คงจะคุ้นเคยกันดีแล้วกับ Tablet ของ Lenovo ในตระกูลของ Yoga Tab โดยเป็น Tablet ที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลาย เป็นเอกลักษณ์ และออกมาแล้วถึง 2 รุ่นแล้ว โดยเน้นความโดดเด่นที่รูปร่างทำให้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ดีและตัวเครื่องก็มีราคาที่ไม่แพงมากนัก
ซึ่งในครั้งนี้ทีมงาน NotebookSpec ได้นำ Lenovo Yoga Tab 3 ถือว่าเป็นรุ่นที่ 3 ที่ออกมาสู่ตลาด กับรุ่นหน้าจอ 8 นิ้ว ที่มาพร้อมงานประกอบและสเปกที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากรุ่นก่อนๆ ซึ่งมีความน่าสนใจและการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะทำให้มันดูคุ้มค่าหรือไม่ กับราคา 7,990 บาท อันนี้ต้องไปลองดูกันในบทวามรีวิวนะครับ
Specification
Lenovo Yoga 3 8.0 รุ่นใหม่ล่าสุดที่ทีมงาน Notebook Spec นำมาทดสอบครั้งนี้ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 5.1 พร้อมกับ Vibe UI มาพร้อมกับหน้าจอ 8.0 IPS LCD ความละเอียด 1280×800 ทัชสกรีน พร้อมขุมพลัง Qualcomm Snapdragon 212 Quad Core 1.3GHz พร้อมกับ RAM 1GB ความจำในตัว 16GB เพิ่มความจำได้ผ่าน Micro SD 128GB ถือว่าสเปคกลาง ๆ ไม่ได้สูงมากนัก สมกับเครื่องราคาไม่เกิน 1 หมื่นบาท
ส่วนกล้องของ Lenovo Yoga Tab 3 ใช้กล้อง 8 ล้านพิกเซลพร้อมกับ Auto Focus และกล้องสามารถหมุนได้ 180 องศา ทำให้กล้องหน้าไม่มี รองรับระบบเสียงลำโพง 1.5 วัตต์ 2 ข้าง
สเปกเต็มๆ ของ Lenovo Yoga 3 8.0″
Hardware / Design
การออกแบบของ Lenovo Yoga Tab 3 อาจจะแปลกตากว่า Tablet Android หรือ iPad ทั่วไป เพราะจะมีส่วนล่างที่ใหญ่โตกว่า Tablet ทั่วไป พร้อมกับหน้าจอขนาด 8 นิ้วพร้อมกับลำโพงที่อยูาด้านหน้า เนื่องจากไม่มีกล้องหน้า ต้องใช้กล้องที่อยู่ด้านล่างบิดมาหาด้านหน้า ด้านหลังออกแบบเรียบ พร้อมกับโลโก้ Yoga กับวัสดุแบบ Soft Touch จับสัมผัสได้ดี แต่น่าเป็นห่วงเมื่อใช้งาน นาน ๆ เสี่ยงลอกง่าย
จุดสำคัญคือตรงฐานมีปุ่มกดที่สามารถเปิดฐานได้เลยความยาวของฐานมากขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ ทำให้สามารถใช้งานตั้งได้มากขึ้น ข้อดีคือไม่ต้องงัดอีกต่อไปทำให้มันดูดีใช้ได้ ด้านข้างช่องเสียบดูน้อยแต่พอเพียงต่อการใช้งาน พร้อมกับปุ่มเปิดที่มีขนาดใหญ่ แต่ไม่มีไฟสถานะหรือสัญญาลักษณ์ว่าคือปุ่ม Power ใหญ่สะใจพอสมควร โดยฐานด้านในเมื่อเปิดฐานออกมาจะพบช่องสำหรับใส่ซิมการ์ดและช่องเสียบความจำ Micro SD
