ในช่วงที่ผ่านมานี้นั้นเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของหน้าจอบนโน๊ตบุ๊คครั้งใหญ่ของผู้ผลิตครับ การเปลี่ยนแปลงนั้นก็คือผู้ผลิตเริ่มที่จะหันมาใช้หน้าจอแบบ OLED กันมากขึ้นแล้ว(แต่กระนั้นก็ยังจำเพาะอยู่ในกลุ่มโน๊ตบุ๊คราคาสูงหรือไม่ก็โน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมที่มีราคาค่อนข้างแพง) ด้วยความที่หน้าจอแบบ OLED เริ่มที่จะตีตลาดเข้ามาเรื่องๆ แถมในเมืองไทยบ้านเรานั้นก็เริ่มที่จะหาซื้อโน๊ตบุ๊คหน้าจอแบบ OLED มาใช้งานกันได้แล้ววันนี้ทาง NBS จึงขอนำบนความเปรียบเทียบหน้าจอแบบ OLED กับ IPS มาให้ทุกท่านได้ศึกษากันครับ
ซ้าย IPS – ขวา OLED
จะว่าไปแล้วนั้นเทคโนโลยีหน้าจอแบบ OLED นั้นไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใดครับเนื่องจากว่า OLED นั้นถูกใช้บนหน้าจอโทรทัศน์ขนาดให
ญ่มาก่อนหน้านี้แล้ว(ทั้งของทาง LG และ Samsung) ทว่าด้วยราคาของโทรทัศน์หน้าจอแบบ OLED ที่แพงแสนแพงนั้นทำให้มันได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ เท่านั้น จนในที่สุดแล้วนั้นทางผู้ผลิตเองก็ต้องยอมถอยด้วยเหตุผลที่ว่ามันยังไม่ถึงเวลาของ OLED ในตลาดซึ่งตอนนี้นั้นก็นับได้ 2 ปีแล้วหล่ะครับ
อย่างไรก็ตามต้นเหตุของโทรทัศน์ที่ใช้หน้าจอ OLED มีราคาแพงนั้นก็เนื่องมาจาก 2 กรณีได้แก่มันเป็นเทคโนโลยีใหม่และแน่นอนว่าโทรทัศน์ที่ใช้หน้าจอแบบ OLED นั้นก็จะมีหน้าจอขนาดใหญ่ด้วย(โดยปกติจะอยู่ที่ 55 นิ้ว – 65 นิ้ว) สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากในช่วยแรกๆ ผู้ผลิตผลิตหน้าจอ OLED ขนาดใหญ่เท่านั้นครับ แน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีก็พัฒนามากขึ้นจนผู้ผลิตสามารถที่จะผลิตหน้าจอแบบ OLED ที่มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมากได้ดังนั้นเราจึงได้เห็นว่ามีบางบริษัทเอาหน้าจอแบบ OLED ไปใช้กับสมาร์ทวอทช์ครับ
หมายเหตุ – จริงๆ แล้วมีการใช้งานในสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ตมาก่อนแล้วด้วยเหมือนกันครับ
ด้วยข้อจำกัดบางอย่างทำให้ที่ผ่านมานั้นผู้ผลิตไม่สามารถที่จะนำเอาหน้าจอแบบ OLED มาใช้งานบนโน๊ตบุ๊คได้ ทว่าจากนั้นไม่นานมากนักในช่วงปี 2016 ที่ผ่านมานี้ข้อจำกัดเหล่านั้นก็ได้ถูกพังทลายลงไปและทำให้ผู้ผลิตโน๊ตบุ๊คนำหน้าจอ OLED มาใช้งานบนโน๊ตบุ๊คของตนไม่ว่าจะเป็น Lenovo ที่เปิดตัวออกมาเจ้าแรกกับรุ่น Lenovo ThinkPad X1 Yoga หลังจากนั้นก็ตามมาด้วย Alienware และ HP
โดยหากพูดกันตามจริงแล้วราคาของโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับหน้าจอ OLED นั้นคุณต้องเพิ่มค่าจอเข้าไปอีกถึง $330 หรือประมาณ 11,880 บาทเพื่อที่จะได้หน้าจอ OLED ความละเอียด WQHD หรือ 2560 x 1440 pixels มาใช้งานซึ่งจะว่าไปก็ยังแพงอยู่ ดังนั้นมาดูกันดีกว่าครับว่ามันคุ้มแล้วหรือยังกับเงินเรือนหมื่นสำหรับหน้าจอ OLED
