หลังจากที่เปิดตัวไปแล้วทั้ง RX460, RX470 และ RX480 ก็ได้กระแสตอบรับกันอย่างมากมาย เรียกได้ว่าเป็นการ์ดจอราคาประหยัดขวัญใจมหาชน ที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพความแรงคุ้มค่า คุ้มราคา เห็นได้จากผลเทสเปรียบเทียบต่าง ๆ มากมากในเรื่องประสิทธิภาพที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าฝั่งค่ายเขียวเลยแม้แต่น้อย ซึ่งการ์ดจอ Rx Series แต่ละรุ่นนั้นก็มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไป บทความนี้จะพามาแนะนำถึงการ์ดจอคายแดงตัวแรง AMD Radeon RX Series
สเปคของทั้ง 3 รุ่น ซึ่งมีความแรงแตกต่างกัน และที่แน่นอนราคาก็แตกต่างกันด้วย
AMD Radeon RX 460 ราคา 4,500- 6,500 บาท
AMD Radeon RX 460 น้องเล็กสุดในตอนนี้ ซึ่งเป็นการ์ดจอรุ่นเล็กที่สมารถรองรับการเล่นเกมที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขะณะ นี้ไม่ว่าจะเป็น League of Legends, Overwatch และ Dota 2 ที่ความละเอียดในระดับ HD และมีฟีเจอร์ AMD FreeSync™ technology ช่วยให้เล่นเกมได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด และยังมี Async ฟีเจอร์ในด้านฮาร์ดแวร์ที่จะทำงานบนเกมที่รองรับ DirectX® 12 and Vulkan ประสิทธิภาพอ้างอิงจากการ์ดเวอร์ชัน reference โดยมี Stream Processors 896 หน่วย ความเร็วคล๊อก 1090 MHz และเร็วขึ้นสูงสุด 1200 MHz เมื่อทำการบูส แรม GDDR5 ขนาด 2GB แบบ 128 bit ความเร็วแบนด์วิทที่ 112 GB/s
การ์ดจอรุ่นเล็กที่ราคาไม่แรง และค่าTDP น้อยกว่า 75W ซึ่งถือว่าประหยัดไฟมาก ๆ ครอบคลุมการทำงานทั่วไป ดูหนังฟังเพลง และเล่นเกมที่ไม่กืนสเปคมากนักได้อย่างสบายๆ ซึ่งหน้าตาของตัวการ์ดนั้นอาจจะไม่ได้มีขนาดใหญ่โตสวยงามอลังการเมื่อเทียบกับรุ่นพี่ แต่สำหรับคนที่มีงบประมาณที่จำกัด RX460 นั้นถือว่าเป็นคำตอบที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับ ส่วนราคานั้นที่ประมาณ 4,500- 6,500 บาท
AMD Radeon RX 470 ราคา 8,000 – 9,000 บาท
AMD Radeon RX470 โดดเด่นด้วยเทคโนโลยี Async ฟีเจอร์ในด้านฮาร์ดแวร์ที่จะทำงานบนเกมที่รองรับ DirectX® 12 และ Vulkan และยังมี FreeSync ™ technology ที่ช่วยให้การเล่นเกมทำได้อย่างลื่นไหล และสามารถ สตรีมและบันทึกช่วงเวลาที่กำลังเกมที่คุณชื่นชอบในความละเอียด 4K, H.265, 60 FPS โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการเล่นเกม ประสิทธิภาพอ้างอิงจากการ์ดเวอร์ชัน reference โดยมี Stream Processors 2048 หน่วย ความเร็ว Clock 926 MHz และความเร็วสูงสุด 1206 MHz เมื่อทำการบูส แรม GDDR5 ขนาด 4GB แบบ 256 bit ความเร็วแบนด์วิทที่ 211 GB/s