Lenovo Yoga Tab 3 เป็น Tablet ที่ไม่มี Keyboard แบบ Typing แยกออกมาเป็น Hardware จะต้องซื้ออุปกรณ์สริม ทำให้เหลือ Keyboard ของระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งอยู่ในตัวเครื่อง เท่าที่ลองใช้สามารถพิมพ์ได้คล่องแต่ไม่อาจจะไม่สามารถใช้ในการพิมพ์งานได้ต่อเนื่องมากนัก เพราะอาจจะมีอาการปวดนิ้วจากการพิมพ์บนหน้าจอนาน ๆ
และยังสามารถใช้งานมัลติทัชได้พร้อมกันถึง 10 จุด จึงเหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งเล่นเกมที่มากกว่า 1 คนหรือใช้งานด้านอื่น ๆ ที่ต้องใช้หลายนิ้ว และยังมีความเสถียรที่จัดอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม พร้อมกับจัดวางลำโพงให้อยูด้านหน้า มีข้อดีในเรื่องการกระจายเสียงออกไปเมื่อต้องการใช้งานอยู่ในห้องส่วนตัว หรือพื้นที่ทำงานที่มีพื้นที่จำกัด โดยไม่ต้องเสียบลำโพงใหญ่ให้เสียเวลา
Screen / Speaker
Lenovo Yoga Tab 3 ใช้หน้าจอขนาด 8 นิ้วความละเอียด 1280×800 อาจจะดูละเอียดน้อยไปสักหน่อย แต่เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วถือว่ามันใช้ได้ การแสดงผลชัดเจน และรองรับการดู YouTube หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อย่างดี และสามารถใช้ปากกาเขียนบนหน้าจอได้ เพิ่มความสะดวกสบายไปอีกขั้น จากที่ได้ลองใช้งานด้านการพิมพ์บนหน้าจอซึ่งรองรับการสัมผัสทั้งหมด 10 จุดพร้อมกับ การพิมพ์ถือว่าตอบสนองได้ดี แต่อาจจะมีอุปสรรค์ในเรื่องของ Keyboard Android เองที่กดเร็วอาจจะผิดพลาดอยู่บ้าง
ส่วนลำโพงนั้นอยู่ด้านหน้า ทั้ง 2 ฝั่งซ้ายและขวา ขนาด 1.5 วัตต์ ข้อสังเกตุมีเล็กน้อยคือ ลำโพงฝั่งซ้ายจะเล็กกว่าฝั่งขวานิดนึง แต่ก็ไม่ส่งผลถึงเนื่องการเปล่งเสียงออกมาสักเท่าไหร่ เพราะมันดังดีใช้ได้อยู่แล้ว ยกเว้นไปที่ ๆ มีเสียงรบกวนมาก แนะนำว่าถ้าอยู่ในจุดที่เสียงดัง ใช้หูฟังช่วยจะดีที่สุด นอกจากนี้ยังรองรับระบบ Dolby ATMOS ทำให้สามารปรับ Equalizer ของเสียงได้ หรือจะเลือกแบบค่าพื้นฐานได้เช่นกัน
Multi mode
รูปแบบของ Lenovo Yoga Tab 3 มีการปรับปรุงให้สามารถปรับได้พอสมควร และแก้ปัญหาเรื่องฝาหลังเวลาดึงใช้งานที่ยากใน 2 รุ่นแรก โดยการทำเป็นปุ่มเพื่อปรับขา และสามารถปรับแต่งได้หลากหลายรูปแบบเช่น
Hang Mode กดเปิดขาตั้งออกมา แล้วกางให้สุด และก็หาที่แขวน เพราะมีรูให้แขวน เท่านี้คุณก็ได้ tablet ติดเพดานวางที่ไหนก็ได้ที่มีที่เกี่ยวแล้ว