ทำไมถึงต้องเป็นหน้าจอแบบ OLED
หน้าจอ OLED แบบพับได้ของ LG Display
ก่อนที่จะไปดูการประทะกันระหว่าง IPS กับ OLED นั้นเรามาดูกันก่อนดีกว่าครับว่า OLED นั้นได้รับการพัฒนาให้มีข้อดีมากขึ้นในด้านบ้าง โดยเริ่มต้นนั้น OLED เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก LED ซึ่งเจ้า LED นี้นั้นจะใช้หลักการเปล่งของแสงผ่านทางฟิลเตอร์ที่แสงนั้นจะเป็นแสงที่มีการฉายแสงอยู่ตลอดเวลาของแต่ละจุด pixel(ซึ่งในจุถด pixel นี้นั้นก็จะมีตัวฟิลเตอร์เม็ดสีสำหรับแสดงสีอยู่) กลับกันแล้วใน OLED นั้นในแต่ละจุด pixel นั้นจะมีแหล่งกำเนิดแสงเป็นของตัวเองโดยตรงทำให้เกิดข้อดีดังนี้ครับ
- ส่วนที่ต้องการสีดำก็จะดำสนิทเพราะไม่มีการฉายแสดงขึ้นมาเลย
- ยิ่งหน้าจอมีส่วนที่มืดมากเท่าไรนั่นหมายความว่าหน้าจอนั้นๆ จะประหยัดไปมากขึ้น
- มุมมองในแต่ละองศานั้นจะมีความมั่นคงมากที่สุดในบรรดาเทคโนโลยีหน้าจอทุกชนิด
- รองรับช่วงกว้างของสีได้กว้างมากๆ
- เวลาในการตอบสนองของจุด pixel หรือ response time นั้นต่ำมากๆ
- การที่ไม่ต้องใช้แสงไฟจากแหล่งกำเนิดแสงหมายความว่าตัวหน้าจอจะมีความบางมากขึ้นกว่าเดิม
แน่นอนครับเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับข้อเสียของหน้าจอ OLED มีดังต่อไปนี้ครับ
- ความสว่างของหน้าจอมีขีดจำกัด
- ผลิตภัณฑ์ที่ใช้หน้าจอแบบ OLED มีราคาแพง(มาก)
- ยังคงสามารถเกิดปรากฎการณ์หน้าจอ Burn-in ขึ้นได้(หน้าจอบางส่วนแสดงภาพเดิมตลอดบนบางส่วนของหน้าจอ ซึ่งปัญหานี้ส่วนใหญ่จะเกิดมาจากการเปิดภาพนิ่งทิ้งไว้นานๆ)
- มีการทิ้งริ้วรอยอยู่บนหน้าจอเมื่อใช้ไปได้ระยะหนึ่ง
ข้อเสียทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นกับหน้าจอแบบ OLED ทุกชนิดไม่ว่าจะสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, สมาร์ทวอทช์หรือแม้กระทั่งโทรทัศน์และโน๊ตบุ๊คที่เราจะกล่าวถึงนี่แหละครับ สำหรับข้อเสียแต่ละอย่างนั้นจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ครับ
Brightness and Distribution
จากที่ได้บอกไปแล้วครับว่าเทคโนโลยี OLED นั้นจะใช้วิธีการฉายไฟในแต่ละจุด pixel โดยตรงไม่ได้ฉายไฟทั้งหน้าจอแบบเทคโนโลยี LCD แบบเก่า นั่นทำให้มันเป็นข้อด้อยของ OLED ไปด้วยในตัวในเรื่องของความสว่างของหน้าจอเนื่องจากว่าหน้าจอแบบ LCD, LED หรือในที่นี้คือ IPS ที่เรานำมาเปรียบเทียบนั้นจะมีความสว่างของหน้าจอเท่ากันตลอดเวลา ทว่าหน้าจอแบบ OLED นั้นจะมีความสว่างของหน้าจอไม่เท่ากันตลอดเวลาเนื่องจากมันขึ้นอยู่กับภาพที่แสดง ณ เวลานั้น(อย่างที่บอกครับว่าจุดไหนเป็นสีดำ OLED จะไม่ฉายไฟที่จุดนั้น)
