ผ่านพ้นกับโปรเจ็คเบิร์นโน๊ตบุ๊ค AMD 30 วันต่อเนื่องไม่หยุดพักแบบไม่มีค้างมีแฮงค์ และเย็นเป็นโรงน้ำแข็งได้ด้วยดีกันไปแล้ว เพื่อนๆ หลายๆ คนก็ร้องขอให้เราใช้ทดสอบและรีวิว ASUS X555DG เจ้าเครื่องที่ใช้กันมามาก ว่ามันใช้สเปคอะไร ราคาเท่าไร และเล่นนอกเหลือจากจะทนถึกรันเบิร์นโน๊ตบุ๊ค AMD 30 วันต่อเนื่องได้ มันจะเล่นเกมได้ดีแค่ไหนบ้างนะ
ในรีวิวนี้ NBS จะมารีวิว ASUS X555DG ตัวที่เพื่อนๆ ถามถึงให้ได้อ่านกัน ซึ่ง ASUS X555DG ดังกล่าวว่านอกจจากจะอึดแล้วมันจะมีดีด้านอื่นๆ อีกหรือไม่ แต่ก่อนอื่นผมจะบอกให้ทราบคร่าวๆ ก่อนว่า ASUS X555DG เป็นโน๊ตบุ๊ค AMD APU ระดับเริ่มต้นไปถึงกลางๆ มาพร้อมซีพียู AMD FX Series ในแบบ Mobility ตัวรองท็อป AMD FX 8800P (TDP 15W) พร้อมความสามารถในการทำ Dual Graphics ระหว่างการ์ดจอแยกและ APU ทำให้เล่นเกมผ่านการ์ดจอแรงขึ้น สนนราคา 18,900 บาท เริ่มสนใจกันแล้วใช่ไหมละ! ไปดูรีวิวๆ พร้อมๆ กันเลย
Video Introduce
Specification
ก่อนจะไปดูว่าเล่นเกมได้ลื่นไหมเรามาดูในด้านของสเปคของ ASUS X555DG ที่เลือกใช้ซีพียู AMD FX-8800P 15W (2 MB L2 Cache) พ่วงการ์ดจอ APU ที่ทำ Dual GPU กับการ์ดจอแยกเป็น AMD Radeon R8 M350DX 2GB นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีแรมขนาด 4+4GB DDR3L (ฝัง 4GB และใส่แยก 4GB 1 แผง ) พ่วงด้วยฮาร์ดไดร์ฟ HDD ความจุ 1TB
หน้าจอแสดงผล ASUS X555DG ใช้จอแสดงผลมาตรฐาน HD ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366×768 พิกเซล ส่งผลให้เล่นเกมที่ความละเอียดแบบ Native ได้ค่อนข้างโอเค พร้อมกล้องเว็บแคม HD มีไมค์ในตัวให้ด้วย และมีระบบเสียงที่ดีพอใช้อย่างอย่าง SonicMaster และ AudioWizard ปรับแต่งเสียงได้บ้างพอประมาณเพียงพอต่อการใช้งานพื้นฐาน บันเทิง และเล่นเกม
การเชื่อมต่อ ASUS X555DG มีพอร์ต 2x USB 3.0 , 1x USB 2.0 , HDMI , 2-in-1 card reader (SD/ MMC) , RJ45 , Super-Multi DVD และ Audio Combo Jack รองรับการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Wireless 802.11 b/g/n และ Bluetooth 4.0 ขนาดตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป และมีน้ำหนักตัวที่ราวๆ 2.3 กิโลกรัมไม่หนักไม่เบาจนเกินไป พร้อมรับประกันการใช้งาน 2 ปีจาก ASUS Thailand สนนราคาอยู่ที่ 18,900 บาทครับผม
Using Experience
ดีไซน์ ASUS X555DG มาในแนวเรียบๆ แบบคลาสสิค แต่มีสีสันออกสไตล์โมเดิร์นโดยฝาบนของตัวเครื่อง X550 ที่จะใช้พลาสติกสีดำเทามีตัดด้วยเท็กเจอร์หยดน้ำให้ฟีลลิ่งสัมผัสแตกต่างจากโน๊ตบุ๊คมาตรฐานตัวอื่นๆ ส่วนด้านใต้ฐานตัวเครื่องใช้พลาสติกผิวดำด้านทั่วๆไป
ในเรื่องของการอัพเกรด ASUS X555DG สามารถทำได้ไม่ยากและไม่ง่าย เพราะมีช่องแบ่งไว้สำหรับอัพเกรดแรมได้ 1 แผงสูงสุด 8GB DDR3L (รวมเป็น 12GB) จากปกติทื่ใส่ไว้ให้ 4GB 1 แผง และฝังบนเมนบอร์ด 4GB อีก 1 แผง ส่วนถ้าจะอัพเกรดฮาร์ดไดร์ฟ DVD Drive หรือส่วนอื่นๆ ต้องเลาะแผงคีย์บอร์ดออกมาที่ทำได้ยุ่งยาก แต่พอที่จะทำได้ เช่นกันกับเรื่องของความร้อนที่หายห่วงได้เลยที่ถึงแม้จะมีพัดลมเดียวแต่เปิดโหดๆ ใช้งานต่อเนื่องได้ยาวๆ 30 วันได้สบายๆ จากการพิสูจน์ที่ผ่านมาแล้วด้วยความสมดุลของสัญญาณนาฬิกาซีพียูที่ลดให้พอดีเมื่อเกิดความร้อนสูง