รูปแบบนี้เหมาะสมกับการใช้ในพื้นที่จำกัดเช่นในห้องครัว หรือสถานที่ ๆ สามารถใช้แขวนสิ่งของได้ เป็นอีกทางเลือกในการมองและใช้งานอีกแบบหนึ่ง
Hold Mode ไม่ต้องทำอะไรมาก จับแท่นแล้วถือตามปกติ การเปลี่ยนแปลงคือหน้าจอจะปรับให้เป็น Read Mode สังเกตว่าหน้าจอเหลืองขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ใช้งานได้สบายตามากยิ่งขึ้น ซึ่งเหมาะกับการถือเดินอ่าน หรืออ่านข้อมูลระหว่างเดินทางไกล
แต่ข้อเสียของ Mode นี้คือ จะต้องถือตลอดเวลา อาจจะทำให้เกิดความเมื้อยล้ากว่า Mode อื่น ๆ อย่างที่เห็น
Stand Mode หันด้านหลัง กดปุ่มให้ฐานยกแล้วปรับให้สามารถตั้งอยู่ได้ เท่านี้คุณก็สามารถใช้งาน Tablet แบบตั้งฉากเพื่อใช้ในเรื่องการดูข้อมูลเป็นหลัก
ไม่ค่อยเหมาะกับการพิมพ์เพราะเนื่องจากหน้าจอตั้งชันเกือบ 80 องศา อาจจะทำให้การพิมพ์นั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด แนะนำว่าให้ใช้ Keyboard น่าจะดีที่สุด
Tablet Mode ไม่ต้องเปิดขาตั้งวางเฉย ๆ จะเปลี่ยนที่หน้าจอเป็น Tablet Mode โดยอัตโนมัติ ซึ่งหน้าจอจะเปลี่ยนสีโดยเน้นสีขาวสดใสกว่า ภาพรวมของการปรับรูปแบบดูใข้งานง่ายกว่าเดิม ทำให้มันดูน่าใช้ขึ้นกว่าเดิม
แต่ด้วยความเรียบเกินไปอาจจะทำให้การมองเห็นของคนจะต้องก้มสักหน่อย
และรูปแบบสุดท้ายคือ Tile Mode ซึ่งเป็นรูปแบบที่ประหลาดที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา คือการปรับตั้งให้ฐานนั้นเอียไปที่ 90 องศา แล้ววางเครื่องแบบเดียวกับ Tablet Mode (วางกับพื้น)
ข้อดีคือเมื่อต้องการใช้งานพิมพ์ด้วยหน้าจอสัมผัส มันสามารถใช้งานได้ดีเนื่องจากหน้าจอจะเอียอยู่ที่ 45 องศาพอดี เช่นเดียวกันแต่ถ้าวางในที่ไม่มั่นคงมันจะลบได้อย่างง่ายดาย
การใช้งานทุกรูปแบบจะมีระบบการเปลี่ยนแปลงหน้าจอ ความสว่างและรูปแบบของสีได้เองทำให้สามารถใช้งานได้ดีในแต่ละแบบ ต้องเป็นห่วงว่าสายตาจะเสีย และสามารถตั้งค่าเองได้
และด้วยการใช้ฐานรองแบบใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้ง่าย แค่กดแล้วพับเท่านี้ก็ใช้งานได้อย่างลงตัวแล้วครับ
Connector / Thin And Weight
ช่องเสียบต่าง ๆ นั้นถูกจัดวางตำแหน่งได้ลงตัว ฝั่งซ้ายมีเสียบ Micro USB พร้อมปุ่มเปิดเครื่องและปุ่มปรับระดับเสียง ฝั่งขวาจะมีช่องเสียบหูฟังอยู่ที่ฐาน ดีกว่าการออกแบบนั้นยังคง Style ของ Lenovo Yoga Tab อย่างเหนียวแน่นความบางในส่วนของหน้าจอนั้นบางมากแทบจะเท่ากับการนำกระดาษ A4 มาเรียกกันเลยก็ว่าได้ แต่ด้านเป็นส่วนฐานแล้วอาจจะหนากว่าเพราะว่ามีจุดยึดกลไกสำหรับขาตั้ง และเป็นที่อยู่ของแบตเตอรี่ นั่นเอง