อีกจุดหนึ่งที่เป็นข้อเสียของเรื่องการฉายไฟในจุด pixel ของหน้าจอ OLED ก็คือเรื่องของการใช้พลังงานที่ถ้าหากเนื้อหาที่แสดงบนหน้าจอเปลี่ยนจากเนื้อหาที่มีโทรสีดำมากไปเป็นโทรสว่างแบบทันทีทันใดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงานแบบก้าวกระโดดซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว ตรงนี้นั้นแก้ได้ด้วยการที่ผู้ผลิตนั้นจะต้องทำการใช้วัสดุที่รองรับต่อการเปลี่ยนของความร้อนอย่างรวดเร็วและต้องมีแผงวงจรไฟฟ้าที่ดีเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยครับ
อย่างไรก็ตามในการทดสอบการแสดงผลเรื่องของความสว่างของหน้าจอนั้น สำหรับหน้าจอ OLED บน ThinkPad X1 Yoga ซึ่งใช้ panel ของทาง Samsung ในรุ่น ATNA40JU01 สามารถที่จะทำผลคะแนนจากซอฟต์แวร์วัดความสว่างของหน้าจอ i1Profiler ได้ออกมาไม่ดีเท่าไรโดยจะแกว่งอยู่ในช่วงสูงสุดอยู่ที่ 305 cd/m2 และต่ำสุดอยู่ที่ 198 cd/m2 ครับ
ในทางกลับกันแล้วการทดสอบการแสดงผลเรื่องของความสว่างของหน้าจอสำหรับหน้าจอ IPS บน ThinkPad X1 Yoga ที่ใช้ panel ของทาง LG รุ่น LP140QH1 สามารถที่จะทำผลคะแนนจากซอฟต์แวร์วัดความสว่างของหน้าจอ i1Profiler ได้ออกมาค่อนข้างดีคือคงที่อยู่ตลอดเวลาที่ 250 cd/m2
PWM and Response Times
ด้วยความที่ OLED นั้นใช้การส่องสว่างของแต่ละช่อง pixel ทำให้มันไม่สามารถที่จะทำความสว่างให้ถึงจุดมากสุดตามทฤษฎีของหน้าจอนั้นๆ ได้ครับ วิธีการแก้ไขปัญหาดังกว่าวต้องใช้ PWM หรือ Pulse-Width Modulation เข้ามาช่วยในการทำให้ความสว่างสามารถเป็นไปตามทฤษฎีได้ โดยสำหรับหน้าจอ OLED ที่นำมาทดสอบนี้จะต้องปรับ PWM ไปสูงถึง 240 Hz ซึ่งถือว่าสูง และที่ความถี่ระดับนี้พบว่ามีอาการสั่นไหว(Screen Flickering) ของหน้าจอเริ่มปรากฎให้เห็นครับ
หมายเหตุ – อย่างไรก็ตามที่ความถี่ระดับ 240 Hz นั้นถือว่าอ่อนไหวมากๆ กับผู้ใช้บางคน ดังนั้นแล้วผู้ใช้บางคนอาจจะพบกับประสบการณ์ภาพสั่นไหวหรือไม่ก็เกิดอาการเมื่อล้าที่ดวงตาได้ครับ แต่ถ้าปรับต่ำกว่านี้จะไม่พบการสั่นไหวแต่ก็ไม่สามารถปรับความสว่างไปที่ 100% ได้ครับสำหรับหน้าจอแบบ OLED
Display Response Times
ในการทดสอบเวลาตอบสนองในการเปลี่ยนสีของหน้าจอ OLED หรือ Response Times ทั้งแบบ B-to-W และ G-toG นั้นถือว่าหน้าจอแบบ OLED นั้นสามารถทำได้ดีมากๆ อย่างที่ควรจะเป็นครับ โดยทั้ง 2 รูปแบบการทดสอบนั้นใช้เวลาเพียง 1 ms เท่านั้นดังนั้นบอกได้เลยครับว่าหน้าจอแบบ OLED นั้นเหมาะสมกับการแสดงผลสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงของหน้าจอไวๆ เป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมหรือการใช้งานเพื่อดูภาพยนตร์ก็ถือว่าใช้งานได้ดีทั้งนั้นครับ
