังก์ชันบางอย่างที่ไม่จำเป็น โดยจะแสดงผลออกมาเป็นกราฟเลยทีเดียวว่าประหยัดพลังงานไปเท่าไรแล้ว ซึ่งถือว่าเหมาะมากในยุคปัจจุบันนี้
เวลาที่เรากดปุ่ม Fn ก็จะมีเมนูบาร์ลงมาจากด้านบนเพื่อบอกว่าปุ่มในส่วนของ Fn แต่ละตัวมีหน้าที่อะไร ซึ่งสะดวกดีครับยิ่งเวลามืดๆมองไม่เห็นปุ่มด้วยแล้วยิ่งมีประโยชน์เลย
โปรแกรมใหม่จาก Toshiba ที่เหมือนกระดาน memo สามารถบันทึกต่างๆ ไว้ที่หน้าจอ แทรกได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ ทำลูกศรชี้ และเขียนได้อิสระเลยครับ
Tab ต่อมาของโปรแกรมนี้จะเป็นเครื่องมือปรับแต่งแบบง่ายๆ พร้อม hale ต่างๆ
Realtime โปรแกรมที่บันทึกกิจกรรมต่างๆ ตามเวลาที่เปิดเครื่องในแต่ละครั้ง นอกจากบอกว่าเวลาไหนทำอะไรแล้ว ยังย้อนค่ากลับไปใช้อันเก่าได้ด้วยครับ
PC Health Monitor โปรแกรมตรวจสอบสภาวะแวดล้อมของเครื่องว่าทุกอย่างเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งอุณหภูมิ ความเร็วของพัดลมระบายความร้อน หรือแม้กระทั่งกำลังไฟก็มีบอกมาอย่างชัดเจน
สำหรับ Windows ตัวที่ทดสอบจะใช้เป็น Windows 7 Home Premium 64-Bit ซึ่งเป็น License ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง
คะแนนที่ได้จาก Windows Experience? ถือว่าค่อนข้างแรงเลยทีเดียวครับ
Toshiba Satellite L635 มาพร้อมซีพียูสถาปัตยกรรม Core i3 โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการผลิตใหม่แบบ 32 nm โดยมาในรุ่นล่าง Core i3 350M ความเร็ว 2.27 GHz ระบบแคชแบบ L3 ที่ 3 MB มีจำนวน Core เดิมๆ ที่ 2 Cores พร้อม Hyper Threading ทำให้สามารถจำลอง CPU เสมือนจริงขึ้นมาอีก 2 Cores จึงทำงานได้เหมือนกับ 4 Threads
Toshiba Satellite L635 ตัวนี้มาพร้อมกับแรม 2 GB? ความเร็วที่ 1066 MHz ครับ
การ์ดจอของ Toshiba Satellite L635 เป็น ATI Mobility Radeon HD 5145
ค่าของไดรฟ์รองรับตามมาตรฐาน DVD-RW ทั่วๆ ไป
การทดสอบในส่วนของ Resolution ว่ารองรับความละเอียดสูงสุดได้เท่าไร และในส่วนของ Page view ว่าสามารถแสดงผลหน้า Web ได้ขนาดไหน
Resolution ของ Toshiba Satellite L635 มากับจอภาพ 13.3 นิ้ว มาตรฐาน Notebook ขนาดกลาง ความละเอียดจอภาพแบบอัตราส่วน 16:9 WideScreen ที่ 1366 x 768 Pixels
โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่งต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
Core i3-350M ทำเวลาออกมาได้ดีพอสมควร 20.185 วินาทีครับ
มีหลักการทำงานคล้ายๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
ถึงแม้จะสั่งให้ทำงานทุกหัว แต่ก็ยังสามารถทำเวลาออกมาได้ดีพอสมควรครับ
เป็นโปรแกรมที่เน้นทดสอบความแรงด้านกราฟิก 3D ของซีพียู นิยมนำมาทดสอบเพื่อวัดประสิทธิภาพของซีพียูเป็นหลักครับ
ผลทดสอบจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ทดสอบแบบ Core เดียว (1 CPU) ซึ่งได้คะแนน 3059 CB และการทดสอบแบบหลาย Core (x CPU) ได้คะแนนที่ 7007 CB ถือว่าแสดงถึงประสิทธิภาพโดยรวมที่โดดเด่นพอสมควรในด้านการคำนวณลักษณะของ 3D ได้เด่นเลยละครับ
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล ซึ่งสเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 320 GB 5400 RPM