และยังมีอีกช่องสำหรับใส่ซิมการ์ดแบบ Micro SIM สามารถหาซิมการ์ดที่รองรับ 4G มาใช้งานได้ และช่องใส่ Micro SD ถูกซ่อนอยู่เก็บฐานของเครื่อง แต่มีข้อสังเกตเล็กน้อยคือ ฝาปิดนั้นอยู่ลึกและแข็งมากพอสมควร ทำให้การแก้เปลี่ยนซิมการ์ดหรือ Micro SD ทำได้ค่อนข้างลำบาก
จุดนี้ถ้าคนมีเล็บหน่อยจะเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้ไว้เล็บ การแก้ฝาถือว่าทำได้ยากมาก หรืออาจจะเจ็บตัวได้
Performance / Software
ขุมพลังของ Lenovo Yoga Tab 3 ใช้ Qualcomm Snapdragon 212 Quad Core 1.3GHz พร้อมกับ RAM 1GB จากผลการทดสอบ Benchmark จาก Antutu 6.0 อยู่ที่ 18988 คะแนน อาจจะดูน้อยไปสักหน่อย ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการประมวลผลของ 3D นั่นเอง ส่วน PCMark วัดคะแนนออกมา 2724 คะแนน โดยจากกราฟที่บอกคะแนนดูไปแล้ววิ่งสูงพอสมควร ทำให้ภาพรวมของเครื่องไม่เหมาะสำหรับการเล่นเกมสักเท่าไหร่ การรองรับมัลติทัชทำได้ 10 จุด ถือว่าเป็นเรื่องปกติของ Tablet เครื่องแบบนี้ ส่วนระบบปฏิบัติการของเครื่องนี้ ใช้เป็น Android Lollipop 5.1.1 ถือว่าใหม่พอสมควร
Battery / Heat / Noise
ด้วยขนาดแบตเตอรี่ 4500 mAh เรียกว่าเยอะอยู่ต่อการใช้งาน ซึ่งการทดสอบของมันสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องถึงเกือบ 9 ชั่วโมง ถือว่าทนทานพอสมควร แต่ถ้าใช้งานจริง สเปคเคลมว่าสามารถ Standby ได้นานถึง 20 ชั่วโมง เรียกว่านานเอาเรื่อง ใช้จริงเกิน 1 วันได้สบาย นอกจากคุณจะนำไปเล่นเกม ส่วนเรื่องความร้อนนั้น ถ้าใช้งานหนักเช่น Apps ที่มีหน่วยประมวลผลทำงานต่อเนื่อง หรือการเปิดกล้องค้างเอาไว้ก็จะรู้สึกถึงความร้อนได้เล็กน้อย
Conclusion / Award
Lenovo Yoga Tab 3 8.0 เป็น Tablet ที่ตอบโจทย์ในเรื่องการพกพา แก้ปัญหาในหลาย ๆ จุดที่เรียกว่าเกิดจากความผิดพลาดหรือ ไม่ได้สำรวจความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจังไม่ว่าจะเป็น เรื่องฐานรองที่ไม่สามารถเปิดได้ง่าย ได้มีการแก้ไขเพิ่มปุ่มกดเปิดอัตโนมัติมาให้
ไม่รองรับการใช้งานผ่านเน็ตบนมือถือ ก็ได้ปรับเพิ่มเรื่องของการรองรับ 4G และสามารถใส่ซิมได้ รวมทั้งกล้องที่มีความละเอียดน้อยและไม่สามารถปรับหมุน ได้ เนื่องจอข้อจำกัดของการออกแบบ ได้เปลี่ยนใหม่เป็นกล้องหมุนได้มาแทน
ถึงแม้ว่าจะขาดในเรื่องของความละเอียดหน้าจอที่น้อยไปสักหน่อย แต่ แลกกับราคาเครื่องที่ประมาณ 7,990 บาท ไม่แพงและไม่ถูกจนเกินไป แต่ถ้าคุณต้องการใช้ Tablet ที่ตอบโจทย์เรื่องน้ำหนักและการปรับแต่งรูปร่างใช้งานได้หลากหลายรุ่นนี้ถือว่าจบครับ