Contrast and Viewing Angles
ซ้าย IPS : ขวา OLED
ในส่วนของการทดสอบ Contrast ของหน้าจอทั้ง 2 แบบนั้นพบว่าหากทดสอบในห้องมืดสนิทแล้วหน้าจอแบบ OLED ที่แสดงผลหน้าจอโทรสีดำจะสามารถแสดงผลได้ดีกว่าหน้าจอ IPS เป็นอย่างมากเพราะหน้าจอแบบ IPS นั้นจะยังสามารถเห็นแสงไฟที่ใช้ส่องจุด pixel ได้เล็กน้อยไม่ได้มืดสนิทจริงๆ และถึงแม้จะทดสอบสื่อที่เป็นสีสันสดใส(ภาพสดสอบอันกลาง) ก็พบว่าหน้าจอแบบ OLED นั้นสามารถที่จะแสดงสีสันได้ดีกว่าหน้าจอแบบ OLED ครับ ส่วนเมื่อแสดงหน้าจอแบบต้องใช้ในชีวิตประจำวันเช่นการท่องเว็บนั้นก็พบว่าหน้าจอ OLED แสดงผลได้ดีกว่าครับ
ซ้าย IPS : ขวา OLED
ในการทดสอบมุมมององศาของการมองนั้นพบว่าผลที่ได้ยังคงเหมือนเดิมครับ โดยจะสังเกตได้ว่า OLED สามารถให้สีสันในมุมมอง 45 องศาในการทดสอบได้ดีกว่า ส่วน IPS นั้นจากเข้าองศาที่ 45 แล้วนั้นพบว่ามีการให้สีของหน้าจอเปลี่ยนไปโดยหากเป็นหน้าจอที่แสดงสื่อที่เป็นสีโทนมืดจะเห็นแสงไฟชัดเจนขึ้น กลับกันแล้วถ้าเป็นสื่อบนหน้าจอที่มีสีสันจัดจ้านจะพบว่าหน้าจอแบบ IPS นั้นมีความสดใสของสีสื่อที่โชว์ลดลงไปจากเดิม(ซึ่ง ณ ตรงนี้หมายรวมถึงหน้าจอการใช้งานปกติอย่างเช่นการเข้าเว็บไซต์ด้วยครับ)
หมายเหตุ – ถึงแม้ว่ามุมมององศาการมองเห็นของหน้าจอ IPS จะเปลี่ยนเร็วไปหน่วยคือที่ 45 องศาทว่าตัวหน้าจอ IPS นั้นก็ยังสามารถที่จะมองเห็นสื่อได้ตามปกติเพียงแต่สีเปลี่ยนไปจากการมองตรงเท่านั้นเองครับ
Outdoor Use
ซ้าย IPS : ขวา OLED
ไม่เพียงแค่ในสภาพแวดล้อมมืดเท่านั้นนะครับ ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงมากหน้าจอแบบ OLED ก็สามารถที่จะใช้งานได้ดีเช่นเดียวกัน ทั้งนี้พบว่าถึงแม่เมื่อวัดความสว่างของหน้าจอ OLED จะได้อยู่ที่ 240 cd/m² เท่าๆ กันทั้ง IPS และ OLED ก็ตาม จะมีข้อเสียอยู่อย่างก็คือประเภทการเคลือบหน้าจอที่หน้าจอแบบ OLED นั้นจะเป็นแบบ “glare-type” ในขณะที่หน้าจอแบบ IPS จะเป็นแบบ “semi-matte” ทำให้เมื่อใช้งานในสภาพแสงมากแล้วนั้นหน้าจอแบบ OLED จะมีการสะท้อนมากกว่าหน้าจอแบบ IPS ครับ(แต่ก็ไม่ใช่เพราะตัวเทคโนโลยีจอนะครับเป็นที่เทคโนโลยีการเคลือบมากกว่าครับ)
Color Reproduction
ในการแสดงสีสันของหน้าจอแบบ OLED นั้นบอกได้คำเดียวครับว่าไม่รู้จะสรรหาคำอะไรมาบอกได้อีกนอกเหนือไปจากว่าหน้าจอแบบ OLED นั้นสามารถแสดงสีสันได้ดีกว่าหน้าจอแบบ IPS มาก ระดับความอิ่มตัวของสีสันนั้นก็อยู่ในระดับที่สูงเอามากๆ ค่อตั้งแต่ 80% – 100๔ ขึ้นอยู่กับรูปแบบสี โดยหากเป็นรูปแบบความกว้างของสี AdobeRGB ที่ผู้ใช้งานทางด้านการตกแต่งภาพระดับสูงจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษนั้นหน้าจอแบบ OLED สามารถแสดงผลช่วงกว้างของสีได้เป็นไปตามมาตรฐานโดยคะแนนเฉลี่ยของการแสดงช่วงกว้างของสีแบบ AdobeRGB และ SRGB ของหน้าจอ OLED จาก 2 โปรแกรมทดสอบเป็นดังต่อไปนี้ครับ