เปิดเครื่องใช้จริงบน ASUS X555DG ตอบสนองการ Boot UP เข้า Windows 10 ที่ลงตัวทบสอบไว้ได้ราวๆ 25-30 วินาทีอยู่ในช่วงกลางๆ ส่วนประสบการณ์ใช้งานแบบเปิดต่อเนื่องดูหนังฟังเพลง เล่นเกมเปิดภาพยนต์ และคลิปต่างๆ ตัวหน้าจอก็ให้สีแสง ความสมจริงกลางๆ ไม่ได้ดีเด่ แต่ไม่ได้แย่เรียกว่าตอบรับกับงานพื้นๆ ได้ไม่เลวในมุมมองตรงหน้าจอแบบใช้คนเดียว แต่เมื่อไรก็ตามที่เฉียงเอียงเครื่องมองจากด้านข้างก็มีมุมมองที่กว้างพอใช้ได้ราวๆข้างละ 60 องศา ซึ่งถ้ามากกว่านั้นสีภาพจะเริ่มเพี้ยน ส่วนมุมก้มและมุมเงยทำออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควรเพราะมีอาการเพี้ยนของภาพตามข้อจำกัดของจอแบบ TN
การใช้งานแบบปกติทั่วไปในแง่ของความรวดเร็วกับ APU AMD ที่ติดตั้งมาให้บน ASUS X555DG หลายๆ คนอาจจะกลัวว่าทำได้ไม่ดี แต่ในความเป็นจริง เช่นใช้งานท่องเว็บ ใช้งานเอกสาร เช็คเมลฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ตตอบสนองได้ดีไม่ได้มีความหน่วง ความช้าอะไรให้เห็นเรียกได้ว่าใช้งานทั่วๆ ไปได้ดีไม่แพ้คู่ปรับอย่าง Intel เลย แถมแลจะดูดีกว่าคู่แข่งในการเปิดแท็บหลายๆ หน้าด้วยแรมที่ติดมาให้กว่าโน๊ตบุ๊คในระดับเดียวกันถึง 8GB (ปกติให้มาแค่ 4GB)
แต่กระนั้นแล้วดันมาตกม้าตายกับพื้นที่กสนใช้งานหน้าจอแสดงผลที่ค่อนข้างจำกัดด้วยจอ HD ขนาด 15.6 นิ้ว ที่แน่นอนว่าใหญ่แต่ HD ก็คือ HD ภาพเลยไม่ค่อยคม และมีพื้นที่การใช้งานที่อึดอัดไปหน่อย แต่ถ้าวัดตามราคาก็ถือว่าไม่แย่นะ ทั้งนี้ถ้าใครอยากได้เต็มตาจริงๆ สามารถเพิ่มพื้นที่การแสดงผลด้วยจอแสดงผลแยก 2 ตัวพร้อมๆ กันผ่านพอร์ต HDMI หรือ D-Sub สามารถทำได้ บอกได้เลยว่ามีโน๊ตบุ๊คราคาถูกไม่กี่ตัวหรอกที่ให้พอร์ตต่อจอมาพร้อมๆ กัน 2 พอร์ต
แต่เดี๋ยวก่อนเห็นบ่นๆ เรื่องความละเอียด HD 1366×768 พิกเซล แต่เอาเข้าจริงเมื่อใช้งานเล่นเกมกลับทำได้ดีเกินราคานะ เพราะ ASUS X555DG เล่นเกมแบบ Native (1366×768 พิกเซล) ได้ดีพอประมาณเลยละในระดับเดียวกับ Core i5-i7 ULT บวกกับการ์ดจอ NVIDIA GT 920M-940M เลย ไม่ว่าจะเป็นเกมโหดๆ เกมออนไลน์ หรือเกมออฟไลน์เท่าที่ลองมาเล่นได้ในระดับที่พอไปวัดไปวาได้หมดเลย ยกตัวอย่าง CS:GO ปรับ High นี่ลื่นเอาเรื่องเหมือนกัน หรือจะ Fallout 4 ก็เล่นพอได้ บวกกับลำโพง Stereo ติดระบบเสียงทำให้เล่นเกมมีชีวิตชีวามากขึ้นเยอะ ถึงแม้เสียงและภาพจะไม่ได้ดีที่สุดแต่ถ้าวัดตามราคาจัดว่าน่าพึงพอใจ