ข้อดี
- ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ง่าย
- รองรับ 4G
- วัสดุเครื่องจัดว่าดี
- ลำโพงดังดีใช้ได้
ข้อสังเกต
- หน้าจอความละเอียดน้อย
- ประสิทธิภาพไม่ได้แรงมาก
- ใช้งานหนัก ๆ แบตเตอรี่ไม่ทนสักเท่าไหร่
Specification
Lenovo Yoga 3 8.0 รุ่นใหม่ล่าสุดที่ทีมงาน Notebook Spec นำมาทดสอบครั้งนี้ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 5.1 พร้อมกับ Vibe UI มาพร้อมกับหน้าจอ 8.0 IPS LCD ความละเอียด 1280×800 ทัชสกรีน พร้อมขุมพลัง Qualcomm Snapdragon 212 Quad Core 1.3GHz พร้อมกับ RAM 1GB ความจำในตัว 16GB เพิ่มความจำได้ผ่าน Micro SD 128GB ถือว่าสเปคกลาง ๆ ไม่ได้สูงมากนัก สมกับเครื่องราคาไม่เกิน 1 หมื่นบาท
ส่วนกล้องของ Lenovo Yoga Tab 3 ใช้กล้อง 8 ล้านพิกเซลพร้อมกับ Auto Focus และกล้องสามารถหมุนได้ 180 องศา ทำให้กล้องหน้าไม่มี รองรับระบบเสียงลำโพง 1.5 วัตต์ 2 ข้าง
สเปกเต็มๆ ของ Lenovo Yoga 3 8.0″
Hardware / Design
การออกแบบของ Lenovo Yoga Tab 3 อาจจะแปลกตากว่า Tablet Android หรือ iPad ทั่วไป เพราะจะมีส่วนล่างที่ใหญ่โตกว่า Tablet ทั่วไป พร้อมกับหน้าจอขนาด 8 นิ้วพร้อมกับลำโพงที่อยูาด้านหน้า เนื่องจากไม่มีกล้องหน้า ต้องใช้กล้องที่อยู่ด้านล่างบิดมาหาด้านหน้า ด้านหลังออกแบบเรียบ พร้อมกับโลโก้ Yoga กับวัสดุแบบ Soft Touch จับสัมผัสได้ดี แต่น่าเป็นห่วงเมื่อใช้งาน นาน ๆ เสี่ยงลอกง่าย
จุดสำคัญคือตรงฐานมีปุ่มกดที่สามารถเปิดฐานได้เลยความยาวของฐานมากขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ ทำให้สามารถใช้งานตั้งได้มากขึ้น ข้อดีคือไม่ต้องงัดอีกต่อไปทำให้มันดูดีใช้ได้ ด้านข้างช่องเสียบดูน้อยแต่พอเพียงต่อการใช้งาน พร้อมกับปุ่มเปิดที่มีขนาดใหญ่ แต่ไม่มีไฟสถานะหรือสัญญาลักษณ์ว่าคือปุ่ม Power ใหญ่สะใจพอสมควร โดยฐานด้านในเมื่อเปิดฐานออกมาจะพบช่องสำหรับใส่ซิมการ์ดและช่องเสียบความจำ Micro SD
Lenovo Yoga Tab 3 เป็น Tablet ที่ไม่มี Keyboard แบบ Typing แยกออกมาเป็น Hardware จะต้องซื้ออุปกรณ์สริม ทำให้เหลือ Keyboard ของระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งอยู่ในตัวเครื่อง เท่าที่ลองใช้สามารถพิมพ์ได้คล่องแต่ไม่อาจจะไม่สามารถใช้ในการพิมพ์งานได้ต่อเนื่องมากนัก เพราะอาจจะมีอาการปวดนิ้วจากการพิมพ์บนหน้าจอนาน ๆ