- ColorChecker sRGB ได้ 3.1
- ColorChecker AdobeRGB ได้ 3.8
หมายเหตุ – ในการปรับค่าการแสดงสีสันของหน้าจอที่ทาง Lenovo มีมาให้นั้นจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ “Standard” กับ “Photo Pro” ซึ่งผลที่ได้นั้นพบว่ามีแความแตกต่างกันพอผมควร(ตามภาพด้านบน) สำหรับหน้าจอแบบ IPS นั้นก็ได้ผลตามมาห่างๆ โดยถือว่าไม่ได้ดีมากถ้าเทียบกับ OLED แต่ถ้านับว่าเป็นเทคโนโลยี LCD ด้วยกันแล้วนั้น IPS ถือว่าทำได้ดีครับ
Power Consumption and Efficiency
มาพูดถึงเรื่องที่ผู้ใช้งานทั่วไปอยากรู้กันเป็นอันดับแรกๆ ดีกว่าครับกับเรื่องของอัตราการใช้พลังงานและก็ประสิทธิภาพของตัวหน้าจอแบบ OLED โดยรวม โยอย่างแรกนั้นเป็นเรื่องของอัตราการใช้พลังงานซึ่งจากการทดสอบนั้นพบว่าหน้าจอแบบ OLED นั้นมีอัตราการใช้พลังงานแปรผันโดยตรงกับการแสดงสีขาวของหน้าจอครับ ความหมายของมันก็คือหน้าจอแบบ OLED นั้นถ้าเปิดแสดงผลสื่อที่มีสีขาวไม่มาก(เน้นโทนดำเป็นหลัก) มันจะประหยัดพลังงานเป็นอย่างมาก มากจนน่าใจหาย ในทางกลับกันถ้าสื่อมีการแสดงสีสันมากขึ้นเท่าไรหรือสว่างมากยิ่งขึ้นเท่าไรอัตราการใช้พลังงานก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยครับ
สำหรับหน้าจอแบบ IPS นั้นค่อนข้างมีอัตราการใช้พลังงานที่คงที่ครับคือมันจะแรผันโดยตรงกับความสว่างของหน้าจอเลย นั่นหมายความยิ่งคุณเปิดหน้าจอสว่างมากขึ้นเท่าไรหน้าจอแบบ IPS ก็จะมีอัตราการใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น อย่างหนึ่งที่หน้าจอแบบ IPS ดีกว่าหน้าจอแบบ OLED ก็คือไม่ว่าสื่อจะมีการแสดงสีสดใสมากเพียงใดหรือว่ามืดมากเพียงใดก็ไม่เกี่ยวข้องกับอัตราของการใช้พลังงานเลยเนื่องจากว่ามันขึ้นกับความสว่างที่คุณเปิดเพียงอย่างเดียวเท่านั้นครับ ทั้งนี้จากการทดสอบอัตราการใช้พลังงานของหน้าจอทั้ง 2 นั้นได้ผลดังต่อไปนี้ครับ
หมายเหตุ – ในช่วงแรกๆ ที่มีการใช้หน้าจอ OLED กับสมาร์ทโฟนอย่าง Galaxy S นั้นมีการให้ข้อมูลว่าหากใช้หน้าจอเป็นสีโทนมืดแล้วจะประหยัดแบตเตอรี่ได้มากกว่าหน้าจอสีโทนสว่าง เรื่องนี้นั้นเป็นความจริงและเป็นผลต่อเนื่องมาถึงหน้าจอโน๊ตบุ๊คที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้ครับ
ส่วนด้านของประสิทธิภาพโดยรวมของการให้แสงต่อวัตต์(กำลังไฟฟ้านั้น) หน้าจอแบบ OLED เกือบที่จะให้ประสิทธิภาพได้คงที่ แต่เมื่อเทียบกับหน้าจอแบบ IPS แล้วนั้นถือว่าประสิทธิภาพการให้แสงต่อวัตต์นั้น OLED ยังแพ้หน้าจอแบบ IPS ที่มีเทคโนโลยีอยู่บนฐาน LCD ที่ให้แสงทั้งหน้าจออยู่ ซึ่งตรงนี้หากจะพูดไปแล้วก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับเพราะในตอนต้นนั้นได้บอกไปแล้วว่านี่เป็นข้อจำกัดของตัวหน้าจอแบบ OLED เองในกรณีที่เล่นสื่อที่มีสีสันมากเป็นพิเศษ แต่ทั้งนี้ก็แลกมาจากการที่สีสันที่ได้สดกว่าหน้าจอแบบ IPS มากหล่ะครับ