แถมโน้ตบุ๊ต AMD APU อย่าง ASUS X555DG ยังมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจอีกเยอะใช้ได้เหลือๆ เลย AMD Enduro Technology : เทคโนโลยีช่วยประหยัดแบตเตอรี่ , Multi GPU (iGPU + dGPU) : เพิ่มความแรงการ์ดจอ , AMD Eyefinity Technology : เทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบหลายจอ , HEVC : เทคโนโลยีเพื่อการเล่นไฟล์วิดีโอความละเอียดสูง 4K UHD , AMD Gesture Control : เทคโนโลยีที่ให้ท่าทางควบคุมใช้งานโน๊ตบุ๊คแทนเมาส์ , Quick Stream : เทคโนโลยีการดู Youtube แบบไม่มีสะดุด , Face Login : login เข้า windows , True Audio 7.1 Channel : การ์ดจอทำหน้าที่เป็น sound card ชั้นดี จำลองเสียงผ่านสัญญาณแบบ digital , Perfect Picture & Steady Video : จัดการเรื่องคุณภาพ และ Video ให้สวยงามขึ้น , Start Now Technology : เปิดปิดเครื่องได้เร็ว , Support Window 10 : ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก
ถ้าเล่นเกมฟังเพลงกันจนเบื่อ อยากปรับมาทำงานทั่วไปมาพิมพ์งานต่างๆ ASUS X555DG ยังให้ฟีลการทำงานได้ไม่โดดเด่นถ้านับเป็นคะแนนก็เอาไป 5/10 เหตุผลถึงแม้จะเป็นคีย์บอร์ด Chiclet พร้อมปุ่มตัวเลขที่ออกแบบมาได้ดี แต่พอใช้จริงคีย์บอร์ดกลับยวบยาบมาก มากชนิดที่ว่ามากกว่าแบรนด์อื่นๆ บนโน๊ตบุ๊คระดับเดียวกัน พิมพ์งานๆ มันส์ๆ ต่อเนื่องอาจจะมีหงุดหงิดได้บ้างเพราะมันออกยวบๆ แบบพลาสติกอ่อนๆ ไม่มั่นคง แต่ถ้าเป็นคนไม่ได้ความรู้สึกไวอะไรมากมายนัก ยังพอใช้พิมพ์งานเวิร์ด เอ็กเซล ส่งอีเมล ท่องเว็บ เล่นเฟส แชท ได้อยู่ ในส่วนของทัชแพดเองก็จะเป็นทัชแพดแบบ Multi-Touch มาพร้อมกับเทคโนโลยี Smart Gesture ที่รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบบน Windows 10 เช่น ซูมเข้า ซูมออก เลื่อนขึ้น-ลงหรือการแตะใช้งาน รวมๆ ก็ทำได้ตามราคา ตามสไตล์ของ X Series จาก ASUS
อย่างไรก็ตามถ้าเพื่อนๆ ไม่ถนัดใช้งานคีย์บอร์ดและทัชแพดที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง รวมถึงอยากจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงผ่าน USB 3.0 โน๊ตบุ๊ค ASUS X555DG พร้อมให้เพื่อนๆนำ Devices แทบทุกชนิดมาต่อแยกต่อขยายได้ผ่านพอร์ตต่างๆ ที่มีมาให้อย่างครบครันไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต , USB2.0 , HDMI , SD Card Reader , DVD-RW พร้อมรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย และ Bluetooth 4.0 อย่างครบครัน เช่นกันกับในด้านการพกพาก็ทำได้พอประมาณบนน้ำหนักที่ค่อนข้างเบาเพียง 2.2 กิโลกรัมเท่านั้น ไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็พกพาไปทำงาน บันเทิงนอกสถานที่ได้
Performance / Software
ต่อเนื่องกับผลการทดสอบและ Benchmark ทั้งในแง่ของซอฟแวร์และเกมบน ASUS X555DG ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรมาดูกัน
สเปคของระบบที่ทางทีมงาน NotebookSPEC ได้รับมาทดสอบจาก ASUS X555DG จะเป็นเวอร์ชั่นที่ขายจริงมาพร้อมแรมและสเปคต่างๆ ตามที่มีวางขายเลย ส่วนของการ์ดเองเมื่อลงไดร์ฟเวอร์เรียบร้อยตัวการ์ดจำทำการ Dual Graphics ให้โดยอัตโนมัติ
การตั้งค่า : CS:GO – All High MSAA 2x – AF 4x // Dota2 – Low // Fallout 4 – All Low x0 AA //