และยังสามารถใช้งานมัลติทัชได้พร้อมกันถึง 10 จุด จึงเหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งเล่นเกมที่มากกว่า 1 คนหรือใช้งานด้านอื่น ๆ ที่ต้องใช้หลายนิ้ว และยังมีความเสถียรที่จัดอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม พร้อมกับจัดวางลำโพงให้อยูด้านหน้า มีข้อดีในเรื่องการกระจายเสียงออกไปเมื่อต้องการใช้งานอยู่ในห้องส่วนตัว หรือพื้นที่ทำงานที่มีพื้นที่จำกัด โดยไม่ต้องเสียบลำโพงใหญ่ให้เสียเวลา
Screen / Speaker
Lenovo Yoga Tab 3 ใช้หน้าจอขนาด 8 นิ้วความละเอียด 1280×800 อาจจะดูละเอียดน้อยไปสักหน่อย แต่เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วถือว่ามันใช้ได้ การแสดงผลชัดเจน และรองรับการดู YouTube หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อย่างดี และสามารถใช้ปากกาเขียนบนหน้าจอได้ เพิ่มความสะดวกสบายไปอีกขั้น จากที่ได้ลองใช้งานด้านการพิมพ์บนหน้าจอซึ่งรองรับการสัมผัสทั้งหมด 10 จุดพร้อมกับ การพิมพ์ถือว่าตอบสนองได้ดี แต่อาจจะมีอุปสรรค์ในเรื่องของ Keyboard Android เองที่กดเร็วอาจจะผิดพลาดอยู่บ้าง
ส่วนลำโพงนั้นอยู่ด้านหน้า ทั้ง 2 ฝั่งซ้ายและขวา ขนาด 1.5 วัตต์ ข้อสังเกตุมีเล็กน้อยคือ ลำโพงฝั่งซ้ายจะเล็กกว่าฝั่งขวานิดนึง แต่ก็ไม่ส่งผลถึงเนื่องการเปล่งเสียงออกมาสักเท่าไหร่ เพราะมันดังดีใช้ได้อยู่แล้ว ยกเว้นไปที่ ๆ มีเสียงรบกวนมาก แนะนำว่าถ้าอยู่ในจุดที่เสียงดัง ใช้หูฟังช่วยจะดีที่สุด นอกจากนี้ยังรองรับระบบ Dolby ATMOS ทำให้สามารปรับ Equalizer ของเสียงได้ หรือจะเลือกแบบค่าพื้นฐานได้เช่นกัน
Multi mode
รูปแบบของ Lenovo Yoga Tab 3 มีการปรับปรุงให้สามารถปรับได้พอสมควร และแก้ปัญหาเรื่องฝาหลังเวลาดึงใช้งานที่ยากใน 2 รุ่นแรก โดยการทำเป็นปุ่มเพื่อปรับขา และสามารถปรับแต่งได้หลากหลายรูปแบบเช่น
Hang Mode กดเปิดขาตั้งออกมา แล้วกางให้สุด และก็หาที่แขวน เพราะมีรูให้แขวน เท่านี้คุณก็ได้ tablet ติดเพดานวางที่ไหนก็ได้ที่มีที่เกี่ยวแล้ว
รูปแบบนี้เหมาะสมกับการใช้ในพื้นที่จำกัดเช่นในห้องครัว หรือสถานที่ ๆ สามารถใช้แขวนสิ่งของได้ เป็นอีกทางเลือกในการมองและใช้งานอีกแบบหนึ่ง
Hold Mode ไม่ต้องทำอะไรมาก จับแท่นแล้วถือตามปกติ การเปลี่ยนแปลงคือหน้าจอจะปรับให้เป็น Read Mode สังเกตว่าหน้าจอเหลืองขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ใช้งานได้สบายตามากยิ่งขึ้น ซึ่งเหมาะกับการถือเดินอ่าน หรืออ่านข้อมูลระหว่างเดินทางไกล