Burn-in and Aging
มาถึงเรื่องสุดท้ายแล้วครับกับเรื่องที่หลายๆ คนโดยเฉพาะคนที่เปลี่ยนโทรทัศน์บ่อยๆ กลัวกันมากที่สุดกับปัญหาเรื่องของการ Burn-in ที่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าหน้าจอแบบ OLED นั้นกลับมามีปัญหานี้อีกครั้งตามรุ่นทวดอย่างหน้าจอแบบ Plasma ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องแปลกครับที่หน้าจอแบบ OLED นั้นกลับมามีปัญหานี้อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามแต่ปัญหาดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายนักหากคุณไม่ได้เปิดให้หน้าจอแสดงภาพเดิมๆ อยู่เป็นเวลานานๆ (ซึ่งคำว่านานที่ว่านี้ก็มีระยะเป็นปีขึ้นไปหล่ะครับ ตัวของผู้แปลเองเคยเจอปัญหานี้กับหน้าจอของ Galaxy S2 บอกตรงๆ ว่าเซ็งครับ)
อีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ใช้หน้าจอแบบ OLED เผชิญกับปัญหานี้อย่างแน่นอนก็คือเรื่องของอายุการใช้งานของหน้าจอที่หน้าจอแบบ OLED นั้นจะมีอายุการใช้งานของจุด pixels น้อยกว่าหน้าจอประเภท IPS เนื่องจากว่าจุด pixels ของหน้าจอแบบ OLED นั้นมีจุด pixels ของสีทั้ง 3 สีไม่เท่ากันดังรูปที่แสดงด้านบนนี้ ซึ่งนั่นทำให้เมื่อใช้ไปนานๆ แล้วนั้นหน้าจอจะเริ่มมีปัญหาในการแสดงสีแดงจากนั้นก็จะตามมาด้วยสีเขียวและสีน้ำเงินตามกลำดับครับ ยังครับยังไม่หมดและด้วยการมีจุดสี pixels ไม่เท่ากันนี่เองทำให้หน้าจอแบบ OLED นั้นจะมีปัญหาสีอมฟ้ามากกว่าหน้าจอแบบ IPS ซึ่งหลายๆ คนอาจจะไม่ชอบเนื่องจากว่าสีสันที่ได้จะสดเกินจริงครับ
สรุป
ถึงจะมีปัญหาให้ต้องกลุ้มใจแถมปัญหาดังกล่าวนั้นก็เป็นปัญหาเก่าที่ไม่น่าเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ทว่าหน้าจอแบบ OLED นั้นก็ถือว่ามีประสิทธิภาพในการแสดงสีสันมากกว่าหน้าจอแบบ IPS อย่างเห็นได้ชัด สีดำเป็นดำ สีขาวเป็นขาว อัตราการตอบสนองของหน้าจอเร็วหว่าเหมาะกับการเล่นสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงของภาพหน้าจอบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเกมหรือภาพยนตร์
ทั้งนี้ทั้งนั้นถามว่าปัจจุบันนี้เทคโนโลยี OLED เหมาะที่จะใช้รึยังคำตอบคือขึ้นอยู่กับงบประมาณของท่านครับ ถ้าท่านสามารถที่จะเพิ่มเงินเรือนหมื่นเพื่อเพิ่มสเปคของ panel หน้าจอได้โดยที่ไม่มีปัญหาอะไร OLED ก็สามารถตอบสนองได้ตามที่คุณต้องเสียเงินไปแต่ถ้ารอได้อีกสัก 2 – 3 ปีค่อยมาดูเทคโนโลยีหน้าจอแบบ OLED ใหม่ก็ยังไม่สายเพราะตอนนี้ IPS เองก็สามารถใช้งานได้ดีครับ
ที่มา : notebookcheck