Metal Gear Solid V: The Phantom Pain – Low // Killing Floor 2 – All Low // GTA 5 – All NNormal
การเล่นเกมต่างๆ ถือว่าทำได้ตามราคา ตามสเปค สามารถเล่นเกมใหม่ๆ ได้ที่ระดับ 1366x768px ปรับระดับกราฟิกตั้งแต่ Low-High ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับเกมนั้นๆ ว่าจะกินสเปคมากน้อยขนาดไหน โดนเฟรมเรทเฉลี่ยที่ได้ออกมาจะอยู่ราว 30-35FPS ในภาพรวมจัดว่าเล่นได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับราคาที่ต้องจ่ายไปนั้นถือว่า ASUS X555DG ทำผลงานออกมาได้น่าประทับใจไม่น้อยสำหรับโน๊ตบุ๊คระดับนี้
สำหรับในการทดสอบเรื่องของความร้อนนั้นทางทีมงานทดสอบกับการเบิร์นเครื่องต่อเนื่อง 30 วัน และจับค่าความร้อนผ่านซอฟแวร์ที่เชื่อถือได้อย่าง HWmonitor และ GPU-Z ในห้องแอร์ที่ปรับความเย็นไว้ราวๆ 27 องศาที่จะเห็นได้ว่าความร้อนโดยรวมขณะใช้งานทั่วไปของการ์ดจอจะอยู่ที่ 80-81 องศา ถือว่าไม่ร้อนมาก และยังมีฟีเจอร์ปรับสมดุลของสัญญาณนาฬิกาซีพียูที่ลดให้พอดีเมื่อเกิดความร้อนสูง
Conclusion / Award
มาถึงบทสรุป ASUS X555DG โน๊ตบุ๊ค AMD FX ตัวแรงเล่นเกมโหดได้ทุกเกม ที่ถามว่าเล่นได้มั้ยก็เล่นได้จริงๆ กับสนนราคาราคา 18,900 บาท เท่านั้น เพียงแต่ต้องปรับระดับกราฟิกให้สมดุลกับเกมต่างๆ ก็พอเล่นถูไถไปได้กับเกมที่กินสเปคโหดๆ แต่ถ้าเป็นเกมออนไลน์ที่กินสเปคไม่มากบอกเลยว่าหายห่วง ด้วยฮาร์ดแวร์อย่าง AMD FX พ่วงด้วยกราฟิกการ์ด Dual Graphics แรม 8GB ที่ออกลูกสูสีกับ Core i5-i7 ULT บวกกับการ์ดจอ NVIDIA GT 920M-940M ยังไงอย่างงั้น แถมหายห่วงได้เลยเรื่องความร้อน เพราะพี่แกเป็นโรงน้ำแข็งรันยาวๆ 30 วันแบบโหดๆ ได้สบายๆ โดยไม่หยุดพักที่เพื่อนๆ ได้เห็นกันมาแล้วกับการทดสอบของ NotebookSPEC
ยิ่งผนวกรวมกับแรมที่มากกว่าถึง 8GB และพอร์ตเชื่อมต่อที่ครบ ฟีเจอร์โน๊ตบุ๊คต่างๆ ที่ใช้ได้จริงเยอะแยะมากมาย กับราคาเท่านี้จัดว่าคุ้มค่าน่าโดน อย่างไรก็ดีข้อสังเกตยิบย่อย ASUS X555DG ก็มีอยู่บ้างที่เห็นหลักๆก็เป็นจำพวกวัสดุ โดยเฉพาะกับแป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดที่ฟีลพลาสติกมากๆ ใช้งานต่อเนื่องแล้วรู้สึกไม่มั่นใจเพราะมันค่อนข้างยวบพอสมควร (เรื่องปกติของ ASUS X Series) รวมไปถึงตัวเครื่องที่พลาสติกแบบชัดเจนไม่มีลูกเล่นโลหะมีแบรนด์อื่นๆ ที่อาจทำให้ฟีลสัมผัสได้ไม่พรีเมียมเท่า แต่ถ้ามองตามราคาขาย กับประสิทธิภาพ ฟีเจอร์ต่างๆ และความร้อนที่ไว้ใจได้ ASUS X555DG จัดว่าเป็นทางเลือกราคาคุ้มค่าที่ไม่เลวเลยสำหรับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มราคา 18,900 บาทเพื่อนๆ ท่านไหนที่สนใจสามารถสอบถามจากแทนจำหน่ายโน๊ตบุ๊ค ASUS ทั่วประเทศไทยได้เลย หรือถ้าอยากได้โน๊ตบุ๊คคุ้มๆตัวอื่นๆ AMD ยังมีโน๊ตบุ๊ค APU ทางเลือกอีกหลายรุ่นเลยละครับทั้ง AMD A4-A6 สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป , A8-A10 ที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับความบันเทิงและ AMD FX สำหรับผู้ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด
ข้อดี
- สเปคค่อนข้างคุ้มค่ากับราคา แรงเทียบเท่า Iกับ Core i5-i7 ULT บวกกับการ์ดจอ NVIDIA GT 920M-940M
- คีย์บอร์ดมาพร้อมด้วยแป้นตัวเลขใช้งานสะดวก
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต และมี HDMI
- ระบบเสียง SonicMaster ให้เสียงได้ค่อนข้างดี พร้อมปรับแต่งได้ดั่งใจด้วย Audio Wizard
- แรมให้มามากถึง 8GB
ข้อสังเกต
- คีย์บอร์ดค่อนข้างยวบ เนื้องานให้ฟีลพลาสติกมากๆ
Video Introduce
Specification
ก่อนจะไปดูว่าเล่นเกมได้ลื่นไหมเรามาดูในด้านของสเปคของ ASUS X555DG ที่เลือกใช้ซีพียู AMD FX-8800P 15W (2 MB L2 Cache) พ่วงการ์ดจอ APU ที่ทำ Dual GPU กับการ์ดจอแยกเป็น AMD Radeon R8 M350DX 2GB นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีแรมขนาด 4+4GB DDR3L (ฝัง 4GB และใส่แยก 4GB 1 แผง ) พ่วงด้วยฮาร์ดไดร์ฟ HDD ความจุ 1TB
หน้าจอแสดงผล ASUS X555DG ใช้จอแสดงผลมาตรฐาน HD ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366×768 พิกเซล ส่งผลให้เล่นเกมที่ความละเอียดแบบ Native ได้ค่อนข้างโอเค พร้อมกล้องเว็บแคม HD มีไมค์ในตัวให้ด้วย และมีระบบเสียงที่ดีพอใช้อย่างอย่าง SonicMaster และ AudioWizard ปรับแต่งเสียงได้บ้างพอประมาณเพียงพอต่อการใช้งานพื้นฐาน บันเทิง และเล่นเกม
การเชื่อมต่อ ASUS X555DG มีพอร์ต 2x USB 3.0 , 1x USB 2.0 , HDMI , 2-in-1 card reader (SD/ MMC) , RJ45 , Super-Multi DVD และ Audio Combo Jack รองรับการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Wireless 802.11 b/g/n และ Bluetooth 4.0 ขนาดตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป และมีน้ำหนักตัวที่ราวๆ 2.3 กิโลกรัมไม่หนักไม่เบาจนเกินไป พร้อมรับประกันการใช้งาน 2 ปีจาก ASUS Thailand สนนราคาอยู่ที่ 18,900 บาทครับผม
Using Experience
ดีไซน์ ASUS X555DG มาในแนวเรียบๆ แบบคลาสสิค แต่มีสีสันออกสไตล์โมเดิร์นโดยฝาบนของตัวเครื่อง X550 ที่จะใช้พลาสติกสีดำเทามีตัดด้วยเท็กเจอร์หยดน้ำให้ฟีลลิ่งสัมผัสแตกต่างจากโน๊ตบุ๊คมาตรฐานตัวอื่นๆ ส่วนด้านใต้ฐานตัวเครื่องใช้พลาสติกผิวดำด้านทั่วๆไป
ในเรื่องของการอัพเกรด ASUS X555DG สามารถทำได้ไม่ยากและไม่ง่าย เพราะมีช่องแบ่งไว้สำหรับอัพเกรดแรมได้ 1 แผงสูงสุด 8GB DDR3L (รวมเป็น 12GB) จากปกติทื่ใส่ไว้ให้ 4GB 1 แผง และฝังบนเมนบอร์ด 4GB อีก 1 แผง ส่วนถ้าจะอัพเกรดฮาร์ดไดร์ฟ DVD Drive หรือส่วนอื่นๆ ต้องเลาะแผงคีย์บอร์ดออกมาที่ทำได้ยุ่งยาก แต่พอที่จะทำได้ เช่นกันกับเรื่องของความร้อนที่หายห่วงได้เลยที่ถึงแม้จะมีพัดลมเดียวแต่เปิดโหดๆ ใช้งานต่อเนื่องได้ยาวๆ 30 วันได้สบายๆ จากการพิสูจน์ที่ผ่านมาแล้วด้วยความสมดุลของสัญญาณนาฬิกาซีพียูที่ลดให้พอดีเมื่อเกิดความร้อนสูง