แต่ข้อเสียของ Mode นี้คือ จะต้องถือตลอดเวลา อาจจะทำให้เกิดความเมื้อยล้ากว่า Mode อื่น ๆ อย่างที่เห็น
Stand Mode หันด้านหลัง กดปุ่มให้ฐานยกแล้วปรับให้สามารถตั้งอยู่ได้ เท่านี้คุณก็สามารถใช้งาน Tablet แบบตั้งฉากเพื่อใช้ในเรื่องการดูข้อมูลเป็นหลัก
ไม่ค่อยเหมาะกับการพิมพ์เพราะเนื่องจากหน้าจอตั้งชันเกือบ 80 องศา อาจจะทำให้การพิมพ์นั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด แนะนำว่าให้ใช้ Keyboard น่าจะดีที่สุด
Tablet Mode ไม่ต้องเปิดขาตั้งวางเฉย ๆ จะเปลี่ยนที่หน้าจอเป็น Tablet Mode โดยอัตโนมัติ ซึ่งหน้าจอจะเปลี่ยนสีโดยเน้นสีขาวสดใสกว่า ภาพรวมของการปรับรูปแบบดูใข้งานง่ายกว่าเดิม ทำให้มันดูน่าใช้ขึ้นกว่าเดิม
แต่ด้วยความเรียบเกินไปอาจจะทำให้การมองเห็นของคนจะต้องก้มสักหน่อย
และรูปแบบสุดท้ายคือ Tile Mode ซึ่งเป็นรูปแบบที่ประหลาดที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา คือการปรับตั้งให้ฐานนั้นเอียไปที่ 90 องศา แล้ววางเครื่องแบบเดียวกับ Tablet Mode (วางกับพื้น)
ข้อดีคือเมื่อต้องการใช้งานพิมพ์ด้วยหน้าจอสัมผัส มันสามารถใช้งานได้ดีเนื่องจากหน้าจอจะเอียอยู่ที่ 45 องศาพอดี เช่นเดียวกันแต่ถ้าวางในที่ไม่มั่นคงมันจะลบได้อย่างง่ายดาย
การใช้งานทุกรูปแบบจะมีระบบการเปลี่ยนแปลงหน้าจอ ความสว่างและรูปแบบของสีได้เองทำให้สามารถใช้งานได้ดีในแต่ละแบบ ต้องเป็นห่วงว่าสายตาจะเสีย และสามารถตั้งค่าเองได้
และด้วยการใช้ฐานรองแบบใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้ง่าย แค่กดแล้วพับเท่านี้ก็ใช้งานได้อย่างลงตัวแล้วครับ
Connector / Thin And Weight
ช่องเสียบต่าง ๆ นั้นถูกจัดวางตำแหน่งได้ลงตัว ฝั่งซ้ายมีเสียบ Micro USB พร้อมปุ่มเปิดเครื่องและปุ่มปรับระดับเสียง ฝั่งขวาจะมีช่องเสียบหูฟังอยู่ที่ฐาน ดีกว่าการออกแบบนั้นยังคง Style ของ Lenovo Yoga Tab อย่างเหนียวแน่นความบางในส่วนของหน้าจอนั้นบางมากแทบจะเท่ากับการนำกระดาษ A4 มาเรียกกันเลยก็ว่าได้ แต่ด้านเป็นส่วนฐานแล้วอาจจะหนากว่าเพราะว่ามีจุดยึดกลไกสำหรับขาตั้ง และเป็นที่อยู่ของแบตเตอรี่ นั่นเอง
และยังมีอีกช่องสำหรับใส่ซิมการ์ดแบบ Micro SIM สามารถหาซิมการ์ดที่รองรับ 4G มาใช้งานได้ และช่องใส่ Micro SD ถูกซ่อนอยู่เก็บฐานของเครื่อง แต่มีข้อสังเกตเล็กน้อยคือ ฝาปิดนั้นอยู่ลึกและแข็งมากพอสมควร ทำให้การแก้เปลี่ยนซิมการ์ดหรือ Micro SD ทำได้ค่อนข้างลำบาก