จากการทดสอบด้วยความเร็วสูงสุดในการอ่าน ข้อมูลจะอยู่ที่ 72.1 Mb ต่อ วนาที ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 17.4 ms (ยิ่งน้อยยิ่งดี)
เมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ความเร็ว 5400 RPM รุ่นอื่นๆ แล้ว นับว่าเร็วกว่าทีมากเดียวเลยครับสำหรับ HDD ตัวนี้
แม้ความจุจะสูง แต่ประสิทธิภาพออกมาในระดับที่ดีไม่น้อย ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลเร็วมากพอสมควร
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยเชื่อมต่อกับ Access Point ที่มีระยะห่างออกไป 1.5 เมตร และถ่ายโอนข้อมูลจาก PC อีกเครื่องที่อยู่ในวงแลนเดียวกัน
แม้จะเป็นการ์ด Wireless ที่ออกมาเพื่อแพลตฟอร์มเซนทริโน 2 ย่อม ไม่ทำให้ผิดหวังครับ สัญญาณนิ่งดีมากไม่มีแกว่งเลย
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
ATI MOBILITY RADEON HD 5145 (512 MB DDR3)
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, Graphics, HDD
สามารถทำคะแนนออกมาได้สูงเลยทีเดียวโดยเฉพาะการ์ดจอและแรม คะแนนแรงมากครับสำหรับโน๊ตบุ๊คตัวนี้
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
ATI MOBILITY RADEON HD 5145 (512 MB DDR3)
คะแนนก็เป็นไปตามความสามารถของการ์ดจอครับ นับว่าทำคะแนนทางด้าน 3D ได้สูงเลยทีเดียวครับ
เป็นโปรแกรมทดสอบอีกตัวที่อยากแนะนำ โดยเป็นโปรแกรมที่ทดสอบภาพรวมของเครื่องแล้วสรุปออกมาเป็นคะแนนรวม ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับรุ่นอื่นๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังแจกแจงคะแนนทดสอบในแต่ละส่วนให้เห็นอีกด้วย
คะแนนอาจจะออกมาดูมากเป็นพิเศษ เนื่องจากระบบปฏิบัติการระดับ 64-Bit ที่ทำให้ระบบทำงานได้เต็มประสิทธิภาพของเครื่องมากกว่านะครับ
ปล. เนื่องจากเป็น Windows 7 Home Premium 64-Bit ทำให้คะแนนออกมาแตกต่างกันมากจนเกินไป จึงทำให้ไม่สามารถอ้างอิงคะแนนจากกราฟเดิมได้
เป็นโปรแกรมที่สามารถทดสอบเครื่องได้หลายๆ ส่วน เช่น ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ และอื่นๆ อีกหลายอย่าง อีกทั้งยังสามารถเลือกซีพียูรุ่นอื่นๆ มาเปรียบเทียบได้ด้วย โดยจะแบ่งเป็น 3 แบบ คือ
1. Processor Arithmetic ทดสอบซีพียู
2. Memory Bandwidth ทดสอบ Bandwidth ของ Memory ในส่วนของชิปเซตและแรม
3. Physical Disks ทดสอบความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์
Hardware Monitor
อุณหภูมิแวดล้อมขณะทดสอบประมาณ 33-35 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิก่อน Burn-in
วิธีทดสอบ : ขั้นแรกจะเป็นการทดสอบโดยการเปิดใช้งานเครื่องทั่วไป เช่น เล่นอินเตอร์เน็ต พิมพ์งาน อุณหภูมิจะขึ้นอยู่ราวๆ 30-40 องศาเซลเซียส แล้วแต่สภาพของห้องและความร้อน
หลังจากนั้นจะทดสอบด้วยวิธี
Burn-in CPU
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการ Burn-in โดยใช้โปรแกรม CPU Burn-in 4 หน้าต่างโปรแกรม เพื่อรันซีพียูให้ทำงานที่ 100% เป็นเวลา 2 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางวัน
อุณหภูมิหลัง Burn-in
แต่หลังจาก Burn แล้วอุณหภูมิสูงขึ้นมาบ้างในระดับ 70 องศาเซลเซียส แต่จุดสังเกตหนึ่งคือ บริเวณช่องระบายความร้อนมีอุณหภูมิสูงพอสมควร แต่ก็ไม่ได้ร้อนมากจนมาถึงคีย์บอร์ดแต่อย่างใด