เปิดเครื่องใช้จริงบน ASUS X555DG ตอบสนองการ Boot UP เข้า Windows 10 ที่ลงตัวทบสอบไว้ได้ราวๆ 25-30 วินาทีอยู่ในช่วงกลางๆ ส่วนประสบการณ์ใช้งานแบบเปิดต่อเนื่องดูหนังฟังเพลง เล่นเกมเปิดภาพยนต์ และคลิปต่างๆ ตัวหน้าจอก็ให้สีแสง ความสมจริงกลางๆ ไม่ได้ดีเด่ แต่ไม่ได้แย่เรียกว่าตอบรับกับงานพื้นๆ ได้ไม่เลวในมุมมองตรงหน้าจอแบบใช้คนเดียว แต่เมื่อไรก็ตามที่เฉียงเอียงเครื่องมองจากด้านข้างก็มีมุมมองที่กว้างพอใช้ได้ราวๆข้างละ 60 องศา ซึ่งถ้ามากกว่านั้นสีภาพจะเริ่มเพี้ยน ส่วนมุมก้มและมุมเงยทำออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควรเพราะมีอาการเพี้ยนของภาพตามข้อจำกัดของจอแบบ TN
การใช้งานแบบปกติทั่วไปในแง่ของความรวดเร็วกับ APU AMD ที่ติดตั้งมาให้บน ASUS X555DG หลายๆ คนอาจจะกลัวว่าทำได้ไม่ดี แต่ในความเป็นจริง เช่นใช้งานท่องเว็บ ใช้งานเอกสาร เช็คเมลฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ตตอบสนองได้ดีไม่ได้มีความหน่วง ความช้าอะไรให้เห็นเรียกได้ว่าใช้งานทั่วๆ ไปได้ดีไม่แพ้คู่ปรับอย่าง Intel เลย แถมแลจะดูดีกว่าคู่แข่งในการเปิดแท็บหลายๆ หน้าด้วยแรมที่ติดมาให้กว่าโน๊ตบุ๊คในระดับเดียวกันถึง 8GB (ปกติให้มาแค่ 4GB)
แต่กระนั้นแล้วดันมาตกม้าตายกับพื้นที่กสนใช้งานหน้าจอแสดงผลที่ค่อนข้างจำกัดด้วยจอ HD ขนาด 15.6 นิ้ว ที่แน่นอนว่าใหญ่แต่ HD ก็คือ HD ภาพเลยไม่ค่อยคม และมีพื้นที่การใช้งานที่อึดอัดไปหน่อย แต่ถ้าวัดตามราคาก็ถือว่าไม่แย่นะ ทั้งนี้ถ้าใครอยากได้เต็มตาจริงๆ สามารถเพิ่มพื้นที่การแสดงผลด้วยจอแสดงผลแยก 2 ตัวพร้อมๆ กันผ่านพอร์ต HDMI หรือ D-Sub สามารถทำได้ บอกได้เลยว่ามีโน๊ตบุ๊คราคาถูกไม่กี่ตัวหรอกที่ให้พอร์ตต่อจอมาพร้อมๆ กัน 2 พอร์ต
แต่เดี๋ยวก่อนเห็นบ่นๆ เรื่องความละเอียด HD 1366×768 พิกเซล แต่เอาเข้าจริงเมื่อใช้งานเล่นเกมกลับทำได้ดีเกินราคานะ เพราะ ASUS X555DG เล่นเกมแบบ Native (1366×768 พิกเซล) ได้ดีพอประมาณเลยละในระดับเดียวกับ Core i5-i7 ULT บวกกับการ์ดจอ NVIDIA GT 920M-940M เลย ไม่ว่าจะเป็นเกมโหดๆ เกมออนไลน์ หรือเกมออฟไลน์เท่าที่ลองมาเล่นได้ในระดับที่พอไปวัดไปวาได้หมดเลย ยกตัวอย่าง CS:GO ปรับ High นี่ลื่นเอาเรื่องเหมือนกัน หรือจะ Fallout 4 ก็เล่นพอได้ บวกกับลำโพง Stereo ติดระบบเสียงทำให้เล่นเกมมีชีวิตชีวามากขึ้นเยอะ ถึงแม้เสียงและภาพจะไม่ได้ดีที่สุดแต่ถ้าวัดตามราคาจัดว่าน่าพึงพอใจ
แถมโน้ตบุ๊ต AMD APU อย่าง ASUS X555DG ยังมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจอีกเยอะใช้ได้เหลือๆ เลย AMD Enduro Technology : เทคโนโลยีช่วยประหยัดแบตเตอรี่ , Multi GPU (iGPU + dGPU) : เพิ่มความแรงการ์ดจอ , AMD Eyefinity Technology : เทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบหลายจอ , HEVC : เทคโนโลยีเพื่อการเล่นไฟล์วิดีโอความละเอียดสูง 4K UHD , AMD Gesture Control : เทคโนโลยีที่ให้ท่าทางควบคุมใช้งานโน๊ตบุ๊คแทนเมาส์ , Quick Stream : เทคโนโลยีการดู Youtube แบบไม่มีสะดุด , Face Login : login เข้า windows , True Audio 7.1 Channel : การ์ดจอทำหน้าที่เป็น sound card ชั้นดี จำลองเสียงผ่านสัญญาณแบบ digital , Perfect Picture & Steady Video : จัดการเรื่องคุณภาพ และ Video ให้สวยงามขึ้น , Start Now Technology : เปิดปิดเครื่องได้เร็ว , Support Window 10 : ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก
ถ้าเล่นเกมฟังเพลงกันจนเบื่อ อยากปรับมาทำงานทั่วไปมาพิมพ์งานต่างๆ ASUS X555DG ยังให้ฟีลการทำงานได้ไม่โดดเด่นถ้านับเป็นคะแนนก็เอาไป 5/10 เหตุผลถึงแม้จะเป็นคีย์บอร์ด Chiclet พร้อมปุ่มตัวเลขที่ออกแบบมาได้ดี แต่พอใช้จริงคีย์บอร์ดกลับยวบยาบมาก มากชนิดที่ว่ามากกว่าแบรนด์อื่นๆ บนโน๊ตบุ๊คระดับเดียวกัน พิมพ์งานๆ มันส์ๆ ต่อเนื่องอาจจะมีหงุดหงิดได้บ้างเพราะมันออกยวบๆ แบบพลาสติกอ่อนๆ ไม่มั่นคง แต่ถ้าเป็นคนไม่ได้ความรู้สึกไวอะไรมากมายนัก ยังพอใช้พิมพ์งานเวิร์ด เอ็กเซล ส่งอีเมล ท่องเว็บ เล่นเฟส แชท ได้อยู่ ในส่วนของทัชแพดเองก็จะเป็นทัชแพดแบบ Multi-Touch มาพร้อมกับเทคโนโลยี Smart Gesture ที่รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบบน Windows 10 เช่น ซูมเข้า ซูมออก เลื่อนขึ้น-ลงหรือการแตะใช้งาน รวมๆ ก็ทำได้ตามราคา ตามสไตล์ของ X Series จาก ASUS
อย่างไรก็ตามถ้าเพื่อนๆ ไม่ถนัดใช้งานคีย์บอร์ดและทัชแพดที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง รวมถึงอยากจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงผ่าน USB 3.0 โน๊ตบุ๊ค ASUS X555DG พร้อมให้เพื่อนๆนำ Devices แทบทุกชนิดมาต่อแยกต่อขยายได้ผ่านพอร์ตต่างๆ ที่มีมาให้อย่างครบครันไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต , USB2.0 , HDMI , SD Card Reader , DVD-RW พร้อมรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย และ Bluetooth 4.0 อย่างครบครัน เช่นกันกับในด้านการพกพาก็ทำได้พอประมาณบนน้ำหนักที่ค่อนข้างเบาเพียง 2.2 กิโลกรัมเท่านั้น ไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็พกพาไปทำงาน บันเทิงนอกสถานที่ได้
Performance / Software
ต่อเนื่องกับผลการทดสอบและ Benchmark ทั้งในแง่ของซอฟแวร์และเกมบน ASUS X555DG ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรมาดูกัน
สเปคของระบบที่ทางทีมงาน NotebookSPEC ได้รับมาทดสอบจาก ASUS X555DG จะเป็นเวอร์ชั่นที่ขายจริงมาพร้อมแรมและสเปคต่างๆ ตามที่มีวางขายเลย ส่วนของการ์ดเองเมื่อลงไดร์ฟเวอร์เรียบร้อยตัวการ์ดจำทำการ Dual Graphics ให้โดยอัตโนมัติ
การตั้งค่า : CS:GO – All High MSAA 2x – AF 4x // Dota2 – Low // Fallout 4 – All Low x0 AA //
Metal Gear Solid V: The Phantom Pain – Low // Killing Floor 2 – All Low // GTA 5 – All NNormal
การเล่นเกมต่างๆ ถือว่าทำได้ตามราคา ตามสเปค สามารถเล่นเกมใหม่ๆ ได้ที่ระดับ 1366x768px ปรับระดับกราฟิกตั้งแต่ Low-High ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับเกมนั้นๆ ว่าจะกินสเปคมากน้อยขนาดไหน โดนเฟรมเรทเฉลี่ยที่ได้ออกมาจะอยู่ราว 30-35FPS ในภาพรวมจัดว่าเล่นได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับราคาที่ต้องจ่ายไปนั้นถือว่า ASUS X555DG ทำผลงานออกมาได้น่าประทับใจไม่น้อยสำหรับโน๊ตบุ๊คระดับนี้