จุดนี้ถ้าคนมีเล็บหน่อยจะเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้ไว้เล็บ การแก้ฝาถือว่าทำได้ยากมาก หรืออาจจะเจ็บตัวได้
Performance / Software
ขุมพลังของ Lenovo Yoga Tab 3 ใช้ Qualcomm Snapdragon 212 Quad Core 1.3GHz พร้อมกับ RAM 1GB จากผลการทดสอบ Benchmark จาก Antutu 6.0 อยู่ที่ 18988 คะแนน อาจจะดูน้อยไปสักหน่อย ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการประมวลผลของ 3D นั่นเอง ส่วน PCMark วัดคะแนนออกมา 2724 คะแนน โดยจากกราฟที่บอกคะแนนดูไปแล้ววิ่งสูงพอสมควร ทำให้ภาพรวมของเครื่องไม่เหมาะสำหรับการเล่นเกมสักเท่าไหร่ การรองรับมัลติทัชทำได้ 10 จุด ถือว่าเป็นเรื่องปกติของ Tablet เครื่องแบบนี้ ส่วนระบบปฏิบัติการของเครื่องนี้ ใช้เป็น Android Lollipop 5.1.1 ถือว่าใหม่พอสมควร
Battery / Heat / Noise
ด้วยขนาดแบตเตอรี่ 4500 mAh เรียกว่าเยอะอยู่ต่อการใช้งาน ซึ่งการทดสอบของมันสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องถึงเกือบ 9 ชั่วโมง ถือว่าทนทานพอสมควร แต่ถ้าใช้งานจริง สเปคเคลมว่าสามารถ Standby ได้นานถึง 20 ชั่วโมง เรียกว่านานเอาเรื่อง ใช้จริงเกิน 1 วันได้สบาย นอกจากคุณจะนำไปเล่นเกม ส่วนเรื่องความร้อนนั้น ถ้าใช้งานหนักเช่น Apps ที่มีหน่วยประมวลผลทำงานต่อเนื่อง หรือการเปิดกล้องค้างเอาไว้ก็จะรู้สึกถึงความร้อนได้เล็กน้อย
Conclusion / Award
Lenovo Yoga Tab 3 8.0 เป็น Tablet ที่ตอบโจทย์ในเรื่องการพกพา แก้ปัญหาในหลาย ๆ จุดที่เรียกว่าเกิดจากความผิดพลาดหรือ ไม่ได้สำรวจความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจังไม่ว่าจะเป็น เรื่องฐานรองที่ไม่สามารถเปิดได้ง่าย ได้มีการแก้ไขเพิ่มปุ่มกดเปิดอัตโนมัติมาให้
ไม่รองรับการใช้งานผ่านเน็ตบนมือถือ ก็ได้ปรับเพิ่มเรื่องของการรองรับ 4G และสามารถใส่ซิมได้ รวมทั้งกล้องที่มีความละเอียดน้อยและไม่สามารถปรับหมุน ได้ เนื่องจอข้อจำกัดของการออกแบบ ได้เปลี่ยนใหม่เป็นกล้องหมุนได้มาแทน
ถึงแม้ว่าจะขาดในเรื่องของความละเอียดหน้าจอที่น้อยไปสักหน่อย แต่ แลกกับราคาเครื่องที่ประมาณ 7,990 บาท ไม่แพงและไม่ถูกจนเกินไป แต่ถ้าคุณต้องการใช้ Tablet ที่ตอบโจทย์เรื่องน้ำหนักและการปรับแต่งรูปร่างใช้งานได้หลากหลายรุ่นนี้ถือว่าจบครับ
ข้อดี
- ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ง่าย
- รองรับ 4G
- วัสดุเครื่องจัดว่าดี
- ลำโพงดังดีใช้ได้
ข้อสังเกต
- หน้าจอความละเอียดน้อย
- ประสิทธิภาพไม่ได้แรงมาก
- ใช้งานหนัก ๆ แบตเตอรี่ไม่ทนสักเท่าไหร่