ทดสอบเวลาในการใช้งานแบตเตอรี่
แบบที่ 1 ใช้งานทั่วไป
วิธีทดสอบ : ทดสอบใช้งานทั่วๆ ไป เช่น พิมพ์งาน เล่นอินเตอร์เน็ตผ่าน Wireless โดยปรับความสว่างของจอภาพสว่างสุดจนแบตเตอรี่เหลือประมาณ 8% และสามารถใช้ได้ถึง 4 ชั่วโมงครับ ถ้าหากปรับไปใช้ eco โหมดและลดความสว่างจอภาพต่ำว่านี้ น่าจะสามารถใช้งานได้ประมาณ 5 ชั่วโมงเลยทีเดียวครับ
แบบที่ 2 ใช้งานหนักๆ
วิธีทดสอบ : ทดสอบใช้งานหนักๆ โดยการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูง โดยปรับความสว่างของจอภาพสว่างสุดและเปิดลำโพงในระดับสูงสุด
พอใช้งานหนักๆ แล้วก็เป็นไปตามประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ใช้งานได้ประมาณ 2 ชั่วโมง
เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการชาร์จแบตเตอรี่ พร้อมกับเปิดใช้งานเครื่องตั้งแต่ 8% จนถึง 100%
ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
ถือว่า Toshiba ตีโจทย์โน๊ตบุ๊คในการพกพาสะดวก TOSHIBA Satellite L Series นี้ออกมาได้อย่างดี แม้จะออกมาช้ากว่าค่ายอื่นๆ แต่ก็มีจุดเด่นเป็นของตัวเอง ที่ทำให้แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ ในสไตล์ที่เป็น Toshiba ทั้งการออกแบบที่สวยงามไม่แพ้โน๊ตบุ๊ครุ่นใหญ่ๆ อีกทั้งความบางเบาซึ่งไม่เป็นสองรองใคร สเปกเองก็โดดเด่นด้วยการประหยัดพลังงานเป็นพิเศษ พร้อมฟังก์ชันเด็ดที่มีในโน๊ตบุ๊ค Toshiba เท่านั้น ทั้ง USB Sleep ?n Charge แค่ต่อสาย USB เท่านั้นไม่ต้องเปิดเครื่องก็สามารถชาร์จแบตเตอรี่และอุปกรณ์ต่างๆ ได้แล้ว ระบบป้องกันการสั่นสะเทือนของฮาร์ดดิสก์ ที่จะช่วยปกป้องข้อมูลของท่านจากการสั่นสะเทือน ที่แม้จะเป็นเครื่องราคาไม่สูงมากจัดได้เป็นรุ่นที่ดูดีแต่ราคาคุ้มค่ามากเลยทีเดียว แต่กระนั้น Toshiba ก็ใส่ฟังก์ชันนี้มาให้ และระบบปฏิบัติการ Windows 7 แท้ติดมาให้ด้วย เรียกได้ว่าใครต้องการโน๊ตบุ๊คดูหรูหรา ครบครัน และสวยงามด้วยละก็ ต้องเป็นโน๊ตบุ๊คจาก TOSHIBA Satellite L635 Series เลยครับ
TOSHIBA Satellite L635
NBS Link : https://notebookspec.com/notebook/3045-Satellite-L635-1014X:1010XW:1009XR.html
Toshiba Link : http://www.toshiba.co.th/2009/th/notebook/satellite_l635_series.html
NBS เราได้มีการมอบรางวัลให้โน๊ตบุ๊คที่ผ่านการประเมินคะแนนในด้านต่างๆ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่โน๊ตบุ๊ครุ่นนั้นๆ ที่เราได้ทดสอบไป
โดยจะตัดสินจาก 6 หัวข้อหลัก ได้แก่
- Design
- ความคุ้มค่า (Value)
- Performance
- ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- Gaming
ซึ่งแต่ละหมวดมีคะแนนเต็ม 5 คะแนนตามประสิทธิภาพของแต่ละหมวด
โดยระดับคะแนนที่ได้รางวัลต่างๆ ได้แก่
25 คะแนนขึ้นไป
20 คะแนนขึ้นไป
15 คะแนนขึ้นไป
โดย TOSHIBA Satellite L635 สามารถผ่านการทดสอบมาได้ตามระดับคะแนนเลยครับ
- 4/5 ?Design
- 3/5 ?ความคุ้มค่า (Value)
- 3/5 ?Performance
- 2/5 ?ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- 3/5 ?ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- 2/5 ?Gaming
รวม 17 คะแนน
notebookspec.com จึงขอมอบรางวัล Silver แก่ TOSHIBA Satellite L635