สำหรับในการทดสอบเรื่องของความร้อนนั้นทางทีมงานทดสอบกับการเบิร์นเครื่องต่อเนื่อง 30 วัน และจับค่าความร้อนผ่านซอฟแวร์ที่เชื่อถือได้อย่าง HWmonitor และ GPU-Z ในห้องแอร์ที่ปรับความเย็นไว้ราวๆ 27 องศาที่จะเห็นได้ว่าความร้อนโดยรวมขณะใช้งานทั่วไปของการ์ดจอจะอยู่ที่ 80-81 องศา ถือว่าไม่ร้อนมาก และยังมีฟีเจอร์ปรับสมดุลของสัญญาณนาฬิกาซีพียูที่ลดให้พอดีเมื่อเกิดความร้อนสูง
Conclusion / Award
มาถึงบทสรุป ASUS X555DG โน๊ตบุ๊ค AMD FX ตัวแรงเล่นเกมโหดได้ทุกเกม ที่ถามว่าเล่นได้มั้ยก็เล่นได้จริงๆ กับสนนราคาราคา 18,900 บาท เท่านั้น เพียงแต่ต้องปรับระดับกราฟิกให้สมดุลกับเกมต่างๆ ก็พอเล่นถูไถไปได้กับเกมที่กินสเปคโหดๆ แต่ถ้าเป็นเกมออนไลน์ที่กินสเปคไม่มากบอกเลยว่าหายห่วง ด้วยฮาร์ดแวร์อย่าง AMD FX พ่วงด้วยกราฟิกการ์ด Dual Graphics แรม 8GB ที่ออกลูกสูสีกับ Core i5-i7 ULT บวกกับการ์ดจอ NVIDIA GT 920M-940M ยังไงอย่างงั้น แถมหายห่วงได้เลยเรื่องความร้อน เพราะพี่แกเป็นโรงน้ำแข็งรันยาวๆ 30 วันแบบโหดๆ ได้สบายๆ โดยไม่หยุดพักที่เพื่อนๆ ได้เห็นกันมาแล้วกับการทดสอบของ NotebookSPEC
ยิ่งผนวกรวมกับแรมที่มากกว่าถึง 8GB และพอร์ตเชื่อมต่อที่ครบ ฟีเจอร์โน๊ตบุ๊คต่างๆ ที่ใช้ได้จริงเยอะแยะมากมาย กับราคาเท่านี้จัดว่าคุ้มค่าน่าโดน อย่างไรก็ดีข้อสังเกตยิบย่อย ASUS X555DG ก็มีอยู่บ้างที่เห็นหลักๆก็เป็นจำพวกวัสดุ โดยเฉพาะกับแป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดที่ฟีลพลาสติกมากๆ ใช้งานต่อเนื่องแล้วรู้สึกไม่มั่นใจเพราะมันค่อนข้างยวบพอสมควร (เรื่องปกติของ ASUS X Series) รวมไปถึงตัวเครื่องที่พลาสติกแบบชัดเจนไม่มีลูกเล่นโลหะมีแบรนด์อื่นๆ ที่อาจทำให้ฟีลสัมผัสได้ไม่พรีเมียมเท่า แต่ถ้ามองตามราคาขาย กับประสิทธิภาพ ฟีเจอร์ต่างๆ และความร้อนที่ไว้ใจได้ ASUS X555DG จัดว่าเป็นทางเลือกราคาคุ้มค่าที่ไม่เลวเลยสำหรับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มราคา 18,900 บาทเพื่อนๆ ท่านไหนที่สนใจสามารถสอบถามจากแทนจำหน่ายโน๊ตบุ๊ค ASUS ทั่วประเทศไทยได้เลย หรือถ้าอยากได้โน๊ตบุ๊คคุ้มๆตัวอื่นๆ AMD ยังมีโน๊ตบุ๊ค APU ทางเลือกอีกหลายรุ่นเลยละครับทั้ง AMD A4-A6 สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป , A8-A10 ที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับความบันเทิงและ AMD FX สำหรับผู้ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด
ข้อดี
- สเปคค่อนข้างคุ้มค่ากับราคา แรงเทียบเท่า Iกับ Core i5-i7 ULT บวกกับการ์ดจอ NVIDIA GT 920M-940M
- คีย์บอร์ดมาพร้อมด้วยแป้นตัวเลขใช้งานสะดวก
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต และมี HDMI
- ระบบเสียง SonicMaster ให้เสียงได้ค่อนข้างดี พร้อมปรับแต่งได้ดั่งใจด้วย Audio Wizard
- แรมให้มามากถึง 8GB
ข้อสังเกต
- คีย์บอร์ดค่อนข้างยวบ เนื้องานให้ฟีลพลาสติกมากๆ