การ์ดจอรุ่นกลางที่สามารถเล่นได้ทุกเกมในตอนนี้ ซึ่งมักถูกนำมาเปรียบเทียบกับการ์ดจอ Nvidia GTX 1060 ที่มีประสิทธิภาพไกล้เคียงกัน ซึ่งรองรับการใช้งานและเล่นเกมได้อย่างครอบคลุม ซึ่งราคาอยู่ที่ประมาณ 8,000 – 9,000 บาท
AMD Radeon RX 480 ราคา 10,000 -13,000 บาท
AMD Radeon RX480 พี่ใหญ่สุดของ Rx Series ขับเคลื่อนด้วยสถาปัตยกรรม Polaris 10 เทคโนโลยี 14nm รุ่นล่าสุดของทาง AMD ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี AMD LiquidVR ™ ที่รองรับการทำงานร่วมกับ VR headsets ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และที่ขาดไม่ได้คือ ฟีเจอร์ AMD FreeSync™ technology ช่วยให้เล่นเกมได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด
และบันทึกช่วงเวลาที่กำลังเกมที่คุณชื่นชอบในความละเอียด 4K, H.265, 60 FPS โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการเล่นเกม และยังมี Async ฟีเจอร์ในด้านฮาร์ดแวร์ที่จะทำงานบนเกมที่รองรับ DirectX® 12 and Vulkan ประสิทธิภาพอ้างอิงจากการ์ดเวอร์ชัน reference โดยมี Stream Processors 2304 หน่วย ความเร็ว Clock 1120 MHz และความเร็วสูงสุด 1750 MHz เมื่อทำการบูส แรม GDDR5 ขนาด 8GB แบบ 256 bit ความเร็วแบนด์วิทที่ 224 GB/s
RX480 เป็นการ์ดจอระดับกลางๆที่สามารถเล่นเกมใช้กราฟิกระกับ High ที่ความละเอียด Full-HD ได้เกือบทุกเกม และยังประหยัดไฟมากๆอีกด้วย ซึ่งผลเทสบน 3D Mark Fire strik ไม่ค่อยจะโดดเด่นเท่าไรนัก แต่ประสิทธิภาพในการใช้งานจริงนั้นค่อนข้างที่จะไกล้เคียงกับ Nvidia GTX 1070 และยังมีราคาที่ถูกกว่า ถ้าใครต้องการการ์ดราคาไม่แพงมากนักเพื่อนำไปเล่นเกมภาพสวยๆไม่มีสะดุด ขอแนะนำ RX480 ราคาอยู่ที่ประมาณ 10,000 -13,000 บาท
ซึ่งการ์ดจอ RX Serise นั้น มีราคาที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่น การเลือกซื้อรุ่นไหนนั้นก็ตามการใช้งานของแต่ละคน ถ้าเพียงแค่นำไปเล่นเกมเบา ๆ ที่กินสเปคไม่มาก RX460 ก็เพียงพอแล้วสำหรับการใช้งาน แต่ถ้าเล่นเกมที่กินสเปคสูงกว่านี้และต้องภาพภาพที่สวยขึ้นก็ควรซื้อรุ่น RX470 หรือ RX480 ตามงบประมาณที่มี
ซึ่งในตลาดตอนนี้มีการ์ดจออยู่หลายค่ายมาก ซึ่งแต่ละค่ายนั้นแตกต่างกันที่ ฟีเจอร์ ระบบระบายความร้อน หน้าตาของตัวการ์ด และความแรง ซึ่งจะเลือกซื้อการ์ดรุ่นไหนนั้นก็ควรพิจารณาจากข้อแตกต่างของการ์ดแต่ละค่าย แต่ถ้าพูดถึงหลักการเลือกซื้อการ์ดจอที่ง่ายที่สุดคือ ดูจากหน้าตา และ ราคาตามงบประมาณที่เรามี
ถ้าใครต้องการดูข้อมูลการ์ดจอรุ่นไหน หรืออยากจะลองเปรียบเทียบ สามารถเข้าไปเช็ครายละเอียดเกี่ยวกับการ์ดจอ หรืออุปกรณ์ต่างๆได้ที่เว็บ notebookspec มีทั้งข้อมูลและรายละเอียดครบถ้วน